ครูบนดอยไม่อยากลงดอยมาตรวจภายในบ่อย
หมอคะ
หนูเป็นครูอยู่บนดอย ลงมารักษาทีใช้เวลาในการเดินทาง และเวลางาน ขออนุญาติปรึกษา ผลตรวจครั้งนี้ ว่ามีขั้นตอนดูแลรักษาตัวเองอย่างไร หรือหนูเป็นขั้นนี้ควรรักษา อย่างไร ให้กระจ่างใจด้วยคะ
(cervical biopsy: low grade squamous cell intra epithelial lesion)
ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูง
..........................................................
ตอบครับ
ฮั่นแน่ รู้วิธีที่จะให้หมอสันต์หยิบจดหมายมาตอบเสียด้วย โดยการบอกว่าตัวเองเป็นครูบนดอย บล็อกของหมอสันต์นี้เป็นบล็อกของคนแก่ จดหมายของคนหนุ่มคนสาวส่วนใหญ่ลงตะกร้าหมด แต่หมอสันต์กับครูดอยเนี่ยซี้กันนะ เพราะเพื่อนซี้ของหมอสันต์เคยเป็นครูดอย แบบว่า
"...หวีดหวิววังเวงเพลงแห่งพนา
ที่อยู่บนดอยเสียดฟ้า
ยากหาผู้ใดกรายกล้ำ
เด็กตัวน้อยน้อย
คอยแสงแห่งอารยธรรม
เพื่อส่องเจือจุนหนุนนำ
ให้ความรู้ศิวิไลซ์
ดั่งแสงเรืองรองที่ส่องพนา
ถึงจะไกลสูงเทียมฟ้า
ความรักเมตตาพาใกล้
ท่ามกลางเด็กน้อย
ภาพครูบนดอยซึ้งใจ
อุ้มโอบส่องชีวิตใหม่
เสริมค่าคนไทยเทียมกัน
ครูบนดอยดุจแสงหิ่งห้อยกลางป่า
ขจัดความมืดนานา
สร้างเสริมปัญญาคงมั่น
ศรัทธาหน้าที่
พร้อมพลีสุขสารพัน..."
มาตอบคำถามของคุณดีกว่า ก่อนที่จะเข้าใจคำอ่านผลการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ต้องเข้าใจระบบอ่านผลการตรวจภายในของแพทย์ซึ่งเรียกว่าระบบเบเทสด้า (Bethesda System - BTS) ซึ่งแบ่งผลการอ่านเป็นขั้นๆจากความรุนแรงน้อยไปหามาก ดังนี้
ขั้นที่ 1. NIL ย่อมาจาก negative for intraepithelial lesion แปลว่าปกติดี ยังไม่ได้ทำท่าว่าจะเป็นมะเร็งเลยแม้แต่น้อย
ขั้นที่ 2. ASC-US ย่อมาจาก Atypical squamous cells of undetermined significance แปลว่ามีเซลผิดปกติแบบไม่เจาะจงว่าจะเป็นอะไรกันแน่ ส่วนใหญ่มักเกิดจากการติดเชื้อ HPV แล้วหายไปเอง มีโอกาสเป็นมะเร็งน้อยมาก ตรงนี้ขอเสริมเพื่อความงุนงงมากขึ้นอีกนิดหนึ่ง จะได้เข้าใจว่าทำไมวิชาแพทย์จึงเรียนกันนาน เพราะมันวกไปวนมาอย่างนี้นี่เอง คือเรื่องนี้วงการแพทย์มีสองมุมมอง คือ
มุมมองที่ 1. คือมองจากมุมความผิดปกติของเยื่อบุปากมดลูก (Squamous intraepithelial lesion) เรียกย่อว่ามุมมอง SIL ถ้ามองจากมุมนี้ ตรวจพบ ASC-US ถือว่าเป็น Low-SIL หรือบางทีก็เขียนรวบว่า LSIL คือมีความผิดปกติน้อย ส่วนใหญ่จะเกิดจากการติดเชื้อไวรัส HPV
มุมมองที่ 2. คือมองจากมุมความแก่กล้าของการเป็นมะเร็ง เรียกว่า CIN ย่อมาจาก Cervical Intraepithelium Neopasia หากมองจากมุมนี้ ผลเป็น ASC–US หมายถึงมีความแก่กล้าของการเป็นมะเร็งน้อย เรียกว่าเป็น CIN1 วุ่นวายดีแมะ แต่สรุปก็คือยังไม่เป็นไร
