กระดูกงอกที่คอกับอาการกลืนลำบาก
จดหมายฉบับที่ 1.
กราบสวัสดีครับอาจารย์
ผมชื่อหมอ ... อดีตเป็นอาจารย์ที่คณะแพทยศาสตร์ ... ปัจจุบันเป็นหมอ ... ครับ ผมมีอาการกลืนไม่ลงมาสักเดือนกว่าครับ ทำ scope และ barium negative ครับ ตอนนี้มีอาการเหมือน LES ไม่มี peristalsis เป็นระยะๆครับ อาการเป็นมากขึ้นหากบรรยายมาก หรือพูดมากๆครับ อยากกราบเรียนปรึกษาท่านอาจารย์ครับ ไม่ทราบว่าจะเรียนรบกวนท่านอาจารย์ได้อย่างไรครับ
กราบขอบพระคุณล่วงหน้าครับ
........................................................
ตอบครับ1.
ขอโทษที่ตอบจดหมายอาจารย์ช้าเพราะผมเพิ่งกลับมาจากเที่ยวใหม่ๆเลยยุ่งนิดหน่อย
อาจารย์ทำ CT chest ก่อนดีไหมครับ ถือว่าเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับโรคของ mediastinum เกือบทุกโรค ได้ผลแล้วค่อยมาว่ากัน
สันต์
หมายเหตุสำหรับท่านผู้อ่านที่ไม่ใช่แพทย์
scope: หมายถึง gastroesophagoscopy แปลว่าการส่องกล้องตรวจหลอดอาหารและกระเพาะอาหาร
barium negative: การกลืนแป้งทึบรังสีแล้วเอ็กซเรย์ดูกลไกการกลืนผ่านหลอดอาหารได้ผลปกติ
LES ไม่มี peristalsis: หมายถึงกล้ามเนื้อหูรูดปลายล่างหลอดอาหาร (lower esophageal sphynctor) ไม่ทำงานตามปกติ คือไม่หดตัวแล้วคลายตัวไล่ๆกันไปเป็นลูกระนาด
CT chest: การเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์บริเวณทรวงอก
Mediastinum: ส่วนกลางของทรวงอกซึ่งเป็นที่ตั้งของหัวใจ หลอดลม และหลอดอาหาร
......................................................
จดหมายฉบับที่ 2.
กราบขอบพระคุณครับ
ผมไป CT มาแล้วครับ ผลเป็น C4-5 spondylosis ยื่นเข้ากดหลอดคอและกดทับเส้นประสาท มีก้อนขนาด 3 มม. ที่ตับอ่อนส่วนหัวด้วย
กราบเรียนถามท่านอาจารย์ครับว่ามีข้อแนะนำอย่างไรครับ พรุ่งนี้ผมจะตรวจระดับ gastrin ครับ เนื่องจากผมมีอาการปวดอืดกระเพาะร่วมด้วยมาเป็นเวลาหลายเดือนครับ ส่ง case report มาให้อ่านด้วยครับ
กราบขอบพระคุณมากครับ
..................................................
ตอบครับ 2.
ขอบคุณครับที่ส่ง Case Report เรื่อง spondylosis แล้วทำให้เกิดอาการกลืนลำบากมาให้อ่าน เป็นความรู้ใหม่สำหรับผม
move ต่อไปอาจารย์ก็คงต้องหารือ Neurologist ด้วยเป้าหมายจะผ่าตัดแก้ไขละมังครับ สำหรับผม เคสของอาจารย์เป็น interesting case เลยนะครับ
ส่วนเรื่อง mass ที่ตับอ่อนนั้น ผมไม่ค่อยให้น้ำหนักอะไรกับก้อนขนาด 3 mm ที่ตรวจพบโดย CT หรอกครับ อย่างดีผมก็จะติดตามดู double time ห่างๆเช่นทุก 6-12 เดือน ผมว่าโอกาสที่จะพบอะไรเป็นเนื้อเป็นหนังนั้นน้อยมาก อย่างไรก็ตามการที่อาจารย์ตรวจดู Gastrin ก็ไม่เสียหลายครับ ดีกว่าอยู่เปล่าๆ แต่ผมไม่คาดหมายว่ามันจะผิดปกติดอก
สันต์
หมายเหตุสำหรับท่านผู้อ่านที่ไม่ใช่แพทย์
C4-5 spondylosis: กระดูกงอกหรือมีเงี่ยงเกิดขึ้นจากความชรา ที่ตำแหน่งกระดูกคอปล้องที่ 4-5
