มีบ้านพักผู้สูงอายุขนาด 50 วาหรือแบบให้เช่าไหม
ดิฉันเกษียณมาสามปีแล้ว อยู่แบบตัวคนเดียว ซื้อบ้านเกษียณอยู่ที่หมู่บ้าน .. อยู่ที่อ. ... จังหวัด ... บ้านที่อยู่มีเนื้อที่บ้าน 120 ตรม. อยู่ในพื้นที่ 130 ตรว. ใกล้เคียงกันมีครอบครัวคนรู้จักอยู่ครอบครัวหนึ่งเขาอยู่กันหลายคน ดิฉันเองวันหนึ่งเป็นเพราะความประมาทของตัวเอง เกิดอุบัติเหตุบาดเจ็บ เดินไม่ได้ต้องคลานไปคลานมาบนพื้นบ้าน ดูแลบ้านช่องไม่ได้เลย ความสะอาดพื้นดิฉันอาศัยหุ่นยนต์ทำให้ก็พอได้ ต้องอาศัยเพื่อนบ้านเอาอาหารมาส่งให้นานตั้งเดือนกว่า ดิฉันมีความรู้สึกว่าบ้านที่อยู่ตอนนี้มันใหญ่เกินไป อยากจะไปอยู่ในที่แบบโคโฮของคุณหมอ เพราะชอบแนวคิดของคุณหมอ คุณหมอมีชนิดให้เช่า หรือถ้าเป็นการขายคุณหมอมีแบบพื้นที่เล็กระดับ 50 ตรว.มีไหมค่ะ
..............................................................
ตอบครับ
1. ถามว่าผมทำซีเนียร์โคโฮแบบให้เช่าไหม ตอบว่าไม่ได้ทำครับ เพราะผมเจียมสังขารว่าตัวเองก็ปูนนี้แล้ว อีกไม่นานก็ตาย ถ้าผมทำบ้านให้คนเช่าโดยสัญญาว่าจะให้เขาอยู่จนชั่วอายุไข แต่หากคนที่มาข้างหลังผมไม่ว่าจะเป็นบริษัทหรือลูกหลานของผมเองก็ตาม หากเขาไม่รักษาสัญญาที่ผมเคยให้กับผู้เช่าไว้ ผู้เช่าเขาก็จะเดือดร้อน วิญญาณของผมก็จะไม่สงบสิครับ ผมจึงตัดสินใจว่าไม่เอาดีกว่า
2. ถามว่าที่ดินโคโฮที่ผมทำขายมีแบบ 50 ตรว.ไหม ตอบว่าไม่มีครับ เล็กสุดคือ 100 ตรว. เพราะเมืองไทยนี้เราถูกจำกัดด้วยกฎหมาย ไม่มีกฎหมายสนับสนุนการทำ senior co-housing ซึ่งเอื้อให้มีสมบัติร่วมกันได้ ผมจึงต้องประยุกต์ทำให้สอดคล้องกับกฎหมายไทย คือถึงแม้จะอยู่ในรั้วเดียวแต่ทุกคนต้องมีทางเข้าตรงจากถนนสาธารณะของใครของมัน มีที่จอดรถของใครของมัน มีน้ำมีไฟของตัวเองโดยตรง ผนังบ้านต้องห่างจากขอบที่ 2 เมตร ถ้าลดพื้นที่เหลือ 50 ตรว.ก็จะถูกบีบอัดจนแบนแต๊ดแต๋ จะมาทำชุมชนเท่ๆมีที่จอดรถกลาง มี common house มีทางเดินเล็กๆสวยๆภายใน มีบ้านชิดกันบ้าง ห่างกันบ้าง แบบฝรั่งนั้น ฝันไปเถอะ ทำไม่ได้หรอกเพราะกฎหมายไม่เอื้อให้มีสมบัติร่วมกัน ต้องมีแต่สมบัติของใครของมันที่ทุกคนถือสิทธิขาดเท่านั้น ดังนั้นตามกฎหมายไทยหากจะทำบ้านให้เล็กก็ต้องทำห้องแถวหรือทาวน์เฮ้าส์ไปเลยรู้แล้วรู้รอด ซึ่งหากทำอย่างนั้นจริงทุกคนก็จะต่อเติมตามใจฉันออกมาจนปริล้นที่ของตัวเองแถมเอารถมาจอดนอกถนนหรือจอดเสียบหัวเข้าไปในสวนสาธารณะชนิดที่ไม่มีใครว่าใครได้เพราะทุกคนก็ใหญ่ล้นที่ของตัวเองออกมาเหมือนกันหมด แบบนั้นผมไม่เอาดีก่าเพราะมันจะเป็นชุมชนที่ไม่โรแมนติกเอาเสียเลย
