การฟื้นฟูหลังจากเป็นอัมพาตสมองเล็ก (cerebellar rehabilitation)
เรียนคุณหมอสันต์
ดิฉันอายุ 69 ปีมีอาการมึนงงวิงเวียนจนยืนทรงตัวแทบไม่ได้ ได้ไปรักษากับหมอหูคอจมูกว่าเป็นโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน ได้ยามากินก็ยังโงนเงนทั้งวัน ไปทำ MRI มาแล้วหาหมอคลินิกประสาทวิทยาว่าเป็นโรคอัมพาตสมองเล็กชนิดที่ MRI มองไม่เห็นความผิดปกติของหลอดเลือด ต้องนอนโรงพยาบาลเพื่อทำกายภาพสี่วันซึ่งนักกายภาพก็จับยืนและเดินเป็นหลัก ตอนนี้กลับบ้านแล้วหมอบอกแค่ว่าให้ไปหัดเดินต่อเองเพราะไม่มีวิธีรักษาอย่างอื่นแล้ว ตอนนี้พอจะเดินได้โดยเกาะไป แต่ยังไม่กล้าออกนอกบ้าน ไม่รู้ว่าเป็นโรคนี้จริงไหม โรคนี้เป็นแล้วมันจะหนักหนาสาหัสแค่ไหน อนาคตจะเป็นอย่างไรต่อไป การดูแลตัวเองควรสำหรับคนเป็นโรคอัมพาตสมองเล็กนี้ต้องทำอย่างไร
ขอบพระคุณคุณหมอด้วยนะคะ
.................................................................
ก่อนตอบคำถาม ขอพูดถึงโรคอัมพาตของสมองเล็กหรือ vertebro basillar stroke หรือ cerebellar stroke นิดหนึ่ง ว่ามันคือภาวะที่มีลิ่มเลือดไปอุดหลอดเลือดที่ไปเลี้ยง หรือมีเลือดออกในสมองส่วนหลัง (cerebrum) และหรือก้านสมอง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เลี้ยงโดยชุดหลอดเลือดที่เรียกว่า vertebro basilar arteries ทำให้สูญเสียการทำงานของสมองส่วนนี้ คือหากเป็นที่ตัวสมองเล็กอาการหลักก็จะเป็นการสูญเสียการทรงตัว ตาเห็นภาพซ้อนหรือสูญเสียการมองเห็น อาจมีอาการสมองบวมร่วมด้วยเช่น เวียนหัว ปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน ถ้ากินพื้นที่มาถึงก้านสมองก็จะมีอาการสูญเสียการทำงานของประสาทสมอง เช่น ภาพกลืนลำบาก พูดลำบาก พูดไม่ชัด เปล่งเสียงไม่ออก กล้ามเนื้อลิ้นและหน้าอ่อนแรง ประสาทรับรู้บนใบหน้าและหนังศีรษะอ่อนแรง เสียความรู้สึกอุณหภูมิและการรับรู้การปวด กลั้นอุจจาระไม่อยู่ หรือถ้ามากก็มีอาการสูญเสียสติสัมปชัญญะ
คราวนี้มาตอบคำถาม
1. ถามว่าคุณเป็นโรคนี้จริงไหม ตอบว่าอ้าว ก็คุณไปหาหมอประสาทวิทยามาแล้วเขาตรวจและวินิจฉัยเรียบร้อยแล้วมันก็ควรจะเป็นโรคนี้จริงตามนั้นสิครับ จะมาถามผมอีกทำไมละ เพราะผมจะไปรู้ดีกว่าหมอประสาทวิทยาที่เป็นผู้ตรวจได้อย่างไร แต่จากการฟังเอาตามที่คุณเล่าอย่างน้อยผมก็บอกให้คุณอุ่นใจได้ว่าอาการที่เป็นนั้นมันยังเป็นน้อย เป็นจิ๊บจ๊อย ไม่ได้มากถึงขึ้นทำให้เสียการทำงานของก้านสมอง เพราะคุณไม่มีอาการเปลี่ยนแปลงของระดับสติการรู้ตัว ไม่มีความเสียหายต่อการทำงานของเส้นประสาทสมอง (cranial nerve) มีแค่ทรงตัวลำบาก เดินลำบาก
