ไข้หวัดใหญ่..เรื่องหญ้าปากคอก
วันนี้พยาบาลที่ทำงานอยู่กับผมคนหนึ่งติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ พอเธอมาทำงานเพื่อนๆก็รุมล้อว่าอย่าเอาเชื้อมาแพร่นะ เธอถามผมว่า
"อาจารย์คะ หนูเพิ่งป่วยมาได้วันเดียวจะแพร่เชื้อได้เลยหรือ และนานแค่ไหนคะหนูถึงจะไม่แพร่เชื้อให้คนอื่น" ผมตอบว่า
"คุณแพร่เชื้อได้ตั้งแต่ 0-24 ชั่่วโมงก่อนมีอาการ แล้วยังแพร่เชื้อต่อไปได้อีก 5-10 วันถ้าคุณมีภูมิคุ้มกันปกติอย่างคนทั่วไปนะ แต่ถ้าคุณมีภูมิคุ้มกันบกพร่องคุณสามารถจะแพร่เชื้อนี้ไปได้อีกนานหลายเดือนเลยเชียว"
พยาบาลรุ่นเด็กอีกคนหนึ่งรีบพูดว่า
"ว้าว..หนูต้องรีบไปฉีดวัคซีนละคราวนี้ เพราะต้องขึ้นเวรกับพี่เขาสัปดาห์นี้ทั้งสัปดาห์"
ผมบอกว่า
"สายไปแล้ว วัคซีนจะมีผลป้องกันโรคได้ก็ต้องหลังฉีดแล้ว 10-14 วันเป็นต้นไป"
พยาบาลที่เป็นคนป่วยฟ้องว่า
"อาจารย์อย่าไปฟังเธอนะ หนูติดมาจากเธอนั่นแหละ เมื่อสองอาทิตย์ก่อนเธอขึ้นเวรกับหนูและไอ แค้ก ๆ ตลอดเวร"
ผมติงว่า
"ระยะฟักตัวของโรคไข้หวัดใหญ่กินเวลา 18-72 ชั่วโมงเท่านั้นนะ"
การคุยกันเล่นกับพยาบาลนอกห้องตรวจเช้าวันนี้ทำให้ผมคิดขึ้นได้ว่าแม้โรคไข้หวัดใหญ่จะเป็นโรคสามัญที่โรงพยาบาลมีคนไข้ทุกวัน และเป็นกันแทบทุกคนๆละหลายๆรอบ แต่ขนาดคนในวงการแพทย์เองก็ยังไม่รู้ข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ในการรับมือกับโรคไข้หวัดใหญ่ วัันนี้ผมจึงขอถือโอกาสเขียนเรื่องเกี่ยวกับหญ้าปากคอกสำหรับโรคง่ายๆอย่างไข้หวัดใหญ่เสียสักหนึ่งครั้ง
ประเด็นเชื้อไข้หวัดใหญ่
เชื้อไข้หวัดใหญ่แบ่งเป็นชนิด A, B, C, D ชนิด D เกิดในสัตว์เท่านั้น ที่เกิดในคนเป็นเจ้าประจำคือชนิด A ซึ่งเกิดมากถึง 70% รองลงไปคือชนิด B เชื้อไข้หวัดใหญ่ชนิด A ยังเรียกชื่อแยกย่อยไปตามโปรตีนที่อยู่บนผิวสองโมเลกุล คือ hemagglutinin (H) และ neuraminidase (N) เช่นปีนี้เชื้อที่คาดหมายว่าจะมาแรงคือเชื้อ H1N1 เป็นต้น
ประเด็นการกลไกการแพร่กระจายเชื้อ
ไข้หวัดใหญ่แพร่จากคนสู่คนด้วยการไอแบบพ่นฝอย คือการไอของคนเราหากไอแบบจริงๆเหน่งๆแล้วจะพ่นไอน้ำออกมาเป็นฝอยละออง (aerosol) ออกไปได้กว้างไกลมาก ไม่เชื่อดูรูป ฝอยละอองนี้จะเล็กและเบาซึ่งล่องล่อยไปได้ไกลแสนไกล ลอยไปตามระเบียงตามเฉลียง เข้าห้องโน้นออกห้องนี้โดยไม่ตกพื้นสักที ทำให้ไข้หวัดใหญ่แพร่ได้เร็วอย่างยิ่ง การที่คนป่วยสวมผ้าปิดปากปิดจมูกช่วยยับยังการพ่นฝอยนี้ได้ดี แต่หากคนป่วยที่ไม่ปิดปากปิดจมูกแม้เพียงคนเดียวไอในที่ชุมนุมชนเช่นในชอปปิ้งมอลล์ ในรถไฟฟ้า ในเครื่องบิน แม้เพียงแค้กเดียว ก็จะแพร่เชื่อไปในอากาศได้ยาวนานและกว้างไกลอย่างคาดไม่ถึง ใครที่สูดลมหายใจเอาฝอยละอองนี้เข้าไปเหน่งๆแม้เพียงเม็ดเดียวขณะที่ตัวเองไม่มีภูมิคุ้มกันเป็นทุนอยู่ก่อน ก็จะติดเช่ื้อไข้หวัดใหญ่ได้โดยไม่ยาก
