เมื่อการตรวจสุขภาพคือสินค้า ก็ต้องมีการสร้างความหลากหลายให้เลือก
อจ.ค่ะ
ดิฉันจะไปตรวจสุขภาพประจำปี รพ.เสนอโปรแกรมการตรวจสุขภาพมาให้ มีรายการที่เสนอให้ตรวจอยู่สองรายการซึ่งดิฉันไม่ทราบว่าตรวจอะไร ตรวจไปทำไม คือ (1) Anti-MOGและ (2) Metaneprine รบกวนสอบถามอาจารย์ว่ามันคือการตรวจอะไร จำเป็นมากน้อยเพียงใด
ขอบคุณค่ะ
............................................................
ตอบครับ
1. ถามว่า Anti-MOG คืออะไร ตอบว่า Anti หมายถึง antibody แปลว่าภูมิคุ้มกันของร่างกายต่อสิ่งต่างๆ ส่วนตัวย่อ MOG มาจากคำเต็มว่า Myelin oligodendrocyte glycoprotein ซึ่งเป็นโมเลกุลที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ปลอกประสาทของร่างกาย Anti-MOG ก็คือภูมิคุ้มกันทำลายตัวเองชนิดทำลายปลอกประสาทของร่างกาย
ตัว Anti-MOG นี้ หากไปทำลายปลอกประสาทเข้าก็จะเป็นโรคปลอกประสาทอักเสบ (demyelinating disease) ถ้าไปเกิดกับระบบประสาทกลางก็จะเกิดโรคที่พวกฝรั่งเป็นกัน เช่น โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (multiple sclerosis หรือ MS) และโรคปลอกประสาทตาอักเสบ (neuromyelitis optica หรือ NMO) ทั้งสองโรคมีอาการคล้ายกันคือหากเป็นกับประสาทตา ตาจะมัวลงอย่างเฉียบพลัน หากเป็นกับไขสันหลังก็จะมีอาการชาแขน ขา ลำตัว กล้ามเนื้อแขนหรือขาอ่อนแรง การควบคุมขับถ่ายอุจจาระปัสสาวะผิดปกติ อาจเบ่งปัสสาวะอุจจาระไม่ออกหรือถ่ายราด กลั้นไม่อยู่ หากเป็นกับเส้นประสาทในสมองก็จะมีอาการ เห็นภาพซ้อน เดินเซ แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก ชาครึ่งซีก เป็นต้น
2. ถามว่าควรจะตรวจ Anti-MOG เพื่อคัดกรองโรคในการตรวจสุขภาพประจำปีไหม ตอบว่าโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (MS) ก็ดี โรคปลอกประสาทตาอักเสบ (NMO) ก็ดี เป็นโรคที่สัมพันธ์กับพันธุกรรม ที่คนไทยเป็นกันน้อยมาก น้อยจนไม่มีใครบอกสถิติได้ ตัวหมอสันต์เองอยู่มาจนปูนนี้รักษาคนไข้ไปก็หลายหมื่นคน ยังไม่เคยเห็นคนไข้ทั้งสองโรคแม้แต่คนเดียว ยิ่งไปกว่านั้นโรคทั้งสองเป็นโรคที่วงการแพทย์ไม่มีวิธีรักษาให้หาย ทำได้แค่ช่วยบรรเทาอาการเมื่อมีอาการ ดังนั้นหากไม่มีอาการอะไรแม้ตรวจคัดกรองโรคพบก็ทำอะไรไม่ได้สักอย่าง แล้วจะตรวจไปทำพรือละครับ
