หมาไปกัดเพื่อนบ้าน แต่ไม่อยากฉีดวัคซีนให้
เรียนคุณหมอสันต์ที่นับถือ
ได้ดูรายการ The symptoms เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา น่าสนใจมากค่ะ ทีนี้พอดีมีเคสเกี่ยวกับสุนัขเหมือนกัน เลยอยากถามเพื่อความมั่นใจน่ะคะ สุนัขที่บ้าน เลี้ยงไว้อยู่ในบ้านตลอดเวลา คือ ไม่ได้ปล่อยให้ออกนอกบ้าน ฉีดวัคซีนครบ ต่อเนื่องทุกปีไม่เคยขาด แต่ก็มีบ้างบางครั้งเวลาเปิดประตูเอารถเข้า-ออก ที่มันเผลอแวบออกไปได้บ้าง แต่ก็ไม่นานเพราะจะรีบตามกลับบ้านกัน ทีนี้วันหนึ่ง มันก็แวบออกจากบ้านเช่นที่เคยเป็น พ่อออกไปตามแล้วค่ะแต่ไม่ทัน มันไปงับขาเด็กชายอายุไม่เกิน 6 ขวบเข้า แผลถลอกไม่ลึก แต่รอบแผลช้ำเพราะหมาเราตัวใหญ่น่ะค่ะ แต่เลือดออกไม่มากเพราะสุนัขไม่ดุ คงไม่ตั้งใจกัด น่าจะประมาณทักทาย อยากเล่นด้วยเท่านั้นแหละ พ่อกับแม่คุยกับยายเด็กแล้วก็เลยตกลงกันพาเด็กน้อยพร้อมกับยายเด็กไปตรวจที่คลินิกใกล้บ้าน แพทย์ทำแผล ซักประวัติแล้วเห็นว่าเป็นสุนัขเลี้ยง ก็เลยทำแผลให้แต่ไม่ได้ฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า พ่อแม่เด็กมารู้เรื่องตอนเย็น ก็ไม่ค่อยพอใจนิดๆ ประมาณว่า ตรวจที่คลินิกไม่ใช่รพ.ที่เคยตรวจ (เด็กก็พูดให้ฟังเหมือนกันว่าปกติไม่สบายมักจะไปที่รพ. ..เหมือนจะรพ.เอกชนย่านนั้น) ไม่ไว้ใจ ก็เลยพาไปตรวจซ้ำที่รพ.คืนนั้น ครั้งนี้แพทย์ฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าให้ เขาก็เลยเอาใบเสร็จมาขอค่ารักษา แม่ก็ให้ไปน่ะค่ะ แม่เขาไม่ติดใจเรื่องค่ารักษาหรอกนะคะ แต่เขาไม่เห็นด้วยที่ต้องฉีดวัคซีน คือ มองว่าในเมื่อไม่มีความเสี่ยงการฉีดวัคซีนไม่น่าจะดี ตอบแม่เขาไปแล้วค่ะว่า ใจเขาใจเรา หมาเราเลี้ยงในบ้านก็จริง แต่มันก็เคยแวบออกนอกบ้านเหมือนกัน ถึงแม้เราจะฉีดวัคซีนให้หมาเราครบ แต่เขาจะเชื่อเราแค่ไหนล่ะ ลูกเขาเขาก็ต้องห่วงเป็นธรรมดา ทีนี้ให้คำตอบเรื่องของผลเสียของการฉีดวัคซีนไม่ได้ คือไม่แน่ใจเหมือนกัน ก็เลยอยากถามว่า
1. ในกรณีที่เป็นสุนัขที่มีประวัติชัดเจนว่า ฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าครบ แล้วก็อยู่ในละแวกบ้านเดียวกัน สามารถที่จะติดตามดูอาการของสุนัขได้ จำเป็นมั้ยที่จะต้องฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า
2. ผลข้างเคียงของการฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้ามีที่ร้ายแรงกว่าแค่อาการไข้หรือไม่คะ คือ คุณแม่เห็นว่าการฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้าทั้งที่ไม่มีความเสี่ยงหรือมีความเสี่ยงน้อยอย่างกรณีนี้น่ะ คิดว่า ไม่น่าจะคุ้มที่จะต้องรับวัคซีนเข้าไป ทำนองว่า วัคซีนก็คือ เชื้อโรค แม้ว่าจะถูกทำให้อ่อนก็เถอะ
อ้อ ลืมบอกไปว่า คุณแม่เป็นอดีตครูสอนวิทยาศาสตร์ที่เกษียณราชการแล้วค่ะ เลยค่อนข้างจะสนใจ สงสัยอะไรมากๆๆๆ หน่อย
ขอโทษที่รบกวนเวลานะคะ และเรียนขอบพระคุณล่วงหน้าสำหรับคำตอบค่ะ
...................................................
