อยากจะรักษาเบาหวานด้วยวิธีย้อนคืนตัดแป้งและน้ำตาล
เรียนคุณหมอสันต์
ผมได้รับทราบมาว่าเบาหวานหายได้ด้วยขบวนการย้อนคืนคือตัดแป้งและน้ำตาล จากคุณหมอ ... ดูได้จากลิ้งค์นี้ครับ ... อยากขอความเห็นจากคุณหมอสันต์ว่ามันเป็นไปได้หรือไม่ครับ
ขอแสดงความนับถือ
...........................................................
ตอบครับ
ขอบพระคุณที่ส่งเทปมาให้ดูนะครับ เนื่องจากเป็นเทปที่เผยแพร่โดยแพทย์แผนปัจจุบัน ผมจึงให้ความสนใจมากเป็นพิเศษ แต่ผมขออนุญาตไม่ลงลิงค์ตรงนี้ เพราะ ประการแรก เนื้อหาที่แพทย์ท่านที่ทำเทปนี้เผยแพร่เป็นเนื้อหาที่ไปคนละทิศกับแนวทางการรักษาโรคเบาหวานของแพทย์แผนปัจจุบันในกระแสหลัก ผมไม่อยากให้บล็อกนี้กลายเป็นเวทีให้แพทย์กระแสหลักกับแพทย์หัวใหม่โต้แย้งกัน ประการที่สอง เทปยาวมากเกินไปจนหากลงไปท่านผู้อ่านอาจจะเลิกดูกลางคันและจับประเด็นเอาไปใช้ประโยชน์ไม่ได้อยู่ดี
เรื่องราวในเทปเป็นการเอางานวิจัยจำนวนหนึ่งซึ่งส่วนใหญ่เป็นงานวิจัยในห้องแล็บมาอธิบายขยายความ ซึ่งทั้งหมดนั้นเป็นความจริงครับ แต่สำหรับคนทั่วไปที่ไม่ได้เป็นแพทย์อาจใช้ประโยชน์จากข้อมูลเหล่านี้ได้ไม่เต็มที่ เพราะการมองงานวิจัยทางการแพทย์ก่อนเอามาใช้งานจริงจะต้องมองงานวิจัยจากทุกมุม คือขณะที่อ่านผลวิจัยที่ให้ผลไปทางนี้ ต้องอ่านผลวิจัยเรื่องเดียวกันที่ให้ผลไปทางตรงกันข้ามด้วย นอกจากมองงานวิจัยที่บอกผลระยะสั้นแล้ว ต้องมองงานวิจัยที่บอกผลระยะยาวด้วย และในทุกกรณีจะต้องเป็นการมองผ่านการกลั่นชั้นของหลักฐาน (level of evidence) ยกตัวอย่างเช่นผลวิจัยในห้องทดลองย่อมมีน้ำหนักน้อยกว่าผลวิจัยแบบแบ่งกลุ่มสุ่มตัวอย่างเปรียบเทียบในคน ซึ่งทั้งหมดนี้อาจเป็นเรื่องซับซ้อนเกินกว่าที่คนทั่วไปที่ไม่ใช่แพทย์จะเข้าใจได้ง่ายๆ ผมเห็นว่าข้อมูลในเทปที่คุณส่งมานี้จะมีประโยชน์สำหรับแพทย์มากกว่า แต่สำหรับคนทั่วไปต้องระวังไม่ถูกดึงให้มองเห็นภาพใหญ่ของโรคเบาหวานและโรคอ้วนแบบเอียงไปข้างเดียว ผมแนะนำว่าให้คุณหาอ่านที่หมอคนอื่นเขาเขียนสรุปแนะนำไว้ทั่วๆไปในอินเตอร์เน็ทในเรื่องเดียวกันนี้ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำแนะนำและข้อมูลของหมอเบาหวาน (endocrinologist) ซึ่งทำเวชปฏิบัติอยู่ในกระแสหลักของการแพทย์แผนปัจจุบัน เพื่อจะได้เอาข้อมูลทั้งสองข้างถ่วงน้ำหนักกันให้เห็นภาพใหญ่ของข้อมูลทั้งหมด ก่อนที่จะนำข้อมูลไปใช้กับตัวเอง
อย่างไรก็ตาม ไหนๆคุณก็เขียนมาแล้ว ผมขอสรุปสั้นๆให้คุณดังนี้
1. สิ่งที่พูดถึงในเทปที่ส่งมานี้ เป็นความจริงทั้งหมด ซึ่งบางความจริงเป็นสิ่งที่วงการแพทย์ในกระแสหลักก็ได้มองข้ามหรือเพิกเฉยมานาน สมควรที่ผมจะหยิบมาไฮไลท์ตรงนี้อีกครั้ง ได้แก่
1.1 เบาหวานเป็นโรคที่หายได้ ไม่ใช่โรคที่เป็นแล้วมีแต่จะเป็นมากขึ้นจนตาย 100% อย่างที่เคยเชื่อกัน
1.2 ระดับน้ำตาลในเลือด ไม่ได้เป็นตัวบอกจุดจบรุนแรงของโรคเบาหวานในระยะยาว และการพยายามลดระดับน้ำตาลในเลือดด้วยยาก็ไม่ได้ทำให้โรคเบาหวานหาย
1.3 การพยายามจะกดระดับน้ำตาลในเลือดลงไว้ข้างต่ำด้วยยากินและยาฉีดอินสุลิน ทำให้คนไข้เบาหวานตายมากขึ้น
1.4 เป็นความจริงว่าระดับอินสุลินในเลือดมีความสัมพันธ์กับความรุนแรงของโรคเบาหวาน ยิ่งอินสุลินในเลือดสูง ยิ่งเป็นโรคมากขึ้น นี่เป็นประเด็นความสัมพันธ์ระหว่างของสองสิ่งนะ ไม่ใช่ประเด็นอะไรเป็นสาเหตุให้เกิดอะไร การสรุปว่าการที่อินสุลินสูงเป็นสาเหตุของโรคเบาหวาน ไม่ใช่การที่มีน้ำตาลในเลือดสูงเป็นสาเหตุ นี่เป็นเพียงการเดาเอาจากข้อมูลหลักฐานในห้องทดลอง ซึ่งยังไม่ใช่กลไกการเป็นสาเหตุชัดแจ้งที่เป็นที่ยอมรับกันทั่วไป (established) ในวงการแพทย์
1.5 เป็นความจริงว่าการกินอาหารในภาพรวมให้ได้แคลอรี่น้อยลงกว่าเดิม ไม่ว่าจะกินน้อยแบบไหน กินน้อยแบบน้อยรูดมหาราชทุกมื้อ แบบงดบางมื้อเช่นงดมื้อเย็น แบบกินน้อยเป็นช่วงสั้นๆ หรืออดอาหารเป็นช่วงสั้นๆ (IF) ล้วนมีผลทำให้ระดับอินสุลินที่สูงกลับมาเป็นปกติได้ง่ายขึ้นทั้งนั้น
