หมอสันต์คุยกับฝรั่ง
Sam
คุณมีแบ้คกราวด์กับทั้งฮินดูและพุทธมานาน ในความเห็นของคุณ ฮินดูกับพุทธต่างกันอย่างไร
นพ.สันต์
ฮินดูพูดถึงสุญญตามากเกินไป พุทธแทบไม่พูดถึงเลย พวกมิชชันนารีชาวคริสต์แปลคำว่าสุญญตาของพุทธว่า "void" ซึ่งผมเข้าใจความคิดของคนแปลนะ เพราะแม้แต่ในภาษาไทยซึ่งใกล้เคียงกับภาษาบาลีสันสกฤตก็ยังแปลคำนี้ว่า "ความว่าง"
Sam
แล้วคุณว่ามันควรจะแปลว่าอย่างไรละ
นพ.สันต์
"สุญญตา" น่าจะแปลว่า "ความเงียบในหัว" (interior silence) มากกว่า ผมหมายความว่าเงียบจากความคิดหรือภาษาพูดที่มนุษย์เราสร้างขึ้น
Sam
ทำไมคุณจึงให้ความสำคัญกับคำนี้
นพ.สันต์
อ้าว ก็มันเป็นสิ่งที่ทั้งฮินดูและพุทธต่างก็มุ่งจะไปหา คุณจะเรียกมันว่าอะไรก็ตาม จะเรียกว่าเป็นปรมาตมัน, พระเจ้า, นิพพาน, เต๋า หรือแม้กระทั่งหัวใจ (heart) จะเรียกว่าอะไรมันก็เป็นสิ่งเดียวกันนั้นแหละ คือมันเป็นภาวะที่ความคิดไม่มีเหลือแล้ว เหลือแต่ความรู้ตัว (awareness) ซึ่งเป็นแค่ความตื่น ความสามารถรับรู้ และความรู้สึกสงบเย็นสบายๆ ณ ตรงนี้แหละคือความหลุดพ้น
Sam
แล้ววิธีไปของฮินดูกับพุทธต่างกันอย่างไร
นพ.สันต์
ฮินดูเป็นผลงานสะสมของนักคิดหลายคนหลายยุคสมัยนะ จึงมีคอนเซ็พท์และวิธีปฎิบัติเยอะมาก แค่พระเจ้านี่คุณก็นับไม่หมดแล้ว แต่พุทธทิ้งคอนเซ็พท์ไปหมดเลยเอาแต่ประสบการณ์ตรงผ่านอายตนะอย่างเดียว สำหรับพุทธคอนเซ็พท์ทุกอย่างไร้สาระ รวมทั้งคอนเซ็พท์เรื่องพระเจ้าองค์โน้นองค์นี้ด้วย ภาษาก็ไม่มีความหมาย ทุกอย่างไม่ได้เป็นอย่างที่เราเรียกว่ามันเป็น แต่มันเป็นตามที่มันเป็น ไม่ต้องนิยามด้วยซ้ำ แค่ปล่อยทุกอย่างไว้ไม่อิงไม่เกาะเกี่ยวกับอะไรทั้งสิ้น พระเจ้าก็ไม่เอา วิญญาณที่อมตะก็ไม่เอา เอาแต่ความจริงที่ว่าชีวิตนี้ไม่มีคอนเซ็พท์อะไรที่ตั้งชื่อหรือพูดออกมาเป็นภาษาได้ให้ยึดกุมได้หรอก
ส่วนความเหมือนนั้นนั้นมีแยะ เพราะว่าจริงๆแล้วพุทธก็งอกรากออกมาจากฮินดู ที่เหมือนกันคือ (1) ทุกชีวิตมุ่งหาการพ้นทุกข์ (2) ความสงบเย็นเป็นธรรมชาติดั้งเดิมของชีวิตโดยไม่เกี่ยวกับเหตุภายนอก ทั้งสองค่ายต่างย้ำว่าร่างกายและความคิดไม่ใช่ธรรมชาติดั้งเดิมของมนุษย์ ต้องถอยกลับไปสู่ธรรมชาติดั้งเดิมของตนซึ่งก็คือความรู้ตัว ไม่ต้องไปหาอะไรไหม่ แต่คนส่วนใหญ่ซึ่งไม่รู้ข้อนี้มัวไปทำตรงกันข้ามคือสร้างความคิดและภาษาขึ้นมาครอบธรรมชาติดั้งเดิมของตัวเอง แล้วก็ติดแหง็กอยู่ในครอบนั้น (3) การจะถอยออกจากความคิดกลับไปเป็นความรู้ตัวมันต้องอาศัยเครื่องมือ เครื่องมือหลักก็คือ meditation ทั้งพุทธทั้งฮินดูจึงต่างก็เน้น meditation นี่เป็นจุดที่เหมือนกันอันที่สาม (4) ในแง่ของการเอาไปใช้กับชีวิตจริงก็มีความเหมือนกันอยู่ ว่าความวิเวก (solitude) มันอยู่ที่ในใจ คนหนึ่งอาจจะอยู่ในความวุ่นวายของโลกแต่สงบนิ่งอยู่กับความรู้ตัวอยู่ได้ นั่นคือเขาวิเวกอยู่ ขณะที่อีกคนหนึ่งอยู่ในป่าลึกเงียบสนิทแต่ไม่อาจสงบจากความคิดได้ นั่นคือเขายังไม่วิเวก คนที่ปักหลักมั่นอยู่กับความรู้ตัวได้แล้ว กิจกรรมทางสังคมต่างๆของเขาอาจจะยังคงดำเนินไป แต่ผลของกิจกรรมเหล่านั้นไม่มีผลอะไรกับความรู้ตัวของเขา ตรงนี้ก็เป็นอีกอันหนึ่งที่เหมือนกัน
Sam
คุณชอบทางไหนมากกว่า
นพ.สันต์
ชอบทั้งสองอย่าง แต่ใช้วิธีของพุทธที่เน้นประสบการณ์ตรงเป็นหลักมากกว่า อาศัยแค่ประสบการณ์จริงก็ตีฝ่าสำนึกของความเป็นบุคคลให้แตกสลายไปได้แล้ว
Sam
ช่วยขยายความหน่อยได้ไหม
นพ.สันต์
คือตอนเราเกิดมาเป็นเด็ก อยู่ท่ามกลางธรรมชาติที่ปรากฎต่อเราในรูปของคลื่นความสั่นสะเทือนในระดับความถี่ต่างๆโดยไม่ต้องจำแนกความหมายออกมาเป็นภาษาหรือความคิด ชีวิตก็มีความสุขดี แต่ผู้ใหญ่ค่อยๆสอนให้เราตีความหมายการสั่นสะเทือนเหล่านั้นผ่านภาษา จนภาษาและคอนเซ็พท์ต่างๆได้กลายมาเป็นระบบหรือเครื่องมือที่บีบบังคับเราไปเสียฉิบ เท่ากับว่าเราเกิดมาใหม่ๆก็ดีๆอยู่ แต่ดันมาสร้างความคิดขึ้นครอบตัวเราเอง เราคิด คิด คิด จนในชีวิตเราไม่มีอะไรเหลือเลยนอกจากความคิด ก็เลยต้องมาเดือดร้อนหาวิธีวางความคิดที่เราเองกุขึ้นมาลงเสีย พุทธสอนอย่างเดียวเลย คือสอนวิธีวางความคิด โดยบอกวิธีปฏิบัติอย่างเป็นขั้นเป็นตอนชนิดที่ใครๆก็ทำตามได้
Sam
ออกไปจากสำนึกของความเป็นบุคคลหมายความว่าอย่างไร
นพ.สันต์
ก็หมายความว่าความคิดทั้งมวลสืบโคตรเหง้าศักราชไปเถอะมันล้วนมีรากมาจากที่เดียวกัน คือจากสำนึกที่ว่าเรานี้เป็นบุคคลคนหนึ่งซึ่งมีชื่อนี้สถานะนี้ อีโก้..คุณจะเรียกว่าอย่างนั้นก็ได้ คือเป็น "I thought" หมายถึงสำนึกว่าเราเป็นคนๆหนึ่งที่แยกส่วนออกมาจากสิ่งอื่นหรือจากจักรวาลนี้ ซึ่งมันเป็นความเท็จ ความเป็นบุคคลของเรามันเป็นเพียงความคิดซึ่งไม่สถาพรและทำให้ทุกข์ แค่วางความคิดที่คุณกุขึ้นมาลงเสีย คุณก็หลุดพ้นแล้ว พุทธสอนอย่างนี้ ซึ่งผมเก็ท
Sam
คุณใช้แต่วิธีของพุทธเท่านั้น?
