เจตนารมณ์ล่วงหน้าก่อนตาย (Advanced directive)
กราบเรียน คุณหมอสันต์
คุณพ่อเป็นมะเร็งปอดเพิ่งเสียชีวิตไป ตอนเสียชีวิตท่านทรมานพอควร ใส่ท่ออยู่ในไอซียู.สามเดือน ตอนนี้คุณแม่มาเป็นมะเร็งที่กระดูกอีกแล้ว คุณแม่กลัวว่าต้องเสียชีวิตแบบทรมานเหมือนคุณพ่อ และย้ำให้ดิฉันรับปากว่าจะไม่ยอมให้หมอทำการรักษาท่านแบบคุณพ่อ อยากถามคุณหมอสันต์ว่าจะเป็นไปได้หรือคะ เพราะดิฉันเข้าใจว่าหมอเขาก็ต้องรักษาไปตามหลักวิชาของเขา
(สงวนนาม)
ตอบครับ
สิ่งที่คุณแม่ของคุณต้องการคือการแสดงเจตนารมณ์ล่วงหน้าก่อนตาย ฝรั่งเรียกว่า advanced directive ว่ายามที่ตัวเองป่วยหนักพูดเองไม่ได้แล้ว ต้องการจะให้หมอรักษาอย่างไร อะไรจะให้ทำ อะไรจะไม่ให้ทำ เช่น ไม่ประสงค์ให้ใส่ท่อช่วยหายใจ ไม่ให้ปั๊มหน้าอกเวลาหัวใจหยุด เป็นต้น เรื่องการแสดงเจตนารมณ์ไว้ล่วงหน้าก่อนตายนี้ฝรั่งเขาทำกันเป็นเรื่องธรรมดา แต่คนไทยเท่าที่ผมทราบ ยังไม่เคยเห็นคนไข้คนไหนทำ ถามว่าทำได้ไหม ตอบว่าทำได้ครับ เพราะเมืองไทยก็มีกฎหมายออกมารองรับแล้ว คือพรบ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ซึ่งกำหนดไว้ว่า
“..มาตรา 12. บุคคลมีสิทธิทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตน หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยได้
เมื่อผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขได้ปฏิบัติตามเจตนาของบุคคลตามวรรคหนึ่งแล้ว มิให้ถือว่าการกระทำนั้นเป็นความผิดและให้พ้นจากความรับผิดชอบทั้งปวง..”
เท่าที่ผมทราบกระทรวงสาธารณสุขยังไม่ได้ออกกฎกระทรวงมารองรับในเชิงเทคนิคของการทำตามพรบ.ฉบับนี้ แต่สิทธิของผู้ป่วยได้เกิดขึ้นแล้วตามพรบ.นี้ ไม่ต้องรอกฎกระทรวงก็สามารถใช้สิทธิได้เลย ระหว่างที่ไม่มีกฎกระทรวงก็สามารถแสดงเจตนาตามวิธีที่นิยมกันทั่วไปก่อนก็ได้ คือเขียนเป็นตัวหนังสือเหมือนเขียนพินัยกรรม มีพยายานร่วมลงนามรับรู้ แล้วคุณในฐานะผู้ดูแลคุณแม่ก็เก็บไว้ เวลาคุณแม่เข้ารพ.ก็เอามาแสดงให้หมอดู เท่านั้นเองครับ ไม่ต้องห่วงว่าหมอเขาจะไม่ยังโง้นไม่ยังงี้ เพราะอันที่จริงหมอเองบางครั้งก็รู้สึกอยู่ว่าสิ่งที่ทำไปอาจจะไม่ใช่สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับคนไข้ แต่ก็ไม่รู้จะทำอย่างไร เพราะไม่รู้ว่าจริงๆแล้วคนไข้ต้องการอย่างไร เมื่อมีเจตนารมณ์เขียนไว้ชัดเจนหมอก็กำหนดแผนการรักษาได้ง่ายขึ้น และก็ไม่ต้องห่วงว่าแสดงเจตนารมณ์อย่างนี้แล้วหมอจะไม่ดูไม่แล เพราะเรื่องการใส่ท่อใส่เครื่องหรือการใช้เทคโนโลยีต่างๆ เป็นคนละประเด็นกับการดูแลผู้ป่วยไม่ให้เจ็บปวดทรมาน อย่างหลังนี้เป็นสิ่งที่หมอต้องดูแลอยู่แล้วตลอดเวลาโดยจริยธรรมวิชาชีพ ไม่ว่าผู้ป่วยจะบอกหรือไม่บอกก็ตาม
