คนหนุ่มคนสาว..อย่าเอาแต่ร้องแรกแหกกระเฌอ
ผมเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัย เพิ่งอายุ 22 ปี มีอาการแน่นๆหน้าอกบ้างจึงไปตรวจสุขภาพประจำปี หมอให้วิ่งสายพานแล้วบอกว่าผมต้องตรวจสวนหัวใจเพราะผมเป็นโรคหัวใจขาดเลือด โดยผมต้องเตรียมรับโอกาสที่อาจจะต้องใช้บอลลูนขยายหลอดเลือดด้วย ผมอยากถามคุณหมอสันต์ว่ามีอะไรผิดพลาดในการวินิจฉัยได้ไหมครับ เพราะผมอายุแค่นี้ ไม่น่าจะเป็นโรคนี้ถึงขั้นต้องใช้บอลลูนขยายหลอดเลือด
.............................................
ตอบครับ
ผมจะตอบคุณในประเด็นเดียวนะ คือประเด็นที่ว่ามีอะไรผิดพลาดในการวินิจฉัยหรือเปล่า เพราะโรคหัวใจขาดเลือดไม่น่าเกิดกับคนอายุน้อยๆอย่างคุณได้
ก่อนอื่นผมขอแก้ความเข้าใจผิดของคนทั่วไป รวมทั้งความเข้าใจผิดของแพทย์จำนวนหนึ่งด้วย ที่เชื่อว่าโรคหัวใจขาดเลือดเป็นโรคของคนแก่ ถ้าเป็นผู้ชายอย่างเร็วก็ต้องสี่สิบปลายๆห้าสิบไปแล้ว ถ้าเป็นผู้หญิงก็ต้องหมดประจำเดือนไปแล้วจึงค่อยมาวินิจฉัยแยกโรคห้วใจขาดเลือด เพราะคนอายุน้อยกว่านี้ไม่เป็นโรคนี้หรอก นี่เป็นความเข้าใจผิดนะครับ
ผมเองก็เคยเข้าใจผิดแบบนี้ จนถึงตอนที่ผมไปฝึกอบรมเป็นหมอผ่าตัดหัวใจที่เมืองนอก ประมาณปี ก่อนปี 2000 (ขอโทษนะชีวิตตอนอยู่เมืองนอกผมต้องจำเวลาเป็นปี ค.ศ. เพราะสมองมันไม่ยอมจำเป็นพ.ศ.) ซึ่งเมื่อมีเด็กตายด้วยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดเราก็ต้องผ่าศพเด็กเพื่อการศึกษาทุกคราวไป ในการผ่าศพเด็กเหล่านี้ซึึ่งส่วนใหญ่จะมาเสียชีวิตเอาตอนอายุ 8 - 12 ปี เราจะต้องผ่าเปิดหลอดเลือดหัวใจเพื่อตรวจด้วยแบบว่าเป็นรูทีนหรือกิจวัตร สิ่งที่ผมพบเป็นประจำก็คือตุ่มไขมันที่พอกอยู่ในหลอดเลือดหัวใจนั้นเกิดขึ้นเรียบร้อยแล้วในเด็กฝรั่งเหล่านี้ นั่นหมายความว่าโรคหัวใจขาดเลือดนี้มันเริ่มเป็นมาตั้งแต่วัยเด็กแล้ว เป็นอะไรที่ผมไม่เคยรู้มาก่อนเลยเพราะก่อนหน้านั้นไม่เคยมีใครทำวิจัยการเกิดโรคนี้ในเด็กทั้งสิ้น
ต่อมาอีกนานจนถึงปี 2007 หมอผ่าศพกลุ่มหนึ่งได้ตีพิมพ์งานวิจัยชื่อ PDAY โดยรวบรวมผลการผ่าศพคนหนุ่มคนสาวอายุ 15-34 ปีที่ตายด้วยอุบัติเหตุและฆาตกรรมจำนวน 2,876 ศพ มาวิเคราะห์ผลการตรวจดูหลอดเลือดหัวใจ พบว่าโรคไขมันพอกหลอดเลือดนี้เริ่มที่หลอดเลือดหัวใจตั้งแต่อายุ 15 ปี พออายุได้ 30 ปี หลายคนก็มีไขมันพอกมากระดับเป็นมากถึงขั้นที่พร้อมจะเกิดหัวใจวายได้แล้ว ข้อมูลอันนี้จึงยืนยันสิ่งที่ผมพบในการผ่าศพเด็กเกือบสิบปีก่อนหน้านั้นแล้ว นอกจากนั้นยังมีอีกงานวิจัยหนึ่งรายงานผลการตรวจศพของนักเรียนมหาวิทยาลัยไว้ในวารสาร JAMA ซึ่งได้ผลว่าเด็กนักเรียนเหล่านี้จำนวนถึงหนึ่งในสี่ได้เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบในระยะก้าวหน้ามากพร้อมที่จะเกิดอาการของโรคได้แล้ว