gastrin: หมายถึงฮอร์โมนที่ปกติผลิตโดยกระเพาะอาหาร แต่บางครั้งผลิตโดยเนื้องอกชื่อ gastrinoma ที่ตับอ่อน ทำให้เกิดกลุ่มอาการปวดท้องคลื่นไส้อาเจียนและเลือดออกในกระเพาะลำไส้บ่อย แพทย์เรียกกลุ่มอาการนี้ว่า Zollinger Ellision Syndrome
Case Report: รายงานผู้ป่วยประหลาดๆที่แพทย์คนใดคนหนึ่งตรวจพบแล้วเขียนเล่าไว้ในวารสารการแพทย์
Neurologist: แพทย์เฉพาะทางประสาทวิทยา
interesting case: ผู้ป่วยที่มีความประหลาดพิศดารไปจากที่อธิบายไว้ในตำราแพทย์ปกติ
mass: หมายถึงก้อนเนื้องอก (ในกรณีนี้คือที่หัวของตับอ่อน)
double time: หมายถึงเวลาที่เนื้องอกใช้ในการขยายขนาดเป็นสองเท่าจากเดิม ซึ่งหากเวลานี้สั้นกว่า 6-12 เดือนก็บ่งชี้ไปทางว่าเนื้องอกนั้นโตเร็ว น่าจะเป็นเนื้องอกชนิดมะเร็ง
..........................................................
จดหมายฉบับที่3.
กราบขอบพระคุณอาจารย์ครับที่ให้ผมรบกวนปรึกษา ขอรายงานเพิ่มครับ ผมได้รับการผ่าตัดแล้วครับ เนื่องจาก spur น่าจะไป irritate nerve รอบๆ esophagus ครับ ผมมีอาการ Vagus agitation มากครับ จึงปรึกษาอาจารย์ ... ซึ่งท่านสั่งแอดมิทและผ่าทันที หลังผ่าตัด อาการผมดีขึ้นครับ
ขอกราบขอบพระคุณอาจารย์ที่ช่วยให้คำปรึกษาครับ
..........................................................
สรุปเรื่อง
แฟนบล็อกท่านนี้ มีอาการกลืนลำบาก ยิ่งพูดยิ่งสอนมาก ยิ่งกลืนอะไรไม่ลง อาการแบบนี้เป็นอาการคลาสิกของโรค Achalasia cardia ซึ่งไม่มีชื่อภาษาไทย ผมแปลชั่วคราวไปก่อนว่า "โรคหลอดอาหารท่อนปลายหดเกร็ง" ก็แล้วกัน มันคือภาวะที่เมื่อมีการกลืนอาหารแล้ว หลอดอาหารท่อนปลายไม่บีบตัวเป็นลูกคลื่น ร่วมกับกล้ามเนื้อหูรูดที่ปลายล่างของหลอดอาหารไม่คลายตัวให้อาหารผ่านลงกระเพาะตามปกติ ทำให้อาหารส่วนหนึ่งไปค้างอยู่ที่ปลายล่างของหลอดอาหาร โดยลงไปไม่ถึงกระเพาะอาหาร ค้างอยู่จนหลอดอาหารส่วนล่างเป่งเป็นถุงหรือกระเปาะ ทำให้แน่นหน้าอกได้ สาเหตุของโรคนี้เกิดจากการเสื่อมของเซลประสาทที่หลอดอาหารท่อนปลายโดยไม่รู้ว่าทำไมมันถึงเสื่อม คนไข้โรคนี้จะมีอาการกลืนลำบาก ของเหลวกลืนยากกว่าของแข็ง อาเจียน เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก แสบลิ้นปี่ นอกจากโรคนี้แล้ว โรคที่ต้องวินิจฉัยแยกเสมอคือมะเร็งหลอดอาหาร อาการมะเร็งหลอดอาหารนั้นหากถึงขั้นกลืนลำบากจะกลืนของแข็งไม่ลงก่อน ส่วนของเหลวนั้นไม่มีปัญหา แต่ยังไงก็ต้องวินิจฉัยแยกมะเร็งเสมอ นี่เป็นมาตรฐานการตรวจวินิจฉัย
แต่เมื่อแฟนบล็อกท่านนี้ไปโรงพยาบาล แพทย์ได้ทำการวินิจฉัยเพื่อยืนยันว่าเป็นโรค Achalasia cardia จริงหรือไม่โดยการให้กลืนแป้งทึบรังสี (barium swallow) แล้วเอ็กซเรย์ดูหลอดอาหารขณะแป้งเคลื่อนผ่านท่อนล่างของหลอดอาหาร ซึ่งหากเป็นโรคนี้จะเห็นว่าหลอดอาหารไม่บีบตัวเป็นละรอกแบบปกติ และหลอดอาหารท่อนปลายโป่งพอง มีเศษอาหารค้างอยู่ แต่ผลการตรวจกลืนแป้งกลับพบทุกอย่างปกติ คือไม่ได้เป็นโรค Achalasia cardia แต่เป็นโรคอะไรไม่รู้
