จะเลิกดื่มกาแฟไปดื่มช็อกโกแลตเพื่อป้องกันอัลไซเมอร์ดีไหม
เคยอ่านพบข้อเขียนว่าการดื่ม Chocolate ทุกวันจะช่วยยืดอายุการเป็นอัลไซเมอร์จริงไหมคะ มีประโยชน์สำหรับคนเป็นวัยทองหรือไม่ แล้วมีผลเสียอะไรบ้างไหมคะถ้าดื่มมากๆ (ตอนนี้อายุ 53 ปี ปกติเป็นคนธาตุแข็ง เป็น tinnitus มา 3 ปีกว่า แต่ไม่ดังมากค่ะ และไม่มีอาการบ้านหมุน)
ขอบพระคุณค่ะ
............................................
ตอบครับ
ความจริงผมมีหลักประจำตัวว่าจะไม่ตอบจดหมายที่ถามเรื่องอาหารเสริมหรือสิ่งที่คนเขาทำมาค้าขายกันในตลาด เพราะ ม. ห้ามไว้ เนื่องจากเป็นห่วงสวัสดิภาพของผมเอง แต่เรื่องช็อกโกแลตนี้มีจดหมายเข้ามาหลายฉบับ หนึ่งในนั้นเป็นจดหมายจากสมาชิกคอร์ส RDBY เอง จะไม่ตอบก็ไม่ได้ จึงรวบตอบเสียวันนี้
ก่อนจะตอบคำถามของคุณ ขอพูดถึงภาพใหญ่ก่อนนะ ว่า
1. ช็อกโกแลตที่จะพูดถึงในวันนี้ ผมหมายถึงดาร์คช็อกโกแลต คือผมหมายถึงผงของเมล็ดโกโก้ (Theobroma cacao) ที่ขมปี๋ไม่ได้ใส่อะไรหรือสกัดเอาอะไรออกทั้งสิ้น ไม่เกี่ยวอะไรกับเครื่องดื่มช็อกโกแล็ตที่ทำขึ้นมาจากผลโก้โก้บดบวกนมวัวบวกน้ำตาล
2. โกโก้มีโมเลกุลที่แยกได้แล้วไม่น้อยกว่า 300 ชนิด รวมทั้งคาเฟอีนด้วย ที่ยังแยกไม่ได้ก็ยังมีอีกมาก แต่ก็เดาเอาว่าตัวที่ออกฤทธิ์หลักคือโมเลกุลในกลุ่มฟลาโวนอยด์ซึ่งเป็นสารในกลุ่มโปลีฟีนอลในผลไม้และผักอันถือกันว่าเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ดีเลิศประเสริฐศรีนั่นแหละ ตัวที่เชื่อกันว่าออกฤทธิ์กลั่นที่สุดที่อยู่ในโกโก้ชื่อ flavan-3-ols บางทีจึงเรียกสั้นๆว่าฟลาวานอล
3. หลักฐานเรื่องสารต้านอนุมูลอิสระมีคุณสาระพัดสาระเพซึ่งเป็นหลักฐานระดับห้องทดลองนั้นมีแยะ แต่วงการแพทย์ไม่ได้ใช้หลักฐานระดับห้องทดลองมารักษาคน ต้องใช้หลักฐานวิจัยในคนเป็นหลัก บทความนี้ผมจึงจะไม่พูดถึงหลักฐานในห้องทดลองและในสัตว์ทดลอง จะพูดถึงแต่งานวิจัยในคนเท่านั้น หลักฐานว่าฟลาโวนอยด์ดีต่อระบบหัวใจหลอดเลือดนั้นมีขึ้นตั้งแต่งานวิจัยคนสูงอายุที่เนเธอแลนด์ (DZE stydy)ที่ตีพิมพ์ในวารสารแลนเซ็ทราวยี่สิบปีมาแล้ว มีเนื้อความโดยสรุปว่าคนที่กินฟลาโวนอยด์ในอาหารชนิดต่างๆมากจะตายจากโรคหัวใจหลอดเลือดน้อย [1]
ก่อนหน้านั้นไม่มีใครสนใจช็อกโกแลตในแง่จะเป็นตัวให้ฟลาโวนอยด์เพราะช็อกโกแล็ตแต่ละยี่ห้อก็มีฟลาวานอยด์ต่างกันได้ลิบลับเพราะกระบวนการผลิตช็อกโกแล็ตส่วนใหญ่ตั้งใจจะแยกเอาฟลาวานอลออกทิ้งเพราะมันขมปี๋ขัดใจตลาด จนกระทั่งมีผู้ไปทำวิจัย [2] แบบขุดคุ้ยดูใบมรณบัตรของคนปานามาที่เป็นอินเดียนเชื้อสายคูนาซึ่งดื่มช็อกโกแล็ตแบบขมปี๋ระดับได้ฟลาโวนอยด์วันละ 900มก.เป็นประจำ แล้วเปรียบเทียบกับคนปานามาทั่วไปว่าอินเดียนกูนาจะตายจากโรคหลอดเลือดหัวใจน้อยกว่าหรือเปล่า และก็พบว่าตายน้อยกว่าจริงๆ จึงเริ่มมีการกระดี๊กระด๊าว่าช็อกโกแล็ตเป็นของดีแม้ว่าการวิจัยแบบคุ้ยใบมรณบัตรวงการแพทย์จะนับว่าเป็นหลักฐานระดับจิ๊บจ๊อย (retrospective case control study) ที่ไม่มีการควบคุมปัจจัยเสี่ยงตัวอื่นๆเลยก็ตาม แล้วต่อมาก็มีหลักฐานวิจัยลักษณะเดียวกันนี้ในยุโรป [3] และในอเมริกา [4,5] ซึ่งให้ผลไปทางเดียวกัน ดังนั้น ณ วันนี้จึงพอจะพูดได้เต็มปากเต็มคำว่าดาร์คช็อกโกแล็ตมีความสัมพันธ์กับการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจน้อยลง นอกจากนี้การยำรวมงานวิจัยแบบแบ่งกลุ่มเปรียบเทียบก็พบว่าการได้กินดาร์คช็อกโกแลตสัมพันธ์กับการลดความดันเลือดลงได้ด้วย ถึงแม้จะลดลงไม่มาก คือลดความดันตัวบนได้ประมาณ 3-4 มม. ถือว่าหน่อมแน้มหากเทียบกับแฟลกซีด (ลดได้ 10-15 มม.) กลไกการลดความดันเลือดนี้ก็ค่อนข้างจะตกลงกันได้ว่าน่าจะผ่านการไปเพิ่มก้าซไนตริกออกไซด์ (NO) ที่เยื่อบุหลอดเลือดทำให้หลอดเลือดขยายตัวขึ้น
เอาละ คราวนี้มาตอบคำถามของคุณ ถามว่ากินดาร์คช็อกโกแลตแล้วจะช่วยชลอการเป็นโรคอัลไซเมอร์จริงไหม ตอบว่าไม่มีใครรู้หรอกครับ ว่าจริงหรือไม่จริง ถึงต่อให้พระเจ้ามาเป็นแพทย์แผนปัจจุบันเองวันนี้ ผมท้าเลยว่าพระเจ้าก็ไม่รู้ เพราะหลักฐานวิจัยมันขัดแย้งกันเอง และงานวิจัยยังมีไม่มากพอที่จะสรุปให้เป็นตุเป็นตะได้
ผลวิจัยที่พอจะตกลงกันได้ก็คือเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปแล้วว่าฟลาวานอลจากโกโก้ทำให้เลือดเข้าไปเลี้ยงสมองบางพื้นที่มากขึ้น [6, 7] แต่มันก็ไม่เกี่ยวกับว่าความจำจะดีขึ้นหรือจะสั่วลงนะ เพราะมีสารจำนวนมากที่มีฤทธิ์ทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองบางพื้นที่มากขึ้น รวมทั้งก้าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เป็นก้าซเสียที่เราคุ้นเคยนี้ด้วยก็เพิ่มเลือดไปเลี้ยงสมองเหมือนกัน แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าอะไรที่ทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองมากขึ้นแล้วจะชลอการขี้หลงขี้ลืมลงได้
ส่วนประเด็นที่ว่าดาร์คช็อกโกแล็ตทำให้ความจำดีขึ้นหรือไม่ ทำให้อารมณ์ดีขึ้นหายซึมเศร้าหรือไม่นั้น ผลวิจัยกลับออกมาแบบสองฝักสองฝ่าย ขัดแย้งกันเองจนสรุปไม่ลง บางงานวิจัยก็ว่าทำให้ความจำดีขึ้น บางงานวิจัยก็ว่าไม่ได้ทำให้ความจำดีขึ้น แต่ทุกงานวิจัยล้วนเป็นงานวิจัยเบื้องต้นขนาดเล็กๆกะป๊อกกะแป๊ก บ้างว่าได้ผลดีบ้างว่าได้ผลไม่ดี เช่นงานวิจัยหนึ่งให้คนสูงอายุกินโกโก้ที่มีฟลาวานอลแบบเข้มข้นคือสูงถึง 500 มก. แล้ววัดความจำเทียบกับคนกินโกโก้หลอก พบว่าความจำไม่แตกต่างกันทั้งกินโกโก้จริงหรือโกโก้หลอก [8-10]
ข้างฝ่ายสนับสนุนดาร์คช็อกโกแล็ตว่าช่วยแก้ความขี้หลงขี้ลืมนั้นให้นัำหนักกับการทำวิจัยแบบตามดูกลุ่มคนโดยไม่ได้จับฉลากแบ่งกลุ่มเปรียบเทียบที่ตีพิมพ์ไว้ในวารสารโรคอัลไซเมอร์ [11] ซึ่งตามดูกลุ่มคนสูงอายุ 531 คนนาน 2 ปีเทียบระหว่างพวกที่กินกับไม่กินดาร์คช็อกโกแลตว่าใครจะขี้ลืมมากกว่ากันโดยนิยาม "ขี้ลืม" ว่าได้คะแนนทดสอบความจำแบบง่าย (MMSE) ลดลงในสองปีมากกว่า 2 คะแนน ผลวิจัยปรากฎว่าหากนับเฉพาะคนที่มีระดับคาเฟอีนในเครื่องดื่มที่ดื่มทุกชนิดทั้งวันต่ำกว่า 75 มก. พวกที่กินดาร์คช็อกโกแล็ตขี้ลืมน้อยกว่าพวกที่ไม่กิน แต่หากนับรวมคนที่ดื่มคาเฟอีนจากเครื่องดื่มทุกชนิดได้มากกว่า 75 มก.ต่อวันขึ้นไป พบว่าคะแนนความขี้ลืมไม่ต่างกันเลยไม่ว่าจะกินหรือไม่กินดาร์คช็อกโกแลต แปลไทยให้เป็นไทยก็คือกินดาร์คช็อกโกแลตลดความขี้ลืมได้เฉพาะคนในที่ไม่ดื่มกาแฟ ถ้าดื่มกาแฟอยู่แล้ว กินหรือไม่กินดาร์คช็อกโกแลตก็ความจำดีเท่ากัน แปะเอี้ย หิ..หิ
