นมถั่วเหลืองและเต้าหู้
เรียน คุณหมอสันต์ ที่เคารพ
ผมได้อ่านบทความของคุณหมอท่านหนึ่ง ซึ่งแนะนำว่าไม่ให้ดื่มนมถั่วเหลืองและกินเต้าหู้ ผมตัดมาให้ดูบางตอนดังนี้นะครับ
“..อย่างคนที่น้ำย่อยเสียทั้งหลาย ถามไปเถอะ ดื่มนมถั่วเหลืองทุกคน เพราะถั่วเหลืองมีสารต้านน้ำย่อย ทำให้ท้องอืด น้ำย่อยเสีย คือน้ำย่อยน้อยลง เอ็นไซม์ที่จะย่อยอาหารจึงน้อยลง ถ้ากินนมถั่วเหลืองแล้วยังกินเต้าหู้อีก อันตรายแล้ว เพราะจะไปหยุดการสร้างน้ำย่อย แล้วมีฮอร์โมนผู้หญิง เป็นเหตุให้เกิดมะเร็งเต้านมได้ แล้วยังเป็นตัวการทำให้การทำงานของต่อมไทรอยด์ลดลง..”
ผมจึงอยากถามคุณหมอว่าน้ำเต้าหู้หรือนมถั่วเหลืองมีข้อดี-เสียอย่างไร ระหว่างผู้หญิงกับผู้ชาย ใครควรหรือไม่ควรดื่มและอายุตัวมากน้อยเป็นปัจจัยเกี่ยวข้องด้วยหรือเปล่า คนที่มีค่าน้ำตาลในเลือดสูง โรคหัวใจ ธัยรอยด์ ควรดื่ม ไหมครับ
.............................................................
ตอบครับ
1. ถั่วเหลืองย่อยไม่ได้ ทำให้ท้องอืด จริงหรือไม่ ตอบว่า “จริงบางส่วน” คือเรื่องเป็นอย่างนี้ครับ การย่อยโปรตีนไม่มีปัญหา แต่การย่อยคาร์โบไฮเดรตมีปัญหาบ้าง คือถั่วทุกชนิด รวมทั้งถั่วเหลืองด้วย มีคาร์โบไฮเดรตชนิดหนึ่งชื่อว่าโอลิโกแซคคาไรด์ (oligosaccharide) ซึ่งโมเลกุลของมันเป็นแบบสายโซ่ของน้ำตาลซึ่งภาษาเคมีเรียกว่า polysaccharide ชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยน้ำตาลประมาณ 2-10 โมเลกุลมาต่อกัน ตัวโอลิโกแซคคาไรด์นี้น้ำย่อยในกระเพาะอาหารของคนย่อยมันไม่ได้เลย ต้องรอให้แบคทีเรียเช่น Bifidobacteria และ lactobacilli ซึ่งมีอยู่เป็นปกติในลำไส้อยู่แล้วมาช่วยย่อยแทน วิธีการย่อยของบักเตรีก็คือวิธีหมัก (fermentation) ซึ่งทำเกิดแก้สขึ้นในลำไส้ ทำให้ท้องอืดและมีลมปุ๋งปั๋งได้ง่าย นั่นเป็นที่มาของคำพูดของเด็กนักเรียนสมัยก่อนที่ว่า
“ถั่วทุกเม็ดมีสิทธิ์ออกเสียงได้”
ลำไส้ของแต่ละคนก็มีบักเตรีที่ช่วยหมักมากน้อยต่างกัน ทำให้บางคนกินถั่วแล้วสบายมาก แต่บางคนกินแล้วท้องอืด ข้อดีของการหมักโดยบักเตรีในลำไส้ก็คือ (1) ทำให้ร่างกายได้วิตามินบี1 บี2 บี6 บี12 และกรดโฟลิก ซึ่งเรามีโอกาสได้รับตรงจากอาหารน้อย (2) นอกจากนี้การเลี้ยงบักเตรีพวกจอมหมักไว้ในลำไส้มันยังช่วยย่อยสลายโคเลสเตอรอลและป้องกันการดูดซึมโคเลสเตอรอลเข้าสู่กระแสเลือดเป็นการช่วยลดไขมันในเลือดได้ (3) ทำให้ท้องไม่ผูก เพราะการหมักมีการดึงน้ำไว้ในลำไส้ คนญี่ปุ่นซึ่งนิยมกินถั่วเป็นอาหารหลักมีบักเตรีช่วยหมักทั้งสองตระกูลนี้ขายเป็นแคปซูลชื่อ Inforan เมืองไทยก็มีคนเอามาขาย
