การจัดการโรคเรื้อรัง
เรียนคุณหมอสันต์ที่เคารพ
ดิฉันกำลังดูแลคุณแม่อยู่ ได้พาท่านตรวจสุขภาพมาเมื่อสองสัปดาห์ที่แล้ว มานั่งงง ไม่รู้จะทำอย่างไรต่อ คุณหมอบอกค่าไตสูง คุณแม่เคยทำบอลลูนที่หัวใจมาเมื่อสามปีที่แล้ว เคยมีอาการน้ำตาลในเลือดสูง ปัจจุบันวัดได้ประมาณ 124 ค่ะ นอกจากนั้นยังเคยผ่าตัด สลับเส้นเลือดดำให้เป็นเส้นเลือดแดงตรงน่องซ้าย เพราะตีบและปวดมาก คุณแม่อายุ 78 ปี น้ำหนัก 57 กก สูง 152 ซม ยาที่ทานประจำทุกวันคือ (1.) ยาคุมน้ำตาล วันละ 1 เม็ด ก่อนอาหารเช้า(ยาชื่อ Amaryl 2 mg.) (2.) ยาลดไขมัน Lipitor 20 mg ก่อนนอน 1 เม็ด (3.) ยาป้องกันเลือดอุตัน As Pent M 81 mg 1 เม็ดหลังอาหารเช้า
ปัญหา
1. ความดันโลหิตตัวบน สูงมาตลอดหลัวผ่าตัดบอลลูน ประมาณ 170/70
2. ผลการตรวจสุขภาพค่ะ
FSB_HE=121, BUN=34, Creatinine = 2.9, Uric Acid= 10.5, Cholesterol = 209, Triglyceride=105, HDL Cholestrol-52, LDL-c=119, Alkaline Phosphatase = 95, AST(SGOT)=47, ALT (SGPT)=51,
White Blood Cell (WBC)= 7840, Red Blood Cell (RBC)= 3.74, Hemoglobin (HB) = 11.0, Hematocrit (Hct) =32.8, MCV= 87.8, MCH=29.4, MCHC=33.4, CHCM=33.0, RDW=13.3, Platelet count = 386000
Neutrophill= 60, Lymphocyte=28, Momocyte=7, Eosinophill = 5, RBC Morphology= normochromia, normocytosis
4. ขณะที่ตรวจนี้คุณแม่เป็นแผลเรื้อรังที่เท้าขนาดเล็ก 1.5 ซม x 2 ซม. ที่หลังเท้าด้านขวา เป็นมาสองเดือนแล้ว ไม่หายแผลแห้งมาก บนแผลมีหนังตายดำแข็งปิดไว้ เมื่อวานเลยไปซื้อ Intrasite Gel มาใส่ให้เนื้อตายหลุดลอกออกมา หวังว่าเนื้อดีจะได้ขึ้นมา ปกติใส่ bactoban อย่างเดียวค่ะ อ้อ คุณหมอให้ทาน ยาขยายเส้นเลือดส่วนปลาย pletaal 100 mg 1 เม็ด ก่อนอาหารเช้าเย็น บอกให้ทานไปตลอดค่ะ
5. ตอนนี้คุณแม่เครียดเรื่องแผล เพราะแผลตึง ทำให้เจ็บตึง พร้อมเส้นประสาทที่เท้าก็เจ็บมาก กระตุกนาน ๆ ครั้ง อยากทราบว่าการรักษาแผลโดยใช้ intrasite gel จะช่วยได้ไหม แล้วหากปวดเท้าควรทานยาอะไรดี ตอนนี้บางครั้งต้องพึ่งยายี่ห้อ joice แก้ปวดอักเสบข้อเฉียบพลันอยู่คะ คุณหมอไม่ให้ทาน บอกว่าจะเป็นอันตราย แต่ไม่รู้จะทานอะไร กลุ่ม tamol ก็ทานแล้วอาเจียนค่ะ
6. เรื่องความดันโลหิตคุณหมอให้ยาคุมความดันอยู่เช้าเย็นและก่อนนอน บางคืนก่อนนอนความดันตกเหลือ 130/60 เลยไม่ให้ทานค่ะ ท่านบ่นว่าเดินขาปัด ๆ ไม่ตรงทางเลยกลัวเพราะท่านต้องลุกไปห้องน้ำคืนละ 2-3 ครั้ง ตอนนี้เช้าตื่นขึ้นมาถ้าไม่ทานยาคุมก่อนนอนจะวัดได้ 170-180 / 60-70 หัวใจเต้น 70-80 ค่ะ
7. คุณแม่มีอาการเป็นโรคไตหรือเปล่า เพราะตรวจเมื่อสามปีที่แล้วยังไม่มีปัญหาค่าไตสูง หากเป็นต้องควบคุมอาหารอย่างไร ผักชนิดไหนทานไม่ได้บ้างคะ เขียนมารบกวนคุณหมอยาวมาก แต่อับจนหนทางและสับสนมากไม่รู้จะถามใคร
อยู่ต่างจว.ด้วย ขอให้คุณหมอเป็นที่พึ่งด้วยเถิดค่ะ
ขอบพระคุณอย่างสูง
……………………………………………….
