Free Satsang การสมาคมกับสิ่งดีๆ
ซัทซัง (Satsang) คืออะไร
คำว่าซัทซัง (Satsang) แปลตรงๆว่า "การสมาคมกับสิ่งดีๆ" ในทางปฏิบัติคำนี้หมายถึงรูปแบบการร่วมกลุ่มกันฝึกปฏิบัติสู่ความหลุดพ้นทางจิตวิญญาณ นิยมทำกันในอินเดีย อเมริกา แคนาดา และยุโรป มักจะประกอบไปด้วยการสอนหรือแนะนำสั้นๆ การนั่งปฏิบัติสมาธิภาวนาร่วมกัน การถามตอบคำถามที่เกิดจากการปฏิบัติ การซักซ้อมหรือตรวจสอบทิศทางการปฏิบัติของสมาชิกแต่ละคน เหล่านี้เป็นกิจกรรมหลัก ซัทซังหลายแห่งมีการทำเสียงดนตรีหรือร้องรำทำเพลงหรือเต้นรำผสมโรงคลุกเคล้าไปด้วย
ส่วนคำว่าฟรีซัทซัง (Free Satsang) ก็หมายถึงการเข้าร่วมซัทซังโดยไม่ต้องเสียเงิน
ทำไมหมอสันต์มาทำซัทซัง
ผมเองก็ไม่เคยคาดคิดมาก่อนเลยในชีวิต ว่าตัวเองจะเป็นคนมาทำอะไรอย่างซัทซัง เรื่องมันเริ่มต้นตั้งแต่เมื่อผมเลิกทำผ่าตัดหันมาเป็นแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว พอรักษาผู้ป่วยที่คลินิกเวชศาสตร์ครอบครัวทีละคนก็พบว่ามันไม่เวิร์คเพราะสอนไปแล้วผู้ป่วยไม่มีทักษะเสียอย่างก็ทำไม่ได้..จบข่าว และเมื่อไม่มีการติดตามทบทวนทักษะผู้ป่วยก็หลุดลอยไป จึงมาเปิดคอร์สสุขภาพเป็นแค้มป์สุขภาพดีด้วยตนเอง (GHBY) และแค้มป์พลิกผันโรคด้วยตนเอง (RDBY) เพราะเป็นรูปแบบที่ได้สอนทักษะถึงลูกถึงคนมากกว่าและสอนได้ทีละหลายคน คุ้มความเหนื่อยมากกว่า
แต่เมื่อทำไปแล้วก็พบว่าผู้ป่วยจำนวนมาก มากเกินครึ่งก็ว่าได้ มีความเครียดร่วมเป็นปฐมเหตุของการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง จึงไปค้นหาหลักฐานวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์ที่จะช่วยจัดการความเครียดให้ได้ผล ก็พบว่าการฝึกสติลดความเครียด (Mindfulness Based Stress Reduction - MBSR) ซึ่งเกิดขึ้นครั้งแรกที่มหาวิทยาลัยแมสซาจูเซ็ทเป็นวิธีจัดการความเครียดที่ได้ผลดีกว่าวิธีอื่น ผมก็ไปเรียน MBSR แล้วเอามาสอนผู้ป่วย สอนไปสอนมาผมต้องประยุกต์เนื้อหาและวิธีการไปมากพอควรเพื่อให้มันเหมาะกับคนไทยจนหน้าตามันแปลกไปจากของเดิมเขามาก จึงเปลี่ยนชื่อเรียกเสียใหม่ว่าการฝึกสติรักษาโรค (Mindfulness Based Treatment - MBT)
แต่ว่าจะเอา MBT ไปยัดสอนในแค้มป์สุขภาพไม่ว่าจะแค้มป์ GHBY หรือ RDBY ก็เวลาไม่พอ จึงจัดเป็นแค้มป์ฝึกสติรักษาโรค MBT แยกต่างหาก ใช้เวลาหนึ่งวันเช้าไปเย็นกลับ เรียกว่า MBT day camp สอนไปหลายรุ่นพร้อมกับปรับวิธีการไปด้วย แต่ไม่เคยมีการติดตามดูว่าผู้ป่วยเรียนแล้วเอาไปใช้ประโยชน์ได้มากน้อยอย่างไร
