ต้อหินจากการกินยารักษาความดันเลือดสูง
เรียนคุณหมอสันต์
ผมเป็นเบาหวาน ความดัน ไขมัน เป็นมาสิบปี ตอนนี้กินยา Blopress, Madiplot, Lipitor, Metformin, Acabose เปลี่ยนยาเบาหวานไปหลายตัวแต่ยาความดันไม่ได้เปลี่ยน ต่อมามีอาการตามัว ไปหาหมอตาหมอบอกว่าผมเป็นต้อหิน ผมรักษาเบาหวานที่รพ. ... มานานแล้วแต่ไม่ดีขึ้น และผมก็กลัวเบาหวานลงตาจนตาบอด ได้พบคลิปของคุณหมอเรื่องการกินอาหารเจแบบไขมันต่ำเพื่อรักษาเบาหวาน ผมคิดว่าจะลองกินอาหารแบบนี้ควบคู่ไปกับการใช้ยารักษาเบาหวานจะดีไหมครับ และการทำอย่างนี้จะทำให้ต้อหินของผมดีขึ้นหรือแย่ลงครับ อีกอย่างหนึ่งถ้าผมเปลี่ยนอาหารแล้วอยากจะลดยาเบาหวานลง ต้องรอให้น้ำตาลต่ำถึงเท่าไหร่จึงจะลดยาเบาหวานลงได้ครับ
.........................................................
ตอบครับ
1. สิ่งแรกที่คุณควรลงมือแก้ไขทันที คือการที่ยาของคุณตัวหนี่งคือ Manidipine (Madiplot) เป็นยาในกลุ่มที่เรียกว่า calcium blocker ซึ่งมีผลวิจัยในผู้ป่วยจำนวนมากพอควรที่สรุปได้ว่ามันมีความสัมพันธ์กับการเป็นต้อหินมากขึ้น [1] ดังนั้นควรหารือกับคุณหมอของคุณเพื่อขอหยุดยา Manidipine ตัวนี้เสีย หากหยุดแล้วความดันเลือดเพิ่มสูงขึ้นก็เอายาตัวอื่นมากินแทน เพราะคุณเป็นต้อหินหลังจากกินยามานาน มันเป็นไปได้ว่าต้อหินอาจจะ (1) เกิดจากเบาหวานลงตาหรือ (2) เกิดจากผลข้างเคียงของยาตัวนี้ก็ได้
2. ถามว่าถ้ากินอาหารพืชเป็นหลักแบบไขมันต่ำเพื่อรักษาเบาหวานแล้วต้อหินจะดีขึ้นไหม ตอบว่าหลักฐานวิจัยมีอยู่ว่าอาหารพืชเป็นหลักแบบไขมันต่ำจะทำให้เบาหวานดีขึ้นแน่นอน [2] ส่วนอาหารแบบนี้จะทำให้ต้อหินดีขึ้นหรือเปล่านั้น มีแต่งานวิจัยแบบย้อนหลังงานหนึ่ง [3] ที่สรุปผลได้ว่าอาหารพืชผักใบเขียวโดยเฉพาะกระหล่ำปลีเขียวและผักเคล (คล้ายผักคะน้า) มีความสัมพันธ์กับการเป็นต้อหินลดลง 69% ข้อมูลนี้เชียร์ไปทางว่าอาหารพืชเป็นหลักจะทำให้ต้อหินดีขึ้น
3. ถามว่าจะกินอาหารเจแบบไขมันต่ำควบไปกับการกินยาเบาหวานดีไหม ตอบว่าดีครับ แต่มีประเด็นความปลอดภัยอยู่นิดหนึ่งว่าเมื่อจะเริ่มกินอาหารแบบใหม่ให้ลดขนาดยาเบาหวานตัวใดตัวหนึ่งลงครึ่งหนึ่งก่อน แล้วค่อยเปลี่ยนอาหาร ทั้งนี้เพื่อป้องกันการเกิดน้ำตาลในเลือดต่ำฮวบฮาบในช่วงเปลี่ยนอาหารใหม่ๆ เมื่อลดยาแล้วเปลี่ยนอาหารแล้วค่อยติดตามดูน้ำตาลในเลือด แล้วค่อยปรับยาตามอีกที หากน้ำตาลยังต่ำอีกก็ลดยาลงอีก หากหยุดยาหมดแล้วน้ำตาลในเลือดก็ยังต่ำอยู่อีกให้กินอาหารว่างแทรกระหว่างมื้อใหญ่ โดยวิธีนี้การกินอาหารแคลอรีต่ำก็จะปลอดภัย
