ทูล ทองใจ
เรียนอาจารย์สันต์
คำถามนี้นอกเรื่องการแพทย์หน่อยนะครับ เห็นว่าอาจารย์ชอบเพลงของทูล ทองใจ (ดูจากการตอบคำถามในบล็อก)
อยากถามว่า ทำไมทูลจึงร้องเพลงเพราะครับ?
ที่ถามนี้ไม่ได้ถามเปล่าๆ นะครับ ถามแบบมีหลักการด้วย ก็คือว่า ปกติเสียงของคนเรานี่ จะออกจากการสั่นของเส้นเสียง แล้วถูกปรุงแต่งจากช่องคอ โพรงจมูก ฟัน ปาก จนออกมาเป็นเสียงใช่ไหมครับ และในนักร้อง ยังขึ้นอยู่กับพลังลม การควบคุมกล้ามเนื้อหน้าท้อง การหายใจและปอดด้วย รวมทั้งท่าทางการยืนและอะไรอื่นๆ อีกมาก แต่องค์ประกอบพวกนี้ หลายอย่างในนักร้องหลายท่านสังเกตง่าย ว่าเป็นเหตุผลที่ทำให้เสียงคนๆ นั้นฟังแล้วเพราะ
เช่น สุเทพ วงศ์กำแหง ส่วนสำคัญคือออกเสียงได้นานและยาว สุเทพเคยให้สัมภาษณ์ว่า นักร้องหายใจจากช่วงท้อง น่าจะเข้าใจว่าเป็นจากการฝึกบริหารกล้ามเนื้อหน้าท้อง
หรือบางคน อย่างชาย เมืองสิงห์ เสียงมีเสน่ห์ที่ความเหน่อ ซึ่งก็มาจากการปรุงแต่งเสียงที่โพรงจมูกและเพดานปาก
แต่ของทูลนั้น ผมคิดว่าเสียงเพราะมาจากเส้นเสียงจริงๆ เพราะว่าถ้าตัดเรื่องการบริหารลม การปรุงแต่งเสียงด้วยการใช้ปาก โพรงจมูก หรือกระพุ้งแก้มออก จะเหลือแต่เสียงจากการสั่นของเส้นเสียง หรือที่เรียกว่า (ผมคิดเอาเอง) น้ำเสียง ซึ่งมนุษย์แต่ละคนมีต่างกัน ตัวพิสูจน์คือ เมื่อฟังเพลงที่ทูลร้องในวัยชรา พบว่าพลังตกลงไปมาก แต่ตัวน้ำเสียง ยังหวานเย็นแบบเดิม (แม้จะทุ้มขึ้น ไม่แหลมใสเหมือนตอนหนุ่ม) นี่แปลว่าแก่แล้ว การบริหารลมเลยแย่ลง แต่เนื้อเสียง คงเดิม
ผมอยากรู้ว่า ตัวกำหนดเสียงคนเราที่ว่าเพราะหรือไม่เพราะนั้น มาจากเสียงเส้นจริงๆ สักกี่เปอร์เซ็นต์ครับ เคยดูวิดีโอที่ถ่ายกล่องเสียงตอนที่ร้องเพลงในผู้ป่วยจำลอง ไม่เห็นมีอะไรต่างจากเส้นเสียงคนทั่วไปเลย อีกอย่าง นักร้องที่เรียกว่า เงาเสียง นั้น จำเป็นไหมที่เส้นเสียงจะต้องเหมือนกันกับต้นแบบ?