นพ.สันต์
โอ.. ไม่ ไม่ บางอย่างผมก็ใช้วิธีที่ชาวฮินดูเขานิยมใช้กัน มันเป็นทางลัด
Sam
ลองยกตัวอย่างหน่อย
นพ.สันต์
อย่างเช่นการยอมรับและยอมแพ้อย่างไม่มีเงื่อนไข หรือ..ศรัทธา ถ้าคุณอยากจะเรียกมันว่าอย่างนั้น หรือ surrender นี่มันเป็นเทคนิคที่ลัดสั้นตรงมากที่สุดเลย แต่คุณจะทำไม่ได้หรอกนะถ้าคุณไม่มีความไว้วางใจชีวิตเป็นพื้นฐานเสียก่อน คุยกันถึงตรงนี้ผมขอนอกเรื่องหน่อยนะ สมัยหนุ่มๆผมเป็นแพทย์ประจำบ้านอยู่ที่เมืองโอ๊คแลนด์ มีหมอหลายชาติหลายภาษามาทำงานด้วยกัน คนหนึ่งเป็นอินเดีย แล้วเย็นวันอาทิตย์ก็มักเป็นวันที่เราหมุนเวียนไปตั้งวงดื่มไวน์และเบียร์ตามบ้านพวกเรากันเอง มีอยู่ครั้งหนึ่งเมียเพื่อนหมอฝรั่งคนหนึ่งถามหมออินเดียถึงหลักปรัชญาของศาสนาฮินดู เขาตอบว่า
" If you are raped and can not get away, enjoy it!"
"ถ้าคุณถูกปล้ำข่มขื่นและหนีไม่รอด ก็สนุกกับมันซะ"
พวกเราหัวเราะ นั่นเป็นแค่เรื่องคุยกันเล่นในวงดื่มไวน์ สมัยโน้นผมไม่เคยเห็นด้วยกับแนวคิดแบบนั้นเลย ตอนนั้นผมมองว่าช่างเป็นวิธีคิดที่ปัญญาอ่อนสิ้นดี แต่เมื่อผมแก่ตัวลงผมจึงได้เข้าใจ ไม่เข้าใจเปล่าๆนะ ผมยอมรับเอามาเป็นหลักปฏิบัติในชีวิตผมด้วย โดยผมยกให้เป็นหนทางที่ลัดสั้นตรงที่สุด คือ surrender ยอมรับ ยอมแพ้ แค่ปล่อยทุกอย่างให้เป็นไปตามวิถีของมัน ขอบคุณ ขอโทษ ให้อภัย เมตตา ไม่ต้องไปพยายามขัดขืนหรือควบคุมอะไร ไม่ต้องปกป้องความเป็นบุคคลของเรา ยอมแพ้ทุกอย่าง..คุณบรรลุธรรมทันที
Sam
จากประสบการณ์ของคุณ อะไรเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่จะทำให้หลุดพ้น
นพ.สันต์
ความเอาจริงเอาจังอย่างไม่หยุดหย่อนเป็นปัจจัยเดียว ไม่มีปัจจัยอื่น โง่หรือฉลาดไม่เกี่ยว วาสนาบารมีบุญบาปกรรมดีกรรมชั่วก็ไม่เกี่ยวแม้ว่าการเรียนรู้ในอดีตของคุณอาจจะทำให้คุณไปได้ช้าหรือเร็วไปบ้างแต่เมื่อคุณพ้นไปจากความคิดแล้วสิ่งเหล่านี้จะไม่มีความหมายอะไรเลยสักนิดเดียว อย่าลืมว่าความรู้ตัวเป็นสิ่งที่เข้าถึงได้ง่ายๆเพราะมันอยู่ที่นี่ในตัวคุณนี้เดี๋ยวนี้อยู่แล้วและมันมีอยู่อันเดียว ถ้าคุณจะกลับเข้าไปหามันจริงๆมันไม่มีโอกาสพลาดได้เลย ความหลุดพ้นก็คือการวางความคิดได้หมดด้วยเทคนิคการสังเกตดูความคิดเท่านั้นเอง มันง่ายขนาดนั้น ดังนั้นมีแต่ความเอาจริงเอาจังอย่างเดียวก็พอแล้ว คุณหลุดพ้นแน่นอน
Sam
แล้วเทคนิคอะไรที่ช่วยคุณมากที่สุด
นพ.สันต์
การลาดตระเวณความรู้สึกไปบนร่างกาย ผมหมายถึง body scan เป็นเทคนิคที่ช่วยผมวางความคิดได้มากที่สุด คือร่างกายเรานี้มีพลังงานชีวิตซ้อนทับอยู่ข้างใน เรารับรู้พลังงานนี้ได้โดยรับรู้ความรู้สึกบนอายตนของร่างกาย โดยเฉพาะความรู้สึกบนผิวหนัง เป็นความรู้สึกขนลุกวูบๆวาบๆจิ๊ดๆจ๊าดๆเหน็บๆชาๆซู่ๆซ่าๆ พลังงานในร่างกายนี้มันเชื่อมโยงแนบแน่นกับความรู้ตัวซึ่งก็เป็นพลังงานเหมือนกันแต่ละเอียดกว่า เส้นทางนี้ไม่ต้องใช้ภาษามาเกี่ยวข้องเลย ใช้แต่ความรู้สึกหรือ feeling เป็นเทคนิคที่ปลอดภัยจากการถูกหลอกโดยความคิดซึ่งอยู่ในโลกของภาษา
Sam
ชีวิตต่อจากนี้คุณจะใช้ม้นอย่างไร มีเป้าหมายอยู่ที่ไหน
นพ.สันต์
ผมก็แค่สนุกกับมันเหมือนอย่างที่เพื่อนหมออินเดียแนะนำ ฮะ ฮะ ฮ่า
ผมไม่มีเป้าหมายอะไร เป้าหมายมันหมายถึงสิ่งที่อยู่ในอนาคต ผมไม่มีอนาคต แต่ละโมเมนต์ที่นี่เดี๋ยวนี้นี่แหละคือชีวิตสำหรับผม ไม่มีอะไรมากกว่านี้ ผมสนุกกับการจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ผมทำ ไม่สนใจว่าผลลัพท์มันจะเป็นอย่างไร ผมตั้งธงไว้ก่อนว่าผลลัพท์มันจะเป็นศูนย์ ทุกอย่างที่ผมทำวันนี้ผมไม่ได้ทำเพื่อปกป้องหรือส่งเสริมความเป็นบุคคลของผมแล้ว เพราะความเป็นบุคคลของผมมันมีอยู่แต่ในการรับรู้ของคนอื่น แต่จากมุมมองของผมเองความเป็นบุคคลของผมนี้หมดสิ้นไม่มีเหลือแล้ว ผมไม่ต้องปกป้องมันแล้ว ผมไม่สนใจว่าคนอื่นจะมอง "หมอสันต์" ว่าเป็นอย่างไร เพราะสำหรับผม "หมอสันต์" เป็นเพียงความคิดที่ไม่ได้ถาวรอะไร ผมใช้ชีวิตไปตามแรงผลักดันจากเมตตาธรรมในใจเท่านั้น งานของผมจึงไม่มีคำว่าสำเร็จหรือล้มเหลว เพราะสำเร็จหรือล้มเหลวเป็นคอนเซ็พท์ที่ต้องพิพากษาตัดสินโดยบุคคล เมื่อไม่มีบุคคลเหลืออยู่เพื่อเป็นผู้ตัดสินก็ไม่มีสำเร็จไม่มีล้มเหลว ผมจึงแค่ลงมือทำและเอ็นจอยการทำเท่านั้น
