(เรื่องไร้สาระ4) เล่าเรื่องเมื่อขับรถขึ้นเหนือ
6 มค. 63
กว่าจะระดมพลครบสามพ่อแม่ลูกและเคลื่อนพลออกจากบ้านกรุงเทพได้ก็บ่ายคล้อยเกือบเย็น ขับมาถึงสิงห์บุรีเป็นเวลาตะวันใกล้ตกดิน จึงชวนกันแวะดูวัดไทร ที่ ต.ชีน้ำร้าย อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี วัดนี้อยู่ริมฝั่งเจ้าพระยาซึ่งยามนี้น้ำแห้งขอดจนแทบเอาไม้กระดานพาดเดินข้ามได้ มันเป็นวัดขนาดเล็กพื้นที่ไม่เกินหนึ่งไร่ มีโบสถ์อยู่หลังเดียว แต่ไม่มีที่ให้ภิกษุจำพรรษาเพราะโบสถ์นี้ไม่มีหลังคา มีแต่ผนังซึ่งถูกต้นไทรยึดไปเสียเกือบรอบด้านแล้วจนกลายเป็นเอกลักษณ์ของวัด สาเหตุที่โบสถ์หลังนี้ไม่มีหลังคานั้นเรื่องที่เขียนไว้ที่ป้ายเล่าว่าเป็นเพราะขณะที่ชาวบ้านกำลังก่อสร้างวัดมาได้ครึ่งหนึ่งคือปั้นพระประธานเสร็จแล้วแต่ยังไม่ทันได้ขึ้นหลังคา ก็มีพระมาเข้าฝันผู้เป็นหัวแรงการสร้างวัดว่าห้ามไม่ให้มุงหลังคาโบสถ์นี้ ด้วยความกลัวผีชาวบ้านก็เลยหยุดการสร้างกึก..ก ไว้แค่นั้น
เมื่อผมเข้าไปถ่ายรูปภายในโบสถ์ก็ถึงบางอ้อว่าการก่อสร้างถูกสั่งให้หยุดเพราะการก่อสร้างคงทำผิดสะเป๊คนี่เอง ผมหมายถึงตัวพระประธาน เพราะปกติพระพุทธรูปซึ่งสื่อความหมายถึงพระพุทธเจ้านั้นพระพักตร์ต้องยิ้มที่มุมปากหรืออย่างน้อยต้องอมยิ้มนิดๆ เพราะพระพุทธองค์ทรงเป็นผู้
บรรลุความหลุดพ้นจากความคิดไร้สาระทั้งหลายแล้วย่อมจะต้องผ่อนคลาย 100% ไม่มีเหตุอะไรจะมาเคร่งเครียดหน้าตูมเหมือนคนเป็นต่อมน้ำลายอักเสบ แต่พระประธานโบสถ์นี้ช่างปั้นคงไม่เข้าใจสะเป๊คข้อนี้ จึงโดนกรรมการตรวจรับสอยร่วงไปตามระเบียบ หิ หิ ทั้งหมดนี้ผมโม้เล่นนะ ท่านผู้อ่านอย่าถือเป็นตุเป็นตะ ยกเว้นข้อที่ว่าคนเราถ้ายังมีแต่ความคิดขี้หมาค้างคาอยู่ในหัวแล้วก็จะยิ้มไม่ออกนั้นเป็นเรื่องจริง ตรงนี้ผมรับประกันได้
ออกจากตำบลชีน้ำร้ายเราบึ่งรถไปเป้าหมายหน้าคือหุบป่าตาดที่ อ.ท่าลาน จ.อุทัยธานี แต่พอมาถึงอำเภอเมืองก็มืดเสียก่อน เห็นว่าจะเดินทางต่อลำบากจึงกะแวะพักข้างทาง เปิดคอมเห็นชื่อบ้านสวนจันทิมามีบรรยากาศน่าพักจึงแวะไปเคาะประตู ผู้เป็นเจ้าของมาเปิดประตูรับ เมื่อผมแจ้งความประสงค์ว่าจะมาขอซุกหัวนอก ท่านก็ปฏิเสธอย่างสุภาพว่ามาตอนนี้ไม่ทันแล้ว เพราะการจะเข้าพักจะต้องจองมาทางเฟซบุ้คล่วงหน้าเนื่องจากต้องจัดหาแม่บ้านทำความสะอาดไว้ก่อน แป่ว..ว
เราจึงเปลี่ยนแผนไปหาที่พักที่หุบป่าตาดเลย เปิดอินเตอร์เน็ทพบว่าเจ้าหนึ่งอยู่ใกล้กับหุบป่าตาดมีบ้านว่าง จึงจองไว้ด้วยวาจา แวะสอบถามเด็กปั๊มได้ความว่ากลางทางมีร้านอาหารชื่อร้านเจ๊แมวจึงขับรถไปแวะกิน แล้วขับตรงไปเข้าที่พักเอาตอนสองทุ่มกว่า สนนราคาคืนละ 1,200 บาท เป็นโฮมสเตย์บ้านนอกคอกนา ห้องแคบ ไม่มีที่แขวนอะไรเลย ทำให้ผมต้องบันทึกไว้ในใจว่าการเดินทางในเมืองไทยของเราครั้งหน้าต้องพกเชือกฟางมาด้วยสักสองสามวา เอาไว้ทำราวแขวน ผชต. (ผ้าเช็ดตัว) ถท.(ถุงเท้า) และ กกน. (คำย่อสากล คงไม่ต้องขยาย) ไฮไลท์ของโฮมสเตย์นี้ก็คือพออาบน้ำไปได้สักหน่อย พอถึงตาของผมซึ่งเป็นคนสุดท้ายน้ำก็เกิดอาการกะปริบกะปรอยแบบคนเป็นท่อปัสสาวะอักเสบ อะไรไม่ว่า ตอนทำกิจในห้องสุขา ก่อนจะใช้หัวฉีดชำระต้องคิดแล้วคิดอีก เพราะหากตัดสินใจผิด ใช้หัวฉีดไปแล้วเกิดน้ำหมดครึ่งทางละ อะจ๊าก..ก จะทำอย่างไร หิ หิ ท่านผู้อ่านไม่ต้องเป็นห่วง ผมผ่านมาได้แล้วอย่างฉลุยด้วยอาศัยดวง
7 มค. 63
ตื่นเช้าเจ้าของที่พักบอกว่าไหนๆมาถึงที่นี่แล้วให้หาโอกาสไปดูสวิสต์เซอร์แลนด์เมืองไทยหน่อยนะอยู่ห่างไปแค่กิโลเดียว หมอสมวงศ์เกิดสนใจเป็นตุเป็นตะ ผมอดขัดขึ้นไม่ได้ว่ามันจะไปมีสวิดสะแว้ดอะไรเพราะแถบนี้มันมีแต่เขาหินปูนกับหญ้าแห้ง แต่ก็ขับไปให้ เมื่อไปถึงก็เป็นดังคาด คือดังที่ผมคาด ไม่ใช่ดังที่หมอสมวงศ์คาด แต่พวกเราไม่มีใครบ่นอะไร เพราะเขาให้ดูฟรี จึงได้แต่ขับรถวนเข้าไปแล้ววนกลับออกมา