นอกจากนั้นที่โรงพยาบาลยังได้ส่องกล้องลงไปตรวจดูหลอดอาหารและกระเพาะอาหาร (esophagogastroscopy) เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีความผิดปกติเช่นมะเร็งกระเพาะอาหารซึ่งมักเป็นเหตุให้หลอดอาหารไม่บีบตัวได้เหมือนกัน (pseudoachalasia) ผลการตรวจก็พบว่าไม่พบความผิดปกติแต่อย่างใด จึงเขียนจดหมายมา
ผมได้แนะนำให้ตรวจเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์บริเวณทรวงอก (CT chest) ซึ่งตรวจแล้วก็พบว่ามีกระดูกงอกจากปล้องกระดูกสันหลังที่คอระดับปล้องที่ 4-5 งอกออกไปกดเส้นประสาทรอบๆหลอดอาหาร ซึ่งนำไปสู่การผ่าตัดเอาเงี่ยงกระดูกนี้ออก หลังผ่าตัดแล้วอาการกลืนลำบากก็กลับหายเป็นปกติดี
ผมเอาเรื่องนี้มาเล่าเพื่อให้ท่านผู้อ่านได้เรียนรู้ว่าเมื่อมีอาการกลืนลำบาก นอกจากโรค Achalasia cardia และโรคมะเร็งหลอดอาหารซึ่งเป็นสองโรคยอดนิยมที่ทำให้เกิดอาการกลืนลำบากแล้ว โรคกระดูกสันหลัง (ระดับคอ) งอกกดเส้นประสาทบริเวณนั้น หรือที่เรียกง่ายๆว่าโรคกระดูกคอเสื่อม ก็เป็นสาเหตุที่ก่ออาการกลืนลำบากได้เหมือนกัน
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
กราบสวัสดีครับอาจารย์
ผมชื่อหมอ ... อดีตเป็นอาจารย์ที่คณะแพทยศาสตร์ ... ปัจจุบันเป็นหมอ ... ครับ ผมมีอาการกลืนไม่ลงมาสักเดือนกว่าครับ ทำ scope และ barium negative ครับ ตอนนี้มีอาการเหมือน LES ไม่มี peristalsis เป็นระยะๆครับ อาการเป็นมากขึ้นหากบรรยายมาก หรือพูดมากๆครับ อยากกราบเรียนปรึกษาท่านอาจารย์ครับ ไม่ทราบว่าจะเรียนรบกวนท่านอาจารย์ได้อย่างไรครับ
กราบขอบพระคุณล่วงหน้าครับ
........................................................
ตอบครับ1.
ขอโทษที่ตอบจดหมายอาจารย์ช้าเพราะผมเพิ่งกลับมาจากเที่ยวใหม่ๆเลยยุ่งนิดหน่อย
อาจารย์ทำ CT chest ก่อนดีไหมครับ ถือว่าเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับโรคของ mediastinum เกือบทุกโรค ได้ผลแล้วค่อยมาว่ากัน
สันต์
หมายเหตุสำหรับท่านผู้อ่านที่ไม่ใช่แพทย์
scope: หมายถึง gastroesophagoscopy แปลว่าการส่องกล้องตรวจหลอดอาหารและกระเพาะอาหาร
barium negative: การกลืนแป้งทึบรังสีแล้วเอ็กซเรย์ดูกลไกการกลืนผ่านหลอดอาหารได้ผลปกติ
LES ไม่มี peristalsis: หมายถึงกล้ามเนื้อหูรูดปลายล่างหลอดอาหาร (lower esophageal sphynctor) ไม่ทำงานตามปกติ คือไม่หดตัวแล้วคลายตัวไล่ๆกันไปเป็นลูกระนาด
CT chest: การเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์บริเวณทรวงอก
Mediastinum: ส่วนกลางของทรวงอกซึ่งเป็นที่ตั้งของหัวใจ หลอดลม และหลอดอาหาร
......................................................
จดหมายฉบับที่ 2.