Sam
คุณไม่สนใจจะช่วยคนอื่นให้หลุดพ้นหรือ
นพ.สันต์
ผมยินดีที่จะเล่าประสบการณ์ของผมให้คนอื่นฟัง ส่วนคนอื่นเขาจะเอาเรื่องที่ผมเล่าไปใช้ประโยชน์กับตัวเขาเองได้หรือไม่แค่ไหนนั้นเป็นเรื่องของเขา ผมไม่สนใจว่าเขาจะสำเร็จหรือล้มเหลวดอก ผมไม่ใช่ครูทางจิตวิญญาณของใครๆ ผมรู้ว่าผมเป็นครูให้ใครๆไม่ได้หรอก ผมเป็นได้แค่เพื่อนเท่านั้น
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
22 พย. 61
จดหมายจากท่านผู้อ่าน
ผมมีความคิดว่า หลักการ surrender ไม่น่าจะใช่แนวทางที่ถูกต้อง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่หมอพูดว่า เราทำเพียงเท่านี้ อาจไปถึงขั้นบรรลุธรรมได้เลย ยิ่งเป็นความคิดที่ต้องตีความดีดี และรอบคอบสุดสุด หาไม่แล้วคนที่ยังเข้าไม่ถึงหลักธรรมอย่างลึกซึ้งอาจนำแนวคิดนี้ไปใช้แบบผิดๆก็เป็นได้ ตามความเข้าใจของผม พุทธศาสนาไม่เคยสอนให้ ก้มหน้ารับกับอะไรในลักษณะที่เหมือนกับการยอมแพ้ (surrender) ทว่าหากเปลียนคำว่า "ยอมแพ้" เป็น "ยอมรับ" น่าจะถูกต้องตรงกว่า แม้กระทั่งกับ "กรรมเก่า" เอง ก็ไม่เคยถูกสอนให้ก้มหน้ารับโดยไม่ทำอะไรเลย การสร้าง "เหตุ" และยอม "รับ" ผลของมัน เป็นคนละเรื่องกับการยอมแพ้โดยสิ้นเชิง หากเรา "ยอมรับ" แปลว่าเราเข้าใจ และเต็มใจกับสิ่งนั้นๆไม่ว่าจะดี หรือไม่ดี แต่หากเรา "ยอมแพ้" หมายถึงเราจำใจ และไม่เต็มใจ เช่นนี้แล้ว การ surrender จะทำให้เราบรรลุธรรมได้อย่างไร ? กับอีกประเด็นหนึ่งที่คุณหมอบอกว่า ความรู้สึกถึงความเป็นบุคคลมันไม่มีแล้ว ไม่มีเป้าหมาย ไม่มีอนาคต แค่ทำปัจจุบัน คล้ายกับคุณหมอจะบอกว่าเราทุกคนล้วนเป็นสิ่งสมมติ ไม่ว่าจะชื่อแซ่ ยศ ตำแหน่ง เราจึงไม่ควรไปยึดติด ซึ่งหากมองในแง่พุทธศาสนาแล้ว มันเป็นเช่นนั้นแล เพียงแต่ผมอยากจะแสดงความเห็นเล็กน้อยว่า ความเข้าใจเช่นนี้ควรแยกเป็นสองระดับ คือระดับผู้ที่เข้าใจธรรมอย่างลึกซึ้ง และระดับธรรมดาสามัญที่ยังเข้าวัดขอหวยไปวันๆ หากเป็นระดับคุณหมอที่พร้อมไปด้วยฐานะและความรู้ การทำอะไรโดยไม่คำนึงถึงอนาคต และผลลัพธ์แล้วก็คงไม่เดือดร้อนอะไร แต่สำหรับอีกระดับ การนำความคิดแบบนี้ไปใช้ ทั้งที่ไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ ถึงหลักธรรมข้อนี้แล้ว อาจส่งผลตรงกันข้ามก็เป็นได้ ยกตัวอย่างเพื่อให้เห็นภาพ เช่น คนหนุ่มสาววัยทำงาน การวางแผนในอนาคต การทำงานที่คำนึงถึงผลลัพธ์ น่าจะยังเป็นสิ่งสำคัญของวัยนี้ เขาคงทำแบบคุณหมอไม่ได้ ที่ทำงานด้วยแรงขับอะไรสักอย่าง โดยไม่สนใจถึงผลลัพธ์ ถึงเสียงผู้คนรอบข้าง ถึงอนาคตตัวเอง ถึงความก้าวหน้าในอาชีพการงาน และสุดท้ายถึงเรื่องเงินทองเลี้ยงชีพ. ผมเข้าใจว่าคำตอบที่คุณหมอให้สัมภาษณ์มันเป็นเฉพาะตัวคุณหมอเอง แค่ผมอยากติงว่าอาจมีบางคนที่ไม่เข้าใจแล้วนำมันไปใช้ ถ้าใช้ด้วยความเข้าใจก็ดีไป หาไม่แล้วคงดูไม่จืด ผมไม่ได้ลึกซื้งอะไรในเรื่องธรรม แสดงความเห็นไปตามที่คิด ขออภัยคุณหมอด้วยหากล่วงเกินอะไรไป...ด้วยความเคารพครับ
ตอบครับ
ขอบพระคุณมากที่สละเวลาเขียนมาหาผมครับ
1. คำว่า surrender ผมแปลว่ายอมรับ + ยอมแพ้ เพื่อสื่อถึงการยอมรับสิ่งที่มีอยู่เป็นอยู่อย่างไม่มีเงื่อนไขโดยไม่ต้องสืบหาเหตุผลหรือต่อรองใดๆทั้งสิ้น คือตื๊บอีโก้ไปเสียแบนแต๊ดแต๋ไม่เหลือเลย ขออำไพถ้าอ่านแล้วมันชวนให้ตีความไปว่าเป็นการยอมแพ้ชนิดฮึดฮัดเหลืออีโก้ยู่แบบว่า..ฝากไว้ก่อนนะโว้ย..วันหลังข้าจะมาเอาคืน
อีกคำหนึ่งที่แทนกันได้คือ acceptance การอ่านภาษาแล้วเข้าใจไม่ตรงกันนี่มันเป็นเรื่องธรรมดา ข้องใจแล้วเขียนมาแย้งผมก็ยิ่งยินดีมากนะครับ ผมยอมรับความเข้าใจไม่ตรงกันเรื่องภาษาเสมอ เพราะแม้ผมพยายามสื่อไปถึงสิ่งที่อยู่พ้นภาษาออกไปแต่เราก็ยังต้องใช้ภาษาเป็นตัวสื่อถึงกันอยู่ ถ้าคุณไม่เขียนมา ผมก็ไม่รู้ว่าเราเข้าใจภาษาไม่ตรงกัน
