แพทย์พากันโอบรับวิถีใหม่ที่มุ่งเอาอาหารมาส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
วันนี้เป็นวันพุธซึ่งเป็นวันที่ผมจะต้องไปออกคลินิกที่โรงพยาบาล เผอิญลูกสาวจะต้องไปตรวจสุขภาพจึงมาค้างที่บ้านกรุงเทพตั้งแต่เมื่อคืนเพื่ออาศัยรถผมไปโรงพยาบาลเช้านี้ ขณะนั่งจิบกาแฟรอแม่ลูกเขาเตรียมความพร้อมกันอยู่ ผมจึงมีเวลาพอที่จะหยิบนิตยสาร TIME บนโต๊ะกินข้าวขึ้นมาอ่าน แล้วก็ไปสะดุดตาที่บทความนี้ เห็นว่ามีสาระดี จึงแปลมาให้แฟนบล็อกได้อ่านกัน
.....................................................
แพทย์พากันโอบรับวิถีใหม่ที่มุ่งเอาอาหารมาส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
เมื่อทอม ชิโควิช รู้สึกชาที่หัวแม่โป้งเท้าเมื่อปี 2010 เขาบอกตัวเองว่ามันคงเป็นอาการชั่วครั้งชั่วคราวเองหรอกน่า เขาไม่มีประกันสุขภาพ จึงไม่อยากไปหาหมอพร่ำเพรื่อ ต่อมาหัวแม่โป้งของเขาก็ติดเชื้อ เขานอนแซ่วอยู่สองสามวันและบอกตัวเองว่าเป็นไข้หวัดใหญ่ ในที่สุดเมื่อเขาไปหาหมอ หมอส่งเขาเข้าห้องฉุกเฉิน และถูกรับไว้รักษาในโรงพยาบาลนานหนึ่งเดือน ต้องถูกผ่าตัดเอาหัวแม่เท้าที่เป็นเนื้อตายออก ทั้งหมดนั้นเป็นภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานประเภท 2 ที่เขาเป็นมานานแล้ว เขาทั้งอ้วนทั้งกินยาเบาหวานมานานแต่ก็ไม่เคยคุมน้ำตาลในเลือดได้เรื่อยมาจนปี 2017 หมอได้แนะนำให้เขาลองเข้าโครงการ "ร้านขายยาที่มีแต่อาหารสด (Fresh Food Pharmacy)" ซึ่งจัดโดยองค์กรสุขภาพไกซิงเกอร์ร่วมกับโรงพยาบาลท้องถิ่น โครงการนี้ได้เปิดร้านขายยาให้คนยากจนที่เป็นเบาหวานอยู่ในเขตชนบทเพ็นซิลวาเนียอย่างเขาสามารถเข้าไปใช้บริการได้ฟรี แต่ว่าในร้านนี้ไม่มียาเป็นเม็ดเป็นหลอดอย่างที่เราคุ้นเคยหรอก กลับมีแต่อาหารที่หนักไปทางพืชผักผลไม้และมีการให้ความรู้แก่สมาชิก แต่ละสัปดาห์ทอมในฐานะสมาชิกจะแวะรับถุงอาหารสดและเมนูสำหรับสัปดาห์นั้นจากร้าน เขาสามารถถามคำถามซึ่งจะมีโภชนากรตอบให้ และเจาะเลือดดูระดับน้ำตาลโดยมีผู้จัดการรายกรณี (case manager) ซึ่งประจำอยู่ที่ร้านเป็นผู้คอยช่วยเหลือแนะนำ แค่ปีครึ่งที่เขาเข้าร่วมโครงการ น้ำหนักของทอมลดลงไป 27 กก. น้ำตาลสะสมลดลงจากระดับ 10.9% ลงมาอยู่ระดับ 6.9% ทอมว่า
"มันเป็นความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในชีวิตของผม
มันเป็นโปรแกรมกู้ชีวิตของผมเลยทีเดียว"