ตอบครับ
จากข้อมูลที่ให้มา สรุปว่าคุณแม่ของคุณตอนนี้เป็นอยู่ 6 โรค เรียงตามลำดับความสำคัญดังนี้
1. โรคไตเรื้อรัง (CRF) ระยะที่ 4 ผมคำนวณค่า GFR ได้ 16.9 แสดงว่าใกล้ถึงจุดต้องล้างไตเต็มที ถ้าค่า GFR ต่ำกว่า 16 ก็เข้าระยะที่ 5 หรือระยะสุดท้าย ซึ่งมักต้องจบด้วยการบำบัดทดแทนไต (ล้างไต)
2. โรคหลอดเลือดส่วนปลายตีบ (PVD) และแผลเรื้อรังที่เท้าจากการขาดเลือด (ischemic ulcer)
3. โรคความดันเลือดสูง (HT) ซึ่งยังคุมความดันไม่ได้
4. โรคหัวใจขาดเลือด (IHD) ซึ่งได้ทำบอลลูนไปครั้งหนึ่งแล้ว
5. โรคเบาหวาน (DM) ซึ่งคุมน้ำตาลในเลือดได้ดี
6. โรคไขมันในเลือดสูง (DLD) ซึ่งยังคุมระดับไขมันในเลือดได้ไม่ดีเท่าที่ควร
ผมจะตอบคำถามของคุณโดยให้คำแนะนำทีละประเด็นดังนี้
1. เอาประเด็นภาพรวมก่อน ปัญหาของคุณแม่ในภาพรวมเป็นปัญหาการจัดการโรคเรื้อรัง คุณต้องเข้าใจก่อนว่าโรคทั้ง 6 โรคนี้ไม่ใช่โรคที่จะรักษาให้หายได้ด้วยยา อย่าเข้าใจชีวิตผิดไป ถ้ายารักษาให้หายได้ป่านนี้มันก็คงไม่กลายมาเป็นโรคเรื้อรังอย่างทุกวันนี้ดอก แผนการจัดการโรคเรื้อรังไม่ใช่การตะบี้ตะบันใช้ยา แต่มีหลักกว้างๆสี่อย่างคือ
1.1 จะปรับวิถีชีวิตอย่างไรให้มีการขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวให้เต็มที่และให้ชีวิตมีคุณภาพ
1.2 จะป้องกันไม่ให้โรคเดินหน้าเป็นมากขึ้น (secondary prevention) อย่างไร ทั้งด้วยโภชนาการ และการลดปัจจัยเสี่ยงของโรค เช่นการลดไขมัน การลดความดันเลือด เป็นต้น
1.3 จะป้องกันไม่ให้เกิดภาวะซึมเศร้าได้อย่างไร
1.4 จะระวังไม่ให้ยาสาระพัดที่สั่งให้โดยหมอสาขาต่างๆหลายคนตีกันได้อย่างไร
2. ประเด็นความดันโลหิต ความดันตัวบน 170 มม.นั้นสูงเกินไปและเป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดจุดจบที่ร้ายแรง เช่นหัวใจวาย อัมพาต อัมพฤกษ์ ไตวาย ดังนั้นอย่างไรเสียก็ต้องจัดการความดันเลือดนี้เสียใหม่ เป้าหมายในคนเป็นโรคไตเรื้อรังเช่นนี้คือความดันตัวบนต้องไม่เกิน 130 มม. การที่ปรับยาแล้วเดินเข้าห้องน้ำแล้วตีนลอยนั้น เป็นไปได้สามสาเหตุ คือ
2.1 ผู้ป่วยไม่ได้ฝึกการขยับลุกนั่งเคลื่อนไหวอย่างนุ่มนวล คือคนกินยาลดความดันหากเคลื่อนไหวพรวดพราดเลือดจะส่งไปสมองไม่ทัน เรียกว่ามีภาวะความดันตกจากการเปลี่ยนท่าร่าง (orthostatic hypotension) ต้องฝึกหัดการเคลื่อนไหวใหม่ให้มีการวอร์มอัพ ให้นุ่มนวล ก่อนจะลุกจากเตียงก็ต้องวอร์มตัวเองถีบขาเหยียดแขนอยู่บนเตียงก่อน แล้วค่อยๆลุกนั่ง วอร์มในท่านั่งอีกสักหน่อย แล้วค่อยๆยืน วอร์มในท่ายืนอีกหน่อยแล้วจึงค่อยๆเดินอย่างสโลวโมชั่นก่อน ไม่ใช่เดินพรวดพราด