นี่พูดถึงการตรวจคัดกรองนะ คนละประเด็นกับการตรวจเพื่อการวินิจฉัยโรคในกรณีที่คุณมีอาการของทั้งสองโรคและหมอได้วินิจฉัยแยกโรคง่ายๆอื่นๆที่ทำให้เกิดอาการคล้ายกันได้ (เช่นเบาหวาน) แล้ว และหมอส่งคุณไปให้แพทย์ทางประสาทวิทยา แพทย์ทางประสาทวิทยาสงสัยว่าคุณจะเป็น MS หรือ NMO จึงตรวจ Anti-MOG เพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรค อันนั้นเป็นการตรวจเพื่อวินิจฉัยซึ่งเป็นสิ่งที่หมอเขาทำกันเป็นปกติ คนละประเด็นกับการตรวจคัดกรอง
3. ถามว่าเมตาเนฟริน (metaneprine) คืออะไร ตอบว่าคือโมเลกุลผลลัพท์ (metabolite) ที่ได้จากการเผาผลาญทำลายฮอร์โมนในระบบประสาทอัตโนมัติตัวหนึ่งที่ชื่ออีปิเนฟริน (epinephrine) หรืออีกชื่อหนึ่งว่าอะดรินาลิน (adrenaline) สารเมตาเนฟรินนี้มันเกิดขึ้นเป็นปกติในร่างกาย แต่ในภาวะที่มีการผลิตอะดรินาลินมากผิดปกติ สารตัวนี้ก็จะตกค้างในร่างกายมากขึ้น งานวิจัยพบว่าการตรวจหาสารตัวนี้ในร่างกายเป็นเครื่องมือที่ดีในการยืนยันการวินิจฉัยเนื้องอกของต่อมหมวกไตชนิดที่ผลิตฮอร์โมนอะดรินาลินมาก (pheochromocytoma) ซึ่งหากมีเนื้องอกชนิดนี้จะทำให้เกิดภาวะความดันเลือดสูงมากๆตั้งแต่อายุน้อยๆ เช่นอายุสิบกว่าปียี่สิบกว่าปีก็เป็นความดันเลือดสูงแล้วเป็นต้น
4. ถามว่าในการตรวจสุขภาพประจำปี จำเป็นต้องตรวจเมตาเนฟรินไหม ตอบว่าไม่จำเป็นครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นผู้ป่วยที่มีความดันเลือดปกติไม่ควรตรวจเลย เพราะการตรวจเมตาเนฟรินเปะปะ หากได้ผลบวกเทียมซึ่งเกิดบ่อยมาก จะทำให้ผู้ป่วยต้องตรวจอะไรอีกหลายอย่างแบบเจ็บตัวและเสียเงินฟรี ผลบวกเทียมเกิดขึ้นได้ง่ายมาก เช่นเปลี่ยนท่าจากนอนเป็นนั่งหรือยืนก็ได้ผลบวกแล้ว เครียดก็ได้ผลบวกแล้ว เป็นต้น การตรวจเมตาเนฟรินจึงมีประโยชน์ในการวินิจฉัยโรคเท่านั้น กล่าวคือเมื่อผู้ป่วยมีความดันเลือดสูงตั้งแต่อายุยังน้อย ซึ่งปัจจุบันวงการแพทย์นิยามว่าหากความดันสูงตั้งแต่อายุต่ำกว่า 35 ปีถือว่าเป็นความดันสูงตั้งแต่อายุน้อย หรือเป็นความดันสูงมากๆแบบดื้อด้านต่อการรักษา ผู้ป่วยพวกนี้นอกจากความดันเลือดสูงมากแล้วยังจะมีอาการของระบบประสาทอัตโนมัติขาเร่ง (sympathetic) เด่นขึ้นมา เช่นร้อนวูบวาบผ่าวๆตามหน้าตา ผิวหนังอุ่นหรือแดงเรื่อๆอยู่เสมอ นอนไม่หลับ กระวนกระวาย เป็นต้น ผู้ป่วยเช่นนี้แหละที่ควรจะได้รับการตรวจเมตาเนฟรินเพื่อการวินิจฉัย ซึ่งมักต้องตามมาด้วย (หรือทำคู่กับ) การตรวจภาพของต่อมหมวกไตด้วยซีที.หรือเอ็มอาร์ไอ.เสมอจึงจะได้ข้อมูลพอที่จะนำไปกำหนดแผนการรักษาต่อไปได้
