แพทย์อินเทอร์น3 รู้สึกผิดจนกลัวที่จะเป็นหมอต่อไป
สวัสดีค่ะ อ.สันต์
หนูเป็นอินเทิน3นะคะ หนูได้ติดตามอ่านบทความของอาจารย์ใน facebook แล้วพอดีมีเรื่องอยากปรึกษาค่ะ คือหลายๆครั้ง หนูจะมีความรู้สึกผิด คิดไปถึงเคสคนไข้ที่เสียชีวิตไปหลายเคส โดยจากความไม่รู้ของเราเอง เช่นเราวินิจฉัยไม่ได้ หรือเนื่องจากจำนวนคนไข้ที่เยอะ ทำให้เราไม่สามารถดูคนไข้ได้ละเอียดพอ รู้สึกว่าตอนนั้นเราน่าจะทำได้ดีกว่านี้ โดยความรู้สึกผิดเนี่ย ไม่ได้มีอยู่ตลอดหรอกค่ะ แต่จะแว๊บมาเป็นบางครั้ง ประมาณปีละ 2-3 ครั้ง หนูรู้สึกผิด เสียใจ แล้วก็เป็นบาป เคยมีไปทำบุญก็รู้สึกดีขึ้น แต่บางครั้งก็ทำให้กลัวที่จะเป็นหมอต่อไปเลย
อยากรบกวนขอแนวคิดจัดการกับปัญหานี้ด้วยค่ะ
ขอบพระคุณค่ะ
.....................................
ตอบครับ
ประเด็นที่ 1. ความกลัวบาป คุณหมอผู้หญิงสาว กลัวบาป เข้าวัดทำบุญ
"...อ้า องค์พระพุท-ธา
ตัวข้า บุษบาขอกราบวิงวอน
ข้าสวดมนต์ขอพระพร
วิงวอนให้..."
หิ หิ ช่างเป็นคุณหมอรุ่นใหม่ที่น่ารักจัง แต่ถ้าจะมาเป็นลูกศิษย์ของหมอแก่อย่างหมอสันต์ คุณหมอจะต้องเรียนรู้ที่จะเลิกสิ่งที่เรียนรู้มาแล้วเสียทั้งหมดรวมทั้งอะไรเป็นบาปอะไรเป็นบุญก็ทิ้งไปให้หมดก่อนด้วย
"..You have to learn to unlearn"
หิ หิ นี่ไม่ใช่คำพูดของหมอสันต์หรอก แต่เป็นคำพูดของอาจารย์เจไดพูดกับพระเอกในเรื่องสตาร์วอร์ การตอบวันนี้ผมเขียนสำหรับคนที่มีเชาว์ปัญญาและผ่านชีวิตมาระดับคุณหมอนะ ไม่ใช่สำหรับคนทั่วไป เพราะฉะนั้นท่านผู้อ่านทั่วไปโปรดใช้วิจารณาญาณในการรับชม สำหรับคุณหมอ บาปก็ดี บุญก็ดี วัดก็ดี โบสถ์ก็ดี ช้อปปิ้งมอลก็ดี ล้วนเป็นคอนเซ็พท์ หรือพูดง่ายๆว่าเป็นแค่ความคิดที่ใจคุณหมอกุขึ้น คุณหมอได้เติบโตมาถึงจุดที่จะต้องเรียนรู้แล้วว่าความคิดเป็นแค่ลมที่ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป ความคิดไม่ใช่เรา เราก็คือเรา (awareness) ความคิดก็คือความคิด (thought) เราเป็นผู้สังเกตเห็นความคิดของเรา เราเป็นผู้สังเกต (the observer) ความคิดเป็นสิ่งที่ถูกสังเกต (the observed) ดังนั้นก่อนที่จะเดินหน้ากับชีวิตต่อไป ให้มองให้เห็นว่าคอนเซ็พท์หรือความคิดทั้งหลายเป็นเพียงเครื่องมือหรือข้อสมมุติที่จะทำให้เราเล่นละครชีวิตได้สนุกสนานขึ้นเท่านั้น ไม่ใช่สารัตถะที่แท้จริงของชีวิต