คราวนี้ก็มาถึงที่ที่เราตั้งใจมา คือหุบป่าตาด ฟังว่าเดิมเป็นภูเขาหินมีถ้ำใหญ่อยู่ข้างใต้ ต่อมาคนรุ่นหลังเดาเอาว่าหลังคาถ้ำคงจะถล่มลงมาทำให้ภูเขาหินนั้นมีรอยบุ๋มทรุดอยู่ตรงกลางลึกลงไปราวสองร้อยเมตรได้กลายเป็นหุบเหมือนปากปล่องภูเขาไฟขนาดใหญ่ แล้วพวกพืชพันธ์ที่อยู่บนหลังคาถ้ำก็คงลงไปเจริญต่อที่ข้างล่าง เหตุการณ์นี้เกิดมานานแล้วกี่หมื่นกี่แสนปีไม่มีใครทราบเพราะไม่มีใครรู้ว่ามีหุบนี้อยู่ ทราบแต่ว่าเมื่อราวยี่สิบปีก่อนมีพระธุดงค์องค์หนึ่งปีนหน้าผาเขาหินลงไปยังหุบข้างล่างนี้แล้วก็ไปพบว่าพืชพันธ์มีลักษณะแตกต่างไปจากพืชที่พบเห็นทั่วไปข้างนอกอย่างสิ้นเชิงจึงมาเล่าให้ญาติโยมฟัง ทางการทราบเข้าจึงได้สำรวจหาถ้ำทางเข้าที่เข้าไปได้ลึกที่สุดแล้วระเบิดหินที่ก้นถ้ำให้ถ้ำทะลุเพื่อเปิดทางเข้าไปในหุบจนสำเร็จ ทำให้พวกเราได้มาเดินสำรวจกันวันนี้ ซึ่งต้องเริ่มด้วยการเข้าถ้ำดมขี้ค้างคาวและฉายไฟนำไปประมาณ 40 เมตรก็จะไปทะลุถึงหุบซึ่งเป็นเหมือนกับโลกอีกใบหนึ่งจริงๆ เพราะมีแต่ต้นไม้สกุลปาลม์แปลกตา โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้นตาด มีเต็มไปหมด เราเดินสำรวจโดยสมมุติตัวเองว่ากำลังเดินอยู่ในจูราสิก ปาร์ค เพลิดเพลินกันอยู่ราวหนึ่งชั่วโมง แล้วก็เดินทางต่อไป
ขับมาถึงเวลาอาหารกลางวันเอาที่นครสวรรค์ แวะไปบึงบรเพ็ดด้วยตั้งใจว่าจะเช่าเรือไปดูบึงบัวสีแดงและดูนกน้ำ แต่แล้วก็พบว่าตัวเองมายืนอยู่ริมบึงใหญ่ที่โล้นโล่งเตียนและอากาศร้อนตับแล่บ ชาวบ้านเห็นสีหน้าผมคงเดาใจได้จึงบอกเอาบุญว่า
"บัวแดงเขาต้องดูกันตอนเช้าที่ข้างกะโน้น เพราะพอสายมันก็จะหุบ ส่วนนกเขาต้องดูกันตอนเย็น เพราะมันจะกลับรังตอนเย็น"
อามิตตาภะ พุทธะ แต่ว่าไหนๆก็หลวมตัวมาตอนเที่ยงแล้ว กินข้าวเหนียวส้มตำเสียหน่อย กำลังจะกลับก็เหลือบไปเห็นมีอะควาเรียมเป็นรูปเรือซึ่งเปิดให้คนแก่ดูฟรี จึงชวนกันเข้าไปดู สิ่งที่เป็นจุดเด่นของอะควาเรียมเล็กๆแห่งนี้ก็คืออุโมงใต้น้ำที่เลี้ยงปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ๆไว้หลายตัวอยู่ จัดว่าเป็นอุโมงดูปลาน้ำจืดแห่งเดียวของเมืองไทยก็ว่าได้กระมัง
เราออกจากนครสวรรค์มุ่งไปกำแพงเพชรเพื่อชมเมืองเก่าชากังราวอันเป็นมรดกโลก แล้วก็ไม่ผิดหวัง โดยเฉพาะตรงพระองค์ใหญ่สามองค์หน้าตาอมยิ้มยืนยันว่านี่คือพระที่ปั้นมาอย่างถูกสะเป๊คของจริงแท้แต่โบราณ เราเที่ยวเดินชมจนเขาปิดอุทยานไล่ตอนห้าโมงเย็น จึงขับรถต่อไปยังเมืองตากตามแผนเดิมที่กะว่าจะไปนอนแม่สอดเพื่ออาบน้ำแร่ร้อนๆอย่างดีที่นั่น แต่อากาศที่คาดหมายว่าจะเย็นก็ดันมาร้อนเอาเสียอย่างนี้ ผมจึงเปลี่ยนใจไม่ไปแม่สอด แต่ขับตรงขึ้นไปเพื่อจะไปหาที่นอนค้างคืนที่โฮมสเตย์ในหมู่บ้านกะเหรี่ยงเขตอ.ลี้ จ.ลำพูน ครั้นพอเดินทางมาถึงแค่เมืองเถินก็เกิดอาการหมดแรงเพราะเป็นเวลาหนึ่งทุ่มแล้ว จึงแวะนอนที่โรงแรมจิ้งหรีดข้างปั๊มน้ำมัน เลือกหลังที่แพงที่สุดคือคืนละ 600 บาท (หลังธรรมดาคืนละ 400 บาท) เอารถเสียบไว้ข้างบ้านแล้วก็ขนของขึ้นห้อง เปิดแอร์นอนได้เลย ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าโรงแรมแบบโฮมสเตย์แห่งนี้ชื่ออะไร
8 มค. 63
ตื่นเช้าที่โรงแรมจิ้งหรีดข้างปั๊มน้ำมันเมืองเถิน ผู้เข้าพักบ้านหลังอื่นๆซึ่งส่วนใหญ่มารถปิคอัพและสิบล้อต่างกุลีกุจอออกรถไปหากินกันต่อแต่เช้า แต่คณะของเรากลับพบว่าการนั่งเต๊ะจุ๊ยดื่มกาแฟฟรีอยู่หน้าบ้านพักยามเช้าในอุณหภูมิเย็นๆอย่างนี้เป็นการเพิ่มมูลค่าของห้องพักที่ถูกอยู่แล้วให้ถูกลงไปได้อีกโข นั่งไปดูเจ้าของโรงเตี๊ยมซึ่งเป็นหญิงร่างท้วมวัยราวสี่สิบวิ่งออกกำลังกายผ่านไปผ่านมาไปด้วย พอเหนื่อยเธอก็แวะคุยพลางพยายามจะบอกผมว่าเธอไม่ได้อ้วนเพราะกินมาก แต่อ้วนเพราะยาสะเตียรอยด์ที่หมอใช้รักษาผื่นผิวหนัง ผมมองโปรไฟล์ของเธอซึ่งกลมที่ก้นและท้องมากกว่าที่หน้าก็รู้ว่าเธออ้วนเพราะอะไร แต่ก็ให้กำลังใจเธอด้วยการชมอย่างจริงใจว่าคนที่เอาจริงเอาจังอย่างเธอนี้ในที่สุดก็จะต้องประสบความสำเร็จ