โครงการของไกซิงเกอร์เป็นหนึ่งในหลายๆโปรแกรมที่มุ่งแก้ปัญหาสุขภาพด้วยแนวทางพลิกฝ่ามือ คือเอาอาหารแทนยา ซึ่งเป็นแนวทางที่เกิดขึ้นเพราะความจำนนกับหลักฐานวิทยาศาสตร์ใหม่ที่บ่งชี้ไปในทิศทางที่ว่าสุขภาพไม่ใช่เป็นผลลัพท์จากการขยันกินยาและการขยันตรวจเช็คทางการแพทย์ แต่เป็นผลลัพธ์จากอาหารที่กินและวิธีใช้ชีวิต ความล้มเหลวของการรักษาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังตามแนวทางของการแพทย์แผนปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นโรคเบาหวาน ความดัน หัวใจ หรือแม้กระทั่งโรคมะเร็ง ทำให้แพทย์ โรงพยาบาล บริษัทประกัน หรือแม้กระทั่งตัวพนักงานเอง ต่างบ่ายหน้ามาอาศัยอาหารเป็นทางออกแทน ดร.เจวัน ริอู ประธานขององค์กรไกซิงเกอร์กล่าวว่า
"เมื่อเอาอาหารขึ้นมาเป็นลำดับความสำคัญลำดับแรกและสอนให้คนรู้วิธีทำวิธีกินอาหาร มันมีผลต่อโรคมากกว่ายาเสียอีก ถือเป็นชัยชนะอันยิ่งใหญ่"
ประเด็นสำคัญคืออาหารสุขภาพไม่ใช่ว่าจะหาง่ายหรือไม่ก็ไม่ใช่ว่าจะราคาถูก แพทย์และโรงพยาบาลหลายแห่งจึงร่วมมือกับร้านค้าเพื่อจัดหาพืชผักผลไม้ราคาถูกมาขายให้กับผู้ป่วยที่ได้ "ใบสั่งอาหาร" จากแพทย์ ที่คลิฟแลนด์คลินิกใช้วิธีจ่ายเงินให้ร้าน Farmers' Market เพื่อให้คนไข้เอาคูปองอาหารมาซื้ออาหารดีๆราคาถูกๆได้ แพทย์ที่คลินิกไกเซอร์เพอร์มาเนนเต้ที่ซานฟรานซิสโกใช้วิธีเขียนใบสั่งเมนูอาหารแทนหรือควบกับใบสั่งยา แล้้วให้คนไข้เอาใบสั่งไปเบิกอาหารจากครัวเจริญเติบโต (Thrive Kitchen) ที่องค์กรจัดทำขึ้น
แต่ว่าแพทย์ข้างเดียวคงไม่สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงเรื่องอาหารการกินนี้ได้สำเร็จหรอก บริษัทประกันเมื่อจำนนต่อสถิติที่บ่งชี้ว่าหากลูกค้าสุขภาพดีก็จะประหยัดการจ่ายสินไหมเพราะลูกค้าตายช้าลงและเสียเงินเข้าโรงพยาบาลน้อยลง ต่างก็หันมาสนับสนุนให้ลูกค้ารู้จักเลือกกิน เช่นมีกรมธรรมที่ยอมให้ลูกค้าเบิกค่าปรึกษากับนักโภชนาการหรือนักกำหนดอาหารได้ เป็นต้น ระบบสามสิบบาทประกันสังคม (Blue Cross Blue Shield) เองก็เริ่มยอมให้คนไข้หัวใจล้มเหลวที่ยากจนไม่มีเงินซื้ออาหารเกลือต่ำไขมันต่ำด้วยตัวเองสามารถเบิกค่าอาหารสุขภาพที่ซื้อจากร้านขององค์กรไม่แสวงกำไรได้ ดร.ดาเรียซ โมซาฟาเรียน แพทย์โรคหัวใจและคณบดีคณะโภชนศาสตร์มหาวิทยาลัยทัฟทส์ กล่าวว่า
"ไอเดียที่ว่าอาหารเป็นยาไม่ใช่เป็นแค่ไอเดียอีกต่อไปแล้ว
มันเป็นแก่นกลางที่จำเป็นและขาดไม่ได้เลยสำหรับระบบการดูแลสุขภาพ"