ประเด็นที่ 2. ความคิดที่มองออกมาจากความคิด เนื้อหาส่วนใหญ่มีแต่ขี้ ผมหมายความว่าแม่ของความคิดทั้งหลายคือสำนึกว่าเราเป็นบุคคล ความคิดอื่นใดก็ล้วนงอกรากแตกแขนงไปจากสำนึกว่าเราเป็นบุคคลทั้งสิ้น และเนื่องจากเราได้ลืมความรู้ตัวอันเป็นคุณสมบัติดั้งเดิมไปเสียตั้งแต่เราเริ่มรู้จักเปลี่ยนสัญญาณภาพและเสียงมาเป็นภาษาบันทึกไว้ในใจ ปาป้า มาม่า พ่อจ๋า แม่จ๋า แล้ว เราจึงเหลือกึ๋นที่จะคิดเพียงแค่เอาความจำที่จำกัดจำเขี่ยนั้นมาผูกโยงกับคอนเซ็พท์เรื่องเวลา ซึ่งเวลานี้ก็เป็นของจริงซะที่ไหน เป็นเพียงคอนเซ็พท์หรือความคิดเช่นกัน ที่ผมว่าเนื้อหาของความคิดส่วนใหญ่มีแต่ขี้ก็คือหากเป็นการย้อนอดีตไปหาความจำสั่วๆมันก็เป็นความรู้สึกผิด เศร้า เสียใจ รันทด หากเป็นการเอาความจำสั่วๆคาดการณ์ไปในอนาคตมันก็เป็นความกังวล หวาดกลัว ทั้งหมดนี้ไม่มีอะไรเป็นความจริงทั้งสิ้น อย่างนี้เรียกว่าขี้ได้ไหมละ ดังนั้นแนวทางการใช้ชีวิตที่ผมแนะนำก็คือวางความคิดทั้งหลายเหล่านั้นลงเสีย วางหมายความว่าหันหลังให้ ไม่ให้ความสนใจ ไม่ไปคิดต่อยอด มาอยู่กับความเป็นจริง ณ ที่นี่ เดี๋ยวนี้ ก็พอแล้ว
ประเด็นที่ 3. จริงจังพอให้ชีวิตสนุก แต่อย่าจริงจังเกินไป ที่คุณพูดว่าคนไข้เยอะ ทำให้ไม่สามารถดูคนไข้ได้ละเอียดพอ ตรงนี้ผมเข้าใจ นานมาแล้วผมไปเยี่ยมลูกชายซึ่งตอนนั้นเป็นเอ็กซเทอร์น (นศพ.ปี6) ซึ่งไปฝึกงานอยู่ที่รพ.ตจว. แห่งหนึ่ง ก็ไปเห็นว่าวอร์ดอันกว้างใหญ่นั้นมีหมอรับผิดชอบตัวเป็นๆอยู่สามคน คือเอ็กซเทอร์น อินเทอร์น กับเด้นท์สาม (แพทย์ประจำบ้าน) ท่านผู้อ่านก็คงจะคิดว่าระบบการทำงานคงจะเป็นให้เอ็กซ์เทอร์นดูก่อน แล้วปรึกษาอินเทอร์น มีอะไรยากแล้วค่อยปรึกษาเด้นท์ ในชีวิตจริงเปล่าหรอก คนไข้แยะหกสิบเจ็ดสิบเตียง ถ้าทำงานแบบนั้นจะไม่มีใครได้นอนเลยตลอดวันตลอดคืน พวกเขาจึงแบ่งกันผลัดกันเป็นเวรคนละ 8 ชั่วโมง นั่นหมายความว่าเอ็กซเทอร์นหรือนศพ.ปี 6 ก็ต้องเข้าคิวดูแลผู้ป่วยคนเดียวแบบหมอใหญ่ แล้วถ้ามีอะไรยากๆคุณคิดว่าเขาหรือเธอจะรอดไหม เมื่อคนไข้แยะเวลาจำกัด ก็ต้องปั่นตัวเอง ที่เอามือทำได้ก็เอามือทำ ที่เอามือทำไม่ทันก็ขอโทษ..เอาตีนทำ นี่มันเป็นธรรมดาของชีวิตหมอน้อย ในบรรยากาศอย่างนี้มันต้องมีความผิดพลาด ใครจะรอดสันดอนสอบผ่านออกไปเป็นหมอได้อยู่ที่ความแตกต่างกันตรงนี้ คนที่สอบผ่านคือคนที่เอาตีนทำแล้วเข้าใจตัวเองให้อภัยตัวเองแล้วเดินหน้ากับชีวิตต่อไป แต่คนที่สอบไม่ผ่านหรือต้องเลิกอาชีพไปคือคนที่เอาตีนทำแล้วมานั่งรู้สึกผิดจนตัวเองรับตัวเองไม่ได้จึงตัดสินใจลาออกไป..ขายเต้าฮวยดีกว่า