ออกจากเถินเราขับแยกลงทางเล็กหมายเลข 106 มุ่งหน้าไปอำเภอลี้ แล้วเลี้ยวขวาเพื่อไปยังชุมชนวัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ซึ่งเป็นชุมชนชาวกะเหรี่ยงชนเผ่าปกาเกอญอ ผมตั้งใจมาที่นี่เพราะอยากเห็นชุมชนที่ทั้งชุมชนมีแต่คนกินอาหารมังสะวิรัติด้วยตาตัวเอง ผมได้นัดหมายให้ชาวกะเหรี่ยงซึ่งรู้เรื่องชุมชนนี้ดีท่านหนึ่งชื่อ "หนานวิมล" มาเป็นไกด์ให้ เราพบกันที่หน้าวัด ผมบอกว่าผมไม่ชอบอะไรเกี่ยวกับวัดวานะอยากมาดูชุมชนเท่านั้น แต่เขาบอกว่าอยากรู้เรื่องของชุมชนนี้ต้องมาดูในวัด แล้วก็พาผมเข้าไปในวัดซึ่งสอาดสะอ้านผิดตา เข้าไปในวิหารขนาดกลางหลังหนึ่ง ข้างในวิหารเป็นภาพจิตรกรรมผนังซึ่งเห็นแล้วต้องหยุดบ่นเรื่องถูกพาเข้าวัดทันที เพราะเป็นภาพผนังโบสถ์ที่เขียนภาพแบบเรียลลิสม์ได้สวยงาม มองจากมุมอาร์ทิสติกแล้วเจ๋งไม่มีที่ติ ผมยกให้เป็นจิตรกรรมผนังที่ดีที่สุดในเมืองไทยเท่าที่ผมเคยเห็นมา แถมไม่ใช่จิตรกรรมผนังเล่าเรื่องชาดกซ้ำๆซากๆอย่างวัดทั่วไปแต่เล่าเรื่องความเป็นมาของชุมชนกะเหรี่ยงปกาเกอญอแห่งนี้อย่างละเอียด เทคนิคการเขียนตามที่หนานวิมลเล่าก็เป็นเทคนิคระดับเซียน คือทุบผนังเดิมฉาบปูนใหม่แล้วเอาสีอคริลิกเขียนภาพทันทีเพื่อให้สีจับลึกลงไปในเนื้อปูน เรียกว่าเลียนแบบเทคนิคเฟรสโก้ที่ใช้กันตามโบสถ์วิหารเก่าๆในยุโรปสมัยกลางโน่นเชียว ผมทำนายไว้ตรงนี้ได้เลยว่าวันข้างหน้าภาพจิตรกรรมผนังของวัดพระพุทธบาทห้วยต้มแห่งนี้จะกลายเป็นสิ่งดึงดูดให้คนมาเที่ยวดูและจะเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่มีค่าชิ้นหนึ่ง
เรื่องราวที่เล่าไว้บนผนังจับความตั้งแต่ "ครูบาวงศ์" ซึ่งเป็นพระภิกษุที่ชาวกะเหรี่ยงที่นี่ให้ความเคารพนับถือ ได้สอนชาวกะเหรี่ยงปกาเกอญอให้เลิกเบียดเบียนสัตว์ ความเลื่อมใสศรัทธาทำให้เกิดชุมชนมังสะวิรัติแบบทั้งชุมชนไม่มีใครกินเนื้อสัตว์เลยขึ้น ท่านได้เดินธุดงค์มาพบวัดพระพุทธบาทร้างที่นี่และต่อมาก็จำพรรษาอยู่ที่นี่โดยมีชาวกะเหรี่ยงที่ถูกไล่ที่มาจากการสร้างอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อนภูมิพลมาตั้งรกรากอยู่รอบๆวัด จิตรกรรมเล่าเรื่องการที่ครูบานำชาวบ้านสร้างวัดโดยการขุดหินศิลาแลงซึ่งมีอยู่ในท้องถิ่นมาเป็นวัสดุก่อสร้าง เล่าวิถีชีวิตของชาวปกาเกอญออย่างละเอียด รวมทั้งเล่าเรื่องว่ากะเหรี่ยงชนเผ่าต่างๆล้วนนับถือครูบามากอย่างไร และกะเหรี่ยงนั้นก็มีอยู่หลายเผ่า แต่ละเผ่ามีการแต่งกายแตกต่างกัน ดูได้จากภาพงานที่วัดของครูบาซึ่งผู้หญิงที่มากันอย่างคับคั่งต่างเผ่าต่างก็ใส่เสื้อผ้ากันคนละแบบ
ชมภาพจิตรกรรมผนังโบสถ์เล่าความเป็นมาของชุมชนแล้ว ผมขอให้หนานพาไปกินข้าวเพราะสิบโมงกว่าแล้วเรายังไม่ได้กินอะไรกันจริงจังเลยตั้งแต่เช้า หนานพาเราไปกินที่ร้านอาหารในชุมชนซึ่งจัดให้เรานั่งบนพื้นกินข้าวบนขันโตก ชุมชนแห่งนี้เขามีกฎห้ามนำเนื้อส้ตว์เข้ามาในชุมชน อาหารจึงเป็นมังสะวิรัติทั้งหมดแต่มีรูปแบบที่ไม่น่าเบื่อ เช่นน้ำพริกอ่องผักลวกและแคบหมูซึ่งทำจากพืชทั้งสิ้น กินกันอย่างเอร็ดอร่อยพอคิดเงินกลับราคาถูกเหลือเชื่อ สามคนกินกันพุงกางแถมซื้อแคบหมูไว้กินในรถอีกหลายห่อราคาสองร้อยกว่าบาทเท่านั้นเอง
อิ่มอร่อยแล้วหนานพาเราไปชมหมู่บ้าน "น้ำบ่อน้อย" ซึ่งเป็นชุมชนกะเหรี่ยงที่แยกย่อยออกมากจากหมู่บ้านใหญ่ ผมเรียกว่าเป็นชุมชนขบถจากกระแสหลักก็แล้วกัน
