โรคซึมเศร้า ไม่เอาแบบอธิบายกว้างๆนะ
เรียน คุณหมอสันต์
ผมเคยสอบถามคุณหมอทางที่อยู่นี้ แต่ยังไม่เคยได้รับคำตอบ แม้จะได้ตามอ่านอยู่ประจำ เข้าใจว่าคำถามไม่น่าสนใจ ซ้ำหรือไม่เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น หรือจดหมายไม่ถึง(ที่อยู่ผิด) แต่ก็จะถามเรื่อยๆครับ
ในครั้งนี้ขอถามเรื่องโรคซึมเศร้า แม้ทราบว่าคุณหมอไม่ถนัดเท่าหัวใจหลอดเลือด แต่คุณหมอมีข้อมูลจากงานวิจัยทางด้านสุขภาพต่างๆที่น่าเชื่อถือแน่นอน
ต้องยอมรับว่านอกจากโรคNCDsแล้ว โรคซึมเศร้าก็เป็นปัญหาสุขภาพของสังคมยุคนี้ และมีผู้ป่วยมากทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว ในอัตราที่เพิ่มขึ้น และเกิดโศกนาฏกรรมขึ้น ถี่ขึ้นเรื่อยๆ โดยที่แวดวงสาธารณสุขยังให้ความสำคัญน้อยกว่าโรคNCDs แต่ก็ทำให้เกิดความสูญเสียกับทรัพยากรบุคคลของชาติ ไม่น้อยและยังไม่มีแนวโน้มลดลง จากปัจจัยแวดล้อมทางสังคมสมัยใหม่
ทั้งนี้การให้ความรู้ ความเข้าใจหรือสร้างความรับรู้ถึงที่มาที่ไปกับสังคมก็มีน้อยมาก ผู้ป่วยหรือบุคคลทั่วไปไม่รู้ว่าโรคนี้เกิดจากอะไร(อาจมีภาพกว้างๆว่าเป็นโรคจิตชนิดหนึ่ง หรือที่น่ากลัว โรคจิตก็คือคนบ้า ทำให้ ไม่ยอมรับ ปกปิด เพราะทำให้ขาดความน่าเชื่อถือในสังคม) แล้วเราจะป้องกันตัวเองจากโรคนี้ได้อย่างไร ในความเป็นจริงที่อยากเรียนถามคุณหมอ(แบบไม่ใช่อธิบายกว้างๆโดยทั่วไปแบบตามเว็ปการแพทย์) คือ มันเป็นโรคทางกายคือความบกพร่องของสารเคมีหรือสารสื่อประสาทในสมอง เหมือนโรคเบาหวาน ที่เป็นโรคทางกายที่ เกี่ยวกับ อินซูลิน น้ำตาล บกพร่อง มากน้อย หรือเป็นโรคทางด้านจิตใจ หรือเป็นทั้งคู่ แต่อะไรเกิดก่อน เกิดหลัง คือ สารเคมี บกพร่องทางกาย จึงเกิดอาการทางจิต หรือ มีความเครียด กระทบกระเทือนทางจิตใจ ก่อน เป็นสาเหตุให้สารสื่อประสาทบกพร่อง ซึ่งถ้าบุคคลเข้าใจเรื่องเหล่านี้อย่างถูกต้องมากขึ้น ก็จะสามารถระมัดระวังป้องกันตัวเอง รวมทั้งการรักษา ฟื้นฟูด้วยความเข้าใจในการดูแลตัวเอง และไม่จำเป็นต้องใช้ยาไปตลอดชีวิต เหมือนที่คุณหมอได้พยายามแนะนำ การปฏิบัติตัวและการเปลี่ยนแปลงรูปแบบชีวิตเพื่อหลีกเลี่ยงหรือรักษาโรคNCDs ให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น
การใช้ยารักษาโรคซึมเศร้าซึ่งใช้เวลาต่อเนื่องยาวนาน เช่นเดียวกับผู้ป่วยความดันสูงหรือไขมันในเส้นเลือดสูง จะส่งผลกระทบอะไรที่เป็นผลข้างเคียงในระยะยาวบ้างหรือไม่ มีงานวิจัยทางด้านนี้ที่พึงระวังมั้ย เช่น ยากลุ่ม Lexapro ที่ว่าปลอดภัยใช้แพร่หลาย มานานมาก
ผมก็ไม่ทราบว่าจดหมายนี้จะถึงมีคุณหมอมั้ย เพราะคงมีผู้กลั่นกรอง หรือที่อยู่จะถูกหรือไม่ และคุณหมอจะกรุณาเห็นประโยชน์กับท่านอื่นๆมั้ย แต่หวังว่าจะได้เห็นคุณหมอตอบคำถามในFBของคุณหมอ
ขอบพระคุณมากครับ
.............................................................