2. ถั่วเหลืองมีฮอร์โมนผู้หญิงทำให้เป็นมะเร็งเต้านมจริงหรือไม่ ตอบว่า “ไม่จริง” เป็นเพียงการเอาข้อมูลวิทยาศาสตร์สองท่อนมาต่อกันแล้วตีบาลีเป็นบรรทัดเดียวแบบศรีธนญชัย ซึ่งไม่ใช่วิธีการใช้ข้อมูลวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้อง
ข้อมูลท่อนที่ 1. คือ “ถั่วเหลืองมีสาร phytoestrogen ซึ่งออกฤทธิ์แบบฮอร์โมนเพศหญิงจริง”
ข้อมูลท่อนที่ 2. คือ “เอสโตรเจนในรูปของฮอร์โมนเป็นยาเม็ดที่กินเสริมทุกวัน (เช่นในการคุมกำเนิดหรือในการให้ทดแทนหลังหมดประจำเดือน) หากกินนานเกิน 20 ปีขึ้นไปจะทำให้มีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมากขึ้น”
ข้อมูลทั้งสองท่อนนี้เป็นคนละเรื่องซึ่งในทางวิทยาศาสตร์จะเอามาต่อกันเป็นเรื่องเดียวกันไม่ได้
ถ้าจะตั้งคำถามว่า “กินถั่วเหลืองแล้วจะเป็นมะเร็งเต้านมมากขึ้นหรือไม่” คำตอบก็คือ “ไม่” เพราะจนถึงปัจจุบันนี้ไม่มีหลักฐานใดๆบ่งบอกว่ากินถั่วเหลืองแล้วจะเป็นมะเร็งเต้านมมากขึ้น ทั้งๆที่มีข้อมูลเชิงระบาดวิทยาของคนกินถั่วเหลืองมากมายทั้งในจีนและญี่ปุ่น แต่ก็ไม่มีหลักฐานว่าทำให้เป็นมะเร็งเต้านมมากขึ้น
3. ถั่วเหลืองทำให้เป็นไฮโปไทรอยด์จริงหรือไม่ ตอบว่า “ไม่จริง” เรื่องนี้มีอยู่แง่มุมเดียว คือคนเป็นไฮโปไทรอยด์มักได้รับการรักษาโดยการให้กินฮอร์โมนไทรอยด์เป็นเม็ด หากกินยานี้พร้อมกับถั่วเหลือง ถั่วเหลืองจะขัดขวางการดูดซึมฮอร์โมนไทรอยด์ นอกจากถั่วเหลืองแล้วยังมีอาหารอื่นเช่น อาหารที่มีกาก หรือมีธาตุเหล็ก หรือมีแคลเซียมสูง ก็ขัดขวางการดูดซึมฮอร์โมนไทรอยด์เช่นกัน จึงควรกินยานี้ตอนท้องว่างจะดีที่สุด ไม่มีหลักฐานใดๆบ่งชี้ว่าคนเป็นไฮโปไทรอยด์ที่กินยาตอนท้องว่าง จะได้รับผลเสียอื่นใดจากการกินถั่วเหลือง แปลไทยให้เป็นไทยว่าคนเป็นไฮโปไทรอยด์กินถั่วเหลืองได้ครับ
4. ระหว่างผู้หญิงกับผู้ชาย ใครควรหรือไม่ควรดื่มนมถั่วเหลือง ตอบว่าดื่มได้ทั้งคู่แหละครับ ไม่มีเหตุให้ดื่มได้เฉพาะเพศใดเพศหนึ่ง
5. อายุตัวมากน้อยเป็นปัจจัยเกี่ยวข้องด้วยหรือเปล่า ตอบว่าอาจมีผลบ้าง กล่าวคือในคนอายุมาก ปริมาณบักเตรีที่ช่วยย่อยอาหารในลำไส้ด้วยวิธีหมักจะลดจำนวนลง ทำให้วิตามินบี 12 ที่ได้จากอาหารพวกถั่วลดลง จนอาจจะไม่พอหากเป็นผู้ทานอาหารแบบมังสวิรัติ ซึ่งคนเป็นมังสะวิรัติอาจแก้ได้ด้วยการทานวิตามินบี.12 เสริมเมื่ออายุมากขึ้น
6. คนเป็นเบาหวานทานนมถั่วเหลืองได้ไหม ตอบว่าได้สิครับ พวกนักโภชนบำบัดเอาถั่วเหลืองเป็นอาหารรักษาเบาหวานด้วยซ้ำไป เพราะงานวิจัยให้คนกินน้ำตาลพร้อมกับถั่วเหลืองพบว่าร่างกายจะดูดซึมน้ำตาลได้ช้าลงกว่าเมื่อกินพร้อมกับอาหารอื่นที่ไม่ใช่ถั่วเหลือง ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานได้รับน้ำตาลส่วนเกินจากอาหารน้อยลง