ตอบครับ
1. เมื่อถูกหมากัด ไม่ว่าหมานั้นจะฉีดวัคซีนครบแล้ว หรือเลี้ยงขังไว้ดีอย่างไรก็ตาม คนที่ถูกกัดต้องฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าเสมอครับ เป็นมาตรการความปลอดภัยสองทาง (double precautions) ซึ่งถือหลักว่าปลอดภัยไว้ก่อนอันเป็นมาตรฐานสากล
2. องค์การอนามัยโลกไม่แนะนำให้สังเกตอาการสุนัข 10 วันอีกต่อไปแล้ว เพราะมีหลักฐานว่ามีสุนัขบางตัวที่มีเชื้อพิษสุนัขบ้าในน้ำลายแล้วแต่มีชีวิตอยู่ได้เกินสิบวันก็มี การสังเกตสุนัขมีข้อยกเว้นให้ทำได้เฉพาะกรณีที่สุนัขนั้นมีความปลอดภัยสูงมากเท่านั้น กล่าวคือเป็นสุนัขที่เคยได้วัคซีนในปีแรกจากแหล่งวัคซีนที่เชื่อถือได้อย่างน้อยสองครั้ง ห่างกันไม่น้อยกว่า 6 เดือน โดยเข็มแรกต้องได้เมื่ออายุพ้น 3 เดือนไปแล้ว (อายุน้อยกว่านี้ยังสร้างภูมิไม่ขึ้น) และในปีต่อไปต้องได้รับการฉีดวัคซีนกระตุ้นทุกปี
3. เมื่อพูดถึงประเด็นผลข้างเคียงหรือภาวะแทรกซ้อนของการฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้า คนมักจะนึกถึงวัคซีนสมัยโบราณซึ่งทำจากเนื้อเยื่อสมองสัตว์ซึ่งเคยมีภาวะแทรกซ้อนรุนแรงเช่นทำให้เป็นโรคนี้ซะเองหรือทำให้ประสาทอักเสบ แต่วัคซีนแบบนั้นเมืองไทยเลิกใช้ไปตั้งแต่ปีพ.ศ. 2535 แล้ว ปัจจุบันนี้วัคซีนทั้งหมดที่ใช้ในเมืองไทยเป็นวัคซีนชนิดที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเซล ซึ่งมีความปลอดภัยสูงมาก วัคซีนจากการเพาะเลี้ยงเซลนี้ยังแบ่งเป็นชนิดย่อยได้อีก 4 ชนิด คือ
3.1 วัคซีนฮิวแมน ดิพลอยด์ (human diploid rabies vaccine) ผลิตจากเซลล์เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อปอดคน
3.2 วัคซีนพีซีอีซี (PCEC) ผลิตจากเซลล์เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อลูกไก่
3.3 วัคซีนเวโร (vero cell rabies vaccine) ผลิตจากเซลล์เพาะเลี้ยงต่อเนื่องที่ชื่อว่า เซลล์เวโร มีต้นกำเนิดจากไตลิง
3.4 วัคซีนบริสุทธิ์ผลิตจากตัวอ่อนไข่เป็ดฟัก (purified duck emberyo rabies vaccine)
ทั้งสี่ชนิดนี้มีนอกจากปฏิกิริยาเฉพาะที่เล็กน้อยเช่นปวดบวมแดงที่แขนแล้ว มีโอกาสน้อยมากๆ (rare) ที่จะทำให้เกิดไข้ ส่วนที่จะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงถึงประสาทอักเสบนั้นจากสถิติที่ใช้วัคซีนนี้ทั่วโลกหลายล้านคนแล้ว มีรายงานว่ามีผู้เป็นประสาทอักเสบจนเป็นอัมพาตชั่วคราว (Guillain-Barre syndrome) ซึ่งถือเป็นภาวะแทรกซ้อนระดับปานกลางเพียงห้ารายเท่านั้น ห้ารายจากผู้ฉีดหลายล้านรายเป็นอัตราการพบร่วมกันที่ต่ำมาก จนเดี๋ยวนี้วงการแพทย์ก็ยังสรุปไม่ได้ว่ามันเกี่ยวกับตัววัคซีนหรือไม่หรือมาเกิดร่วมกันโดยบังเอิญเฉยๆ ส่วนที่ว่าวัคซีนจะทำให้เป็นอะไรถึงตายนั้นยังไม่เคยมีรายงานไว้เลย