ตอบครับ
เรียน คุณหมอสันต์
1. ถามว่าเขียนมาทางเมลนี้ตั้งหลายครั้งแล้วไม่เห็นหมอสันต์ตอบ จดหมายไม่ไม่ถึงหรืออย่างไร ตอบว่าจะหมายนั้นถึงแน่นอนครับ เพราะอีเมลสมัยนี้มีความแน่นอนกว่าไปรษณีย์สมัยก่อนอย่างเทียบกันไม่ได้ แต่ว่าที่ผมไม่ได้ตอบนั้นคงเป็นผลจากการประชุมแห่งเหตุ กล่าวคือ (1) เมลเข้ามาวันละไม่ต่ำสิบยี่สิบฉบับ แต่ผมมีเวลาตอบให้ได้เฉลี่ยสัปดาห์ละ 1-2 ฉบับ ที่เหลือก็เก็บๆไว้แล้วไปโละทิ้งเมื่อส่งท้ายปีเก่าแต่ละปี (2) อาจเป็นเรื่องที่ซ้ำกับที่เคยตอบไปแล้ว อาจจะซ้ำกับเรื่องเมื่อสิบปีก่อน (บล็อกนี้อายุสิบกว่าปีแล้ว) (3) มีเมลเรื่องอื่นมาแย่งที่ เช่นเรื่องการเสาะหาความหลุดพ้น การหางานทำ การนอนกับแฟนไม่สำเร็จ ฯลฯ แล้วหมอสันต์นี้มีธรรมชาติเป็นคนปกติเสมอต้นเสมอปลายซะที่ไหน บางอารมณ์ก็อยากจะตอบเรื่องบ้าๆบ้าง
ดังนั้น เมลไหนจะได้ตอบหรือไม่ได้ตอบจึงแล้วแต่ดวง ขอให้แฟนๆบล็อกที่กรุณาเขียนเข้ามาโปรด make your heart แปลว่าทำใจ ถ้าได้ตอบก็ถือว่าผู้เขียนได้ช่วยทำบุญที่คำถามของท่านนำไปสู่คำตอบที่ผู้อ่านท่านอื่นจะได้เอาไปใช้ประโยชน์ด้วย ถ้าไม่ได้ตอบก็ถือว่าได้ทำบุญด้วยการให้ทานอันยิ่งใหญ่แก่หมอสันต์..คืออภัยทาน
2. ถามว่าหมอสันต์ถนัดเรื่องการรักษาโรคอะไรบ้าง ตอบว่าไม่ถนัดซักกะโรค เพราะผมเป็นแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว ไม่มีหน้าที่ไปเจาะลึกเพื่อรักษาโรคใดโรคหนึ่ง แต่มีหน้าที่ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถป้องกันและพลิกผันโรคของเขาเองด้วยตัวเขาเองได้ ดังนั้นถ้าจะหาวิธีแก้ปัญหาโรคด้วยตัวท่านเองมาที่นี่ก็มาถูกที่แล้ว แต่ถ้าจะหาหมอมารักษาโรคให้ตัวท่านอย่างลึกซึ้งถึงพริกถึงขิงที่ได้ผลเร็วระดับใกล้กับเสกเปรี้ยงหายเลย ต้องไปที่คลินิกเฉพาะโรคนั้นๆครับ
3. ถามว่าโรคซึมเศร้า (major depressive disorder) เกิดจากอะไร ตอบว่าไม่ทราบครับ ไม่ใช่ตัวหมอสันต์คนเดียวที่ไม่ทราบ คนอื่นที่ประกอบอาชีพแพทย์แผนปัจจุบันในโลกใบนี้ก็ยังไม่มีใครทราบ เพราะยังไม่มีหลักฐานวิทยาศาสตร์ใดที่จะยืนยันสาเหตุของโรคนี้ได้ ที่มีคนพูดเป็นคุ้งเป็นแควว่าโรคซึมเศร้าเกิดจากสาเหตุนั้นสาเหตุนี้ นั่นเป็นการเดาเอาตามหลักวิชา "มั้งศาสตร์" ไม่ใช่พูดตามหลักฐานวิจัยแบบการแพทย์แผนปัจจุบัน
4. ถามว่าโรคนี้เป็นความบกพร่องทางกายเช่นขาดสารเคมี หรือว่าเป็นโรคทางใจ ตอบว่าหากถือเอาตามวิชามั้งศาสตร์ โรคซึมเศร้าเป็นผลจากการประชุมแห่งเหตุ ภาษาแพทย์เรียกว่าปัจจัยเสี่ยง ประดังมากันหลายทาง ดังนี้
มั้งศาสตร์ 1 คือโทษการเปลี่ยนแปลงระดับของสารเคมีที่ใช้เชื่อมต่อกระแสไฟฟ้าระหว่างเซลประสาท (neurotransmitter) แต่ในความเป็นจริงวงการแพทย์ยังไม่รู้ว่าอะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นผล หมายความว่าอาจเกิดโรคซึมเศร้าขึ้นก่อนแล้วเกิดการเปลี่ยนแปลงระดับสารเคมีตามก็เป็นได้
ความสำเร็จของการทดแทนสารเคมีที่เปลี่ยนไปในรูปแบบของยาต้านซึมเศร้านั้น ขึ้นอยู่กับดวงของคนไข้ คือบางรายก็ได้ผล บางรายก็ไม่ได้ผล งานวิจัยเปิดโปงที่ทำโดยกลุ่มอาจารย์ที่ฮาร์วาร์ดนำโดย Dr. Kirsch ซึ่งเอาข้อมูลผลวิจัยที่บริษัทยาไม่ยอมตีพิมพ์ (เพราะมีผลสรุปว่ายาต้านซึมเศร้าไม่ได้ผล) มายำรวมกับข้อมูลที่ตีพิมพ์แล้ว ทำให้เราได้ทราบว่ายาต้านซึมเศร้าในกลุ่ม SSRI ชื่อ Prosac ซึ่งเป็นยาดังมากที่สุดในยุคนั้นได้ผลดีกว่ายาหลอกในคนไข้เพียง 10% ของคนไข้ทั้งหมดที่ใช้ยานี้เท่านั้นเอง
มั้งศาสตร์ 2. คือโทษกรรมพันธ์ เพราะคนไข้จำนวนหนึ่งมีปัจจัยพันธุกรรมเกี่ยวข้องด้วย งานวิจัยคู่แฝดพบว่าหากคนหนึ่งเป็นโรคซึมเศร้าอีกคนหนึ่งก็มีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้า 40-50% งานวิจัยอุบัติการณ์ของโรคในกลุ่มผู้สืบสันดานสายตรง (first degree relative) พบว่าหาในสายตรงมีคนเป็นโรคซึมเศร้า คนอื่นในสายตรงด้วยกันจะมีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้าสูงกว่าคนทั่วไปประมาณ 3 เท่า
