โปรแกรมฟื้นฟูสุขภาพหลังป่วย (Active and Goal-oriented Rehabilitation Program - AGRP)

คอนเซ็พท์

ให้ผู้อยู่ในระยะหลังการเจ็บป่วยระดับหนัก แต่จบขั้นตอนการรักษาในโรงพยาบาลแล้ว ได้มาฟื้นฟูร่างกายและจิตใจให้กลับมามีความพร้อมที่จะใช้ชีวิตปกติต่อไปได้ โดยใช้เวลาหลายสัปดาห์หรือหลายเดือนหากจำเป็น ใช้แนวทางฟื้นฟูตัวเองอย่างจริงจังและมีเป้าหมาย (active and goal oriented rehabilitation) ด้วยแนวทางการผสมผสาน (1) การออกกำลังกายฟื้นฟูและฝึกกล้ามเนื้อ (2) โภชนาการที่มีพืชเป็นหลักแบบหลากหลาย (3) การฟื้นฟูจิตใจด้วยการผสานโยคะ ไทชิ สมาธิ และการวางความคิด (4) การบำบัดทางเลือกแบบแพทย์แผนไทยและอายุรเวดะแบบอินเดีย (5) การทำอาชีวะบำบัดเพื่อเตรียมความพร้อมในการกลับไปทำงานและใช้ชีวิต

โปรแกรม AGRP เหมาะสำหรับใครบ้าง

  1. ผู้ป่วยหลังเกิดอัมพาตเฉียบพลัน ที่จบการรักษาในโรงพยาบาลและกลับมาบ้านแล้วแต่ต้องการฟื้นฟูตัวเองแบบเข้มข้น
  2. ผู้ป่วยหลังผ่าตัดขนาดใหญ่ เช่นผ่าตัดหัวใจ ทำบอลลูนใส่ขดลวด ผ่าตัดกระดูก ที่จบการรักษาในโรงพยาบาลและกลับบ้านแล้วแต่ต้องการฟื้นฟูตัวเองเต็มกำลัง
  3. ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่เป็นโรคที่พลิกผันได้ด้วยตนเอง เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคความดันเลือดสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคอ้วน
  4. ผู้สูงอายุที่มีปัญหาอ่อนเปลี้ยไร้เรี่ยวแรง (Frailty syndrome) ที่ประสงค์จะเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรงเพื่อให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น
  5. คนทั่วไปที่ประสงค์จะปลีกมาตัวฟูมฟักดูแลสุขภาพตนเองกับธรรมชาติสักระยะหนึ่ง

โปรแกรม AGRP ไม่เหมาะสำหรับใครบ้าง

  1. ไม่เหมาะกับผู้ป่วยหรือผู้สูงวัยที่เป็นกลุ่มต้องพึ่งพา (dependent) ยกเว้นกรณีที่มีผู้ดูแล (care giver) ประจำตัวมาด้วย เพราะ AGRP เป็นโปรแกรมเฉพาะช่วงกลางวัน ช่วงกลางคืนต้องอยู่เองโดยไม่มีใครมาดูแล
  2. ไม่เหมาะกับผู้ป่วยระยะสุดท้าย (end of life) เพราะ AGRP มุ่งฟื้นฟูผู้ที่มีศักยภาพที่จะกลับไปใช้ชีวิตปกติอย่างมีคุณภาพได้ ไม่ได้มุ่งส่งเสริมคุณภาพชีวิตในระยะสุดท้ายซึ่งเป็นกิจกรรมที่แตกต่างกัน
  3. ไม่เหมาะผู้ป่วยโรคติดต่อหรือโรคติดเชื้อ เพราะไม่มีระบบรักษาโรคติดเชื้อ
  4. ไม่เหมาะกับผู้ที่ทนความเหงาไม่ได้ เพราะแนวทางของ AGRP คือมุ่งมั่นฟื้นฟูตัวเองจนเป็นเอกเทศไม่ต้องพึ่งใคร ต้องฝึกอยู่กับตัวเองแบบปลีกวิเวก โดยพยายามไม่คลุกคลีกับใคร