ข้อมูลที่ว่าโรคเกิดเมื่ออายุยังน้อยนั้นเป็นของแน่แม้ว่าจะเป็นข้อมูลของฝรั่ง แต่คนไทยก็ไม่มีเหตุอะไรที่จะแตกต่างกันเพราะอุบัติการณ์ของโรคนี้ในคนไทยก็ได้ขึ้นมาเทียบเท่ากับของฝรั่งแล้ว จะด้วยสาเหตุใดก็ตาม ดังนั้นการที่คุณเป็นโรคในระยะเป็นมากแล้วตั้งแต่อายุยี่สิบกว่าจึงไม่ใช่เรื่องแปลก
เรื่องที่แปลกสำหรับวงการแพทย์ก็คือมีหลักฐานมากมายที่บ่งชี้ว่าคนอายุน้อยเหล่านี้มีปัจจัยเสี่ยงของการเป็นโรคหัวใจหลอดเลือดกันเพียบ อย่างน้อยที่ผมรู้ก็มีสี่งานวิจัยที่ศึกษาปัจจัยเสี่ยงในนักศึกษามหาวิทยาลัยและได้ผลสรุปว่าเกินครึ่งของนักศึกษาเหล่านี้มีปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจขาดเลือดแล้วอย่างน้อยหนึ่งอย่างขึ้นไป แต่ไม่เห็นมีใครบอกคนหนุ่มคนสาวที่ยังอยู่ในวัยเรียนหนังสืออยู่เลยว่าเขาความจะทำตัวอย่างไรให้โรคของเขาหายหรือไม่ให้เป็นมากขึ้น ตรงนี้ต่างหากที่สำคัญ เพราะการทบทวนงานวิจัยของสมาคมหัวใจอเมริก้ัน (AHA) สรุปได้ว่าหากมีการจัดการปัจจัยเสี่ยงง่ายๆเจ็ดตัวคือน้ำหนัก ความดัน ไขมัน น้ำตาล การกินผักผลไม้ การออกกำลังกาย การเลิกบุหรี่ ความเสี่ยงตายก่อนวัยอันควรจากโรคนี้จะลดลงไปได้ถึง 91%
สรุปว่าแทนที่จะร้องแรกแหกกระเฌอว่าทำไมผมหรือหนูเป็นโรคหัวใจตั้งแต่อายุยังน้อย เปลี่ยนมาเป็นการลงมือจัดการปัจจัยเสี่ยงของตัวเองอย่างจริงจังดีไหมครับ
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
บรรณานุกรม
1. McMahan CA, Gidding SS, Malcom GT, Schreiner PJ, Strong JP, Tracy RE, Williams OD, McGill HC; Pathobiological Determinants of Atherosclerosis in Youth (PDAY) Research Group.
Cardiovasc Pathol. 2007 May-Jun;16(3):151-8.
2. Arts J1, Fernandez ML, Lofgren IE. Coronary heart disease risk factors in college students. Adv Nutr. 2014 Mar 1;5(2):177-87. doi: 10.3945/an.113.005447.
3. Strong JP, Malcom GT, McMahan CA, Tracy RE, Newman WP, 3rd, Herderick EE, Cornhill JF. Prevalence and extent of atherosclerosis in adolescents and young adults: implications for prevention from the Pathobiological Determinants of Atherosclerosis in Youth Study. JAMA. 1999;281:727–35
.............................................