สรุปเสียที่หนึ่งก่อนว่าขั้นที่หนึ่งนี้ไม่ว่าจะรายงานเป็น ASC-US หรือ LSIL หรือ CIN1 ก็ล้วนมีความหมายเดียวกันว่ายังไม่เป็นมะเร็งแต่ต้องตามถี่หน่อย คือตามดูประมาณหกเดือนครั้ง ถ้ายังพบผิดปกติระดับนี้ซ้ำซากก็สมควรส่องกล้องเข้าไปดูปากมดลูก ((colposcopy) แล้วตัดตัวอย่างเนื้อปากมดลูกออกมาตรวจให้ทราบแน่ชัด
ขั้นที่ 3. HSIL หรือ High-SIL ก็คือเซลมีการกลายไปในเชิงเป็นมะเร็งมากขึ้้น ถ้าเทียบกับมุมมองความแก่กล้าของการเป็นมะเร็งก็คือน่าจะเป็นมะเร็ง (CIN2) หรือไม่ก็เป็นมะเร็งชนิดอยู่ในที่ตั้ง (CIN3) ไปเรียบร้อยแล้ว คำว่าเป็นมะเร็งแบบอยู่ในที่ตั้งนี้ภาษาหมอเรียกอีกอย่างว่า Carcinoma In Situ หรือเรียกย่อว่า CIS
เอาละ เมื่อได้ทราบความหมายของคำอ่านผลแป๊บที่แพทย์ใช้แล้ว คราวนี้มาดูผลตรวจของคุณครูบนดอยท่านนี้ คือคุณครูมาถึงขั้นหมอส่องกล้องเข้าไปดูปากมดลูก (colposcopy) แล้วตัดตัวอย่างเนื้อปากมดลูกออกมาตรวจเรียบร้อยแล้ว หมายความว่าก่อนหน้านี้หมอคงตรวจพบความผิดปกติระดับ LSIL จากการตรวจภายในทำแป๊บซ้ำซากหลายครั้ง จึงตัดชิ้นเนื้อออกมาดู ผลที่ได้ก็ยังเป็น LSIL เหมือนเดิิม ก็คือยืนยันว่าครูบนดอยยังไม่ได้เป็นมะเร็ง
ถามว่าแล้วต้องทำไงต่อไป ต้องลงจากดอยมาหาหมอบ่อยแค่ไหน ตอบว่ามาตรฐานการดูแลผู้ป่วยแบบคุณนี้คือต้องนัดมาตรวจภายในทุก 6 เดือนควบกับตรวจ HPV ทุกหนึ่งปี จนกว่าหมอและคนไข้จะเบื่อหน้ากันไปข้างหนึ่ง หรือจนกว่าคุณจะเบื่อการขึ้นดอยลงดอย หรือจนกว่าทุกอย่าง (ทั้ง LSIL และ HPV) จะกลับมาเป็นปกติอย่างน้อยในการตรวจติดต่อกันสองครั้งขึ้นไป จึงจะหายบ้า เอ๊ย ขอโทษ จึงจะลดระดับการตรวจคัดกรองมาเท่าผู้หญิงทั่วไปได้
พูดถึงการลงจากดอยมาพบหมอที่ในเมืองสมัยนี้ มันง่ายกว่าการที่ผมซึ่งอยู่ที่บ้านถนนแจ้งวัฒนะจะไปทำงานที่แถวๆอนุสาวรีย์ชัยในตอนเช้าเสียอีกนะคุณ เพราะตั้งแต่ทางด่วนใหม่จากฝั่งธนมาบรรจบกับทางด่วนเก่านี้ ผมใช้เวลาสองชั่่วโมงกว่าเฉพาะขาไปทำงาน เมืองไทยสมัยนี้มีดอยที่ไหนบ้างที่นั่งรถลงไปตลาดในเมืองใช้เวลานานเกินสองชั่วโมง (อาจจะยกเว้นแถวทองผาภูมิสังขละบุรี) ดังนั้นอย่าไปอ้างเหตุการที่อยู่บนดอยไม่มาตรวจตามนัดเลย เพราะมะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่ป้องกันและลดอัตราตายได้ ถ้าขยันตรวจคัดกรองตามนัด
ย้ำว่าการต้องขยันมาตรวจทุกหกเดือนนี้ผมหมายถึงเฉพาะคนที่ผลตรวจก่อนหน้านี้ผิดปกติระดับ LSIL เท่านั้น ส่วนคนอื่นที่อายุสามสิบไปแล้วและผลตรวจปกติติดต่อกันมาแล้วเกินสามครั้ง การตรวจภายในเพื่อคัดกรองมะเร็งปากมดลูกทำแค่ทุกๆ 3 ปี ก็พอแล้ว ไม่จำเป็นต้องทำถี่กว่านั้น