5. ข้อนี้ผมแถมให้นะ ปัจจุบันนี้การตรวจสุขภาพประจำปีเป็นสินค้าของอุตสาหกรรมการแพทย์ ไม่ว่าภาครัฐบาลหรือภาคเอกชนต่างใช้การตรวจสุขภาพประจำปีเป็นสินค้าสร้างรายได้ เมื่อขายสินค้าก็จำเป็นต้องมีการสร้างความหลากหลายให้ตัวสินค้า บางโรงพยาบาลเสนอการตรวจเป็นหลายร้อยตัวเรียกว่าถ้าห้องแล็บตรวจอะไรได้ก็พยายามเอามาขายให้หมด บางโรงพยาบาลเสนอขายไปถึงการตรวจที่วงการแพทย์ยังไม่รู้จะเอาข้อมูลไปใช้ประโยชน์อะไรก็มี เช่นการตรวจปลอกหุ้มปลายยีน (telomere) คราวละสองแสนบาท เป็นต้น การตรวจสุขภาพประจำปีด้วยเจตนาจะขายสินค้าอย่างนี้มันก็มีข้อดีไม่ใช่ไม่มี เพราะบางครั้งฟลุ้กๆเราก็ได้ข้อมูลที่มีประโยชน์ขึ้นมาแบบไม่คาดฝัน แต่ความคุ้มค่าของมันในแง่ที่จะเอามาโฆษณาใช้ตรวจสุขภาพประจำปีกับมวลชนจำนวนมากหากมองว่าต้นทุนการดูแลสุขภาพทั้งหมดนี้ท้ายที่สุดแล้วคนจ่ายเงินก็คือสังคมนั่นแหละ ในแง่นี้มันคุ้มค่าหรือเปล่า ผมตอบท่านได้เลยว่ามันไม่คุ้มแน่นอนครับ
งานวิจัยที่รวบรวมโดยสมาคมหัวใจอเมริกัน (AHA) พบว่าดัชนีสุขภาพที่มีความคุ้มค่าแน่นอนคือหากทำตัวให้ดัชนี้เหล่านี้อยู่ในเกณฑ์ปกติแล้วอัตราการเสียชีวิตก่อนเวลาอันควรจะลดลงถึง 91% นั้นมีอยู่เพียงเจ็ดตัว เรียกว่า Simple Seven คือ (1) น้ำหนัก (2) ความดัน (3) ไขมัน (4) น้ำตาล (5) จำนวนผักผลไม้ที่กินต่อวัน (6) เวลาที่ใช้ออกกำลังกายต่อสัปดาห์ (7) การสูบบุหรี่ ดังนั้นหากท่านไปตรวจสุขภาพประจำปีอย่างน้อยหากท่านได้ข้อมูลเจ็ดตัวนี้มาเพื่อวางแผนสุขภาพในปีนี้ของท่าน การไปตรวจสุขภาพประจำปีของท่านก็คุ้มค่าการตรวจแล้ว ต่อไปในอนาคตอันใกล้นี้สิ่งเหล่านี้ท่านจะตรวจได้เองที่บ้านหมดทุกตัว ดังนั้นการจะมีสุขภาพดีจะมาอยู่ในมือของท่านเสีย 90% เมื่อท่านได้ข้อมูลเหล่านี้มาแล้ว ท่านก็วางแผนสุขภาพของท่านว่าท่านจะทำอะไรบ้างเพื่อให้ดัชนีตัวที่ผิดปกติกลับมาอยู่ในเกณฑ์ปกติ ประเด็นสำคัญคือ เมื่อวางแผนแล้ว ท่านได้ลงมือทำตามแผนของท่านแล้วหรือยัง ตรงนี้ต่างหาก การลงมือทำต่างหาก ที่เป็นประเด็น
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
.............................................
