ผลกระทบจากการเผาถ่านหินเพื่อผลิตไฟฟ้าริมพื้นที่เกษตรกรรม
เรียนคุณหมอเบิร์ด (ผอ.รพ.มวกเหล็ก) ที่นับถือ
ขอบพระคุณคุณหมอมากที่แวะมาเยี่ยม และผมได้รับทราบและเข้าใจความวิตกกังวลของคุณหมอเรื่องผลกระทบของการที่บริษัททีพีไอ.จะขออนุมัติจากรัฐบาลขยายกำลังผลิตไฟฟ้าอีก 150 เมกาวัตต์โดยนำถ่านหินเข้ามาเป็นเชื้อเพลิงเพื่อทำการผลิตไฟฟ้าส่วนขยายนี้ที่โรงปูนทีพีไอ. ในรูปของเชื้อเพลิงร่วมผลิตกับเชื้อเพลิงขยะ (Refuse Derived Fuel - RDF) โดยมีการสลับใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงตั้งแต่ 0-100% และผมได้ศึกษาข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานที่คุณหมอทิ้งไว้ให้ผมแล้ว ผมมีความเห็นดังนี้
ในแง่ของผลกระทบจากการเผาถ่านหินซับบิทูมินัสที่ทางบริษัททีพีไอ.จะใช้ในโครงการขยายกำลังผลิตไฟฟ้า 150 เมกาวัตต์นั้น หากไม่นับภาวะฝนกรดที่อาจจะก่อปัญหากับงานเกษตรกรรมในพื้นที่ของมวกเหล็กแล้ว สิ่งที่จะเป็นปัญหาถาวรเรื้อรังไปในระยะยาวด้านสุขภาพของผู้คนคือการตกค้างของโลหะหนักต่างๆ
ผมดูจากผลการศึกษาของบริษัทที่ปรึกษา ซึ่งเปิดเผยโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ระบุว่าไอเสียที่พ่นออกมาจากปากปล่องในระหว่างผลิตด้วยพลังความร้อนจากถ่านหินซับบิทูมินัส 100% จะมีมลภาวะออกมาจากปากปล่อง เช่น คือซัลเฟอร์ไดออกไซด์ 80 พีพีเอ็ม. สารกลุ่มไนโตรเจนไดออกไซด์ 90 พีพีเอ็ม. เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีโลหะหนักที่จะถูกปล่อยออกมาทางปากปล่องอีก ผมดูผลการวิเคราะห์ขี้เถ้าที่เป็นผลจากการเผาถ่านหินบิทูมินัสที่จะถูกพ่นออกมาทางปากปล่องซึ่งทำโดยห้องแล็บของทีพีไอ.แล้วมีโลหะหนักอยู่ถึง 17 ชนิด รวมทั้งโลหะหนักอันตรายเช่น เงิน สารหนู แบเรียม แคดเมียม โครเมียม ทองแดง ปรอท ตะกั่ว แมงกานีส นิกเกิล ดีบุก พลวง เซเลเนียม ไททาเนียม ทาลเลียม แวนาเดียม สังกะสี เป็นต้น โลหะหนักเหล่านี้เมื่อพ่นออกมาแล้วท้ายที่สุดก็จะตกลงมาบนดิน ลงไปในแหล่งน้ำ เข้าไปสะสมในพืช ถูกกินไปโดยสัตว์ ไปสะสมในเนื้อสัตว์และในนม ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์หลักของพื้นที่แถบนี้
ในแง่ของพื้นที่ที่จะถูกกระทบ การกำหนดพื้นที่รอบไว้เป็นรัศมี 3 หรือ 5 กม.นั้นคงเพื่อความสะดวกในการรับฟังความเห็นมากกว่า แต่การกระจายตัวของมลภาวะจริงๆนั้นไม่เกี่ยวกับรัศมี แต่เกี่ยวกับปัจจัยแวดล้อมอื่นๆซึ่งในรายงานไม่เห็นได้ทำการศึกษาไว้ เนื่องจากปากปล่องที่ปล่อยควันทิ้งไปบนท้องฟ้ามีความสูงจากพื้นดิน 100 เมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 เมตร ควันที่ปล่อยออกมาจะไปตกที่ไหนอย่างน้อยก็มีปัจจัยกำหนดสามกรณี ดังนี้