3. การที่คุณเกษียณแล้ว ตัวคนเดียว ไปซื้อบ้าน 120 ตรม. อยู่ในที่130 ตรว. อยู่ในหมู่บ้านจัดสรรแบบ "ต่างคนต่างอยู่นิเวศน์" นั้น มันเป็นรูปแบบการอยู่อาศัยที่ไม่เหมาะกับผู้สูงวัยตัวคนเดียว เพราะว่ากระบวนการสูงวัยของคนเรานี้มันมีสามระยะนะ คือ
3.1 Independent Living คือยังไปไหนมาไหนทำอะไรเองได้ 100%
3.2 Assisted Living คือทำอะไรเองได้เป็นส่วนใหญ่ แต่บางเรื่องต้องอาศัยผู้ดูแล เช่นบางคนต้องมีคนพาอาบน้ำ หรือพาเข้านอน หรือเอาอาหารมาส่ง หรือมาทำบ้านซักผ้าให้ เป็นต้น
3.3 Hospice Care คือนอนแบ็บหยอดข้าวหยอดน้ำ ไม่หือไม่อือแล้ว ต้องมีผู้ดูแลเฝ้าดูอยู่ประจำ 100% มิฉะนั้นก็จะนอนแช่ฉี่แช่อึของตัวเอง หรือพอเป็นอะไรไปกว่าคนจะรู้เห็นก็ส่งกลิ่นเสียแล้ว
รูปแบบบ้านจัดสรรแบบ "ต่างคนต่างอยู่นิเวศน์" นี้ สำหรับคนตัวคนเดียวมันเอื้อต่อการใช้ชีวิตแบบ independent living แต่พอเข้าระยะ assisted living ก็จะเริ่มมีปัญหาอย่างที่ตัวคุณเองต้องคลานไปตามพื้นบ้านนานเป็นเดือนๆมาแล้ว พอมาถึงระยะ hospice care ก็เป็นไปไม่ได้เลยที่จะอยู่แบบตัวเดียวคนเดียวอย่างนั้น แต่ว่าสมัยนี้มีผู้สูงอายุจำนวนหนึ่งจำเป็นต้องอยู่คนเดียวแต่ก็หาที่อยู่ที่เหมาะกับตัวเองไม่ได้ จะไปอยู่คอนโดก็ไม่ชอบเพราะตัวเองชอบอยู่ติดดินปลูกผักปลูกหญ้า นั่นเป็นเหตุผลที่ผมคิดทำซีเนียร์โคโฮขึ้นมาโดยเลียนแบบฝรั่งแต่ให้มันเป็นไปได้สำหรับคนไทย เลียนแบบฝรั่งในแง่ที่ว่าใช้คอนเซ็พท์ age in place คือเป็นชุมชนที่อยู่กันแบบแก่ที่นั่นตายที่นั่นโดยไม่ต้องย้ายไปไหน แต่ประยุกต์จากของฝรั่งตรงที่ฝรั่งเขาสร้างชุมชนในรูปแบบเพื่อนบ้านเกื้อกูล (neighborhood support) คือสมาชิกรู้จักกันแน่นแฟ้นและช่วยเหลือกันและกัน ของผมก็ยังใช้คอนเซ็พท์นั้นอยู่ แต่เพิ่มมาตรการ "เผื่อเหนียว" ไว้สำหรับความเป็นคนไทยด้วย เพราะคนไทยเรานี้มีหลักการว่าเราคนไทยด้วยกันมีอะไรพูดกันได้ แต่มีปัญหานิดเดียวเท่านั้นคือพูดกันไม่ค่อยรู้เรื่อง..หิ หิ
การ "เผื่อเหนี่ยว" ที่ผมทำไว้ก็คือ
1. แต่ละชุมชนซึ่งประกอบด้วยบ้านเล็กประมาณสิบหลังอยู่ในรั้วเดียวกันต้องมีกระท่อมคนสวนอยู่กลางชุมชนด้วยหนึ่งหลัง โดยเป็นสมบัติของคนทั้งชุมชน คนสวนนี้จะเป็นทั้งผู้ตัดหญ้า รดน้ำ ทำสวน เป็นยามเฝ้า เป็นผู้ตรวจเยี่ยมตอนเช้า (morning round) เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีบ้านไหนหลับลืมตื่นข้ามวันข้ามคืนโดยไม่มีใครรู้ และเป็นผู้สนองตอบเมื่อมีการเรียกฉุกเฉินจากบ้านใดก็ตาม (first responder) โดยทำหน้าที่ประสานงานกับรถฉุกเฉิน 1669 และโรงพยาบาลท้องถิ่นเสร็จสรรพ แบบว่าออลอินวัน ค่าจ้างก็ลงขันกัน คือหารสิบ นี่เป็นการเผื่อเหนียวกรณีคอนเซ็พท์เพื่อนบ้านเกื้อกูลมันไม่เวอร์คในมนุษย์พันธุ์ไทย