จดหมายจากท่านผู้อ่าน
เห็นด้วยกับอจ.อย่างยิ่งครับ ว่าการลงมือทำสำคัญสุด เห็นคนรอบข้างมีความรู้กันหมดว่าทำอย่างไรถึงสุขภาพดีแต่คนปฎิบัติได้จริงมีแค่ยิบมือ แต่ชอบไปตรวจร่างกายกันจังซึ่งเป็นผลที่มาจากการกินการอยู่ของเรา แต่ผมทำจริงจังหลังจากได้ความรู้จากอจ.(GHBY13) หลังๆไม่ค่อยตรวจร่างกายเพราะถือว่าทำที่เหตุไปแล้วครับ
...............................................
บรรณานุกรม
1. Lenders J, Pacak K, Walther M, Linehan W, Mannelli M, Friberg P, Keiser H, Goldstein D, Eisenhofer G (2002). "Biochemical diagnosis of pheochromocytoma: which test is best?". JAMA. 287 (11): 1427–34. doi:10.1001/jama.287.11.1427. PMID 11903030
ดิฉันจะไปตรวจสุขภาพประจำปี รพ.เสนอโปรแกรมการตรวจสุขภาพมาให้ มีรายการที่เสนอให้ตรวจอยู่สองรายการซึ่งดิฉันไม่ทราบว่าตรวจอะไร ตรวจไปทำไม คือ (1) Anti-MOGและ (2) Metaneprine รบกวนสอบถามอาจารย์ว่ามันคือการตรวจอะไร จำเป็นมากน้อยเพียงใด
ขอบคุณค่ะ
............................................................
ตอบครับ
1. ถามว่า Anti-MOG คืออะไร ตอบว่า Anti หมายถึง antibody แปลว่าภูมิคุ้มกันของร่างกายต่อสิ่งต่างๆ ส่วนตัวย่อ MOG มาจากคำเต็มว่า Myelin oligodendrocyte glycoprotein ซึ่งเป็นโมเลกุลที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ปลอกประสาทของร่างกาย Anti-MOG ก็คือภูมิคุ้มกันทำลายตัวเองชนิดทำลายปลอกประสาทของร่างกาย
ตัว Anti-MOG นี้ หากไปทำลายปลอกประสาทเข้าก็จะเป็นโรคปลอกประสาทอักเสบ (demyelinating disease) ถ้าไปเกิดกับระบบประสาทกลางก็จะเกิดโรคที่พวกฝรั่งเป็นกัน เช่น โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (multiple sclerosis หรือ MS) และโรคปลอกประสาทตาอักเสบ (neuromyelitis optica หรือ NMO) ทั้งสองโรคมีอาการคล้ายกันคือหากเป็นกับประสาทตา ตาจะมัวลงอย่างเฉียบพลัน หากเป็นกับไขสันหลังก็จะมีอาการชาแขน ขา ลำตัว กล้ามเนื้อแขนหรือขาอ่อนแรง การควบคุมขับถ่ายอุจจาระปัสสาวะผิดปกติ อาจเบ่งปัสสาวะอุจจาระไม่ออกหรือถ่ายราด กลั้นไม่อยู่ หากเป็นกับเส้นประสาทในสมองก็จะมีอาการ เห็นภาพซ้อน เดินเซ แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก ชาครึ่งซีก เป็นต้น