ประเด็นระยะฟักตัวของโรค
เมื่อได้รับเชื้อมาโดยการสูดเอาฝอยละอองที่มีเชื้อเข้าสู่ปอด เชื้อจะซุ่มฟักตัวอยู่ในร่างกายนาน 18-72 ชั่วโมง ดังนั้นคนที่ถูกเพื่อนไอใส่ หากผ่านไปแล้วสามวันแล้วไม่มีอาการอะไรก็ให้สันนิษฐานว่ารอดตัวได้
ประเด็นระยะแพร่เชื้อต่อไปให้คนอื่น
ความสามารถแพร่เชื้อให้คนอื่นจะต่างกันระหว่างผู้มีภูมิคุ้มกันปกติกับผู้มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง กล่าวคือผู้มีภูมิคุ้มกันปกติจะแพร่เชื้อนี้ได้แทบจะทันทีตั้งแต่ได้รับเชื้อมา คือแพร่เชื้อได้ตั้งแต่ยังไม่มีอาการด้วยซ้ำ (เฉลี่ย 0-24 ชม.ก่อนมีอาการ) และจะสามารถแพร่เชื้อไปได้นาน 5-10 วัน แต่สำหรับคนที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เชื้อโรคจะสิงสู่อยู่ในร่างกายได้นานและมีเวลาแพร่เชื้อต่อไปให้คนอื่นได้นานอีกหลายสัปดาห์ถึงหลายเดือน
ประเด็นอาการป่วย
อาการของโรคไข้หวัดใหญ่คือมีไข้ (สูงได้ถึง 40 องศาซี.) คัดจมูกน้ำมูกไหล เจ็บคอ ไอ ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ ปวดเบ้าตา แสบตา แพ้แสง คลื่นไส้อาเจียน อาการเหล่านี้มักคงอยู่นาน 4-6 วัน แต่เมื่ออาการอื่นๆทุเลาแล้วอาการไอแห้งๆอาจคงอยู่นานถึง 4-6 สัปดาห์
ประเด็นการวินิจฉัยไข้หวัดใหญ่
การวินิจฉัยไข้หวัดใหญ่ทำโดยวิธีดูโหงวเฮ้ง หิ หิ พูดเล่น เอ๊ย..ไม่ใช่ พูดจริง การวินิจฉัยไข้หวัดใหญ่ส่วนใหญ่แพทย์วิินิจฉัยเอาจากอาการ มีส่วนน้อยที่แพทย์ยืนยันการวินิจฉัยโดยเอาสำลีพันปลายไม้กวาดเอาเยื่อเมือกในจมูกหรือในลำคอไปตรวจแล็บหาแอนติเจนของเชื้อ เพราะวุ่นวายยุ่งยาก การเจาะเลือดไปตรวจนับเม็ดเลือดไม่ใช่วิธียืนยันการวินิจฉัย แต่เป็นการช่วยวินิจฉัยทางอ้อมเพราะไข้หวัดใหญ่มักมีเม็ดเลือดขาวต่ำและอาจมีเกล็ดเลือดต่ำด้วย
ประเด็นวิธีรักษา
วิธีรัักษามาตรฐานสำหรับไข้หวัดใหญ่คือการให้นอนพักประมาณ 3 วันและให้การบรรเทาอาการไปตามมีตามเกิด เพราะโรคนี้เป็นโรคเป็นเองหายเอง
