ที่ว่าแอลคาร์นิทีน (L-carnitine) ช่วยลดความอ้วนน้้น..ไม่จริง
แอลคาร์นิทีนนี้ใช้ลดความอ้วนได้ผลดีไหม และถ้าทานไปนานๆจะมีข้อเสียอะไรหรือเปล่า
(สงวนนาม)
ตอบครับ
ประเด็นที่ 1. แอลคาร์นิทีนลดน้ำหนักได้จริงหรือเปล่า คำตอบชัดๆของวงวิทยาศาสตร์การแพทย์มีแล้ว คือ “ไม่จริง” ตอนที่อาหารเสริมตัวนี้ออกมาใหม่ๆผมก็ให้ความสนใจเป็นพิเศษ เพราะคนไข้ของผมส่วนใหญ่ก็เป็นคนเจ้าเนื้อทั้งนั้น ผมทบทวนงานวิจัยเกี่ยวกับอาหารเสริมตัวนี้ไปร้อยยี่สิบกว่างานวิจัย ส่วนใหญ่เป็นการวิจัยในสัตว์และในห้องทดลองซึ่งทางแพทย์ถือว่าเป็นหลักฐานระดับต่ำ มีอยู่สองงานวิจัยที่ทำวิจัยแบบสุ่มตัวอย่างเปรียบเทียบในคนซึ่งถือว่าเป็นงานวิจัยระดับสูง ผมเอามาใส่ไว้ในบรรณานุกรมท้ายนี้ด้วย คืองานวิจัยที่ 1 เขาเอาคนมา 38 คนจับฉลากแบ่งเป็นสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งให้กินแอลคาร์นิทีน 2 กรัมเช้าเย็น อีกกลุ่มหนึ่งให้กินอาหารเสริมหลอก แล้วให้ทั้งสองกลุ่มออกกำลังกายไปนาน 8 สัปดาห์ พบว่าทั้งสองกลุ่มต่างก็ผอมลง แต่อัตราการลดน้ำหนักได้ไม่ต่างกัน งานวิจัยที่ 2. เขาเอาคนมา 70 คนจับฉลากแบ่งเป็นสองกลุ่ม ทุกคนให้ทำเหมือนกันสามอย่างคือ(1) ปรับโภชนาการลดอาหารให้แคลอรี่ลง (2) ออกกำลังกายทุกวัน (3) กินแอลคาร์นิทีน ต่างกันเพียงแต่ว่ากลุ่มหนึ่งได้กินแอลคาร์นิทีนของจริง อีกกลุ่มได้กินยาหลอก ทำไปนาน 10 สัปดาห์พบว่าทั้งสองกลุ่มต่างก็น้ำหนักลดลงได้ไม่แตกต่างกัน หลักฐานทั้งสองนี้ยืนยันว่าแอลคาร์นิทีนไม่ช่วยลดน้ำหนักแต่อย่างใด
ประเด็นที่ 2. อาหารเสริมอย่างแอลคาร์นิทีนนี้กินมากๆจะมีผลเสียอะไรไหม ตอบว่าไม่มีใครรู้ เพราะการใช้อาหารเสริมตัวนี้ไม่ได้อยู่ในความดูแลของแพทย์จึงไม่มีการบันทึกผลข้างเคียง การจะเหมาะเอาดื้อๆว่ามันเป็นอาหาร ไม่มีผลเสียอะไรหรอกนั้นไม่ได้ เพราะโมเลกุลที่อยู่ในอาหารทุกตัวหากเอามากินในปริมาณที่มากกว่าในอาหารธรรมดาก็เกิดผลเสียได้เสมอ ตัวอย่างง่ายๆโซเดียมหรือเกลือนี่ก็เป็นอาหารธรรมด้า ธรรมดา มีอยู่ในอาหารเกือบทุกชนิด แต่คุณลองเอาเกลือใส่แคปซูลกินวันหนึ่งสักสามสิบกรัมดูสิ ผมรับประกันไม่กี่วัน..เป็นเรื่อง ดังนั้นข้อมูลความปลอดภัยของอาหารเสริมสารพัดที่เอามาขายกัน ไม่มี เพราะไม่เหมือนยาที่มีงานวิจัยความปลอดภัยรองรับอย่างรอบคอบรัดกุม ใครจะกินอาหารเสริมเหล่านี้ต้องเสี่ยงเอาเอง สำหรับคนที่กินแล้วมีอาการประหลาดๆเกิดขึ้นมา ก็ไม่ควรเสี่ยงกินต่อ
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
บรรณานุกรม
1. Villani RG, Gannon J, Self M, Rich PA. L-Carnitine supplementation combined with aerobic training does not promote weight loss in moderately obese women.Int J Sport Nutr Exerc Metab. 2000 Jun;10(2):199-207.