2. เรื่องการอยู่กับปัจจุบันโดยไม่สนใจอนาคต ผมขออธิบายยาวหน่อยเพราะเห็นว่าท่านผู้อ่านท่านอื่นจะได้ประโยชน์ในแง่ที่เป็นภาคขยายของบทความด้วย คำว่าการอยู่กับปัจจุบันในที่นี้หมายถึงการใช้ชีวิตอยู่นอกมิติของเวลา ผมหมายถึงนอก psychological time เพราะมิติของเวลาเป็นคอนเซ็พท์ที่เราใช้ project ความคิดลบของเราขึ้นมาในใจ เช่นเราเอาความจำเรื่องเลวร้ายในอดีตมาคาดการณ์ความกลัว ความกังวล ว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต หรือเราหวนคิดถึงอดีตแล้วเศร้าใจ เสียใจ ทั้งหมดนั้นคือการอยู่กับความคิดซึ่งไม่ใช่การอยู่กับปัจจุบัน การอยู่กับปัจจุบันหมายถึงการจดจ่อตั้งใจทำขั้นตอนที่อยู่ตรงหน้าที่นี่เดี๋ยวนี้โดยไม่ไปคิดกังวลว่าอนาคตมันจะเละหรือจะดี แต่ไม่ใช่การเลิกนัดหมายเวลาตามนาฬิกา (clock time) แบบว่าเหวี่ยงนาฬิกาทิ้ง มันคนละเรื่องกัน ยกตัวอย่างเช่นผัวหนุ่มเมียสาวแต่งงานสร้างครอบครัววางแผนปลูกบ้านมีลูกส่งลูกเรียนเป็นขั้นๆ การอยู่กับปัจจุบันหมายความว่าเมื่อเขาวางแผนเขาวางแผนที่เดี๋ยวนี้อย่างตั้งใจโดยเมื่อวางแผนเสร็จแล้วก็ลงมือทำขั้นที่ 1 เลยโดยไม่ไปกังวลถึงขั้นที่ 2 หรือขั้นที่ 3 การตั้งใจทำตามแผนขั้นที่ 1 โดยไม่ไปกังวลถึงผลลัพท์หลังจากจบขั้นที่ 3 คือการอยู่กับปัจจุบัน แต่การไปกังวลถึงขั้นที่ 2 และขั้นที่ 3 ทั้งๆที่เวลายังมาไม่ถึงนั่นเป็นการไม่อยู่กับปัจจุบัน
ผมเข้าใจว่าคุณคงอยู่ในวัยหนุ่มสาวหรือวัยทำงานอยู่นะครับ การทำงานโดยโฟกัสที่กระบวนการทำโดยไม่ต้องพะวงถึงผลลัพท์ (focus on process, zero result) นี้เป็นสิ่งที่ผมแนะนำอย่างแรงให้คนหนุ่มคนสาวเอาไปทดลองปฏิบัติ เพราะมันจะทำให้ชีวิตการทำงานมีความสุข และทำให้ผลงานออกมาดีกว่าการทำงานแบบคอยแต่กังวลถึงผลลัพท์ในอนาคตเสียอีก
3. ข้อนี้คุณไม่ได้ท้วงติงมา แต่ผมเห็นคุณพูดถึง "แรงขับ" ในการทำงานของคนวัยหนุ่มสาว ผมก็ขอถือโอกาสนี้พูดกับคนหนุ่มสาวเสียด้วย ว่าการทำงานสร้างตัวนั้นมันมีสองแบบ แบบแรกคือแบบที่ผมเรียกว่า survival mode คือวิ่งตามเขาไป เอาเงินเป็นตัวชี้วัด ทุ่มเทหาเงินให้ได้มากๆ เท่าไหร่ก็ยังไม่พอ ด้วยหวังว่าจะรวยก่อนอายุห้าสิบแล้วเกษียณก่อนกำหนดมาเสวยสุข คือทนเหนื่อยยากในวันนี้เพื่อสบายในวันหน้า กับแบบที่สองผมเรียกว่า living mode คือเอาการใช้ชีวิตที่เดี๋ยวนี้ให้สงบเย็นเป็นตัวตั้ง งานการก็ทำไปให้ได้ดุลระหว่างการทำงานและการใช้ชีวิต ไม่ต้องไปแข่งขันเอาเงินเอารวยเอาหรูเอายศชั้น แต่ขอให้เดี๋ยวนี้มันสงบเย็นเบิกบาน ในฐานะที่ผมเคยใช้ชีวิตอยู่ใน survival mode มาก่อนผมแนะนำคนหนุ่มคนสาวอย่างคุณได้อย่างเต็มปากเต็มคำว่าหากให้ผมย้อนกลับไปตั้งต้นชีวิตใหม่ในวัยยี่สิบต้นๆ ผมจะไม่ใช้ชีวิตใน survival mode อีกอย่างแน่นอนเด็ดขาด ผมจะใช้ชีวิตใน living mode แทนเพราะการใช้ชีวิตใน survival mode มันจบลงด้วยการที่เราผ่านชีวิตไปโดยแทบไม่ได้ใช้ชีวิตเลย เพราะชีวิตจริงมันใช้กันที่เดี๋ยวนี้ แต่นี่เราเอาเดี๋ยวนี้ไปสร้างอนาคตจนลืมใช้ชีวิต แล้วอนาคตนั้น หิ หิ ห้าสิบปีผ่านไปไวเหมือนโกหก พอผมแก่แล้วผมสามารถบอกคุณได้อย่างจริงใจเลยนะว่าอนาคตนั้นมัน..ไม่ได้มีอยู่จริงหรอก และเวลาอนาคตมันมาหาคุณมันมาในรูปของเดี๋ยวนี้ แล้วเดี๋ยวนี้คุณมัวไปสร้างอนาคต เออ..แล้วคุณจะไปใช้ชีวิตตอนไหนละ
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
คุณมีแบ้คกราวด์กับทั้งฮินดูและพุทธมานาน ในความเห็นของคุณ ฮินดูกับพุทธต่างกันอย่างไร
นพ.สันต์
ฮินดูพูดถึงสุญญตามากเกินไป พุทธแทบไม่พูดถึงเลย พวกมิชชันนารีชาวคริสต์แปลคำว่าสุญญตาของพุทธว่า "void" ซึ่งผมเข้าใจความคิดของคนแปลนะ เพราะแม้แต่ในภาษาไทยซึ่งใกล้เคียงกับภาษาบาลีสันสกฤตก็ยังแปลคำนี้ว่า "ความว่าง"
Sam
แล้วคุณว่ามันควรจะแปลว่าอย่างไรละ
นพ.สันต์
"สุญญตา" น่าจะแปลว่า "ความเงียบในหัว" (interior silence) มากกว่า ผมหมายความว่าเงียบจากความคิดหรือภาษาพูดที่มนุษย์เราสร้างขึ้น
Sam
ทำไมคุณจึงให้ความสำคัญกับคำนี้
นพ.สันต์