อย่างไรก็ตามองค์กรความปลอดภัยอาหารยุโรป (The European Food Safety Authority) ได้โหมโรงอุดหนุนดาร์คช็อกโกแลตอย่างนอกหน้าไปแล้วเรียบร้อยโดยประกาศว่า [12] เครื่องดื่มโกโก้ที่มีฟลาวานอล 200 มก.ขึ้นไปช่วยให้หลอดเลือดยืดหยุ่นทำให้เลือดไหลเวียนเป็นปกติดี ฮี่..ฮี่ หมอสันต์รู้สึกว่านี่จะเป็นการออกอาการอยากขายช็อกโกแล็ตมากไปหน่อย เพราะงานวิจัยต่างๆที่ทำในคนเช่นงานวิจัยผลช็อกโกแล็ตต่อความดันเลือดสูงนั้นอัดโกโก้ขมปี๋ให้ผู้เข้าร่วมวิจัยจนได้รับฟลาโวนอลสูงเฉลี่ยวันละ 670 มก.โน่นเทียว ซึ่งเทียบได้กับการกินดาร์คช็อกโกแลตแบบแท่งถึงวันละ 12 แท่ง นี่ของจริงนะครับ หากท่านจะเอาดีทางกินดาร์คช็อกโกแลตท่านต้องกินให้ได้ขนาดนั้น
กล่าวโดยสรุป ดาร์คช็อกโกแลตทำให้สมองเสื่อมช้าลงหรือไม่ยังไม่ทราบ แม้ทุกวันนี้คำแนะนำการประกอบวิชาชีพ (clinical guidelines) ของวงการแพทย์โดยรวมก็ยังไม่ได้แนะนำให้กินดาร์คช็อกโกแลตเป็นอาหารสุขภาพ ดังนั้นท่านจะกินหรือไม่กินช็อกโกแลตก็เชิญตามสะดวกใจของท่านเถิด แต่หมอสันต์แนะนำว่าอยากกินก็กินไปเถอะ ไม่เพียงแต่ดาร์คชอกโกแล็ตเท่านั้น แต่หมอสันต์แนะนำว่าอะไรขมๆให้ขยันกินเข้าไว้ เพราะโมเลกุลที่มีคุณความดีในทางโภชนาการทั้งหลายส่วนใหญ่มีรสขมทั้งสิ้น การลุยกินของขมมีข้อดีอีกอย่างหนึ่งคือทำให้ท่านเลิกติดรสหวาน ซึ่งเป็นการเสพย์ติดที่มีแต่เสียกับเสียไม่มีข้อดีอะไรเลย แล้วดาร์คช็อกโกแลตนี้อยากดื่มอยากกินมากก็ดื่มได้กินได้ เพราะยังไม่เคยมีรายงานทางการแพทย์ว่ามันโอเวอร์โด้สหรือดื่มกินกันเกิดขนาดจนมีข้อเสียเลยนะครับ ก็มันขมปี๋ออกอย่างนั้นถ้าไม่ใช่อินเดียนเผ่าคูนาแล้วจะมีใครหรือที่จะดื่มได้ทีละมากๆ
ก่อนจบย้ำอีกที ดาร์คช็อกโกแลตไม่ได้เป็นญาติอะไรกับช็อกโกแล็ตที่คนซื้อดื่มกันตามปั๊มน้ำมันและร้านกาแฟนะครับ อย่างนั้นเรียกว่าไวท์ช็อกโกแลต
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
บรรณานุกรม
1. Hertog MG, Feskens EJ, Hollman PC, Katan MB, Kromhout D. Dietary antioxidant flavonoids and risk of coronary heart disease: the Zutphen Elderly Study. Lancet (1993) 342(8878):1007–11. doi:10.1016/0140-6736(93)92876-U
2. Bayard V, Chamorro F, Motta J, Hollenberg NK. Does flavanol intake influence mortality from nitric oxide-dependent processes? Ischemic heart disease, stroke, diabetes mellitus, and cancer in Panama. Int J Med Sci (2007) 4(1):53–8. doi:10.7150/ijms.4.53
3. Bel-Serrat S, Mouratidou T, Börnhorst C, Peplies J, De Henauw S, Marild S, et al. Food consumption and cardiovascular risk factors in European children: the IDEFICS study. Pediatr Obes (2013) 8(3):225–36. doi:10.1111/j.2047-6310.2012.00107.x