1.6 เป็นความจริงว่ายากินรักษาเบาหวานกลุ่มที่ออกฤทธิ์กระตุ้นตับอ่อนให้ผลิตอินสุลินมากขึ้น ทำให้คนไข้ตายมากขึ้น
1.7 เป็นความจริงที่ว่าการกินคาร์โบไฮเดรตชนิด refined carbohydrate (เช่นน้ำตาล เครื่องดื่มใส่ฟรุ้คโต้ส แป้งขัดขาว) เป็นปริมาณมาก สัมพันธ์กับการเป็นเบาหวานมากขึ้น
2. สิ่งอื่นๆที่เป็นความจริงและมีหลักฐานวิทยาศาสตร์สนับสนุนแน่ชัดแล้ว แต่ในเทปนี้ไม่ได้พูด ซึ่งสมควรพูดถึงเพื่อให้เห็นข้อมูลอีกด้านหนึ่ง คือ
2.1 คำว่าคาร์บ หรือ carbohydrate มีสองอย่างคือ
(1) refined carbohydrate เช่นน้ำตาล เครื่องดื่มใส่ฟรุคโต้สไซรัพ และแป้งขัดขาว กับ
(2) complex carbohydrate หรือคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนคือพืชผักผลไม้ที่มีกากถั่วนัทเมล็ดและธัญพืชไม่ขัดสีต่างๆ
ภาพรวมงานวิจัยพบว่าคาร์โบไฮเดรตอย่างแรก (โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำตาลและแป้งขัดขาวที่ใช้ทำอาหารสำเร็จรูปวางขายบนหิ้ง) ทำให้โรคเบาหวานแย่ลง ส่วนคาร์โบไฮเดรตอย่างหลังหรือคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนซึ่งสมัยนี้เรียกว่าอาหารคาร์โบไฮเดรตชนิดมีกากมาก (high carbohydrate high fiber - HCF) งานวิจัยพบว่าทำให้โรคเบาหวานดีขึ้นหรือหายได้ ทำให้ความจำเป็นต้องใช้ยาฉีดอินสุลินลดลง ระดับน้ำตาลต่ำลง และไขมันรวมในเลือดลดลง ดังนั้นอย่าไปเข้าใจผิดว่าขึ้นชื่อว่าเป็นคาร์โบไฮเดรตแล้วจะมีผลเสียต่อโรคเบาหวานเหมือนกันไปหมดตะพึด
การลดหรือเลิกน้ำตาล เครื่องดื่มใส่น้ำตาลทุกชนิด ธัญพืชขัดสีและแป้งขัดสี หากทำได้จริงก็ดีมากครับ ผมสนับสนุนให้ทำเลยสุดลิ่มทิ่มประตู ดีแน่นอน แต่ไม่ใช่งดกินอาหารคาร์โบไฮเดรตชนิดมีกากมาก (เช่นธัญพืชไม่ขัดสี ผลไม้ ถั่ว งา นัท พืชหัวในดินต่างๆ) ไปด้วย นั่นเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ
2.2 งานวิจัยเปรียบเทียบการกินอาหารสองแบบ คือ (1) อาหารแบบมีเนื้อสัตว์กับ (2) อาหารแบบมีแต่พืชไม่มีเนื้อสัตว์เลย พบว่าอาหารแบบมีแต่พืชไม่มีเนื้อสัตว์เลยรักษาโรคเบาหวานให้หายได้มากกว่าอาหาแบบมีเนื้ัอสัตว์ถึงหนึ่งเท่าตัว
2.3 การเลิกกินอาหารคาร์โบไฮเดรตแล้วหันมากินน้ำมันพืชชนิดไขมันไตรกลีเซอไรด์แบบสายโซ่ขนาดกลาง (MCT) เช่นน้ำมันมะพร้าว เป็นแหล่งแคลอรี่แทนคาร์โบไฮเดรต ยังไม่มีผลวิจัยในคนว่าในระยะยาวจะทำให้ตายมากขึ้นเหมือนการใช้ไขมันอิ่มตัวจากสัตว์หรือไม่ ตรงนี้เป็นช่องว่างของความรู้วิชาแพทย์ ผู้จะทดลองกินแบบนี้คงต้องเสี่ยงเอาเองไปจนกว่าจะมีผลวิจัยออกมา
2.4 งานวิจัยอาหารเมดิเตอเรเนียนซึ่งถือว่าเป็นข้อมูลโภชนาการการรักษาโรคเรื้อรังที่ดีที่สุดงานหนึ่ง ใช้พืชเป็นแหล่งหลักของแคลอรี่ทั้งในรูปแบบของคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนและไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว งานวิจัยนี้พบว่าอาหารแบบเมดิเตอเรเนียนเป็นอาหารที่ดีกว่าในแง่ของการลดอัตราตายเมื่อเทียบกับอาหารทั่วไปที่อาศัยเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์เป็นแหล่งหลักของแคลอรี่
2.5 การลดน้ำหนักได้สำเร็จเป็นเหตุสำคัญที่ทำให้โรคเบาหวานหายได้ ไม่ว่าจะลดน้ำหนักด้วยวิธีไหน ไม่ว่าจะใช้สูตรอาหารแบบไหน แม้แต่วิธีมัดกระเพาะก็ทำให้โรคเบาหวานหายได้หากน้ำหนักลดลงมากพอ
2.6 การกินไขมันหรือโปรตีนเป็นแหล่งพลังงานแทนคาร์โบไฮเดรต พูดง่ายๆว่ากินโลว์คาร์บ, อัทคิน, ดูก็อง หรือคีโต หากแคลอรี่ทดแทนเป็นไขมันอิ่มตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งไขมันจากสัตว์ สามารถลดน้ำหนักและรักษาโรคเบาหวานได้ดีในระยะสั้นๆก็จริง แต่จะมีความสัมพันธ์กับการตายด้วยโรคหัวใจหลอดเลือดมากขึ้นในระยะยาว (หลังห้าปีไปแล้ว) ข้อมูลนี้ได้จากการวิเคราะห์แบบเมตาอานาไลซีสงานวิจัยแบ่งกลุ่มคนไข้เปรียบเทียบที่มีจำนวนคนไข้ถึง 272,216 คน ติดตามนานถึง 25 ปี ข้อมูลนี้เป็นข้อมูลใหม่ที่น่าสนใจมากสำหรับแพทย์ งานวิจัยนี้เพิ่งตีพิมพ์ใน LANCET ไปเมื่อปีกลายนี้เอง ผมขอเจาะลึกลงไปกว่านี้สักเล็กน้อยว่างานวิจัยนี้มีผลสรุปได้สองประเด็นคือ