4. ถามว่าหากกินเจแบบไขมันต่ำแล้วน้ำตาลในเลือดต้องต่ำกว่าเท่าใดจึงจะเริ่มลดยาได้ ตอบว่าหากน้ำตาลในเลือดต่ำลงกว่า 154 มก./ดล. ก็น่าจะพิจารณาลดยาได้โดยปลอดภัย นี่เป็นคำตอบสำหรับคนที่กำลังอยู่บนเส้นทางปรับอาหารอยู่แล้วนะ ไม่ใช่สำหรับคนที่กินอาหารเดิมๆ จะเห็นว่าค่าที่ผมให้ไม่เหมือนค่าที่แพทย์ส่วนใหญ่ใช้กันซึ่งต้องรอน้ำตาลปกติก่อน (ต่ำกว่า 12ุ6 มก./ดล.) จึงจะปรับลดยาได้ ทั้งนี้ผมมีเหตุผลสามประการคือ
4.1 สำหรับคนที่ปรับไปกินอาหารพืชเป็นหลักแบบไขมันต่ำ (PBWF) หากกินยาเบาหวานอยู่ด้วย จะมีโอกาสเกิดน้ำตาลในเลือดต่ำได้ง่าย จำเป็นต้องปรับลดยานำหน้าผลน้ำตาลในเลือด ไม่ใช่รอให้ผลน้ำตาลในเลือดลงมาต่ำจนถึงระดับปกติก่อนแล้วค่อยปรับลดยาแบบคนที่กินอาหารเดิมๆ
4.2 งานวิจัย ACCORD [4] ได้ให้ข้อมูลที่เป็นข้อพึงสังวรว่าเมื่อเปรียบเทียบกลุ่มที่รักษาระดับน้ำตาลสะสม (HbA1c) ไว้ให้ต่ำกว่า 6.5% หรือน้ำตาลในเลือด (FBS)ต่ำกว่า 140 มก./ดล. ผู้ป่วยจะเสียชีวิตมากกว่ากลุ่มที่ให้น้ำตาลสะสมอยู่ระหว่าง 7.0 - 8.0 (หรือน้ำตาลในเลือด 154-183 มก./ดล.) คือพูดง่ายๆว่ายิ่งกดน้ำตาลลงต่ำมาก ยิ่งเสี่ยงตายมาก
4.3 ในขณะที่ความเสี่ยงอีกด้านหนึ่งของผู้ป่วยเบาหวานคือภาวะเลือดเป็นกรดแล้วช็อก (diabetic ketoacidosis - DKA) ซึ่งจะเกิดเมื่อปล่อยให้น้ำตาลในเลือดสูงเกินไป งานวิจัย [5] พบว่าในผู้ป่วยเบาหวานประเภท 2 ภาวะ DKA จะเกิดก็ต่อเมื่อน้ำตาลในเลือดสูงเกิน 250 มก./ดล.ขึ้นไป ดังนั้นในย่านที่น้ำตาลสะสมอยู่ระหว่าง 7.0-8.0 หรือน้ำตาลในเลือดอยู่ระหว่าง 154-183% จึงเป็นย่านที่ปลอดภัยที่สุด ผมจึงแนะนำว่าหากน้ำตาลลงต่ำกว่า 154 ก็ลดยา หากน้ำตาลเพิ่มสูงเกิน 183 ก็เพิ่มยา
ถ้าดูงานวิจัยเก่าๆที่ทำกันสมัยที่ยังไม่มีการใช้ยารักษาเบาหวานมากมายอย่างทุกวันนี้ เช่นการตามดูคนพื้นเมืองอเมริกัน (อินเดียแดง)ซึ่งเป็นชาติพันธ์ที่มีอุบัติการณ์เป็นเบาหวานสูงมาก พบว่า [6] หากน้ำตาลในเลือดอยู่ในระดับ 126-150 โดยไม่ใช้ยาอะไรเลย สิบปีผ่านไปเขาจะเป็นโรคไตเรื้อรังกันมากแค่ไหน ปรากฎว่าเป็นมากเท่ากับคนปกติที่ไม่ได้เป็นเบาหวานนั่นแหละ ดังนั้นที่เรากลัวตัวเลข 150 นี้เรากลัวสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง หลักฐานจริงๆว่าน้ำตาลระดับนี้จะทำให้ผู้ป่วยย่ำแย่อย่างโน้นอย่างนี้ในแง่ของอัตราตายหรือจุดจบที่เลวร้ายของโรคยังไม่มี