กรณีนี้ผมถามเฉพาะเรื่องน้ำเสียงนะครับ เพราะเห็นว่า เรื่องอื่นๆ เช่น การบังคับเสียงก้อง การฝึกร้อง ฝึกลม เป็นส่วนที่แก้ไขและฝึกกันได้ เหมือนเป็นพรแสวง แต่เรื่องเส้นเสียง หรือน้ำเสียงที่ไม่เหมือนกันน่าจะเป็นพรสวรรค์ ซึ่งผมไม่แน่ใจว่าขึ้นกับองค์ประกอบส่วนไหนในการออกเสียง เคยอ่านเจอที่ไหนก็ไม่ทราบ นานแล้ว บอกว่า คนที่คอยาว จะร้องเพลงได้ดีกว่าคอสั้น เพราะว่าคอยาว ทำให้การกำธร หรือรีโซแนนซ์ของเสียงมากขึ้น (ทำนองเดียวกับการเป่าลมเข้าท่อยาวๆ) ทำให้เนื้อเสียงเพราะขึ้น ไม่ทราบว่าเกี่ยวไหม แต่ผมดูรูปทูล (ไม่เคยเจอตัวจริง) ทูลก็ไม่เห็นจะคอยาวนี่นา
ข้อสังเกตอีกอย่างคือ เสียงแบบทูล จะหาคนเสียงเหมือนเป๊ะ ยากมาก ไม่เหมือนชาย เมืองสิงห์ หรือชรินทร์ นันทนาคร หรือสุเทพ วงศ์กำแหง ที่มีเงาเสียงในแนวเดียวกันเพียบ (สุเทพมีลูกศิษย์ตระกูล เทพ เช่น ธานินทร์ ชรัมภ์ ถึงจะไม่นุ่มเท่า แต่บางคนก็ใกล้เคียง) แต่ของทูล แม้จะมีคนพยายามเลียน แต่เนื้อเสียงไม่เหมือนสักคน ที่ใกล้เคียงที่สุด น่าจะเป็นภูมิ ภิญโญ คนเดียวเท่านั้นเอง และจากที่วิเคราะห์ไปขั้นต้น ว่านักร้องกลุ่มสุเทพ ชรินทร์ ชาย ใช้การปรับแต่งเสียง เช่น สุเทพ ใช้กล้ามเนื้อกระบังลม และกระพุ้งแก้มมาก ชาย เมืองสิงห์ใช้เพดานอ่อน จมูก ส่วนชรินทร์ใช้เสียงก้องขึ้นจมูกมากๆ ดังนั้นจึงมีคนเลียนแบบได้ (จากการปรับแต่งเหมือนกัน) แต่ของทูล ถ้าจะให้เหมือน ต้องเป็นคนที่บังเอิญเส้นเสียงเหมือนกัน หรือเปล่าครับ?
หวังว่าอาจารย์จะพอช่วยผมได้นะครับ
ด้วยความเคารพอย่างสูง
........................................................
ตอบครับ
มีจดหมายถามเรื่องเจ็บไข้ได้ป่วยรอตอบอยู่เป็นร้อยฉบับ แต่ผมหยิบจดหมายไร้สาระของคุณขึ้นมาตอบก่อน เพราะบางอารมณ์ผมก็ชอบทำเรื่องไร้สาระเหมือนกัน
ถามว่าทำไมทูลถึงร้องเพลงเพราะ ตอบว่า เออ..ผมก็ไม่รู้เหมือนกันแฮะ ประเด็นทั้งหลายที่คุณหยิบยกมานั้นอ่านแล้วผมก็ชอบใจว่าเพลิดเพลินดี แต่ผมไม่มีกึ๋นที่จะไปวิจารณ์สักนิดเดียว
ไม่กี่วันมานี้ผมนั่งเรือไปช่วยน้ำท่วมที่อยุธยา ช่วงเลียบริมน้ำแม่น้ำ เห็นบ้านเล็กบ้านน้อยริมน้ำโผล่มาแต่หลังคา แล้วนึกถึงเพลงของทูลที่ว่า
“...พี่ฝันจะสร้าง รังรัก สักหนึ่งหลัง
ณ ริมฝั่ง เจ้าพระยา อยู่อาศัย...”