อ้าว ก็มันเป็นสิ่งที่ทั้งฮินดูและพุทธต่างก็มุ่งจะไปหา คุณจะเรียกมันว่าอะไรก็ตาม จะเรียกว่าเป็นปรมาตมัน, พระเจ้า, นิพพาน, เต๋า หรือแม้กระทั่งหัวใจ (heart) จะเรียกว่าอะไรมันก็เป็นสิ่งเดียวกันนั้นแหละ คือมันเป็นภาวะที่ความคิดไม่มีเหลือแล้ว เหลือแต่ความรู้ตัว (awareness) ซึ่งเป็นแค่ความตื่น ความสามารถรับรู้ และความรู้สึกสงบเย็นสบายๆ ณ ตรงนี้แหละคือความหลุดพ้น
Sam
แล้ววิธีไปของฮินดูกับพุทธต่างกันอย่างไร
นพ.สันต์
ฮินดูเป็นผลงานสะสมของนักคิดหลายคนหลายยุคสมัยนะ จึงมีคอนเซ็พท์และวิธีปฎิบัติเยอะมาก แค่พระเจ้านี่คุณก็นับไม่หมดแล้ว แต่พุทธทิ้งคอนเซ็พท์ไปหมดเลยเอาแต่ประสบการณ์ตรงผ่านอายตนะอย่างเดียว สำหรับพุทธคอนเซ็พท์ทุกอย่างไร้สาระ รวมทั้งคอนเซ็พท์เรื่องพระเจ้าองค์โน้นองค์นี้ด้วย ภาษาก็ไม่มีความหมาย ทุกอย่างไม่ได้เป็นอย่างที่เราเรียกว่ามันเป็น แต่มันเป็นตามที่มันเป็น ไม่ต้องนิยามด้วยซ้ำ แค่ปล่อยทุกอย่างไว้ไม่อิงไม่เกาะเกี่ยวกับอะไรทั้งสิ้น พระเจ้าก็ไม่เอา วิญญาณที่อมตะก็ไม่เอา เอาแต่ความจริงที่ว่าชีวิตนี้ไม่มีคอนเซ็พท์อะไรที่ตั้งชื่อหรือพูดออกมาเป็นภาษาได้ให้ยึดกุมได้หรอก
ส่วนความเหมือนนั้นนั้นมีแยะ เพราะว่าจริงๆแล้วพุทธก็งอกรากออกมาจากฮินดู ที่เหมือนกันคือ (1) ทุกชีวิตมุ่งหาการพ้นทุกข์ (2) ความสงบเย็นเป็นธรรมชาติดั้งเดิมของชีวิตโดยไม่เกี่ยวกับเหตุภายนอก ทั้งสองค่ายต่างย้ำว่าร่างกายและความคิดไม่ใช่ธรรมชาติดั้งเดิมของมนุษย์ ต้องถอยกลับไปสู่ธรรมชาติดั้งเดิมของตนซึ่งก็คือความรู้ตัว ไม่ต้องไปหาอะไรไหม่ แต่คนส่วนใหญ่ซึ่งไม่รู้ข้อนี้มัวไปทำตรงกันข้ามคือสร้างความคิดและภาษาขึ้นมาครอบธรรมชาติดั้งเดิมของตัวเอง แล้วก็ติดแหง็กอยู่ในครอบนั้น (3) การจะถอยออกจากความคิดกลับไปเป็นความรู้ตัวมันต้องอาศัยเครื่องมือ เครื่องมือหลักก็คือ meditation ทั้งพุทธทั้งฮินดูจึงต่างก็เน้น meditation นี่เป็นจุดที่เหมือนกันอันที่สาม (4) ในแง่ของการเอาไปใช้กับชีวิตจริงก็มีความเหมือนกันอยู่ ว่าความวิเวก (solitude) มันอยู่ที่ในใจ คนหนึ่งอาจจะอยู่ในความวุ่นวายของโลกแต่สงบนิ่งอยู่กับความรู้ตัวอยู่ได้ นั่นคือเขาวิเวกอยู่ ขณะที่อีกคนหนึ่งอยู่ในป่าลึกเงียบสนิทแต่ไม่อาจสงบจากความคิดได้ นั่นคือเขายังไม่วิเวก คนที่ปักหลักมั่นอยู่กับความรู้ตัวได้แล้ว กิจกรรมทางสังคมต่างๆของเขาอาจจะยังคงดำเนินไป แต่ผลของกิจกรรมเหล่านั้นไม่มีผลอะไรกับความรู้ตัวของเขา ตรงนี้ก็เป็นอีกอันหนึ่งที่เหมือนกัน
Sam
คุณชอบทางไหนมากกว่า
นพ.สันต์
ชอบทั้งสองอย่าง แต่ใช้วิธีของพุทธที่เน้นประสบการณ์ตรงเป็นหลักมากกว่า อาศัยแค่ประสบการณ์จริงก็ตีฝ่าสำนึกของความเป็นบุคคลให้แตกสลายไปได้แล้ว
Sam
ช่วยขยายความหน่อยได้ไหม
นพ.สันต์
คือตอนเราเกิดมาเป็นเด็ก อยู่ท่ามกลางธรรมชาติที่ปรากฎต่อเราในรูปของคลื่นความสั่นสะเทือนในระดับความถี่ต่างๆโดยไม่ต้องจำแนกความหมายออกมาเป็นภาษาหรือความคิด ชีวิตก็มีความสุขดี แต่ผู้ใหญ่ค่อยๆสอนให้เราตีความหมายการสั่นสะเทือนเหล่านั้นผ่านภาษา จนภาษาและคอนเซ็พท์ต่างๆได้กลายมาเป็นระบบหรือเครื่องมือที่บีบบังคับเราไปเสียฉิบ เท่ากับว่าเราเกิดมาใหม่ๆก็ดีๆอยู่ แต่ดันมาสร้างความคิดขึ้นครอบตัวเราเอง เราคิด คิด คิด จนในชีวิตเราไม่มีอะไรเหลือเลยนอกจากความคิด ก็เลยต้องมาเดือดร้อนหาวิธีวางความคิดที่เราเองกุขึ้นมาลงเสีย พุทธสอนอย่างเดียวเลย คือสอนวิธีวางความคิด โดยบอกวิธีปฏิบัติอย่างเป็นขั้นเป็นตอนชนิดที่ใครๆก็ทำตามได้
Sam
ออกไปจากสำนึกของความเป็นบุคคลหมายความว่าอย่างไร
นพ.สันต์
ก็หมายความว่าความคิดทั้งมวลสืบโคตรเหง้าศักราชไปเถอะมันล้วนมีรากมาจากที่เดียวกัน คือจากสำนึกที่ว่าเรานี้เป็นบุคคลคนหนึ่งซึ่งมีชื่อนี้สถานะนี้ อีโก้..คุณจะเรียกว่าอย่างนั้นก็ได้ คือเป็น "I thought" หมายถึงสำนึกว่าเราเป็นคนๆหนึ่งที่แยกส่วนออกมาจากสิ่งอื่นหรือจากจักรวาลนี้ ซึ่งมันเป็นความเท็จ ความเป็นบุคคลของเรามันเป็นเพียงความคิดซึ่งไม่สถาพรและทำให้ทุกข์ แค่วางความคิดที่คุณกุขึ้นมาลงเสีย คุณก็หลุดพ้นแล้ว พุทธสอนอย่างนี้ ซึ่งผมเก็ท
Sam
คุณใช้แต่วิธีของพุทธเท่านั้น?