4. Djoussé L, Hopkins PN, North KE, Pankow JS, Arnett DK, Ellison RC. Chocolate consumption is inversely associated with prevalent coronary heart disease: the National Heart, Lung, and Blood Institute Family Heart Study. Clin Nutr (2011) 30(2):182–7. doi:10.1016/j.clnu.2010.08.005
5. Djoussé L, Hopkins PN, Arnett DK, Pankow JS, Borecki I, North KE, et al. Chocolate consumption is inversely associated with calcified atherosclerotic plaque in the coronary arteries: the NHLBI Family Heart Study. Clin Nutr (2011) 30(1):38–43. doi:10.1016/j.clnu.2010.06.011
6. Lamport DJ, Pal D, Moutsiana C, Field DT, Williams CM, Spencer JP, et al. The effect of flavanol-rich cocoa on cerebral perfusion in healthy older adults during conscious resting state: a placebo controlled, crossover, acute trial. Psychopharmacology (Berl) (2015) 232(17):3227–34. doi:10.1007/s00213-015-3972-4
7. Decroix L, Tonoli C, Soares DD, Tagougui S, Heyman E, Meeusen R. Acute cocoa flavanol improves cerebral oxygenation without enhancing executive function at rest or after exercise. Appl Physiol Nutr Metab (2016) 41(12):1225–32. doi:10.1139/apnm-2016-0245
8. Crews WD, Harrison DW, Wright JW. A double-blind, placebo-controlled, randomized trial of the effects of dark chocolate and cocoa on variables associated with neuropsychological functioning and cardiovascular health: clinical findings from a sample of healthy, cognitively intact older adults. Am J Clin Nutr (2008) 87:872–80.
9. Camfield DA, Scholey A, Pipingas A, Silberstein R, Kras M, Nolidin K, et al. Steady state visually evoked potential (SSVEP) topography changes associated with cocoa flavanol consumption. Physiol Behav (2012) 105:948–57. doi:10.1016/j.physbeh.2011.11.013
10. Pase MP, Scholey AB, Pipingas A, Kras M, Nolidin K, Gibbs A, et al. Cocoa polyphenols enhance positive mood states but not cognitive performance: a randomized, placebo-controlled trial. J Psychopharmacol (2013) 27:451–8. doi:10.1177/0269881112473791
11. Afonsoa M, Joséa DM, Alexandrea M, Nunoc L, Henriquec B. Chocolate Consumption is Associated with a Lower Risk of Cognitive Decline. Journal: Journal of Alzheimer's Disease, vol. 53, no. 1, pp. 85-93, 2016 DOI: 10.3233/JAD-160142
12. European Food Safety Authority, 2014. Scientific Opinion on the modification of the authorisation of a health claim related to cocoa flavanols and maintenance of normal endothelium-dependent vasodilation pursuant to Article 13(5) of Regulation (EC) No 1924/2006 following a request in accordance with Article 19 of Regulation (EC) No 1924/2006. Accessed on June 16, 2019 at http://www.efsa.europa.eu/en/efsajournal/pub/3654
ขอบพระคุณค่ะ
............................................