2.2 ชีวิตประจำวันของผู้ป่วยมีการขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวน้อย พูดง่ายๆว่าไม่ได้ออกกำลังกาย ระบบไหลเวียนเลือดจึงขาดความยืดหยุ่น
2.3 ยาที่ใช้ไม่เหมาะกับผู้ป่วย ประเด็นนี้เป็นปัญหาน้อยมาก ต้องแก้สองข้อบนให้เด็ดขาดก่อน จึงค่อยมาโทษยา
3. ประเด็นแผลเรื้อรังที่เท้า มีหลักสำคัญดังนี้
3.1 วิธีรักษาทีดีที่สุดคือการให้กล้ามเนื้อน่องและขาช้างนั้นได้ออกกำลังกายอย่างเต็มที่เพื่อให้หลอดเลือดฝอยเปิดมากขึ้น การไหลเวียนเลือดไปปลายขาจึงจะดีขึ้น
3.2 ระวังอุบัติเหตุที่จะก่อให้เกิดแผลใหม่ที่เท้า เช่นการตัดเล็บอย่างปลอดภัย การเลือกรองเท้าไม่ให้กัด และการจัดการที่อยู่อาศัยไม่ให้ลื่นตกหกล้มง่าย
3.3 ทำกายภาพบำบัดตัวเองให้มีการขยับกล้ามเนื้อและผิวหนังรอบแผล ค่อยๆฝืนทำถ้ามีอาการตึง ถ้าไม่ทำยิ่งจะตึงมาก ในที่สุดจะขยับไม่ได้ แต่การทำกายภาพบำบัดจะทำให้การใช้งานขาทำได้คล่องและสบายขึ้น
3.4 ในแง่ของการทำแผล หลักที่ดีที่สุดคือทิ้งไว้อย่าไปยุ่ง อย่าเอาอะไรไปใส่ให้สกปรก ปล่อยให้เนื้อตายสีดำแข็งปิดอยู่อย่างนั้นนะดีแล้ว อย่ามือคันไปแกะออกเป็นอันขาด เท่าที่ข้อมูลทางการแพทย์มีอยู่ขณะนี้ ยังไม่มียากินและยาทาใดๆทำให้แผลที่เกิดจากการขาดเลือดดีขึ้นหรือหายเร็วขึ้น มีแต่ยาผีบอกทั้งยาฝรั่งยาไทย รวมทั้ง
3.4.1 ยาทา Intrasite Gel เป็นเจลน้ำที่ใช้ทา แผลเปิดเพื่อให้ความชื้นกับเนื้อเยื่อแผล (granulation tissue) ขณะที่กำลังหาย แต่สำหรับแผลปิดที่เกิดจากการขาดเลือดซึ่งมีแผ่นดำปิดหน้าอยู่ ยานี้ไม่มีประโยชน์
3.4.2 ยา Bactoban เป็นยาขี้ผึ้งปฏิชีวนะสำหรับฆ่าเชื้อ ไม่มีที่ใช้ในแผลขาดเลือดแบบแห้งๆดำๆซึ่งไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ
3.4.3 ยา cilostazol (Plataal) นั้นเป็นยาต้านเกล็ดเลือดเพื่อป้องกันไม่ให้มีลิ่มเลือดมาอุดหลอดเลือดที่ตีบอยู่แล้ว แต่กรณีคุณแม่ของคุณยาตัวนี้มันจะซ้ำซ้อนกับยา aspirin (Aspent) ที่คุณแม่ได้อยู่แล้ว และยา cilostazol นี้เขาห้ามใช้ในโรคไตเรื้อรัง ผมแนะนำว่าไม่ควรให้คุณแม่ของคุณทานยาตัวนี้ครับ