(1) มองในแง่การอาศัยแคลอรี่จากคาร์โบไฮเดรต หากกินอาหารคาร์โบไฮเดรตน้อยเกินไป (น้อยกว่า 40%) จะมีอัตราตายมากขึ้น และในอีกด้านหนึ่ง หากกินอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป (มากกว่า 70%) ก็จะมีอัตราตายมากขึ้นเช่นกัน
(2) มองในแง่การทดแทนแคลอรี่ในอาหารคาร์โบไฮเดรตด้วยการกินอาหารประเภทอื่น หากทดแทนด้วยอาหารเนื้อสัตว์ไม่ว่าจะเป็นไขมันหรือเนื้อๆก็ล้วนจะสัมพันธ์กับการมีอัตราตายสูงขึ้น แต่หากเป็นการทดแทนด้วยอาหารพืชเป็นหลักจะสัมพันธ์กับการมีอัตราตายต่ำลง
นี่เป็นหลักฐานชิ้นใหญ่ที่สุดที่เรามีอยู่ตอนนี้ ซึ่งบ่งชี้ว่าเราควรกินคาร์โบไฮเดรต(ชนิดมีกากมาก) ให้เป็นแหล่งของพลังงานในปริมาณพอควร (40-70%) และหากจะเอาแหล่งพลังงานอื่นเช่นไขมันหรือโปรตีนมาทดแทน ควรเป็นแหล่งจากอาหารพืช ไม่ใช่แหล่งจากเนื้อสัตว์หรือผลิตภัณฑ์จากสัตว์
3. ตัวผมเอง แนะนำหลังจากที่ได้ประเมินภาพรวมของงานวิจัยทั้งหมดและกลั่นชั้นของหลักฐานร่วมด้วยแล้ว ว่า คนเป็นเบาหวานถ้าอ้วนอยู่ต้องลดน้ำหนักลงให้ได้ก่อนไม่ว่าจะด้วยเล่ห์หรือด้วยกล ในแง่ของชนิดของอาหารรักษาเบาหวาน ผมแนะนำให้ใช้อาหารแบบกินพืชเป็นหลักในรูปแบบใกล้เคียงธรรมชาติและมีไขมันต่ำ (low fat, plant-based, whole food) ซึ่งหลักฐานวิจัยระดับสุ่มตัวอย่างแบ่งกลุ่มเปรียบเทียบในคนพบว่าทั้งให้ผลดีในแง่ที่ทำให้เบาหวานหายได้ในระยะสั้น ทั้งลดน้ำหนักได้ดี และทั้งลดอัตราตายด้วยโรคหัวใจหลอดเลือดในระยะยาว ในกรณีที่ยังติดอาหารเนื้อสัตว์มากก็อาจจะค่อยๆลดอาหารเนื้อสัตว์ลง โดยเริ่มลดเนื้อสัตว์ที่ปรับแต่ง (processed meat) เช่นไส้กรอกเบคอนแฮม และเนื้อของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (red meat) ก่อน
ส่วนอาหารโลว์คาร์บแบบกินแต่เนื้อสัตว์และไขมันจากสัตว์โดยไม่กินคาร์โบไฮเดรตใดๆเลยนั้น หากอยากจะกินผมแนะนำว่าลองกินระยะสั้นๆที่นับกันเป็นเดือนๆก็โอนะครับ สมัยหนึ่งผมทำรายการเต้นเปลี่ยนชีวิต (Dance Your Fat Off) ที่ช่อง 3 ตัวผมเองก็ใช้อาหารแบบโลว์คาร์บลดน้ำหนักให้ผู้เข้าแข่งขัน เพราะเด็กพวกนั้นเขาติดเนื้อสัตว์กันงอมแงม ในเวลาแค่สามสี่เดือนจะไปห้ามเขาไม่ให้กินเนื้อสัตว์มันเป็นไปได้ยาก แต่นั่นเป็นเรื่องของการลดน้ำหนักในระยะสั้น หากเป็นเรื่องการดูแลตนเองในระยะยาวที่นับกันเป็นหลายๆปีอย่างไรเสียผมก็ยืนยันแนะนำว่าควรค่อยๆเปลี่ยนมาเป็นกินพืชเป็นหลักในรูปแบบใกล้เคียงธรรมชาติและมีไขมันต่ำ (low fat, plant-based, whole food) กินพืช 100% ไม่ได้ก็กินพืชให้ได้มากที่สุดโดยกินเนื้อสัตว์ระดับปูปลากุ้งหอยเป็ดไก่แต่น้อยๆ ก็ยังดีกว่าที่จะไปกินโลว์คาร์บแบบอัดเนื้อสัตว์และไขมันจากสัตว์กันแบบไม่บันยะบันยัง
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
บรรณานุกรม
1. Lean ME, Leslie WS, et al. Primary care-led weight management for remission of type 2 diabetes (DiRECT): an open-label, cluster-randomised trial. Lancet. 2018 Feb 10;391(10120):541-551. doi: 10.1016/S0140-6736(17)33102-1. Epub 2017 Dec 5.
2. Barnard, N.D., et al., A low-fat vegan diet improves glycemic control and cardiovascular risk factors in a randomized clinical trial in individuals with type 2 diabetes. Diabetes Care. 2006 Aug;29(8):1777-83.
3. Porrata C, Sánchez J, Correa V, Abuín A, Hernández-Triana M, Dacosta-Calheiros RV, Díaz ME, Mirabal M, Cabrera E, Campa C, Pianesi M. Ma-pi 2 macrobiotic diet intervention in adults with type 2 diabetes mellitus. MEDICC Rev. 2009 Oct;11(4):29-35.