การให้กินยาต้านไวรััสเป็นทางเลือกเสริมในการรักษาที่แพทย์อาจจะตัดสินใจเลือกให้ได้ ทั้งนี้หากให้เร็วภายใน 40 ชั่วโมงนับตั้งแต่เริ่มมีอาการก็จะช่วยบรรเทาอาการแรงๆเช่นไข้ ปวดกล้ามเนื้อ เปลี้ยล้า ให้จบลงเร็วขึ้นได้ประมาณหนึ่งวันเมื่อเทียบกับการกินยาหลอก คือกินยาหลอกมีอาการสำคัญอยู่นาน 125 ชั่วโมง กินยาต้านไวรัสมีอาการสำคัญอยู่นาน 100 ชั่วโมง
ยาที่นิยมเลือกใช้กันเป็นตััวแรกคือ Oseltamivir 74 mg วันละ 2 ครั้ืืงนาน 5 วัน หรือ zanamivir แบบสูดดม 10 มก.วันละ 2 ครั้ง นาน 5 วัน หรือ teramivir 600 มก.ฉีดเข้าเส้นตูมเดียวจบ
ยา oseltamivir (Tamiflu) ซึ่งเป็นยายอดนิยมในบ้านเรานั้นข้อมูลในสหรัฐพบว่าเชื้อ H1N1 ดื้อต่อยานี้ 10.9% ความนิยมในการใช้ยานี้ในปัจจุบัน จึงซาไป
ส่วนยาปฏิชีวนะหรือยาแก้อักเสบ (antibiotic) เป็นยาฆ่าเชื้อบักเตรี ไม่มีประโยชน์ในการใช้รักษาโรคไข้หวัดใหญ่เลย และไม่มีีผลในการป้องกันการติดเชื้อบักเตรีแทรกซ้อนแต่อย่างใด จึงไม่ควรใช้
ประเด็นวัคซีนที่ใช้ป้องกันไข้หวัดใหญ่
วัคซีนที่ใช้ทุกวันนี้เป็นวัคซีนชนิดเชื้อเป็น (inactivated influenza vaccine - IIV) หรือ recombinant influenza vaccine (RIV) ซึ่งทำจากไข่ ถ้าแพ้ไข่แค่เบาะๆคือผื่นขึ้นเป็นลมพิษก็ยังให้วัคซีนได้ตามสบาย แต่ถ้าแพ้ระดับความดันเลือดตก จับหืดหรือแพ้จนต้องฉีดยาอะดรีนาลินแก้ คนที่แพ้แบบนั้นการให้วัคซีนควรทำในโรงพยาบาลหรือสถานพยายบาลที่มีความพร้อมรับมือกับการแพ้ระดับรุนแรงครบเครื่องเท่านั้น
ส่วนวัคซีนหยอดจมูกซึ่งเป็นวัคซีนชนิด live attenuated influenza vaccine (LAIV) เมื่อนำออกมาใช้จริงในช่วงปี 2013-16 พบว่าไม่เจ๋งอย่างที่คิด ศูนย์ควบคุมโรค (CDC) จึงแนะนำว่าไม่ควรใช้ในปีนี้
ประเด็นประสิทธิผลของวัคซีน
วัคซีนไข้หวัดใหญ่มีประสิทธิผลในการป้องกันโรค 48% ในปี 2016 หมายความว่าคนได้รับเชื้อแล้ว 100 คน มี 48 คนไม่เป็นโรค
แต่ในปี 2017 นี้หากนับมาถึงเดือนมิย. พบว่ามีประสิทธิผลในการป้องกันโรค 42%
ประเด็นใครบ้างควรฉีดวัคซีน
วงการแพทย์แนะนำว่าทุกคนที่มีอายุหกเดือนขึ้นจนถึงวัยชรา ควรได้รับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ทุกปี โดยฉีดปีละเข็ม แต่หากเป็นเด็กที่ไม่เคยได้วัคซีนมาก่อนควรฉีดสองเข็มห่างกันหนึ่งเดือน
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
บรรณานุกรม
1. Centers for Disease Control and Prevention. Situation Update: Summary of Weekly FluView Report. Updated December 16, 2016. Available at: http://www.cdc.gov/flu/weekly/summary.htm. Accessed December 22, 2016.