1. ในสภาวะที่ลมสงบ มลภาวะอาจจะกระจายตัวเป็นความเข้มข้นตามระยะทางแนวราบจากปล่องแต่จะจำกัดอยู่เกือบเฉพาะในพื้นที่ในหุบเขาและร่องเขาที่ถนนมิตรภาพวิ่งผ่าน และอีกร่องหนึ่งที่ทางรถไฟสายอิสานช่วงสถานีผาเสด็จถึงสถานีหินลับ เพราะหุบเขาและร่องเขามีความสูงของสันเขาเฉลี่ยจากระดับฐานปล่อง 150 - 300 เมตรเป็นตัวกั้นไว้ (พิกัดของปล่องควันอยู่ที่ 728300X, 1619379Y) ชุมชนที่จะได้รับมลภาวะโดยตรงในขณะลมสงบคือบริเวณของบริษัททีพีไอ.เอง บ้านซับบอน บ้านหินลับ บ้านอ่างหิน บ้านไทรงาม และเขตเทศบาลทับกวางซึ่งอยู่ในร่องเขาด้วย
2. ในฤดูหนาว (ตค. - เมย.) ซึ่งลมหนาวจากประเทศจีน (ตะวันออกเฉียงเหนือ)จะพัดผ่านจุดนี้ด้วยความเร็ว 10-30 กม./ชม. ประกอบกับความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ มลภาวะอาจจะถูกพัดพาไปกระจายไปทั่วเขตเทศบาลแก่งคอยและพื้นที่รอบๆซึ่งรวมถึงรพช.แก่งคอยด้วย และจำนวนหนึ่งในปริมาณที่เจือจางจะไปได้ไกลถึงสระบุรี เพราะทิศทางที่ลมพัดไปเป็นที่โล่งและลาดลงเขา ทำให้พัดไปได้ไกล
3. ในช่วงลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดผ่านจุดนี้ (พค.-กย.) ด้วยความเร็วประมาณ 1 -10 กม.ต่อชม. มลภาวะจากจุดนี้อาจจะกระจายไปทั่วบริเวณเขตเทศบาลมวกเหล็กและพื้นที่เกษตรกรรมรอบๆซึ่งรวมถึงรพช.มวกเหล็กและโรงเรียนนายเรืออากาศด้วย ในระหว่างลมพัดแรง จะกระจายไปได้ไกลถึงเขตเกษตรกรรมของอ.ปากช่องและบางส่วนของเขาใหญ่
กล่าวโดยสรุป การเผาถ่านหินในพื้นที่เกษตรกรรมและในชุมชนที่มีคนอยู่อาศัยนั้น ย่อมจะมีปัญหากระทบต่อสุขภาพของผู้คนอย่างแน่นอนในระยะยาวจากการสะสมของโลหะหนักในอาหารและในอากาศ นอกจากจะกระทบต่อผู้บริโภคนมแล้ว ยังจะกระทบต่องานอาชีพของเกษตรกรเลี้ยงโคนมหากโลหะหนักไปปรากฎในนมที่ผลิตจากมวกเหล็ก ผลกระทบนี้จะโผล่มาให้เห็นก็ในอีกนานหลายสิบปีข้างหน้า ผมเสนอว่าคุณหมอในฐานะผู้อำนวยการของโรงพยาบาลมวกเหล็กซึ่งรับผิดชอบต่อสุขภาพของผู้คนในมวกเหล็ก ควรจะแสดงความกังวลในเรื่องนี้ออกมาอย่างเป็นทางการผ่านหน่วยรับฟังความเห็น และแจ้งไปทางสธ.ด้วย นอกจากนี้มีหน่วยตำรวจที่ดูแลเรื่องการสร้างมลภาวะให้สิ่งแวดล้อมอยู่หน่วยหนึ่ง ผมจำชื่อหน่วยไม่ได้ คุณหมอส่งสำเนาเรื่องมาทางผมก็ได้ เพราะเมื่อวานคล้อยหลังคุณหมอไปแล้วมีดอกเตอร์ท่านหนึ่งแวะมาทานข้าวด้วย ท่านทำงานอยู่สื่อมวลชน และมีความเชื่อมต่อกับหน่วยงานนี้ดี ท่านอาสาจะเป็นผู้นำไปให้ และจะช่วยกระจายข่าวความเป็นห่วงนี้ไปทางสื่อมวลชนเพื่อให้ผลเสียที่อาจจะเกิดขึ้นเป็นที่รับทราบกันในวงกว้างด้วย
ขอบคุณคุณหมอมากที่เอามะม่วงที่ปลูกเองมาฝากด้วย ผมยังไม่ทันได้ชิม แต่แค่เห็นผิวสวยก็น่ากินแล้ว