7. คนเป็นโรคหัวใจขาดเลือดทานน้ำเต้าหู้ได้ไหม ตอบว่าได้สิครับ ถั่วเหลืองดีต่อคนเป็นโรคหัวใจขาดเลือดในสองประเด็นคือ
7.1 ไขมันในถั่วเหลืองเป็นไขมันไม่อิ่มตัว ซึ่งงานวิจัยในกลุ่มคนจำนวนมากของฮาร์วาร์ดที่ได้ติดตามนานถึง 12 ปีพบว่าคนที่ทานไขมันไม่อิ่มตัวมีอัตราเป็นโรคหัวใจต่ำกว่าคนที่ทานไขมันอิ่มตัว
7.2 ถั่วเหลืองมีกรดอามิโนชนิดไกลซีนและอาร์จินีนสูง ซึ่งมีฤทธิ์ทำให้ระดับอินสุลินในเลือดต่ำลง อันส่งผลต่อไปให้การผลิตโคเลสเตอรอลในร่างกายลดลงด้วย ต่างจากเนื้อสัตว์ซึ่งมีกรดอามิโนชนิดไลซีนสูงซึ่งมีผลเพิ่มระดับโคเลสเตอรอลในร่างกาย ทำให้โปรตีนจากถั่วเหลืองเอื้อต่อการป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด
โดยสรุป หมอคนอื่นเขาจะแนะนำว่าอย่างไรก็ช่างเขาเถอะ แต่ผมแนะนำตามหลักฐานวิทยาศาสตร์ที่มีถึงวันนี้ว่าถั่วเหลืองเป็นของดี คำแนะนำโภชนาการล่าสุดของรัฐบาลอเมริกัน (USDA 2010) จัดให้ถั่วเหลืองอยู่ในกลุ่มของอาหารอุดมคุณค่าทีทุกคนควรบริโภคมากขึ้น เป็นแหล่งโปรตีนราคาถูก มีสารโพลี่แซคคาไรด์ที่ลดการดูดซึมน้ำตาล อีกทั้งการย่อยถั่วเหลืองโดยบักเตรีในลำไส้มีผลให้โคเลสเตอรอลถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือดน้อยลง ไขมันในถั่วเหลืองเป็นไขมันไม่อิ่มตัวซึ่งลดการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ ตัวโปรตีนจากถั่วเหลืองเมื่อเข้าไปในกระแสเลือดแล้วยังมีผลลดการผลิตโคเลสเตอรอลทำให้ป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจได้อีกทางหนึ่ง ดังนั้น ทุกคนไม่ว่าหญิงหรือชาย เด็กหรือผู้ใหญ่ คนดีหรือคนป่วย จึงควรดื่มนมถั่วเหลืองและทานเต้าหู้ ข้อเสียของถั่วเหลืองคืออาจทำให้เกิดแก้สในท้องและต้องผายลมบ่อย ซึ่งเป็นข้อเสียที่จิ๊บจ๊อยมากเมื่อเทียบกับประโยชน์ที่ได้
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
บรรณานุกรม
1. Tsai AC, Vinik AI, Lasichak A, Lo GS. Effects of soy polysaccharide on postprandial plasma glucose, insulin, pancreatic polypeptide, somatostatin, and triglyceride in obese diabetic patients. Am J Cin Nutr 1978;45:596.
2. Sanchez A, Hubbard RW. Plasma amino acid and the insulin/glucagon ratio as an explanation for the dietary protein modulation of atherosclerosis. Med Hypoth.1991;35:324-329.
