โรคซึมเศร้า (Major depression)
โรคซึมเศร้า (Major depression)
เกณฑ์วินิจฉัย
โรคซึมเศร้า หรือ Major depression (เรียกอีกชื่อว่า unipolar depression) ในทางการแพทย์มีเกณฑ์วินิจฉัยดังนี้
ต้องมีอาการต่อไปนี้อย่างน้อยห้าอย่างภายในระยะ 2 สัปดาห์เดียวกัน โดยในห้าอย่างนั้นต้องมีอย่างที่ 1 และ 2 อยู่ด้วย
1. มีอารมณ์ซึมเศร้า
2. ไม่สนใจเรื่องใดๆ หรือสิ่งบันเทิงใดๆ
3. น้ำหนักลด หรือน้ำหนักเพิ่มผิดตา
4. นอนไม่หลับ หรือเอาแต่นอนหลับทั้งวัน
5. การเคลื่อนไหวลนลาน หรือเชื่องช้าผิดจากเดิม
6. เปลี้ยล้าหรือหมดพลัง
7. รู้สึกตัวเองไร้ค่า
8. ตั้งสติไม่ได้ คิดอะไรไม่ตก ตัดสินใจอะไรไม่ได้
9. คิดวนเวียนเรื่องความตาย อยากตาย การฆ่าตัวตาย
อาการต้องไม่ใช่แบบสลับกับอาการโอ่อ่าร่าเริงดีใจเกินเหตุ ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นจะถูกจัดให้เป็นโรคจิตชนิด bipolar disorder ไม่ใช่ภาวะซึมเศร้า
อาการเป็นมากถึงขั้นทำให้การทำงานปกติเสียไป
อาการไม่ได้เกิดจากโรคทางกายหรือการใช้ยาหรือสาร
ไม่ใช่ความเศร้าจากการสูญเสียญาติหรือคนสนิท (bereavement) ซึ่งกรณีเช่นนั้นจะเป็นนานไม่เกินสองเดือน
บ่อยครั้งที่ภาวะซึมเศร้าแสดงออกด้วยอาการทางร่างกาย เช่น ปวดหัว ปวดท้อง ถ้าเป็นผู้สูงอายุอาจแสดงออกด้วยอาการสมรรถนะในการทำงานประจำวันลดลง หรือสมองมึนงงสับสน หรืออาการไม่ยอมทำอะไรคล้ายคนเป็นโรคสมองเสื่อม (pseudodementia) ในกรณีที่เป็นเด็กโรคนี้อาจแสดงออกด้วยอาการเรียนหนังสือตก หงุดหงิดโมโหง่าย หรือแยกตัวจากเพื่อนๆ
ยาหลายตัวทำให้เกิดอาการซึมเศร้าได้ เช่นยาลดความดัน (ยากั้นเบต้า ยาต้านแคลเซียม) ยาสะเตียรอยด์ ยากระเพาะอาหาร (เช่นยาระงับการหลั่งกรด) ยากล่อมประสาท ยาคลายกล้ามเนื้อ ยากดความอยากอาหาร ยาเคมีบำบัด ฮอร์โมนเพศ และโรคของต่อมไร้ท่อที่มีผลต่อฮอร์โมน เป็นต้น สารเสพติดก็เป็นตัวก่อภาวะซึมเศร้าได้ เช่น แอลกอฮอล์ โคเคน ยาบ้า กัญชา เป็นต้น
การรักษาโรคซึมเศร้า
หลักฐานวิจัยบ่งบอกว่าภาวะซึมเศร้ามีความสัมพันธ์กับการที่สารซีโรโทนินซึ่งทำหน้าที่ส่งต่อข้อมูลระหว่างเซลประสาทในสมองมีจำนวนลดลง มาตรการรักษาด้วยยาจึงเป็นมาตรการหลักที่แพทย์นิยมใช้ โดยมียาที่แพทย์ใช้อยู่สองกลุ่ม คือ
(1) กลุ่ม Selective serotonin reuptake inhibitors (SSRI) เช่น Sertraline (Zoloft) 25-50 มก.ต่อวัน Paroxetine (Paxil) 10-20 มก.ต่อวัน ในการให้ยา ต้องให้นาน 2-6 สัปดาห์ก่อนที่จะบอกได้ว่าการสนองตอบต่อยาดีหรือไม่ งานวิจัยแบบเมตาอานาไลซีสเพื่อเปรียบเทียบยาในกลุ่มนี้ 12 ตัว พบว่าอัตราการไม่สนองตอบต่อยาเมื่อผ่านไปแล้ว 2-6 สัปดาห์มีถึง 38% และถ้านับรวมผู้ที่สนองตอบต่อยาบ้างแต่ไม่ถึงกับอาการหายไปด้วย อัตราความล้มเหลวของยามีถึง 54%