ถามว่าในเมื่อไม่ได้เป็นมะเร็งแล้ว ในส่วนของเชื้อ HPV ที่ติดมาแล้วจะหายเองได้ไหม ตอบว่าได้มีการศึกษาประชากรผู้ติดเชื้อนี้ 4,504 คนพบว่า 91% จะกำจัดเชื้อได้หมดได้ในสองปี อีกงานวิจัยหนึ่งศึกษาผู้ป่วยที่ตรวจเอ็ชพีวีได้ผลบวกแล้วทำการตัดเอาจุดผิดปกติที่ปากมดลูกออกไปด้วย ก็พบว่าอัตราการตรวจพบเอ็ชพีวีหลังจากการรักษาเหลือใกล้เคียงกัน คือเหลือ 20.3% เมื่อผ่านไป 6 เดือน 15.3% เมื่อผ่านไป 1 ปี และเหลือ 8.4% เมื่อผ่านไปสองปี จะเห็นได้ว่า 91% ร่างกายจะเคลียร์เชื้อเอ็ชพีวีได้หมด แต่ก็ยังมีอีกประมาณ 9% ที่ร่างกายไม่สามารถกำจัดเชื้อได้หมด ต้องคงอยู่ในตัวต่อไปแม้จะพ้น 2 ปีไปแล้ว หรือเรียกง่ายๆว่ากลายเป็นพาหะ โดยที่ยังไม่มีข้อมูลว่าในระยะยาวกว่า 2 ปีไปแล้ว ร่างกายจะกำจัดเชื้อที่ดื้อเหล่านั้นทิ้งได้หรือไม่ สรุปในขั้นตอนนี้ซะอีกทีว่าเมื่อติดเชื้อ HPV แล้วคุณมีโอกาสหาย 91%
ก่อนจบ ไหนพูดถึงมะเร็งปากมดลูก ขอย้ำว่ามะเร็งปากมดลูกความสำคัญอยู่ที่พยาธิกำเนิดมากกว่าอาการวิทยา หมายความว่าไม่ต้องไปสนใจว่าอาการมะเร็งปากมดลูกว่าเป็นอย่างไร เพราะสมัยนี้มะเร็งปากมดลูกเกือบทั้งหมดวินิจฉัยได้ก่อนที่จะมีอาการ แต่ให้สนใจพยาธิกำเนิดของโรค ว่ามะเร็งชนิดนี้สืบโคตรเหง้าศักราชไปแล้วล้วนมีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อไวรัสเอ็ชพีวี. (HPV) 100% แล้วที่น่ายินดีก็คือประมาณ 75% ของไวรัสสายพันธ์นี้ เรามีวัคซีนป้องกันการติดเชื้อได้ ดังนั้นลูกผู้หญิงทุกคนที่อายุ 9- 26 ปี ควรฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสเอ็ชพีวี.เสียนะ การค้นพบวัคซีนตัวนี้เป็นการค้นพบที่ยิ่งใหญ่ของมนุษยชาติทีเดียว อย่าปล่อยให้สิ่งดีๆที่วงการแพทย์ค้นพบแล้ว ผ่านหน้าเราไปโดยเราไม่ได้ประโยชน์
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
บรรณานุกรม
1. Solomon D, Davey D, Kurman R, Moriarty A, O'Connor D, Prey M, et al. The 2001 Bethesda System: terminology for reporting results of cervical cytology. JAMA. 2002;287:2114–9.
2. Plummer M , Schiffman M , Castle PE , Maucort-Boulch D , Wheeler CM ; ALTS Group . International Agency for Research on Cancer, Lyon, France. A 2-year prospective study of human papillomavirus persistence among women with a cytological diagnosis of atypical squamous cells of undetermined significance or low-grade squamous intraepithelial lesion. J Infect Dis. 2007 Jun 1;195(11):1582-9. Epub 2007 Apr 16.
3. Aerssens A , Claeys P , Garcia A, Sturtewagen Y, Velasquez R, Vanden Broeck D, Vansteelandt S, Temmerman M, Cuvelier CA . Natural history and clearance of HPV after treatment of precancerous cervical lesions. Histopathology . 2008; 52(3):381 – 386.