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
ขอบพระคุณคุณหมอมากที่แวะมาเยี่ยม และผมได้รับทราบและเข้าใจความวิตกกังวลของคุณหมอเรื่องผลกระทบของการที่บริษัททีพีไอ.จะขออนุมัติจากรัฐบาลขยายกำลังผลิตไฟฟ้าอีก 150 เมกาวัตต์โดยนำถ่านหินเข้ามาเป็นเชื้อเพลิงเพื่อทำการผลิตไฟฟ้าส่วนขยายนี้ที่โรงปูนทีพีไอ. ในรูปของเชื้อเพลิงร่วมผลิตกับเชื้อเพลิงขยะ (Refuse Derived Fuel - RDF) โดยมีการสลับใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงตั้งแต่ 0-100% และผมได้ศึกษาข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานที่คุณหมอทิ้งไว้ให้ผมแล้ว ผมมีความเห็นดังนี้
ในแง่ของผลกระทบจากการเผาถ่านหินซับบิทูมินัสที่ทางบริษัททีพีไอ.จะใช้ในโครงการขยายกำลังผลิตไฟฟ้า 150 เมกาวัตต์นั้น หากไม่นับภาวะฝนกรดที่อาจจะก่อปัญหากับงานเกษตรกรรมในพื้นที่ของมวกเหล็กแล้ว สิ่งที่จะเป็นปัญหาถาวรเรื้อรังไปในระยะยาวด้านสุขภาพของผู้คนคือการตกค้างของโลหะหนักต่างๆ
ผมดูจากผลการศึกษาของบริษัทที่ปรึกษา ซึ่งเปิดเผยโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ระบุว่าไอเสียที่พ่นออกมาจากปากปล่องในระหว่างผลิตด้วยพลังความร้อนจากถ่านหินซับบิทูมินัส 100% จะมีมลภาวะออกมาจากปากปล่อง เช่น คือซัลเฟอร์ไดออกไซด์ 80 พีพีเอ็ม. สารกลุ่มไนโตรเจนไดออกไซด์ 90 พีพีเอ็ม. เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีโลหะหนักที่จะถูกปล่อยออกมาทางปากปล่องอีก ผมดูผลการวิเคราะห์ขี้เถ้าที่เป็นผลจากการเผาถ่านหินบิทูมินัสที่จะถูกพ่นออกมาทางปากปล่องซึ่งทำโดยห้องแล็บของทีพีไอ.แล้วมีโลหะหนักอยู่ถึง 17 ชนิด รวมทั้งโลหะหนักอันตรายเช่น เงิน สารหนู แบเรียม แคดเมียม โครเมียม ทองแดง ปรอท ตะกั่ว แมงกานีส นิกเกิล ดีบุก พลวง เซเลเนียม ไททาเนียม ทาลเลียม แวนาเดียม สังกะสี เป็นต้น โลหะหนักเหล่านี้เมื่อพ่นออกมาแล้วท้ายที่สุดก็จะตกลงมาบนดิน ลงไปในแหล่งน้ำ เข้าไปสะสมในพืช ถูกกินไปโดยสัตว์ ไปสะสมในเนื้อสัตว์และในนม ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์หลักของพื้นที่แถบนี้
ในแง่ของพื้นที่ที่จะถูกกระทบ การกำหนดพื้นที่รอบไว้เป็นรัศมี 3 หรือ 5 กม.นั้นคงเพื่อความสะดวกในการรับฟังความเห็นมากกว่า แต่การกระจายตัวของมลภาวะจริงๆนั้นไม่เกี่ยวกับรัศมี แต่เกี่ยวกับปัจจัยแวดล้อมอื่นๆซึ่งในรายงานไม่เห็นได้ทำการศึกษาไว้ เนื่องจากปากปล่องที่ปล่อยควันทิ้งไปบนท้องฟ้ามีความสูงจากพื้นดิน 100 เมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 เมตร ควันที่ปล่อยออกมาจะไปตกที่ไหนอย่างน้อยก็มีปัจจัยกำหนดสามกรณี ดังนี้