เมื่อหลายสัปดาห์ก่อนผมไปขับรถเที่ยวแถวเวอร์มอนต์ เข้าพักในโรงแรมจิ้งหรีดผีดุแห่งหนึ่ง มีห้องนอนแขกสามห้อง ห้องที่ผมพักเป็นห้องสวีทชื่อ The Doctor ในห้องมีรีพริ้นท์ภาพเขียนชื่อเดียวกันกับชื่อห้องโดยศิลปินอังกฤษชื่อ Luke Fildes ซึ่งผมถ่ายรูปมาด้วย คุณลองดูสีหน้าอันกังวลและสิ้นหวังของหมอในภาพคนนี้ซิ การทำงานอาชีพแพทย์ก็คือการเล่นละครชีวิต คุณต้องอินพอสมควรพอให้ละครมีความสนุก แต่อย่าอินมากเกินไป เพราะมันเป็นแค่ละคร เจ้าหมอในภาพนี้เขาอินมากเกินไป คุณดูสีหน้าเขาก็คงเดาได้ใช่ไหมละว่าชีวิตของเขาจะมีความสุขไหม
คุณเป็นคนบ้าดี คนบ้าดีคือคนที่ยึดถือคอนเซ็พท์บาปบุญคุณโทษจนตัวเองเป็นทุกข์ ในการใช้ชีวิตคุณอย่าเป็นคนบ้าดี คุณยึดถือคอนเซ็พท์บาปบุญคุณโทษได้ แต่คุณต้องรู้จักเยื้องย่างหรือมีลูกเล่นให้ชีวิตดำเนินไปอย่างลื่นไหลด้วย ไม่ใช่มาตายเพราะคอนเซ็พท์ที่คุณตั้งขึ้น อย่าลืมว่าคอนเซ็พท์มันไม่ใช่ของจริงนะ มันเป็นเพียงความคิด
ครูสอนทางจิตวิญญาณของผมท่านหนึ่งซึ่งเป็นโยคีชาวอินเดียเล่าเรื่องโยคีกับงูเห่าให้ผมฟัง เรื่องมีอยู่ว่าวันหนึ่งโยคีจรดลมาถึงหมู่บ้านหนึ่งก็จะเข้าไปพักในบ้านร้างที่ก้นซอยซึ่งเงียบเชียบทั้งซอย ชาวบ้านก็ห้ามว่าอย่าเข้าไปเพราะในบ้านร้างนั้นมีงูเห่าที่ฉกคนบาดเจ็บและตายไปหลายคนแล้ว โยคีไม่กลัว แล้วก็เข้าไปพักในบ้านร้างนั้น งูเห่าก็ออกมาชูคอขู่ฟ่อๆ ทำท่าจะฉกโยคี โยคีมองงูเห่าด้วยสายตานิ่งและถามว่าเอ็งจะมาฉกข้าทำไม ข้าไม่เคยทำอะไรเอ็งมาก่อนเลยนะ งูเห่าเห็นโยคีเยือกเย็นกว่าตนเสียอีกก็ถามว่าเจ้าเป็นใคร โยคีก็ตอบว่าข้าเป็นโยคี งูเห่าเลื่อมใสขอเป็นศิษย์ฝึกวิชาโยคี ซึ่งโยคีก็ยอมรับโดยมีข้อแม้ว่าระหว่างฝึกวิชานี้ห้ามฉกใครเด็ดขาด งูเห่ารับปาก โยคีก็สอนวิชาโยคะให้ ตั้งแต่หลักวินัยสังคม วินัยตนเอง หลักอาสนะ และปราณายามะ แล้วก็บอกว่าโอเค.