นพ.สันต์
โอ.. ไม่ ไม่ บางอย่างผมก็ใช้วิธีที่ชาวฮินดูเขานิยมใช้กัน มันเป็นทางลัด
Sam
ลองยกตัวอย่างหน่อย
นพ.สันต์
อย่างเช่นการยอมรับและยอมแพ้อย่างไม่มีเงื่อนไข หรือ..ศรัทธา ถ้าคุณอยากจะเรียกมันว่าอย่างนั้น หรือ surrender นี่มันเป็นเทคนิคที่ลัดสั้นตรงมากที่สุดเลย แต่คุณจะทำไม่ได้หรอกนะถ้าคุณไม่มีความไว้วางใจชีวิตเป็นพื้นฐานเสียก่อน คุยกันถึงตรงนี้ผมขอนอกเรื่องหน่อยนะ สมัยหนุ่มๆผมเป็นแพทย์ประจำบ้านอยู่ที่เมืองโอ๊คแลนด์ มีหมอหลายชาติหลายภาษามาทำงานด้วยกัน คนหนึ่งเป็นอินเดีย แล้วเย็นวันอาทิตย์ก็มักเป็นวันที่เราหมุนเวียนไปตั้งวงดื่มไวน์และเบียร์ตามบ้านพวกเรากันเอง มีอยู่ครั้งหนึ่งเมียเพื่อนหมอฝรั่งคนหนึ่งถามหมออินเดียถึงหลักปรัชญาของศาสนาฮินดู เขาตอบว่า
" If you are raped and can not get away, enjoy it!"
"ถ้าคุณถูกปล้ำข่มขื่นและหนีไม่รอด ก็สนุกกับมันซะ"
พวกเราหัวเราะ นั่นเป็นแค่เรื่องคุยกันเล่นในวงดื่มไวน์ สมัยโน้นผมไม่เคยเห็นด้วยกับแนวคิดแบบนั้นเลย ตอนนั้นผมมองว่าช่างเป็นวิธีคิดที่ปัญญาอ่อนสิ้นดี แต่เมื่อผมแก่ตัวลงผมจึงได้เข้าใจ ไม่เข้าใจเปล่าๆนะ ผมยอมรับเอามาเป็นหลักปฏิบัติในชีวิตผมด้วย โดยผมยกให้เป็นหนทางที่ลัดสั้นตรงที่สุด คือ surrender ยอมรับ ยอมแพ้ แค่ปล่อยทุกอย่างให้เป็นไปตามวิถีของมัน ขอบคุณ ขอโทษ ให้อภัย เมตตา ไม่ต้องไปพยายามขัดขืนหรือควบคุมอะไร ไม่ต้องปกป้องความเป็นบุคคลของเรา ยอมแพ้ทุกอย่าง..คุณบรรลุธรรมทันที
Sam
จากประสบการณ์ของคุณ อะไรเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่จะทำให้หลุดพ้น
นพ.สันต์
ความเอาจริงเอาจังอย่างไม่หยุดหย่อนเป็นปัจจัยเดียว ไม่มีปัจจัยอื่น โง่หรือฉลาดไม่เกี่ยว วาสนาบารมีบุญบาปกรรมดีกรรมชั่วก็ไม่เกี่ยวแม้ว่าการเรียนรู้ในอดีตของคุณอาจจะทำให้คุณไปได้ช้าหรือเร็วไปบ้างแต่เมื่อคุณพ้นไปจากความคิดแล้วสิ่งเหล่านี้จะไม่มีความหมายอะไรเลยสักนิดเดียว อย่าลืมว่าความรู้ตัวเป็นสิ่งที่เข้าถึงได้ง่ายๆเพราะมันอยู่ที่นี่ในตัวคุณนี้เดี๋ยวนี้อยู่แล้วและมันมีอยู่อันเดียว ถ้าคุณจะกลับเข้าไปหามันจริงๆมันไม่มีโอกาสพลาดได้เลย ความหลุดพ้นก็คือการวางความคิดได้หมดด้วยเทคนิคการสังเกตดูความคิดเท่านั้นเอง มันง่ายขนาดนั้น ดังนั้นมีแต่ความเอาจริงเอาจังอย่างเดียวก็พอแล้ว คุณหลุดพ้นแน่นอน
Sam
แล้วเทคนิคอะไรที่ช่วยคุณมากที่สุด
นพ.สันต์
การลาดตระเวณความรู้สึกไปบนร่างกาย ผมหมายถึง body scan เป็นเทคนิคที่ช่วยผมวางความคิดได้มากที่สุด คือร่างกายเรานี้มีพลังงานชีวิตซ้อนทับอยู่ข้างใน เรารับรู้พลังงานนี้ได้โดยรับรู้ความรู้สึกบนอายตนของร่างกาย โดยเฉพาะความรู้สึกบนผิวหนัง เป็นความรู้สึกขนลุกวูบๆวาบๆจิ๊ดๆจ๊าดๆเหน็บๆชาๆซู่ๆซ่าๆ พลังงานในร่างกายนี้มันเชื่อมโยงแนบแน่นกับความรู้ตัวซึ่งก็เป็นพลังงานเหมือนกันแต่ละเอียดกว่า เส้นทางนี้ไม่ต้องใช้ภาษามาเกี่ยวข้องเลย ใช้แต่ความรู้สึกหรือ feeling เป็นเทคนิคที่ปลอดภัยจากการถูกหลอกโดยความคิดซึ่งอยู่ในโลกของภาษา
Sam
ชีวิตต่อจากนี้คุณจะใช้ม้นอย่างไร มีเป้าหมายอยู่ที่ไหน
นพ.สันต์
ผมก็แค่สนุกกับมันเหมือนอย่างที่เพื่อนหมออินเดียแนะนำ ฮะ ฮะ ฮ่า
ผมไม่มีเป้าหมายอะไร เป้าหมายมันหมายถึงสิ่งที่อยู่ในอนาคต ผมไม่มีอนาคต แต่ละโมเมนต์ที่นี่เดี๋ยวนี้นี่แหละคือชีวิตสำหรับผม ไม่มีอะไรมากกว่านี้ ผมสนุกกับการจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ผมทำ ไม่สนใจว่าผลลัพท์มันจะเป็นอย่างไร ผมตั้งธงไว้ก่อนว่าผลลัพท์มันจะเป็นศูนย์ ทุกอย่างที่ผมทำวันนี้ผมไม่ได้ทำเพื่อปกป้องหรือส่งเสริมความเป็นบุคคลของผมแล้ว เพราะความเป็นบุคคลของผมมันมีอยู่แต่ในการรับรู้ของคนอื่น แต่จากมุมมองของผมเองความเป็นบุคคลของผมนี้หมดสิ้นไม่มีเหลือแล้ว ผมไม่ต้องปกป้องมันแล้ว ผมไม่สนใจว่าคนอื่นจะมอง "หมอสันต์" ว่าเป็นอย่างไร เพราะสำหรับผม "หมอสันต์" เป็นเพียงความคิดที่ไม่ได้ถาวรอะไร ผมใช้ชีวิตไปตามแรงผลักดันจากเมตตาธรรมในใจเท่านั้น งานของผมจึงไม่มีคำว่าสำเร็จหรือล้มเหลว เพราะสำเร็จหรือล้มเหลวเป็นคอนเซ็พท์ที่ต้องพิพากษาตัดสินโดยบุคคล เมื่อไม่มีบุคคลเหลืออยู่เพื่อเป็นผู้ตัดสินก็ไม่มีสำเร็จไม่มีล้มเหลว ผมจึงแค่ลงมือทำและเอ็นจอยการทำเท่านั้น