หนูเป็นครูอยู่บนดอย ลงมารักษาทีใช้เวลาในการเดินทาง และเวลางาน ขออนุญาติปรึกษา ผลตรวจครั้งนี้ ว่ามีขั้นตอนดูแลรักษาตัวเองอย่างไร หรือหนูเป็นขั้นนี้ควรรักษา อย่างไร ให้กระจ่างใจด้วยคะ
(cervical biopsy: low grade squamous cell intra epithelial lesion)
ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูง
..........................................................
ตอบครับ
ฮั่นแน่ รู้วิธีที่จะให้หมอสันต์หยิบจดหมายมาตอบเสียด้วย โดยการบอกว่าตัวเองเป็นครูบนดอย บล็อกของหมอสันต์นี้เป็นบล็อกของคนแก่ จดหมายของคนหนุ่มคนสาวส่วนใหญ่ลงตะกร้าหมด แต่หมอสันต์กับครูดอยเนี่ยซี้กันนะ เพราะเพื่อนซี้ของหมอสันต์เคยเป็นครูดอย แบบว่า
"...หวีดหวิววังเวงเพลงแห่งพนา
ที่อยู่บนดอยเสียดฟ้า
ยากหาผู้ใดกรายกล้ำ
เด็กตัวน้อยน้อย
คอยแสงแห่งอารยธรรม
เพื่อส่องเจือจุนหนุนนำ
ให้ความรู้ศิวิไลซ์
ดั่งแสงเรืองรองที่ส่องพนา
ถึงจะไกลสูงเทียมฟ้า
ความรักเมตตาพาใกล้
ท่ามกลางเด็กน้อย
ภาพครูบนดอยซึ้งใจ
อุ้มโอบส่องชีวิตใหม่
เสริมค่าคนไทยเทียมกัน
ครูบนดอยดุจแสงหิ่งห้อยกลางป่า
ขจัดความมืดนานา
สร้างเสริมปัญญาคงมั่น
ศรัทธาหน้าที่
พร้อมพลีสุขสารพัน..."
มาตอบคำถามของคุณดีกว่า ก่อนที่จะเข้าใจคำอ่านผลการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ต้องเข้าใจระบบอ่านผลการตรวจภายในของแพทย์ซึ่งเรียกว่าระบบเบเทสด้า (Bethesda System - BTS) ซึ่งแบ่งผลการอ่านเป็นขั้นๆจากความรุนแรงน้อยไปหามาก ดังนี้
ขั้นที่ 1. NIL ย่อมาจาก negative for intraepithelial lesion แปลว่าปกติดี ยังไม่ได้ทำท่าว่าจะเป็นมะเร็งเลยแม้แต่น้อย
ขั้นที่ 2. ASC-US ย่อมาจาก Atypical squamous cells of undetermined significance แปลว่ามีเซลผิดปกติแบบไม่เจาะจงว่าจะเป็นอะไรกันแน่ ส่วนใหญ่มักเกิดจากการติดเชื้อ HPV แล้วหายไปเอง มีโอกาสเป็นมะเร็งน้อยมาก ตรงนี้ขอเสริมเพื่อความงุนงงมากขึ้นอีกนิดหนึ่ง จะได้เข้าใจว่าทำไมวิชาแพทย์จึงเรียนกันนาน เพราะมันวกไปวนมาอย่างนี้นี่เอง คือเรื่องนี้วงการแพทย์มีสองมุมมอง คือ
มุมมองที่ 1. คือมองจากมุมความผิดปกติของเยื่อบุปากมดลูก (Squamous intraepithelial lesion) เรียกย่อว่ามุมมอง SIL ถ้ามองจากมุมนี้ ตรวจพบ ASC-US ถือว่าเป็น Low-SIL หรือบางทีก็เขียนรวบว่า LSIL คือมีความผิดปกติน้อย ส่วนใหญ่จะเกิดจากการติดเชื้อไวรัส HPV
มุมมองที่ 2. คือมองจากมุมความแก่กล้าของการเป็นมะเร็ง เรียกว่า CIN ย่อมาจาก Cervical Intraepithelium Neopasia หากมองจากมุมนี้ ผลเป็น ASC–US หมายถึงมีความแก่กล้าของการเป็นมะเร็งน้อย เรียกว่าเป็น CIN1 วุ่นวายดีแมะ แต่สรุปก็คือยังไม่เป็นไร