ในแง่ของการวินิจฉัยตัวเอง คุณสามารถตรวจการทำงานของสมองเล็กด้วยตัวคุณเองได้สองวิธี คือ
1.1 วัดช่วงกว้างของการโงกส่ายเมื่อยืนหลับตา (Swaying amplitude) วิธีตรวจคือให้หาคนมายืนประกบคอยรับกรณีล้ม แล้วให้คุณยืนกางขาเสมอหัวไหล่ กอดอก ลืมตา 20 วินาที แล้ว หลับตา 20 วินาที แล้วให้คนที่ยืนประกบวัดองศาการส่ายโงกไปมา โดยตีความสองประเด็น
(1) ถ้าองศาของการส่ายโงกไปโงกมามายิ่งมาก ก็ยิ่งแสดงสมองเล็กเสียการทำงานมาก
(2) ถ้าขณะหลับตาไปได้สั1กพัก การโงกไปมาค่อยๆน้อยลง ก็แสดงว่าการทำงานประสานกันของเนื้อสมองเล็กยังดีอยู่ แต่ถ้าหลับตาไปสักพักแลวค่อยๆโงกมากขึ้นๆจนล้มลงก็แสดงว่าสมองเล็กเสียการทำงานไปมาก จนเมื่อตัดตัวช่วยหลักคือการมองเห็นออกไป สมองเล็กไม่สามารถประสานกันเองให้ยืนอยู่ได้เลย
1.2 วัดความเร็วของการเดิน (Walking speed) โดยวิธีให้คุณเดินเปรี้ยว คุณรู้จักวิ่งเปรี้ยวสมัยเป็นเด็กนักเรียนไหมละ นั่นแหละ ให้คุณปักหลักสองหลักห่างกัน 12 เมตรแล้วให้เดินวนอ้อมรอบสองหลักนี้ 6 รอบแล้วจับเวลาที่ใช้ หากยิ่งเดินไปยิ่งใช้เวลาน้อยลง ก็แสดงว่าสมองเล็กยังประสานงานกันได้ดีอยู่ แต่หากยิ่งเดินไปแต่ละรอบยิ่งเดินด้วยเวลามากขึ้นๆแสดงว่าสมองเล็กยิ่งเสียการทำงานมาก
2. ถามว่าการจะออกกำลังกายฟื้นฟูการทำงานของสมองเล็ก (cerebellar exercise) ต้องทำอย่างไร ตอบว่าต้องมุ่งออกกำลังกายเพื่อให้กล้ามเนื้อร่างกายประสานงานการทรงตัวได้ ดังนี้
2.1 ฝึกในท่านั่งบนพื้นนิ่ง (Sitting on still floor) เช่นพื้นเก้าอี้ไม่มีพนัก แล้ว
2.1.1 โยกตัวไปทางซ้ายสลับกับไปข้างขวา
2.1.2 โน้มตัวไปข้างหน้าสลับกับไปข้างหลัง
2.1.3 กางแขนเหยียดออกข้างลำตัวเสมอหัวไหล่ แล้วแกว่งในแนวราบให้มือซ้ายชี้ไปข้างหน้าสลับกับแกว่งกลับให้มีซ้ายชี้ไปข้างหลัง
2.1.4 ยกเท้าสองข้างชี้ไปข้างหน้ากลางอากาศ แล้วยื่นสองมือออกไปแตะปลายเท้า
2.1.5 แกว่งเท้าเป็นวงกลมทีละข้าง
2.1.6 ยื่นมือซ้ายและเท้าขวา (คนละข้าง) ลอยขึ้นกลางอากาศแล้วชี้ไปข้างหน้า แล้วสลับทำอีกข้างหนึ่ง
2.2 ฝึกในท่านั่งบนพื้นที่ขยับได้ (Sitting on dynamic floor) เช่นลูกบอลขนาดใหญ่ หรือพื้นกระดานหก (กระดานที่วางบนลูกบอลเล็กๆ) หรือพื้นที่ติดเครื่องสั่น