กล่าวคือชุมชนบ้านน้ำบ่อน้อยนี้ปฏิเสธการต่อไฟฟ้าและประปาเข้าไปในชุมชน โดยยืนยันขอใช้ชีวิตตามวิถีดั้งเดิมที่บรรพบุรุษชาวกะเหรี่ยงใช้มา เริ่มต้นจากการที่มีชาวกะเหรี่ยงระดับหัวแข็ง 13 ครอบครัวตัดสินใจยกพลไปตั้งบ้านเรือนแยกออกไปเพื่อไปใช้ชีวิตในแนวที่ตัวเองอยากใช้ ในจำนวนนี้หนานเล่าว่าส่วนหนึ่งก็เป็นคนที่ประสบความสำเร็จในชีวิตวิถีปัจจุบันมาก่อน กล่าวคือเคยทำมาค้าขายได้เงินได้ทองปลูกบ้านสองชั้นครึ่งตึกครึ่งไม้อยู่หน้าวัดมีรถปิคอัพใช้ แต่พวกเขาก็สรุปได้ว่าชีวิตแบบนั้น "ไม่ใช่" ชีวิตที่พวกเขาต้องการ พวกเขาโหยหาชีวิตแบบกะเหรี่ยงดั้งเดิมที่เป็นอิสระจากความอยากได้ใคร่มีหรือการประกวดประขันกันในเรื่องการมีทรัพย์สินเงินทองอย่างสิ้นเชิง ทั้ง 13 ครอบครัวจึงตัดสินใจแยกตัวไปตั้งหมู่บ้านน้ำบ่อน้อย ปลูกกระต๊อบไม้ไผ่มุงหลังคาด้วยใบตองตึง ขุดบ่อน้ำตื้น ทำกสิกรรมและทำงาน
หัตถกรรมต่างๆด้วยวิธีดั้งเดิม ไม่ยอมให้มีการต่อน้ำประปาหรือต่อไฟฟ้าเข้าไปในเขตหมู่บ้าน จาก 13 ครอบครัวก็ค่อยๆมีชาวกะเหรี่ยงปกาเกอญอคนอื่นที่ค้นพบว่าชีวิตที่วิ่งตามกระแสสมัยใหม่ไม่ใช่วิถีที่ตนอยากใช้ได้พากันย้ายตามมาปลูกบ้านเรือนสมทบจนถึงวันนี้มีอยู่ถึง 54 หลังคาเรือนแล้ว
เมื่อผมเดินเข้าไปในหมู่บ้านน้ำบ่อน้อย ผมรู้สึกว่าตัวเองกำลังเดินย้อนเวลาไปถึงวัยเด็กเมื่อตัวผมเองอายุ 6 ขวบ อยู่บ้านนอกที่หมู่บ้านแม่จว้า ต.แม่สุก อ.แม่ใจ จ.พะเยา สมัยนั้นไม่มีไฟฟ้า ไม่มีวิทยุ ไม่มีทีวี. ไม่มีรถยนต์ ไม่มีถนนยางมะตอย ผู้คนมีชีวิตความเป็นอยู่อย่างง่าย ปลูกบ้านชั้นเดียวยกใต้ถุนไว้ทำงานจักสานและงานหัตถกรรมอื่นๆ ภายในหมู่บ้านไม่มีรั้วกั้นระหว่างบ้าน เด็กๆวิ่งเล่นจากบ้านโน้นไปบ้านนี้ บ้านน้ำบ่อน้อยนี้ก็เช่นกัน มันเป็น living museum ของจริงที่ผมไม่เคยคาดคิดว่าจะยังมีเหลือให้เห็นอยู่ในโลกปัจจุบัน
สิ่งที่ผมสังเกตเห็นประการแรกคือสีหน้าผู้คน ทุกคนดูมีความสงบเยือกเย็นไม่เคร่งเครียด ประการที่สองคือไม่มีใครอยู่ว่างๆเฉยๆ หากไม่นับหญิงแม่ลูกอ่อนคนหนึ่งซึ่งนอนเปลที่ผูกระหว่างต้นไม้สองต้นให้นมลูกและร้องเพลงกะเหรี่ยงหงิง หงิง อยู่คนเดียว คนอื่นล้วนกำลังง่วนทำอะไรสักอย่างอยู่ คนแรกที่ผมพบคือหญิงอายุราวหกสิบกว่ากำลังตักน้ำจากบ่อน้ำหิ้วไปยังบ้านของเธอ ผู้ชายสูงอายุคนที่สองที่ผมพบเขากำลังง่วนอยู่กับการซ่อมแซมบ้านไม้ไผ่ของเขา ชุดที่สามเป็นกลุ่มผู้ชายสามคนกำลังช่วยกันเผาไฟตีมีดกันอยู่ คนถัดไปผมแวะคุยกับหญิงชราคนหนึ่งซึ่งกำลังใช้กี่เอวทอผ้า แล้วก็ผู้ชายอีกคนหนึ่งกำลังจักสานตอกไม้ไผ่อยู่กลางลานบ้าน แล้วไปพบผู้หญิงสองคนกำลังง่วนทำวัสดุมุงหลังคาจากใบตองตึง ผู้ชายกลุ่มสุดท้ายที่ผมแวะนั่งดื่มน้ำต้มสมุนไพรและคุยด้วยเขากำลังทำครกไม้ด้วยมือ ซึ่งผมซื้อครกของเขามาด้วยอันหนึ่ง สรุปว่าทุกคนที่ผมเจอในหมู่บ้านไม่มีใครอยู่ว่างๆเฉยๆสักคน ต่างคนต่างก็ง่วนทำอะไรของตัวเอง เด็กๆที่ผมพบเห็นในหมู่บ้านก็มีหน้าตายิ้มแย้มน่ารักไม่มีใครเป็นโรคขาดอาหาร มีคนหนึ่งที่แม่ของเธอบ่นให้ผมฟังว่าลูกเอาแต่กินขนมและให้ไปโรงเรียนก็ไม่ยอมไป เธอบ่นว่าไม่รู้จะทำอย่างไรดี
เราเดินท่องหมู่บ้านน้ำบ่อน้อยจนเหนื่อย มาจบด้วยการนั่งร่วมวงผู้สูงอายุผู้ชายสามคนเพื่อดื่มน้ำต้มสมุนไพร คุยกันรู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้าง ส่วนที่ใช้ภาษาคำเมืองเหนือผมรู้เรื่อง ส่วนที่ใช้ภาษากะเหรี่ยงผมไม่รู้เรื่องเลย แต่เวลาครึ่งวันก็ผ่านไปด้วยความสนุกชื่นมื่นเป็นอันดี นอกจากจะได้ย้อนเวลาไปหาอดีตอันเป็นความทรงจำที่น่ารื่นรมย์ของตัวเองแล้ว ผมยังได้เรียนจากชาวบ้านน้ำบ่อน้อยสองข้อคือ (1) เมื่อกล้าทิ้งวิถีที่รู้ชัดแล้วว่าไม่ใช่ ชีวิตก็จะมีโอกาสได้พบสิ่งที่ใช่ (2) การได้ง่วนทำอะไรอยู่โดยไม่มีใครอยู่นิ่งๆเฉยๆเลยสักคน อาจเป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้ทุกคนสงบเย็นเบิกบาน
แล้วก็ได้เวลาที่เราจะต้องขับรถต่อไปเพื่อไปให้ถึงขุนแปะก่อนมืด เพราะเส้นทางขึ้นเขาลงเขาวกวนลำบากเอาเรื่องอยู่ ด้วยนโยบายค่ำไหนนอนนั่นเราจำเป็นต้องไปถึงที่หมายก่อนมืดเดี๋ยวจะหาที่นอนไม่ได้ จึงต้องรีบบอกลาหนานวิมล ก่อนจากกันผมบอกเขาว่า
