หัวใจเต้นช้า จนหน้ามืด
เรียนสอบถามค่ะ เนื่องจากมีอาการหน้ามืดเวียนศีรษะชาบริเวณใบหน้าเมื่อใช้เครื่องวัดความดันและชีพจร พบว่า มีความดัน ที100,60 และหัวใจเต้นที่40ไม่ทราบว่าอาการดังกล่าวจะเป็นโรคหัวใจหรือไม่และต้องไปทำการตรวจ EKCO อีกหรือไม่ค่ะ
ตอบครับ
1. ทีหลังรบกวนให้ช่วยบอกข้อมูลพื้นฐานเช่นอายุ น้ำหนักตัว ส่วนสูง กิจกรรมที่ออกแรงทำได้อยู่เป็นประจำวัน และปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจขาดเลือดเช่น บุหรี่ ไขมัน เบาหวาน ยาที่กินอยู่ประจำ มาด้วย ก็จะช่วยให้ผมวิเคราะห์ปัญหาของคุณได้ละเอียดรอบคอบขึ้นครับ เพราะอยู่ๆก็บอกอาการมาเลย ก็เหมือนกับโทรศัพท์ไปถามช่างที่อู่ปากซอยว่ารถของผมเสียงดังแก๊กๆ โดยไม่ยอมบอกว่าเป็นรถเก๋ง หรือรถบรรทุก หรือรถสามล้อ ซึ่งเป็นข้อมูลพื้นฐาน นี่ยังไม่ต้องพูดข้อมูลเชิงลึกขึ้นไปเช่นว่ามันเป็นรถเบ้นซ์หรือโตโยต้า ผมเชื่อว่าช่างบางคนอาจจะแนะนำคุณได้ก็จริงว่าไปซื้อล้อแม็กมาเปลี่ยนสิครับหายแน่ แต่รถคุณเป็นรถสามล้อมันจะใส่ล้อแม็กได้ไหมเนี่ย..เป็นต้น
2. จากข้อมูลที่มี ถ้าชีพจรช้าระดับ 40 ครั้งต่อนาที เรื่องนี้อย่างเดียวก็เป็นความผิดปกติที่ทำให้หน้ามืดหมดสติได้แล้วครับ สาเหตุของชีพจรช้าจนหน้ามืดนี้ อาจเกิดจาก
2.1 ยาที่กิน โดยเฉพาะในกรณีที่เป็นโรคหัวใจขาดเลือดอยู่ก่อนแล้วหมอให้กินยากั้นเบต้า (betablocker) หรือกรณีเป็นหัวใจล้มเหลวแล้วหมอให้กินยา digoxin ภาวะหัวใจเต้นช้าจากพิษของยา เป็นเรื่องอันตราย และทำให้เสียชีวิตได้ กรณีเช่นนี้รักษาไม่ยาก เพียงแต่หยุดยา อาการก็จะหาย
2.2 จากปุ่มคุมจังหวะการเต้นของหัวใจ (SA node) ป่วยเป็นครั้งคราว เป็นๆหายๆ หมายความว่ามันทำงานบ้างไม่ทำงานบ้าง (sick sinus syncdrome) มักจะเป็นกับคนอายุมากแล้ว แต่นานๆครั้งก็เจอในคนอายุน้อยระดับสามสิบสี่สิบได้ กรณีเช่นนี้รักษาโดยการฝังเครื่องให้จังหวะ (pace maker) ไว้ที่ใต้ผิวหนัง เพื่อให้ทำหน้าที่ให้จังหวะแทนปุ่มคุมจังหวะในช่วงที่ปุ่มคุมจังหวะป่วย
2.3 โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบหรือกล้ามเนื้อหัวใจพิการ
2.4 เป็นโรคหัวใจขาดเลือด ทำให้ปุ่มคุมจังหวะก็ขาดเลือดกับเขาไปด้วย เลยทำงานเพี้ยนไป
3. ถ้าคุณไปหาหมอ ผมเดาว่าขั้นตอนที่หมอเขาจะทำมีดังนี้
3.1 ถามว่ากินยาอะไรอยู่บ้าง ถ้ามียาที่ทำให้หัวใจเต้นช้าก็ให้หยุดยา แล้วกลับมาดูใหม่หลังจากนั้นสัก 7 วัน ถ้าชีพจรเร็วขึ้นก็จบ
3.2 ตรวจคลื่นหัวใจดู ถ้าคลื่นหัวใจปกติดีหมด คราวนี้ต้องให้คุณห้อยเครื่องติดตามคลื่นหัวใจ (Holter monitoring) ห้อยนานแค่ไหนก็สุดแล้วแต่อยากห้อย ส่วนใหญ่ก็ให้ห้อยกัน 7 วัน ถ้าเกิดมันเต้นช้าลงอีกก็จะได้เอาคลื่นหัวใจออกมาวิเคราะห์ว่าเป็นเพราะปุ่มให้จังหวะป่วยจริงหรือเปล่า ถ้าจริงก็ต้องฝังเครื่องกระตุ้น