วงการแพทย์รู้กันดีว่าคนเราเลือกกินอาหารไม่ใช่เพียงเพื่อจะเลี้ยงเซลร่างกายให้อยู่ได้เท่านั้น แต่กินเพราะอารมณ์ความรู้สึกสุขทุกข์ด้วย การใช้ยาเป็นวิธีที่ง่ายดี แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะราคาถูก อีริค ริมม์ ศาสตราจารย์ทางโภชนาการที่คณะสาธารณสุขของฮาร์วาร์ดกล่าวว่า
"การสั่งจ่ายยาสะแตติน (ลดไขมัน) สามเดือนมันง่ายกว่าการมานั่งคิดว่าจะทำอย่างไรให้คนไข้เปลี่ยนการกินอาหารแย่ๆมากินอาหารดีๆหลายเท่านัก"
คนอเมริกันคนหนึ่งกินยาเฉลี่ยปีละ 1,400 เหรียญ (44,800 บาท) คนที่ไม่มีปัญญาซื้อยาก็ไม่กินมันซะเลย ซึ่งก็ยิ่งทำให้โรคถลำลึกยิ่งขึ้น ยิ่งทำให้ต้องใช้ยามากขึ้น แล้วก็ไม่ใช่ว่ายาจะแก้ปัญหาได้เบ็ดเสร็จ รายงานของสมาคมหัวใจอเมริกัน (AHA) ระบุว่าขณะที่การตายจากโรคหัวใจขาดเลือดทำท่าจะลดลง แต่โรคอ้วนกลับเพิ่มขึ้นจาก 30.5% ในช่วงปี 1999-2000 มาเป็น 37.7% ในช่วงปี 2013-2014 โดยที่ 40% ของคนอเมริกันวัยผู้ใหญ่มีไขมันในเลือดสูงผิดปกติ
ความสำคัญของอาหารในการรักษาโรคเรื้อรังเริ่มมีน้ำหนักเมื่อรัฐบาลอเมริกันได้ออกเงินให้ทำวิจัยเปรียบเทียบผลการใช้ยากับใช้อาหารต่อการป้องกันไม่ให้คนใกล้จะเป็นเบาหวานกลายเป็นเบาหวานในปี 2002 (Diabetic Prevention Program trial) ซึ่งพิสูจน์ได้ว่าการใช้ยาเบาหวานลดโอกาสไม่ให้เป็นเบาหวานลงได้ 31% เมื่อเทียบกับยาหลอก แต่การใช้อาหารลดโอกาสเป็นเบาหวานลงได้ถึง 58% เมื่อเทียบกับยาหลอก คืออาหารลดความเสี่ยงได้มากกว่ายาถึงเท่าตัว
ต่อมาในปี 2010 ระบบสามสิบบาทและประกันสังคมสหรัฐ (Medicare) ก็ยอมให้คนไข้โรคหัวใจเบิกค่าเข้าแค้มป์ฝึกเปลี่ยนวิธีใช้ชีวิตของนพ.ดีน ออร์นิช นานหนึ่งเดือนได้ฟรีโดยอ้างอิงผลการวิจัยของมหาลัย UCLA ที่ซานฟรานซิสโกซึ่งพิสูจน์ได้ว่าการเข้าแค้มป์ดังกล่าวทำให้ต้นทุนการดูแลสุขภาพของคนไข้โรคหัวใจถูกลงกว่าการตั้งหน้าตั้งตารักษาด้วยยาและการทำบอลลูนตะพึด ในแค้มป์ของนพ.ดีน ออร์นิช นี้ เขาให้คนไข้กินอาหารพืชเป็นหลักแบบไขมันต่ำ ควบกับการออกกำลังกาย การจัดการความเครียด และการเข้ากลุ่มสนับสนุนกันและกัน แล้วผลวิจัยติดตามสรุปได้ว่าทำให้น้ำตาลในเลือดลดลง ความดันเลือดลดลง ไขมันในเลือดลดลง รอยตีบที่หลอดเลือดหัวใจถอยกลับเป็นโล่งได้ รวมทั้งทำให้อาการเจ็บหน้าอกลดลงด้วย
งานวิจัยอื่นๆต่อมาก็บ่งชี้ถึงประโยชน์ของอาหารในลักษณะเดียวกัน เช่นงานวิจัยอาหารเมดิเตอเรเนียนซึ่งกินอาหารที่ให้ไขมันดีอย่างถั่ว นัท น้ำมันมะกอกบ่งชี้ว่าได้ประโยชน์ต่อสุขภาพมากกว่าผู้ป่วยที่กินยาสะแตตินลดไขมันเสียอีก