ตอบครับ
ความจริงผมมีหลักประจำตัวว่าจะไม่ตอบจดหมายที่ถามเรื่องอาหารเสริมหรือสิ่งที่คนเขาทำมาค้าขายกันในตลาด เพราะ ม. ห้ามไว้ เนื่องจากเป็นห่วงสวัสดิภาพของผมเอง แต่เรื่องช็อกโกแลตนี้มีจดหมายเข้ามาหลายฉบับ หนึ่งในนั้นเป็นจดหมายจากสมาชิกคอร์ส RDBY เอง จะไม่ตอบก็ไม่ได้ จึงรวบตอบเสียวันนี้
ก่อนจะตอบคำถามของคุณ ขอพูดถึงภาพใหญ่ก่อนนะ ว่า
1. ช็อกโกแลตที่จะพูดถึงในวันนี้ ผมหมายถึงดาร์คช็อกโกแลต คือผมหมายถึงผงของเมล็ดโกโก้ (Theobroma cacao) ที่ขมปี๋ไม่ได้ใส่อะไรหรือสกัดเอาอะไรออกทั้งสิ้น ไม่เกี่ยวอะไรกับเครื่องดื่มช็อกโกแล็ตที่ทำขึ้นมาจากผลโก้โก้บดบวกนมวัวบวกน้ำตาล
2. โกโก้มีโมเลกุลที่แยกได้แล้วไม่น้อยกว่า 300 ชนิด รวมทั้งคาเฟอีนด้วย ที่ยังแยกไม่ได้ก็ยังมีอีกมาก แต่ก็เดาเอาว่าตัวที่ออกฤทธิ์หลักคือโมเลกุลในกลุ่มฟลาโวนอยด์ซึ่งเป็นสารในกลุ่มโปลีฟีนอลในผลไม้และผักอันถือกันว่าเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ดีเลิศประเสริฐศรีนั่นแหละ ตัวที่เชื่อกันว่าออกฤทธิ์กลั่นที่สุดที่อยู่ในโกโก้ชื่อ flavan-3-ols บางทีจึงเรียกสั้นๆว่าฟลาวานอล
3. หลักฐานเรื่องสารต้านอนุมูลอิสระมีคุณสาระพัดสาระเพซึ่งเป็นหลักฐานระดับห้องทดลองนั้นมีแยะ แต่วงการแพทย์ไม่ได้ใช้หลักฐานระดับห้องทดลองมารักษาคน ต้องใช้หลักฐานวิจัยในคนเป็นหลัก บทความนี้ผมจึงจะไม่พูดถึงหลักฐานในห้องทดลองและในสัตว์ทดลอง จะพูดถึงแต่งานวิจัยในคนเท่านั้น หลักฐานว่าฟลาโวนอยด์ดีต่อระบบหัวใจหลอดเลือดนั้นมีขึ้นตั้งแต่งานวิจัยคนสูงอายุที่เนเธอแลนด์ (DZE stydy)ที่ตีพิมพ์ในวารสารแลนเซ็ทราวยี่สิบปีมาแล้ว มีเนื้อความโดยสรุปว่าคนที่กินฟลาโวนอยด์ในอาหารชนิดต่างๆมากจะตายจากโรคหัวใจหลอดเลือดน้อย [1]
ก่อนหน้านั้นไม่มีใครสนใจช็อกโกแลตในแง่จะเป็นตัวให้ฟลาโวนอยด์เพราะช็อกโกแล็ตแต่ละยี่ห้อก็มีฟลาวานอยด์ต่างกันได้ลิบลับเพราะกระบวนการผลิตช็อกโกแล็ตส่วนใหญ่ตั้งใจจะแยกเอาฟลาวานอลออกทิ้งเพราะมันขมปี๋ขัดใจตลาด จนกระทั่งมีผู้ไปทำวิจัย [2] แบบขุดคุ้ยดูใบมรณบัตรของคนปานามาที่เป็นอินเดียนเชื้อสายคูนาซึ่งดื่มช็อกโกแล็ตแบบขมปี๋ระดับได้ฟลาโวนอยด์วันละ 900มก.เป็นประจำ แล้วเปรียบเทียบกับคนปานามาทั่วไปว่าอินเดียนกูนาจะตายจากโรคหลอดเลือดหัวใจน้อยกว่าหรือเปล่า และก็พบว่าตายน้อยกว่าจริงๆ จึงเริ่มมีการกระดี๊กระด๊าว่าช็อกโกแล็ตเป็นของดีแม้ว่าการวิจัยแบบคุ้ยใบมรณบัตรวงการแพทย์จะนับว่าเป็นหลักฐานระดับจิ๊บจ๊อย (retrospective case control study) ที่ไม่มีการควบคุมปัจจัยเสี่ยงตัวอื่นๆเลยก็ตาม แล้วต่อมาก็มีหลักฐานวิจัยลักษณะเดียวกันนี้ในยุโรป [3] และในอเมริกา [4,5] ซึ่งให้ผลไปทางเดียวกัน ดังนั้น ณ วันนี้จึงพอจะพูดได้เต็มปากเต็มคำว่าดาร์คช็อกโกแล็ตมีความสัมพันธ์กับการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจน้อยลง นอกจากนี้การยำรวมงานวิจัยแบบแบ่งกลุ่มเปรียบเทียบก็พบว่าการได้กินดาร์คช็อกโกแลตสัมพันธ์กับการลดความดันเลือดลงได้ด้วย ถึงแม้จะลดลงไม่มาก คือลดความดันตัวบนได้ประมาณ 3-4 มม. ถือว่าหน่อมแน้มหากเทียบกับแฟลกซีด (ลดได้ 10-15 มม.) กลไกการลดความดันเลือดนี้ก็ค่อนข้างจะตกลงกันได้ว่าน่าจะผ่านการไปเพิ่มก้าซไนตริกออกไซด์ (NO) ที่เยื่อบุหลอดเลือดทำให้หลอดเลือดขยายตัวขึ้น