2.2.1 โยกตัวไปทางซ้ายสลับกับไปข้างขวา
2.2.2 โน้มตัวไปข้างหน้าสลับกับไปข้างหลัง
2.2.3 กางแขนเหยียดออกข้างลำตัวเสมอหัวไหล่ แล้วแกว่งในแนวราบให้มือซ้ายชี้ไปข้างหน้าสลับกับแกว่งกลับให้มีซ้ายชี้ไปข้างหลัง
2.2.4 ยกเท้าสองข้างชี้ไปข้างหน้ากลางอากาศ แล้วยื่นสองมือออกไปแตะปลายเท้า
2.2.5 แกว่งเท้าเป็นวงกลมทีละข้าง
2.2.6 ยื่นมือซ้ายและเท้าขวา (คนละข้าง) ลอยขึ้นกลางอากาศแล้วชี้ไปข้างหน้า แล้วสลับทำอีกข้างหนึ่ง
2.3 ฝึกในท่ายืนสี่แบบ คือ (1) ยืนพื้นนิ่ง+ลืมตา (2) ยืนพื้นนิ่ง + หลับตา (3) ยืนพื้นขยับได้ + ลืมตา (4) ยืนพื้นขยับได้ + หลับตา ทั้งนี้ในแต่ละแบบให้ทำท่าต่อไปนี้
2.3.1 โยกตัวไปทางซ้ายสลับกับไปข้างขวา
2.3.2 โน้มตัวไปข้างหน้าสลับกับไปข้างหลัง
2.3.3 กางแขนเหยียดออกข้างลำตัวเสมอหัวไหล่ แล้วแกว่งในแนวราบให้มือซ้ายชี้ไปข้างหน้าสลับกับแกว่งกลับให้มีซ้ายชี้ไปข้างหลัง
2.3.4 ยกเท้าสองข้างชี้ไปข้างหน้ากลางอากาศ แล้วยื่นสองมือออกไปแตะปลายเท้า
2.3.5 แกว่งเท้าเป็นวงกลมทีละข้าง
2.3.6 ยื่นมือซ้ายและเท้าขวา (คนละข้าง) ลอยขึ้นกลางอากาศแล้วชี้ไปข้างหน้า แล้วสลับทำอีกข้างหนึ่ง
2.3.7 ยืนเขย่งบนปลายเท้าสองข้าง
2.3.8 ยืนขาเดียว แล้วสลับข้าง
2.3.9 เดินยกขาก้าวข้ามสิ่งกีดขวาง เช่นหนังสือหรือก้อนอิฐที่ก่อสูงตั้งไว้เป็นระยะๆ
2.3.10 ก้าวขาขวาไปข้างหน้ายาวๆแล้วย่อเข่าลง แล้วสปริงตัวขึ้นลงๆช้าๆ (lunges) แล้วสลับขา
2.3.11 ก้าวขึ้นลงบันได step up/down ladders
2.3.12 กางมือซ้ายพร้อมกับกางเท้าขวาในอากาศ แล้วสลับทำอีกข้างหนึ่ง
3. ถามว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร ตอบว่าอนาคตอยู่ในมือของคุณแล้ว จะเป็นอย่างไรย่อมขึ้นอยู่กับคุณขยันและเอาจริงเอาจังกับการฟื้นฟูตัวเองมากแค่ไหน ไม่มีใครจะทำนายอนาคตของคุณได้นอกจากตัวคุณเอง ในแง่ของโรคนั้น เนื้อสมองแม้จะเสียไปแล้วแต่ก็ฟื้นฟูตัวเองกลับมาใหม่ได้เสมอ เพียงแค่ให้คุณขยันฝึกทำไปทุกวัน แต่ละวันต้องฝึกจนครบทุกท่า ซึ่งต้องอุทิศเวลาและเอาจริงเอาจังพอสมควร ทั้งหมดนี้คุณต้องทำเอง อย่าไปเอาแต่หวังพึ่งการไปทำกายภาพบำบัดที่โรงพยาบาล เพราะกว่าจะเดินทางไป นั่งรอคิว ได้คิวทำครั้งละชั่วโมง แล้วเดินทางกลับ มันได้ประโยชน์น้อยมาก สู้คุณทำเองที่บ้านทุกวันทุกที่ทุกเวลา แบบสู้ สู้ สู้ ด้วยตัวเอง มันเห็นผลทันอกทันใจเร็วกว่ากันแยะ