4. Andreea Soare,1 Yeganeh M Khazrai,1 Rossella Del Toro,1 Elena Roncella,1Lucia Fontana,2 Sara Fallucca,1 Silvia Angeletti,3 Valeria Formisano,1Francesca Capata,1 Vladimir Ruiz,4 Carmen Porrata,5 Edlira Skrami,6Rosaria Gesuita,6 Silvia Manfrini,1 Francesco Fallucca,7 Mario Pianesi,8 andPaolo Pozzilli 1, for the MADIAB Group. The effect of the macrobiotic Ma-Pi 2 diet vs. the recommended diet in the management of type 2 diabetes: the randomized controlled MADIAB trial. Nutr Metab (Lond). 2014; 11: 39. Published online 2014 Aug 25. doi: [10.1186/1743-7075-11-39]
5 Soare A, Del Toro R, Khazrai YM, Di Mauro A, Fallucca S, Angeletti S, Skrami E, Gesuita R, Tuccinardi D, Manfrini S, et al. 6-month follow-up study of the randomized controlled Ma-Pi macrobiotic dietary intervention (MADIAB trial) in type 2 diabetes. Nutr Diabetes. 2016 Aug; 6(8): e222.
6. InterAct, C., et al., Association between dietary meat consumption and incident type 2 diabetes: the EPIC-InterAct study. Diabetologia, 2013. 56(1): p. 47-59.
7. InterAct, C., Adherence to predefined dietary patterns and incident type 2 diabetes in European populations: EPIC-InterAct Study. Diabetologia, 2014.57(2): p. 321-33.
8. Roden, M., et al., Mechanism of free fatty acid-induced insulin resistance in humans. J Clin Invest, 1996. 97(12): p. 2859-65.
9. Goff, L.M., et al., Veganism and its relationship with insulin resistance and intramyocellular lipid. Eur J Clin Nutr, 2005. 59(2): p. 291-8.
10. Muraki, I., et al., Fruit consumption and risk of type 2 diabetes: results from three prospective longitudinal cohort studies. BMJ, 2013. 347: p. f5001.
11. Christensen, A.S., et al., Effect of fruit restriction on glycemic control in patients with type 2 diabetes--a randomized trial. Nutr J, 2013. 12: p. 29.
12. Rock, W., et al., Effects of date ( Phoenix dactylifera L., Medjool or Hallawi Variety) consumption by healthy subjects on serum glucose and lipid levels and on serum oxidative status: a pilot study. J Agric Food Chem, 2009.57(17): p. 8010-7.
13. Sun, Q., et al., White rice, brown rice, and risk of type 2 diabetes in US men and women. Arch Intern Med, 2010. 170(11): p. 961-9.
14. Aune, D., et al., Whole grain and refined grain consumption and the risk of type 2 diabetes: a systematic review and dose-response meta-analysis of cohort studies. Eur J Epidemiol, 2013. 28(11): p. 845-58.
15. Anderson, J.W. and K. Ward, High-carbohydrate, high-fiber diets for insulin-treated men with diabetes mellitus. Am J Clin Nutr, 1979. 32(11): p. 2312-21.
16. Kahleova H, Hrachovinova T, Hill M, Pelikanova T. Vegetarian diet in type 2 diabetes--improvement in quality of life, mood and eating behaviour. Diabet Med. 2013;30(1):127-9. doi: 10.1111/dme.12032. PubMed PMID: 23050853.
17. Mishra S, Xu J, Agarwal U, Gonzales J, Levin S, Barnard ND. A multicenter randomized controlled trial of a plant-based nutrition program to reduce body weight and cardiovascular risk in the corporate setting: the GEICO study. Eur J Clin Nutr. 2013;67(7):718-24. doi: 10.1038/ejcn.2013.92. PubMed PMID: 23695207; PubMed Central PMCID: PMCPMC3701293.
18. Yao B, Fang H, Xu W, Yan Y, Xu H, Liu Y, et al. Dietary fiber intake and risk of type 2 diabetes: a dose-response analysis of prospective studies. Eur J Epidemiol. 2014;29(2):79-88. doi: 10.1007/s10654-013-9876-x. PubMed PMID: 24389767.
19. Dunaief DM, Fuhrman J, Dunaief JL, Ying G. Glycemic and cardiovascular parameters improved in type 2 diabetes with the high nutrient density (HND) diet. Open Journal of Preventive Medicine. 2012;02(03):364-71. doi: 10.4236/ojpm.2012.23053.
20. Anderson JW, Ward K. High-carbohydrate, high-fiber diets for insulin-treated men with diabetes mellitus. Am J Clin Nutr. 1979;32(11):2312-21. PubMed PMID: 495550.
21. Yang WS, Wang WY, Fan WY, Deng Q, Wang X. Tea consumption and risk of type 2 diabetes: a dose-response meta-analysis of cohort studies. Br J Nutr. 2014;111(8):1329-39. doi: 10.1017/S0007114513003887. PubMed PMID: 24331002.
22. Muley A1, Muley P, Shah M. Coffee to reduce risk of type 2 diabetes?: a systematic review. Curr Diabetes Rev. 2012 May;8(3):162-8.
23. Bunner AE, Wells CL, Gonzales J, Agarwal U, Bayat E, Barnard ND. A dietary intervention for chronic diabetic neuropathy pain: a randomized controlled pilot study. Nutr Diabetes. 2015;5:e158. doi: 10.1038/nutd.2015.8. PubMed PMID: 26011582; PubMed Central PMCID: PMCPMC4450462.
24. Kempner W, Peschel RL, Schlayer C. Effect of rice diet on diabetes mellitus associated with vascular disease. Postgrad Med. 1958;24:359-371.
25. Cai Chen, 1 , 2 Yan Yang, 3 Xuefeng Yu, 3 Shuhong Hu, 3 and Shiying Shao 3 Association between omega‐3 fatty acids consumption and the risk of type 2 diabetes: A meta‐analysis of cohort studies. J Diabetes Investig. 2017 Jul; 8(4): 480–488.
26. Sievenpiper JL1, Kendall CW, Esfahani A, Wong JM, Carleton AJ, Jiang HY, Bazinet RP, Vidgen E, Jenkins DJ. Effect of non-oil-seed pulses on glycaemic control: a systematic review and meta-analysis of randomised controlled experimental trials in people with and without diabetes. Diabetologia. doi: 10.1007/s00125-009-1395-7. Epub 2009 Jun 13.
27. William S Yancy, Jr, 1,2 Marjorie Foy,1 Allison M Chalecki,1 Mary C Vernon,3and Eric C Westman2
. A low-carbohydrate, ketogenic diet to treat type 2 diabetes. Nutr Metab (Lond). 2005; 2: 34. doi: [10.1186/1743-7075-2-34]
28. Hussain TA, Mathew TC, Dashti AA, Asfar S, Al-Zaid N, Dashti HM. Nutrition. 2012 Oct; 28(10):1016-21. Epub 2012 Jun 5.
29. Seidelmann SB, Claggett B, et al. Dietary carbohydrate intake and mortality: a prospective cohort study and meta-analysis. Lancet Public Health. 2018 Sep;3(9):e419-e428. doi: 10.1016/S2468-2667(18)30135-X.