ดังนั้นผมสรุปให้ผู้อ่านเข้าใจง่ายๆนะครับ ว่าวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าปัจจุบันนี้ปลอดภัยมาก โอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนระดับประสาทอักเสบมีน้อยกว่า 0.0001% หรือน้อยกว่าหนึ่งในล้าน ส่วนที่ถึงขั้นทำให้ตายนั้นยังไม่เคยมีรายงานไว้เลย เรียกว่าเทียบกับประโยชน์ที่จะได้จากการป้องกันโรคแล้ว การฉีดวัคซีนคุ้มค่ายิ่งกว่าคุ้ม
นพ. สันต์ ใจยอดศิลป์
บรรณานุกรม
1. WHO (2007b). Rabies vaccines: WHO position paper. Weekly Epidemiological Record, 82:425-435.
2. Ajjan N , Pilet C. Comparative study of the safety and protective value, in pre-exposure use, of rabies vaccine cultivated on human diploid cells (HDCV) and of the new vaccine grown on Vero cells. Vaccine 1989; 7:125-8.
3. Boe E, Nyland H. Guillain-Barré syndrome after vaccination with human diploid cell rabies vaccine. Scand J Infect 1980; 12: 231-2.
ได้ดูรายการ The symptoms เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา น่าสนใจมากค่ะ ทีนี้พอดีมีเคสเกี่ยวกับสุนัขเหมือนกัน เลยอยากถามเพื่อความมั่นใจน่ะคะ สุนัขที่บ้าน เลี้ยงไว้อยู่ในบ้านตลอดเวลา คือ ไม่ได้ปล่อยให้ออกนอกบ้าน ฉีดวัคซีนครบ ต่อเนื่องทุกปีไม่เคยขาด แต่ก็มีบ้างบางครั้งเวลาเปิดประตูเอารถเข้า-ออก ที่มันเผลอแวบออกไปได้บ้าง แต่ก็ไม่นานเพราะจะรีบตามกลับบ้านกัน ทีนี้วันหนึ่ง มันก็แวบออกจากบ้านเช่นที่เคยเป็น พ่อออกไปตามแล้วค่ะแต่ไม่ทัน มันไปงับขาเด็กชายอายุไม่เกิน 6 ขวบเข้า แผลถลอกไม่ลึก แต่รอบแผลช้ำเพราะหมาเราตัวใหญ่น่ะค่ะ แต่เลือดออกไม่มากเพราะสุนัขไม่ดุ คงไม่ตั้งใจกัด น่าจะประมาณทักทาย อยากเล่นด้วยเท่านั้นแหละ พ่อกับแม่คุยกับยายเด็กแล้วก็เลยตกลงกันพาเด็กน้อยพร้อมกับยายเด็กไปตรวจที่คลินิกใกล้บ้าน แพทย์ทำแผล ซักประวัติแล้วเห็นว่าเป็นสุนัขเลี้ยง ก็เลยทำแผลให้แต่ไม่ได้ฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า พ่อแม่เด็กมารู้เรื่องตอนเย็น ก็ไม่ค่อยพอใจนิดๆ ประมาณว่า ตรวจที่คลินิกไม่ใช่รพ.ที่เคยตรวจ (เด็กก็พูดให้ฟังเหมือนกันว่าปกติไม่สบายมักจะไปที่รพ. ..เหมือนจะรพ.เอกชนย่านนั้น) ไม่ไว้ใจ ก็เลยพาไปตรวจซ้ำที่รพ.