โปรแกรม AGRP ไม่ใช่กรณีต่อไปนี้

  1. ไม่ใช่สถานพยาบาลชนิดรับผู้ป่วยไว้ค้างคืน แต่เป็นโปรแกรมฝึกสอนให้ผู้ป่วยดูแลตัวเองในบรรยากาศของบ้าน โดยจัดที่พักให้เช่นเดียวกับผู้เข้าฝึกอบรมในโปรแกรมสุขภาพอื่นๆ การฝึกอบรมทำโดยทีมงานที่ประกอบด้วยแพทย์ พยาบาล แพทย์แผนไทย ผู้ช่วยแพทย์ ครูสอนออกกำลังกาย และนักกายภาพบำบัดรับเชิญ โดยให้การฝึกอบรมและช่วยฟื้นฟูเฉพาะเวลากลางวัน นอกเวลาผู้เข้ารับการฟื้นฟูต้องอยู่ด้วยตนเองในที่พักสำหรับผู้เข้ารับการฝึกอบรมในโปรแกรมต่างๆของเวลเนสวีแคร์
  2. ไม่ใช่บ้านพักคนชรา โปรแกรมฟื้นฟูมีระยะเวลาจำกัดและมีเป้าหมายเฉพาะกิจสำหรับผู้รับการฟื้นฟูแต่ละคน ไม่ใช่บ้านพักระยะยาวที่จะมาอยู่ต่อเนื่องไปตลอดเป็นการถาวร
  3. ไม่ใช่สถานดูแลผู้ป่วยกลุ่มต้องพึ่งพา (nursing home) เวลเนสวีแคร์เป็นสถานฝึกอบรมด้านสุขภาพ ไม่ใช่สถานพยาบาล จึงไม่สามารถรับดูแลผู้ป่วยกลุ่มต้องพึ่งพาในช่วงนอกเวลาทำการ (กลางคืน) ได้ เว้นเสียแต่จะมีผู้ดูแล (care giver) ส่วนตัวมาเองและดูแลกันเองเหมือนอยู่ที่บ้านตนเอง

ข้อด้อยของโปรแกรม AGRP

  1. ทีมงานแพทย์พยาบาลรับผิดชอบให้การฝึกสอนและดูแลผู้มารับการฟื้นฟูเฉพาะช่วงเวลาทำการของศูนย์ (กลางวัน) เท่านั้น นอกเวลาทำการผู้มารับการฟื้นฟูที่เข้าพักในที่พักที่เวลเนสวีแคร์จัดให้สำหรับผู้เข้าฝึกอบรมทุกโปรแกรมต้องรับผิดชอบสุขภาพและความเป็นอยู่ของตัวเองเสมือนอยู่ที่บ้านโดยไม่มีแพทย์หรือพยาบาลอยู่ดูแลประจำ (ยกเว้นกรณีจ้างผู้ดูแลส่วนตัว) ในกรณีมีเหตุฉุกเฉินทางการแพทย์เกิดขึ้นในระหว่างกลางคืน เวลเนสวีแคร์จะช่วยประสานงานให้ได้รับบริการของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติและของรพ.มวกเหล็ก เวลเนสวีแคร์เป็นศูนย์ฝึกอบรมด้านสุขภาพไม่ใช่สถานพยาบาล จึงไม่มีห้องฉุกเฉินของตัวเอง และไม่มีแพทย์หรือพยาบาลอยู่ประจำตลอดเวลา
  2. ผู้เข้ามารับการฟื้นฟูจะได้พบกับแพทย์ผู้เป็นหัวหน้าทีมฟื้นฟูเฉพาะครั้งแรกหนึ่งครั้งเพื่อประเมินและวางแผนการฟื้นฟู หลังจากนั้นแพทย์จะมาติดตามดูผลการฟื้นฟูเป็นครั้งคราวตามความจำเป็น ส่วนใหญ่ประมาณสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ในระหว่างการฟื้นฟูจะมีพยาบาลและผู้ดูแล (caregiver) คอยแนะนำดูแลในเวลาทำการทุกวัน แต่จะไม่มีแพทย์มาตรวจเยี่ยมทุกวัน