2. Budd A, Blanton L, Kniss K, et al. Update: Influenza Activity - United States and Worldwide, May 22-September 10, 2016. MMWR Morb Mortal Wkly Rep. 2016 September 23;65(37):1008-14. PMID: 27657671.
3. Grohskopf LA, Sokolow LZ, Broder KR, et al. Prevention and Control of Seasonal Influenza With Vaccines.MMWR Recomm Rep. 2016 August 26;65(5):1-54. PMID: 27560619
4. Centers for Disease Control and Prevention. Flu Vaccine and People With Egg Allergies. Updated September 2, 2016. Available at: https://www.cdc.gov/flu/protect/vaccine/egg-allergies.htm. Accessed October 10, 2017
5. Centers for Disease Control and Prevention. Influenza Antiviral Drug Resistance. August 5, 2016. Available at: https://www.cdc.gov/flu/about/qa/antiviralresistance.htm. Accessed October 10, 2017
"อาจารย์คะ หนูเพิ่งป่วยมาได้วันเดียวจะแพร่เชื้อได้เลยหรือ และนานแค่ไหนคะหนูถึงจะไม่แพร่เชื้อให้คนอื่น" ผมตอบว่า
"คุณแพร่เชื้อได้ตั้งแต่ 0-24 ชั่่วโมงก่อนมีอาการ แล้วยังแพร่เชื้อต่อไปได้อีก 5-10 วันถ้าคุณมีภูมิคุ้มกันปกติอย่างคนทั่วไปนะ แต่ถ้าคุณมีภูมิคุ้มกันบกพร่องคุณสามารถจะแพร่เชื้อนี้ไปได้อีกนานหลายเดือนเลยเชียว"
พยาบาลรุ่นเด็กอีกคนหนึ่งรีบพูดว่า
"ว้าว..หนูต้องรีบไปฉีดวัคซีนละคราวนี้ เพราะต้องขึ้นเวรกับพี่เขาสัปดาห์นี้ทั้งสัปดาห์"
ผมบอกว่า
"สายไปแล้ว วัคซีนจะมีผลป้องกันโรคได้ก็ต้องหลังฉีดแล้ว 10-14 วันเป็นต้นไป"
พยาบาลที่เป็นคนป่วยฟ้องว่า
"อาจารย์อย่าไปฟังเธอนะ หนูติดมาจากเธอนั่นแหละ เมื่อสองอาทิตย์ก่อนเธอขึ้นเวรกับหนูและไอ แค้ก ๆ ตลอดเวร"
ผมติงว่า
"ระยะฟักตัวของโรคไข้หวัดใหญ่กินเวลา 18-72 ชั่วโมงเท่านั้นนะ"
การคุยกันเล่นกับพยาบาลนอกห้องตรวจเช้าวันนี้ทำให้ผมคิดขึ้นได้ว่าแม้โรคไข้หวัดใหญ่จะเป็นโรคสามัญที่โรงพยาบาลมีคนไข้ทุกวัน และเป็นกันแทบทุกคนๆละหลายๆรอบ แต่ขนาดคนในวงการแพทย์เองก็ยังไม่รู้ข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ในการรับมือกับโรคไข้หวัดใหญ่ วัันนี้ผมจึงขอถือโอกาสเขียนเรื่องเกี่ยวกับหญ้าปากคอกสำหรับโรคง่ายๆอย่างไข้หวัดใหญ่เสียสักหนึ่งครั้ง
ประเด็นเชื้อไข้หวัดใหญ่