วันนี้เอาแค่นี้ก่อน ให้ขยันฝึกไป ครั้งหน้าข้าจะกลับมาสอนการสังเกตความคิดและการทำสมาธิบ่มเพาะปัญญาญาณให้ ว่าแล้วโยคีก็จรดลต่อไป อีกหลายเดือนต่อมากลับมาที่ซอยนี้อีกก็แปลกใจที่พวกเด็กๆเข้ามาวิ่งเล่นเต็มซอยไม่เงียบเหมือนครั้งก่อน พอเข้าไปในบ้านร้างก็เห็นงูเห่านอนแอ้งแม้งนิ่งอยู่ไม่กระดิกกระเดี้ย จึงถามว่าเกิดอะไรขึ้น งูเห่าจึงเล่าว่าเมื่อข้าถือสัตย์ไม่ฉกใครตามที่รับปากท่านไว้ พวกเด็กๆก็มารุมตีข้าจนหลังหักจึงต้องเลื้อยเข้ามาซ่อนตัวอยู่ในนี้ โยคีจึงทำการรักษาหลังที่หักให้หาย แล้วสอนว่า
"ข้าห้ามไม่ให้เอ็งฉกใคร แต่ไม่ได้ห้ามไม่ให้เอ็งชูคอขู่ฟ่อๆนะ"
กล่าวโดยสรุปนิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่าการยึดมั่นในหลักดีชั่วบาปบุญคุณโทษนั้นควรเอาแค่พอให้เป็นสมาชิกอยู่ในสังคมกับคนอื่นได้ก็พอแล้ว อย่าเถรตรงเกินไปจนพาตัวเองเป็นทุกข์เลย
ประเด็นที่ 4. ผมไม่ได้ห้ามคุณคิดตะพึดนะ ผมบอกว่าความคิดที่มองออกมาจากความคิด เนื้อหาส่วนใหญ่มีแต่ขี้ แต่ในอีกด้านหนึ่ง ความคิดที่มองออกมาจากความโปร่งใสโดยไม่เกี่ยวข้องกับสำนึกว่าเป็นบุคคลของคุณ มันเป็นปัญญาญาณ (intuition) นะ หมายถึงปัญญาที่จะนำพาคุณสู่ความหลุดพ้น ดังนั้นทุกครั้งที่มีสิ่งเร้ามากระทบ มันเป็นโอกาสที่คุณจะเทียบเคียงระหว่างความคิดแบบเก่าและแบบใหม่ แล้วเลือกสนองตอบเพียงแบบใดแบบหนึ่ง ระหว่าง
(1) ปกป้องความเป็นบุคคลของคุณด้วยความรู้สึกผิด ความกลัว ความเศร้าเสียใจ หรือ
(2) ก้าวขึ้นไปไกล้ความหลุดพ้นจากกรงความคิดของคุณอีกหนึ่งขั้น ด้วยการเห็นเรื่องนั้นตามที่มันเป็นโดยไม่เอาความเป็นบุคคลของคุณเข้าไปเกี่ยวข้อง
ทั้งสองทางเลือกนี้คุณจะเอาอย่างไหน คุณเลือกเอง
ประเด็นที่ 5. หัดไว้วางใจชีวิตเสียบ้าง คุณควรไว้วางใจปัญญาญาณส่วนลึกของคุณว่าท้ายที่สุดแล้วมันจะชงสิ่งดีๆให้ชีวิตของคุณเสมอ มองให้เห็นว่าชีวิตของคุณนี้คุณไม่ได้เป็นคนควบคุมมัน แต่มันเชื่อมโยงกับจักรวาลด้วยพลังเมตตาธรรมที่ละเอียดอ่อนและสงบเย็น ไม่ว่าคุณจะหลงทางไปอยู่ในความคิดหรืออยู่ที่ไหน ด้วยสายใยเมตตาธรรมนี้มันจะพาคุณกลับมา ณ ที่สงบเย็นได้เสมอ การไว้วางใจชีวิตจะทำให้คุณหายกลัวชีวิตซึ่งความกลัวนั้นกำลังกัดกร่อนคุณอยู่ขณะนี้ ในการทำอาชีพนี้ขอให้คุณมั่นอยู่กับการทำทุกอย่างด้วยความเมตตาต่อคนไข้ ไม่ใช่ทำทุกอย่างเพื่อปกป้องความเป็นบุคคลของตัวคุณเอง นอกจากจะเมตตาต่อคนไข้แล้วให้คุณเมตตาต่อตัวเองด้วย ให้อภัยตัวเองด้วย ปล่อยทุกอย่างไปไม่ต้องไปคอยควบคุม แล้วทุกอย่างมันลงล็อคเข้าที่เอง