บางคนผมมีโอกาสได้พบหลังจากจบแค้มป์ MBT แล้วเขาหรือเธอกลับมาเข้าแค้มป์สุขภาพอื่นๆ ผมจึงได้ทราบว่าบางคนก็ไปได้ดีมากน่าชื่นใจ แต่บางคนก็เข้ารกเข้าพงเหมือนจะจับหลักไม่ถูกเอาโน่นผสมนี่จนตัวเองหมุนเป็นลูกข่างไม่ไปไหน บางคนก็ยังคงเป็นว่าวที่หลุดลอยไปตามกระแสชีวิตประจำวันโดยไม่อาจจะตั้งตัวตั้งใจได้ หมายความว่าการสอน MBT นี้ไม่อาจจบลงที่ตัวมันเองได้ เพราะมันต้องเอาไปปฏิบัติต่อเนื่องจึงจะเห็นผล เขาจะเอาไปปฏิบัติได้หรือไม่ได้ต้องมีกลไกติดตามช่วยตะล่อมบางคนที่ไปผิดทางหรือหลุดลอยไปให้กลับเข้าเส้นทางที่ควรเดิน สิ่งสอนไปแล้วจึงจะได้ผลดีที่สุด ผมจึงคิดว่าต้องหาทางเอาคนที่เรียน MBT ไปแล้วให้กลับมาเรียนรู้ปัญหาจากการปฏิบัติร่วมกันอีกเป็นระยะๆโดยไม่ให้เขาต้องเสียเงิน เพราะถ้าเสียเงินคนก็จะมาบ่อยๆไม่ได้
ขณะที่มองหาวิธีการอยู่นั้น ตัวผมเองก็ได้มีโอกาสเข้าร่วมซัทซังหลายครั้ง ก็เห็นว่ารูปแบบซัทซังนี้แม้จะไม่มีใครเคยทำในเมืองไทยมาก่อนแต่หากจะทำก็น่าจะได้ผลเหมือนกัน จึงเกิดปิ๊งไอเดียว่ารูปแบบซัทซังนี่แหละที่เหมาะที่สุดที่จะใช้ติดตามช่วยเหลือคนไข้หลังจากเรียน MBT ไปแล้วให้ประสบความสำเร็จในการจัดการความเครียดของตนเองในชีวิตจริง เพราะสามารถติดตามกันได้ตลอดชีวิต จึงตัดสินใจนำรูปแบบนี้มาใช้ โดยไหนๆก็ทำซัทซังแล้ว นอกจากศิษย์เก่า MBT ที่เป็นเป้าหมายหลักแล้ว ก็ถือโอกาสเปิดให้คนที่มาพักค้างคืนที่เวลเนสวีแคร์อยู่แล้ว และคนทั่วไปที่สนใจ ให้เข้ามาร่วมซัทซังได้ด้วยโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายอะไร ยกเว้นค่ากินหากจะกิน หรือค่านอนหากจะนอน ซึ่งหากใครจะใช้บริการก็เสียเงินเอาเองในอัตราปกติของเวลเนสวีแคร์
วิธีการทำฟรีซัทซังของหมอสันต์
ฟรีซัทซังในฉบับของหมอสันต์จะทำดังนี้
1. เริ่มด้วยการคุยกันในบรรยากาศคนร่วมทางเดินเดียวกัน คือการเป็นผู้แสวงหาความหลุดพ้น
2. การถามตอบปัญหาการปฏิบัติ และการซักซ้อมทิศทางการปฏิบัติที่สมาชิกรายคนทำไปแล้ว
3. การสอนสั้นๆเล็กๆ โดยจับประเด็นปัญหาการปฏิบัติที่เข้ากับวาระและโอกาส
4. การปฏิบัติสมาธิภาวนา (meditation) ร่วมกัน แต่ละครั้งก็เลือกวิธีภาวนะตามความเหมาะสม
5. จบท้ายด้วยการพูดคุยถามตอบปัญหาการปฏิบัติภาวนาที่เพิ่งผ่านไปกันอีกรอบหนึ่ง
วันเวลาสำหรับทำฟรีซัทซัง
ตารางฟรีซัทซังแต่ละเดือนจะประกาศทางปฏิทินด้านขวาของบล้อกหมอสันต์นี้ โดยตั้งใจจะทำวันอาทิตย์ที่สามของทุกเดือน เวลา 9.30 -12.00 น. ยกเว้นสถานที่ไม่ว่างก็อาจมีขยับได้ โดยการทำซัทซังครั้งที่ 1 จะมีในวันอาทิตย์ที่ 22 ตค. 60