ความรู้แถมเรื่องโรคต้อหิน
สำหรับท่านผู้อ่านทั่วไปที่สนใจ โรคต้อหิน (Glaucoma) มีนิยามว่าคือการที่โครงสร้างหรือการทำงานของเส้นประสาทตา (optic nerve) เสียไปโดยไม่ทราบสาเหตุ ทำให้เส้นประสาทเหี่ยว (atrophy) ซึ่งอาจนำไปสู่การสูญเสียการมองเห็น ภาวะนี้ส่วนใหญ่สามารถบรรเทาได้โดยการลดความดันในลูกตา (IOP) ลงให้มากเพียงพอ ดังนั้นโรคต้อหินหากตรวจพบเสียแต่ระยะแรกจึงมีทางป้องกันไม่ให้ก่อความเสียหายต่อการมองเห็นได้
โรคต้อหินนี้ยังมีแยกย่อยไปได้สามแบบ คือ
1. ต้อหินแบบที่มีการสูญเสียใยประสาทตา (optic fiber) มีความดันในลูกตาสูงแบบเรื้อรัง โดยที่โดยที่มุมของช่องลูกตาส่วนหน้ายังเปิดอยู่ เรียกว่าต้อหินชนิดมุมเปิด primary open-angle glaucoma (POAG)
2. ต้อหินที่มุมของช่องลูกตาส่วนหน้าปิดแล้วเป็นเหตุให้ความดันลูกตาสูงขึ้น เรียกว่าต้อหินชนิดมุมปิด close-angle glaucoma
3. ต้อหินที่ความดันในลูกตาไม่สูง normal-tension glaucoma
นอกจากนี้ยังมีผู้ป่วยจำนวนหนึ่งที่ไม่มีการเสื่อมของเส้นประสาทหรือสูญเสียการมองเห็นเลย แต่มีความดันในลูกตาสูง (ocular hypertension) ผู้ป่วยชนิดนี้ยังไม่ได้เป็นต้อหิน แต่จัดว่ามีความเสี่ยงที่จะเป็นต้อหินในอนาคตมากกว่าคนทั่วไปที่ความดันในลูกตาปกติ กล่าวคือคนที่ความดันลูกตาสูงถึง 28 มม. มีโอกาสเกิดต้อหินมากกว่าคนความดันลูกตา 22 มม. ถึง 15 เท่า ถ้าวัดความดันลูกตาได้ 21-25 มม. จะมีความเสี่ยงเป็นต้อหินในห้าปีเท่ากับ 2.6-3% ถ้าวัดได้ 26-30 มม. มีความเสี่ยง 12-26% ถ้าวัดได้เกิน 30 มม. มีความเสียง 42%
ปัจจัยเสี่ยง ของการเป็นต้อหินที่วงการแพทย์ทราบแน่แล้วได้แก่
(1) ความดันในลูกตาสูง
(2) มีประวัติครอบครัวเป็นต้อหิน
(3) ชาติพันธ์ (คนอัฟริกันผิวดำเป็นมาก)
(4) อายุ (คนอายุเกิน 40 ปีเป็นมาก)
(5) สายตาสั้น
(6) เป็นโรคเกี่ยวกับตาอยู่ก่อนเช่นต้อกระจก เบาหวานลงตา หลอดเลือดที่ตาตีบ
(7) เคยได้รับบาดเจ็บ
(8) ได้ยาที่เพิ่มความดันตาโดยไม่รู้ตัว เช่นยาลดความดันโลหิตบางตัว
นอกจากนี้ยังมีปัจจัยที่คาดเดาเอาว่าน่าจะเป็นปัจจัยเสี่ยงการเป็นต้อหินแต่ยังไม่มีหลักฐานว่าเป็นจริงหรือไม่ คือ ความอ้วน สูบบุหรี่ แอลกอฮอล์ ความเครียด