ถ้าอาหารเป็นยาจริง นี่น่าจะเป็นเวลาที่เราจะปฏิบัติต่ออาหารในฐานะที่มันเป็นยาได้แล้ว นพ.วิลเลียม ลี ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจอีกคนหนึ่งได้เขียนหนังสือชื่อ "Eat to Beat Disease (กินเพื่อรักษาโรค)" ได้แสดงข้อมูลปริมาณและขนาดของอาหารชนิดต่างๆเพื่อใช้ในการรักษาโรคต่างๆไล่ตั้งแต่เบาหวานไปจนถึงมะเร็งเต้านม ไม่ใช่ว่าหมอส่วนใหญ่จะเห็นด้วยกับเขาหรอก แต่เขาหวังว่าหนังสือเล่มนี้จะก่อให้เกิดข้อโต้แย้งที่นำไปสู่การวิจัยที่ละเอียดลึกซึ้งมากพอที่จะเขียนใบสั่งอาหารแทนยาได้จริงๆ
คนไข้ที่หันมาใช้อาหารเป็นยาในโครงการร้านขายยาที่มีแต่อาหารสดอย่างทอม ชิโควิช สามารถลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนเบาหวานลงไปได้ 40% และลดการเข้านอนรพ.ลงได้ 70% หากเทียบกับคนเป็นเบาหวานที่ไม่ได้เข้าโครงการนี้ ตัวทอมเองเป็นตัวอย่างของเรื่องเล่าแห่งความสำเร็จ ทุกวันนี้ทอมทำอาหารกินเองเกือบทุกมื้อและใช้ชีวิตที่แอคทีฟทำงานเป็นผู้ช่วยในร้านขายอาหาร เขาบอกว่า
"ถ้าไม่มีโครงการนี้
ป่านนี้ผมก็คงยังนั่งจุมปุ๊กอยู่หน้าทีวี.
กินคุกกี้โอริโออยู่ไม่เลิก"
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
บรรณานุกรม
1. Park A. The best medicine: Doctors are embracing creative ways to use food to improve health and prevent disease. TIME 2019:193(8); 39-43.
.....................................................
แพทย์พากันโอบรับวิถีใหม่ที่มุ่งเอาอาหารมาส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
เมื่อทอม ชิโควิช รู้สึกชาที่หัวแม่โป้งเท้าเมื่อปี 2010 เขาบอกตัวเองว่ามันคงเป็นอาการชั่วครั้งชั่วคราวเองหรอกน่า เขาไม่มีประกันสุขภาพ จึงไม่อยากไปหาหมอพร่ำเพรื่อ ต่อมาหัวแม่โป้งของเขาก็ติดเชื้อ เขานอนแซ่วอยู่สองสามวันและบอกตัวเองว่าเป็นไข้หวัดใหญ่ ในที่สุดเมื่อเขาไปหาหมอ หมอส่งเขาเข้าห้องฉุกเฉิน และถูกรับไว้รักษาในโรงพยาบาลนานหนึ่งเดือน ต้องถูกผ่าตัดเอาหัวแม่เท้าที่เป็นเนื้อตายออก ทั้งหมดนั้นเป็นภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานประเภท 2 ที่เขาเป็นมานานแล้ว เขาทั้งอ้วนทั้งกินยาเบาหวานมานานแต่ก็ไม่เคยคุมน้ำตาลในเลือดได้เรื่อยมาจนปี 2017 หมอได้แนะนำให้เขาลองเข้าโครงการ "ร้านขายยาที่มีแต่อาหารสด (Fresh Food