กราบขอบพระคุณครับ
ผมไป CT มาแล้วครับ ผลเป็น C4-5 spondylosis ยื่นเข้ากดหลอดคอและกดทับเส้นประสาท มีก้อนขนาด 3 มม. ที่ตับอ่อนส่วนหัวด้วย
กราบเรียนถามท่านอาจารย์ครับว่ามีข้อแนะนำอย่างไรครับ พรุ่งนี้ผมจะตรวจระดับ gastrin ครับ เนื่องจากผมมีอาการปวดอืดกระเพาะร่วมด้วยมาเป็นเวลาหลายเดือนครับ ส่ง case report มาให้อ่านด้วยครับ
กราบขอบพระคุณมากครับ
..................................................
ตอบครับ 2.
ขอบคุณครับที่ส่ง Case Report เรื่อง spondylosis แล้วทำให้เกิดอาการกลืนลำบากมาให้อ่าน เป็นความรู้ใหม่สำหรับผม
move ต่อไปอาจารย์ก็คงต้องหารือ Neurologist ด้วยเป้าหมายจะผ่าตัดแก้ไขละมังครับ สำหรับผม เคสของอาจารย์เป็น interesting case เลยนะครับ
ส่วนเรื่อง mass ที่ตับอ่อนนั้น ผมไม่ค่อยให้น้ำหนักอะไรกับก้อนขนาด 3 mm ที่ตรวจพบโดย CT หรอกครับ อย่างดีผมก็จะติดตามดู double time ห่างๆเช่นทุก 6-12 เดือน ผมว่าโอกาสที่จะพบอะไรเป็นเนื้อเป็นหนังนั้นน้อยมาก อย่างไรก็ตามการที่อาจารย์ตรวจดู Gastrin ก็ไม่เสียหลายครับ ดีกว่าอยู่เปล่าๆ แต่ผมไม่คาดหมายว่ามันจะผิดปกติดอก
สันต์
หมายเหตุสำหรับท่านผู้อ่านที่ไม่ใช่แพทย์
C4-5 spondylosis: กระดูกงอกหรือมีเงี่ยงเกิดขึ้นจากความชรา ที่ตำแหน่งกระดูกคอปล้องที่ 4-5
gastrin: หมายถึงฮอร์โมนที่ปกติผลิตโดยกระเพาะอาหาร แต่บางครั้งผลิตโดยเนื้องอกชื่อ gastrinoma ที่ตับอ่อน ทำให้เกิดกลุ่มอาการปวดท้องคลื่นไส้อาเจียนและเลือดออกในกระเพาะลำไส้บ่อย แพทย์เรียกกลุ่มอาการนี้ว่า Zollinger Ellision Syndrome
Case Report: รายงานผู้ป่วยประหลาดๆที่แพทย์คนใดคนหนึ่งตรวจพบแล้วเขียนเล่าไว้ในวารสารการแพทย์
Neurologist: แพทย์เฉพาะทางประสาทวิทยา
interesting case: ผู้ป่วยที่มีความประหลาดพิศดารไปจากที่อธิบายไว้ในตำราแพทย์ปกติ
mass: หมายถึงก้อนเนื้องอก (ในกรณีนี้คือที่หัวของตับอ่อน)
double time: หมายถึงเวลาที่เนื้องอกใช้ในการขยายขนาดเป็นสองเท่าจากเดิม ซึ่งหากเวลานี้สั้นกว่า 6-12 เดือนก็บ่งชี้ไปทางว่าเนื้องอกนั้นโตเร็ว น่าจะเป็นเนื้องอกชนิดมะเร็ง
..........................................................
จดหมายฉบับที่3.
กราบขอบพระคุณอาจารย์ครับที่ให้ผมรบกวนปรึกษา ขอรายงานเพิ่มครับ ผมได้รับการผ่าตัดแล้วครับ เนื่องจาก spur น่าจะไป irritate nerve รอบๆ esophagus ครับ ผมมีอาการ Vagus agitation มากครับ จึงปรึกษาอาจารย์ ... ซึ่งท่านสั่งแอดมิทและผ่าทันที หลังผ่าตัด อาการผมดีขึ้นครับ
ขอกราบขอบพระคุณอาจารย์ที่ช่วยให้คำปรึกษาครับ
..........................................................