"อนาคตมันอาจจะเป็นไปไม่ได้ที่จะสงวนทุกอย่างไว้ให้เหมือนเดิม แต่สองอย่างที่มีค่ามากก็คือการเป็นชุมชนมังสะวิรัติอย่างเหนียวแน่น และการมีโบสถ์ที่เล่าเรื่องชุมชนด้วยจิตรกรรมผนังที่สวยงาม คุณดูแลสองอย่างนี้ให้ดีเถอะ ต่อไปคนภายนอกต้องมาขออาศัยเรียนรู้"
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
โบสถ์หลังเดียวของวัดถูกยึดโดยต้นไทรเสียแล้ว |
กว่าจะระดมพลครบสามพ่อแม่ลูกและเคลื่อนพลออกจากบ้านกรุงเทพได้ก็บ่ายคล้อยเกือบเย็น ขับมาถึงสิงห์บุรีเป็นเวลาตะวันใกล้ตกดิน จึงชวนกันแวะดูวัดไทร ที่ ต.ชีน้ำร้าย อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี วัดนี้อยู่ริมฝั่งเจ้าพระยาซึ่งยามนี้น้ำแห้งขอดจนแทบเอาไม้กระดานพาดเดินข้ามได้ มันเป็นวัดขนาดเล็กพื้นที่ไม่เกินหนึ่งไร่ มีโบสถ์อยู่หลังเดียว แต่ไม่มีที่ให้ภิกษุจำพรรษาเพราะโบสถ์นี้ไม่มีหลังคา มีแต่ผนังซึ่งถูกต้นไทรยึดไปเสียเกือบรอบด้านแล้วจนกลายเป็นเอกลักษณ์ของวัด สาเหตุที่โบสถ์หลังนี้ไม่มีหลังคานั้นเรื่องที่เขียนไว้ที่ป้ายเล่าว่าเป็นเพราะขณะที่ชาวบ้านกำลังก่อสร้างวัดมาได้ครึ่งหนึ่งคือปั้นพระประธานเสร็จแล้วแต่ยังไม่ทันได้ขึ้นหลังคา ก็มีพระมาเข้าฝันผู้เป็นหัวแรงการสร้างวัดว่าห้ามไม่ให้มุงหลังคาโบสถ์นี้ ด้วยความกลัวผีชาวบ้านก็เลยหยุดการสร้างกึก..ก ไว้แค่นั้น
เมื่อผมเข้าไปถ่ายรูปภายในโบสถ์ก็ถึงบางอ้อว่าการก่อสร้างถูกสั่งให้หยุดเพราะการก่อสร้างคงทำผิดสะเป๊คนี่เอง ผมหมายถึงตัวพระประธาน เพราะปกติพระพุทธรูปซึ่งสื่อความหมายถึงพระพุทธเจ้านั้นพระพักตร์ต้องยิ้มที่มุมปากหรืออย่างน้อยต้องอมยิ้มนิดๆ เพราะพระพุทธองค์ทรงเป็นผู้
ไม่ผ่านสะเป๊คเพราะไม่ยิ้ม |
บรรลุความหลุดพ้นจากความคิดไร้สาระทั้งหลายแล้วย่อมจะต้องผ่อนคลาย 100% ไม่มีเหตุอะไรจะมาเคร่งเครียดหน้าตูมเหมือนคนเป็นต่อมน้ำลายอักเสบ แต่พระประธานโบสถ์นี้ช่างปั้นคงไม่เข้าใจสะเป๊คข้อนี้ จึงโดนกรรมการตรวจรับสอยร่วงไปตามระเบียบ หิ หิ ทั้งหมดนี้ผมโม้เล่นนะ ท่านผู้อ่านอย่าถือเป็นตุเป็นตะ ยกเว้นข้อที่ว่าคนเราถ้ายังมีแต่ความคิดขี้หมาค้างคาอยู่ในหัวแล้วก็จะยิ้มไม่ออกนั้นเป็นเรื่องจริง ตรงนี้ผมรับประกันได้
ออกจากตำบลชีน้ำร้ายเราบึ่งรถไปเป้าหมายหน้าคือหุบป่าตาดที่ อ.ท่าลาน จ.อุทัยธานี แต่พอมาถึงอำเภอเมืองก็มืดเสียก่อน เห็นว่าจะเดินทางต่อลำบากจึงกะแวะพักข้างทาง เปิดคอมเห็นชื่อบ้านสวนจันทิมามีบรรยากาศน่าพักจึงแวะไปเคาะประตู ผู้เป็นเจ้าของมาเปิดประตูรับ เมื่อผมแจ้งความประสงค์ว่าจะมาขอซุกหัวนอก ท่านก็ปฏิเสธอย่างสุภาพว่ามาตอนนี้ไม่ทันแล้ว เพราะการจะเข้าพักจะต้องจองมาทางเฟซบุ้คล่วงหน้าเนื่องจากต้องจัดหาแม่บ้านทำความสะอาดไว้ก่อน แป่ว..ว
เราจึงเปลี่ยนแผนไปหาที่พักที่หุบป่าตาดเลย เปิดอินเตอร์เน็ทพบว่าเจ้าหนึ่งอยู่ใกล้กับหุบป่าตาดมีบ้านว่าง จึงจองไว้ด้วยวาจา แวะสอบถามเด็กปั๊มได้ความว่ากลางทางมีร้านอาหารชื่อร้านเจ๊แมวจึงขับรถไปแวะกิน แล้วขับตรงไปเข้าที่พักเอาตอนสองทุ่มกว่า สนนราคาคืนละ 1,200 บาท เป็นโฮมสเตย์บ้านนอกคอกนา ห้องแคบ ไม่มีที่แขวนอะไรเลย ทำให้ผมต้องบันทึกไว้ในใจว่าการเดินทางในเมืองไทยของเราครั้งหน้าต้องพกเชือกฟางมาด้วยสักสองสามวา เอาไว้ทำราวแขวน ผชต. (ผ้าเช็ดตัว) ถท.(ถุงเท้า) และ กกน. (คำย่อสากล คงไม่ต้องขยาย) ไฮไลท์ของโฮมสเตย์นี้ก็คือพออาบน้ำไปได้สักหน่อย พอถึงตาของผมซึ่งเป็นคนสุดท้ายน้ำก็เกิดอาการกะปริบกะปรอยแบบคนเป็นท่อปัสสาวะอักเสบ อะไรไม่ว่า ตอนทำกิจในห้องสุขา ก่อนจะใช้หัวฉีดชำระต้องคิดแล้วคิดอีก เพราะหากตัดสินใจผิด ใช้หัวฉีดไปแล้วเกิดน้ำหมดครึ่งทางละ อะจ๊าก..ก จะทำอย่างไร หิ หิ ท่านผู้อ่านไม่ต้องเป็นห่วง ผมผ่านมาได้แล้วอย่างฉลุยด้วยอาศัยดวง