3.4.4 ยา joice แก้ปวดอักเสบข้อเฉียบพลันที่คุณเล่ามานั้นผมไม่รู้จัก เกิดมาก็เพิ่งเคยได้ยินชื่อจากคุณเนี่ยแหละ ไม่ทราบว่าเป็นยากลุ่มไหน แต่ถ้าเป็นยาแก้ปวดแก้อักเสบในกลุ่ม NSAID ละก็ห้ามกินเด็ดขาด เพราะจะทำให้ไตพังเร็วขึ้น แทนที่จะประคับประคองให้คุณแม่มีชีวิตไปได้โดยไม่ต้องล้างไตกลับกลายจะเป็นการเร่งให้คุณแม่ต้องล้างไตเร็วขึ้น
4. ถามว่าคุณแม่เป็นโรคไตหรือเปล่า โถ.. ตอบว่าเป็นแน่นอนครับ GFR = 16.9 ก็เท่ากับเป็นโรคไตเรื้อรังระยะที่
4 ใกล้ระยะที่ 5 ซึ่งเป็นระยะสุดท้าย จวนเจียนจะต้องล้างไตอยู่แล้ว แต่การดูแลเรื่องโภชนาการและการออกกำลังกายให้ดีจะช่วยยืดเวลาที่จะต้องล้างไตออกไป กรณีของคุณแม่นี้เป็นไปได้ว่าหากดูแลดีอาจจะมีชีวิตอยู่ได้โดยไม่ต้องล้างไตเลยก็ได้ (มีตัวอย่างคนที่เป็นโรคระดับนี้ทำได้มาแล้ว) รายละเอียดของการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังผมเคยเขียนตอบคนอื่นในบล็อกนี้ไปหลายครั้งแล้ว คุณค่อยๆคุ้ยของเก่าหาอ่านเอาได้ครับ
5. ข้อสุดท้าย ตัวคุณเอง คุณต้องศึกษาถึงบทบาทของตัวเองในฐานะผู้ดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง จะได้เข้าใจชีวิตได้ถูกต้องไม่คลาดเคลื่อน ผมเคยเขียนเรื่องนี้ไปแล้วในบล็อกนี้เช่นกัน ยกตัวอย่างข้อแรกคือเป้าหมายหลักของการเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยเรื้อรังคืออะไร คำตอบที่ถูกต้องคือการต้องดูแลตัวเองให้ดีก่อน เมื่อตัวเองแข็งแรงดีแล้ว จึงจะมีพลังไปดูแลคนป่วยเรื้อรังได้ รายละเอียดอื่นๆคุณหาอ่านบทความเก่าๆของผมในบล็อกนี้ดู คุณเป็นลูกกตัญญู แต่ต้องทำให้ถูกวิธีด้วย จึงจะได้ทั้งความสุขในชีวิตของคุณเอง และความสุขในชีวิตบั้นปลายของคุณแม่คุณ
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
ดิฉันกำลังดูแลคุณแม่อยู่ ได้พาท่านตรวจสุขภาพมาเมื่อสองสัปดาห์ที่แล้ว มานั่งงง ไม่รู้จะทำอย่างไรต่อ คุณหมอบอกค่าไตสูง คุณแม่เคยทำบอลลูนที่หัวใจมาเมื่อสามปีที่แล้ว เคยมีอาการน้ำตาลในเลือดสูง ปัจจุบันวัดได้ประมาณ 124 ค่ะ นอกจากนั้นยังเคยผ่าตัด สลับเส้นเลือดดำให้เป็นเส้นเลือดแดงตรงน่องซ้าย เพราะตีบและปวดมาก คุณแม่อายุ 78 ปี น้ำหนัก 57 กก สูง 152 ซม ยาที่ทานประจำทุกวันคือ (1.) ยาคุมน้ำตาล วันละ 1 เม็ด ก่อนอาหารเช้า(ยาชื่อ Amaryl 2 mg.) (2.) ยาลดไขมัน Lipitor 20 mg ก่อนนอน 1 เม็ด (3.) ยาป้องกันเลือดอุตัน As Pent M 81 mg 1 เม็ดหลังอาหารเช้า