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
ดิฉันอายุ 69 ปีมีอาการมึนงงวิงเวียนจนยืนทรงตัวแทบไม่ได้ ได้ไปรักษากับหมอหูคอจมูกว่าเป็นโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน ได้ยามากินก็ยังโงนเงนทั้งวัน ไปทำ MRI มาแล้วหาหมอคลินิกประสาทวิทยาว่าเป็นโรคอัมพาตสมองเล็กชนิดที่ MRI มองไม่เห็นความผิดปกติของหลอดเลือด ต้องนอนโรงพยาบาลเพื่อทำกายภาพสี่วันซึ่งนักกายภาพก็จับยืนและเดินเป็นหลัก ตอนนี้กลับบ้านแล้วหมอบอกแค่ว่าให้ไปหัดเดินต่อเองเพราะไม่มีวิธีรักษาอย่างอื่นแล้ว ตอนนี้พอจะเดินได้โดยเกาะไป แต่ยังไม่กล้าออกนอกบ้าน ไม่รู้ว่าเป็นโรคนี้จริงไหม โรคนี้เป็นแล้วมันจะหนักหนาสาหัสแค่ไหน อนาคตจะเป็นอย่างไรต่อไป การดูแลตัวเองควรสำหรับคนเป็นโรคอัมพาตสมองเล็กนี้ต้องทำอย่างไร
ขอบพระคุณคุณหมอด้วยนะคะ
.................................................................
ก่อนตอบคำถาม ขอพูดถึงโรคอัมพาตของสมองเล็กหรือ vertebro basillar stroke หรือ cerebellar stroke นิดหนึ่ง ว่ามันคือภาวะที่มีลิ่มเลือดไปอุดหลอดเลือดที่ไปเลี้ยง หรือมีเลือดออกในสมองส่วนหลัง (cerebrum) และหรือก้านสมอง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เลี้ยงโดยชุดหลอดเลือดที่เรียกว่า vertebro basilar arteries ทำให้สูญเสียการทำงานของสมองส่วนนี้ คือหากเป็นที่ตัวสมองเล็กอาการหลักก็จะเป็นการสูญเสียการทรงตัว ตาเห็นภาพซ้อนหรือสูญเสียการมองเห็น อาจมีอาการสมองบวมร่วมด้วยเช่น เวียนหัว ปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน ถ้ากินพื้นที่มาถึงก้านสมองก็จะมีอาการสูญเสียการทำงานของประสาทสมอง เช่น ภาพกลืนลำบาก พูดลำบาก พูดไม่ชัด เปล่งเสียงไม่ออก กล้ามเนื้อลิ้นและหน้าอ่อนแรง ประสาทรับรู้บนใบหน้าและหนังศีรษะอ่อนแรง เสียความรู้สึกอุณหภูมิและการรับรู้การปวด กลั้นอุจจาระไม่อยู่ หรือถ้ามากก็มีอาการสูญเสียสติสัมปชัญญะ
คราวนี้มาตอบคำถาม
1. ถามว่าคุณเป็นโรคนี้จริงไหม ตอบว่าอ้าว ก็คุณไปหาหมอประสาทวิทยามาแล้วเขาตรวจและวินิจฉัยเรียบร้อยแล้วมันก็ควรจะเป็นโรคนี้จริงตามนั้นสิครับ จะมาถามผมอีกทำไมละ เพราะผมจะไปรู้ดีกว่าหมอประสาทวิทยาที่เป็นผู้ตรวจได้อย่างไร แต่จากการฟังเอาตามที่คุณเล่าอย่างน้อยผมก็บอกให้คุณอุ่นใจได้ว่าอาการที่เป็นนั้นมันยังเป็นน้อย เป็นจิ๊บจ๊อย ไม่ได้มากถึงขึ้นทำให้เสียการทำงานของก้านสมอง เพราะคุณไม่มีอาการเปลี่ยนแปลงของระดับสติการรู้ตัว ไม่มีความเสียหายต่อการทำงานของเส้นประสาทสมอง (cranial nerve) มีแค่ทรงตัวลำบาก เดินลำบาก