สรุปเสียที่หนึ่งก่อนว่าขั้นที่หนึ่งนี้ไม่ว่าจะรายงานเป็น ASC-US หรือ LSIL หรือ CIN1 ก็ล้วนมีความหมายเดียวกันว่ายังไม่เป็นมะเร็งแต่ต้องตามถี่หน่อย คือตามดูประมาณหกเดือนครั้ง ถ้ายังพบผิดปกติระดับนี้ซ้ำซากก็สมควรส่องกล้องเข้าไปดูปากมดลูก ((colposcopy) แล้วตัดตัวอย่างเนื้อปากมดลูกออกมาตรวจให้ทราบแน่ชัด
ขั้นที่ 3. HSIL หรือ High-SIL ก็คือเซลมีการกลายไปในเชิงเป็นมะเร็งมากขึ้้น ถ้าเทียบกับมุมมองความแก่กล้าของการเป็นมะเร็งก็คือน่าจะเป็นมะเร็ง (CIN2) หรือไม่ก็เป็นมะเร็งชนิดอยู่ในที่ตั้ง (CIN3) ไปเรียบร้อยแล้ว คำว่าเป็นมะเร็งแบบอยู่ในที่ตั้งนี้ภาษาหมอเรียกอีกอย่างว่า Carcinoma In Situ หรือเรียกย่อว่า CIS
เอาละ เมื่อได้ทราบความหมายของคำอ่านผลแป๊บที่แพทย์ใช้แล้ว คราวนี้มาดูผลตรวจของคุณครูบนดอยท่านนี้ คือคุณครูมาถึงขั้นหมอส่องกล้องเข้าไปดูปากมดลูก (colposcopy) แล้วตัดตัวอย่างเนื้อปากมดลูกออกมาตรวจเรียบร้อยแล้ว หมายความว่าก่อนหน้านี้หมอคงตรวจพบความผิดปกติระดับ LSIL จากการตรวจภายในทำแป๊บซ้ำซากหลายครั้ง จึงตัดชิ้นเนื้อออกมาดู ผลที่ได้ก็ยังเป็น LSIL เหมือนเดิิม ก็คือยืนยันว่าครูบนดอยยังไม่ได้เป็นมะเร็ง
ถามว่าแล้วต้องทำไงต่อไป ต้องลงจากดอยมาหาหมอบ่อยแค่ไหน ตอบว่ามาตรฐานการดูแลผู้ป่วยแบบคุณนี้คือต้องนัดมาตรวจภายในทุก 6 เดือนควบกับตรวจ HPV ทุกหนึ่งปี จนกว่าหมอและคนไข้จะเบื่อหน้ากันไปข้างหนึ่ง หรือจนกว่าคุณจะเบื่อการขึ้นดอยลงดอย หรือจนกว่าทุกอย่าง (ทั้ง LSIL และ HPV) จะกลับมาเป็นปกติอย่างน้อยในการตรวจติดต่อกันสองครั้งขึ้นไป จึงจะหายบ้า เอ๊ย ขอโทษ จึงจะลดระดับการตรวจคัดกรองมาเท่าผู้หญิงทั่วไปได้
พูดถึงการลงจากดอยมาพบหมอที่ในเมืองสมัยนี้ มันง่ายกว่าการที่ผมซึ่งอยู่ที่บ้านถนนแจ้งวัฒนะจะไปทำงานที่แถวๆอนุสาวรีย์ชัยในตอนเช้าเสียอีกนะคุณ เพราะตั้งแต่ทางด่วนใหม่จากฝั่งธนมาบรรจบกับทางด่วนเก่านี้ ผมใช้เวลาสองชั่่วโมงกว่าเฉพาะขาไปทำงาน เมืองไทยสมัยนี้มีดอยที่ไหนบ้างที่นั่งรถลงไปตลาดในเมืองใช้เวลานานเกินสองชั่วโมง (อาจจะยกเว้นแถวทองผาภูมิสังขละบุรี) ดังนั้นอย่าไปอ้างเหตุการที่อยู่บนดอยไม่มาตรวจตามนัดเลย เพราะมะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่ป้องกันและลดอัตราตายได้ ถ้าขยันตรวจคัดกรองตามนัด
ย้ำว่าการต้องขยันมาตรวจทุกหกเดือนนี้ผมหมายถึงเฉพาะคนที่ผลตรวจก่อนหน้านี้ผิดปกติระดับ LSIL เท่านั้น ส่วนคนอื่นที่อายุสามสิบไปแล้วและผลตรวจปกติติดต่อกันมาแล้วเกินสามครั้ง การตรวจภายในเพื่อคัดกรองมะเร็งปากมดลูกทำแค่ทุกๆ 3 ปี ก็พอแล้ว ไม่จำเป็นต้องทำถี่กว่านั้น