สถานที่
ฟรีซัทซัง ทำที่ Hall ของเวลเนสวีแคร์เซ็นเตอร์ ซึ่งอยู่ในมวกเหล็กวาลเลย์ ย่านมวกเหล็ก-เขาใหญ่ สามารถใช้ Google map โดยคีย์คำว่า wellness we care center ไปหาได้
สำหรับผู้สนใจเข้าร่วมฟรีซัทซัง
กรณีเป็นศิษย์เก่า MBT ทุกรุ่น หรือเป็นผู้มาพักค้างคืนที่เวลเนสวีแคร์คืนก่อนหรือคืนวันทำซัทซัง สามารถจองที่นั่งล่วงหน้าได้ที่คุณออย ผู้จัดการเวลเนสวีแคร์ โทรศัพท์ 02 038 5115 หรืออีเมล miracle__oil@live.com (มีอันเดอร์สกอร์สองตัวนะ โปรดสังเกต) สำหรัับคนทั่วไปที่ไม่ได้เป็นศิษย์เก่า MBT หรือไม่ได้มาพักค้างคืนที่เวลเนสวีแคร์ก็สามารถมาร่วมซัทซังได้แต่ไม่ต้องจองที่นั่งล่วงหน้า แต่ใช้หลักปฏิบัติของรฟท.แทน หมายความว่ามีที่นั่งก็นั่ง ไม่มีที่นั่งก็ยืน
สำหรับผู้สนใจเข้าเรียน MBT ด้วย
เนื่องจากฟรีซัทซังจะจัดตามหลังวันเรียนฝึกสติรักษาโรค (MBT day camp) หนึ่งวันเสมอ คือ MBT จัดวันเสาร์ ฟรีซัทซังจัดวันอาทิตย์รุ่งขึ้นไป บางท่านอาจสนใจที่จะเข้าเรียน MBT ด้วยแล้วพักค้างคืนเพื่ออยู่ต่อเข้าร่วมฟรีซัทซัง หากท่านสนใจจะเรียน MBT ด้วยกรุณาดูรายละเอียดที่
http://visitdrsant.blogspot.com/2017/08/mbt-day-camp.html
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
คำว่าซัทซัง (Satsang) แปลตรงๆว่า "การสมาคมกับสิ่งดีๆ" ในทางปฏิบัติคำนี้หมายถึงรูปแบบการร่วมกลุ่มกันฝึกปฏิบัติสู่ความหลุดพ้นทางจิตวิญญาณ นิยมทำกันในอินเดีย อเมริกา แคนาดา และยุโรป มักจะประกอบไปด้วยการสอนหรือแนะนำสั้นๆ การนั่งปฏิบัติสมาธิภาวนาร่วมกัน การถามตอบคำถามที่เกิดจากการปฏิบัติ การซักซ้อมหรือตรวจสอบทิศทางการปฏิบัติของสมาชิกแต่ละคน เหล่านี้เป็นกิจกรรมหลัก ซัทซังหลายแห่งมีการทำเสียงดนตรีหรือร้องรำทำเพลงหรือเต้นรำผสมโรงคลุกเคล้าไปด้วย
ส่วนคำว่าฟรีซัทซัง (Free Satsang) ก็หมายถึงการเข้าร่วมซัทซังโดยไม่ต้องเสียเงิน
ทำไมหมอสันต์มาทำซัทซัง
ผมเองก็ไม่เคยคาดคิดมาก่อนเลยในชีวิต ว่าตัวเองจะเป็นคนมาทำอะไรอย่างซัทซัง เรื่องมันเริ่มต้นตั้งแต่เมื่อผมเลิกทำผ่าตัดหันมาเป็นแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว พอรักษาผู้ป่วยที่คลินิกเวชศาสตร์ครอบครัวทีละคนก็พบว่ามันไม่เวิร์คเพราะสอนไปแล้วผู้ป่วยไม่มีทักษะเสียอย่างก็ทำไม่ได้..จบข่าว และเมื่อไม่มีการติดตามทบทวนทักษะผู้ป่วยก็หลุดลอยไป จึงมาเปิดคอร์สสุขภาพเป็นแค้มป์สุขภาพดีด้วยตนเอง (GHBY) และแค้มป์พลิกผันโรคด้วยตนเอง (RDBY) เพราะเป็นรูปแบบที่ได้สอนทักษะถึงลูกถึงคนมากกว่าและสอนได้ทีละหลายคน คุ้มความเหนื่อยมากกว่า