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
หนูเป็นอินเทิน3นะคะ หนูได้ติดตามอ่านบทความของอาจารย์ใน facebook แล้วพอดีมีเรื่องอยากปรึกษาค่ะ คือหลายๆครั้ง หนูจะมีความรู้สึกผิด คิดไปถึงเคสคนไข้ที่เสียชีวิตไปหลายเคส โดยจากความไม่รู้ของเราเอง เช่นเราวินิจฉัยไม่ได้ หรือเนื่องจากจำนวนคนไข้ที่เยอะ ทำให้เราไม่สามารถดูคนไข้ได้ละเอียดพอ รู้สึกว่าตอนนั้นเราน่าจะทำได้ดีกว่านี้ โดยความรู้สึกผิดเนี่ย ไม่ได้มีอยู่ตลอดหรอกค่ะ แต่จะแว๊บมาเป็นบางครั้ง ประมาณปีละ 2-3 ครั้ง หนูรู้สึกผิด เสียใจ แล้วก็เป็นบาป เคยมีไปทำบุญก็รู้สึกดีขึ้น แต่บางครั้งก็ทำให้กลัวที่จะเป็นหมอต่อไปเลย
อยากรบกวนขอแนวคิดจัดการกับปัญหานี้ด้วยค่ะ
ขอบพระคุณค่ะ
.....................................
ตอบครับ
ประเด็นที่ 1. ความกลัวบาป คุณหมอผู้หญิงสาว กลัวบาป เข้าวัดทำบุญ
"...อ้า องค์พระพุท-ธา
ตัวข้า บุษบาขอกราบวิงวอน
ข้าสวดมนต์ขอพระพร
วิงวอนให้..."
หิ หิ ช่างเป็นคุณหมอรุ่นใหม่ที่น่ารักจัง แต่ถ้าจะมาเป็นลูกศิษย์ของหมอแก่อย่างหมอสันต์ คุณหมอจะต้องเรียนรู้ที่จะเลิกสิ่งที่เรียนรู้มาแล้วเสียทั้งหมดรวมทั้งอะไรเป็นบาปอะไรเป็นบุญก็ทิ้งไปให้หมดก่อนด้วย
"..You have to learn to unlearn"
หิ หิ นี่ไม่ใช่คำพูดของหมอสันต์หรอก แต่เป็นคำพูดของอาจารย์เจไดพูดกับพระเอกในเรื่องสตาร์วอร์ การตอบวันนี้ผมเขียนสำหรับคนที่มีเชาว์ปัญญาและผ่านชีวิตมาระดับคุณหมอนะ ไม่ใช่สำหรับคนทั่วไป เพราะฉะนั้นท่านผู้อ่านทั่วไปโปรดใช้วิจารณาญาณในการรับชม สำหรับคุณหมอ บาปก็ดี บุญก็ดี วัดก็ดี โบสถ์ก็ดี ช้อปปิ้งมอลก็ดี ล้วนเป็นคอนเซ็พท์ หรือพูดง่ายๆว่าเป็นแค่ความคิดที่ใจคุณหมอกุขึ้น คุณหมอได้เติบโตมาถึงจุดที่จะต้องเรียนรู้แล้วว่าความคิดเป็นแค่ลมที่ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป ความคิดไม่ใช่เรา เราก็คือเรา (awareness) ความคิดก็คือความคิด (thought) เราเป็นผู้สังเกตเห็นความคิดของเรา เราเป็นผู้สังเกต (the observer) ความคิดเป็นสิ่งที่ถูกสังเกต (the observed) ดังนั้นก่อนที่จะเดินหน้ากับชีวิตต่อไป ให้มองให้เห็นว่าคอนเซ็พท์หรือความคิดทั้งหลายเป็นเพียงเครื่องมือหรือข้อสมมุติที่จะทำให้เราเล่นละครชีวิตได้สนุกสนานขึ้นเท่านั้น ไม่ใช่สารัตถะที่แท้จริงของชีวิต