อาการ ของโรคต้อหิน ถ้าเป็นน้อย ไม่มีอาการ ถ้าเป็นมากแล้วจะมีอาการเช่น ปวดตา ตาแดง มองเห็นวงกลม (halos) หลากสี ปวดหัว ตามืดบอดเป็นบางส่วนบางเสี้ยว ไปจนถึงบอดสนิท
การรักษา โรคต้อหินมีวิธีรักษาสองก๊อก
ก๊อกแรก คือการใช้ยา ทั้งหยอดทั้งกิน เพื่อมุ่งลดความดันลูกตาลง ก่อนที่ความดันลูกตาจะไปก่อความเสียหายต่อประสาทตาและการมองเห็น
ก๊อกสอง คือการผ่าตัด หมายความว่าใช้ยาแล้วความดันลูกตาก็ยังขึ้นเอาๆ ก็ต้องอาศัยการผ่าตัดช่วยระบายน้ำออกจากลูกตา ซึ่งมีหลายวิธี ทั้งใช้เลเซอร์ ทั้งใช้มีด ไปแต่งหรือตัดเนื้อเยื่อส่วนที่เกี่ยวกับการระบายน้ำออกจากลูกตา
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
บรรณานุกรม
1. Zheng W, Dryja TP, Wei Z, Song D, Tian H, Kahler KH, Khawaja AP. Systemic Medication Associations with Presumed Advanced or Uncontrolled Primary Open-Angle Glaucoma. Ophthalmology. 2018 Jul;125(7):984-993. doi: 10.1016/j.ophtha.2018.01.007. Epub 2018 Feb 9.
2. Action to Control Cardiovascular Risk in Diabetes Study Group, Gerstein HC, Miller ME, Byington RP, Goff DC, Jr., Bigger JT, et al. Effects of intensive glucose lowering in type 2 diabetes. N Engl J Med. 2008;358(24):2545-59. doi: 10.1056/NEJMoa0802743.
3. Barnard, N.D., et al., A low-fat vegan diet improves glycemic control and cardiovascular risk factors in a randomized clinical trial in individuals with type 2 diabetes. Diabetes Care. 2006 Aug;29(8):1777-83.
4. Giaconi JA1, Yu F, Stone KL, Pedula KL, Ensrud KE, Cauley JA, Hochberg MC, Coleman AL; Study of Osteoporotic Fractures Research Group. The association of consumption of fruits/vegetables with decreased risk of glaucoma among older African-American women in the study of osteoporotic fractures. Am J Ophthalmol. 2012 Oct;154(4):635-44. doi: 10.1016/j.ajo.2012.03.048. Epub 2012 Jul 20.
5. Kitabchi AE, Umpierrez GE, Murphy MB, Kreisberg RA. "Hyperglycemic crises in adult patients with diabetes: a consensus statement from the American Diabetes Association". Diabetes Care 2006: 29 (12): 2739–48. doi:10.2337/dc06-9916. PMID 17130218.