2. ควรมีแหล่งอาหารสุขภาพที่เมื่อตัวเองทำกินเองไม่ได้แล้วก็ยังสามารถเดินไปรับประทาน หรือสั่งอาหารสุขภาพจากที่ใกล้ๆมาส่งที่บ้านได้ นี่เป็นการเผื่อเหนียวกรณีคอนเซ็พท์ "ครัวกลาง" แบบซีเนียร์โคโฮของฝรั่งมันไม่เวอร์คกับคนไทย ซึ่งตอนนี้ผมได้ตั้งครัวปราณาขึ้นในเวลเนสวีแคร์เซ็นเตอร์และเปิดบริการได้ทุกวันเรียบร้อยแล้วผมจึงมีความสบายใจขึ้นว่าสมาชิกโคโฮหรือใครก็ตามซึ่งอยู่อาศัยในมวกเหล็กวาลเลย์นี้จะไม่อดอยากในเรื่องอาหารสุขภาพ
3. ควรมีแหล่งที่จะเรียกใช้บริการ "ผู้ดูแล (caregiver)" ได้เมื่อต้องการด้วย ไม่ว่าจะเป็นรายครั้งหรือรายเดือน ซึ่งตรงนี้ผมก็อาศัยคลินิกสุขภาพองค์รวมในเวลเนสวีแคร์เซ็นเตอร์ที่ผมเองตั้งขึ้นมาและเปิดบริการดูแลสุขภาพรวมทั้งนวดบำบัดแบบต่างๆเรียบร้อยแล้วด้วย พนักงานเทราพิสท์ที่ว่างเว้นจากงานบีบนวดก็ให้รับจ๊อบเป็นผู้ดูแลตามบ้านสุดแล้วแต่ว่าลูกค้าจะเรียกใช้ที่บ้านไหมเมื่อใด นี่เป็นการเผื่อเหนียวกรณีคอนเซ็พท์ "ผู้สูงวัยดูแลกันและกัน" ของฝรั่งมันไม่เวิร์ค
ทำทั้งหมดนี้แล้ว ผมก็ยังไม่รู้นะว่าเมื่อก่อสร้างเสร็จ ชุมชนซีเนียร์โคโฮเกิดขึ้นจริงแล้ว มันจะเป็นชุมชนผู้สูงอายุอย่างที่ผมวาดฝันไว้หรือเปล่า เพราะที่นี่ประเทศไทย อะไรอะไรก็เกิดขึ้นได้ ต้องตามดูตามลุ้นกันต่อไป อีกไม่เกินห้าปี...รู้เรื่อง
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
..............................................................
ตอบครับ
1. ถามว่าผมทำซีเนียร์โคโฮแบบให้เช่าไหม ตอบว่าไม่ได้ทำครับ เพราะผมเจียมสังขารว่าตัวเองก็ปูนนี้แล้ว อีกไม่นานก็ตาย ถ้าผมทำบ้านให้คนเช่าโดยสัญญาว่าจะให้เขาอยู่จนชั่วอายุไข แต่หากคนที่มาข้างหลังผมไม่ว่าจะเป็นบริษัทหรือลูกหลานของผมเองก็ตาม หากเขาไม่รักษาสัญญาที่ผมเคยให้กับผู้เช่าไว้ ผู้เช่าเขาก็จะเดือดร้อน วิญญาณของผมก็จะไม่สงบสิครับ ผมจึงตัดสินใจว่าไม่เอาดีกว่า