ปัญหา
1. ความดันโลหิตตัวบน สูงมาตลอดหลัวผ่าตัดบอลลูน ประมาณ 170/70
2. ผลการตรวจสุขภาพค่ะ
FSB_HE=121, BUN=34, Creatinine = 2.9, Uric Acid= 10.5, Cholesterol = 209, Triglyceride=105, HDL Cholestrol-52, LDL-c=119, Alkaline Phosphatase = 95, AST(SGOT)=47, ALT (SGPT)=51,
White Blood Cell (WBC)= 7840, Red Blood Cell (RBC)= 3.74, Hemoglobin (HB) = 11.0, Hematocrit (Hct) =32.8, MCV= 87.8, MCH=29.4, MCHC=33.4, CHCM=33.0, RDW=13.3, Platelet count = 386000
Neutrophill= 60, Lymphocyte=28, Momocyte=7, Eosinophill = 5, RBC Morphology= normochromia, normocytosis
4. ขณะที่ตรวจนี้คุณแม่เป็นแผลเรื้อรังที่เท้าขนาดเล็ก 1.5 ซม x 2 ซม. ที่หลังเท้าด้านขวา เป็นมาสองเดือนแล้ว ไม่หายแผลแห้งมาก บนแผลมีหนังตายดำแข็งปิดไว้ เมื่อวานเลยไปซื้อ Intrasite Gel มาใส่ให้เนื้อตายหลุดลอกออกมา หวังว่าเนื้อดีจะได้ขึ้นมา ปกติใส่ bactoban อย่างเดียวค่ะ อ้อ คุณหมอให้ทาน ยาขยายเส้นเลือดส่วนปลาย pletaal 100 mg 1 เม็ด ก่อนอาหารเช้าเย็น บอกให้ทานไปตลอดค่ะ
5. ตอนนี้คุณแม่เครียดเรื่องแผล เพราะแผลตึง ทำให้เจ็บตึง พร้อมเส้นประสาทที่เท้าก็เจ็บมาก กระตุกนาน ๆ ครั้ง อยากทราบว่าการรักษาแผลโดยใช้ intrasite gel จะช่วยได้ไหม แล้วหากปวดเท้าควรทานยาอะไรดี ตอนนี้บางครั้งต้องพึ่งยายี่ห้อ joice แก้ปวดอักเสบข้อเฉียบพลันอยู่คะ คุณหมอไม่ให้ทาน บอกว่าจะเป็นอันตราย แต่ไม่รู้จะทานอะไร กลุ่ม tamol ก็ทานแล้วอาเจียนค่ะ
6. เรื่องความดันโลหิตคุณหมอให้ยาคุมความดันอยู่เช้าเย็นและก่อนนอน บางคืนก่อนนอนความดันตกเหลือ 130/60 เลยไม่ให้ทานค่ะ ท่านบ่นว่าเดินขาปัด ๆ ไม่ตรงทางเลยกลัวเพราะท่านต้องลุกไปห้องน้ำคืนละ 2-3 ครั้ง ตอนนี้เช้าตื่นขึ้นมาถ้าไม่ทานยาคุมก่อนนอนจะวัดได้ 170-180 / 60-70 หัวใจเต้น 70-80 ค่ะ
7. คุณแม่มีอาการเป็นโรคไตหรือเปล่า เพราะตรวจเมื่อสามปีที่แล้วยังไม่มีปัญหาค่าไตสูง หากเป็นต้องควบคุมอาหารอย่างไร ผักชนิดไหนทานไม่ได้บ้างคะ เขียนมารบกวนคุณหมอยาวมาก แต่อับจนหนทางและสับสนมากไม่รู้จะถามใคร
อยู่ต่างจว.ด้วย ขอให้คุณหมอเป็นที่พึ่งด้วยเถิดค่ะ
ขอบพระคุณอย่างสูง
……………………………………………….