นี่แสดงว่าสมัยที่คนรุ่นโน้นเขียนเพลงนี้ ต้องไม่เคยได้ยินข่าวคราวน้ำท่วมบ้าเลือดแบบปี 2554 มาก่อนเลย
แต่ยังไงผมก็ชอบเพลงนี้มาก โดยเฉพาะท่อนแยกที่เปลี่ยนจังหวะให้เกิดความรู้สึก more motivational ที่ว่า
“...รังรัก ในจินตนาการ
วิมาน รักอันบรรเจิดจ้า
ริมหน้าต่างปลูกซุ้มลัดดา
ห้องนอนสีฟ้า ติดม่านชมพู..”
เมื่อหลายเดือนก่อนผมพาลูกเมียขับรถเที่ยวไปตามถิ่นชนบทของอังกฤษ ไปพักค้างคืนในไร่แถวชนบทคอทสวอลด์ (Cotswolds) พอรุ่งเช้าก็ขับรถไปที่หมู่บ้านชื่อเกรทติว (Great Tew) ตั้งใจจะไปดูร้านเหล้าเก่าแก่มุงหลังคาจากที่นั่น แต่ก็โดยบังเอิญได้เห็นกระท่อมเท่มากหลังหนึ่ง มีห้องนอนสีฟ้าปนคราม ติดม่านสีชมพู เพียงแต่ซุ้มต้นไม้ข้างนอกหน้าต่างไม่ใช่ซุ้มลัดดา แต่เป็นต้นวิสซีเรียซึ่งออกดอกเป็นพวงย้อยสีม่วงแทน แต่ภาพนั้นแมทช์กับเพลงของทูลได้ไม่มีที่ติ ทำให้ผมอดไม่ได้ต้องฮัมเพลงท่อนต่อไปออกมาดังๆจนผู้ร่วมเดินทางต้องแปลกใจ
“...ความรักเป็นมนต์ดลใจ
ฝันไป มีพลังใจต่อสู้
รอพี่หน่อยเถอะนะโฉมตรู
มินานจะรู้ ว่ารังรักอยู่แห่งไหน..”
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
คำถามนี้นอกเรื่องการแพทย์หน่อยนะครับ เห็นว่าอาจารย์ชอบเพลงของทูล ทองใจ (ดูจากการตอบคำถามในบล็อก)
อยากถามว่า ทำไมทูลจึงร้องเพลงเพราะครับ?
ที่ถามนี้ไม่ได้ถามเปล่าๆ นะครับ ถามแบบมีหลักการด้วย ก็คือว่า ปกติเสียงของคนเรานี่ จะออกจากการสั่นของเส้นเสียง แล้วถูกปรุงแต่งจากช่องคอ โพรงจมูก ฟัน ปาก จนออกมาเป็นเสียงใช่ไหมครับ และในนักร้อง ยังขึ้นอยู่กับพลังลม การควบคุมกล้ามเนื้อหน้าท้อง การหายใจและปอดด้วย รวมทั้งท่าทางการยืนและอะไรอื่นๆ อีกมาก แต่องค์ประกอบพวกนี้ หลายอย่างในนักร้องหลายท่านสังเกตง่าย ว่าเป็นเหตุผลที่ทำให้เสียงคนๆ นั้นฟังแล้วเพราะ
เช่น สุเทพ วงศ์กำแหง ส่วนสำคัญคือออกเสียงได้นานและยาว สุเทพเคยให้สัมภาษณ์ว่า นักร้องหายใจจากช่วงท้อง น่าจะเข้าใจว่าเป็นจากการฝึกบริหารกล้ามเนื้อหน้าท้อง
หรือบางคน อย่างชาย เมืองสิงห์ เสียงมีเสน่ห์ที่ความเหน่อ ซึ่งก็มาจากการปรุงแต่งเสียงที่โพรงจมูกและเพดานปาก