เมื่อทะลุถ้ำออกไปก็เห็นป่าไม้แบบโบราณแปลกตา |
7 มค. 63
ตื่นเช้าเจ้าของที่พักบอกว่าไหนๆมาถึงที่นี่แล้วให้หาโอกาสไปดูสวิสต์เซอร์แลนด์เมืองไทยหน่อยนะอยู่ห่างไปแค่กิโลเดียว หมอสมวงศ์เกิดสนใจเป็นตุเป็นตะ ผมอดขัดขึ้นไม่ได้ว่ามันจะไปมีสวิดสะแว้ดอะไรเพราะแถบนี้มันมีแต่เขาหินปูนกับหญ้าแห้ง แต่ก็ขับไปให้ เมื่อไปถึงก็เป็นดังคาด คือดังที่ผมคาด ไม่ใช่ดังที่หมอสมวงศ์คาด แต่พวกเราไม่มีใครบ่นอะไร เพราะเขาให้ดูฟรี จึงได้แต่ขับรถวนเข้าไปแล้ววนกลับออกมา
คราวนี้ก็มาถึงที่ที่เราตั้งใจมา คือหุบป่าตาด ฟังว่าเดิมเป็นภูเขาหินมีถ้ำใหญ่อยู่ข้างใต้ ต่อมาคนรุ่นหลังเดาเอาว่าหลังคาถ้ำคงจะถล่มลงมาทำให้ภูเขาหินนั้นมีรอยบุ๋มทรุดอยู่ตรงกลางลึกลงไปราวสองร้อยเมตรได้กลายเป็นหุบเหมือนปากปล่องภูเขาไฟขนาดใหญ่ แล้วพวกพืชพันธ์ที่อยู่บนหลังคาถ้ำก็คงลงไปเจริญต่อที่ข้างล่าง เหตุการณ์นี้เกิดมานานแล้วกี่หมื่นกี่แสนปีไม่มีใครทราบเพราะไม่มีใครรู้ว่ามีหุบนี้อยู่ ทราบแต่ว่าเมื่อราวยี่สิบปีก่อนมีพระธุดงค์องค์หนึ่งปีนหน้าผาเขาหินลงไปยังหุบข้างล่างนี้แล้วก็ไปพบว่าพืชพันธ์มีลักษณะแตกต่างไปจากพืชที่พบเห็นทั่วไปข้างนอกอย่างสิ้นเชิงจึงมาเล่าให้ญาติโยมฟัง ทางการทราบเข้าจึงได้สำรวจหาถ้ำทางเข้าที่เข้าไปได้ลึกที่สุดแล้วระเบิดหินที่ก้นถ้ำให้ถ้ำทะลุเพื่อเปิดทางเข้าไปในหุบจนสำเร็จ ทำให้พวกเราได้มาเดินสำรวจกันวันนี้ ซึ่งต้องเริ่มด้วยการเข้าถ้ำดมขี้ค้างคาวและฉายไฟนำไปประมาณ 40 เมตรก็จะไปทะลุถึงหุบซึ่งเป็นเหมือนกับโลกอีกใบหนึ่งจริงๆ เพราะมีแต่ต้นไม้สกุลปาลม์แปลกตา โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้นตาด มีเต็มไปหมด เราเดินสำรวจโดยสมมุติตัวเองว่ากำลังเดินอยู่ในจูราสิก ปาร์ค เพลิดเพลินกันอยู่ราวหนึ่งชั่วโมง แล้วก็เดินทางต่อไป
สามพระใหญ่ที่เมืองชากังราว ของแท้ต้องยิ้มที่มุมปาก |
ขับมาถึงเวลาอาหารกลางวันเอาที่นครสวรรค์ แวะไปบึงบรเพ็ดด้วยตั้งใจว่าจะเช่าเรือไปดูบึงบัวสีแดงและดูนกน้ำ แต่แล้วก็พบว่าตัวเองมายืนอยู่ริมบึงใหญ่ที่โล้นโล่งเตียนและอากาศร้อนตับแล่บ ชาวบ้านเห็นสีหน้าผมคงเดาใจได้จึงบอกเอาบุญว่า
"บัวแดงเขาต้องดูกันตอนเช้าที่ข้างกะโน้น เพราะพอสายมันก็จะหุบ ส่วนนกเขาต้องดูกันตอนเย็น เพราะมันจะกลับรังตอนเย็น"
อามิตตาภะ พุทธะ แต่ว่าไหนๆก็หลวมตัวมาตอนเที่ยงแล้ว กินข้าวเหนียวส้มตำเสียหน่อย กำลังจะกลับก็เหลือบไปเห็นมีอะควาเรียมเป็นรูปเรือซึ่งเปิดให้คนแก่ดูฟรี จึงชวนกันเข้าไปดู สิ่งที่เป็นจุดเด่นของอะควาเรียมเล็กๆแห่งนี้ก็คืออุโมงใต้น้ำที่เลี้ยงปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ๆไว้หลายตัวอยู่ จัดว่าเป็นอุโมงดูปลาน้ำจืดแห่งเดียวของเมืองไทยก็ว่าได้กระมัง
พระยืนที่เมืองเก่าชากังราว สวยไม่มีที่ติ |
เราออกจากนครสวรรค์มุ่งไปกำแพงเพชรเพื่อชมเมืองเก่าชากังราวอันเป็นมรดกโลก แล้วก็ไม่ผิดหวัง โดยเฉพาะตรงพระองค์ใหญ่สามองค์หน้าตาอมยิ้มยืนยันว่านี่คือพระที่ปั้นมาอย่างถูกสะเป๊คของจริงแท้แต่โบราณ เราเที่ยวเดินชมจนเขาปิดอุทยานไล่ตอนห้าโมงเย็น จึงขับรถต่อไปยังเมืองตากตามแผนเดิมที่กะว่าจะไปนอนแม่สอดเพื่ออาบน้ำแร่ร้อนๆอย่างดีที่นั่น แต่อากาศที่คาดหมายว่าจะเย็นก็ดันมาร้อนเอาเสียอย่างนี้ ผมจึงเปลี่ยนใจไม่ไปแม่สอด แต่ขับตรงขึ้นไปเพื่อจะไปหาที่นอนค้างคืนที่โฮมสเตย์ในหมู่บ้านกะเหรี่ยงเขตอ.ลี้ จ.ลำพูน ครั้นพอเดินทางมาถึงแค่เมืองเถินก็เกิดอาการหมดแรงเพราะเป็นเวลาหนึ่งทุ่มแล้ว จึงแวะนอนที่โรงแรมจิ้งหรีดข้างปั๊มน้ำมัน เลือกหลังที่แพงที่สุดคือคืนละ 600 บาท (หลังธรรมดาคืนละ 400 บาท) เอารถเสียบไว้ข้างบ้านแล้วก็ขนของขึ้นห้อง เปิดแอร์นอนได้เลย ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าโรงแรมแบบโฮมสเตย์แห่งนี้ชื่ออะไร