คืนนั้น ครั้งนี้แพทย์ฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าให้ เขาก็เลยเอาใบเสร็จมาขอค่ารักษา แม่ก็ให้ไปน่ะค่ะ แม่เขาไม่ติดใจเรื่องค่ารักษาหรอกนะคะ แต่เขาไม่เห็นด้วยที่ต้องฉีดวัคซีน คือ มองว่าในเมื่อไม่มีความเสี่ยงการฉีดวัคซีนไม่น่าจะดี ตอบแม่เขาไปแล้วค่ะว่า ใจเขาใจเรา หมาเราเลี้ยงในบ้านก็จริง แต่มันก็เคยแวบออกนอกบ้านเหมือนกัน ถึงแม้เราจะฉีดวัคซีนให้หมาเราครบ แต่เขาจะเชื่อเราแค่ไหนล่ะ ลูกเขาเขาก็ต้องห่วงเป็นธรรมดา ทีนี้ให้คำตอบเรื่องของผลเสียของการฉีดวัคซีนไม่ได้ คือไม่แน่ใจเหมือนกัน ก็เลยอยากถามว่า
1. ในกรณีที่เป็นสุนัขที่มีประวัติชัดเจนว่า ฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าครบ แล้วก็อยู่ในละแวกบ้านเดียวกัน สามารถที่จะติดตามดูอาการของสุนัขได้ จำเป็นมั้ยที่จะต้องฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า
2. ผลข้างเคียงของการฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้ามีที่ร้ายแรงกว่าแค่อาการไข้หรือไม่คะ คือ คุณแม่เห็นว่าการฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้าทั้งที่ไม่มีความเสี่ยงหรือมีความเสี่ยงน้อยอย่างกรณีนี้น่ะ คิดว่า ไม่น่าจะคุ้มที่จะต้องรับวัคซีนเข้าไป ทำนองว่า วัคซีนก็คือ เชื้อโรค แม้ว่าจะถูกทำให้อ่อนก็เถอะ
อ้อ ลืมบอกไปว่า คุณแม่เป็นอดีตครูสอนวิทยาศาสตร์ที่เกษียณราชการแล้วค่ะ เลยค่อนข้างจะสนใจ สงสัยอะไรมากๆๆๆ หน่อย
ขอโทษที่รบกวนเวลานะคะ และเรียนขอบพระคุณล่วงหน้าสำหรับคำตอบค่ะ
...................................................
ตอบครับ
1. เมื่อถูกหมากัด ไม่ว่าหมานั้นจะฉีดวัคซีนครบแล้ว หรือเลี้ยงขังไว้ดีอย่างไรก็ตาม คนที่ถูกกัดต้องฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าเสมอครับ เป็นมาตรการความปลอดภัยสองทาง (double precautions) ซึ่งถือหลักว่าปลอดภัยไว้ก่อนอันเป็นมาตรฐานสากล
2. องค์การอนามัยโลกไม่แนะนำให้สังเกตอาการสุนัข 10 วันอีกต่อไปแล้ว เพราะมีหลักฐานว่ามีสุนัขบางตัวที่มีเชื้อพิษสุนัขบ้าในน้ำลายแล้วแต่มีชีวิตอยู่ได้เกินสิบวันก็มี การสังเกตสุนัขมีข้อยกเว้นให้ทำได้เฉพาะกรณีที่สุนัขนั้นมีความปลอดภัยสูงมากเท่านั้น กล่าวคือเป็นสุนัขที่เคยได้วัคซีนในปีแรกจากแหล่งวัคซีนที่เชื่อถือได้อย่างน้อยสองครั้ง ห่างกันไม่น้อยกว่า 6 เดือน โดยเข็มแรกต้องได้เมื่ออายุพ้น 3 เดือนไปแล้ว (อายุน้อยกว่านี้ยังสร้างภูมิไม่ขึ้น) และในปีต่อไปต้องได้รับการฉีดวัคซีนกระตุ้นทุกปี