ตอบครับ
จากข้อมูลที่ให้มา สรุปว่าคุณแม่ของคุณตอนนี้เป็นอยู่ 6 โรค เรียงตามลำดับความสำคัญดังนี้
1. โรคไตเรื้อรัง (CRF) ระยะที่ 4 ผมคำนวณค่า GFR ได้ 16.9 แสดงว่าใกล้ถึงจุดต้องล้างไตเต็มที ถ้าค่า GFR ต่ำกว่า 16 ก็เข้าระยะที่ 5 หรือระยะสุดท้าย ซึ่งมักต้องจบด้วยการบำบัดทดแทนไต (ล้างไต)
2. โรคหลอดเลือดส่วนปลายตีบ (PVD) และแผลเรื้อรังที่เท้าจากการขาดเลือด (ischemic ulcer)
3. โรคความดันเลือดสูง (HT) ซึ่งยังคุมความดันไม่ได้
4. โรคหัวใจขาดเลือด (IHD) ซึ่งได้ทำบอลลูนไปครั้งหนึ่งแล้ว
5. โรคเบาหวาน (DM) ซึ่งคุมน้ำตาลในเลือดได้ดี
6. โรคไขมันในเลือดสูง (DLD) ซึ่งยังคุมระดับไขมันในเลือดได้ไม่ดีเท่าที่ควร
ผมจะตอบคำถามของคุณโดยให้คำแนะนำทีละประเด็นดังนี้
1. เอาประเด็นภาพรวมก่อน ปัญหาของคุณแม่ในภาพรวมเป็นปัญหาการจัดการโรคเรื้อรัง คุณต้องเข้าใจก่อนว่าโรคทั้ง 6 โรคนี้ไม่ใช่โรคที่จะรักษาให้หายได้ด้วยยา อย่าเข้าใจชีวิตผิดไป ถ้ายารักษาให้หายได้ป่านนี้มันก็คงไม่กลายมาเป็นโรคเรื้อรังอย่างทุกวันนี้ดอก แผนการจัดการโรคเรื้อรังไม่ใช่การตะบี้ตะบันใช้ยา แต่มีหลักกว้างๆสี่อย่างคือ
1.1 จะปรับวิถีชีวิตอย่างไรให้มีการขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวให้เต็มที่และให้ชีวิตมีคุณภาพ
1.2 จะป้องกันไม่ให้โรคเดินหน้าเป็นมากขึ้น (secondary prevention) อย่างไร ทั้งด้วยโภชนาการ และการลดปัจจัยเสี่ยงของโรค เช่นการลดไขมัน การลดความดันเลือด เป็นต้น
1.3 จะป้องกันไม่ให้เกิดภาวะซึมเศร้าได้อย่างไร
1.4 จะระวังไม่ให้ยาสาระพัดที่สั่งให้โดยหมอสาขาต่างๆหลายคนตีกันได้อย่างไร
2. ประเด็นความดันโลหิต ความดันตัวบน 170 มม.นั้นสูงเกินไปและเป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดจุดจบที่ร้ายแรง เช่นหัวใจวาย อัมพาต อัมพฤกษ์ ไตวาย ดังนั้นอย่างไรเสียก็ต้องจัดการความดันเลือดนี้เสียใหม่ เป้าหมายในคนเป็นโรคไตเรื้อรังเช่นนี้คือความดันตัวบนต้องไม่เกิน 130 มม. การที่ปรับยาแล้วเดินเข้าห้องน้ำแล้วตีนลอยนั้น เป็นไปได้สามสาเหตุ คือ