Pharmacy)" ซึ่งจัดโดยองค์กรสุขภาพไกซิงเกอร์ร่วมกับโรงพยาบาลท้องถิ่น โครงการนี้ได้เปิดร้านขายยาให้คนยากจนที่เป็นเบาหวานอยู่ในเขตชนบทเพ็นซิลวาเนียอย่างเขาสามารถเข้าไปใช้บริการได้ฟรี แต่ว่าในร้านนี้ไม่มียาเป็นเม็ดเป็นหลอดอย่างที่เราคุ้นเคยหรอก กลับมีแต่อาหารที่หนักไปทางพืชผักผลไม้และมีการให้ความรู้แก่สมาชิก แต่ละสัปดาห์ทอมในฐานะสมาชิกจะแวะรับถุงอาหารสดและเมนูสำหรับสัปดาห์นั้นจากร้าน เขาสามารถถามคำถามซึ่งจะมีโภชนากรตอบให้ และเจาะเลือดดูระดับน้ำตาลโดยมีผู้จัดการรายกรณี (case manager) ซึ่งประจำอยู่ที่ร้านเป็นผู้คอยช่วยเหลือแนะนำ แค่ปีครึ่งที่เขาเข้าร่วมโครงการ น้ำหนักของทอมลดลงไป 27 กก. น้ำตาลสะสมลดลงจากระดับ 10.9% ลงมาอยู่ระดับ 6.9% ทอมว่า
"มันเป็นความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในชีวิตของผม
มันเป็นโปรแกรมกู้ชีวิตของผมเลยทีเดียว"
โครงการของไกซิงเกอร์เป็นหนึ่งในหลายๆโปรแกรมที่มุ่งแก้ปัญหาสุขภาพด้วยแนวทางพลิกฝ่ามือ คือเอาอาหารแทนยา ซึ่งเป็นแนวทางที่เกิดขึ้นเพราะความจำนนกับหลักฐานวิทยาศาสตร์ใหม่ที่บ่งชี้ไปในทิศทางที่ว่าสุขภาพไม่ใช่เป็นผลลัพท์จากการขยันกินยาและการขยันตรวจเช็คทางการแพทย์ แต่เป็นผลลัพธ์จากอาหารที่กินและวิธีใช้ชีวิต ความล้มเหลวของการรักษาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังตามแนวทางของการแพทย์แผนปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นโรคเบาหวาน ความดัน หัวใจ หรือแม้กระทั่งโรคมะเร็ง ทำให้แพทย์ โรงพยาบาล บริษัทประกัน หรือแม้กระทั่งตัวพนักงานเอง ต่างบ่ายหน้ามาอาศัยอาหารเป็นทางออกแทน ดร.เจวัน ริอู ประธานขององค์กรไกซิงเกอร์กล่าวว่า
"เมื่อเอาอาหารขึ้นมาเป็นลำดับความสำคัญลำดับแรกและสอนให้คนรู้วิธีทำวิธีกินอาหาร มันมีผลต่อโรคมากกว่ายาเสียอีก ถือเป็นชัยชนะอันยิ่งใหญ่"
ประเด็นสำคัญคืออาหารสุขภาพไม่ใช่ว่าจะหาง่ายหรือไม่ก็ไม่ใช่ว่าจะราคาถูก แพทย์และโรงพยาบาลหลายแห่งจึงร่วมมือกับร้านค้าเพื่อจัดหาพืชผักผลไม้ราคาถูกมาขายให้กับผู้ป่วยที่ได้ "ใบสั่งอาหาร" จากแพทย์ ที่คลิฟแลนด์คลินิกใช้วิธีจ่ายเงินให้ร้าน Farmers' Market เพื่อให้คนไข้เอาคูปองอาหารมาซื้ออาหารดีๆราคาถูกๆได้ แพทย์ที่คลินิกไกเซอร์เพอร์มาเนนเต้ที่ซานฟรานซิสโกใช้วิธีเขียนใบสั่งเมนูอาหารแทนหรือควบกับใบสั่งยา แล้้วให้คนไข้เอาใบสั่งไปเบิกอาหารจากครัวเจริญเติบโต (Thrive Kitchen) ที่องค์กรจัดทำขึ้น