ข้อดีของโปรแกรม AGRP

  1. มุ่งฟื้นฟูร่างกายอย่างหวังผล (goal-oriented) ด้วยวิธีกระตุ้นให้ผู้มารับการฟื้นฟูลงมือทำด้วยตัวเอง (active)
  2. มองการฟื้นฟูร่างกายแบบองค์รวม ทั้งการออกกำลังกาย อาหาร และการฟื้นฟูจิตใจ ในบรรยากาศแบบบ้านและแบบธรรมชาติ
  3. ใช้ประโยชน์จากการบำบัดทางเลือกของแพทย์แผนไทยและอายุรเวดะแบบอินเดีย
  4. ใช้ประโยชน์จากธรรมชาติเช่น ต้นหมากรากไม้ แสงแดด ดิน น้ำ ไฟ และอากาศบริสุทธิ์ ช่วยในการฟื้นฟูร่างกาย
  5. การฟื้นฟูร่างกายสามารถทำคู่ขนานไปพร้อมกับการรักษาโรคด้วยยาที่ได้จากโรงพยาบาลในลักษณะเสริมซึ่งกันและกันได้

ค่าลงทะเบียนเข้าโปรแกรม AGRP

สัปดาห์ละ 20,000 บาท รวมโปรแกรมการฝึก อาหาร (มังสวิรัติแบบมีไข่) สามมื้อ และที่พักหนึ่งห้อง การบำบัดนวดน้ำมันแบบอายุรเวดะหนึ่งครั้ง การนวดบำบัดแบบแพทย์แผนไทยหนึ่งครั้ง

ในกรณีที่นำผู้ดูแล (care giver) ส่วนตัวมาด้วย หากพักห้องเดียวกันเก็บเงินเพิ่มวันละ 500 บาท แต่หากพักห้องแยกออกไปต้องจ่ายค่าห้องเหมือนผู้มาพักค้างคืนทั่วไป (ราคาเฉพาะกาลถึง 31 สค. 64 คือวันละ 1000 บาทพร้อมอาหารสามมื้อ)

วิธีลงทะเบียนเข้าโปรแกรม AGRP

โทรศัพท์สมัครลงทะเบียนกับพยาบาลผู้ดูแลโครงการ คุณศุภรัตน์ (โอ๋) เบอร์​โทร 065-586-2660, หรือ 0937095482 หรือไลน์​ไอดี 0655862660 หรืออีเมล์​totenmophph@gmail.com

เวลเนสวีแคร์สงวนสิทธิ์จะรับเฉพาะผู้สมัครที่แพทย์ได้ประเมินจากข้อมูลเบื้องต้นแล้วเห็นว่าจะได้ประโยชน์จากโปรแกรมอย่างแท้จริงเท่านั้น ในกรณีที่มีผู้รอคิวเข้าโปรแกรมหลายคน จะให้สิทธิ์ผู้จองก่อนได้ก่อน ในกรณีที่ผู้ที่กำลังฟื้นฟูอยู่ขยายเวลาการฟื้นฟูออกไป ท่านที่รอคิวก็จะต้องยืดเวลารอต่อไปอีกด้วย

อนึ่ง เวลเนสวีแคร์สงวนสิทธิ์ที่จะลัดคิวให้ผู้มีความต้องการเร่งด่วนให้ได้เข้ารับการฟื้นฟูก่อน โดยถือว่าผู้ที่เพิ่งเกิดอัมพาตเฉียบพลัน หรือผู้เพิ่งผ่านอุบัติเหตุครั้งใหญ่ หรือเพิ่งผ่านการผ่าตัดครั้งใหญ่มาหมาดๆ เป็นกรณีเร่งด่วน

นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เจ็ดใครหนอ

สอนวิธีแปลผลเคมีของเลือด

กินคีโตไข่ต้มไก่ต้มทุกวันแล้วหลอดเลือดหัวใจตีบ

ความแก่..เหมือนหมาถูกต้อนเข้ามุมให้จนตรอก

ชีวิตเมื่อตายไปแล้ว

เปลี่ยนอาหาร ปั่นจักรยาน น้ำตาลลด ความดันลด แต่ไขมันทำไมไม่ลด

ท่านอายุเก้าสิบแล้วยังไม่รู้ แล้วท่านจะรู้มันไปทำพรื้อละครับ

สิ่งที่ขาดหายไปจากชีวิตคนเราคือความเบิกบาน (Joy)

อายุ 70 ปีถูกคนในบ้านไล่ให้ไปฉีดวัคซีนไข้เลือดออก

มะเร็งต่อมลูกหมากแพร่กระจายไปกระดูกขาแล้ว จะไปต่อไงดี