แต่ของทูลนั้น ผมคิดว่าเสียงเพราะมาจากเส้นเสียงจริงๆ เพราะว่าถ้าตัดเรื่องการบริหารลม การปรุงแต่งเสียงด้วยการใช้ปาก โพรงจมูก หรือกระพุ้งแก้มออก จะเหลือแต่เสียงจากการสั่นของเส้นเสียง หรือที่เรียกว่า (ผมคิดเอาเอง) น้ำเสียง ซึ่งมนุษย์แต่ละคนมีต่างกัน ตัวพิสูจน์คือ เมื่อฟังเพลงที่ทูลร้องในวัยชรา พบว่าพลังตกลงไปมาก แต่ตัวน้ำเสียง ยังหวานเย็นแบบเดิม (แม้จะทุ้มขึ้น ไม่แหลมใสเหมือนตอนหนุ่ม) นี่แปลว่าแก่แล้ว การบริหารลมเลยแย่ลง แต่เนื้อเสียง คงเดิม
ผมอยากรู้ว่า ตัวกำหนดเสียงคนเราที่ว่าเพราะหรือไม่เพราะนั้น มาจากเสียงเส้นจริงๆ สักกี่เปอร์เซ็นต์ครับ เคยดูวิดีโอที่ถ่ายกล่องเสียงตอนที่ร้องเพลงในผู้ป่วยจำลอง ไม่เห็นมีอะไรต่างจากเส้นเสียงคนทั่วไปเลย อีกอย่าง นักร้องที่เรียกว่า เงาเสียง นั้น จำเป็นไหมที่เส้นเสียงจะต้องเหมือนกันกับต้นแบบ?
กรณีนี้ผมถามเฉพาะเรื่องน้ำเสียงนะครับ เพราะเห็นว่า เรื่องอื่นๆ เช่น การบังคับเสียงก้อง การฝึกร้อง ฝึกลม เป็นส่วนที่แก้ไขและฝึกกันได้ เหมือนเป็นพรแสวง แต่เรื่องเส้นเสียง หรือน้ำเสียงที่ไม่เหมือนกันน่าจะเป็นพรสวรรค์ ซึ่งผมไม่แน่ใจว่าขึ้นกับองค์ประกอบส่วนไหนในการออกเสียง เคยอ่านเจอที่ไหนก็ไม่ทราบ นานแล้ว บอกว่า คนที่คอยาว จะร้องเพลงได้ดีกว่าคอสั้น เพราะว่าคอยาว ทำให้การกำธร หรือรีโซแนนซ์ของเสียงมากขึ้น (ทำนองเดียวกับการเป่าลมเข้าท่อยาวๆ) ทำให้เนื้อเสียงเพราะขึ้น ไม่ทราบว่าเกี่ยวไหม แต่ผมดูรูปทูล (ไม่เคยเจอตัวจริง) ทูลก็ไม่เห็นจะคอยาวนี่นา
ข้อสังเกตอีกอย่างคือ เสียงแบบทูล จะหาคนเสียงเหมือนเป๊ะ ยากมาก ไม่เหมือนชาย เมืองสิงห์ หรือชรินทร์ นันทนาคร หรือสุเทพ วงศ์กำแหง ที่มีเงาเสียงในแนวเดียวกันเพียบ (สุเทพมีลูกศิษย์ตระกูล เทพ เช่น ธานินทร์ ชรัมภ์ ถึงจะไม่นุ่มเท่า แต่บางคนก็ใกล้เคียง) แต่ของทูล แม้จะมีคนพยายามเลียน แต่เนื้อเสียงไม่เหมือนสักคน ที่ใกล้เคียงที่สุด น่าจะเป็นภูมิ ภิญโญ คนเดียวเท่านั้นเอง และจากที่วิเคราะห์ไปขั้นต้น ว่านักร้องกลุ่มสุเทพ ชรินทร์ ชาย ใช้การปรับแต่งเสียง เช่น สุเทพ ใช้กล้ามเนื้อกระบังลม และกระพุ้งแก้มมาก ชาย เมืองสิงห์ใช้เพดานอ่อน จมูก ส่วนชรินทร์ใช้เสียงก้องขึ้นจมูกมากๆ ดังนั้นจึงมีคนเลียนแบบได้ (จากการปรับแต่งเหมือนกัน) แต่ของทูล ถ้าจะให้เหมือน ต้องเป็นคนที่บังเอิญเส้นเสียงเหมือนกัน หรือเปล่าครับ?