(2) ยากลุ่ม Tricyclic antidepressants เช่น amitriptyline วันละ 50-150 มก. ยาในกลุ่มนี้อาจทำให้ทำให้สับสนมากขึ้น และง่วงตอนกลางวันได้
มาตรการไม่ใช้ยารวมถึงการช็อกสมองด้วยไฟฟ้า (ECT) ซึ่งยังเป็นทางเลือกมาตรฐานในการรักษาโรคนี้อยู่
ส่วนมาตรการที่ผู้ป่วยทำได้เองรวมถึง
(1) การหัดใช้ชีวิตอยู่กับปัจจุบัน slow down ให้ชีวิตลดความเร่งรีบลง ละเลียดกับสิ่งละอันพันละน้อยที่อยู่ตรงหน้าโดยทิ้งอดีตและอนาคตไว้ก่อน ทำอะไรให้มันน้อยลง ให้มันช้าลง
(2) จัดตารางการใช้ชีวิตประจำวันให้ร่างกายได้รับการพักผ่อนพอเพียง
(3) ออกกำลังกายให้ได้ถึงระดับมาตรฐาน คือหนักพอควร (เหนื่อยจนร้องเพลงไม่ได้) ต่อเนื่องกันวันละอย่างน้อย 30 นาที สัปดาห์ละอย่างน้อย 5 วัน ควบกับการออกกำลังกายแบบสร้างความแข็งแร็งให้กล้ามเนื้ออีกสัปดาห์ละอย่างน้อย 2 ครั้ง
(4) ฝึกตามสังเกตความคิดตัวเองให้ทัน เพื่อดับวงจรความคิดซ้ำซาก เปลี่ยนวิธีคิดใหม่เป็นคิดบวก ทางการแพทย์เรียกการรักษาแบบนี้ว่า cognitive therapy
(5) รับการสนับสนุนจากสังคมรอบตัว เช่นไปหาเพื่อน หาญาติ โทรศัพท์ปรับทุกข์กับคนที่สนิท ไม่ควรตัดขาดจากคนรอบข้าง
(6) ใช้สิ่งแวดล้อมช่วยรักษา เช่น ออกไปถูกแสงแดด (phototherapy) สัมผัสธรรมชาติ
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
บรรณานุกรม
1. American Psychiatric Association: Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders, Fourth Edition. Washington, DC, American Psychiatric Association, 1994
2. Agency for Healthcare Research and Quality. Comparative Effectiveness of Second-Generation Antidepressants in the Pharmacologic Treatment of Adult Depression. AHRQ: Agency for Healthcare Research and Quality. Available at http://effectivehealthcare.ahrq.gov/index.cfm/search-for-guides-reviews-and-reports/?pageaction=displayproduct&productid=61. Accessed on June 30, 2010.
3. Fournier JC, DeRubeis RJ, Hollon SD, Dimidjian S, Amsterdam JD, Shelton RC, et al. Antidepressant drug effects and depression severity: a patient-level meta-analysis. JAMA. Jan 6 2010;303(1):47-53.