มั้งศาสตร์ 3. คือโทษการสนองตอบต่อสิ่งเร้าภายนอก (stressors) อย่างผิดวิธี หมายความว่ามีเรื่องเกิดขึ้นที่ภายนอกตัว แต่ตัวเองรับรู้เรื่องนั้นในเชิงลบ เช่นคู่สมรสตาย พ่อตาย แม่ตาย แฟนทิ้ง ตกงาน กลัวการสอบ เล่นหุ้นแล้วเจ๊ง ป่วยเป็นมะเร็ง เป็นโรคสมองเสื่อม โรคพาร์คินสัน โรคปวดเรื้อรัง พิการ นอนไม่หลับ ขาดญาติมิตรเกื้อหนุน มีภาระต้องดูแลพ่อแม่ที่ชรา เหงา เศร้า เบื่อ เป็นต้น ที่ว่าสนองตอบอย่างผิดวิธีก็หมายความว่าคนอื่นเขาก็มีความเครียดแบบเดียวกันนี้แต่ที่เขาไม่เป็นโรคซึมเศร้าก็มีถมไป
มั้งศาสตร์ 4. โทษยา เพราะผู้ป่วยบางรายโรคซึมเศร้าเกิดเพราะยา เช่น ยาลดความดัน ยาสะเตียรอยด์ หรือเสพย์โคเคน ยาบ้า เฮโรอีน กัญชา และแอลกอฮอล
มั้งศาสตร์ 5. โทษดวงอาทิตย์ที่หายหน้าไป เพราะเป็นความจริงที่ว่าเมื่อเข้าฤดูหนาวที่ไม่เห็นดวงอาทิตย์นานๆ ผู้คนก็จะป่วยเป็นโรคซึมเศร้ากัน
มั้งศาสตร์ 6. โทษพ่อแม่รังแกฉัน เพราะงานวิจัยจำนวนหนึ่งพบว่าผู้ป่วยโรคซึมเศร้าในวัยเด็กมีความสัมพันธ์กับพ่อแม่แบบไม่ค่อยดี หรือพ่อแม่เลี้ยงแบบปกป้องเกินเหตุ หรือพ่อแม่รักลูกไม่เท่ากันเป็นต้น
มั้งศาสตร์ 7. โทษหลอดเลือดสมองอุดตัน เพราะคนไข้ที่เป็นอัมพาตเฉียบพลัน หรือโรคหัวใจ หรือเบาหวาน หรืออัลไซม์เมอร์ ก็จะเป็นโรคซึมเศร้ามากด้วย
ยังมีมั้งศาสตร์อื่นๆอีกแยะ แต่วันนี้เอาแค่นี้พอ เพราะพูดมากไปมันก็เป็นแค่ "มั้ง" อยู่ดี มันยังไม่ใช่ของจริง
5. ถามว่ายา Lexapro ที่ใช้รักษาโรคซึมเศร้าแบบกินกันจนลืมนั้นมีโทษอะไรบ้าง ตอบว่า Lexapro (Escitalopram oxalate) เป็นยาที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทกลาง ซึ่งยาในกลุ่มนี้จะมีผลข้างเคียงต่อระบบประสาทกลางได้ทุกชนิด สำหรับยาตัวนี้ผลข้างเคียงที่โดดเด่นคือ ง่วงเหงาเซาซึม หาวบ่อย นอนไม่หลับ มีเสียงวิ้งๆในหู วิงเวียนก่งก๊ง คลื่นไส้ จะขย้อนอาเจียน ลมในท้องแยะ จุกเสียดแน่น ท้องผูก น้ำหนักเปลี่ยน บ้างเพิ่มมาก บ้างลดมาก (แบบว่าคนอ้วนกินน้ำหนักเพิ่ม คนผอมกินน้ำหนักลด) ปากแห้ง เป็นต้น
ในระยะยาวอาจทำให้หมดอารมณ์ทางเพศ อวัยวะเพศไม่แข็งตัว เลือดออกง่าย เป็นไข้คล้ายไข้หวัดใหญ่ สมองสับสน หัวใจเต้นผิดจังหวะ กล้ามเนื้อเกร็ง หงุดหงิดงุ่นง่าน กลัวเกินเหตุ ก้าวร้าว พูดมาก หรือกลับซึมเศร้าหนักยิ่งขึ้น
6. ถามว่าจะป้องกันตัวเองจากโรคนี้ได้อย่างไร ตอบว่าเมื่อยังไม่รู้สาเหตุ ก็จะไปรู้วิธีป้องกันที่แท้จริงได้อย่างไรละครับ วิธีป้องกันก็เป็นมั้งศาสตร์อีกนั่นแหละ ซึ่งผมจะเลือกมาแนะนำเฉพาะวิธีที่ผมใช้กับตัวเองแล้วได้ผลดี คือ
6.1 ออกกำลังกาย เพราะการออกกำลังกายทำให้เกิดสารต้านความซึมเศร้าที่ชื่อเอ็นดอร์ฟิน
6.2 ตากแดด
6.3 จัดการปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดทุกตัว โดยโฟกัสที่ตัวชี้วัดง่ายๆเจ็ดอย่าง คือ (1) น้ำหนัก (2) ความดัน (3) ไขมัน (4) เบาหวาน (5) การกินผักผลไม้ (6) การออกกำลังกาย (7) การไม่สูบบุหรี่
6.4 เปลี่ยนชีวิต ในเก้าประเด็น ตามแบบของหมอสันต์ คือ
(1) จากงอเป็นเหยียด หมายถึงเปลี่ยนท่าร่างที่งองุ้มให้ตั้งตรงผึ่งผาย ยืดหน้าอก แขม่วพุง
(2) จากช้าเป็นเร็ว หมายถึงเปลี่ยนการเคลื่อนไหวจากช้างุ่มง่าม ไปเป็นรวดเร็วกระฉับกระเฉง
(3) จากซึมเป็นตื่น กระตุ้นตัวเองให้ตื่นเต็มๆกับทุกอย่างที่เข้ามาหาทุกขณะจิต
(4) จากคิดเป็นรู้ คือทิ้งความคิด มาสนใจรับรู้สิ่งเร้าตรงหน้าตามที่มันเป็นโดยไม่คิดอะไรต่อยอด
(5) จากเกร็งเป็นผ่อนคลาย ผ่อนคลายก็คือยิ้มออก ยิ้มไว้เสมอ หัวเราะบ่อยๆ
(6) จากนั่งเป็นเดิน อย่าเอาแต่นั่ง ลุกเดิน เดินทั้งวัน
(7) จากกินสัตว์ เป็นกินพืช หมายถึงเปลี่ยนอาหาร เป็นมังสวิรัติหรือน้องๆมังสวิรัติ
(8) วันละชั่วโมง เพื่อตัวเอง จัดเวลาให้ตัวเอง หนึ่งชั่วโมงนี้ไม่ยุ่งกับใคร ปิดหน้าจอ ไม่คิดอะไร อยู่กับตัวเอง อยู่กับการรับรู้ปัจจุบัน จะด้วยสมาธิ โยคะ ไทชิ หรือนั่งเฉยๆก็ได้
(9) ถามตัวเองว่าวันนี้ตื่นมาทำไม คือใช้ชีวิตอย่างมีเป้าหมาย
7. ผมตอบคำถามคุณหมดแล้วนะ แต่ไหนๆก็พูดถึงโรคซึมเศร้าแล้ว ขอพูดแถมไปถึงการวินิจฉัยโรคนี้หน่อย เผื่อท่านผู้อ่านท่านอื่นจะเอาไปไว้วินิจฉัยตัวเอง ว่ามันไม่มีวิธีตรวจแล็บหรือเอ็กซเรย์เพื่อบอกว่าใครเป็นโรคนี้จริงหรือไม่ การวินิจฉัยอาศัยดูโหงวเฮ้ง หมายความว่าอาศัยฟังจากประวัติและมองดูคนไข้ อนึ่ง เพื่อให้วิธีดูโหงวเฮ้งของแพทย์ทั่วโลกทำได้ใกล้เคียงกัน วงการแพทย์ (DSM5) จึงได้กำหนดเกณฑ์การวินิจฉัยว่าผู้ป่วยควรมีอาการต่อไปนี้อย่างน้อยห้าอย่างภายในระยะ 2 สัปดาห์ต่อกัน โดยในห้าอย่างนั้นต้องมีอย่างที่ 1 และ 2 อยู่ด้วย คือ