สรุปเรื่อง
แฟนบล็อกท่านนี้ มีอาการกลืนลำบาก ยิ่งพูดยิ่งสอนมาก ยิ่งกลืนอะไรไม่ลง อาการแบบนี้เป็นอาการคลาสิกของโรค Achalasia cardia ซึ่งไม่มีชื่อภาษาไทย ผมแปลชั่วคราวไปก่อนว่า "โรคหลอดอาหารท่อนปลายหดเกร็ง" ก็แล้วกัน มันคือภาวะที่เมื่อมีการกลืนอาหารแล้ว หลอดอาหารท่อนปลายไม่บีบตัวเป็นลูกคลื่น ร่วมกับกล้ามเนื้อหูรูดที่ปลายล่างของหลอดอาหารไม่คลายตัวให้อาหารผ่านลงกระเพาะตามปกติ ทำให้อาหารส่วนหนึ่งไปค้างอยู่ที่ปลายล่างของหลอดอาหาร โดยลงไปไม่ถึงกระเพาะอาหาร ค้างอยู่จนหลอดอาหารส่วนล่างเป่งเป็นถุงหรือกระเปาะ ทำให้แน่นหน้าอกได้ สาเหตุของโรคนี้เกิดจากการเสื่อมของเซลประสาทที่หลอดอาหารท่อนปลายโดยไม่รู้ว่าทำไมมันถึงเสื่อม คนไข้โรคนี้จะมีอาการกลืนลำบาก ของเหลวกลืนยากกว่าของแข็ง อาเจียน เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก แสบลิ้นปี่ นอกจากโรคนี้แล้ว โรคที่ต้องวินิจฉัยแยกเสมอคือมะเร็งหลอดอาหาร อาการมะเร็งหลอดอาหารนั้นหากถึงขั้นกลืนลำบากจะกลืนของแข็งไม่ลงก่อน ส่วนของเหลวนั้นไม่มีปัญหา แต่ยังไงก็ต้องวินิจฉัยแยกมะเร็งเสมอ นี่เป็นมาตรฐานการตรวจวินิจฉัย
แต่เมื่อแฟนบล็อกท่านนี้ไปโรงพยาบาล แพทย์ได้ทำการวินิจฉัยเพื่อยืนยันว่าเป็นโรค Achalasia cardia จริงหรือไม่โดยการให้กลืนแป้งทึบรังสี (barium swallow) แล้วเอ็กซเรย์ดูหลอดอาหารขณะแป้งเคลื่อนผ่านท่อนล่างของหลอดอาหาร ซึ่งหากเป็นโรคนี้จะเห็นว่าหลอดอาหารไม่บีบตัวเป็นละรอกแบบปกติ และหลอดอาหารท่อนปลายโป่งพอง มีเศษอาหารค้างอยู่ แต่ผลการตรวจกลืนแป้งกลับพบทุกอย่างปกติ คือไม่ได้เป็นโรค Achalasia cardia แต่เป็นโรคอะไรไม่รู้
นอกจากนั้นที่โรงพยาบาลยังได้ส่องกล้องลงไปตรวจดูหลอดอาหารและกระเพาะอาหาร (esophagogastroscopy) เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีความผิดปกติเช่นมะเร็งกระเพาะอาหารซึ่งมักเป็นเหตุให้หลอดอาหารไม่บีบตัวได้เหมือนกัน (pseudoachalasia) ผลการตรวจก็พบว่าไม่พบความผิดปกติแต่อย่างใด จึงเขียนจดหมายมา
ผมได้แนะนำให้ตรวจเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์บริเวณทรวงอก (CT chest) ซึ่งตรวจแล้วก็พบว่ามีกระดูกงอกจากปล้องกระดูกสันหลังที่คอระดับปล้องที่ 4-5 งอกออกไปกดเส้นประสาทรอบๆหลอดอาหาร ซึ่งนำไปสู่การผ่าตัดเอาเงี่ยงกระดูกนี้ออก หลังผ่าตัดแล้วอาการกลืนลำบากก็กลับหายเป็นปกติดี
ผมเอาเรื่องนี้มาเล่าเพื่อให้ท่านผู้อ่านได้เรียนรู้ว่าเมื่อมีอาการกลืนลำบาก นอกจากโรค Achalasia cardia และโรคมะเร็งหลอดอาหารซึ่งเป็นสองโรคยอดนิยมที่ทำให้เกิดอาการกลืนลำบากแล้ว โรคกระดูกสันหลัง (ระดับคอ) งอกกดเส้นประสาทบริเวณนั้น หรือที่เรียกง่ายๆว่าโรคกระดูกคอเสื่อม ก็เป็นสาเหตุที่ก่ออาการกลืนลำบากได้เหมือนกัน
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์