เกณฑ์วินิจฉัย
โรคซึมเศร้า หรือ Major depression (เรียกอีกชื่อว่า unipolar depression) ในทางการแพทย์มีเกณฑ์วินิจฉัยดังนี้
ต้องมีอาการต่อไปนี้อย่างน้อยห้าอย่างภายในระยะ 2 สัปดาห์เดียวกัน โดยในห้าอย่างนั้นต้องมีอย่างที่ 1 และ 2 อยู่ด้วย
1. มีอารมณ์ซึมเศร้า
2. ไม่สนใจเรื่องใดๆ หรือสิ่งบันเทิงใดๆ
3. น้ำหนักลด หรือน้ำหนักเพิ่มผิดตา
4. นอนไม่หลับ หรือเอาแต่นอนหลับทั้งวัน
5. การเคลื่อนไหวลนลาน หรือเชื่องช้าผิดจากเดิม
6. เปลี้ยล้าหรือหมดพลัง
7. รู้สึกตัวเองไร้ค่า
8. ตั้งสติไม่ได้ คิดอะไรไม่ตก ตัดสินใจอะไรไม่ได้
9. คิดวนเวียนเรื่องความตาย อยากตาย การฆ่าตัวตาย
อาการต้องไม่ใช่แบบสลับกับอาการโอ่อ่าร่าเริงดีใจเกินเหตุ ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นจะถูกจัดให้เป็นโรคจิตชนิด bipolar disorder ไม่ใช่ภาวะซึมเศร้า
อาการเป็นมากถึงขั้นทำให้การทำงานปกติเสียไป
อาการไม่ได้เกิดจากโรคทางกายหรือการใช้ยาหรือสาร
ไม่ใช่ความเศร้าจากการสูญเสียญาติหรือคนสนิท (bereavement) ซึ่งกรณีเช่นนั้นจะเป็นนานไม่เกินสองเดือน
บ่อยครั้งที่ภาวะซึมเศร้าแสดงออกด้วยอาการทางร่างกาย เช่น ปวดหัว ปวดท้อง ถ้าเป็นผู้สูงอายุอาจแสดงออกด้วยอาการสมรรถนะในการทำงานประจำวันลดลง หรือสมองมึนงงสับสน หรืออาการไม่ยอมทำอะไรคล้ายคนเป็นโรคสมองเสื่อม (pseudodementia) ในกรณีที่เป็นเด็กโรคนี้อาจแสดงออกด้วยอาการเรียนหนังสือตก หงุดหงิดโมโหง่าย หรือแยกตัวจากเพื่อนๆ
ยาหลายตัวทำให้เกิดอาการซึมเศร้าได้ เช่นยาลดความดัน (ยากั้นเบต้า ยาต้านแคลเซียม) ยาสะเตียรอยด์ ยากระเพาะอาหาร (เช่นยาระงับการหลั่งกรด) ยากล่อมประสาท ยาคลายกล้ามเนื้อ ยากดความอยากอาหาร ยาเคมีบำบัด ฮอร์โมนเพศ และโรคของต่อมไร้ท่อที่มีผลต่อฮอร์โมน เป็นต้น สารเสพติดก็เป็นตัวก่อภาวะซึมเศร้าได้ เช่น แอลกอฮอล์ โคเคน ยาบ้า กัญชา เป็นต้น
การรักษาโรคซึมเศร้า
หลักฐานวิจัยบ่งบอกว่าภาวะซึมเศร้ามีความสัมพันธ์กับการที่สารซีโรโทนินซึ่งทำหน้าที่ส่งต่อข้อมูลระหว่างเซลประสาทในสมองมีจำนวนลดลง มาตรการรักษาด้วยยาจึงเป็นมาตรการหลักที่แพทย์นิยมใช้ โดยมียาที่แพทย์ใช้อยู่สองกลุ่ม คือ
(1) กลุ่ม Selective serotonin reuptake inhibitors (SSRI) เช่น Sertraline (Zoloft) 25-50 มก.ต่อวัน Paroxetine (Paxil) 10-20 มก.ต่อวัน ในการให้ยา ต้องให้นาน 2-6 สัปดาห์ก่อนที่จะบอกได้ว่าการสนองตอบต่อยาดีหรือไม่ งานวิจัยแบบเมตาอานาไลซีสเพื่อเปรียบเทียบยาในกลุ่มนี้ 12 ตัว พบว่าอัตราการไม่สนองตอบต่อยาเมื่อผ่านไปแล้ว 2-6 สัปดาห์มีถึง 38% และถ้านับรวมผู้ที่สนองตอบต่อยาบ้างแต่ไม่ถึงกับอาการหายไปด้วย อัตราความล้มเหลวของยามีถึง 54%