เอาละ คราวนี้มาตอบคำถามของคุณ ถามว่ากินดาร์คช็อกโกแลตแล้วจะช่วยชลอการเป็นโรคอัลไซเมอร์จริงไหม ตอบว่าไม่มีใครรู้หรอกครับ ว่าจริงหรือไม่จริง ถึงต่อให้พระเจ้ามาเป็นแพทย์แผนปัจจุบันเองวันนี้ ผมท้าเลยว่าพระเจ้าก็ไม่รู้ เพราะหลักฐานวิจัยมันขัดแย้งกันเอง และงานวิจัยยังมีไม่มากพอที่จะสรุปให้เป็นตุเป็นตะได้
ผลวิจัยที่พอจะตกลงกันได้ก็คือเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปแล้วว่าฟลาวานอลจากโกโก้ทำให้เลือดเข้าไปเลี้ยงสมองบางพื้นที่มากขึ้น [6, 7] แต่มันก็ไม่เกี่ยวกับว่าความจำจะดีขึ้นหรือจะสั่วลงนะ เพราะมีสารจำนวนมากที่มีฤทธิ์ทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองบางพื้นที่มากขึ้น รวมทั้งก้าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เป็นก้าซเสียที่เราคุ้นเคยนี้ด้วยก็เพิ่มเลือดไปเลี้ยงสมองเหมือนกัน แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าอะไรที่ทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองมากขึ้นแล้วจะชลอการขี้หลงขี้ลืมลงได้
ส่วนประเด็นที่ว่าดาร์คช็อกโกแล็ตทำให้ความจำดีขึ้นหรือไม่ ทำให้อารมณ์ดีขึ้นหายซึมเศร้าหรือไม่นั้น ผลวิจัยกลับออกมาแบบสองฝักสองฝ่าย ขัดแย้งกันเองจนสรุปไม่ลง บางงานวิจัยก็ว่าทำให้ความจำดีขึ้น บางงานวิจัยก็ว่าไม่ได้ทำให้ความจำดีขึ้น แต่ทุกงานวิจัยล้วนเป็นงานวิจัยเบื้องต้นขนาดเล็กๆกะป๊อกกะแป๊ก บ้างว่าได้ผลดีบ้างว่าได้ผลไม่ดี เช่นงานวิจัยหนึ่งให้คนสูงอายุกินโกโก้ที่มีฟลาวานอลแบบเข้มข้นคือสูงถึง 500 มก. แล้ววัดความจำเทียบกับคนกินโกโก้หลอก พบว่าความจำไม่แตกต่างกันทั้งกินโกโก้จริงหรือโกโก้หลอก [8-10]
ข้างฝ่ายสนับสนุนดาร์คช็อกโกแล็ตว่าช่วยแก้ความขี้หลงขี้ลืมนั้นให้นัำหนักกับการทำวิจัยแบบตามดูกลุ่มคนโดยไม่ได้จับฉลากแบ่งกลุ่มเปรียบเทียบที่ตีพิมพ์ไว้ในวารสารโรคอัลไซเมอร์ [11] ซึ่งตามดูกลุ่มคนสูงอายุ 531 คนนาน 2 ปีเทียบระหว่างพวกที่กินกับไม่กินดาร์คช็อกโกแลตว่าใครจะขี้ลืมมากกว่ากันโดยนิยาม "ขี้ลืม" ว่าได้คะแนนทดสอบความจำแบบง่าย (MMSE) ลดลงในสองปีมากกว่า 2 คะแนน ผลวิจัยปรากฎว่าหากนับเฉพาะคนที่มีระดับคาเฟอีนในเครื่องดื่มที่ดื่มทุกชนิดทั้งวันต่ำกว่า 75 มก. พวกที่กินดาร์คช็อกโกแล็ตขี้ลืมน้อยกว่าพวกที่ไม่กิน แต่หากนับรวมคนที่ดื่มคาเฟอีนจากเครื่องดื่มทุกชนิดได้มากกว่า 75 มก.ต่อวันขึ้นไป พบว่าคะแนนความขี้ลืมไม่ต่างกันเลยไม่ว่าจะกินหรือไม่กินดาร์คช็อกโกแลต แปลไทยให้เป็นไทยก็คือกินดาร์คช็อกโกแลตลดความขี้ลืมได้เฉพาะคนในที่ไม่ดื่มกาแฟ ถ้าดื่มกาแฟอยู่แล้ว กินหรือไม่กินดาร์คช็อกโกแลตก็ความจำดีเท่ากัน แปะเอี้ย หิ..หิ