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
คุณพ่อเป็นมะเร็งปอดเพิ่งเสียชีวิตไป ตอนเสียชีวิตท่านทรมานพอควร ใส่ท่ออยู่ในไอซียู.สามเดือน ตอนนี้คุณแม่มาเป็นมะเร็งที่กระดูกอีกแล้ว คุณแม่กลัวว่าต้องเสียชีวิตแบบทรมานเหมือนคุณพ่อ และย้ำให้ดิฉันรับปากว่าจะไม่ยอมให้หมอทำการรักษาท่านแบบคุณพ่อ อยากถามคุณหมอสันต์ว่าจะเป็นไปได้หรือคะ เพราะดิฉันเข้าใจว่าหมอเขาก็ต้องรักษาไปตามหลักวิชาของเขา
(สงวนนาม)
ตอบครับ
สิ่งที่คุณแม่ของคุณต้องการคือการแสดงเจตนารมณ์ล่วงหน้าก่อนตาย ฝรั่งเรียกว่า advanced directive ว่ายามที่ตัวเองป่วยหนักพูดเองไม่ได้แล้ว ต้องการจะให้หมอรักษาอย่างไร อะไรจะให้ทำ อะไรจะไม่ให้ทำ เช่น ไม่ประสงค์ให้ใส่ท่อช่วยหายใจ ไม่ให้ปั๊มหน้าอกเวลาหัวใจหยุด เป็นต้น เรื่องการแสดงเจตนารมณ์ไว้ล่วงหน้าก่อนตายนี้ฝรั่งเขาทำกันเป็นเรื่องธรรมดา แต่คนไทยเท่าที่ผมทราบ ยังไม่เคยเห็นคนไข้คนไหนทำ ถามว่าทำได้ไหม ตอบว่าทำได้ครับ เพราะเมืองไทยก็มีกฎหมายออกมารองรับแล้ว คือพรบ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ซึ่งกำหนดไว้ว่า
“..มาตรา 12. บุคคลมีสิทธิทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตน หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยได้
เมื่อผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขได้ปฏิบัติตามเจตนาของบุคคลตามวรรคหนึ่งแล้ว มิให้ถือว่าการกระทำนั้นเป็นความผิดและให้พ้นจากความรับผิดชอบทั้งปวง..”
เท่าที่ผมทราบกระทรวงสาธารณสุขยังไม่ได้ออกกฎกระทรวงมารองรับในเชิงเทคนิคของการทำตามพรบ.ฉบับนี้ แต่สิทธิของผู้ป่วยได้เกิดขึ้นแล้วตามพรบ.นี้ ไม่ต้องรอกฎกระทรวงก็สามารถใช้สิทธิได้เลย ระหว่างที่ไม่มีกฎกระทรวงก็สามารถแสดงเจตนาตามวิธีที่นิยมกันทั่วไปก่อนก็ได้ คือเขียนเป็นตัวหนังสือเหมือนเขียนพินัยกรรม มีพยายานร่วมลงนามรับรู้ แล้วคุณในฐานะผู้ดูแลคุณแม่ก็เก็บไว้ เวลาคุณแม่เข้ารพ.ก็เอามาแสดงให้หมอดู เท่านั้นเองครับ ไม่ต้องห่วงว่าหมอเขาจะไม่ยังโง้นไม่ยังงี้ เพราะอันที่จริงหมอเองบางครั้งก็รู้สึกอยู่ว่าสิ่งที่ทำไปอาจจะไม่ใช่สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับคนไข้ แต่ก็ไม่รู้จะทำอย่างไร เพราะไม่รู้ว่าจริงๆแล้วคนไข้ต้องการอย่างไร เมื่อมีเจตนารมณ์เขียนไว้ชัดเจนหมอก็กำหนดแผนการรักษาได้ง่ายขึ้น และก็ไม่ต้องห่วงว่าแสดงเจตนารมณ์อย่างนี้แล้วหมอจะไม่ดูไม่แล เพราะเรื่องการใส่ท่อใส่เครื่องหรือการใช้เทคโนโลยีต่างๆ เป็นคนละประเด็นกับการดูแลผู้ป่วยไม่ให้เจ็บปวดทรมาน อย่างหลังนี้เป็นสิ่งที่หมอต้องดูแลอยู่แล้วตลอดเวลาโดยจริยธรรมวิชาชีพ ไม่ว่าผู้ป่วยจะบอกหรือไม่บอกก็ตาม
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์