2.1 ผู้ป่วยไม่ได้ฝึกการขยับลุกนั่งเคลื่อนไหวอย่างนุ่มนวล คือคนกินยาลดความดันหากเคลื่อนไหวพรวดพราดเลือดจะส่งไปสมองไม่ทัน เรียกว่ามีภาวะความดันตกจากการเปลี่ยนท่าร่าง (orthostatic hypotension) ต้องฝึกหัดการเคลื่อนไหวใหม่ให้มีการวอร์มอัพ ให้นุ่มนวล ก่อนจะลุกจากเตียงก็ต้องวอร์มตัวเองถีบขาเหยียดแขนอยู่บนเตียงก่อน แล้วค่อยๆลุกนั่ง วอร์มในท่านั่งอีกสักหน่อย แล้วค่อยๆยืน วอร์มในท่ายืนอีกหน่อยแล้วจึงค่อยๆเดินอย่างสโลวโมชั่นก่อน ไม่ใช่เดินพรวดพราด
2.2 ชีวิตประจำวันของผู้ป่วยมีการขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวน้อย พูดง่ายๆว่าไม่ได้ออกกำลังกาย ระบบไหลเวียนเลือดจึงขาดความยืดหยุ่น
2.3 ยาที่ใช้ไม่เหมาะกับผู้ป่วย ประเด็นนี้เป็นปัญหาน้อยมาก ต้องแก้สองข้อบนให้เด็ดขาดก่อน จึงค่อยมาโทษยา
3. ประเด็นแผลเรื้อรังที่เท้า มีหลักสำคัญดังนี้
3.1 วิธีรักษาทีดีที่สุดคือการให้กล้ามเนื้อน่องและขาช้างนั้นได้ออกกำลังกายอย่างเต็มที่เพื่อให้หลอดเลือดฝอยเปิดมากขึ้น การไหลเวียนเลือดไปปลายขาจึงจะดีขึ้น
3.2 ระวังอุบัติเหตุที่จะก่อให้เกิดแผลใหม่ที่เท้า เช่นการตัดเล็บอย่างปลอดภัย การเลือกรองเท้าไม่ให้กัด และการจัดการที่อยู่อาศัยไม่ให้ลื่นตกหกล้มง่าย
3.3 ทำกายภาพบำบัดตัวเองให้มีการขยับกล้ามเนื้อและผิวหนังรอบแผล ค่อยๆฝืนทำถ้ามีอาการตึง ถ้าไม่ทำยิ่งจะตึงมาก ในที่สุดจะขยับไม่ได้ แต่การทำกายภาพบำบัดจะทำให้การใช้งานขาทำได้คล่องและสบายขึ้น
3.4 ในแง่ของการทำแผล หลักที่ดีที่สุดคือทิ้งไว้อย่าไปยุ่ง อย่าเอาอะไรไปใส่ให้สกปรก ปล่อยให้เนื้อตายสีดำแข็งปิดอยู่อย่างนั้นนะดีแล้ว อย่ามือคันไปแกะออกเป็นอันขาด เท่าที่ข้อมูลทางการแพทย์มีอยู่ขณะนี้ ยังไม่มียากินและยาทาใดๆทำให้แผลที่เกิดจากการขาดเลือดดีขึ้นหรือหายเร็วขึ้น มีแต่ยาผีบอกทั้งยาฝรั่งยาไทย รวมทั้ง
3.4.1 ยาทา Intrasite Gel เป็นเจลน้ำที่ใช้ทา แผลเปิดเพื่อให้ความชื้นกับเนื้อเยื่อแผล (granulation tissue) ขณะที่กำลังหาย แต่สำหรับแผลปิดที่เกิดจากการขาดเลือดซึ่งมีแผ่นดำปิดหน้าอยู่ ยานี้ไม่มีประโยชน์
3.4.2 ยา Bactoban เป็นยาขี้ผึ้งปฏิชีวนะสำหรับฆ่าเชื้อ ไม่มีที่ใช้ในแผลขาดเลือดแบบแห้งๆดำๆซึ่งไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ
3.4.3 ยา cilostazol (Plataal) นั้นเป็นยาต้านเกล็ดเลือดเพื่อป้องกันไม่ให้มีลิ่มเลือดมาอุดหลอดเลือดที่ตีบอยู่แล้ว แต่กรณีคุณแม่ของคุณยาตัวนี้มันจะซ้ำซ้อนกับยา aspirin (Aspent) ที่คุณแม่ได้อยู่แล้ว และยา cilostazol นี้เขาห้ามใช้ในโรคไตเรื้อรัง ผมแนะนำว่าไม่ควรให้คุณแม่ของคุณทานยาตัวนี้ครับ
3.4.4 ยา joice แก้ปวดอักเสบข้อเฉียบพลันที่คุณเล่ามานั้นผมไม่รู้จัก เกิดมาก็เพิ่งเคยได้ยินชื่อจากคุณเนี่ยแหละ ไม่ทราบว่าเป็นยากลุ่มไหน แต่ถ้าเป็นยาแก้ปวดแก้อักเสบในกลุ่ม NSAID ละก็ห้ามกินเด็ดขาด เพราะจะทำให้ไตพังเร็วขึ้น แทนที่จะประคับประคองให้คุณแม่มีชีวิตไปได้โดยไม่ต้องล้างไตกลับกลายจะเป็นการเร่งให้คุณแม่ต้องล้างไตเร็วขึ้น
4. ถามว่าคุณแม่เป็นโรคไตหรือเปล่า โถ.. ตอบว่าเป็นแน่นอนครับ GFR = 16.9 ก็เท่ากับเป็นโรคไตเรื้อรังระยะที่
4 ใกล้ระยะที่ 5 ซึ่งเป็นระยะสุดท้าย จวนเจียนจะต้องล้างไตอยู่แล้ว แต่การดูแลเรื่องโภชนาการและการออกกำลังกายให้ดีจะช่วยยืดเวลาที่จะต้องล้างไตออกไป กรณีของคุณแม่นี้เป็นไปได้ว่าหากดูแลดีอาจจะมีชีวิตอยู่ได้โดยไม่ต้องล้างไตเลยก็ได้ (มีตัวอย่างคนที่เป็นโรคระดับนี้ทำได้มาแล้ว) รายละเอียดของการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังผมเคยเขียนตอบคนอื่นในบล็อกนี้ไปหลายครั้งแล้ว คุณค่อยๆคุ้ยของเก่าหาอ่านเอาได้ครับ
5. ข้อสุดท้าย ตัวคุณเอง คุณต้องศึกษาถึงบทบาทของตัวเองในฐานะผู้ดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง จะได้เข้าใจชีวิตได้ถูกต้องไม่คลาดเคลื่อน ผมเคยเขียนเรื่องนี้ไปแล้วในบล็อกนี้เช่นกัน ยกตัวอย่างข้อแรกคือเป้าหมายหลักของการเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยเรื้อรังคืออะไร คำตอบที่ถูกต้องคือการต้องดูแลตัวเองให้ดีก่อน เมื่อตัวเองแข็งแรงดีแล้ว จึงจะมีพลังไปดูแลคนป่วยเรื้อรังได้ รายละเอียดอื่นๆคุณหาอ่านบทความเก่าๆของผมในบล็อกนี้ดู คุณเป็นลูกกตัญญู แต่ต้องทำให้ถูกวิธีด้วย จึงจะได้ทั้งความสุขในชีวิตของคุณเอง และความสุขในชีวิตบั้นปลายของคุณแม่คุณ
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์