ผมได้รับทราบมาว่าเบาหวานหายได้ด้วยขบวนการย้อนคืนคือตัดแป้งและน้ำตาล จากคุณหมอ ... ดูได้จากลิ้งค์นี้ครับ ... อยากขอความเห็นจากคุณหมอสันต์ว่ามันเป็นไปได้หรือไม่ครับ
ขอแสดงความนับถือ
...........................................................
ตอบครับ
ขอบพระคุณที่ส่งเทปมาให้ดูนะครับ เนื่องจากเป็นเทปที่เผยแพร่โดยแพทย์แผนปัจจุบัน ผมจึงให้ความสนใจมากเป็นพิเศษ แต่ผมขออนุญาตไม่ลงลิงค์ตรงนี้ เพราะ ประการแรก เนื้อหาที่แพทย์ท่านที่ทำเทปนี้เผยแพร่เป็นเนื้อหาที่ไปคนละทิศกับแนวทางการรักษาโรคเบาหวานของแพทย์แผนปัจจุบันในกระแสหลัก ผมไม่อยากให้บล็อกนี้กลายเป็นเวทีให้แพทย์กระแสหลักกับแพทย์หัวใหม่โต้แย้งกัน ประการที่สอง เทปยาวมากเกินไปจนหากลงไปท่านผู้อ่านอาจจะเลิกดูกลางคันและจับประเด็นเอาไปใช้ประโยชน์ไม่ได้อยู่ดี
เรื่องราวในเทปเป็นการเอางานวิจัยจำนวนหนึ่งซึ่งส่วนใหญ่เป็นงานวิจัยในห้องแล็บมาอธิบายขยายความ ซึ่งทั้งหมดนั้นเป็นความจริงครับ แต่สำหรับคนทั่วไปที่ไม่ได้เป็นแพทย์อาจใช้ประโยชน์จากข้อมูลเหล่านี้ได้ไม่เต็มที่ เพราะการมองงานวิจัยทางการแพทย์ก่อนเอามาใช้งานจริงจะต้องมองงานวิจัยจากทุกมุม คือขณะที่อ่านผลวิจัยที่ให้ผลไปทางนี้ ต้องอ่านผลวิจัยเรื่องเดียวกันที่ให้ผลไปทางตรงกันข้ามด้วย นอกจากมองงานวิจัยที่บอกผลระยะสั้นแล้ว ต้องมองงานวิจัยที่บอกผลระยะยาวด้วย และในทุกกรณีจะต้องเป็นการมองผ่านการกลั่นชั้นของหลักฐาน (level of evidence) ยกตัวอย่างเช่นผลวิจัยในห้องทดลองย่อมมีน้ำหนักน้อยกว่าผลวิจัยแบบแบ่งกลุ่มสุ่มตัวอย่างเปรียบเทียบในคน ซึ่งทั้งหมดนี้อาจเป็นเรื่องซับซ้อนเกินกว่าที่คนทั่วไปที่ไม่ใช่แพทย์จะเข้าใจได้ง่ายๆ ผมเห็นว่าข้อมูลในเทปที่คุณส่งมานี้จะมีประโยชน์สำหรับแพทย์มากกว่า แต่สำหรับคนทั่วไปต้องระวังไม่ถูกดึงให้มองเห็นภาพใหญ่ของโรคเบาหวานและโรคอ้วนแบบเอียงไปข้างเดียว ผมแนะนำว่าให้คุณหาอ่านที่หมอคนอื่นเขาเขียนสรุปแนะนำไว้ทั่วๆไปในอินเตอร์เน็ทในเรื่องเดียวกันนี้ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำแนะนำและข้อมูลของหมอเบาหวาน (endocrinologist) ซึ่งทำเวชปฏิบัติอยู่ในกระแสหลักของการแพทย์แผนปัจจุบัน เพื่อจะได้เอาข้อมูลทั้งสองข้างถ่วงน้ำหนักกันให้เห็นภาพใหญ่ของข้อมูลทั้งหมด ก่อนที่จะนำข้อมูลไปใช้กับตัวเอง
อย่างไรก็ตาม ไหนๆคุณก็เขียนมาแล้ว ผมขอสรุปสั้นๆให้คุณดังนี้
1. สิ่งที่พูดถึงในเทปที่ส่งมานี้ เป็นความจริงทั้งหมด ซึ่งบางความจริงเป็นสิ่งที่วงการแพทย์ในกระแสหลักก็ได้มองข้ามหรือเพิกเฉยมานาน สมควรที่ผมจะหยิบมาไฮไลท์ตรงนี้อีกครั้ง ได้แก่
1.1 เบาหวานเป็นโรคที่หายได้ ไม่ใช่โรคที่เป็นแล้วมีแต่จะเป็นมากขึ้นจนตาย 100% อย่างที่เคยเชื่อกัน
1.2 ระดับน้ำตาลในเลือด ไม่ได้เป็นตัวบอกจุดจบรุนแรงของโรคเบาหวานในระยะยาว และการพยายามลดระดับน้ำตาลในเลือดด้วยยาก็ไม่ได้ทำให้โรคเบาหวานหาย
1.3 การพยายามจะกดระดับน้ำตาลในเลือดลงไว้ข้างต่ำด้วยยากินและยาฉีดอินสุลิน ทำให้คนไข้เบาหวานตายมากขึ้น
1.4 เป็นความจริงว่าระดับอินสุลินในเลือดมีความสัมพันธ์กับความรุนแรงของโรคเบาหวาน ยิ่งอินสุลินในเลือดสูง ยิ่งเป็นโรคมากขึ้น นี่เป็นประเด็นความสัมพันธ์ระหว่างของสองสิ่งนะ ไม่ใช่ประเด็นอะไรเป็นสาเหตุให้เกิดอะไร การสรุปว่าการที่อินสุลินสูงเป็นสาเหตุของโรคเบาหวาน ไม่ใช่การที่มีน้ำตาลในเลือดสูงเป็นสาเหตุ นี่เป็นเพียงการเดาเอาจากข้อมูลหลักฐานในห้องทดลอง ซึ่งยังไม่ใช่กลไกการเป็นสาเหตุชัดแจ้งที่เป็นที่ยอมรับกันทั่วไป (established) ในวงการแพทย์
1.5 เป็นความจริงว่าการกินอาหารในภาพรวมให้ได้แคลอรี่น้อยลงกว่าเดิม ไม่ว่าจะกินน้อยแบบไหน กินน้อยแบบน้อยรูดมหาราชทุกมื้อ แบบงดบางมื้อเช่นงดมื้อเย็น แบบกินน้อยเป็นช่วงสั้นๆ หรืออดอาหารเป็นช่วงสั้นๆ (IF) ล้วนมีผลทำให้ระดับอินสุลินที่สูงกลับมาเป็นปกติได้ง่ายขึ้นทั้งนั้น
1.6 เป็นความจริงว่ายากินรักษาเบาหวานกลุ่มที่ออกฤทธิ์กระตุ้นตับอ่อนให้ผลิตอินสุลินมากขึ้น ทำให้คนไข้ตายมากขึ้น
1.7 เป็นความจริงที่ว่าการกินคาร์โบไฮเดรตชนิด refined carbohydrate (เช่นน้ำตาล เครื่องดื่มใส่ฟรุ้คโต้ส แป้งขัดขาว) เป็นปริมาณมาก สัมพันธ์กับการเป็นเบาหวานมากขึ้น