อย่างไรก็ตามองค์กรความปลอดภัยอาหารยุโรป (The European Food Safety Authority) ได้โหมโรงอุดหนุนดาร์คช็อกโกแลตอย่างนอกหน้าไปแล้วเรียบร้อยโดยประกาศว่า [12] เครื่องดื่มโกโก้ที่มีฟลาวานอล 200 มก.ขึ้นไปช่วยให้หลอดเลือดยืดหยุ่นทำให้เลือดไหลเวียนเป็นปกติดี ฮี่..ฮี่ หมอสันต์รู้สึกว่านี่จะเป็นการออกอาการอยากขายช็อกโกแล็ตมากไปหน่อย เพราะงานวิจัยต่างๆที่ทำในคนเช่นงานวิจัยผลช็อกโกแล็ตต่อความดันเลือดสูงนั้นอัดโกโก้ขมปี๋ให้ผู้เข้าร่วมวิจัยจนได้รับฟลาโวนอลสูงเฉลี่ยวันละ 670 มก.โน่นเทียว ซึ่งเทียบได้กับการกินดาร์คช็อกโกแลตแบบแท่งถึงวันละ 12 แท่ง นี่ของจริงนะครับ หากท่านจะเอาดีทางกินดาร์คช็อกโกแลตท่านต้องกินให้ได้ขนาดนั้น
กล่าวโดยสรุป ดาร์คช็อกโกแลตทำให้สมองเสื่อมช้าลงหรือไม่ยังไม่ทราบ แม้ทุกวันนี้คำแนะนำการประกอบวิชาชีพ (clinical guidelines) ของวงการแพทย์โดยรวมก็ยังไม่ได้แนะนำให้กินดาร์คช็อกโกแลตเป็นอาหารสุขภาพ ดังนั้นท่านจะกินหรือไม่กินช็อกโกแลตก็เชิญตามสะดวกใจของท่านเถิด แต่หมอสันต์แนะนำว่าอยากกินก็กินไปเถอะ ไม่เพียงแต่ดาร์คชอกโกแล็ตเท่านั้น แต่หมอสันต์แนะนำว่าอะไรขมๆให้ขยันกินเข้าไว้ เพราะโมเลกุลที่มีคุณความดีในทางโภชนาการทั้งหลายส่วนใหญ่มีรสขมทั้งสิ้น การลุยกินของขมมีข้อดีอีกอย่างหนึ่งคือทำให้ท่านเลิกติดรสหวาน ซึ่งเป็นการเสพย์ติดที่มีแต่เสียกับเสียไม่มีข้อดีอะไรเลย แล้วดาร์คช็อกโกแลตนี้อยากดื่มอยากกินมากก็ดื่มได้กินได้ เพราะยังไม่เคยมีรายงานทางการแพทย์ว่ามันโอเวอร์โด้สหรือดื่มกินกันเกิดขนาดจนมีข้อเสียเลยนะครับ ก็มันขมปี๋ออกอย่างนั้นถ้าไม่ใช่อินเดียนเผ่าคูนาแล้วจะมีใครหรือที่จะดื่มได้ทีละมากๆ
ก่อนจบย้ำอีกที ดาร์คช็อกโกแลตไม่ได้เป็นญาติอะไรกับช็อกโกแล็ตที่คนซื้อดื่มกันตามปั๊มน้ำมันและร้านกาแฟนะครับ อย่างนั้นเรียกว่าไวท์ช็อกโกแลต
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
บรรณานุกรม
1. Hertog MG, Feskens EJ, Hollman PC, Katan MB, Kromhout D. Dietary antioxidant flavonoids and risk of coronary heart disease: the Zutphen Elderly Study. Lancet (1993) 342(8878):1007–11. doi:10.1016/0140-6736(93)92876-U
2. Bayard V, Chamorro F, Motta J, Hollenberg NK. Does flavanol intake influence mortality from nitric oxide-dependent processes? Ischemic heart disease, stroke, diabetes mellitus, and cancer in Panama. Int J Med Sci (2007) 4(1):53–8. doi:10.7150/ijms.4.53
3. Bel-Serrat S, Mouratidou T, Börnhorst C, Peplies J, De Henauw S, Marild S, et al. Food consumption and cardiovascular risk factors in European children: the IDEFICS study. Pediatr Obes (2013) 8(3):225–36. doi:10.1111/j.2047-6310.2012.00107.x
4. Djoussé L, Hopkins PN, North KE, Pankow JS, Arnett DK, Ellison RC. Chocolate consumption is inversely associated with prevalent coronary heart disease: the National Heart, Lung, and Blood Institute Family Heart Study. Clin Nutr (2011) 30(2):182–7. doi:10.1016/j.clnu.2010.08.005