1. ในสภาวะที่ลมสงบ มลภาวะอาจจะกระจายตัวเป็นความเข้มข้นตามระยะทางแนวราบจากปล่องแต่จะจำกัดอยู่เกือบเฉพาะในพื้นที่ในหุบเขาและร่องเขาที่ถนนมิตรภาพวิ่งผ่าน และอีกร่องหนึ่งที่ทางรถไฟสายอิสานช่วงสถานีผาเสด็จถึงสถานีหินลับ เพราะหุบเขาและร่องเขามีความสูงของสันเขาเฉลี่ยจากระดับฐานปล่อง 150 - 300 เมตรเป็นตัวกั้นไว้ (พิกัดของปล่องควันอยู่ที่ 728300X, 1619379Y) ชุมชนที่จะได้รับมลภาวะโดยตรงในขณะลมสงบคือบริเวณของบริษัททีพีไอ.เอง บ้านซับบอน บ้านหินลับ บ้านอ่างหิน บ้านไทรงาม และเขตเทศบาลทับกวางซึ่งอยู่ในร่องเขาด้วย
2. ในฤดูหนาว (ตค. - เมย.) ซึ่งลมหนาวจากประเทศจีน (ตะวันออกเฉียงเหนือ)จะพัดผ่านจุดนี้ด้วยความเร็ว 10-30 กม./ชม. ประกอบกับความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ มลภาวะอาจจะถูกพัดพาไปกระจายไปทั่วเขตเทศบาลแก่งคอยและพื้นที่รอบๆซึ่งรวมถึงรพช.แก่งคอยด้วย และจำนวนหนึ่งในปริมาณที่เจือจางจะไปได้ไกลถึงสระบุรี เพราะทิศทางที่ลมพัดไปเป็นที่โล่งและลาดลงเขา ทำให้พัดไปได้ไกล
3. ในช่วงลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดผ่านจุดนี้ (พค.-กย.) ด้วยความเร็วประมาณ 1 -10 กม.ต่อชม. มลภาวะจากจุดนี้อาจจะกระจายไปทั่วบริเวณเขตเทศบาลมวกเหล็กและพื้นที่เกษตรกรรมรอบๆซึ่งรวมถึงรพช.มวกเหล็กและโรงเรียนนายเรืออากาศด้วย ในระหว่างลมพัดแรง จะกระจายไปได้ไกลถึงเขตเกษตรกรรมของอ.ปากช่องและบางส่วนของเขาใหญ่
กล่าวโดยสรุป การเผาถ่านหินในพื้นที่เกษตรกรรมและในชุมชนที่มีคนอยู่อาศัยนั้น ย่อมจะมีปัญหากระทบต่อสุขภาพของผู้คนอย่างแน่นอนในระยะยาวจากการสะสมของโลหะหนักในอาหารและในอากาศ นอกจากจะกระทบต่อผู้บริโภคนมแล้ว ยังจะกระทบต่องานอาชีพของเกษตรกรเลี้ยงโคนมหากโลหะหนักไปปรากฎในนมที่ผลิตจากมวกเหล็ก ผลกระทบนี้จะโผล่มาให้เห็นก็ในอีกนานหลายสิบปีข้างหน้า ผมเสนอว่าคุณหมอในฐานะผู้อำนวยการของโรงพยาบาลมวกเหล็กซึ่งรับผิดชอบต่อสุขภาพของผู้คนในมวกเหล็ก ควรจะแสดงความกังวลในเรื่องนี้ออกมาอย่างเป็นทางการผ่านหน่วยรับฟังความเห็น และแจ้งไปทางสธ.ด้วย นอกจากนี้มีหน่วยตำรวจที่ดูแลเรื่องการสร้างมลภาวะให้สิ่งแวดล้อมอยู่หน่วยหนึ่ง ผมจำชื่อหน่วยไม่ได้ คุณหมอส่งสำเนาเรื่องมาทางผมก็ได้ เพราะเมื่อวานคล้อยหลังคุณหมอไปแล้วมีดอกเตอร์ท่านหนึ่งแวะมาทานข้าวด้วย ท่านทำงานอยู่สื่อมวลชน และมีความเชื่อมต่อกับหน่วยงานนี้ดี ท่านอาสาจะเป็นผู้นำไปให้ และจะช่วยกระจายข่าวความเป็นห่วงนี้ไปทางสื่อมวลชนเพื่อให้ผลเสียที่อาจจะเกิดขึ้นเป็นที่รับทราบกันในวงกว้างด้วย
ขอบคุณคุณหมอมากที่เอามะม่วงที่ปลูกเองมาฝากด้วย ผมยังไม่ทันได้ชิม แต่แค่เห็นผิวสวยก็น่ากินแล้ว
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์