2. สิ่งอื่นๆที่เป็นความจริงและมีหลักฐานวิทยาศาสตร์สนับสนุนแน่ชัดแล้ว แต่ในเทปนี้ไม่ได้พูด ซึ่งสมควรพูดถึงเพื่อให้เห็นข้อมูลอีกด้านหนึ่ง คือ
2.1 คำว่าคาร์บ หรือ carbohydrate มีสองอย่างคือ
(1) refined carbohydrate เช่นน้ำตาล เครื่องดื่มใส่ฟรุคโต้สไซรัพ และแป้งขัดขาว กับ
(2) complex carbohydrate หรือคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนคือพืชผักผลไม้ที่มีกากถั่วนัทเมล็ดและธัญพืชไม่ขัดสีต่างๆ
ภาพรวมงานวิจัยพบว่าคาร์โบไฮเดรตอย่างแรก (โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำตาลและแป้งขัดขาวที่ใช้ทำอาหารสำเร็จรูปวางขายบนหิ้ง) ทำให้โรคเบาหวานแย่ลง ส่วนคาร์โบไฮเดรตอย่างหลังหรือคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนซึ่งสมัยนี้เรียกว่าอาหารคาร์โบไฮเดรตชนิดมีกากมาก (high carbohydrate high fiber - HCF) งานวิจัยพบว่าทำให้โรคเบาหวานดีขึ้นหรือหายได้ ทำให้ความจำเป็นต้องใช้ยาฉีดอินสุลินลดลง ระดับน้ำตาลต่ำลง และไขมันรวมในเลือดลดลง ดังนั้นอย่าไปเข้าใจผิดว่าขึ้นชื่อว่าเป็นคาร์โบไฮเดรตแล้วจะมีผลเสียต่อโรคเบาหวานเหมือนกันไปหมดตะพึด
การลดหรือเลิกน้ำตาล เครื่องดื่มใส่น้ำตาลทุกชนิด ธัญพืชขัดสีและแป้งขัดสี หากทำได้จริงก็ดีมากครับ ผมสนับสนุนให้ทำเลยสุดลิ่มทิ่มประตู ดีแน่นอน แต่ไม่ใช่งดกินอาหารคาร์โบไฮเดรตชนิดมีกากมาก (เช่นธัญพืชไม่ขัดสี ผลไม้ ถั่ว งา นัท พืชหัวในดินต่างๆ) ไปด้วย นั่นเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ
2.2 งานวิจัยเปรียบเทียบการกินอาหารสองแบบ คือ (1) อาหารแบบมีเนื้อสัตว์กับ (2) อาหารแบบมีแต่พืชไม่มีเนื้อสัตว์เลย พบว่าอาหารแบบมีแต่พืชไม่มีเนื้อสัตว์เลยรักษาโรคเบาหวานให้หายได้มากกว่าอาหาแบบมีเนื้ัอสัตว์ถึงหนึ่งเท่าตัว
2.3 การเลิกกินอาหารคาร์โบไฮเดรตแล้วหันมากินน้ำมันพืชชนิดไขมันไตรกลีเซอไรด์แบบสายโซ่ขนาดกลาง (MCT) เช่นน้ำมันมะพร้าว เป็นแหล่งแคลอรี่แทนคาร์โบไฮเดรต ยังไม่มีผลวิจัยในคนว่าในระยะยาวจะทำให้ตายมากขึ้นเหมือนการใช้ไขมันอิ่มตัวจากสัตว์หรือไม่ ตรงนี้เป็นช่องว่างของความรู้วิชาแพทย์ ผู้จะทดลองกินแบบนี้คงต้องเสี่ยงเอาเองไปจนกว่าจะมีผลวิจัยออกมา
2.4 งานวิจัยอาหารเมดิเตอเรเนียนซึ่งถือว่าเป็นข้อมูลโภชนาการการรักษาโรคเรื้อรังที่ดีที่สุดงานหนึ่ง ใช้พืชเป็นแหล่งหลักของแคลอรี่ทั้งในรูปแบบของคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนและไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว งานวิจัยนี้พบว่าอาหารแบบเมดิเตอเรเนียนเป็นอาหารที่ดีกว่าในแง่ของการลดอัตราตายเมื่อเทียบกับอาหารทั่วไปที่อาศัยเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์เป็นแหล่งหลักของแคลอรี่
2.5 การลดน้ำหนักได้สำเร็จเป็นเหตุสำคัญที่ทำให้โรคเบาหวานหายได้ ไม่ว่าจะลดน้ำหนักด้วยวิธีไหน ไม่ว่าจะใช้สูตรอาหารแบบไหน แม้แต่วิธีมัดกระเพาะก็ทำให้โรคเบาหวานหายได้หากน้ำหนักลดลงมากพอ
2.6 การกินไขมันหรือโปรตีนเป็นแหล่งพลังงานแทนคาร์โบไฮเดรต พูดง่ายๆว่ากินโลว์คาร์บ, อัทคิน, ดูก็อง หรือคีโต หากแคลอรี่ทดแทนเป็นไขมันอิ่มตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งไขมันจากสัตว์ สามารถลดน้ำหนักและรักษาโรคเบาหวานได้ดีในระยะสั้นๆก็จริง แต่จะมีความสัมพันธ์กับการตายด้วยโรคหัวใจหลอดเลือดมากขึ้นในระยะยาว (หลังห้าปีไปแล้ว) ข้อมูลนี้ได้จากการวิเคราะห์แบบเมตาอานาไลซีสงานวิจัยแบ่งกลุ่มคนไข้เปรียบเทียบที่มีจำนวนคนไข้ถึง 272,216 คน ติดตามนานถึง 25 ปี ข้อมูลนี้เป็นข้อมูลใหม่ที่น่าสนใจมากสำหรับแพทย์ งานวิจัยนี้เพิ่งตีพิมพ์ใน LANCET ไปเมื่อปีกลายนี้เอง ผมขอเจาะลึกลงไปกว่านี้สักเล็กน้อยว่างานวิจัยนี้มีผลสรุปได้สองประเด็นคือ
(1) มองในแง่การอาศัยแคลอรี่จากคาร์โบไฮเดรต หากกินอาหารคาร์โบไฮเดรตน้อยเกินไป (น้อยกว่า 40%) จะมีอัตราตายมากขึ้น และในอีกด้านหนึ่ง หากกินอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป (มากกว่า 70%) ก็จะมีอัตราตายมากขึ้นเช่นกัน
(2) มองในแง่การทดแทนแคลอรี่ในอาหารคาร์โบไฮเดรตด้วยการกินอาหารประเภทอื่น หากทดแทนด้วยอาหารเนื้อสัตว์ไม่ว่าจะเป็นไขมันหรือเนื้อๆก็ล้วนจะสัมพันธ์กับการมีอัตราตายสูงขึ้น แต่หากเป็นการทดแทนด้วยอาหารพืชเป็นหลักจะสัมพันธ์กับการมีอัตราตายต่ำลง