(1) มีอารมณ์ซึมเศร้า
(2) ไม่สนใจเรื่องใดๆ หรือสิ่งบันเทิงใดๆ
(3) น้ำหนักลด หรือน้ำหนักเพิ่มผิดตา
(4) นอนไม่หลับ หรือเอาแต่นอนหลับทั้งวัน
(5) การเคลื่อนไหวลนลาน หรือเชื่องช้าผิดจากเดิม
(6) เปลี้ยล้าหรือหมดพลัง
(7) รู้สึกตัวเองไร้ค่า
(8) ตั้งสติไม่ได้ คิดอะไรไม่ตก ตัดสินใจอะไรไม่ได้
(9) คิดวนเวียนเรื่องความตาย อยากตาย การฆ่าตัวตาย
8. ว่าจะจบแล้วแต่เพิ่งนึกขึ้นได้ ว่าผู้ป่วยโรคซึมเศร้าอาจถูกชวนให้ตรวจสมองแบบพิศดาร ซึ่งมีหลายแบบ ขอเล่าให้รู้จักไว้เสียด้วย จะได้ไม่เสียเงินฟรี เช่น
(1) ตรวจการทำงานสมองด้วยการใส่คลื่นแม่เหล็กเข้าไป (Functional MRI หรือ fMRI) ตรวจการทำงานนะ ไม่ใช่ตรวจภาพ คือถ้าตรวจ MRI ธรรมดาเนี่ยเป็นการเอาสนามแม่เหล็กไปเปลี่ยนทิศทางการหมุนรอบตัวเองของอะตอมไฮโดรเจนในเนื้อเยื่อต่างๆ พอหยุดคลื่นแม่เหล็ก อะตอมเหล่านั้นหันกลับมาหมุนในทิศทางเดิมพร้อมกับปล่อยพลังงานออกมา คอมพิวเตอร์จะจับพลังงานเหล่านี้มาสร้างเป็นภาพของสมอง นั่นคือ MRI แบบธรรมดาที่ใช้กันทั่วไป แต่ fMRI นี้ใช้หลักการจับภาพตัวพาออกซิเจนในเม็ดเลือด (hemoglobin) โดยจับมาเป็นสองแบบ แบบกำลังขนออกซิเจนอยู่ กับแบบปล่อยออกซิเจนไปแล้ว แล้วให้คอมพิวเตอร์สร้างภาพขึ้นมาว่าเนื้อสมองส่วนไหนมีการขนออกซิเจนไปปล่อยมาก ก็แสดงว่าเนื้อสมองส่วนนั้นกำลังทำงานมาก เพราะเมื่อทำงานเซลต้องใช้ออกซิเจนในการเผาผลาญเอาพลังงาน
(2) ตรวจคลื่นแม่เหล็กที่เซลสมองก่อขึ้น (Magnetoencephalography - MEG) คล้ายๆกับการตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG) แต่ MEG เจาะจงตรวจคลื่นแม่เหล็กที่เกิดจากกิจกรรมไฟฟ้าของเซลสมองอีกทีหนึ่ง ซึ่งหลบการบดบังของกระโหลกศรีษะและเนื้อเยื่อข้างเคียงได้ดีกว่า แต่ผลบั้นปลายก็คือข้อมูลที่ว่าเนื้อสมองตรงไหนมีกิจกรรมไฟฟ้ามาก (ก็น่าจะทำงานมาก)
(3) ตรวจการทำงานเนื้อเยื่อโดยฉีดโมเลกุลติดฉีดสารเปล่งรังสี (Positron emission tomography – PET) วิธีการคือเอาโมเลกุลที่เซลใช้เป็นวัตถุดิบเวลาทำงานอยู่เป็นประจำ เช่นกลูกโคส มาแปะสารเปล่งรังสีเข้าไปกับตัวโมเลกุล แล้วฉีดเข้าไปในร่างกาย แล้วตามไปวัดดูว่าสารเปล่งรังสีเหล่านี้ไปออกันอยู่ที่ตรงไหนมาก ก็แสดงว่าเนื้อเยือตรงนั้นมีการทำงานใช้กลูโคสมาก
(4.) ตรวจการทำงานของเนื้อเยื่อโดยฉีดสารเปล่งรีงสีแกมม่า (Single photon emission computed tomography - SPECT) อันนี้คือฉีดสารเปล่งรังสีแกมม่าเขาไปในกระแสเลือด แล้วตามวัดรังสีแกมม่าว่าสารที่ฉีดเข้าไปออกันอยู่ที่ตรงไหนมาก ซึ่งก็แสดงว่ามีเลือดไปเลี้ยงตรงนั้นมาก แสดงว่าเซลกำลังทำงานมาก
จะเห็นว่าการตรวจการทำงานของสมองทุกวิธี ไม่ว่าจะเป็น fMRI, MEG, PET scan, SPECT scan ล้วนบอกได้เพียงแต่ว่าเนื้อสมองส่วนไหนกำลังทำงานมาก เนื้อสมองส่วนไหนทำงานน้อย หรือไม่ทำงานเลย แต่ความรู้แพทย์ปัจจุบันนี้ยังไม่รู้หรอกว่าเนื้อสมองส่วนที่เห็นทำงานอยู่มากๆนั้น มันกำลังทำอะไรของมันอยู่ หรือมันก่อโรคอะไรบ้าง มันกำลังทำความดีหรือมันกำลังทำความชั่ว เรามิอาจรู้ได้ เพราะสมองนี้ประกอบขึ้นจากเซลประสาทรูปร่างเหมือนต้นไม้จำนวนนับร้อยล้านต้น บางต้นมีความยาวจากหัวจรดเท้าของเจ้าตัว แต่ละต้นมีจุดปล่อยไฟฟ้าออกสีข้างหรือ synapse อีกเป็นร้อยจุด เชื่อมต่อกันไปมามั่วไปหมด แล้วสร้างการเชื่อมต่อใหม่เช่นปิดตรงนี้ไปเปิดใหม่ตรงโน้นอยู่ตลอดเวลาทุกวัน ความรู้แพทย์ปัจจุบันยังไม่รู้แม้แต่น้อยว่าเซลสมองเซลไหนเวลามันทำงานหรือไม่ทำงานแล้วมันจะทำให้เกิดโรคอะไรอย่างไร ไม่รู้แม้แต่เซลเดียว การตรวจการทำงานของเนื้อสมองจึงไม่มีประโยชน์ในการช่วยรักษาโรคซึมเศร้าเลย
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
บรรณานุกรม
1. Kirsch I, Deacon BJ, Huedo-Medina TB, et al. Initial severity and antidepressant benefits: a meta-analysis of data submitted to the Food and Drug Administration. PLoS Med. 2008;5(2):e45.