6. Lee ET, Lee VS, Lu M, Lee JS, Russell D, Yeh J. “Diabetes Study.” Diabetes 1994 Apr;43(4):572-579
ผมเป็นเบาหวาน ความดัน ไขมัน เป็นมาสิบปี ตอนนี้กินยา Blopress, Madiplot, Lipitor, Metformin, Acabose เปลี่ยนยาเบาหวานไปหลายตัวแต่ยาความดันไม่ได้เปลี่ยน ต่อมามีอาการตามัว ไปหาหมอตาหมอบอกว่าผมเป็นต้อหิน ผมรักษาเบาหวานที่รพ. ... มานานแล้วแต่ไม่ดีขึ้น และผมก็กลัวเบาหวานลงตาจนตาบอด ได้พบคลิปของคุณหมอเรื่องการกินอาหารเจแบบไขมันต่ำเพื่อรักษาเบาหวาน ผมคิดว่าจะลองกินอาหารแบบนี้ควบคู่ไปกับการใช้ยารักษาเบาหวานจะดีไหมครับ และการทำอย่างนี้จะทำให้ต้อหินของผมดีขึ้นหรือแย่ลงครับ อีกอย่างหนึ่งถ้าผมเปลี่ยนอาหารแล้วอยากจะลดยาเบาหวานลง ต้องรอให้น้ำตาลต่ำถึงเท่าไหร่จึงจะลดยาเบาหวานลงได้ครับ
.........................................................
ตอบครับ
1. สิ่งแรกที่คุณควรลงมือแก้ไขทันที คือการที่ยาของคุณตัวหนี่งคือ Manidipine (Madiplot) เป็นยาในกลุ่มที่เรียกว่า calcium blocker ซึ่งมีผลวิจัยในผู้ป่วยจำนวนมากพอควรที่สรุปได้ว่ามันมีความสัมพันธ์กับการเป็นต้อหินมากขึ้น [1] ดังนั้นควรหารือกับคุณหมอของคุณเพื่อขอหยุดยา Manidipine ตัวนี้เสีย หากหยุดแล้วความดันเลือดเพิ่มสูงขึ้นก็เอายาตัวอื่นมากินแทน เพราะคุณเป็นต้อหินหลังจากกินยามานาน มันเป็นไปได้ว่าต้อหินอาจจะ (1) เกิดจากเบาหวานลงตาหรือ (2) เกิดจากผลข้างเคียงของยาตัวนี้ก็ได้
2. ถามว่าถ้ากินอาหารพืชเป็นหลักแบบไขมันต่ำเพื่อรักษาเบาหวานแล้วต้อหินจะดีขึ้นไหม ตอบว่าหลักฐานวิจัยมีอยู่ว่าอาหารพืชเป็นหลักแบบไขมันต่ำจะทำให้เบาหวานดีขึ้นแน่นอน [2] ส่วนอาหารแบบนี้จะทำให้ต้อหินดีขึ้นหรือเปล่านั้น มีแต่งานวิจัยแบบย้อนหลังงานหนึ่ง [3] ที่สรุปผลได้ว่าอาหารพืชผักใบเขียวโดยเฉพาะกระหล่ำปลีเขียวและผักเคล (คล้ายผักคะน้า) มีความสัมพันธ์กับการเป็นต้อหินลดลง 69% ข้อมูลนี้เชียร์ไปทางว่าอาหารพืชเป็นหลักจะทำให้ต้อหินดีขึ้น
3. ถามว่าจะกินอาหารเจแบบไขมันต่ำควบไปกับการกินยาเบาหวานดีไหม ตอบว่าดีครับ แต่มีประเด็นความปลอดภัยอยู่นิดหนึ่งว่าเมื่อจะเริ่มกินอาหารแบบใหม่ให้ลดขนาดยาเบาหวานตัวใดตัวหนึ่งลงครึ่งหนึ่งก่อน แล้วค่อยเปลี่ยนอาหาร ทั้งนี้เพื่อป้องกันการเกิดน้ำตาลในเลือดต่ำฮวบฮาบในช่วงเปลี่ยนอาหารใหม่ๆ เมื่อลดยาแล้วเปลี่ยนอาหารแล้วค่อยติดตามดูน้ำตาลในเลือด แล้วค่อยปรับยาตามอีกที หากน้ำตาลยังต่ำอีกก็ลดยาลงอีก หากหยุดยาหมดแล้วน้ำตาลในเลือดก็ยังต่ำอยู่อีกให้กินอาหารว่างแทรกระหว่างมื้อใหญ่ โดยวิธีนี้การกินอาหารแคลอรีต่ำก็จะปลอดภัย