2. ถามว่าที่ดินโคโฮที่ผมทำขายมีแบบ 50 ตรว.ไหม ตอบว่าไม่มีครับ เล็กสุดคือ 100 ตรว. เพราะเมืองไทยนี้เราถูกจำกัดด้วยกฎหมาย ไม่มีกฎหมายสนับสนุนการทำ senior co-housing ซึ่งเอื้อให้มีสมบัติร่วมกันได้ ผมจึงต้องประยุกต์ทำให้สอดคล้องกับกฎหมายไทย คือถึงแม้จะอยู่ในรั้วเดียวแต่ทุกคนต้องมีทางเข้าตรงจากถนนสาธารณะของใครของมัน มีที่จอดรถของใครของมัน มีน้ำมีไฟของตัวเองโดยตรง ผนังบ้านต้องห่างจากขอบที่ 2 เมตร ถ้าลดพื้นที่เหลือ 50 ตรว.ก็จะถูกบีบอัดจนแบนแต๊ดแต๋ จะมาทำชุมชนเท่ๆมีที่จอดรถกลาง มี common house มีทางเดินเล็กๆสวยๆภายใน มีบ้านชิดกันบ้าง ห่างกันบ้าง แบบฝรั่งนั้น ฝันไปเถอะ ทำไม่ได้หรอกเพราะกฎหมายไม่เอื้อให้มีสมบัติร่วมกัน ต้องมีแต่สมบัติของใครของมันที่ทุกคนถือสิทธิขาดเท่านั้น ดังนั้นตามกฎหมายไทยหากจะทำบ้านให้เล็กก็ต้องทำห้องแถวหรือทาวน์เฮ้าส์ไปเลยรู้แล้วรู้รอด ซึ่งหากทำอย่างนั้นจริงทุกคนก็จะต่อเติมตามใจฉันออกมาจนปริล้นที่ของตัวเองแถมเอารถมาจอดนอกถนนหรือจอดเสียบหัวเข้าไปในสวนสาธารณะชนิดที่ไม่มีใครว่าใครได้เพราะทุกคนก็ใหญ่ล้นที่ของตัวเองออกมาเหมือนกันหมด แบบนั้นผมไม่เอาดีก่าเพราะมันจะเป็นชุมชนที่ไม่โรแมนติกเอาเสียเลย
3. การที่คุณเกษียณแล้ว ตัวคนเดียว ไปซื้อบ้าน 120 ตรม. อยู่ในที่130 ตรว. อยู่ในหมู่บ้านจัดสรรแบบ "ต่างคนต่างอยู่นิเวศน์" นั้น มันเป็นรูปแบบการอยู่อาศัยที่ไม่เหมาะกับผู้สูงวัยตัวคนเดียว เพราะว่ากระบวนการสูงวัยของคนเรานี้มันมีสามระยะนะ คือ
3.1 Independent Living คือยังไปไหนมาไหนทำอะไรเองได้ 100%
3.2 Assisted Living คือทำอะไรเองได้เป็นส่วนใหญ่ แต่บางเรื่องต้องอาศัยผู้ดูแล เช่นบางคนต้องมีคนพาอาบน้ำ หรือพาเข้านอน หรือเอาอาหารมาส่ง หรือมาทำบ้านซักผ้าให้ เป็นต้น
3.3 Hospice Care คือนอนแบ็บหยอดข้าวหยอดน้ำ ไม่หือไม่อือแล้ว ต้องมีผู้ดูแลเฝ้าดูอยู่ประจำ 100% มิฉะนั้นก็จะนอนแช่ฉี่แช่อึของตัวเอง หรือพอเป็นอะไรไปกว่าคนจะรู้เห็นก็ส่งกลิ่นเสียแล้ว
รูปแบบบ้านจัดสรรแบบ "ต่างคนต่างอยู่นิเวศน์" นี้ สำหรับคนตัวคนเดียวมันเอื้อต่อการใช้ชีวิตแบบ independent living แต่พอเข้าระยะ assisted living ก็จะเริ่มมีปัญหาอย่างที่ตัวคุณเองต้องคลานไปตามพื้นบ้านนานเป็นเดือนๆมาแล้ว พอมาถึงระยะ hospice care ก็เป็นไปไม่ได้เลยที่จะอยู่แบบตัวเดียวคนเดียวอย่างนั้น แต่ว่าสมัยนี้มีผู้สูงอายุจำนวนหนึ่งจำเป็นต้องอยู่คนเดียวแต่ก็หาที่อยู่ที่เหมาะกับตัวเองไม่ได้ จะไปอยู่คอนโดก็ไม่ชอบเพราะตัวเองชอบอยู่ติดดินปลูกผักปลูกหญ้า นั่นเป็นเหตุผลที่ผมคิดทำซีเนียร์โคโฮขึ้นมาโดยเลียนแบบฝรั่งแต่ให้มันเป็นไปได้สำหรับคนไทย เลียนแบบฝรั่งในแง่ที่ว่าใช้คอนเซ็พท์ age in place คือเป็นชุมชนที่อยู่กันแบบแก่ที่นั่นตายที่นั่นโดยไม่ต้องย้ายไปไหน แต่ประยุกต์จากของฝรั่งตรงที่ฝรั่งเขาสร้างชุมชนในรูปแบบเพื่อนบ้านเกื้อกูล (neighborhood support) คือสมาชิกรู้จักกันแน่นแฟ้นและช่วยเหลือกันและกัน ของผมก็ยังใช้คอนเซ็พท์นั้นอยู่ แต่เพิ่มมาตรการ "เผื่อเหนียว" ไว้สำหรับความเป็นคนไทยด้วย เพราะคนไทยเรานี้มีหลักการว่าเราคนไทยด้วยกันมีอะไรพูดกันได้ แต่มีปัญหานิดเดียวเท่านั้นคือพูดกันไม่ค่อยรู้เรื่อง..หิ หิ
