ถั่วและนัทไม่ได้เพิ่มไขมันเลว (LDL) ตรงกันข้าม มันช่วยลดไขมันในเลือดได้

(ภาพวันนี้ / นนทรี ในความมืด)

(กรณีอ่านจากเฟซบุ้คกรุณาคลิกที่ภาพข้างล่าง)

เรียนคุณหมอสันต์

ชอบกินถั่วและนัท แต่ไปหาหมอแล้วหมอห้ามกินถั่วและนัทเพราะมีไขมัน LDL สูง หมอว่ากินมากไขมันในเลือดจะสูงขึ้น อยากสอบถามคุณหมอว่าเป็นโรคไขมันในเลือดสูงกินถั่วและนัทได้หรือไม่คะ

…………………………………………………………

ตอบครับ

งานวิจัยเรื่องถั่วและนัทต่อสุขภาพส่วนใหญ่เป็นงานวิจัยขนาดเล็ก จำเป็นต้องอาศัยผลการวิเคราะห์แบบรวมข้อมูลจากทุกงานวิจัย (meta analysis) มาตอบคำถามของคุณ ผมแยกเป็นสองประเด็นดังนี้

  1. ประเด็นผลของการกินถั่วและนัทต่อระดับไขมันในเลือด งานวิจัยในภาพใหญ่พบว่าการกินถั่วและนัทสัมพันธ์กับการมีไขมันในเลือดดีขึ้น คือไขมันรวมลดลง ไตรกลีเซอไรด์ลดลง ส่วนไขมันเลว(LDL)บ้างว่าลดลงเล็กน้อย บ้างว่าไม่เปลี่ยนแปลง
  2. ประเด็นผลของการกินถั่วและนัทต่อการเป็นโรค งานวิจัยในภาพใหญ่พบว่าการกินถั่วและนัทสัมพันธ์กับการป่วยเป็นโรคหัวใจหลอดเลือดและโรคเบาหวานน้อยลง
  3. ประเด็นความสับสนระหว่างคอนเซ็พท์ (concept) กับ ความจริง (fact) คำแนะนำของแพทย์และข้อมูลที่ร่อนอยู่ในอินเตอร์เน็ทมีจำนวนมากที่เป็นคอนเซ็พท์ แปลว่า ตรรกะ หลักคิด ทฤษฎี สมมุติฐานเรื่องกลไกการออกฤทธิ์ ซึ่งมีเนื้อหาอยู่เยอะมาก เรื่องเดียวมีได้หลายคอนเซ็พท์ซึ่งบ่อยครั้งก็ไปในทิศทางตรงกันข้าม โดยที่ทั้งหมดนั้นไม่เกี่ยวอะไรกับความจริงที่ได้จากการวิจัยในคน (fact) ซึ่งงานวิจัยในคนนี้ก็ยังต้องแบ่งระดับชั้นและตรวจคุณภาพกันอีกว่าเชื่อถือได้หรือไม่ได้ ประเด็นสำคัญคือพอได้ยินใครพูดถึงคอนเซ็พท์อะไรในทางการแพทย์ขึ้นมาก็อย่ารีบไปกระต๊าก กระต๊าก..ก แม้บางครั้งคนพูดถึงคอนเซ็พท์นั้นจะเป็นแพทย์เสียเอง ให้ตรวจสอบกับข้อมูลความจริงที่ได้จากการวิจัยในคนจริงๆก่อนเสมอ ก่อนที่จะนำไปใช้ในการดูแลสุขภาพตนเอง

นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์

บรรณานุกรม

  1. Xia JY, Yu JH, Xu DF, Yang C, Xia H, Sun GJ. The Effects of Peanuts and Tree Nuts on Lipid Profile in Type 2 Diabetic Patients: A Systematic Review and Meta-Analysis of Randomized, Controlled-Feeding Clinical Studies. Front Nutr. 2021 Dec 1;8:765571. doi: 10.3389/fnut.2021.765571. PMID: 34926548; PMCID: PMC8679310.
  2. Afshin A, Micha R, Khatibzadeh S, Mozaffarian D. Consumption of nuts and legumes and risk of incident ischemic heart disease, stroke, and diabetes: a systematic review and meta-analysis. Am J Clin Nutr. 2014 Jul;100(1):278-88. doi: 10.3945/ajcn.113.076901. Epub 2014 Jun 4. PMID: 24898241; PMCID: PMC4144102.

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เจ็ดใครหนอ

สอนวิธีแปลผลเคมีของเลือด

กินคีโตไข่ต้มไก่ต้มทุกวันแล้วหลอดเลือดหัวใจตีบ

ความแก่..เหมือนหมาถูกต้อนเข้ามุมให้จนตรอก

ชีวิตเมื่อตายไปแล้ว

เปลี่ยนอาหาร ปั่นจักรยาน น้ำตาลลด ความดันลด แต่ไขมันทำไมไม่ลด

ท่านอายุเก้าสิบแล้วยังไม่รู้ แล้วท่านจะรู้มันไปทำพรื้อละครับ

สิ่งที่ขาดหายไปจากชีวิตคนเราคือความเบิกบาน (Joy)

อายุ 70 ปีถูกคนในบ้านไล่ให้ไปฉีดวัคซีนไข้เลือดออก

มะเร็งต่อมลูกหมากแพร่กระจายไปกระดูกขาแล้ว จะไปต่อไงดี