นี่เป็นหลักฐานชิ้นใหญ่ที่สุดที่เรามีอยู่ตอนนี้ ซึ่งบ่งชี้ว่าเราควรกินคาร์โบไฮเดรต(ชนิดมีกากมาก) ให้เป็นแหล่งของพลังงานในปริมาณพอควร (40-70%) และหากจะเอาแหล่งพลังงานอื่นเช่นไขมันหรือโปรตีนมาทดแทน ควรเป็นแหล่งจากอาหารพืช ไม่ใช่แหล่งจากเนื้อสัตว์หรือผลิตภัณฑ์จากสัตว์
3. ตัวผมเอง แนะนำหลังจากที่ได้ประเมินภาพรวมของงานวิจัยทั้งหมดและกลั่นชั้นของหลักฐานร่วมด้วยแล้ว ว่า คนเป็นเบาหวานถ้าอ้วนอยู่ต้องลดน้ำหนักลงให้ได้ก่อนไม่ว่าจะด้วยเล่ห์หรือด้วยกล ในแง่ของชนิดของอาหารรักษาเบาหวาน ผมแนะนำให้ใช้อาหารแบบกินพืชเป็นหลักในรูปแบบใกล้เคียงธรรมชาติและมีไขมันต่ำ (low fat, plant-based, whole food) ซึ่งหลักฐานวิจัยระดับสุ่มตัวอย่างแบ่งกลุ่มเปรียบเทียบในคนพบว่าทั้งให้ผลดีในแง่ที่ทำให้เบาหวานหายได้ในระยะสั้น ทั้งลดน้ำหนักได้ดี และทั้งลดอัตราตายด้วยโรคหัวใจหลอดเลือดในระยะยาว ในกรณีที่ยังติดอาหารเนื้อสัตว์มากก็อาจจะค่อยๆลดอาหารเนื้อสัตว์ลง โดยเริ่มลดเนื้อสัตว์ที่ปรับแต่ง (processed meat) เช่นไส้กรอกเบคอนแฮม และเนื้อของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (red meat) ก่อน
ส่วนอาหารโลว์คาร์บแบบกินแต่เนื้อสัตว์และไขมันจากสัตว์โดยไม่กินคาร์โบไฮเดรตใดๆเลยนั้น หากอยากจะกินผมแนะนำว่าลองกินระยะสั้นๆที่นับกันเป็นเดือนๆก็โอนะครับ สมัยหนึ่งผมทำรายการเต้นเปลี่ยนชีวิต (Dance Your Fat Off) ที่ช่อง 3 ตัวผมเองก็ใช้อาหารแบบโลว์คาร์บลดน้ำหนักให้ผู้เข้าแข่งขัน เพราะเด็กพวกนั้นเขาติดเนื้อสัตว์กันงอมแงม ในเวลาแค่สามสี่เดือนจะไปห้ามเขาไม่ให้กินเนื้อสัตว์มันเป็นไปได้ยาก แต่นั่นเป็นเรื่องของการลดน้ำหนักในระยะสั้น หากเป็นเรื่องการดูแลตนเองในระยะยาวที่นับกันเป็นหลายๆปีอย่างไรเสียผมก็ยืนยันแนะนำว่าควรค่อยๆเปลี่ยนมาเป็นกินพืชเป็นหลักในรูปแบบใกล้เคียงธรรมชาติและมีไขมันต่ำ (low fat, plant-based, whole food) กินพืช 100% ไม่ได้ก็กินพืชให้ได้มากที่สุดโดยกินเนื้อสัตว์ระดับปูปลากุ้งหอยเป็ดไก่แต่น้อยๆ ก็ยังดีกว่าที่จะไปกินโลว์คาร์บแบบอัดเนื้อสัตว์และไขมันจากสัตว์กันแบบไม่บันยะบันยัง
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
บรรณานุกรม
1. Lean ME, Leslie WS, et al. Primary care-led weight management for remission of type 2 diabetes (DiRECT): an open-label, cluster-randomised trial. Lancet. 2018 Feb 10;391(10120):541-551. doi: 10.1016/S0140-6736(17)33102-1. Epub 2017 Dec 5.
2. Barnard, N.D., et al., A low-fat vegan diet improves glycemic control and cardiovascular risk factors in a randomized clinical trial in individuals with type 2 diabetes. Diabetes Care. 2006 Aug;29(8):1777-83.
3. Porrata C, Sánchez J, Correa V, Abuín A, Hernández-Triana M, Dacosta-Calheiros RV, Díaz ME, Mirabal M, Cabrera E, Campa C, Pianesi M. Ma-pi 2 macrobiotic diet intervention in adults with type 2 diabetes mellitus. MEDICC Rev. 2009 Oct;11(4):29-35.
4. Andreea Soare,1 Yeganeh M Khazrai,1 Rossella Del Toro,1 Elena Roncella,1Lucia Fontana,2 Sara Fallucca,1 Silvia Angeletti,3 Valeria Formisano,1Francesca Capata,1 Vladimir Ruiz,4 Carmen Porrata,5 Edlira Skrami,6Rosaria Gesuita,6 Silvia Manfrini,1 Francesco Fallucca,7 Mario Pianesi,8 andPaolo Pozzilli 1, for the MADIAB Group. The effect of the macrobiotic Ma-Pi 2 diet vs. the recommended diet in the management of type 2 diabetes: the randomized controlled MADIAB trial. Nutr Metab (Lond). 2014; 11: 39. Published online 2014 Aug 25. doi: [10.1186/1743-7075-11-39]
5 Soare A, Del Toro R, Khazrai YM, Di Mauro A, Fallucca S, Angeletti S, Skrami E, Gesuita R, Tuccinardi D, Manfrini S, et al. 6-month follow-up study of the randomized controlled Ma-Pi macrobiotic dietary intervention (MADIAB trial) in type 2 diabetes. Nutr Diabetes. 2016 Aug; 6(8): e222.