8 มค. 63
ตื่นเช้าที่โรงแรมจิ้งหรีดข้างปั๊มน้ำมันเมืองเถิน ผู้เข้าพักบ้านหลังอื่นๆซึ่งส่วนใหญ่มารถปิคอัพและสิบล้อต่างกุลีกุจอออกรถไปหากินกันต่อแต่เช้า แต่คณะของเรากลับพบว่าการนั่งเต๊ะจุ๊ยดื่มกาแฟฟรีอยู่หน้าบ้านพักยามเช้าในอุณหภูมิเย็นๆอย่างนี้เป็นการเพิ่มมูลค่าของห้องพักที่ถูกอยู่แล้วให้ถูกลงไปได้อีกโข นั่งไปดูเจ้าของโรงเตี๊ยมซึ่งเป็นหญิงร่างท้วมวัยราวสี่สิบวิ่งออกกำลังกายผ่านไปผ่านมาไปด้วย พอเหนื่อยเธอก็แวะคุยพลางพยายามจะบอกผมว่าเธอไม่ได้อ้วนเพราะกินมาก แต่อ้วนเพราะยาสะเตียรอยด์ที่หมอใช้รักษาผื่นผิวหนัง ผมมองโปรไฟล์ของเธอซึ่งกลมที่ก้นและท้องมากกว่าที่หน้าก็รู้ว่าเธออ้วนเพราะอะไร แต่ก็ให้กำลังใจเธอด้วยการชมอย่างจริงใจว่าคนที่เอาจริงเอาจังอย่างเธอนี้ในที่สุดก็จะต้องประสบความสำเร็จ
จิตรกรรมผนังเล่าเรื่องการสร้างวัดโดยครูบาและชาวกะเหรี่ยง |
ออกจากเถินเราขับแยกลงทางเล็กหมายเลข 106 มุ่งหน้าไปอำเภอลี้ แล้วเลี้ยวขวาเพื่อไปยังชุมชนวัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ซึ่งเป็นชุมชนชาวกะเหรี่ยงชนเผ่าปกาเกอญอ ผมตั้งใจมาที่นี่เพราะอยากเห็นชุมชนที่ทั้งชุมชนมีแต่คนกินอาหารมังสะวิรัติด้วยตาตัวเอง ผมได้นัดหมายให้ชาวกะเหรี่ยงซึ่งรู้เรื่องชุมชนนี้ดีท่านหนึ่งชื่อ "หนานวิมล" มาเป็นไกด์ให้ เราพบกันที่หน้าวัด ผมบอกว่าผมไม่ชอบอะไรเกี่ยวกับวัดวานะอยากมาดูชุมชนเท่านั้น แต่เขาบอกว่าอยากรู้เรื่องของชุมชนนี้ต้องมาดูในวัด แล้วก็พาผมเข้าไปในวัดซึ่งสอาดสะอ้านผิดตา เข้าไปในวิหารขนาดกลางหลังหนึ่ง ข้างในวิหารเป็นภาพจิตรกรรมผนังซึ่งเห็นแล้วต้องหยุดบ่นเรื่องถูกพาเข้าวัดทันที เพราะเป็นภาพผนังโบสถ์ที่เขียนภาพแบบเรียลลิสม์ได้สวยงาม มองจากมุมอาร์ทิสติกแล้วเจ๋งไม่มีที่ติ ผมยกให้เป็นจิตรกรรมผนังที่ดีที่สุดในเมืองไทยเท่าที่ผมเคยเห็นมา แถมไม่ใช่จิตรกรรมผนังเล่าเรื่องชาดกซ้ำๆซากๆอย่างวัดทั่วไปแต่เล่าเรื่องความเป็นมาของชุมชนกะเหรี่ยงปกาเกอญอแห่งนี้อย่างละเอียด เทคนิคการเขียนตามที่หนานวิมลเล่าก็เป็นเทคนิคระดับเซียน คือทุบผนังเดิมฉาบปูนใหม่แล้วเอาสีอคริลิกเขียนภาพทันทีเพื่อให้สีจับลึกลงไปในเนื้อปูน เรียกว่าเลียนแบบเทคนิคเฟรสโก้ที่ใช้กันตามโบสถ์วิหารเก่าๆในยุโรปสมัยกลางโน่นเชียว ผมทำนายไว้ตรงนี้ได้เลยว่าวันข้างหน้าภาพจิตรกรรมผนังของวัดพระพุทธบาทห้วยต้มแห่งนี้จะกลายเป็นสิ่งดึงดูดให้คนมาเที่ยวดูและจะเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่มีค่าชิ้นหนึ่ง
ชาวกะเหรี่ยงที่มางานของครูบานั้นต่างเผ่าต่างก็แต่งตัวคนละแบบ |
เรื่องราวที่เล่าไว้บนผนังจับความตั้งแต่ "ครูบาวงศ์" ซึ่งเป็นพระภิกษุที่ชาวกะเหรี่ยงที่นี่ให้ความเคารพนับถือ ได้สอนชาวกะเหรี่ยงปกาเกอญอให้เลิกเบียดเบียนสัตว์ ความเลื่อมใสศรัทธาทำให้เกิดชุมชนมังสะวิรัติแบบทั้งชุมชนไม่มีใครกินเนื้อสัตว์เลยขึ้น ท่านได้เดินธุดงค์มาพบวัดพระพุทธบาทร้างที่นี่และต่อมาก็จำพรรษาอยู่ที่นี่โดยมีชาวกะเหรี่ยงที่ถูกไล่ที่มาจากการสร้างอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อนภูมิพลมาตั้งรกรากอยู่รอบๆวัด จิตรกรรมเล่าเรื่องการที่ครูบานำชาวบ้านสร้างวัดโดยการขุดหินศิลาแลงซึ่งมีอยู่ในท้องถิ่นมาเป็นวัสดุก่อสร้าง เล่าวิถีชีวิตของชาวปกาเกอญออย่างละเอียด รวมทั้งเล่าเรื่องว่ากะเหรี่ยงชนเผ่าต่างๆล้วนนับถือครูบามากอย่างไร และกะเหรี่ยงนั้นก็มีอยู่หลายเผ่า แต่ละเผ่ามีการแต่งกายแตกต่างกัน ดูได้จากภาพงานที่วัดของครูบาซึ่งผู้หญิงที่มากันอย่างคับคั่งต่างเผ่าต่างก็ใส่เสื้อผ้ากันคนละแบบ
เดินในหมู่บ้านน้ำบ่อน้อย เหมือนเดินย้อนยุคไปตอนผม 6 ขวบ |