ตอบครับ
ผมจะตอบคุณในประเด็นเดียวนะ คือประเด็นที่ว่ามีอะไรผิดพลาดในการวินิจฉัยหรือเปล่า เพราะโรคหัวใจขาดเลือดไม่น่าเกิดกับคนอายุน้อยๆอย่างคุณได้
ก่อนอื่นผมขอแก้ความเข้าใจผิดของคนทั่วไป รวมทั้งความเข้าใจผิดของแพทย์จำนวนหนึ่งด้วย ที่เชื่อว่าโรคหัวใจขาดเลือดเป็นโรคของคนแก่ ถ้าเป็นผู้ชายอย่างเร็วก็ต้องสี่สิบปลายๆห้าสิบไปแล้ว ถ้าเป็นผู้หญิงก็ต้องหมดประจำเดือนไปแล้วจึงค่อยมาวินิจฉัยแยกโรคห้วใจขาดเลือด เพราะคนอายุน้อยกว่านี้ไม่เป็นโรคนี้หรอก นี่เป็นความเข้าใจผิดนะครับ
ผมเองก็เคยเข้าใจผิดแบบนี้ จนถึงตอนที่ผมไปฝึกอบรมเป็นหมอผ่าตัดหัวใจที่เมืองนอก ประมาณปี ก่อนปี 2000 (ขอโทษนะชีวิตตอนอยู่เมืองนอกผมต้องจำเวลาเป็นปี ค.ศ. เพราะสมองมันไม่ยอมจำเป็นพ.ศ.) ซึ่งเมื่อมีเด็กตายด้วยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดเราก็ต้องผ่าศพเด็กเพื่อการศึกษาทุกคราวไป ในการผ่าศพเด็กเหล่านี้ซึึ่งส่วนใหญ่จะมาเสียชีวิตเอาตอนอายุ 8 - 12 ปี เราจะต้องผ่าเปิดหลอดเลือดหัวใจเพื่อตรวจด้วยแบบว่าเป็นรูทีนหรือกิจวัตร สิ่งที่ผมพบเป็นประจำก็คือตุ่มไขมันที่พอกอยู่ในหลอดเลือดหัวใจนั้นเกิดขึ้นเรียบร้อยแล้วในเด็กฝรั่งเหล่านี้ นั่นหมายความว่าโรคหัวใจขาดเลือดนี้มันเริ่มเป็นมาตั้งแต่วัยเด็กแล้ว เป็นอะไรที่ผมไม่เคยรู้มาก่อนเลยเพราะก่อนหน้านั้นไม่เคยมีใครทำวิจัยการเกิดโรคนี้ในเด็กทั้งสิ้น
ต่อมาอีกนานจนถึงปี 2007 หมอผ่าศพกลุ่มหนึ่งได้ตีพิมพ์งานวิจัยชื่อ PDAY โดยรวบรวมผลการผ่าศพคนหนุ่มคนสาวอายุ 15-34 ปีที่ตายด้วยอุบัติเหตุและฆาตกรรมจำนวน 2,876 ศพ มาวิเคราะห์ผลการตรวจดูหลอดเลือดหัวใจ พบว่าโรคไขมันพอกหลอดเลือดนี้เริ่มที่หลอดเลือดหัวใจตั้งแต่อายุ 15 ปี พออายุได้ 30 ปี หลายคนก็มีไขมันพอกมากระดับเป็นมากถึงขั้นที่พร้อมจะเกิดหัวใจวายได้แล้ว ข้อมูลอันนี้จึงยืนยันสิ่งที่ผมพบในการผ่าศพเด็กเกือบสิบปีก่อนหน้านั้นแล้ว นอกจากนั้นยังมีอีกงานวิจัยหนึ่งรายงานผลการตรวจศพของนักเรียนมหาวิทยาลัยไว้ในวารสาร JAMA ซึ่งได้ผลว่าเด็กนักเรียนเหล่านี้จำนวนถึงหนึ่งในสี่ได้เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบในระยะก้าวหน้ามากพร้อมที่จะเกิดอาการของโรคได้แล้ว
ข้อมูลที่ว่าโรคเกิดเมื่ออายุยังน้อยนั้นเป็นของแน่แม้ว่าจะเป็นข้อมูลของฝรั่ง แต่คนไทยก็ไม่มีเหตุอะไรที่จะแตกต่างกันเพราะอุบัติการณ์ของโรคนี้ในคนไทยก็ได้ขึ้นมาเทียบเท่ากับของฝรั่งแล้ว จะด้วยสาเหตุใดก็ตาม ดังนั้นการที่คุณเป็นโรคในระยะเป็นมากแล้วตั้งแต่อายุยี่สิบกว่าจึงไม่ใช่เรื่องแปลก