ผมเคยสอบถามคุณหมอทางที่อยู่นี้ แต่ยังไม่เคยได้รับคำตอบ แม้จะได้ตามอ่านอยู่ประจำ เข้าใจว่าคำถามไม่น่าสนใจ ซ้ำหรือไม่เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น หรือจดหมายไม่ถึง(ที่อยู่ผิด) แต่ก็จะถามเรื่อยๆครับ
ในครั้งนี้ขอถามเรื่องโรคซึมเศร้า แม้ทราบว่าคุณหมอไม่ถนัดเท่าหัวใจหลอดเลือด แต่คุณหมอมีข้อมูลจากงานวิจัยทางด้านสุขภาพต่างๆที่น่าเชื่อถือแน่นอน
ต้องยอมรับว่านอกจากโรคNCDsแล้ว โรคซึมเศร้าก็เป็นปัญหาสุขภาพของสังคมยุคนี้ และมีผู้ป่วยมากทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว ในอัตราที่เพิ่มขึ้น และเกิดโศกนาฏกรรมขึ้น ถี่ขึ้นเรื่อยๆ โดยที่แวดวงสาธารณสุขยังให้ความสำคัญน้อยกว่าโรคNCDs แต่ก็ทำให้เกิดความสูญเสียกับทรัพยากรบุคคลของชาติ ไม่น้อยและยังไม่มีแนวโน้มลดลง จากปัจจัยแวดล้อมทางสังคมสมัยใหม่
ทั้งนี้การให้ความรู้ ความเข้าใจหรือสร้างความรับรู้ถึงที่มาที่ไปกับสังคมก็มีน้อยมาก ผู้ป่วยหรือบุคคลทั่วไปไม่รู้ว่าโรคนี้เกิดจากอะไร(อาจมีภาพกว้างๆว่าเป็นโรคจิตชนิดหนึ่ง หรือที่น่ากลัว โรคจิตก็คือคนบ้า ทำให้ ไม่ยอมรับ ปกปิด เพราะทำให้ขาดความน่าเชื่อถือในสังคม) แล้วเราจะป้องกันตัวเองจากโรคนี้ได้อย่างไร ในความเป็นจริงที่อยากเรียนถามคุณหมอ(แบบไม่ใช่อธิบายกว้างๆโดยทั่วไปแบบตามเว็ปการแพทย์) คือ มันเป็นโรคทางกายคือความบกพร่องของสารเคมีหรือสารสื่อประสาทในสมอง เหมือนโรคเบาหวาน ที่เป็นโรคทางกายที่ เกี่ยวกับ อินซูลิน น้ำตาล บกพร่อง มากน้อย หรือเป็นโรคทางด้านจิตใจ หรือเป็นทั้งคู่ แต่อะไรเกิดก่อน เกิดหลัง คือ สารเคมี บกพร่องทางกาย จึงเกิดอาการทางจิต หรือ มีความเครียด กระทบกระเทือนทางจิตใจ ก่อน เป็นสาเหตุให้สารสื่อประสาทบกพร่อง ซึ่งถ้าบุคคลเข้าใจเรื่องเหล่านี้อย่างถูกต้องมากขึ้น ก็จะสามารถระมัดระวังป้องกันตัวเอง รวมทั้งการรักษา ฟื้นฟูด้วยความเข้าใจในการดูแลตัวเอง และไม่จำเป็นต้องใช้ยาไปตลอดชีวิต เหมือนที่คุณหมอได้พยายามแนะนำ การปฏิบัติตัวและการเปลี่ยนแปลงรูปแบบชีวิตเพื่อหลีกเลี่ยงหรือรักษาโรคNCDs ให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น
การใช้ยารักษาโรคซึมเศร้าซึ่งใช้เวลาต่อเนื่องยาวนาน เช่นเดียวกับผู้ป่วยความดันสูงหรือไขมันในเส้นเลือดสูง จะส่งผลกระทบอะไรที่เป็นผลข้างเคียงในระยะยาวบ้างหรือไม่ มีงานวิจัยทางด้านนี้ที่พึงระวังมั้ย เช่น ยากลุ่ม Lexapro ที่ว่าปลอดภัยใช้แพร่หลาย มานานมาก
ผมก็ไม่ทราบว่าจดหมายนี้จะถึงมีคุณหมอมั้ย เพราะคงมีผู้กลั่นกรอง หรือที่อยู่จะถูกหรือไม่ และคุณหมอจะกรุณาเห็นประโยชน์กับท่านอื่นๆมั้ย แต่หวังว่าจะได้เห็นคุณหมอตอบคำถามในFBของคุณหมอ
ขอบพระคุณมากครับ
.............................................................