ประเด็นที่ 2. ความคิดที่มองออกมาจากความคิด เนื้อหาส่วนใหญ่มีแต่ขี้ ผมหมายความว่าแม่ของความคิดทั้งหลายคือสำนึกว่าเราเป็นบุคคล ความคิดอื่นใดก็ล้วนงอกรากแตกแขนงไปจากสำนึกว่าเราเป็นบุคคลทั้งสิ้น และเนื่องจากเราได้ลืมความรู้ตัวอันเป็นคุณสมบัติดั้งเดิมไปเสียตั้งแต่เราเริ่มรู้จักเปลี่ยนสัญญาณภาพและเสียงมาเป็นภาษาบันทึกไว้ในใจ ปาป้า มาม่า พ่อจ๋า แม่จ๋า แล้ว เราจึงเหลือกึ๋นที่จะคิดเพียงแค่เอาความจำที่จำกัดจำเขี่ยนั้นมาผูกโยงกับคอนเซ็พท์เรื่องเวลา ซึ่งเวลานี้ก็เป็นของจริงซะที่ไหน เป็นเพียงคอนเซ็พท์หรือความคิดเช่นกัน ที่ผมว่าเนื้อหาของความคิดส่วนใหญ่มีแต่ขี้ก็คือหากเป็นการย้อนอดีตไปหาความจำสั่วๆมันก็เป็นความรู้สึกผิด เศร้า เสียใจ รันทด หากเป็นการเอาความจำสั่วๆคาดการณ์ไปในอนาคตมันก็เป็นความกังวล หวาดกลัว ทั้งหมดนี้ไม่มีอะไรเป็นความจริงทั้งสิ้น อย่างนี้เรียกว่าขี้ได้ไหมละ ดังนั้นแนวทางการใช้ชีวิตที่ผมแนะนำก็คือวางความคิดทั้งหลายเหล่านั้นลงเสีย วางหมายความว่าหันหลังให้ ไม่ให้ความสนใจ ไม่ไปคิดต่อยอด มาอยู่กับความเป็นจริง ณ ที่นี่ เดี๋ยวนี้ ก็พอแล้ว
ประเด็นที่ 3. จริงจังพอให้ชีวิตสนุก แต่อย่าจริงจังเกินไป ที่คุณพูดว่าคนไข้เยอะ ทำให้ไม่สามารถดูคนไข้ได้ละเอียดพอ ตรงนี้ผมเข้าใจ นานมาแล้วผมไปเยี่ยมลูกชายซึ่งตอนนั้นเป็นเอ็กซเทอร์น (นศพ.ปี6) ซึ่งไปฝึกงานอยู่ที่รพ.ตจว. แห่งหนึ่ง ก็ไปเห็นว่าวอร์ดอันกว้างใหญ่นั้นมีหมอรับผิดชอบตัวเป็นๆอยู่สามคน คือเอ็กซเทอร์น อินเทอร์น กับเด้นท์สาม (แพทย์ประจำบ้าน) ท่านผู้อ่านก็คงจะคิดว่าระบบการทำงานคงจะเป็นให้เอ็กซ์เทอร์นดูก่อน แล้วปรึกษาอินเทอร์น มีอะไรยากแล้วค่อยปรึกษาเด้นท์ ในชีวิตจริงเปล่าหรอก คนไข้แยะหกสิบเจ็ดสิบเตียง ถ้าทำงานแบบนั้นจะไม่มีใครได้นอนเลยตลอดวันตลอดคืน พวกเขาจึงแบ่งกันผลัดกันเป็นเวรคนละ 8 ชั่วโมง นั่นหมายความว่าเอ็กซเทอร์นหรือนศพ.ปี 6 ก็ต้องเข้าคิวดูแลผู้ป่วยคนเดียวแบบหมอใหญ่ แล้วถ้ามีอะไรยากๆคุณคิดว่าเขาหรือเธอจะรอดไหม เมื่อคนไข้แยะเวลาจำกัด ก็ต้องปั่นตัวเอง ที่เอามือทำได้ก็เอามือทำ ที่เอามือทำไม่ทันก็ขอโทษ..เอาตีนทำ นี่มันเป็นธรรมดาของชีวิตหมอน้อย ในบรรยากาศอย่างนี้มันต้องมีความผิดพลาด ใครจะรอดสันดอนสอบผ่านออกไปเป็นหมอได้อยู่ที่ความแตกต่างกันตรงนี้ คนที่สอบผ่านคือคนที่เอาตีนทำแล้วเข้าใจตัวเองให้อภัยตัวเองแล้วเดินหน้ากับชีวิตต่อไป แต่คนที่สอบไม่ผ่านหรือต้องเลิกอาชีพไปคือคนที่เอาตีนทำแล้วมานั่งรู้สึกผิดจนตัวเองรับตัวเองไม่ได้จึงตัดสินใจลาออกไป..ขายเต้าฮวยดีกว่า