การ "เผื่อเหนี่ยว" ที่ผมทำไว้ก็คือ
1. แต่ละชุมชนซึ่งประกอบด้วยบ้านเล็กประมาณสิบหลังอยู่ในรั้วเดียวกันต้องมีกระท่อมคนสวนอยู่กลางชุมชนด้วยหนึ่งหลัง โดยเป็นสมบัติของคนทั้งชุมชน คนสวนนี้จะเป็นทั้งผู้ตัดหญ้า รดน้ำ ทำสวน เป็นยามเฝ้า เป็นผู้ตรวจเยี่ยมตอนเช้า (morning round) เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีบ้านไหนหลับลืมตื่นข้ามวันข้ามคืนโดยไม่มีใครรู้ และเป็นผู้สนองตอบเมื่อมีการเรียกฉุกเฉินจากบ้านใดก็ตาม (first responder) โดยทำหน้าที่ประสานงานกับรถฉุกเฉิน 1669 และโรงพยาบาลท้องถิ่นเสร็จสรรพ แบบว่าออลอินวัน ค่าจ้างก็ลงขันกัน คือหารสิบ นี่เป็นการเผื่อเหนียวกรณีคอนเซ็พท์เพื่อนบ้านเกื้อกูลมันไม่เวอร์คในมนุษย์พันธุ์ไทย
2. ควรมีแหล่งอาหารสุขภาพที่เมื่อตัวเองทำกินเองไม่ได้แล้วก็ยังสามารถเดินไปรับประทาน หรือสั่งอาหารสุขภาพจากที่ใกล้ๆมาส่งที่บ้านได้ นี่เป็นการเผื่อเหนียวกรณีคอนเซ็พท์ "ครัวกลาง" แบบซีเนียร์โคโฮของฝรั่งมันไม่เวอร์คกับคนไทย ซึ่งตอนนี้ผมได้ตั้งครัวปราณาขึ้นในเวลเนสวีแคร์เซ็นเตอร์และเปิดบริการได้ทุกวันเรียบร้อยแล้วผมจึงมีความสบายใจขึ้นว่าสมาชิกโคโฮหรือใครก็ตามซึ่งอยู่อาศัยในมวกเหล็กวาลเลย์นี้จะไม่อดอยากในเรื่องอาหารสุขภาพ
3. ควรมีแหล่งที่จะเรียกใช้บริการ "ผู้ดูแล (caregiver)" ได้เมื่อต้องการด้วย ไม่ว่าจะเป็นรายครั้งหรือรายเดือน ซึ่งตรงนี้ผมก็อาศัยคลินิกสุขภาพองค์รวมในเวลเนสวีแคร์เซ็นเตอร์ที่ผมเองตั้งขึ้นมาและเปิดบริการดูแลสุขภาพรวมทั้งนวดบำบัดแบบต่างๆเรียบร้อยแล้วด้วย พนักงานเทราพิสท์ที่ว่างเว้นจากงานบีบนวดก็ให้รับจ๊อบเป็นผู้ดูแลตามบ้านสุดแล้วแต่ว่าลูกค้าจะเรียกใช้ที่บ้านไหมเมื่อใด นี่เป็นการเผื่อเหนียวกรณีคอนเซ็พท์ "ผู้สูงวัยดูแลกันและกัน" ของฝรั่งมันไม่เวิร์ค
ทำทั้งหมดนี้แล้ว ผมก็ยังไม่รู้นะว่าเมื่อก่อสร้างเสร็จ ชุมชนซีเนียร์โคโฮเกิดขึ้นจริงแล้ว มันจะเป็นชุมชนผู้สูงอายุอย่างที่ผมวาดฝันไว้หรือเปล่า เพราะที่นี่ประเทศไทย อะไรอะไรก็เกิดขึ้นได้ ต้องตามดูตามลุ้นกันต่อไป อีกไม่เกินห้าปี...รู้เรื่อง
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์