ตอบครับ
เรียน คุณหมอสันต์
1. ถามว่าเขียนมาทางเมลนี้ตั้งหลายครั้งแล้วไม่เห็นหมอสันต์ตอบ จดหมายไม่ไม่ถึงหรืออย่างไร ตอบว่าจะหมายนั้นถึงแน่นอนครับ เพราะอีเมลสมัยนี้มีความแน่นอนกว่าไปรษณีย์สมัยก่อนอย่างเทียบกันไม่ได้ แต่ว่าที่ผมไม่ได้ตอบนั้นคงเป็นผลจากการประชุมแห่งเหตุ กล่าวคือ (1) เมลเข้ามาวันละไม่ต่ำสิบยี่สิบฉบับ แต่ผมมีเวลาตอบให้ได้เฉลี่ยสัปดาห์ละ 1-2 ฉบับ ที่เหลือก็เก็บๆไว้แล้วไปโละทิ้งเมื่อส่งท้ายปีเก่าแต่ละปี (2) อาจเป็นเรื่องที่ซ้ำกับที่เคยตอบไปแล้ว อาจจะซ้ำกับเรื่องเมื่อสิบปีก่อน (บล็อกนี้อายุสิบกว่าปีแล้ว) (3) มีเมลเรื่องอื่นมาแย่งที่ เช่นเรื่องการเสาะหาความหลุดพ้น การหางานทำ การนอนกับแฟนไม่สำเร็จ ฯลฯ แล้วหมอสันต์นี้มีธรรมชาติเป็นคนปกติเสมอต้นเสมอปลายซะที่ไหน บางอารมณ์ก็อยากจะตอบเรื่องบ้าๆบ้าง
ดังนั้น เมลไหนจะได้ตอบหรือไม่ได้ตอบจึงแล้วแต่ดวง ขอให้แฟนๆบล็อกที่กรุณาเขียนเข้ามาโปรด make your heart แปลว่าทำใจ ถ้าได้ตอบก็ถือว่าผู้เขียนได้ช่วยทำบุญที่คำถามของท่านนำไปสู่คำตอบที่ผู้อ่านท่านอื่นจะได้เอาไปใช้ประโยชน์ด้วย ถ้าไม่ได้ตอบก็ถือว่าได้ทำบุญด้วยการให้ทานอันยิ่งใหญ่แก่หมอสันต์..คืออภัยทาน
2. ถามว่าหมอสันต์ถนัดเรื่องการรักษาโรคอะไรบ้าง ตอบว่าไม่ถนัดซักกะโรค เพราะผมเป็นแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว ไม่มีหน้าที่ไปเจาะลึกเพื่อรักษาโรคใดโรคหนึ่ง แต่มีหน้าที่ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถป้องกันและพลิกผันโรคของเขาเองด้วยตัวเขาเองได้ ดังนั้นถ้าจะหาวิธีแก้ปัญหาโรคด้วยตัวท่านเองมาที่นี่ก็มาถูกที่แล้ว แต่ถ้าจะหาหมอมารักษาโรคให้ตัวท่านอย่างลึกซึ้งถึงพริกถึงขิงที่ได้ผลเร็วระดับใกล้กับเสกเปรี้ยงหายเลย ต้องไปที่คลินิกเฉพาะโรคนั้นๆครับ
3. ถามว่าโรคซึมเศร้า (major depressive disorder) เกิดจากอะไร ตอบว่าไม่ทราบครับ ไม่ใช่ตัวหมอสันต์คนเดียวที่ไม่ทราบ คนอื่นที่ประกอบอาชีพแพทย์แผนปัจจุบันในโลกใบนี้ก็ยังไม่มีใครทราบ เพราะยังไม่มีหลักฐานวิทยาศาสตร์ใดที่จะยืนยันสาเหตุของโรคนี้ได้ ที่มีคนพูดเป็นคุ้งเป็นแควว่าโรคซึมเศร้าเกิดจากสาเหตุนั้นสาเหตุนี้ นั่นเป็นการเดาเอาตามหลักวิชา "มั้งศาสตร์" ไม่ใช่พูดตามหลักฐานวิจัยแบบการแพทย์แผนปัจจุบัน
4. ถามว่าโรคนี้เป็นความบกพร่องทางกายเช่นขาดสารเคมี หรือว่าเป็นโรคทางใจ ตอบว่าหากถือเอาตามวิชามั้งศาสตร์ โรคซึมเศร้าเป็นผลจากการประชุมแห่งเหตุ ภาษาแพทย์เรียกว่าปัจจัยเสี่ยง ประดังมากันหลายทาง ดังนี้
มั้งศาสตร์ 1 คือโทษการเปลี่ยนแปลงระดับของสารเคมีที่ใช้เชื่อมต่อกระแสไฟฟ้าระหว่างเซลประสาท (neurotransmitter) แต่ในความเป็นจริงวงการแพทย์ยังไม่รู้ว่าอะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นผล หมายความว่าอาจเกิดโรคซึมเศร้าขึ้นก่อนแล้วเกิดการเปลี่ยนแปลงระดับสารเคมีตามก็เป็นได้
ความสำเร็จของการทดแทนสารเคมีที่เปลี่ยนไปในรูปแบบของยาต้านซึมเศร้านั้น ขึ้นอยู่กับดวงของคนไข้ คือบางรายก็ได้ผล บางรายก็ไม่ได้ผล งานวิจัยเปิดโปงที่ทำโดยกลุ่มอาจารย์ที่ฮาร์วาร์ดนำโดย Dr. Kirsch ซึ่งเอาข้อมูลผลวิจัยที่บริษัทยาไม่ยอมตีพิมพ์ (เพราะมีผลสรุปว่ายาต้านซึมเศร้าไม่ได้ผล) มายำรวมกับข้อมูลที่ตีพิมพ์แล้ว ทำให้เราได้ทราบว่ายาต้านซึมเศร้าในกลุ่ม SSRI ชื่อ Prosac ซึ่งเป็นยาดังมากที่สุดในยุคนั้นได้ผลดีกว่ายาหลอกในคนไข้เพียง 10% ของคนไข้ทั้งหมดที่ใช้ยานี้เท่านั้นเอง
มั้งศาสตร์ 2. คือโทษกรรมพันธ์ เพราะคนไข้จำนวนหนึ่งมีปัจจัยพันธุกรรมเกี่ยวข้องด้วย งานวิจัยคู่แฝดพบว่าหากคนหนึ่งเป็นโรคซึมเศร้าอีกคนหนึ่งก็มีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้า 40-50% งานวิจัยอุบัติการณ์ของโรคในกลุ่มผู้สืบสันดานสายตรง (first degree relative) พบว่าหาในสายตรงมีคนเป็นโรคซึมเศร้า คนอื่นในสายตรงด้วยกันจะมีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้าสูงกว่าคนทั่วไปประมาณ 3 เท่า