เชื้อไข้หวัดใหญ่แบ่งเป็นชนิด A, B, C, D ชนิด D เกิดในสัตว์เท่านั้น ที่เกิดในคนเป็นเจ้าประจำคือชนิด A ซึ่งเกิดมากถึง 70% รองลงไปคือชนิด B เชื้อไข้หวัดใหญ่ชนิด A ยังเรียกชื่อแยกย่อยไปตามโปรตีนที่อยู่บนผิวสองโมเลกุล คือ hemagglutinin (H) และ neuraminidase (N) เช่นปีนี้เชื้อที่คาดหมายว่าจะมาแรงคือเชื้อ H1N1 เป็นต้น
ประเด็นการกลไกการแพร่กระจายเชื้อ
(ขอบคุณภาพจากศูนย์ควบคุมโรค - CDC) |
ไข้หวัดใหญ่แพร่จากคนสู่คนด้วยการไอแบบพ่นฝอย คือการไอของคนเราหากไอแบบจริงๆเหน่งๆแล้วจะพ่นไอน้ำออกมาเป็นฝอยละออง (aerosol) ออกไปได้กว้างไกลมาก ไม่เชื่อดูรูป ฝอยละอองนี้จะเล็กและเบาซึ่งล่องล่อยไปได้ไกลแสนไกล ลอยไปตามระเบียงตามเฉลียง เข้าห้องโน้นออกห้องนี้โดยไม่ตกพื้นสักที ทำให้ไข้หวัดใหญ่แพร่ได้เร็วอย่างยิ่ง การที่คนป่วยสวมผ้าปิดปากปิดจมูกช่วยยับยังการพ่นฝอยนี้ได้ดี แต่หากคนป่วยที่ไม่ปิดปากปิดจมูกแม้เพียงคนเดียวไอในที่ชุมนุมชนเช่นในชอปปิ้งมอลล์ ในรถไฟฟ้า ในเครื่องบิน แม้เพียงแค้กเดียว ก็จะแพร่เชื่อไปในอากาศได้ยาวนานและกว้างไกลอย่างคาดไม่ถึง ใครที่สูดลมหายใจเอาฝอยละอองนี้เข้าไปเหน่งๆแม้เพียงเม็ดเดียวขณะที่ตัวเองไม่มีภูมิคุ้มกันเป็นทุนอยู่ก่อน ก็จะติดเช่ื้อไข้หวัดใหญ่ได้โดยไม่ยาก
ประเด็นระยะฟักตัวของโรค
เมื่อได้รับเชื้อมาโดยการสูดเอาฝอยละอองที่มีเชื้อเข้าสู่ปอด เชื้อจะซุ่มฟักตัวอยู่ในร่างกายนาน 18-72 ชั่วโมง ดังนั้นคนที่ถูกเพื่อนไอใส่ หากผ่านไปแล้วสามวันแล้วไม่มีอาการอะไรก็ให้สันนิษฐานว่ารอดตัวได้
ประเด็นระยะแพร่เชื้อต่อไปให้คนอื่น
ความสามารถแพร่เชื้อให้คนอื่นจะต่างกันระหว่างผู้มีภูมิคุ้มกันปกติกับผู้มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง กล่าวคือผู้มีภูมิคุ้มกันปกติจะแพร่เชื้อนี้ได้แทบจะทันทีตั้งแต่ได้รับเชื้อมา คือแพร่เชื้อได้ตั้งแต่ยังไม่มีอาการด้วยซ้ำ (เฉลี่ย 0-24 ชม.ก่อนมีอาการ) และจะสามารถแพร่เชื้อไปได้นาน 5-10 วัน แต่สำหรับคนที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เชื้อโรคจะสิงสู่อยู่ในร่างกายได้นานและมีเวลาแพร่เชื้อต่อไปให้คนอื่นได้นานอีกหลายสัปดาห์ถึงหลายเดือน
ประเด็นอาการป่วย