2. ถามว่าควรจะตรวจ Anti-MOG เพื่อคัดกรองโรคในการตรวจสุขภาพประจำปีไหม ตอบว่าโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (MS) ก็ดี โรคปลอกประสาทตาอักเสบ (NMO) ก็ดี เป็นโรคที่สัมพันธ์กับพันธุกรรม ที่คนไทยเป็นกันน้อยมาก น้อยจนไม่มีใครบอกสถิติได้ ตัวหมอสันต์เองอยู่มาจนปูนนี้รักษาคนไข้ไปก็หลายหมื่นคน ยังไม่เคยเห็นคนไข้ทั้งสองโรคแม้แต่คนเดียว ยิ่งไปกว่านั้นโรคทั้งสองเป็นโรคที่วงการแพทย์ไม่มีวิธีรักษาให้หาย ทำได้แค่ช่วยบรรเทาอาการเมื่อมีอาการ ดังนั้นหากไม่มีอาการอะไรแม้ตรวจคัดกรองโรคพบก็ทำอะไรไม่ได้สักอย่าง แล้วจะตรวจไปทำพรือละครับ
นี่พูดถึงการตรวจคัดกรองนะ คนละประเด็นกับการตรวจเพื่อการวินิจฉัยโรคในกรณีที่คุณมีอาการของทั้งสองโรคและหมอได้วินิจฉัยแยกโรคง่ายๆอื่นๆที่ทำให้เกิดอาการคล้ายกันได้ (เช่นเบาหวาน) แล้ว และหมอส่งคุณไปให้แพทย์ทางประสาทวิทยา แพทย์ทางประสาทวิทยาสงสัยว่าคุณจะเป็น MS หรือ NMO จึงตรวจ Anti-MOG เพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรค อันนั้นเป็นการตรวจเพื่อวินิจฉัยซึ่งเป็นสิ่งที่หมอเขาทำกันเป็นปกติ คนละประเด็นกับการตรวจคัดกรอง
3. ถามว่าเมตาเนฟริน (metaneprine) คืออะไร ตอบว่าคือโมเลกุลผลลัพท์ (metabolite) ที่ได้จากการเผาผลาญทำลายฮอร์โมนในระบบประสาทอัตโนมัติตัวหนึ่งที่ชื่ออีปิเนฟริน (epinephrine) หรืออีกชื่อหนึ่งว่าอะดรินาลิน (adrenaline) สารเมตาเนฟรินนี้มันเกิดขึ้นเป็นปกติในร่างกาย แต่ในภาวะที่มีการผลิตอะดรินาลินมากผิดปกติ สารตัวนี้ก็จะตกค้างในร่างกายมากขึ้น งานวิจัยพบว่าการตรวจหาสารตัวนี้ในร่างกายเป็นเครื่องมือที่ดีในการยืนยันการวินิจฉัยเนื้องอกของต่อมหมวกไตชนิดที่ผลิตฮอร์โมนอะดรินาลินมาก (pheochromocytoma) ซึ่งหากมีเนื้องอกชนิดนี้จะทำให้เกิดภาวะความดันเลือดสูงมากๆตั้งแต่อายุน้อยๆ เช่นอายุสิบกว่าปียี่สิบกว่าปีก็เป็นความดันเลือดสูงแล้วเป็นต้น
5. ข้อนี้ผมแถมให้นะ ปัจจุบันนี้การตรวจสุขภาพประจำปีเป็นสินค้าของอุตสาหกรรมการแพทย์ ไม่ว่าภาครัฐบาลหรือภาคเอกชนต่างใช้การตรวจสุขภาพประจำปีเป็นสินค้าสร้างรายได้ เมื่อขายสินค้าก็จำเป็นต้องมีการสร้างความหลากหลายให้ตัวสินค้า บางโรงพยาบาลเสนอการตรวจเป็นหลายร้อยตัวเรียกว่าถ้าห้องแล็บตรวจอะไรได้ก็พยายามเอามาขายให้หมด บางโรงพยาบาลเสนอขายไปถึงการตรวจที่วงการแพทย์ยังไม่รู้จะเอาข้อมูลไปใช้ประโยชน์อะไรก็มี เช่นการตรวจปลอกหุ้มปลายยีน (telomere) คราวละสองแสนบาท เป็นต้น การตรวจสุขภาพประจำปีด้วยเจตนาจะขายสินค้าอย่างนี้มันก็มีข้อดีไม่ใช่ไม่มี เพราะบางครั้งฟลุ้กๆเราก็ได้ข้อมูลที่มีประโยชน์ขึ้นมาแบบไม่คาดฝัน แต่ความคุ้มค่าของมันในแง่ที่จะเอามาโฆษณาใช้ตรวจสุขภาพประจำปีกับมวลชนจำนวนมากหากมองว่าต้นทุนการดูแลสุขภาพทั้งหมดนี้ท้ายที่สุดแล้วคนจ่ายเงินก็คือสังคมนั่นแหละ ในแง่นี้มันคุ้มค่าหรือเปล่า ผมตอบท่านได้เลยว่ามันไม่คุ้มแน่นอนครับ
งานวิจัยที่รวบรวมโดยสมาคมหัวใจอเมริกัน (AHA) พบว่าดัชนีสุขภาพที่มีความคุ้มค่าแน่นอนคือหากทำตัวให้ดัชนี้เหล่านี้อยู่ในเกณฑ์ปกติแล้วอัตราการเสียชีวิตก่อนเวลาอันควรจะลดลงถึง 91% นั้นมีอยู่เพียงเจ็ดตัว เรียกว่า Simple Seven คือ (1) น้ำหนัก (2) ความดัน (3) ไขมัน (4) น้ำตาล (5) จำนวนผักผลไม้ที่กินต่อวัน (6) เวลาที่ใช้ออกกำลังกายต่อสัปดาห์ (7) การสูบบุหรี่ ดังนั้นหากท่านไปตรวจสุขภาพประจำปีอย่างน้อยหากท่านได้ข้อมูลเจ็ดตัวนี้มาเพื่อวางแผนสุขภาพในปีนี้ของท่าน การไปตรวจสุขภาพประจำปีของท่านก็คุ้มค่าการตรวจแล้ว ต่อไปในอนาคตอันใกล้นี้สิ่งเหล่านี้ท่านจะตรวจได้เองที่บ้านหมดทุกตัว ดังนั้นการจะมีสุขภาพดีจะมาอยู่ในมือของท่านเสีย 90% เมื่อท่านได้ข้อมูลเหล่านี้มาแล้ว ท่านก็วางแผนสุขภาพของท่านว่าท่านจะทำอะไรบ้างเพื่อให้ดัชนีตัวที่ผิดปกติกลับมาอยู่ในเกณฑ์ปกติ ประเด็นสำคัญคือ เมื่อวางแผนแล้ว ท่านได้ลงมือทำตามแผนของท่านแล้วหรือยัง ตรงนี้ต่างหาก การลงมือทำต่างหาก ที่เป็นประเด็น
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
.............................................
จดหมายจากท่านผู้อ่าน
เห็นด้วยกับอจ.อย่างยิ่งครับ ว่าการลงมือทำสำคัญสุด เห็นคนรอบข้างมีความรู้กันหมดว่าทำอย่างไรถึงสุขภาพดีแต่คนปฎิบัติได้จริงมีแค่ยิบมือ แต่ชอบไปตรวจร่างกายกันจังซึ่งเป็นผลที่มาจากการกินการอยู่ของเรา แต่ผมทำจริงจังหลังจากได้ความรู้จากอจ.(GHBY13) หลังๆไม่ค่อยตรวจร่างกายเพราะถือว่าทำที่เหตุไปแล้วครับ
...............................................
บรรณานุกรม
1. Lenders J, Pacak K, Walther M, Linehan W, Mannelli M, Friberg P, Keiser H, Goldstein D, Eisenhofer G (2002). "Biochemical diagnosis of pheochromocytoma: which test is best?". JAMA. 287 (11): 1427–34. doi:10.1001/jama.287.11.1427. PMID 11903030