ผมได้อ่านบทความของคุณหมอท่านหนึ่ง ซึ่งแนะนำว่าไม่ให้ดื่มนมถั่วเหลืองและกินเต้าหู้ ผมตัดมาให้ดูบางตอนดังนี้นะครับ
“..อย่างคนที่น้ำย่อยเสียทั้งหลาย ถามไปเถอะ ดื่มนมถั่วเหลืองทุกคน เพราะถั่วเหลืองมีสารต้านน้ำย่อย ทำให้ท้องอืด น้ำย่อยเสีย คือน้ำย่อยน้อยลง เอ็นไซม์ที่จะย่อยอาหารจึงน้อยลง ถ้ากินนมถั่วเหลืองแล้วยังกินเต้าหู้อีก อันตรายแล้ว เพราะจะไปหยุดการสร้างน้ำย่อย แล้วมีฮอร์โมนผู้หญิง เป็นเหตุให้เกิดมะเร็งเต้านมได้ แล้วยังเป็นตัวการทำให้การทำงานของต่อมไทรอยด์ลดลง..”
ผมจึงอยากถามคุณหมอว่าน้ำเต้าหู้หรือนมถั่วเหลืองมีข้อดี-เสียอย่างไร ระหว่างผู้หญิงกับผู้ชาย ใครควรหรือไม่ควรดื่มและอายุตัวมากน้อยเป็นปัจจัยเกี่ยวข้องด้วยหรือเปล่า คนที่มีค่าน้ำตาลในเลือดสูง โรคหัวใจ ธัยรอยด์ ควรดื่ม ไหมครับ
.............................................................
ตอบครับ
1. ถั่วเหลืองย่อยไม่ได้ ทำให้ท้องอืด จริงหรือไม่ ตอบว่า “จริงบางส่วน” คือเรื่องเป็นอย่างนี้ครับ การย่อยโปรตีนไม่มีปัญหา แต่การย่อยคาร์โบไฮเดรตมีปัญหาบ้าง คือถั่วทุกชนิด รวมทั้งถั่วเหลืองด้วย มีคาร์โบไฮเดรตชนิดหนึ่งชื่อว่าโอลิโกแซคคาไรด์ (oligosaccharide) ซึ่งโมเลกุลของมันเป็นแบบสายโซ่ของน้ำตาลซึ่งภาษาเคมีเรียกว่า polysaccharide ชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยน้ำตาลประมาณ 2-10 โมเลกุลมาต่อกัน ตัวโอลิโกแซคคาไรด์นี้น้ำย่อยในกระเพาะอาหารของคนย่อยมันไม่ได้เลย ต้องรอให้แบคทีเรียเช่น Bifidobacteria และ lactobacilli ซึ่งมีอยู่เป็นปกติในลำไส้อยู่แล้วมาช่วยย่อยแทน วิธีการย่อยของบักเตรีก็คือวิธีหมัก (fermentation) ซึ่งทำเกิดแก้สขึ้นในลำไส้ ทำให้ท้องอืดและมีลมปุ๋งปั๋งได้ง่าย นั่นเป็นที่มาของคำพูดของเด็กนักเรียนสมัยก่อนที่ว่า
“ถั่วทุกเม็ดมีสิทธิ์ออกเสียงได้”
ลำไส้ของแต่ละคนก็มีบักเตรีที่ช่วยหมักมากน้อยต่างกัน ทำให้บางคนกินถั่วแล้วสบายมาก แต่บางคนกินแล้วท้องอืด ข้อดีของการหมักโดยบักเตรีในลำไส้ก็คือ (1) ทำให้ร่างกายได้วิตามินบี1 บี2 บี6 บี12 และกรดโฟลิก ซึ่งเรามีโอกาสได้รับตรงจากอาหารน้อย (2) นอกจากนี้การเลี้ยงบักเตรีพวกจอมหมักไว้ในลำไส้มันยังช่วยย่อยสลายโคเลสเตอรอลและป้องกันการดูดซึมโคเลสเตอรอลเข้าสู่กระแสเลือดเป็นการช่วยลดไขมันในเลือดได้ (3) ทำให้ท้องไม่ผูก เพราะการหมักมีการดึงน้ำไว้ในลำไส้ คนญี่ปุ่นซึ่งนิยมกินถั่วเป็นอาหารหลักมีบักเตรีช่วยหมักทั้งสองตระกูลนี้ขายเป็นแคปซูลชื่อ Inforan เมืองไทยก็มีคนเอามาขาย