2. Lofgren I, Zern T, Herron K, West K, Sharman MJ, Volek JS, Shachter NS, Koo SI, Fernandez ML. Weight loss associated with reduced intake of carbohydrate reduces the atherogenicity of LDL in premenopausal women. Metabolism. 2005 Sep;54(9):1133-41.
(สงวนนาม)
ตอบครับ
ประเด็นที่ 1. แอลคาร์นิทีนลดน้ำหนักได้จริงหรือเปล่า คำตอบชัดๆของวงวิทยาศาสตร์การแพทย์มีแล้ว คือ “ไม่จริง” ตอนที่อาหารเสริมตัวนี้ออกมาใหม่ๆผมก็ให้ความสนใจเป็นพิเศษ เพราะคนไข้ของผมส่วนใหญ่ก็เป็นคนเจ้าเนื้อทั้งนั้น ผมทบทวนงานวิจัยเกี่ยวกับอาหารเสริมตัวนี้ไปร้อยยี่สิบกว่างานวิจัย ส่วนใหญ่เป็นการวิจัยในสัตว์และในห้องทดลองซึ่งทางแพทย์ถือว่าเป็นหลักฐานระดับต่ำ มีอยู่สองงานวิจัยที่ทำวิจัยแบบสุ่มตัวอย่างเปรียบเทียบในคนซึ่งถือว่าเป็นงานวิจัยระดับสูง ผมเอามาใส่ไว้ในบรรณานุกรมท้ายนี้ด้วย คืองานวิจัยที่ 1 เขาเอาคนมา 38 คนจับฉลากแบ่งเป็นสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งให้กินแอลคาร์นิทีน 2 กรัมเช้าเย็น อีกกลุ่มหนึ่งให้กินอาหารเสริมหลอก แล้วให้ทั้งสองกลุ่มออกกำลังกายไปนาน 8 สัปดาห์ พบว่าทั้งสองกลุ่มต่างก็ผอมลง แต่อัตราการลดน้ำหนักได้ไม่ต่างกัน งานวิจัยที่ 2. เขาเอาคนมา 70 คนจับฉลากแบ่งเป็นสองกลุ่ม ทุกคนให้ทำเหมือนกันสามอย่างคือ(1) ปรับโภชนาการลดอาหารให้แคลอรี่ลง (2) ออกกำลังกายทุกวัน (3) กินแอลคาร์นิทีน ต่างกันเพียงแต่ว่ากลุ่มหนึ่งได้กินแอลคาร์นิทีนของจริง อีกกลุ่มได้กินยาหลอก ทำไปนาน 10 สัปดาห์พบว่าทั้งสองกลุ่มต่างก็น้ำหนักลดลงได้ไม่แตกต่างกัน หลักฐานทั้งสองนี้ยืนยันว่าแอลคาร์นิทีนไม่ช่วยลดน้ำหนักแต่อย่างใด
ประเด็นที่ 2. อาหารเสริมอย่างแอลคาร์นิทีนนี้กินมากๆจะมีผลเสียอะไรไหม ตอบว่าไม่มีใครรู้ เพราะการใช้อาหารเสริมตัวนี้ไม่ได้อยู่ในความดูแลของแพทย์จึงไม่มีการบันทึกผลข้างเคียง การจะเหมาะเอาดื้อๆว่ามันเป็นอาหาร ไม่มีผลเสียอะไรหรอกนั้นไม่ได้ เพราะโมเลกุลที่อยู่ในอาหารทุกตัวหากเอามากินในปริมาณที่มากกว่าในอาหารธรรมดาก็เกิดผลเสียได้เสมอ ตัวอย่างง่ายๆโซเดียมหรือเกลือนี่ก็เป็นอาหารธรรมด้า ธรรมดา มีอยู่ในอาหารเกือบทุกชนิด แต่คุณลองเอาเกลือใส่แคปซูลกินวันหนึ่งสักสามสิบกรัมดูสิ ผมรับประกันไม่กี่วัน..เป็นเรื่อง ดังนั้นข้อมูลความปลอดภัยของอาหารเสริมสารพัดที่เอามาขายกัน ไม่มี เพราะไม่เหมือนยาที่มีงานวิจัยความปลอดภัยรองรับอย่างรอบคอบรัดกุม ใครจะกินอาหารเสริมเหล่านี้ต้องเสี่ยงเอาเอง สำหรับคนที่กินแล้วมีอาการประหลาดๆเกิดขึ้นมา ก็ไม่ควรเสี่ยงกินต่อ
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
บรรณานุกรม
1. Villani RG, Gannon J, Self M, Rich PA. L-Carnitine supplementation combined with aerobic training does not promote weight loss in moderately obese women.Int J Sport Nutr Exerc Metab. 2000 Jun;10(2):199-207.
2. Lofgren I, Zern T, Herron K, West K, Sharman MJ, Volek JS, Shachter NS, Koo SI, Fernandez ML. Weight loss associated with reduced intake of carbohydrate reduces the atherogenicity of LDL in premenopausal women. Metabolism. 2005 Sep;54(9):1133-41.