4. ถามว่าหากกินเจแบบไขมันต่ำแล้วน้ำตาลในเลือดต้องต่ำกว่าเท่าใดจึงจะเริ่มลดยาได้ ตอบว่าหากน้ำตาลในเลือดต่ำลงกว่า 154 มก./ดล. ก็น่าจะพิจารณาลดยาได้โดยปลอดภัย นี่เป็นคำตอบสำหรับคนที่กำลังอยู่บนเส้นทางปรับอาหารอยู่แล้วนะ ไม่ใช่สำหรับคนที่กินอาหารเดิมๆ จะเห็นว่าค่าที่ผมให้ไม่เหมือนค่าที่แพทย์ส่วนใหญ่ใช้กันซึ่งต้องรอน้ำตาลปกติก่อน (ต่ำกว่า 12ุ6 มก./ดล.) จึงจะปรับลดยาได้ ทั้งนี้ผมมีเหตุผลสามประการคือ
4.1 สำหรับคนที่ปรับไปกินอาหารพืชเป็นหลักแบบไขมันต่ำ (PBWF) หากกินยาเบาหวานอยู่ด้วย จะมีโอกาสเกิดน้ำตาลในเลือดต่ำได้ง่าย จำเป็นต้องปรับลดยานำหน้าผลน้ำตาลในเลือด ไม่ใช่รอให้ผลน้ำตาลในเลือดลงมาต่ำจนถึงระดับปกติก่อนแล้วค่อยปรับลดยาแบบคนที่กินอาหารเดิมๆ
4.2 งานวิจัย ACCORD [4] ได้ให้ข้อมูลที่เป็นข้อพึงสังวรว่าเมื่อเปรียบเทียบกลุ่มที่รักษาระดับน้ำตาลสะสม (HbA1c) ไว้ให้ต่ำกว่า 6.5% หรือน้ำตาลในเลือด (FBS)ต่ำกว่า 140 มก./ดล. ผู้ป่วยจะเสียชีวิตมากกว่ากลุ่มที่ให้น้ำตาลสะสมอยู่ระหว่าง 7.0 - 8.0 (หรือน้ำตาลในเลือด 154-183 มก./ดล.) คือพูดง่ายๆว่ายิ่งกดน้ำตาลลงต่ำมาก ยิ่งเสี่ยงตายมาก
4.3 ในขณะที่ความเสี่ยงอีกด้านหนึ่งของผู้ป่วยเบาหวานคือภาวะเลือดเป็นกรดแล้วช็อก (diabetic ketoacidosis - DKA) ซึ่งจะเกิดเมื่อปล่อยให้น้ำตาลในเลือดสูงเกินไป งานวิจัย [5] พบว่าในผู้ป่วยเบาหวานประเภท 2 ภาวะ DKA จะเกิดก็ต่อเมื่อน้ำตาลในเลือดสูงเกิน 250 มก./ดล.ขึ้นไป ดังนั้นในย่านที่น้ำตาลสะสมอยู่ระหว่าง 7.0-8.0 หรือน้ำตาลในเลือดอยู่ระหว่าง 154-183% จึงเป็นย่านที่ปลอดภัยที่สุด ผมจึงแนะนำว่าหากน้ำตาลลงต่ำกว่า 154 ก็ลดยา หากน้ำตาลเพิ่มสูงเกิน 183 ก็เพิ่มยา
ถ้าดูงานวิจัยเก่าๆที่ทำกันสมัยที่ยังไม่มีการใช้ยารักษาเบาหวานมากมายอย่างทุกวันนี้ เช่นการตามดูคนพื้นเมืองอเมริกัน (อินเดียแดง)ซึ่งเป็นชาติพันธ์ที่มีอุบัติการณ์เป็นเบาหวานสูงมาก พบว่า [6] หากน้ำตาลในเลือดอยู่ในระดับ 126-150 โดยไม่ใช้ยาอะไรเลย สิบปีผ่านไปเขาจะเป็นโรคไตเรื้อรังกันมากแค่ไหน ปรากฎว่าเป็นมากเท่ากับคนปกติที่ไม่ได้เป็นเบาหวานนั่นแหละ ดังนั้นที่เรากลัวตัวเลข 150 นี้เรากลัวสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง หลักฐานจริงๆว่าน้ำตาลระดับนี้จะทำให้ผู้ป่วยย่ำแย่อย่างโน้นอย่างนี้ในแง่ของอัตราตายหรือจุดจบที่เลวร้ายของโรคยังไม่มี