5. Djoussé L, Hopkins PN, Arnett DK, Pankow JS, Borecki I, North KE, et al. Chocolate consumption is inversely associated with calcified atherosclerotic plaque in the coronary arteries: the NHLBI Family Heart Study. Clin Nutr (2011) 30(1):38–43. doi:10.1016/j.clnu.2010.06.011
6. Lamport DJ, Pal D, Moutsiana C, Field DT, Williams CM, Spencer JP, et al. The effect of flavanol-rich cocoa on cerebral perfusion in healthy older adults during conscious resting state: a placebo controlled, crossover, acute trial. Psychopharmacology (Berl) (2015) 232(17):3227–34. doi:10.1007/s00213-015-3972-4
7. Decroix L, Tonoli C, Soares DD, Tagougui S, Heyman E, Meeusen R. Acute cocoa flavanol improves cerebral oxygenation without enhancing executive function at rest or after exercise. Appl Physiol Nutr Metab (2016) 41(12):1225–32. doi:10.1139/apnm-2016-0245
8. Crews WD, Harrison DW, Wright JW. A double-blind, placebo-controlled, randomized trial of the effects of dark chocolate and cocoa on variables associated with neuropsychological functioning and cardiovascular health: clinical findings from a sample of healthy, cognitively intact older adults. Am J Clin Nutr (2008) 87:872–80.
9. Camfield DA, Scholey A, Pipingas A, Silberstein R, Kras M, Nolidin K, et al. Steady state visually evoked potential (SSVEP) topography changes associated with cocoa flavanol consumption. Physiol Behav (2012) 105:948–57. doi:10.1016/j.physbeh.2011.11.013
10. Pase MP, Scholey AB, Pipingas A, Kras M, Nolidin K, Gibbs A, et al. Cocoa polyphenols enhance positive mood states but not cognitive performance: a randomized, placebo-controlled trial. J Psychopharmacol (2013) 27:451–8. doi:10.1177/0269881112473791
11. Afonsoa M, Joséa DM, Alexandrea M, Nunoc L, Henriquec B. Chocolate Consumption is Associated with a Lower Risk of Cognitive Decline. Journal: Journal of Alzheimer's Disease, vol. 53, no. 1, pp. 85-93, 2016 DOI: 10.3233/JAD-160142
12. European Food Safety Authority, 2014. Scientific Opinion on the modification of the authorisation of a health claim related to cocoa flavanols and maintenance of normal endothelium-dependent vasodilation pursuant to Article 13(5) of Regulation (EC) No 1924/2006 following a request in accordance with Article 19 of Regulation (EC) No 1924/2006. Accessed on June 16, 2019 at http://www.efsa.europa.eu/en/efsajournal/pub/3654