หวังว่าอาจารย์จะพอช่วยผมได้นะครับ
ด้วยความเคารพอย่างสูง
........................................................
ตอบครับ
มีจดหมายถามเรื่องเจ็บไข้ได้ป่วยรอตอบอยู่เป็นร้อยฉบับ แต่ผมหยิบจดหมายไร้สาระของคุณขึ้นมาตอบก่อน เพราะบางอารมณ์ผมก็ชอบทำเรื่องไร้สาระเหมือนกัน
ถามว่าทำไมทูลถึงร้องเพลงเพราะ ตอบว่า เออ..ผมก็ไม่รู้เหมือนกันแฮะ ประเด็นทั้งหลายที่คุณหยิบยกมานั้นอ่านแล้วผมก็ชอบใจว่าเพลิดเพลินดี แต่ผมไม่มีกึ๋นที่จะไปวิจารณ์สักนิดเดียว
ไม่กี่วันมานี้ผมนั่งเรือไปช่วยน้ำท่วมที่อยุธยา ช่วงเลียบริมน้ำแม่น้ำ เห็นบ้านเล็กบ้านน้อยริมน้ำโผล่มาแต่หลังคา แล้วนึกถึงเพลงของทูลที่ว่า
“...พี่ฝันจะสร้าง รังรัก สักหนึ่งหลัง
ณ ริมฝั่ง เจ้าพระยา อยู่อาศัย...”
นี่แสดงว่าสมัยที่คนรุ่นโน้นเขียนเพลงนี้ ต้องไม่เคยได้ยินข่าวคราวน้ำท่วมบ้าเลือดแบบปี 2554 มาก่อนเลย
แต่ยังไงผมก็ชอบเพลงนี้มาก โดยเฉพาะท่อนแยกที่เปลี่ยนจังหวะให้เกิดความรู้สึก more motivational ที่ว่า
“...รังรัก ในจินตนาการ
วิมาน รักอันบรรเจิดจ้า
ริมหน้าต่างปลูกซุ้มลัดดา
ห้องนอนสีฟ้า ติดม่านชมพู..”
เมื่อหลายเดือนก่อนผมพาลูกเมียขับรถเที่ยวไปตามถิ่นชนบทของอังกฤษ ไปพักค้างคืนในไร่แถวชนบทคอทสวอลด์ (Cotswolds) พอรุ่งเช้าก็ขับรถไปที่หมู่บ้านชื่อเกรทติว (Great Tew) ตั้งใจจะไปดูร้านเหล้าเก่าแก่มุงหลังคาจากที่นั่น แต่ก็โดยบังเอิญได้เห็นกระท่อมเท่มากหลังหนึ่ง มีห้องนอนสีฟ้าปนคราม ติดม่านสีชมพู เพียงแต่ซุ้มต้นไม้ข้างนอกหน้าต่างไม่ใช่ซุ้มลัดดา แต่เป็นต้นวิสซีเรียซึ่งออกดอกเป็นพวงย้อยสีม่วงแทน แต่ภาพนั้นแมทช์กับเพลงของทูลได้ไม่มีที่ติ ทำให้ผมอดไม่ได้ต้องฮัมเพลงท่อนต่อไปออกมาดังๆจนผู้ร่วมเดินทางต้องแปลกใจ
“...ความรักเป็นมนต์ดลใจ
ฝันไป มีพลังใจต่อสู้
รอพี่หน่อยเถอะนะโฉมตรู
มินานจะรู้ ว่ารังรักอยู่แห่งไหน..”
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์