แต่ว่าแพทย์ข้างเดียวคงไม่สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงเรื่องอาหารการกินนี้ได้สำเร็จหรอก บริษัทประกันเมื่อจำนนต่อสถิติที่บ่งชี้ว่าหากลูกค้าสุขภาพดีก็จะประหยัดการจ่ายสินไหมเพราะลูกค้าตายช้าลงและเสียเงินเข้าโรงพยาบาลน้อยลง ต่างก็หันมาสนับสนุนให้ลูกค้ารู้จักเลือกกิน เช่นมีกรมธรรมที่ยอมให้ลูกค้าเบิกค่าปรึกษากับนักโภชนาการหรือนักกำหนดอาหารได้ เป็นต้น ระบบสามสิบบาทประกันสังคม (Blue Cross Blue Shield) เองก็เริ่มยอมให้คนไข้หัวใจล้มเหลวที่ยากจนไม่มีเงินซื้ออาหารเกลือต่ำไขมันต่ำด้วยตัวเองสามารถเบิกค่าอาหารสุขภาพที่ซื้อจากร้านขององค์กรไม่แสวงกำไรได้ ดร.ดาเรียซ โมซาฟาเรียน แพทย์โรคหัวใจและคณบดีคณะโภชนศาสตร์มหาวิทยาลัยทัฟทส์ กล่าวว่า
"ไอเดียที่ว่าอาหารเป็นยาไม่ใช่เป็นแค่ไอเดียอีกต่อไปแล้ว
มันเป็นแก่นกลางที่จำเป็นและขาดไม่ได้เลยสำหรับระบบการดูแลสุขภาพ"
วงการแพทย์รู้กันดีว่าคนเราเลือกกินอาหารไม่ใช่เพียงเพื่อจะเลี้ยงเซลร่างกายให้อยู่ได้เท่านั้น แต่กินเพราะอารมณ์ความรู้สึกสุขทุกข์ด้วย การใช้ยาเป็นวิธีที่ง่ายดี แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะราคาถูก อีริค ริมม์ ศาสตราจารย์ทางโภชนาการที่คณะสาธารณสุขของฮาร์วาร์ดกล่าวว่า
"การสั่งจ่ายยาสะแตติน (ลดไขมัน) สามเดือนมันง่ายกว่าการมานั่งคิดว่าจะทำอย่างไรให้คนไข้เปลี่ยนการกินอาหารแย่ๆมากินอาหารดีๆหลายเท่านัก"
คนอเมริกันคนหนึ่งกินยาเฉลี่ยปีละ 1,400 เหรียญ (44,800 บาท) คนที่ไม่มีปัญญาซื้อยาก็ไม่กินมันซะเลย ซึ่งก็ยิ่งทำให้โรคถลำลึกยิ่งขึ้น ยิ่งทำให้ต้องใช้ยามากขึ้น แล้วก็ไม่ใช่ว่ายาจะแก้ปัญหาได้เบ็ดเสร็จ รายงานของสมาคมหัวใจอเมริกัน (AHA) ระบุว่าขณะที่การตายจากโรคหัวใจขาดเลือดทำท่าจะลดลง แต่โรคอ้วนกลับเพิ่มขึ้นจาก 30.5% ในช่วงปี 1999-2000 มาเป็น 37.7% ในช่วงปี 2013-2014 โดยที่ 40% ของคนอเมริกันวัยผู้ใหญ่มีไขมันในเลือดสูงผิดปกติ
ความสำคัญของอาหารในการรักษาโรคเรื้อรังเริ่มมีน้ำหนักเมื่อรัฐบาลอเมริกันได้ออกเงินให้ทำวิจัยเปรียบเทียบผลการใช้ยากับใช้อาหารต่อการป้องกันไม่ให้คนใกล้จะเป็นเบาหวานกลายเป็นเบาหวานในปี 2002 (Diabetic Prevention Program trial) ซึ่งพิสูจน์ได้ว่าการใช้ยาเบาหวานลดโอกาสไม่ให้เป็นเบาหวานลงได้ 31% เมื่อเทียบกับยาหลอก แต่การใช้อาหารลดโอกาสเป็นเบาหวานลงได้ถึง 58% เมื่อเทียบกับยาหลอก คืออาหารลดความเสี่ยงได้มากกว่ายาถึงเท่าตัว