Sam
คุณไม่สนใจจะช่วยคนอื่นให้หลุดพ้นหรือ
นพ.สันต์
ผมยินดีที่จะเล่าประสบการณ์ของผมให้คนอื่นฟัง ส่วนคนอื่นเขาจะเอาเรื่องที่ผมเล่าไปใช้ประโยชน์กับตัวเขาเองได้หรือไม่แค่ไหนนั้นเป็นเรื่องของเขา ผมไม่สนใจว่าเขาจะสำเร็จหรือล้มเหลวดอก ผมไม่ใช่ครูทางจิตวิญญาณของใครๆ ผมรู้ว่าผมเป็นครูให้ใครๆไม่ได้หรอก ผมเป็นได้แค่เพื่อนเท่านั้น
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
22 พย. 61
จดหมายจากท่านผู้อ่าน
ผมมีความคิดว่า หลักการ surrender ไม่น่าจะใช่แนวทางที่ถูกต้อง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่หมอพูดว่า เราทำเพียงเท่านี้ อาจไปถึงขั้นบรรลุธรรมได้เลย ยิ่งเป็นความคิดที่ต้องตีความดีดี และรอบคอบสุดสุด หาไม่แล้วคนที่ยังเข้าไม่ถึงหลักธรรมอย่างลึกซึ้งอาจนำแนวคิดนี้ไปใช้แบบผิดๆก็เป็นได้ ตามความเข้าใจของผม พุทธศาสนาไม่เคยสอนให้ ก้มหน้ารับกับอะไรในลักษณะที่เหมือนกับการยอมแพ้ (surrender) ทว่าหากเปลียนคำว่า "ยอมแพ้" เป็น "ยอมรับ" น่าจะถูกต้องตรงกว่า แม้กระทั่งกับ "กรรมเก่า" เอง ก็ไม่เคยถูกสอนให้ก้มหน้ารับโดยไม่ทำอะไรเลย การสร้าง "เหตุ" และยอม "รับ" ผลของมัน เป็นคนละเรื่องกับการยอมแพ้โดยสิ้นเชิง หากเรา "ยอมรับ" แปลว่าเราเข้าใจ และเต็มใจกับสิ่งนั้นๆไม่ว่าจะดี หรือไม่ดี แต่หากเรา "ยอมแพ้" หมายถึงเราจำใจ และไม่เต็มใจ เช่นนี้แล้ว การ surrender จะทำให้เราบรรลุธรรมได้อย่างไร ? กับอีกประเด็นหนึ่งที่คุณหมอบอกว่า ความรู้สึกถึงความเป็นบุคคลมันไม่มีแล้ว ไม่มีเป้าหมาย ไม่มีอนาคต แค่ทำปัจจุบัน คล้ายกับคุณหมอจะบอกว่าเราทุกคนล้วนเป็นสิ่งสมมติ ไม่ว่าจะชื่อแซ่ ยศ ตำแหน่ง เราจึงไม่ควรไปยึดติด ซึ่งหากมองในแง่พุทธศาสนาแล้ว มันเป็นเช่นนั้นแล เพียงแต่ผมอยากจะแสดงความเห็นเล็กน้อยว่า ความเข้าใจเช่นนี้ควรแยกเป็นสองระดับ คือระดับผู้ที่เข้าใจธรรมอย่างลึกซึ้ง และระดับธรรมดาสามัญที่ยังเข้าวัดขอหวยไปวันๆ หากเป็นระดับคุณหมอที่พร้อมไปด้วยฐานะและความรู้ การทำอะไรโดยไม่คำนึงถึงอนาคต และผลลัพธ์แล้วก็คงไม่เดือดร้อนอะไร แต่สำหรับอีกระดับ การนำความคิดแบบนี้ไปใช้ ทั้งที่ไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ ถึงหลักธรรมข้อนี้แล้ว อาจส่งผลตรงกันข้ามก็เป็นได้ ยกตัวอย่างเพื่อให้เห็นภาพ เช่น คนหนุ่มสาววัยทำงาน การวางแผนในอนาคต การทำงานที่คำนึงถึงผลลัพธ์ น่าจะยังเป็นสิ่งสำคัญของวัยนี้ เขาคงทำแบบคุณหมอไม่ได้ ที่ทำงานด้วยแรงขับอะไรสักอย่าง โดยไม่สนใจถึงผลลัพธ์ ถึงเสียงผู้คนรอบข้าง ถึงอนาคตตัวเอง ถึงความก้าวหน้าในอาชีพการงาน และสุดท้ายถึงเรื่องเงินทองเลี้ยงชีพ. ผมเข้าใจว่าคำตอบที่คุณหมอให้สัมภาษณ์มันเป็นเฉพาะตัวคุณหมอเอง แค่ผมอยากติงว่าอาจมีบางคนที่ไม่เข้าใจแล้วนำมันไปใช้ ถ้าใช้ด้วยความเข้าใจก็ดีไป หาไม่แล้วคงดูไม่จืด ผมไม่ได้ลึกซื้งอะไรในเรื่องธรรม แสดงความเห็นไปตามที่คิด ขออภัยคุณหมอด้วยหากล่วงเกินอะไรไป...ด้วยความเคารพครับ
ตอบครับ
ขอบพระคุณมากที่สละเวลาเขียนมาหาผมครับ
1. คำว่า surrender ผมแปลว่ายอมรับ + ยอมแพ้ เพื่อสื่อถึงการยอมรับสิ่งที่มีอยู่เป็นอยู่อย่างไม่มีเงื่อนไขโดยไม่ต้องสืบหาเหตุผลหรือต่อรองใดๆทั้งสิ้น คือตื๊บอีโก้ไปเสียแบนแต๊ดแต๋ไม่เหลือเลย ขออำไพถ้าอ่านแล้วมันชวนให้ตีความไปว่าเป็นการยอมแพ้ชนิดฮึดฮัดเหลืออีโก้ยู่แบบว่า..ฝากไว้ก่อนนะโว้ย..วันหลังข้าจะมาเอาคืน