ความรู้แถมเรื่องโรคต้อหิน
สำหรับท่านผู้อ่านทั่วไปที่สนใจ โรคต้อหิน (Glaucoma) มีนิยามว่าคือการที่โครงสร้างหรือการทำงานของเส้นประสาทตา (optic nerve) เสียไปโดยไม่ทราบสาเหตุ ทำให้เส้นประสาทเหี่ยว (atrophy) ซึ่งอาจนำไปสู่การสูญเสียการมองเห็น ภาวะนี้ส่วนใหญ่สามารถบรรเทาได้โดยการลดความดันในลูกตา (IOP) ลงให้มากเพียงพอ ดังนั้นโรคต้อหินหากตรวจพบเสียแต่ระยะแรกจึงมีทางป้องกันไม่ให้ก่อความเสียหายต่อการมองเห็นได้
โรคต้อหินนี้ยังมีแยกย่อยไปได้สามแบบ คือ
1. ต้อหินแบบที่มีการสูญเสียใยประสาทตา (optic fiber) มีความดันในลูกตาสูงแบบเรื้อรัง โดยที่โดยที่มุมของช่องลูกตาส่วนหน้ายังเปิดอยู่ เรียกว่าต้อหินชนิดมุมเปิด primary open-angle glaucoma (POAG)
2. ต้อหินที่มุมของช่องลูกตาส่วนหน้าปิดแล้วเป็นเหตุให้ความดันลูกตาสูงขึ้น เรียกว่าต้อหินชนิดมุมปิด close-angle glaucoma
3. ต้อหินที่ความดันในลูกตาไม่สูง normal-tension glaucoma
นอกจากนี้ยังมีผู้ป่วยจำนวนหนึ่งที่ไม่มีการเสื่อมของเส้นประสาทหรือสูญเสียการมองเห็นเลย แต่มีความดันในลูกตาสูง (ocular hypertension) ผู้ป่วยชนิดนี้ยังไม่ได้เป็นต้อหิน แต่จัดว่ามีความเสี่ยงที่จะเป็นต้อหินในอนาคตมากกว่าคนทั่วไปที่ความดันในลูกตาปกติ กล่าวคือคนที่ความดันลูกตาสูงถึง 28 มม. มีโอกาสเกิดต้อหินมากกว่าคนความดันลูกตา 22 มม. ถึง 15 เท่า ถ้าวัดความดันลูกตาได้ 21-25 มม. จะมีความเสี่ยงเป็นต้อหินในห้าปีเท่ากับ 2.6-3% ถ้าวัดได้ 26-30 มม. มีความเสี่ยง 12-26% ถ้าวัดได้เกิน 30 มม. มีความเสียง 42%
ปัจจัยเสี่ยง ของการเป็นต้อหินที่วงการแพทย์ทราบแน่แล้วได้แก่
(1) ความดันในลูกตาสูง
(2) มีประวัติครอบครัวเป็นต้อหิน
(3) ชาติพันธ์ (คนอัฟริกันผิวดำเป็นมาก)
(4) อายุ (คนอายุเกิน 40 ปีเป็นมาก)
(5) สายตาสั้น
(6) เป็นโรคเกี่ยวกับตาอยู่ก่อนเช่นต้อกระจก เบาหวานลงตา หลอดเลือดที่ตาตีบ
(7) เคยได้รับบาดเจ็บ
(8) ได้ยาที่เพิ่มความดันตาโดยไม่รู้ตัว เช่นยาลดความดันโลหิตบางตัว
นอกจากนี้ยังมีปัจจัยที่คาดเดาเอาว่าน่าจะเป็นปัจจัยเสี่ยงการเป็นต้อหินแต่ยังไม่มีหลักฐานว่าเป็นจริงหรือไม่ คือ ความอ้วน สูบบุหรี่ แอลกอฮอล์ ความเครียด