เรื่องที่แปลกสำหรับวงการแพทย์ก็คือมีหลักฐานมากมายที่บ่งชี้ว่าคนอายุน้อยเหล่านี้มีปัจจัยเสี่ยงของการเป็นโรคหัวใจหลอดเลือดกันเพียบ อย่างน้อยที่ผมรู้ก็มีสี่งานวิจัยที่ศึกษาปัจจัยเสี่ยงในนักศึกษามหาวิทยาลัยและได้ผลสรุปว่าเกินครึ่งของนักศึกษาเหล่านี้มีปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจขาดเลือดแล้วอย่างน้อยหนึ่งอย่างขึ้นไป แต่ไม่เห็นมีใครบอกคนหนุ่มคนสาวที่ยังอยู่ในวัยเรียนหนังสืออยู่เลยว่าเขาความจะทำตัวอย่างไรให้โรคของเขาหายหรือไม่ให้เป็นมากขึ้น ตรงนี้ต่างหากที่สำคัญ เพราะการทบทวนงานวิจัยของสมาคมหัวใจอเมริก้ัน (AHA) สรุปได้ว่าหากมีการจัดการปัจจัยเสี่ยงง่ายๆเจ็ดตัวคือน้ำหนัก ความดัน ไขมัน น้ำตาล การกินผักผลไม้ การออกกำลังกาย การเลิกบุหรี่ ความเสี่ยงตายก่อนวัยอันควรจากโรคนี้จะลดลงไปได้ถึง 91%
สรุปว่าแทนที่จะร้องแรกแหกกระเฌอว่าทำไมผมหรือหนูเป็นโรคหัวใจตั้งแต่อายุยังน้อย เปลี่ยนมาเป็นการลงมือจัดการปัจจัยเสี่ยงของตัวเองอย่างจริงจังดีไหมครับ
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
บรรณานุกรม
1. McMahan CA, Gidding SS, Malcom GT, Schreiner PJ, Strong JP, Tracy RE, Williams OD, McGill HC; Pathobiological Determinants of Atherosclerosis in Youth (PDAY) Research Group.
Cardiovasc Pathol. 2007 May-Jun;16(3):151-8.
2. Arts J1, Fernandez ML, Lofgren IE. Coronary heart disease risk factors in college students. Adv Nutr. 2014 Mar 1;5(2):177-87. doi: 10.3945/an.113.005447.
3. Strong JP, Malcom GT, McMahan CA, Tracy RE, Newman WP, 3rd, Herderick EE, Cornhill JF. Prevalence and extent of atherosclerosis in adolescents and young adults: implications for prevention from the Pathobiological Determinants of Atherosclerosis in Youth Study. JAMA. 1999;281:727–35
4. Burke JD, Reilly RA, Morrell JS, Lofgren IE. The University of New Hampshire's Young Adult Health Risk Screening Initiative. J Am Diet Assoc. 2009;109:1751–8
5. Fernandes J, Lofgren IE. Prevalence of metabolic syndrome and individual criteria in college students. J Am Coll Health. 2011;59:313–21
6. Morrell JS, Lofgren IE, Burke JD, Reilly RA. Metabolic syndrome, obesity, and related risk factors among college men and women. J Am Coll Health. 2012;60:82–9
7. Huang TT, Shimel A, Lee RE, Delancey W, Strother ML. Metabolic risks among college students: prevalence and gender differences. Metab Syndr Relat Disord. 2007;5:365–72