ในแง่ของการวินิจฉัยตัวเอง คุณสามารถตรวจการทำงานของสมองเล็กด้วยตัวคุณเองได้สองวิธี คือ
1.1 วัดช่วงกว้างของการโงกส่ายเมื่อยืนหลับตา (Swaying amplitude) วิธีตรวจคือให้หาคนมายืนประกบคอยรับกรณีล้ม แล้วให้คุณยืนกางขาเสมอหัวไหล่ กอดอก ลืมตา 20 วินาที แล้ว หลับตา 20 วินาที แล้วให้คนที่ยืนประกบวัดองศาการส่ายโงกไปมา โดยตีความสองประเด็น
(1) ถ้าองศาของการส่ายโงกไปโงกมามายิ่งมาก ก็ยิ่งแสดงสมองเล็กเสียการทำงานมาก
(2) ถ้าขณะหลับตาไปได้สั1กพัก การโงกไปมาค่อยๆน้อยลง ก็แสดงว่าการทำงานประสานกันของเนื้อสมองเล็กยังดีอยู่ แต่ถ้าหลับตาไปสักพักแลวค่อยๆโงกมากขึ้นๆจนล้มลงก็แสดงว่าสมองเล็กเสียการทำงานไปมาก จนเมื่อตัดตัวช่วยหลักคือการมองเห็นออกไป สมองเล็กไม่สามารถประสานกันเองให้ยืนอยู่ได้เลย
1.2 วัดความเร็วของการเดิน (Walking speed) โดยวิธีให้คุณเดินเปรี้ยว คุณรู้จักวิ่งเปรี้ยวสมัยเป็นเด็กนักเรียนไหมละ นั่นแหละ ให้คุณปักหลักสองหลักห่างกัน 12 เมตรแล้วให้เดินวนอ้อมรอบสองหลักนี้ 6 รอบแล้วจับเวลาที่ใช้ หากยิ่งเดินไปยิ่งใช้เวลาน้อยลง ก็แสดงว่าสมองเล็กยังประสานงานกันได้ดีอยู่ แต่หากยิ่งเดินไปแต่ละรอบยิ่งเดินด้วยเวลามากขึ้นๆแสดงว่าสมองเล็กยิ่งเสียการทำงานมาก
2. ถามว่าการจะออกกำลังกายฟื้นฟูการทำงานของสมองเล็ก (cerebellar exercise) ต้องทำอย่างไร ตอบว่าต้องมุ่งออกกำลังกายเพื่อให้กล้ามเนื้อร่างกายประสานงานการทรงตัวได้ ดังนี้
2.1 ฝึกในท่านั่งบนพื้นนิ่ง (Sitting on still floor) เช่นพื้นเก้าอี้ไม่มีพนัก แล้ว
2.1.1 โยกตัวไปทางซ้ายสลับกับไปข้างขวา
2.1.2 โน้มตัวไปข้างหน้าสลับกับไปข้างหลัง
2.1.3 กางแขนเหยียดออกข้างลำตัวเสมอหัวไหล่ แล้วแกว่งในแนวราบให้มือซ้ายชี้ไปข้างหน้าสลับกับแกว่งกลับให้มีซ้ายชี้ไปข้างหลัง
2.1.4 ยกเท้าสองข้างชี้ไปข้างหน้ากลางอากาศ แล้วยื่นสองมือออกไปแตะปลายเท้า
2.1.5 แกว่งเท้าเป็นวงกลมทีละข้าง
2.1.6 ยื่นมือซ้ายและเท้าขวา (คนละข้าง) ลอยขึ้นกลางอากาศแล้วชี้ไปข้างหน้า แล้วสลับทำอีกข้างหนึ่ง
2.2 ฝึกในท่านั่งบนพื้นที่ขยับได้ (Sitting on dynamic floor) เช่นลูกบอลขนาดใหญ่ หรือพื้นกระดานหก (กระดานที่วางบนลูกบอลเล็กๆ) หรือพื้นที่ติดเครื่องสั่น
2.2.1 โยกตัวไปทางซ้ายสลับกับไปข้างขวา