อาการของโรคไข้หวัดใหญ่คือมีไข้ (สูงได้ถึง 40 องศาซี.) คัดจมูกน้ำมูกไหล เจ็บคอ ไอ ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ ปวดเบ้าตา แสบตา แพ้แสง คลื่นไส้อาเจียน อาการเหล่านี้มักคงอยู่นาน 4-6 วัน แต่เมื่ออาการอื่นๆทุเลาแล้วอาการไอแห้งๆอาจคงอยู่นานถึง 4-6 สัปดาห์
ประเด็นการวินิจฉัยไข้หวัดใหญ่
การวินิจฉัยไข้หวัดใหญ่ทำโดยวิธีดูโหงวเฮ้ง หิ หิ พูดเล่น เอ๊ย..ไม่ใช่ พูดจริง การวินิจฉัยไข้หวัดใหญ่ส่วนใหญ่แพทย์วิินิจฉัยเอาจากอาการ มีส่วนน้อยที่แพทย์ยืนยันการวินิจฉัยโดยเอาสำลีพันปลายไม้กวาดเอาเยื่อเมือกในจมูกหรือในลำคอไปตรวจแล็บหาแอนติเจนของเชื้อ เพราะวุ่นวายยุ่งยาก การเจาะเลือดไปตรวจนับเม็ดเลือดไม่ใช่วิธียืนยันการวินิจฉัย แต่เป็นการช่วยวินิจฉัยทางอ้อมเพราะไข้หวัดใหญ่มักมีเม็ดเลือดขาวต่ำและอาจมีเกล็ดเลือดต่ำด้วย
ประเด็นวิธีรักษา
วิธีรัักษามาตรฐานสำหรับไข้หวัดใหญ่คือการให้นอนพักประมาณ 3 วันและให้การบรรเทาอาการไปตามมีตามเกิด เพราะโรคนี้เป็นโรคเป็นเองหายเอง
การให้กินยาต้านไวรััสเป็นทางเลือกเสริมในการรักษาที่แพทย์อาจจะตัดสินใจเลือกให้ได้ ทั้งนี้หากให้เร็วภายใน 40 ชั่วโมงนับตั้งแต่เริ่มมีอาการก็จะช่วยบรรเทาอาการแรงๆเช่นไข้ ปวดกล้ามเนื้อ เปลี้ยล้า ให้จบลงเร็วขึ้นได้ประมาณหนึ่งวันเมื่อเทียบกับการกินยาหลอก คือกินยาหลอกมีอาการสำคัญอยู่นาน 125 ชั่วโมง กินยาต้านไวรัสมีอาการสำคัญอยู่นาน 100 ชั่วโมง
ยาที่นิยมเลือกใช้กันเป็นตััวแรกคือ Oseltamivir 74 mg วันละ 2 ครั้ืืงนาน 5 วัน หรือ zanamivir แบบสูดดม 10 มก.วันละ 2 ครั้ง นาน 5 วัน หรือ teramivir 600 มก.ฉีดเข้าเส้นตูมเดียวจบ
ยา oseltamivir (Tamiflu) ซึ่งเป็นยายอดนิยมในบ้านเรานั้นข้อมูลในสหรัฐพบว่าเชื้อ H1N1 ดื้อต่อยานี้ 10.9% ความนิยมในการใช้ยานี้ในปัจจุบัน จึงซาไป
ส่วนยาปฏิชีวนะหรือยาแก้อักเสบ (antibiotic) เป็นยาฆ่าเชื้อบักเตรี ไม่มีประโยชน์ในการใช้รักษาโรคไข้หวัดใหญ่เลย และไม่มีีผลในการป้องกันการติดเชื้อบักเตรีแทรกซ้อนแต่อย่างใด จึงไม่ควรใช้
ประเด็นวัคซีนที่ใช้ป้องกันไข้หวัดใหญ่