มั้งศาสตร์ 3. คือโทษการสนองตอบต่อสิ่งเร้าภายนอก (stressors) อย่างผิดวิธี หมายความว่ามีเรื่องเกิดขึ้นที่ภายนอกตัว แต่ตัวเองรับรู้เรื่องนั้นในเชิงลบ เช่นคู่สมรสตาย พ่อตาย แม่ตาย แฟนทิ้ง ตกงาน กลัวการสอบ เล่นหุ้นแล้วเจ๊ง ป่วยเป็นมะเร็ง เป็นโรคสมองเสื่อม โรคพาร์คินสัน โรคปวดเรื้อรัง พิการ นอนไม่หลับ ขาดญาติมิตรเกื้อหนุน มีภาระต้องดูแลพ่อแม่ที่ชรา เหงา เศร้า เบื่อ เป็นต้น ที่ว่าสนองตอบอย่างผิดวิธีก็หมายความว่าคนอื่นเขาก็มีความเครียดแบบเดียวกันนี้แต่ที่เขาไม่เป็นโรคซึมเศร้าก็มีถมไป
มั้งศาสตร์ 4. โทษยา เพราะผู้ป่วยบางรายโรคซึมเศร้าเกิดเพราะยา เช่น ยาลดความดัน ยาสะเตียรอยด์ หรือเสพย์โคเคน ยาบ้า เฮโรอีน กัญชา และแอลกอฮอล
มั้งศาสตร์ 5. โทษดวงอาทิตย์ที่หายหน้าไป เพราะเป็นความจริงที่ว่าเมื่อเข้าฤดูหนาวที่ไม่เห็นดวงอาทิตย์นานๆ ผู้คนก็จะป่วยเป็นโรคซึมเศร้ากัน
มั้งศาสตร์ 6. โทษพ่อแม่รังแกฉัน เพราะงานวิจัยจำนวนหนึ่งพบว่าผู้ป่วยโรคซึมเศร้าในวัยเด็กมีความสัมพันธ์กับพ่อแม่แบบไม่ค่อยดี หรือพ่อแม่เลี้ยงแบบปกป้องเกินเหตุ หรือพ่อแม่รักลูกไม่เท่ากันเป็นต้น
มั้งศาสตร์ 7. โทษหลอดเลือดสมองอุดตัน เพราะคนไข้ที่เป็นอัมพาตเฉียบพลัน หรือโรคหัวใจ หรือเบาหวาน หรืออัลไซม์เมอร์ ก็จะเป็นโรคซึมเศร้ามากด้วย
ยังมีมั้งศาสตร์อื่นๆอีกแยะ แต่วันนี้เอาแค่นี้พอ เพราะพูดมากไปมันก็เป็นแค่ "มั้ง" อยู่ดี มันยังไม่ใช่ของจริง
5. ถามว่ายา Lexapro ที่ใช้รักษาโรคซึมเศร้าแบบกินกันจนลืมนั้นมีโทษอะไรบ้าง ตอบว่า Lexapro (Escitalopram oxalate) เป็นยาที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทกลาง ซึ่งยาในกลุ่มนี้จะมีผลข้างเคียงต่อระบบประสาทกลางได้ทุกชนิด สำหรับยาตัวนี้ผลข้างเคียงที่โดดเด่นคือ ง่วงเหงาเซาซึม หาวบ่อย นอนไม่หลับ มีเสียงวิ้งๆในหู วิงเวียนก่งก๊ง คลื่นไส้ จะขย้อนอาเจียน ลมในท้องแยะ จุกเสียดแน่น ท้องผูก น้ำหนักเปลี่ยน บ้างเพิ่มมาก บ้างลดมาก (แบบว่าคนอ้วนกินน้ำหนักเพิ่ม คนผอมกินน้ำหนักลด) ปากแห้ง เป็นต้น
ในระยะยาวอาจทำให้หมดอารมณ์ทางเพศ อวัยวะเพศไม่แข็งตัว เลือดออกง่าย เป็นไข้คล้ายไข้หวัดใหญ่ สมองสับสน หัวใจเต้นผิดจังหวะ กล้ามเนื้อเกร็ง หงุดหงิดงุ่นง่าน กลัวเกินเหตุ ก้าวร้าว พูดมาก หรือกลับซึมเศร้าหนักยิ่งขึ้น
6. ถามว่าจะป้องกันตัวเองจากโรคนี้ได้อย่างไร ตอบว่าเมื่อยังไม่รู้สาเหตุ ก็จะไปรู้วิธีป้องกันที่แท้จริงได้อย่างไรละครับ วิธีป้องกันก็เป็นมั้งศาสตร์อีกนั่นแหละ ซึ่งผมจะเลือกมาแนะนำเฉพาะวิธีที่ผมใช้กับตัวเองแล้วได้ผลดี คือ
6.1 ออกกำลังกาย เพราะการออกกำลังกายทำให้เกิดสารต้านความซึมเศร้าที่ชื่อเอ็นดอร์ฟิน
6.2 ตากแดด
6.3 จัดการปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดทุกตัว โดยโฟกัสที่ตัวชี้วัดง่ายๆเจ็ดอย่าง คือ (1) น้ำหนัก (2) ความดัน (3) ไขมัน (4) เบาหวาน (5) การกินผักผลไม้ (6) การออกกำลังกาย (7) การไม่สูบบุหรี่
6.4 เปลี่ยนชีวิต ในเก้าประเด็น ตามแบบของหมอสันต์ คือ
(1) จากงอเป็นเหยียด หมายถึงเปลี่ยนท่าร่างที่งองุ้มให้ตั้งตรงผึ่งผาย ยืดหน้าอก แขม่วพุง
(2) จากช้าเป็นเร็ว หมายถึงเปลี่ยนการเคลื่อนไหวจากช้างุ่มง่าม ไปเป็นรวดเร็วกระฉับกระเฉง
(3) จากซึมเป็นตื่น กระตุ้นตัวเองให้ตื่นเต็มๆกับทุกอย่างที่เข้ามาหาทุกขณะจิต
(4) จากคิดเป็นรู้ คือทิ้งความคิด มาสนใจรับรู้สิ่งเร้าตรงหน้าตามที่มันเป็นโดยไม่คิดอะไรต่อยอด
(5) จากเกร็งเป็นผ่อนคลาย ผ่อนคลายก็คือยิ้มออก ยิ้มไว้เสมอ หัวเราะบ่อยๆ
(6) จากนั่งเป็นเดิน อย่าเอาแต่นั่ง ลุกเดิน เดินทั้งวัน
(7) จากกินสัตว์ เป็นกินพืช หมายถึงเปลี่ยนอาหาร เป็นมังสวิรัติหรือน้องๆมังสวิรัติ
(8) วันละชั่วโมง เพื่อตัวเอง จัดเวลาให้ตัวเอง หนึ่งชั่วโมงนี้ไม่ยุ่งกับใคร ปิดหน้าจอ ไม่คิดอะไร อยู่กับตัวเอง อยู่กับการรับรู้ปัจจุบัน จะด้วยสมาธิ โยคะ ไทชิ หรือนั่งเฉยๆก็ได้
(9) ถามตัวเองว่าวันนี้ตื่นมาทำไม คือใช้ชีวิตอย่างมีเป้าหมาย