อีกคำหนึ่งที่แทนกันได้คือ acceptance การอ่านภาษาแล้วเข้าใจไม่ตรงกันนี่มันเป็นเรื่องธรรมดา ข้องใจแล้วเขียนมาแย้งผมก็ยิ่งยินดีมากนะครับ ผมยอมรับความเข้าใจไม่ตรงกันเรื่องภาษาเสมอ เพราะแม้ผมพยายามสื่อไปถึงสิ่งที่อยู่พ้นภาษาออกไปแต่เราก็ยังต้องใช้ภาษาเป็นตัวสื่อถึงกันอยู่ ถ้าคุณไม่เขียนมา ผมก็ไม่รู้ว่าเราเข้าใจภาษาไม่ตรงกัน
2. เรื่องการอยู่กับปัจจุบันโดยไม่สนใจอนาคต ผมขออธิบายยาวหน่อยเพราะเห็นว่าท่านผู้อ่านท่านอื่นจะได้ประโยชน์ในแง่ที่เป็นภาคขยายของบทความด้วย คำว่าการอยู่กับปัจจุบันในที่นี้หมายถึงการใช้ชีวิตอยู่นอกมิติของเวลา ผมหมายถึงนอก psychological time เพราะมิติของเวลาเป็นคอนเซ็พท์ที่เราใช้ project ความคิดลบของเราขึ้นมาในใจ เช่นเราเอาความจำเรื่องเลวร้ายในอดีตมาคาดการณ์ความกลัว ความกังวล ว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต หรือเราหวนคิดถึงอดีตแล้วเศร้าใจ เสียใจ ทั้งหมดนั้นคือการอยู่กับความคิดซึ่งไม่ใช่การอยู่กับปัจจุบัน การอยู่กับปัจจุบันหมายถึงการจดจ่อตั้งใจทำขั้นตอนที่อยู่ตรงหน้าที่นี่เดี๋ยวนี้โดยไม่ไปคิดกังวลว่าอนาคตมันจะเละหรือจะดี แต่ไม่ใช่การเลิกนัดหมายเวลาตามนาฬิกา (clock time) แบบว่าเหวี่ยงนาฬิกาทิ้ง มันคนละเรื่องกัน ยกตัวอย่างเช่นผัวหนุ่มเมียสาวแต่งงานสร้างครอบครัววางแผนปลูกบ้านมีลูกส่งลูกเรียนเป็นขั้นๆ การอยู่กับปัจจุบันหมายความว่าเมื่อเขาวางแผนเขาวางแผนที่เดี๋ยวนี้อย่างตั้งใจโดยเมื่อวางแผนเสร็จแล้วก็ลงมือทำขั้นที่ 1 เลยโดยไม่ไปกังวลถึงขั้นที่ 2 หรือขั้นที่ 3 การตั้งใจทำตามแผนขั้นที่ 1 โดยไม่ไปกังวลถึงผลลัพท์หลังจากจบขั้นที่ 3 คือการอยู่กับปัจจุบัน แต่การไปกังวลถึงขั้นที่ 2 และขั้นที่ 3 ทั้งๆที่เวลายังมาไม่ถึงนั่นเป็นการไม่อยู่กับปัจจุบัน
ผมเข้าใจว่าคุณคงอยู่ในวัยหนุ่มสาวหรือวัยทำงานอยู่นะครับ การทำงานโดยโฟกัสที่กระบวนการทำโดยไม่ต้องพะวงถึงผลลัพท์ (focus on process, zero result) นี้เป็นสิ่งที่ผมแนะนำอย่างแรงให้คนหนุ่มคนสาวเอาไปทดลองปฏิบัติ เพราะมันจะทำให้ชีวิตการทำงานมีความสุข และทำให้ผลงานออกมาดีกว่าการทำงานแบบคอยแต่กังวลถึงผลลัพท์ในอนาคตเสียอีก
3. ข้อนี้คุณไม่ได้ท้วงติงมา แต่ผมเห็นคุณพูดถึง "แรงขับ" ในการทำงานของคนวัยหนุ่มสาว ผมก็ขอถือโอกาสนี้พูดกับคนหนุ่มสาวเสียด้วย ว่าการทำงานสร้างตัวนั้นมันมีสองแบบ แบบแรกคือแบบที่ผมเรียกว่า survival mode คือวิ่งตามเขาไป เอาเงินเป็นตัวชี้วัด ทุ่มเทหาเงินให้ได้มากๆ เท่าไหร่ก็ยังไม่พอ ด้วยหวังว่าจะรวยก่อนอายุห้าสิบแล้วเกษียณก่อนกำหนดมาเสวยสุข คือทนเหนื่อยยากในวันนี้เพื่อสบายในวันหน้า กับแบบที่สองผมเรียกว่า living mode คือเอาการใช้ชีวิตที่เดี๋ยวนี้ให้สงบเย็นเป็นตัวตั้ง งานการก็ทำไปให้ได้ดุลระหว่างการทำงานและการใช้ชีวิต ไม่ต้องไปแข่งขันเอาเงินเอารวยเอาหรูเอายศชั้น แต่ขอให้เดี๋ยวนี้มันสงบเย็นเบิกบาน ในฐานะที่ผมเคยใช้ชีวิตอยู่ใน survival mode มาก่อนผมแนะนำคนหนุ่มคนสาวอย่างคุณได้อย่างเต็มปากเต็มคำว่าหากให้ผมย้อนกลับไปตั้งต้นชีวิตใหม่ในวัยยี่สิบต้นๆ ผมจะไม่ใช้ชีวิตใน survival mode อีกอย่างแน่นอนเด็ดขาด ผมจะใช้ชีวิตใน living mode แทนเพราะการใช้ชีวิตใน survival mode มันจบลงด้วยการที่เราผ่านชีวิตไปโดยแทบไม่ได้ใช้ชีวิตเลย เพราะชีวิตจริงมันใช้กันที่เดี๋ยวนี้ แต่นี่เราเอาเดี๋ยวนี้ไปสร้างอนาคตจนลืมใช้ชีวิต แล้วอนาคตนั้น หิ หิ ห้าสิบปีผ่านไปไวเหมือนโกหก พอผมแก่แล้วผมสามารถบอกคุณได้อย่างจริงใจเลยนะว่าอนาคตนั้นมัน..ไม่ได้มีอยู่จริงหรอก และเวลาอนาคตมันมาหาคุณมันมาในรูปของเดี๋ยวนี้ แล้วเดี๋ยวนี้คุณมัวไปสร้างอนาคต เออ..แล้วคุณจะไปใช้ชีวิตตอนไหนละ
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์