2. ถั่วเหลืองมีฮอร์โมนผู้หญิงทำให้เป็นมะเร็งเต้านมจริงหรือไม่ ตอบว่า “ไม่จริง” เป็นเพียงการเอาข้อมูลวิทยาศาสตร์สองท่อนมาต่อกันแล้วตีบาลีเป็นบรรทัดเดียวแบบศรีธนญชัย ซึ่งไม่ใช่วิธีการใช้ข้อมูลวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้อง
ข้อมูลท่อนที่ 1. คือ “ถั่วเหลืองมีสาร phytoestrogen ซึ่งออกฤทธิ์แบบฮอร์โมนเพศหญิงจริง”
ข้อมูลท่อนที่ 2. คือ “เอสโตรเจนในรูปของฮอร์โมนเป็นยาเม็ดที่กินเสริมทุกวัน (เช่นในการคุมกำเนิดหรือในการให้ทดแทนหลังหมดประจำเดือน) หากกินนานเกิน 20 ปีขึ้นไปจะทำให้มีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมากขึ้น”
ข้อมูลทั้งสองท่อนนี้เป็นคนละเรื่องซึ่งในทางวิทยาศาสตร์จะเอามาต่อกันเป็นเรื่องเดียวกันไม่ได้
ถ้าจะตั้งคำถามว่า “กินถั่วเหลืองแล้วจะเป็นมะเร็งเต้านมมากขึ้นหรือไม่” คำตอบก็คือ “ไม่” เพราะจนถึงปัจจุบันนี้ไม่มีหลักฐานใดๆบ่งบอกว่ากินถั่วเหลืองแล้วจะเป็นมะเร็งเต้านมมากขึ้น ทั้งๆที่มีข้อมูลเชิงระบาดวิทยาของคนกินถั่วเหลืองมากมายทั้งในจีนและญี่ปุ่น แต่ก็ไม่มีหลักฐานว่าทำให้เป็นมะเร็งเต้านมมากขึ้น
3. ถั่วเหลืองทำให้เป็นไฮโปไทรอยด์จริงหรือไม่ ตอบว่า “ไม่จริง” เรื่องนี้มีอยู่แง่มุมเดียว คือคนเป็นไฮโปไทรอยด์มักได้รับการรักษาโดยการให้กินฮอร์โมนไทรอยด์เป็นเม็ด หากกินยานี้พร้อมกับถั่วเหลือง ถั่วเหลืองจะขัดขวางการดูดซึมฮอร์โมนไทรอยด์ นอกจากถั่วเหลืองแล้วยังมีอาหารอื่นเช่น อาหารที่มีกาก หรือมีธาตุเหล็ก หรือมีแคลเซียมสูง ก็ขัดขวางการดูดซึมฮอร์โมนไทรอยด์เช่นกัน จึงควรกินยานี้ตอนท้องว่างจะดีที่สุด ไม่มีหลักฐานใดๆบ่งชี้ว่าคนเป็นไฮโปไทรอยด์ที่กินยาตอนท้องว่าง จะได้รับผลเสียอื่นใดจากการกินถั่วเหลือง แปลไทยให้เป็นไทยว่าคนเป็นไฮโปไทรอยด์กินถั่วเหลืองได้ครับ
4. ระหว่างผู้หญิงกับผู้ชาย ใครควรหรือไม่ควรดื่มนมถั่วเหลือง ตอบว่าดื่มได้ทั้งคู่แหละครับ ไม่มีเหตุให้ดื่มได้เฉพาะเพศใดเพศหนึ่ง
5. อายุตัวมากน้อยเป็นปัจจัยเกี่ยวข้องด้วยหรือเปล่า ตอบว่าอาจมีผลบ้าง กล่าวคือในคนอายุมาก ปริมาณบักเตรีที่ช่วยย่อยอาหารในลำไส้ด้วยวิธีหมักจะลดจำนวนลง ทำให้วิตามินบี 12 ที่ได้จากอาหารพวกถั่วลดลง จนอาจจะไม่พอหากเป็นผู้ทานอาหารแบบมังสวิรัติ ซึ่งคนเป็นมังสะวิรัติอาจแก้ได้ด้วยการทานวิตามินบี.12 เสริมเมื่ออายุมากขึ้น
6. คนเป็นเบาหวานทานนมถั่วเหลืองได้ไหม ตอบว่าได้สิครับ พวกนักโภชนบำบัดเอาถั่วเหลืองเป็นอาหารรักษาเบาหวานด้วยซ้ำไป เพราะงานวิจัยให้คนกินน้ำตาลพร้อมกับถั่วเหลืองพบว่าร่างกายจะดูดซึมน้ำตาลได้ช้าลงกว่าเมื่อกินพร้อมกับอาหารอื่นที่ไม่ใช่ถั่วเหลือง ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานได้รับน้ำตาลส่วนเกินจากอาหารน้อยลง