วัคซีนที่ใช้ทุกวันนี้เป็นวัคซีนชนิดเชื้อเป็น (inactivated influenza vaccine - IIV) หรือ recombinant influenza vaccine (RIV) ซึ่งทำจากไข่ ถ้าแพ้ไข่แค่เบาะๆคือผื่นขึ้นเป็นลมพิษก็ยังให้วัคซีนได้ตามสบาย แต่ถ้าแพ้ระดับความดันเลือดตก จับหืดหรือแพ้จนต้องฉีดยาอะดรีนาลินแก้ คนที่แพ้แบบนั้นการให้วัคซีนควรทำในโรงพยาบาลหรือสถานพยายบาลที่มีความพร้อมรับมือกับการแพ้ระดับรุนแรงครบเครื่องเท่านั้น
ส่วนวัคซีนหยอดจมูกซึ่งเป็นวัคซีนชนิด live attenuated influenza vaccine (LAIV) เมื่อนำออกมาใช้จริงในช่วงปี 2013-16 พบว่าไม่เจ๋งอย่างที่คิด ศูนย์ควบคุมโรค (CDC) จึงแนะนำว่าไม่ควรใช้ในปีนี้
ประเด็นประสิทธิผลของวัคซีน
วัคซีนไข้หวัดใหญ่มีประสิทธิผลในการป้องกันโรค 48% ในปี 2016 หมายความว่าคนได้รับเชื้อแล้ว 100 คน มี 48 คนไม่เป็นโรค
แต่ในปี 2017 นี้หากนับมาถึงเดือนมิย. พบว่ามีประสิทธิผลในการป้องกันโรค 42%
ประเด็นใครบ้างควรฉีดวัคซีน
วงการแพทย์แนะนำว่าทุกคนที่มีอายุหกเดือนขึ้นจนถึงวัยชรา ควรได้รับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ทุกปี โดยฉีดปีละเข็ม แต่หากเป็นเด็กที่ไม่เคยได้วัคซีนมาก่อนควรฉีดสองเข็มห่างกันหนึ่งเดือน
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
บรรณานุกรม
1. Centers for Disease Control and Prevention. Situation Update: Summary of Weekly FluView Report. Updated December 16, 2016. Available at: http://www.cdc.gov/flu/weekly/summary.htm. Accessed December 22, 2016.
2. Budd A, Blanton L, Kniss K, et al. Update: Influenza Activity - United States and Worldwide, May 22-September 10, 2016. MMWR Morb Mortal Wkly Rep. 2016 September 23;65(37):1008-14. PMID: 27657671.
3. Grohskopf LA, Sokolow LZ, Broder KR, et al. Prevention and Control of Seasonal Influenza With Vaccines.MMWR Recomm Rep. 2016 August 26;65(5):1-54. PMID: 27560619
4. Centers for Disease Control and Prevention. Flu Vaccine and People With Egg Allergies. Updated September 2, 2016. Available at: https://www.cdc.gov/flu/protect/vaccine/egg-allergies.htm. Accessed October 10, 2017
5. Centers for Disease Control and Prevention. Influenza Antiviral Drug Resistance. August 5, 2016. Available at: https://www.cdc.gov/flu/about/qa/antiviralresistance.htm. Accessed October 10, 2017