ชมภาพจิตรกรรมผนังโบสถ์เล่าความเป็นมาของชุมชนแล้ว ผมขอให้หนานพาไปกินข้าวเพราะสิบโมงกว่าแล้วเรายังไม่ได้กินอะไรกันจริงจังเลยตั้งแต่เช้า หนานพาเราไปกินที่ร้านอาหารในชุมชนซึ่งจัดให้เรานั่งบนพื้นกินข้าวบนขันโตก ชุมชนแห่งนี้เขามีกฎห้ามนำเนื้อส้ตว์เข้ามาในชุมชน อาหารจึงเป็นมังสะวิรัติทั้งหมดแต่มีรูปแบบที่ไม่น่าเบื่อ เช่นน้ำพริกอ่องผักลวกและแคบหมูซึ่งทำจากพืชทั้งสิ้น กินกันอย่างเอร็ดอร่อยพอคิดเงินกลับราคาถูกเหลือเชื่อ สามคนกินกันพุงกางแถมซื้อแคบหมูไว้กินในรถอีกหลายห่อราคาสองร้อยกว่าบาทเท่านั้นเอง
อิ่มอร่อยแล้วหนานพาเราไปชมหมู่บ้าน "น้ำบ่อน้อย" ซึ่งเป็นชุมชนกะเหรี่ยงที่แยกย่อยออกมากจากหมู่บ้านใหญ่ ผมเรียกว่าเป็นชุมชนขบถจากกระแสหลักก็แล้วกัน
หยุดคุยกับเด็กที่ชอบกินแต่ขนมหวานและไม่ยอมไปโรงเรียน |
กล่าวคือชุมชนบ้านน้ำบ่อน้อยนี้ปฏิเสธการต่อไฟฟ้าและประปาเข้าไปในชุมชน โดยยืนยันขอใช้ชีวิตตามวิถีดั้งเดิมที่บรรพบุรุษชาวกะเหรี่ยงใช้มา เริ่มต้นจากการที่มีชาวกะเหรี่ยงระดับหัวแข็ง 13 ครอบครัวตัดสินใจยกพลไปตั้งบ้านเรือนแยกออกไปเพื่อไปใช้ชีวิตในแนวที่ตัวเองอยากใช้ ในจำนวนนี้หนานเล่าว่าส่วนหนึ่งก็เป็นคนที่ประสบความสำเร็จในชีวิตวิถีปัจจุบันมาก่อน กล่าวคือเคยทำมาค้าขายได้เงินได้ทองปลูกบ้านสองชั้นครึ่งตึกครึ่งไม้อยู่หน้าวัดมีรถปิคอัพใช้ แต่พวกเขาก็สรุปได้ว่าชีวิตแบบนั้น "ไม่ใช่" ชีวิตที่พวกเขาต้องการ พวกเขาโหยหาชีวิตแบบกะเหรี่ยงดั้งเดิมที่เป็นอิสระจากความอยากได้ใคร่มีหรือการประกวดประขันกันในเรื่องการมีทรัพย์สินเงินทองอย่างสิ้นเชิง ทั้ง 13 ครอบครัวจึงตัดสินใจแยกตัวไปตั้งหมู่บ้านน้ำบ่อน้อย ปลูกกระต๊อบไม้ไผ่มุงหลังคาด้วยใบตองตึง ขุดบ่อน้ำตื้น ทำกสิกรรมและทำงาน
เธอกำลังง่วนทอผ้าอยู่คนเดียวด้วย "กี่เอว" |
เมื่อผมเดินเข้าไปในหมู่บ้านน้ำบ่อน้อย ผมรู้สึกว่าตัวเองกำลังเดินย้อนเวลาไปถึงวัยเด็กเมื่อตัวผมเองอายุ 6 ขวบ อยู่บ้านนอกที่หมู่บ้านแม่จว้า ต.แม่สุก อ.แม่ใจ จ.พะเยา สมัยนั้นไม่มีไฟฟ้า ไม่มีวิทยุ ไม่มีทีวี. ไม่มีรถยนต์ ไม่มีถนนยางมะตอย ผู้คนมีชีวิตความเป็นอยู่อย่างง่าย ปลูกบ้านชั้นเดียวยกใต้ถุนไว้ทำงานจักสานและงานหัตถกรรมอื่นๆ ภายในหมู่บ้านไม่มีรั้วกั้นระหว่างบ้าน เด็กๆวิ่งเล่นจากบ้านโน้นไปบ้านนี้ บ้านน้ำบ่อน้อยนี้ก็เช่นกัน มันเป็น living museum ของจริงที่ผมไม่เคยคาดคิดว่าจะยังมีเหลือให้เห็นอยู่ในโลกปัจจุบัน
คนหนึ่งตีมีด อีกคนสูบลมเป่าเตาไฟ |
หญิงชรากำลังตักน้ำแล้วหิ้วขึ้นบ้าน |
เราเดินท่องหมู่บ้านน้ำบ่อน้อยจนเหนื่อย มาจบด้วยการนั่งร่วมวงผู้สูงอายุผู้ชายสามคนเพื่อดื่มน้ำต้มสมุนไพร คุยกันรู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้าง ส่วนที่ใช้ภาษาคำเมืองเหนือผมรู้เรื่อง ส่วนที่ใช้ภาษากะเหรี่ยงผมไม่รู้เรื่องเลย แต่เวลาครึ่งวันก็ผ่านไปด้วยความสนุกชื่นมื่นเป็นอันดี นอกจากจะได้ย้อนเวลาไปหาอดีตอันเป็นความทรงจำที่น่ารื่นรมย์ของตัวเองแล้ว ผมยังได้เรียนจากชาวบ้านน้ำบ่อน้อยสองข้อคือ (1) เมื่อกล้าทิ้งวิถีที่รู้ชัดแล้วว่าไม่ใช่ ชีวิตก็จะมีโอกาสได้พบสิ่งที่ใช่ (2) การได้ง่วนทำอะไรอยู่โดยไม่มีใครอยู่นิ่งๆเฉยๆเลยสักคน อาจเป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้ทุกคนสงบเย็นเบิกบาน
แล้วก็ได้เวลาที่เราจะต้องขับรถต่อไปเพื่อไปให้ถึงขุนแปะก่อนมืด เพราะเส้นทางขึ้นเขาลงเขาวกวนลำบากเอาเรื่องอยู่ ด้วยนโยบายค่ำไหนนอนนั่นเราจำเป็นต้องไปถึงที่หมายก่อนมืดเดี๋ยวจะหาที่นอนไม่ได้ จึงต้องรีบบอกลาหนานวิมล ก่อนจากกันผมบอกเขาว่า
"อนาคตมันอาจจะเป็นไปไม่ได้ที่จะสงวนทุกอย่างไว้ให้เหมือนเดิม แต่สองอย่างที่มีค่ามากก็คือการเป็นชุมชนมังสะวิรัติอย่างเหนียวแน่น และการมีโบสถ์ที่เล่าเรื่องชุมชนด้วยจิตรกรรมผนังที่สวยงาม คุณดูแลสองอย่างนี้ให้ดีเถอะ ต่อไปคนภายนอกต้องมาขออาศัยเรียนรู้"
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์