(2) ยากลุ่ม Tricyclic antidepressants เช่น amitriptyline วันละ 50-150 มก. ยาในกลุ่มนี้อาจทำให้ทำให้สับสนมากขึ้น และง่วงตอนกลางวันได้
มาตรการไม่ใช้ยารวมถึงการช็อกสมองด้วยไฟฟ้า (ECT) ซึ่งยังเป็นทางเลือกมาตรฐานในการรักษาโรคนี้อยู่
ส่วนมาตรการที่ผู้ป่วยทำได้เองรวมถึง
(1) การหัดใช้ชีวิตอยู่กับปัจจุบัน slow down ให้ชีวิตลดความเร่งรีบลง ละเลียดกับสิ่งละอันพันละน้อยที่อยู่ตรงหน้าโดยทิ้งอดีตและอนาคตไว้ก่อน ทำอะไรให้มันน้อยลง ให้มันช้าลง
(2) จัดตารางการใช้ชีวิตประจำวันให้ร่างกายได้รับการพักผ่อนพอเพียง
(3) ออกกำลังกายให้ได้ถึงระดับมาตรฐาน คือหนักพอควร (เหนื่อยจนร้องเพลงไม่ได้) ต่อเนื่องกันวันละอย่างน้อย 30 นาที สัปดาห์ละอย่างน้อย 5 วัน ควบกับการออกกำลังกายแบบสร้างความแข็งแร็งให้กล้ามเนื้ออีกสัปดาห์ละอย่างน้อย 2 ครั้ง
(4) ฝึกตามสังเกตความคิดตัวเองให้ทัน เพื่อดับวงจรความคิดซ้ำซาก เปลี่ยนวิธีคิดใหม่เป็นคิดบวก ทางการแพทย์เรียกการรักษาแบบนี้ว่า cognitive therapy
(5) รับการสนับสนุนจากสังคมรอบตัว เช่นไปหาเพื่อน หาญาติ โทรศัพท์ปรับทุกข์กับคนที่สนิท ไม่ควรตัดขาดจากคนรอบข้าง
(6) ใช้สิ่งแวดล้อมช่วยรักษา เช่น ออกไปถูกแสงแดด (phototherapy) สัมผัสธรรมชาติ
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
บรรณานุกรม
1. American Psychiatric Association: Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders, Fourth Edition. Washington, DC, American Psychiatric Association, 1994
2. Agency for Healthcare Research and Quality. Comparative Effectiveness of Second-Generation Antidepressants in the Pharmacologic Treatment of Adult Depression. AHRQ: Agency for Healthcare Research and Quality. Available at http://effectivehealthcare.ahrq.gov/index.cfm/search-for-guides-reviews-and-reports/?pageaction=displayproduct&productid=61. Accessed on June 30, 2010.
3. Fournier JC, DeRubeis RJ, Hollon SD, Dimidjian S, Amsterdam JD, Shelton RC, et al. Antidepressant drug effects and depression severity: a patient-level meta-analysis. JAMA. Jan 6 2010;303(1):47-53.