3. เมื่อพูดถึงประเด็นผลข้างเคียงหรือภาวะแทรกซ้อนของการฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้า คนมักจะนึกถึงวัคซีนสมัยโบราณซึ่งทำจากเนื้อเยื่อสมองสัตว์ซึ่งเคยมีภาวะแทรกซ้อนรุนแรงเช่นทำให้เป็นโรคนี้ซะเองหรือทำให้ประสาทอักเสบ แต่วัคซีนแบบนั้นเมืองไทยเลิกใช้ไปตั้งแต่ปีพ.ศ. 2535 แล้ว ปัจจุบันนี้วัคซีนทั้งหมดที่ใช้ในเมืองไทยเป็นวัคซีนชนิดที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเซล ซึ่งมีความปลอดภัยสูงมาก วัคซีนจากการเพาะเลี้ยงเซลนี้ยังแบ่งเป็นชนิดย่อยได้อีก 4 ชนิด คือ
3.1 วัคซีนฮิวแมน ดิพลอยด์ (human diploid rabies vaccine) ผลิตจากเซลล์เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อปอดคน
3.2 วัคซีนพีซีอีซี (PCEC) ผลิตจากเซลล์เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อลูกไก่
3.3 วัคซีนเวโร (vero cell rabies vaccine) ผลิตจากเซลล์เพาะเลี้ยงต่อเนื่องที่ชื่อว่า เซลล์เวโร มีต้นกำเนิดจากไตลิง
3.4 วัคซีนบริสุทธิ์ผลิตจากตัวอ่อนไข่เป็ดฟัก (purified duck emberyo rabies vaccine)
ทั้งสี่ชนิดนี้มีนอกจากปฏิกิริยาเฉพาะที่เล็กน้อยเช่นปวดบวมแดงที่แขนแล้ว มีโอกาสน้อยมากๆ (rare) ที่จะทำให้เกิดไข้ ส่วนที่จะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงถึงประสาทอักเสบนั้นจากสถิติที่ใช้วัคซีนนี้ทั่วโลกหลายล้านคนแล้ว มีรายงานว่ามีผู้เป็นประสาทอักเสบจนเป็นอัมพาตชั่วคราว (Guillain-Barre syndrome) ซึ่งถือเป็นภาวะแทรกซ้อนระดับปานกลางเพียงห้ารายเท่านั้น ห้ารายจากผู้ฉีดหลายล้านรายเป็นอัตราการพบร่วมกันที่ต่ำมาก จนเดี๋ยวนี้วงการแพทย์ก็ยังสรุปไม่ได้ว่ามันเกี่ยวกับตัววัคซีนหรือไม่หรือมาเกิดร่วมกันโดยบังเอิญเฉยๆ ส่วนที่ว่าวัคซีนจะทำให้เป็นอะไรถึงตายนั้นยังไม่เคยมีรายงานไว้เลย
ดังนั้นผมสรุปให้ผู้อ่านเข้าใจง่ายๆนะครับ ว่าวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าปัจจุบันนี้ปลอดภัยมาก โอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนระดับประสาทอักเสบมีน้อยกว่า 0.0001% หรือน้อยกว่าหนึ่งในล้าน ส่วนที่ถึงขั้นทำให้ตายนั้นยังไม่เคยมีรายงานไว้เลย เรียกว่าเทียบกับประโยชน์ที่จะได้จากการป้องกันโรคแล้ว การฉีดวัคซีนคุ้มค่ายิ่งกว่าคุ้ม
นพ. สันต์ ใจยอดศิลป์
บรรณานุกรม
1. WHO (2007b). Rabies vaccines: WHO position paper. Weekly Epidemiological Record, 82:425-435.
2. Ajjan N , Pilet C. Comparative study of the safety and protective value, in pre-exposure use, of rabies vaccine cultivated on human diploid cells (HDCV) and of the new vaccine grown on Vero cells. Vaccine 1989; 7:125-8.
3. Boe E, Nyland H. Guillain-Barré syndrome after vaccination with human diploid cell rabies vaccine. Scand J Infect 1980; 12: 231-2.