7. คนเป็นโรคหัวใจขาดเลือดทานน้ำเต้าหู้ได้ไหม ตอบว่าได้สิครับ ถั่วเหลืองดีต่อคนเป็นโรคหัวใจขาดเลือดในสองประเด็นคือ
7.1 ไขมันในถั่วเหลืองเป็นไขมันไม่อิ่มตัว ซึ่งงานวิจัยในกลุ่มคนจำนวนมากของฮาร์วาร์ดที่ได้ติดตามนานถึง 12 ปีพบว่าคนที่ทานไขมันไม่อิ่มตัวมีอัตราเป็นโรคหัวใจต่ำกว่าคนที่ทานไขมันอิ่มตัว
7.2 ถั่วเหลืองมีกรดอามิโนชนิดไกลซีนและอาร์จินีนสูง ซึ่งมีฤทธิ์ทำให้ระดับอินสุลินในเลือดต่ำลง อันส่งผลต่อไปให้การผลิตโคเลสเตอรอลในร่างกายลดลงด้วย ต่างจากเนื้อสัตว์ซึ่งมีกรดอามิโนชนิดไลซีนสูงซึ่งมีผลเพิ่มระดับโคเลสเตอรอลในร่างกาย ทำให้โปรตีนจากถั่วเหลืองเอื้อต่อการป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด
โดยสรุป หมอคนอื่นเขาจะแนะนำว่าอย่างไรก็ช่างเขาเถอะ แต่ผมแนะนำตามหลักฐานวิทยาศาสตร์ที่มีถึงวันนี้ว่าถั่วเหลืองเป็นของดี คำแนะนำโภชนาการล่าสุดของรัฐบาลอเมริกัน (USDA 2010) จัดให้ถั่วเหลืองอยู่ในกลุ่มของอาหารอุดมคุณค่าทีทุกคนควรบริโภคมากขึ้น เป็นแหล่งโปรตีนราคาถูก มีสารโพลี่แซคคาไรด์ที่ลดการดูดซึมน้ำตาล อีกทั้งการย่อยถั่วเหลืองโดยบักเตรีในลำไส้มีผลให้โคเลสเตอรอลถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือดน้อยลง ไขมันในถั่วเหลืองเป็นไขมันไม่อิ่มตัวซึ่งลดการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ ตัวโปรตีนจากถั่วเหลืองเมื่อเข้าไปในกระแสเลือดแล้วยังมีผลลดการผลิตโคเลสเตอรอลทำให้ป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจได้อีกทางหนึ่ง ดังนั้น ทุกคนไม่ว่าหญิงหรือชาย เด็กหรือผู้ใหญ่ คนดีหรือคนป่วย จึงควรดื่มนมถั่วเหลืองและทานเต้าหู้ ข้อเสียของถั่วเหลืองคืออาจทำให้เกิดแก้สในท้องและต้องผายลมบ่อย ซึ่งเป็นข้อเสียที่จิ๊บจ๊อยมากเมื่อเทียบกับประโยชน์ที่ได้
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
บรรณานุกรม
1. Tsai AC, Vinik AI, Lasichak A, Lo GS. Effects of soy polysaccharide on postprandial plasma glucose, insulin, pancreatic polypeptide, somatostatin, and triglyceride in obese diabetic patients. Am J Cin Nutr 1978;45:596.
2. Sanchez A, Hubbard RW. Plasma amino acid and the insulin/glucagon ratio as an explanation for the dietary protein modulation of atherosclerosis. Med Hypoth.1991;35:324-329.