อาการ ของโรคต้อหิน ถ้าเป็นน้อย ไม่มีอาการ ถ้าเป็นมากแล้วจะมีอาการเช่น ปวดตา ตาแดง มองเห็นวงกลม (halos) หลากสี ปวดหัว ตามืดบอดเป็นบางส่วนบางเสี้ยว ไปจนถึงบอดสนิท
การรักษา โรคต้อหินมีวิธีรักษาสองก๊อก
ก๊อกแรก คือการใช้ยา ทั้งหยอดทั้งกิน เพื่อมุ่งลดความดันลูกตาลง ก่อนที่ความดันลูกตาจะไปก่อความเสียหายต่อประสาทตาและการมองเห็น
ก๊อกสอง คือการผ่าตัด หมายความว่าใช้ยาแล้วความดันลูกตาก็ยังขึ้นเอาๆ ก็ต้องอาศัยการผ่าตัดช่วยระบายน้ำออกจากลูกตา ซึ่งมีหลายวิธี ทั้งใช้เลเซอร์ ทั้งใช้มีด ไปแต่งหรือตัดเนื้อเยื่อส่วนที่เกี่ยวกับการระบายน้ำออกจากลูกตา
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
บรรณานุกรม
1. Zheng W, Dryja TP, Wei Z, Song D, Tian H, Kahler KH, Khawaja AP. Systemic Medication Associations with Presumed Advanced or Uncontrolled Primary Open-Angle Glaucoma. Ophthalmology. 2018 Jul;125(7):984-993. doi: 10.1016/j.ophtha.2018.01.007. Epub 2018 Feb 9.
2. Action to Control Cardiovascular Risk in Diabetes Study Group, Gerstein HC, Miller ME, Byington RP, Goff DC, Jr., Bigger JT, et al. Effects of intensive glucose lowering in type 2 diabetes. N Engl J Med. 2008;358(24):2545-59. doi: 10.1056/NEJMoa0802743.
3. Barnard, N.D., et al., A low-fat vegan diet improves glycemic control and cardiovascular risk factors in a randomized clinical trial in individuals with type 2 diabetes. Diabetes Care. 2006 Aug;29(8):1777-83.
4. Giaconi JA1, Yu F, Stone KL, Pedula KL, Ensrud KE, Cauley JA, Hochberg MC, Coleman AL; Study of Osteoporotic Fractures Research Group. The association of consumption of fruits/vegetables with decreased risk of glaucoma among older African-American women in the study of osteoporotic fractures. Am J Ophthalmol. 2012 Oct;154(4):635-44. doi: 10.1016/j.ajo.2012.03.048. Epub 2012 Jul 20.
5. Kitabchi AE, Umpierrez GE, Murphy MB, Kreisberg RA. "Hyperglycemic crises in adult patients with diabetes: a consensus statement from the American Diabetes Association". Diabetes Care 2006: 29 (12): 2739–48. doi:10.2337/dc06-9916. PMID 17130218.
6. Lee ET, Lee VS, Lu M, Lee JS, Russell D, Yeh J. “Diabetes Study.” Diabetes 1994 Apr;43(4):572-579