กราบเรียนคุณหมอสันต์ที่นับถือ
ดิฉันอยากเรียนสอบถามความคิดเห็
ขอแสดงความนับถือเป็นอย่างสูงค่ ะ
---------------------ส่งจาก iPhone ของฉัน
ตอบครับ
1. ถามว่าการวินิจฉัยโรคนอนกรน (Obstructive Sleep Apnea - OSA) ทำอย่างไร ตอบว่ามาตรฐานทั่วไปก็ต้องทำการตรวจใน sleep lab ซึ่งหมายถึงให้เข้าไปนอนหลับในห้องนั้นหนึ่งคืนแล้ววัดความถี่ของดัชนีรบกวนการนอนหลับ (respiratory disturbance index - RDI) หากพบว่าเกิดมากกว่า15 ครั้ง/ชั่วโมงขึ้นไปในกรณีทั่วไป หรือ 5 ครั้ง/ชั่วโมงขึ้นไปในกรณีที่มีอาการกรนหรือง่วงกลางวันหรือมีโรคที่เป็นสาเหตุร่วม ก็วินิจฉัยว่าเป็นโรคนอนกรนได้ครับ
2. ถามว่าการรักษาโรคนอนกรนด้วยการให้ใส่งวงช้าง (continuous positive airway pressure - CPAP) จะไม่ขัดกับธรรมชาติหรือ ตอบว่า สมมุติว่าคุณเป็นต้อกระจกอ่านหนังสือพิมพ์ไม่ได้แล้วหมอเขาผ่าตัดเอาเลนส์เทียมใส่ให้แล้วอ่านได้ มันเป็นการรักษาแบบผิดธรรมชาติหรือเปล่าละครับ
การเป็นโรคนอนกรน แปลว่าร่างกายทำงานผิดไปจากสะเป๊คดั้งเดิมของมัน กล่าวคือเดิมลมหายใจวิ่งเข้าออกได้สะดวก แต่ต่อมาจะด้วยอ้วนเกินไปหรือจะด้วยอะไรก็แล้วแต่ลมหายใจมันเกิดวิ่งเข้าออกไม่สะดวกเพราะเนื้อเยื่อช่วงบนของปากและลำคอมันยวบลงมาอุดกั้นทางเดินลมหายใจ นี่เป็นเรื่องผิดธรรมชาติแล้ว การรักษาก็ต้องพยายามแก้ให้ลมหายใจมันวิ่งเข้าออกได้อย่างเป็นธรรมชาติ ซึ่งมีหลายวิธีทั้งลดความอ้วน ทั้งฝึกการนอนแบบตะแคง ทั้งทำผ่าตัด ทั้งใส่อุปกรณ์ยัดเข้าไป ทั้งใช้ CPAP ทั้งหมดนี้วิธีใช้ CPAP เป็นวิธีที่ได้ผลดีที่สุด
3. ถามว่าจมูกเค้าโล่งอยู่ดีๆเอา CPAP ไปครอบไว้มันจะยิ่งทำให้หายใจไม่ออกไม่ใช่หรือ ตอบว่าไม่ใช่หรอกครับ การหายใจนี้ร่างกายทำขึ้นเพื่อให้ออกซิเจนเข้าไปในเลือดได้มากพอ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับการแลกเปลี่ยนออกซิเจนที่ถุงลมในปอด (alveoli) การแลกเปลี่ยนนี้เกิดขึ้นตลอดเวลาทั้งช่วงหายใจเข้าและช่วงหายใจออก ช่วงหายใจออกหากระบบการหายใจไม่แข็งแรงถุงลมในปอดจะแฟบทำให้แลกเปลี่ยนก้าซได้น้อย แต่หากช่วยเพิ่มความดันในลมหายใจออกขึ้นไปสักหน่อย (เช่นการหายใจเข้าลึกๆแล้วทำปากจู๋ค่อยๆเป่าลมออกจากปากอย่างที่นักกีฬาชอบทำกันเวลาเหนื่อยมาก) ถุงลมจะพองอยู่นานขึ้นและเกิดการแลกเปลี่ยนก้าซได้มากขึ้น ตัวเครื่อง CPAP มันแค่ทำหน้าที่ช่วยเราทำปากจู๋ค่อยๆเป่าลมออกจากปากเวลาเรานอนหลับด้วยการอัดความดันอากาศขนาดเบาะๆ (1-5 ซม.น้ำ)เข้าไปในทางเดินลมหายใจ เป็นวิธีเลียนแบบธรรมชาติ แต่เมื่อใส่ CPAP ใหม่ๆจะรู้สึกแน่นอึดอัดทนไม่ได้ ทำให้ผู้ซื้อ CPAP มาแล้วราว 80% ซืัอมาแล้วไม่ได้ใช้ นี่ยังไม่นับพวกที่เลิกใช้เพราะเมียตกใจเมื่อตื่นมาพบมนุษย์ต่างดาวนอนอยู่ข้างๆ (หิ..หิ พูดเล่น) ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเรื่องที่น่าเสียดายเพราะ CPAP เป็นตัวช่วยหลักของคนเป็นโรคนอนกรนที่ไม่สามารถลดน้ำหนักและปรับนิสัยการนอนของตัวเองได้
ดังนั้นหากคุณเป็นโรคนอนกรน ให้ญาติดีกับ CPAP ให้ได้ ทู่ซี้ใช้มันไป มันจะอัดลมเข้ามาขัดขวางการหายใจออกของเราก็ช่างมัน ปล่อยให้มันอัดเข้ามา อย่าไปหายใจออกไล่สู้ จะเปลืองแรงเปล่าๆ เพราะความดันลมที่อัดเข้ามานั้นจิ๊บจ๊อยไม่ผิดธรรมชาติและไม่ก่อความเสียหายอะไรแน่นอน มีแต่ได้กับได้
ในกรณีที่คุณญาติดีกับ CPAP ไม่ได้เลย คุณก็ต้องหันมาทุ่มเทกับการเปลี่ยนวิถีชีวิตเพื่อรักษาโรคนอนกรน ซึ่งต้องรวมถึง (1) การลดน้ำหนักอย่างเอาเป็นเอาตาย (2) การฝึกนอนตะแคง ไม่นอนหงาย (3) การปรับสุขศาสตร์การนอนหลับ เช่น ออกกำลังกายให้หนัก ตากแดดทุกวัน จัดเวลานอนให้พอ เข้านอนเป็นเวลา ตื่นเป็นเวลา ทำสมาธิวางความคิดให้สนิทก่อนนอน เป็นต้น เพราะสาเหตุของการสะดุ้งตื่นกลางดึกส่วนหนึ่งเกิดจากสมองไม่ยอมหยุดคิด ซึ่งหา่กคุณลองปฏิบัติจริงจังดูสักพัก คุณเองก็อาจจะเปลี่ยนทัศนคติว่า..เออใส่ CPAP ง่ายกว่าแยะ
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์