แต่เมื่อทำไปแล้วก็พบว่าผู้ป่วยจำนวนมาก มากเกินครึ่งก็ว่าได้ มีความเครียดร่วมเป็นปฐมเหตุของการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง จึงไปค้นหาหลักฐานวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์ที่จะช่วยจัดการความเครียดให้ได้ผล ก็พบว่าการฝึกสติลดความเครียด (Mindfulness Based Stress Reduction - MBSR) ซึ่งเกิดขึ้นครั้งแรกที่มหาวิทยาลัยแมสซาจูเซ็ทเป็นวิธีจัดการความเครียดที่ได้ผลดีกว่าวิธีอื่น ผมก็ไปเรียน MBSR แล้วเอามาสอนผู้ป่วย สอนไปสอนมาผมต้องประยุกต์เนื้อหาและวิธีการไปมากพอควรเพื่อให้มันเหมาะกับคนไทยจนหน้าตามันแปลกไปจากของเดิมเขามาก จึงเปลี่ยนชื่อเรียกเสียใหม่ว่าการฝึกสติรักษาโรค (Mindfulness Based Treatment - MBT)
แต่ว่าจะเอา MBT ไปยัดสอนในแค้มป์สุขภาพไม่ว่าจะแค้มป์ GHBY หรือ RDBY ก็เวลาไม่พอ จึงจัดเป็นแค้มป์ฝึกสติรักษาโรค MBT แยกต่างหาก ใช้เวลาหนึ่งวันเช้าไปเย็นกลับ เรียกว่า MBT day camp สอนไปหลายรุ่นพร้อมกับปรับวิธีการไปด้วย แต่ไม่เคยมีการติดตามดูว่าผู้ป่วยเรียนแล้วเอาไปใช้ประโยชน์ได้มากน้อยอย่างไร
บางคนผมมีโอกาสได้พบหลังจากจบแค้มป์ MBT แล้วเขาหรือเธอกลับมาเข้าแค้มป์สุขภาพอื่นๆ ผมจึงได้ทราบว่าบางคนก็ไปได้ดีมากน่าชื่นใจ แต่บางคนก็เข้ารกเข้าพงเหมือนจะจับหลักไม่ถูกเอาโน่นผสมนี่จนตัวเองหมุนเป็นลูกข่างไม่ไปไหน บางคนก็ยังคงเป็นว่าวที่หลุดลอยไปตามกระแสชีวิตประจำวันโดยไม่อาจจะตั้งตัวตั้งใจได้ หมายความว่าการสอน MBT นี้ไม่อาจจบลงที่ตัวมันเองได้ เพราะมันต้องเอาไปปฏิบัติต่อเนื่องจึงจะเห็นผล เขาจะเอาไปปฏิบัติได้หรือไม่ได้ต้องมีกลไกติดตามช่วยตะล่อมบางคนที่ไปผิดทางหรือหลุดลอยไปให้กลับเข้าเส้นทางที่ควรเดิน สิ่งสอนไปแล้วจึงจะได้ผลดีที่สุด ผมจึงคิดว่าต้องหาทางเอาคนที่เรียน MBT ไปแล้วให้กลับมาเรียนรู้ปัญหาจากการปฏิบัติร่วมกันอีกเป็นระยะๆโดยไม่ให้เขาต้องเสียเงิน เพราะถ้าเสียเงินคนก็จะมาบ่อยๆไม่ได้
ขณะที่มองหาวิธีการอยู่นั้น ตัวผมเองก็ได้มีโอกาสเข้าร่วมซัทซังหลายครั้ง ก็เห็นว่ารูปแบบซัทซังนี้แม้จะไม่มีใครเคยทำในเมืองไทยมาก่อนแต่หากจะทำก็น่าจะได้ผลเหมือนกัน จึงเกิดปิ๊งไอเดียว่ารูปแบบซัทซังนี่แหละที่เหมาะที่สุดที่จะใช้ติดตามช่วยเหลือคนไข้หลังจากเรียน MBT ไปแล้วให้ประสบความสำเร็จในการจัดการความเครียดของตนเองในชีวิตจริง เพราะสามารถติดตามกันได้ตลอดชีวิต จึงตัดสินใจนำรูปแบบนี้มาใช้ โดยไหนๆก็ทำซัทซังแล้ว นอกจากศิษย์เก่า MBT ที่เป็นเป้าหมายหลักแล้ว ก็ถือโอกาสเปิดให้คนที่มาพักค้างคืนที่เวลเนสวีแคร์อยู่แล้ว และคนทั่วไปที่สนใจ ให้เข้ามาร่วมซัทซังได้ด้วยโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายอะไร ยกเว้นค่ากินหากจะกิน หรือค่านอนหากจะนอน ซึ่งหากใครจะใช้บริการก็เสียเงินเอาเองในอัตราปกติของเวลเนสวีแคร์
วิธีการทำฟรีซัทซังของหมอสันต์
ฟรีซัทซังในฉบับของหมอสันต์จะทำดังนี้
1. เริ่มด้วยการคุยกันในบรรยากาศคนร่วมทางเดินเดียวกัน คือการเป็นผู้แสวงหาความหลุดพ้น
2. การถามตอบปัญหาการปฏิบัติ และการซักซ้อมทิศทางการปฏิบัติที่สมาชิกรายคนทำไปแล้ว
3. การสอนสั้นๆเล็กๆ โดยจับประเด็นปัญหาการปฏิบัติที่เข้ากับวาระและโอกาส
4. การปฏิบัติสมาธิภาวนา (meditation) ร่วมกัน แต่ละครั้งก็เลือกวิธีภาวนะตามความเหมาะสม
5. จบท้ายด้วยการพูดคุยถามตอบปัญหาการปฏิบัติภาวนาที่เพิ่งผ่านไปกันอีกรอบหนึ่ง
วันเวลาสำหรับทำฟรีซัทซัง
ตารางฟรีซัทซังแต่ละเดือนจะประกาศทางปฏิทินด้านขวาของบล้อกหมอสันต์นี้ โดยตั้งใจจะทำวันอาทิตย์ที่สามของทุกเดือน เวลา 9.30 -12.00 น. ยกเว้นสถานที่ไม่ว่างก็อาจมีขยับได้ โดยการทำซัทซังครั้งที่ 1 จะมีในวันอาทิตย์ที่ 22 ตค. 60
สถานที่
ฟรีซัทซัง ทำที่ Hall ของเวลเนสวีแคร์เซ็นเตอร์ ซึ่งอยู่ในมวกเหล็กวาลเลย์ ย่านมวกเหล็ก-เขาใหญ่ สามารถใช้ Google map โดยคีย์คำว่า wellness we care center ไปหาได้
สำหรับผู้สนใจเข้าร่วมฟรีซัทซัง
กรณีเป็นศิษย์เก่า MBT ทุกรุ่น หรือเป็นผู้มาพักค้างคืนที่เวลเนสวีแคร์คืนก่อนหรือคืนวันทำซัทซัง สามารถจองที่นั่งล่วงหน้าได้ที่คุณออย ผู้จัดการเวลเนสวีแคร์ โทรศัพท์ 02 038 5115 หรืออีเมล miracle__oil@live.com (มีอันเดอร์สกอร์สองตัวนะ โปรดสังเกต) สำหรัับคนทั่วไปที่ไม่ได้เป็นศิษย์เก่า MBT หรือไม่ได้มาพักค้างคืนที่เวลเนสวีแคร์ก็สามารถมาร่วมซัทซังได้แต่ไม่ต้องจองที่นั่งล่วงหน้า แต่ใช้หลักปฏิบัติของรฟท.แทน หมายความว่ามีที่นั่งก็นั่ง ไม่มีที่นั่งก็ยืน
สำหรับผู้สนใจเข้าเรียน MBT ด้วย
เนื่องจากฟรีซัทซังจะจัดตามหลังวันเรียนฝึกสติรักษาโรค (MBT day camp) หนึ่งวันเสมอ คือ MBT จัดวันเสาร์ ฟรีซัทซังจัดวันอาทิตย์รุ่งขึ้นไป บางท่านอาจสนใจที่จะเข้าเรียน MBT ด้วยแล้วพักค้างคืนเพื่ออยู่ต่อเข้าร่วมฟรีซัทซัง หากท่านสนใจจะเรียน MBT ด้วยกรุณาดูรายละเอียดที่
http://visitdrsant.blogspot.com/2017/08/mbt-day-camp.html
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์