เมื่อหลายสัปดาห์ก่อนผมไปขับรถเที่ยวแถวเวอร์มอนต์ เข้าพักในโรงแรมจิ้งหรีดผีดุแห่งหนึ่ง มีห้องนอนแขกสามห้อง ห้องที่ผมพักเป็นห้องสวีทชื่อ The Doctor ในห้องมีรีพริ้นท์ภาพเขียนชื่อเดียวกันกับชื่อห้องโดยศิลปินอังกฤษชื่อ Luke Fildes ซึ่งผมถ่ายรูปมาด้วย คุณลองดูสีหน้าอันกังวลและสิ้นหวังของหมอในภาพคนนี้ซิ การทำงานอาชีพแพทย์ก็คือการเล่นละครชีวิต คุณต้องอินพอสมควรพอให้ละครมีความสนุก แต่อย่าอินมากเกินไป เพราะมันเป็นแค่ละคร เจ้าหมอในภาพนี้เขาอินมากเกินไป คุณดูสีหน้าเขาก็คงเดาได้ใช่ไหมละว่าชีวิตของเขาจะมีความสุขไหม
คุณเป็นคนบ้าดี คนบ้าดีคือคนที่ยึดถือคอนเซ็พท์บาปบุญคุณโทษจนตัวเองเป็นทุกข์ ในการใช้ชีวิตคุณอย่าเป็นคนบ้าดี คุณยึดถือคอนเซ็พท์บาปบุญคุณโทษได้ แต่คุณต้องรู้จักเยื้องย่างหรือมีลูกเล่นให้ชีวิตดำเนินไปอย่างลื่นไหลด้วย ไม่ใช่มาตายเพราะคอนเซ็พท์ที่คุณตั้งขึ้น อย่าลืมว่าคอนเซ็พท์มันไม่ใช่ของจริงนะ มันเป็นเพียงความคิด
ครูสอนทางจิตวิญญาณของผมท่านหนึ่งซึ่งเป็นโยคีชาวอินเดียเล่าเรื่องโยคีกับงูเห่าให้ผมฟัง เรื่องมีอยู่ว่าวันหนึ่งโยคีจรดลมาถึงหมู่บ้านหนึ่งก็จะเข้าไปพักในบ้านร้างที่ก้นซอยซึ่งเงียบเชียบทั้งซอย ชาวบ้านก็ห้ามว่าอย่าเข้าไปเพราะในบ้านร้างนั้นมีงูเห่าที่ฉกคนบาดเจ็บและตายไปหลายคนแล้ว โยคีไม่กลัว แล้วก็เข้าไปพักในบ้านร้างนั้น งูเห่าก็ออกมาชูคอขู่ฟ่อๆ ทำท่าจะฉกโยคี โยคีมองงูเห่าด้วยสายตานิ่งและถามว่าเอ็งจะมาฉกข้าทำไม ข้าไม่เคยทำอะไรเอ็งมาก่อนเลยนะ งูเห่าเห็นโยคีเยือกเย็นกว่าตนเสียอีกก็ถามว่าเจ้าเป็นใคร โยคีก็ตอบว่าข้าเป็นโยคี งูเห่าเลื่อมใสขอเป็นศิษย์ฝึกวิชาโยคี ซึ่งโยคีก็ยอมรับโดยมีข้อแม้ว่าระหว่างฝึกวิชานี้ห้ามฉกใครเด็ดขาด งูเห่ารับปาก โยคีก็สอนวิชาโยคะให้ ตั้งแต่หลักวินัยสังคม วินัยตนเอง หลักอาสนะ และปราณายามะ แล้วก็บอกว่าโอเค.วันนี้เอาแค่นี้ก่อน ให้ขยันฝึกไป ครั้งหน้าข้าจะกลับมาสอนการสังเกตความคิดและการทำสมาธิบ่มเพาะปัญญาญาณให้ ว่าแล้วโยคีก็จรดลต่อไป อีกหลายเดือนต่อมากลับมาที่ซอยนี้อีกก็แปลกใจที่พวกเด็กๆเข้ามาวิ่งเล่นเต็มซอยไม่เงียบเหมือนครั้งก่อน พอเข้าไปในบ้านร้างก็เห็นงูเห่านอนแอ้งแม้งนิ่งอยู่ไม่กระดิกกระเดี้ย จึงถามว่าเกิดอะไรขึ้น งูเห่าจึงเล่าว่าเมื่อข้าถือสัตย์ไม่ฉกใครตามที่รับปากท่านไว้ พวกเด็กๆก็มารุมตีข้าจนหลังหักจึงต้องเลื้อยเข้ามาซ่อนตัวอยู่ในนี้ โยคีจึงทำการรักษาหลังที่หักให้หาย แล้วสอนว่า