2.2.2 โน้มตัวไปข้างหน้าสลับกับไปข้างหลัง
2.2.3 กางแขนเหยียดออกข้างลำตัวเสมอหัวไหล่ แล้วแกว่งในแนวราบให้มือซ้ายชี้ไปข้างหน้าสลับกับแกว่งกลับให้มีซ้ายชี้ไปข้างหลัง
2.2.4 ยกเท้าสองข้างชี้ไปข้างหน้ากลางอากาศ แล้วยื่นสองมือออกไปแตะปลายเท้า
2.2.5 แกว่งเท้าเป็นวงกลมทีละข้าง
2.2.6 ยื่นมือซ้ายและเท้าขวา (คนละข้าง) ลอยขึ้นกลางอากาศแล้วชี้ไปข้างหน้า แล้วสลับทำอีกข้างหนึ่ง
2.3 ฝึกในท่ายืนสี่แบบ คือ (1) ยืนพื้นนิ่ง+ลืมตา (2) ยืนพื้นนิ่ง + หลับตา (3) ยืนพื้นขยับได้ + ลืมตา (4) ยืนพื้นขยับได้ + หลับตา ทั้งนี้ในแต่ละแบบให้ทำท่าต่อไปนี้
2.3.1 โยกตัวไปทางซ้ายสลับกับไปข้างขวา
2.3.2 โน้มตัวไปข้างหน้าสลับกับไปข้างหลัง
2.3.3 กางแขนเหยียดออกข้างลำตัวเสมอหัวไหล่ แล้วแกว่งในแนวราบให้มือซ้ายชี้ไปข้างหน้าสลับกับแกว่งกลับให้มีซ้ายชี้ไปข้างหลัง
2.3.4 ยกเท้าสองข้างชี้ไปข้างหน้ากลางอากาศ แล้วยื่นสองมือออกไปแตะปลายเท้า
2.3.5 แกว่งเท้าเป็นวงกลมทีละข้าง
2.3.6 ยื่นมือซ้ายและเท้าขวา (คนละข้าง) ลอยขึ้นกลางอากาศแล้วชี้ไปข้างหน้า แล้วสลับทำอีกข้างหนึ่ง
2.3.7 ยืนเขย่งบนปลายเท้าสองข้าง
2.3.8 ยืนขาเดียว แล้วสลับข้าง
2.3.9 เดินยกขาก้าวข้ามสิ่งกีดขวาง เช่นหนังสือหรือก้อนอิฐที่ก่อสูงตั้งไว้เป็นระยะๆ
2.3.10 ก้าวขาขวาไปข้างหน้ายาวๆแล้วย่อเข่าลง แล้วสปริงตัวขึ้นลงๆช้าๆ (lunges) แล้วสลับขา
2.3.11 ก้าวขึ้นลงบันได step up/down ladders
2.3.12 กางมือซ้ายพร้อมกับกางเท้าขวาในอากาศ แล้วสลับทำอีกข้างหนึ่ง
3. ถามว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร ตอบว่าอนาคตอยู่ในมือของคุณแล้ว จะเป็นอย่างไรย่อมขึ้นอยู่กับคุณขยันและเอาจริงเอาจังกับการฟื้นฟูตัวเองมากแค่ไหน ไม่มีใครจะทำนายอนาคตของคุณได้นอกจากตัวคุณเอง ในแง่ของโรคนั้น เนื้อสมองแม้จะเสียไปแล้วแต่ก็ฟื้นฟูตัวเองกลับมาใหม่ได้เสมอ เพียงแค่ให้คุณขยันฝึกทำไปทุกวัน แต่ละวันต้องฝึกจนครบทุกท่า ซึ่งต้องอุทิศเวลาและเอาจริงเอาจังพอสมควร ทั้งหมดนี้คุณต้องทำเอง อย่าไปเอาแต่หวังพึ่งการไปทำกายภาพบำบัดที่โรงพยาบาล เพราะกว่าจะเดินทางไป นั่งรอคิว ได้คิวทำครั้งละชั่วโมง แล้วเดินทางกลับ มันได้ประโยชน์น้อยมาก สู้คุณทำเองที่บ้านทุกวันทุกที่ทุกเวลา แบบสู้ สู้ สู้ ด้วยตัวเอง มันเห็นผลทันอกทันใจเร็วกว่ากันแยะ
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์