เป็นความดันแล้วไงต่อ
ไปพบคุณหมอ..ที่รพ. (สงวนนาม) คุณหมอแนะนำว่าให้ทำการตรวจความดันอย่างจริงจังกับหมอผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะเพราะว่าทุกครั้งที่ได้พบแพทย์นั้นความดันไม่ลดลงเลยถึงแม้จะได้ทำการพักก่อนทำการตรวจ ความดันจะอยู่ที่ประมาณ 130-150 คุณหมอจึงแนะนำให้มาตรวจ ซึ่งพักหลังมีการเจ็บที่หน้าอกด้วย กลัวจะมีโรคอื่นร่วมด้วยเพราะคุณหมอบอกว่าถ้าเป็นความดันจะพาโรคอื่นมาด้วย จึงเรียนถามว่า เป็นความดันแล้วเป็นอะไรได้บ้าง จะไปตรวจต้องนัดหมออย่างไรและอัตราค่าใช้จ่ายประมาณเท่าไร
ตอบ
1. ความดันเลือดสูง นำมาซึ่งโรคหลอดเลือดของสมอง (อัมพาตอัมพฤกษ์) โรคหลอดเลือดหัวใจ (หัวใจขาดเลือด) และโรคไตเรื้อรัง (ไตวายต้องล้างไต) ดังนั้นเมื่อสงสัยว่าจะเป็นความดันเลือดสูง ควรไปรับการตรวจพิสูจน์ให้แน่ชัด ถ้าเป็นแน่ชัด ควรได้รับการรักษา
2. การรักษาความดันเลือดสูงไม่จำเป็นต้องใช้ยาเสมอไป การรักษาความดันเลือดสูงโดยไม่ใช้ยาได้แก่
(1) การลดน้ำหนัก ทำให้ความดันเลือดลดลง 5-20 มม.ต่อน้ำหนักที่ลดได้ 10 กก.
(2) การเปลี่ยนไปกินอาหารที่หนักผักผลไม้โดยมีไขมันต่ำจะลดความดันได้ 8-14 มม.
(3) การลดเกลือในอาหาร จะลดความดันได้ 2-8 มม.
(4) การออกกำลังกายสม่ำเสมอ จะลดความดันได้ 2-8 มม.
(5) การเลิกดื่มแอลกอฮอล์ จะลดความดันได้ 2-4 มม.
3. การนัดหมอก็แล้วแต่ว่าอยากไปรพ.ไหนก็โทรไปรพ.นั้น บอกแผนกที่จะไปตรวจ (เป็นความดันควรไปตรวจแผนกหัวใจ) เขาก็จะรับนัดให้
4. ค่าใช้จ่ายการไปตรวจผู้ป่วยนอกรพ.เอกชน หนึ่งครั้งประมาณ 1500 -3000 บาท บอกหมอไปเลยว่ามีงบประมาณแค่นี้ ไม่ต้องกระมิดกระเมี้ยน ถ้ามีความจำเป็นต้องทำอะไรที่ต้องใช้เงินมาก เช่นต้องตรวจหัวใจเพิ่มเติม หรือต้องรักษาต่อเนื่องใช้เงินแพง หมอเขาจะส่งต่อให้ไปยังรพ.ต้นสังกัดของท่านเอง เพราะคนไทยทุกคนมีต้นสังกัดอยู่แล้ว (สามสิบบาทหรือประกันสังคมหรือราชการ)
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
ตอบ
1. ความดันเลือดสูง นำมาซึ่งโรคหลอดเลือดของสมอง (อัมพาตอัมพฤกษ์) โรคหลอดเลือดหัวใจ (หัวใจขาดเลือด) และโรคไตเรื้อรัง (ไตวายต้องล้างไต) ดังนั้นเมื่อสงสัยว่าจะเป็นความดันเลือดสูง ควรไปรับการตรวจพิสูจน์ให้แน่ชัด ถ้าเป็นแน่ชัด ควรได้รับการรักษา
2. การรักษาความดันเลือดสูงไม่จำเป็นต้องใช้ยาเสมอไป การรักษาความดันเลือดสูงโดยไม่ใช้ยาได้แก่
(1) การลดน้ำหนัก ทำให้ความดันเลือดลดลง 5-20 มม.ต่อน้ำหนักที่ลดได้ 10 กก.
(2) การเปลี่ยนไปกินอาหารที่หนักผักผลไม้โดยมีไขมันต่ำจะลดความดันได้ 8-14 มม.
(3) การลดเกลือในอาหาร จะลดความดันได้ 2-8 มม.
(4) การออกกำลังกายสม่ำเสมอ จะลดความดันได้ 2-8 มม.
(5) การเลิกดื่มแอลกอฮอล์ จะลดความดันได้ 2-4 มม.
3. การนัดหมอก็แล้วแต่ว่าอยากไปรพ.ไหนก็โทรไปรพ.นั้น บอกแผนกที่จะไปตรวจ (เป็นความดันควรไปตรวจแผนกหัวใจ) เขาก็จะรับนัดให้
4. ค่าใช้จ่ายการไปตรวจผู้ป่วยนอกรพ.เอกชน หนึ่งครั้งประมาณ 1500 -3000 บาท บอกหมอไปเลยว่ามีงบประมาณแค่นี้ ไม่ต้องกระมิดกระเมี้ยน ถ้ามีความจำเป็นต้องทำอะไรที่ต้องใช้เงินมาก เช่นต้องตรวจหัวใจเพิ่มเติม หรือต้องรักษาต่อเนื่องใช้เงินแพง หมอเขาจะส่งต่อให้ไปยังรพ.ต้นสังกัดของท่านเอง เพราะคนไทยทุกคนมีต้นสังกัดอยู่แล้ว (สามสิบบาทหรือประกันสังคมหรือราชการ)
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์