"ข้าห้ามไม่ให้เอ็งฉกใคร แต่ไม่ได้ห้ามไม่ให้เอ็งชูคอขู่ฟ่อๆนะ"
กล่าวโดยสรุปนิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่าการยึดมั่นในหลักดีชั่วบาปบุญคุณโทษนั้นควรเอาแค่พอให้เป็นสมาชิกอยู่ในสังคมกับคนอื่นได้ก็พอแล้ว อย่าเถรตรงเกินไปจนพาตัวเองเป็นทุกข์เลย
ประเด็นที่ 4. ผมไม่ได้ห้ามคุณคิดตะพึดนะ ผมบอกว่าความคิดที่มองออกมาจากความคิด เนื้อหาส่วนใหญ่มีแต่ขี้ แต่ในอีกด้านหนึ่ง ความคิดที่มองออกมาจากความโปร่งใสโดยไม่เกี่ยวข้องกับสำนึกว่าเป็นบุคคลของคุณ มันเป็นปัญญาญาณ (intuition) นะ หมายถึงปัญญาที่จะนำพาคุณสู่ความหลุดพ้น ดังนั้นทุกครั้งที่มีสิ่งเร้ามากระทบ มันเป็นโอกาสที่คุณจะเทียบเคียงระหว่างความคิดแบบเก่าและแบบใหม่ แล้วเลือกสนองตอบเพียงแบบใดแบบหนึ่ง ระหว่าง
(1) ปกป้องความเป็นบุคคลของคุณด้วยความรู้สึกผิด ความกลัว ความเศร้าเสียใจ หรือ
(2) ก้าวขึ้นไปไกล้ความหลุดพ้นจากกรงความคิดของคุณอีกหนึ่งขั้น ด้วยการเห็นเรื่องนั้นตามที่มันเป็นโดยไม่เอาความเป็นบุคคลของคุณเข้าไปเกี่ยวข้อง
ทั้งสองทางเลือกนี้คุณจะเอาอย่างไหน คุณเลือกเอง
ประเด็นที่ 5. หัดไว้วางใจชีวิตเสียบ้าง คุณควรไว้วางใจปัญญาญาณส่วนลึกของคุณว่าท้ายที่สุดแล้วมันจะชงสิ่งดีๆให้ชีวิตของคุณเสมอ มองให้เห็นว่าชีวิตของคุณนี้คุณไม่ได้เป็นคนควบคุมมัน แต่มันเชื่อมโยงกับจักรวาลด้วยพลังเมตตาธรรมที่ละเอียดอ่อนและสงบเย็น ไม่ว่าคุณจะหลงทางไปอยู่ในความคิดหรืออยู่ที่ไหน ด้วยสายใยเมตตาธรรมนี้มันจะพาคุณกลับมา ณ ที่สงบเย็นได้เสมอ การไว้วางใจชีวิตจะทำให้คุณหายกลัวชีวิตซึ่งความกลัวนั้นกำลังกัดกร่อนคุณอยู่ขณะนี้ ในการทำอาชีพนี้ขอให้คุณมั่นอยู่กับการทำทุกอย่างด้วยความเมตตาต่อคนไข้ ไม่ใช่ทำทุกอย่างเพื่อปกป้องความเป็นบุคคลของตัวคุณเอง นอกจากจะเมตตาต่อคนไข้แล้วให้คุณเมตตาต่อตัวเองด้วย ให้อภัยตัวเองด้วย ปล่อยทุกอย่างไปไม่ต้องไปคอยควบคุม แล้วทุกอย่างมันลงล็อคเข้าที่เอง
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์