6. InterAct, C., et al., Association between dietary meat consumption and incident type 2 diabetes: the EPIC-InterAct study. Diabetologia, 2013. 56(1): p. 47-59.
7. InterAct, C., Adherence to predefined dietary patterns and incident type 2 diabetes in European populations: EPIC-InterAct Study. Diabetologia, 2014.57(2): p. 321-33.
8. Roden, M., et al., Mechanism of free fatty acid-induced insulin resistance in humans. J Clin Invest, 1996. 97(12): p. 2859-65.
9. Goff, L.M., et al., Veganism and its relationship with insulin resistance and intramyocellular lipid. Eur J Clin Nutr, 2005. 59(2): p. 291-8.
10. Muraki, I., et al., Fruit consumption and risk of type 2 diabetes: results from three prospective longitudinal cohort studies. BMJ, 2013. 347: p. f5001.
11. Christensen, A.S., et al., Effect of fruit restriction on glycemic control in patients with type 2 diabetes--a randomized trial. Nutr J, 2013. 12: p. 29.
12. Rock, W., et al., Effects of date ( Phoenix dactylifera L., Medjool or Hallawi Variety) consumption by healthy subjects on serum glucose and lipid levels and on serum oxidative status: a pilot study. J Agric Food Chem, 2009.57(17): p. 8010-7.
13. Sun, Q., et al., White rice, brown rice, and risk of type 2 diabetes in US men and women. Arch Intern Med, 2010. 170(11): p. 961-9.
14. Aune, D., et al., Whole grain and refined grain consumption and the risk of type 2 diabetes: a systematic review and dose-response meta-analysis of cohort studies. Eur J Epidemiol, 2013. 28(11): p. 845-58.
15. Anderson, J.W. and K. Ward, High-carbohydrate, high-fiber diets for insulin-treated men with diabetes mellitus. Am J Clin Nutr, 1979. 32(11): p. 2312-21.
16. Kahleova H, Hrachovinova T, Hill M, Pelikanova T. Vegetarian diet in type 2 diabetes--improvement in quality of life, mood and eating behaviour. Diabet Med. 2013;30(1):127-9. doi: 10.1111/dme.12032. PubMed PMID: 23050853.
17. Mishra S, Xu J, Agarwal U, Gonzales J, Levin S, Barnard ND. A multicenter randomized controlled trial of a plant-based nutrition program to reduce body weight and cardiovascular risk in the corporate setting: the GEICO study. Eur J Clin Nutr. 2013;67(7):718-24. doi: 10.1038/ejcn.2013.92. PubMed PMID: 23695207; PubMed Central PMCID: PMCPMC3701293.
18. Yao B, Fang H, Xu W, Yan Y, Xu H, Liu Y, et al. Dietary fiber intake and risk of type 2 diabetes: a dose-response analysis of prospective studies. Eur J Epidemiol. 2014;29(2):79-88. doi: 10.1007/s10654-013-9876-x. PubMed PMID: 24389767.
19. Dunaief DM, Fuhrman J, Dunaief JL, Ying G. Glycemic and cardiovascular parameters improved in type 2 diabetes with the high nutrient density (HND) diet. Open Journal of Preventive Medicine. 2012;02(03):364-71. doi: 10.4236/ojpm.2012.23053.
20. Anderson JW, Ward K. High-carbohydrate, high-fiber diets for insulin-treated men with diabetes mellitus. Am J Clin Nutr. 1979;32(11):2312-21. PubMed PMID: 495550.
21. Yang WS, Wang WY, Fan WY, Deng Q, Wang X. Tea consumption and risk of type 2 diabetes: a dose-response meta-analysis of cohort studies. Br J Nutr. 2014;111(8):1329-39. doi: 10.1017/S0007114513003887. PubMed PMID: 24331002.
22. Muley A1, Muley P, Shah M. Coffee to reduce risk of type 2 diabetes?: a systematic review. Curr Diabetes Rev. 2012 May;8(3):162-8.
23. Bunner AE, Wells CL, Gonzales J, Agarwal U, Bayat E, Barnard ND. A dietary intervention for chronic diabetic neuropathy pain: a randomized controlled pilot study. Nutr Diabetes. 2015;5:e158. doi: 10.1038/nutd.2015.8. PubMed PMID: 26011582; PubMed Central PMCID: PMCPMC4450462.
24. Kempner W, Peschel RL, Schlayer C. Effect of rice diet on diabetes mellitus associated with vascular disease. Postgrad Med. 1958;24:359-371.
25. Cai Chen, 1 , 2 Yan Yang, 3 Xuefeng Yu, 3 Shuhong Hu, 3 and Shiying Shao 3 Association between omega‐3 fatty acids consumption and the risk of type 2 diabetes: A meta‐analysis of cohort studies. J Diabetes Investig. 2017 Jul; 8(4): 480–488.
26. Sievenpiper JL1, Kendall CW, Esfahani A, Wong JM, Carleton AJ, Jiang HY, Bazinet RP, Vidgen E, Jenkins DJ. Effect of non-oil-seed pulses on glycaemic control: a systematic review and meta-analysis of randomised controlled experimental trials in people with and without diabetes. Diabetologia. doi: 10.1007/s00125-009-1395-7. Epub 2009 Jun 13.
27. William S Yancy, Jr, 1,2 Marjorie Foy,1 Allison M Chalecki,1 Mary C Vernon,3and Eric C Westman2
. A low-carbohydrate, ketogenic diet to treat type 2 diabetes. Nutr Metab (Lond). 2005; 2: 34. doi: [10.1186/1743-7075-2-34]
28. Hussain TA, Mathew TC, Dashti AA, Asfar S, Al-Zaid N, Dashti HM. Nutrition. 2012 Oct; 28(10):1016-21. Epub 2012 Jun 5.
29. Seidelmann SB, Claggett B, et al. Dietary carbohydrate intake and mortality: a prospective cohort study and meta-analysis. Lancet Public Health. 2018 Sep;3(9):e419-e428. doi: 10.1016/S2468-2667(18)30135-X.