ถามว่าในเมื่อไม่ได้เป็นมะเร็งแล้ว ในส่วนของเชื้อ HPV ที่ติดมาแล้วจะหายเองได้ไหม ตอบว่าได้มีการศึกษาประชากรผู้ติดเชื้อนี้ 4,504 คนพบว่า 91% จะกำจัดเชื้อได้หมดได้ในสองปี อีกงานวิจัยหนึ่งศึกษาผู้ป่วยที่ตรวจเอ็ชพีวีได้ผลบวกแล้วทำการตัดเอาจุดผิดปกติที่ปากมดลูกออกไปด้วย ก็พบว่าอัตราการตรวจพบเอ็ชพีวีหลังจากการรักษาเหลือใกล้เคียงกัน คือเหลือ 20.3% เมื่อผ่านไป 6 เดือน 15.3% เมื่อผ่านไป 1 ปี และเหลือ 8.4% เมื่อผ่านไปสองปี จะเห็นได้ว่า 91% ร่างกายจะเคลียร์เชื้อเอ็ชพีวีได้หมด แต่ก็ยังมีอีกประมาณ 9% ที่ร่างกายไม่สามารถกำจัดเชื้อได้หมด ต้องคงอยู่ในตัวต่อไปแม้จะพ้น 2 ปีไปแล้ว หรือเรียกง่ายๆว่ากลายเป็นพาหะ โดยที่ยังไม่มีข้อมูลว่าในระยะยาวกว่า 2 ปีไปแล้ว ร่างกายจะกำจัดเชื้อที่ดื้อเหล่านั้นทิ้งได้หรือไม่ สรุปในขั้นตอนนี้ซะอีกทีว่าเมื่อติดเชื้อ HPV แล้วคุณมีโอกาสหาย 91%
ก่อนจบ ไหนพูดถึงมะเร็งปากมดลูก ขอย้ำว่ามะเร็งปากมดลูกความสำคัญอยู่ที่พยาธิกำเนิดมากกว่าอาการวิทยา หมายความว่าไม่ต้องไปสนใจว่าอาการมะเร็งปากมดลูกว่าเป็นอย่างไร เพราะสมัยนี้มะเร็งปากมดลูกเกือบทั้งหมดวินิจฉัยได้ก่อนที่จะมีอาการ แต่ให้สนใจพยาธิกำเนิดของโรค ว่ามะเร็งชนิดนี้สืบโคตรเหง้าศักราชไปแล้วล้วนมีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อไวรัสเอ็ชพีวี. (HPV) 100% แล้วที่น่ายินดีก็คือประมาณ 75% ของไวรัสสายพันธ์นี้ เรามีวัคซีนป้องกันการติดเชื้อได้ ดังนั้นลูกผู้หญิงทุกคนที่อายุ 9- 26 ปี ควรฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสเอ็ชพีวี.เสียนะ การค้นพบวัคซีนตัวนี้เป็นการค้นพบที่ยิ่งใหญ่ของมนุษยชาติทีเดียว อย่าปล่อยให้สิ่งดีๆที่วงการแพทย์ค้นพบแล้ว ผ่านหน้าเราไปโดยเราไม่ได้ประโยชน์
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
บรรณานุกรม
1. Solomon D, Davey D, Kurman R, Moriarty A, O'Connor D, Prey M, et al. The 2001 Bethesda System: terminology for reporting results of cervical cytology. JAMA. 2002;287:2114–9.
2. Plummer M , Schiffman M , Castle PE , Maucort-Boulch D , Wheeler CM ; ALTS Group . International Agency for Research on Cancer, Lyon, France. A 2-year prospective study of human papillomavirus persistence among women with a cytological diagnosis of atypical squamous cells of undetermined significance or low-grade squamous intraepithelial lesion. J Infect Dis. 2007 Jun 1;195(11):1582-9. Epub 2007 Apr 16.
3. Aerssens A , Claeys P , Garcia A, Sturtewagen Y, Velasquez R, Vanden Broeck D, Vansteelandt S, Temmerman M, Cuvelier CA . Natural history and clearance of HPV after treatment of precancerous cervical lesions. Histopathology . 2008; 52(3):381 – 386.