3.3 ประเมินว่ามีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจพิการซึ่งมักพบร่วมกับหัวใจเต้นผิดจังหวะด้วยหรือไม่ โดยเครื่องมือที่ใช้ประเมินก็คือ echo ถือเป็นมาตรฐานการตรวจประเมินหัวใจเต้นผิดจังหวะว่าต้องตรวจประเมินกล้ามเนื้อหัวใจพิการร่วมด้วยเสมอ
3.4 ประเมินว่ามีภาวะหัวใจขาดเลือดร่วมด้วยหรือไม่ เพราะบางทีปุ่มให้จังหวะป่วยเพราะมันได้เลือดไม่พอ หมายถึงว่าเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบด้วย จึงเป็นมาตรฐานการประเมินหัวใจเต้นผิดจังหวะว่าต้องประเมินภาวะหัวใจขาดเลือดด้วยเสมอ วิธีประเมินที่นิยมก็คือวิ่งให้สายพาน (EST) แต่ก็สามารถประเมินด้วยวิธีอื่นเช่นทำ stressed echo หมายความว่าตรวจคลื่นเสียงขณะที่ฉีดยาบีบให้หัวใจทำงานมาก เพื่อดูว่ามันจะขาดเลือดหรือเปล่า
3.5 ทั้งหมดนั้นควรจะได้คำตอบ แต่ถ้ายังไม่ได้คำตอบอีก และปัญหาหน้ามืดยังคงอยู่ ก็คงหลีกเลี่ยงไม่ได้ต้องทำการตรวจสวนหัวใจ (CAG) เพื่อวินิจฉัยแยกว่ามี หรือไม่มี โรคหัวใจขาดเลือดกันแน่ ถ้าไม่มี ก็จะได้รักษาด้วยการฝังเครื่องกระตุ้นอย่างเดียว แต่ถ้ามี ก็ต้องรักษาเรื่องหลอดเลือดหัวใจตีบซึ่งเป็นต้นเหตุให้หัวใจเต้นช้าเสียก่อน แล้วถ้าจำเป็นก็ฝังเครื่องกระตุ้นหัวใจทีหลัง
จะเห็นว่าเป็นเรื่องใหญ่เหมือนกันนะครับ ก็แน่นอนละ ถ้าอะไรเกิดไกลหัวใจ เราถือว่าเรื่องเล็ก แต่นี่เหตุเกิดที่หัวใจโดยตรง ยังไงก็ต้องยอมลำบากไปหาหมอหน่อยละครับ
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
ตอบครับ
1. ทีหลังรบกวนให้ช่วยบอกข้อมูลพื้นฐานเช่นอายุ น้ำหนักตัว ส่วนสูง กิจกรรมที่ออกแรงทำได้อยู่เป็นประจำวัน และปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจขาดเลือดเช่น บุหรี่ ไขมัน เบาหวาน ยาที่กินอยู่ประจำ มาด้วย ก็จะช่วยให้ผมวิเคราะห์ปัญหาของคุณได้ละเอียดรอบคอบขึ้นครับ เพราะอยู่ๆก็บอกอาการมาเลย ก็เหมือนกับโทรศัพท์ไปถามช่างที่อู่ปากซอยว่ารถของผมเสียงดังแก๊กๆ โดยไม่ยอมบอกว่าเป็นรถเก๋ง หรือรถบรรทุก หรือรถสามล้อ ซึ่งเป็นข้อมูลพื้นฐาน นี่ยังไม่ต้องพูดข้อมูลเชิงลึกขึ้นไปเช่นว่ามันเป็นรถเบ้นซ์หรือโตโยต้า ผมเชื่อว่าช่างบางคนอาจจะแนะนำคุณได้ก็จริงว่าไปซื้อล้อแม็กมาเปลี่ยนสิครับหายแน่ แต่รถคุณเป็นรถสามล้อมันจะใส่ล้อแม็กได้ไหมเนี่ย..เป็นต้น
2. จากข้อมูลที่มี ถ้าชีพจรช้าระดับ 40 ครั้งต่อนาที เรื่องนี้อย่างเดียวก็เป็นความผิดปกติที่ทำให้หน้ามืดหมดสติได้แล้วครับ สาเหตุของชีพจรช้าจนหน้ามืดนี้ อาจเกิดจาก
2.1 ยาที่กิน โดยเฉพาะในกรณีที่เป็นโรคหัวใจขาดเลือดอยู่ก่อนแล้วหมอให้กินยากั้นเบต้า (betablocker) หรือกรณีเป็นหัวใจล้มเหลวแล้วหมอให้กินยา digoxin ภาวะหัวใจเต้นช้าจากพิษของยา เป็นเรื่องอันตราย และทำให้เสียชีวิตได้ กรณีเช่นนี้รักษาไม่ยาก เพียงแต่หยุดยา อาการก็จะหาย