ต่อมาในปี 2010 ระบบสามสิบบาทและประกันสังคมสหรัฐ (Medicare) ก็ยอมให้คนไข้โรคหัวใจเบิกค่าเข้าแค้มป์ฝึกเปลี่ยนวิธีใช้ชีวิตของนพ.ดีน ออร์นิช นานหนึ่งเดือนได้ฟรีโดยอ้างอิงผลการวิจัยของมหาลัย UCLA ที่ซานฟรานซิสโกซึ่งพิสูจน์ได้ว่าการเข้าแค้มป์ดังกล่าวทำให้ต้นทุนการดูแลสุขภาพของคนไข้โรคหัวใจถูกลงกว่าการตั้งหน้าตั้งตารักษาด้วยยาและการทำบอลลูนตะพึด ในแค้มป์ของนพ.ดีน ออร์นิช นี้ เขาให้คนไข้กินอาหารพืชเป็นหลักแบบไขมันต่ำ ควบกับการออกกำลังกาย การจัดการความเครียด และการเข้ากลุ่มสนับสนุนกันและกัน แล้วผลวิจัยติดตามสรุปได้ว่าทำให้น้ำตาลในเลือดลดลง ความดันเลือดลดลง ไขมันในเลือดลดลง รอยตีบที่หลอดเลือดหัวใจถอยกลับเป็นโล่งได้ รวมทั้งทำให้อาการเจ็บหน้าอกลดลงด้วย
งานวิจัยอื่นๆต่อมาก็บ่งชี้ถึงประโยชน์ของอาหารในลักษณะเดียวกัน เช่นงานวิจัยอาหารเมดิเตอเรเนียนซึ่งกินอาหารที่ให้ไขมันดีอย่างถั่ว นัท น้ำมันมะกอกบ่งชี้ว่าได้ประโยชน์ต่อสุขภาพมากกว่าผู้ป่วยที่กินยาสะแตตินลดไขมันเสียอีก
ถ้าอาหารเป็นยาจริง นี่น่าจะเป็นเวลาที่เราจะปฏิบัติต่ออาหารในฐานะที่มันเป็นยาได้แล้ว นพ.วิลเลียม ลี ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจอีกคนหนึ่งได้เขียนหนังสือชื่อ "Eat to Beat Disease (กินเพื่อรักษาโรค)" ได้แสดงข้อมูลปริมาณและขนาดของอาหารชนิดต่างๆเพื่อใช้ในการรักษาโรคต่างๆไล่ตั้งแต่เบาหวานไปจนถึงมะเร็งเต้านม ไม่ใช่ว่าหมอส่วนใหญ่จะเห็นด้วยกับเขาหรอก แต่เขาหวังว่าหนังสือเล่มนี้จะก่อให้เกิดข้อโต้แย้งที่นำไปสู่การวิจัยที่ละเอียดลึกซึ้งมากพอที่จะเขียนใบสั่งอาหารแทนยาได้จริงๆ
คนไข้ที่หันมาใช้อาหารเป็นยาในโครงการร้านขายยาที่มีแต่อาหารสดอย่างทอม ชิโควิช สามารถลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนเบาหวานลงไปได้ 40% และลดการเข้านอนรพ.ลงได้ 70% หากเทียบกับคนเป็นเบาหวานที่ไม่ได้เข้าโครงการนี้ ตัวทอมเองเป็นตัวอย่างของเรื่องเล่าแห่งความสำเร็จ ทุกวันนี้ทอมทำอาหารกินเองเกือบทุกมื้อและใช้ชีวิตที่แอคทีฟทำงานเป็นผู้ช่วยในร้านขายอาหาร เขาบอกว่า
"ถ้าไม่มีโครงการนี้
ป่านนี้ผมก็คงยังนั่งจุมปุ๊กอยู่หน้าทีวี.
กินคุกกี้โอริโออยู่ไม่เลิก"
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
บรรณานุกรม
1. Park A. The best medicine: Doctors are embracing creative ways to use food to improve health and prevent disease. TIME 2019:193(8); 39-43.