2.2 จากปุ่มคุมจังหวะการเต้นของหัวใจ (SA node) ป่วยเป็นครั้งคราว เป็นๆหายๆ หมายความว่ามันทำงานบ้างไม่ทำงานบ้าง (sick sinus syncdrome) มักจะเป็นกับคนอายุมากแล้ว แต่นานๆครั้งก็เจอในคนอายุน้อยระดับสามสิบสี่สิบได้ กรณีเช่นนี้รักษาโดยการฝังเครื่องให้จังหวะ (pace maker) ไว้ที่ใต้ผิวหนัง เพื่อให้ทำหน้าที่ให้จังหวะแทนปุ่มคุมจังหวะในช่วงที่ปุ่มคุมจังหวะป่วย
2.3 โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบหรือกล้ามเนื้อหัวใจพิการ
2.4 เป็นโรคหัวใจขาดเลือด ทำให้ปุ่มคุมจังหวะก็ขาดเลือดกับเขาไปด้วย เลยทำงานเพี้ยนไป
3. ถ้าคุณไปหาหมอ ผมเดาว่าขั้นตอนที่หมอเขาจะทำมีดังนี้
3.1 ถามว่ากินยาอะไรอยู่บ้าง ถ้ามียาที่ทำให้หัวใจเต้นช้าก็ให้หยุดยา แล้วกลับมาดูใหม่หลังจากนั้นสัก 7 วัน ถ้าชีพจรเร็วขึ้นก็จบ
3.2 ตรวจคลื่นหัวใจดู ถ้าคลื่นหัวใจปกติดีหมด คราวนี้ต้องให้คุณห้อยเครื่องติดตามคลื่นหัวใจ (Holter monitoring) ห้อยนานแค่ไหนก็สุดแล้วแต่อยากห้อย ส่วนใหญ่ก็ให้ห้อยกัน 7 วัน ถ้าเกิดมันเต้นช้าลงอีกก็จะได้เอาคลื่นหัวใจออกมาวิเคราะห์ว่าเป็นเพราะปุ่มให้จังหวะป่วยจริงหรือเปล่า ถ้าจริงก็ต้องฝังเครื่องกระตุ้น
3.3 ประเมินว่ามีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจพิการซึ่งมักพบร่วมกับหัวใจเต้นผิดจังหวะด้วยหรือไม่ โดยเครื่องมือที่ใช้ประเมินก็คือ echo ถือเป็นมาตรฐานการตรวจประเมินหัวใจเต้นผิดจังหวะว่าต้องตรวจประเมินกล้ามเนื้อหัวใจพิการร่วมด้วยเสมอ
3.4 ประเมินว่ามีภาวะหัวใจขาดเลือดร่วมด้วยหรือไม่ เพราะบางทีปุ่มให้จังหวะป่วยเพราะมันได้เลือดไม่พอ หมายถึงว่าเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบด้วย จึงเป็นมาตรฐานการประเมินหัวใจเต้นผิดจังหวะว่าต้องประเมินภาวะหัวใจขาดเลือดด้วยเสมอ วิธีประเมินที่นิยมก็คือวิ่งให้สายพาน (EST) แต่ก็สามารถประเมินด้วยวิธีอื่นเช่นทำ stressed echo หมายความว่าตรวจคลื่นเสียงขณะที่ฉีดยาบีบให้หัวใจทำงานมาก เพื่อดูว่ามันจะขาดเลือดหรือเปล่า
3.5 ทั้งหมดนั้นควรจะได้คำตอบ แต่ถ้ายังไม่ได้คำตอบอีก และปัญหาหน้ามืดยังคงอยู่ ก็คงหลีกเลี่ยงไม่ได้ต้องทำการตรวจสวนหัวใจ (CAG) เพื่อวินิจฉัยแยกว่ามี หรือไม่มี โรคหัวใจขาดเลือดกันแน่ ถ้าไม่มี ก็จะได้รักษาด้วยการฝังเครื่องกระตุ้นอย่างเดียว แต่ถ้ามี ก็ต้องรักษาเรื่องหลอดเลือดหัวใจตีบซึ่งเป็นต้นเหตุให้หัวใจเต้นช้าเสียก่อน แล้วถ้าจำเป็นก็ฝังเครื่องกระตุ้นหัวใจทีหลัง
จะเห็นว่าเป็นเรื่องใหญ่เหมือนกันนะครับ ก็แน่นอนละ ถ้าอะไรเกิดไกลหัวใจ เราถือว่าเรื่องเล็ก แต่นี่เหตุเกิดที่หัวใจโดยตรง ยังไงก็ต้องยอมลำบากไปหาหมอหน่อยละครับ
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์