7. ผมตอบคำถามคุณหมดแล้วนะ แต่ไหนๆก็พูดถึงโรคซึมเศร้าแล้ว ขอพูดแถมไปถึงการวินิจฉัยโรคนี้หน่อย เผื่อท่านผู้อ่านท่านอื่นจะเอาไปไว้วินิจฉัยตัวเอง ว่ามันไม่มีวิธีตรวจแล็บหรือเอ็กซเรย์เพื่อบอกว่าใครเป็นโรคนี้จริงหรือไม่ การวินิจฉัยอาศัยดูโหงวเฮ้ง หมายความว่าอาศัยฟังจากประวัติและมองดูคนไข้ อนึ่ง เพื่อให้วิธีดูโหงวเฮ้งของแพทย์ทั่วโลกทำได้ใกล้เคียงกัน วงการแพทย์ (DSM5) จึงได้กำหนดเกณฑ์การวินิจฉัยว่าผู้ป่วยควรมีอาการต่อไปนี้อย่างน้อยห้าอย่างภายในระยะ 2 สัปดาห์ต่อกัน โดยในห้าอย่างนั้นต้องมีอย่างที่ 1 และ 2 อยู่ด้วย คือ
(1) มีอารมณ์ซึมเศร้า
(2) ไม่สนใจเรื่องใดๆ หรือสิ่งบันเทิงใดๆ
(3) น้ำหนักลด หรือน้ำหนักเพิ่มผิดตา
(4) นอนไม่หลับ หรือเอาแต่นอนหลับทั้งวัน
(5) การเคลื่อนไหวลนลาน หรือเชื่องช้าผิดจากเดิม
(6) เปลี้ยล้าหรือหมดพลัง
(7) รู้สึกตัวเองไร้ค่า
(8) ตั้งสติไม่ได้ คิดอะไรไม่ตก ตัดสินใจอะไรไม่ได้
(9) คิดวนเวียนเรื่องความตาย อยากตาย การฆ่าตัวตาย
8. ว่าจะจบแล้วแต่เพิ่งนึกขึ้นได้ ว่าผู้ป่วยโรคซึมเศร้าอาจถูกชวนให้ตรวจสมองแบบพิศดาร ซึ่งมีหลายแบบ ขอเล่าให้รู้จักไว้เสียด้วย จะได้ไม่เสียเงินฟรี เช่น
(1) ตรวจการทำงานสมองด้วยการใส่คลื่นแม่เหล็กเข้าไป (Functional MRI หรือ fMRI) ตรวจการทำงานนะ ไม่ใช่ตรวจภาพ คือถ้าตรวจ MRI ธรรมดาเนี่ยเป็นการเอาสนามแม่เหล็กไปเปลี่ยนทิศทางการหมุนรอบตัวเองของอะตอมไฮโดรเจนในเนื้อเยื่อต่างๆ พอหยุดคลื่นแม่เหล็ก อะตอมเหล่านั้นหันกลับมาหมุนในทิศทางเดิมพร้อมกับปล่อยพลังงานออกมา คอมพิวเตอร์จะจับพลังงานเหล่านี้มาสร้างเป็นภาพของสมอง นั่นคือ MRI แบบธรรมดาที่ใช้กันทั่วไป แต่ fMRI นี้ใช้หลักการจับภาพตัวพาออกซิเจนในเม็ดเลือด (hemoglobin) โดยจับมาเป็นสองแบบ แบบกำลังขนออกซิเจนอยู่ กับแบบปล่อยออกซิเจนไปแล้ว แล้วให้คอมพิวเตอร์สร้างภาพขึ้นมาว่าเนื้อสมองส่วนไหนมีการขนออกซิเจนไปปล่อยมาก ก็แสดงว่าเนื้อสมองส่วนนั้นกำลังทำงานมาก เพราะเมื่อทำงานเซลต้องใช้ออกซิเจนในการเผาผลาญเอาพลังงาน
(2) ตรวจคลื่นแม่เหล็กที่เซลสมองก่อขึ้น (Magnetoencephalography - MEG) คล้ายๆกับการตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG) แต่ MEG เจาะจงตรวจคลื่นแม่เหล็กที่เกิดจากกิจกรรมไฟฟ้าของเซลสมองอีกทีหนึ่ง ซึ่งหลบการบดบังของกระโหลกศรีษะและเนื้อเยื่อข้างเคียงได้ดีกว่า แต่ผลบั้นปลายก็คือข้อมูลที่ว่าเนื้อสมองตรงไหนมีกิจกรรมไฟฟ้ามาก (ก็น่าจะทำงานมาก)
(3) ตรวจการทำงานเนื้อเยื่อโดยฉีดโมเลกุลติดฉีดสารเปล่งรังสี (Positron emission tomography – PET) วิธีการคือเอาโมเลกุลที่เซลใช้เป็นวัตถุดิบเวลาทำงานอยู่เป็นประจำ เช่นกลูกโคส มาแปะสารเปล่งรังสีเข้าไปกับตัวโมเลกุล แล้วฉีดเข้าไปในร่างกาย แล้วตามไปวัดดูว่าสารเปล่งรังสีเหล่านี้ไปออกันอยู่ที่ตรงไหนมาก ก็แสดงว่าเนื้อเยือตรงนั้นมีการทำงานใช้กลูโคสมาก
(4.) ตรวจการทำงานของเนื้อเยื่อโดยฉีดสารเปล่งรีงสีแกมม่า (Single photon emission computed tomography - SPECT) อันนี้คือฉีดสารเปล่งรังสีแกมม่าเขาไปในกระแสเลือด แล้วตามวัดรังสีแกมม่าว่าสารที่ฉีดเข้าไปออกันอยู่ที่ตรงไหนมาก ซึ่งก็แสดงว่ามีเลือดไปเลี้ยงตรงนั้นมาก แสดงว่าเซลกำลังทำงานมาก
จะเห็นว่าการตรวจการทำงานของสมองทุกวิธี ไม่ว่าจะเป็น fMRI, MEG, PET scan, SPECT scan ล้วนบอกได้เพียงแต่ว่าเนื้อสมองส่วนไหนกำลังทำงานมาก เนื้อสมองส่วนไหนทำงานน้อย หรือไม่ทำงานเลย แต่ความรู้แพทย์ปัจจุบันนี้ยังไม่รู้หรอกว่าเนื้อสมองส่วนที่เห็นทำงานอยู่มากๆนั้น มันกำลังทำอะไรของมันอยู่ หรือมันก่อโรคอะไรบ้าง มันกำลังทำความดีหรือมันกำลังทำความชั่ว เรามิอาจรู้ได้ เพราะสมองนี้ประกอบขึ้นจากเซลประสาทรูปร่างเหมือนต้นไม้จำนวนนับร้อยล้านต้น บางต้นมีความยาวจากหัวจรดเท้าของเจ้าตัว แต่ละต้นมีจุดปล่อยไฟฟ้าออกสีข้างหรือ synapse อีกเป็นร้อยจุด เชื่อมต่อกันไปมามั่วไปหมด แล้วสร้างการเชื่อมต่อใหม่เช่นปิดตรงนี้ไปเปิดใหม่ตรงโน้นอยู่ตลอดเวลาทุกวัน ความรู้แพทย์ปัจจุบันยังไม่รู้แม้แต่น้อยว่าเซลสมองเซลไหนเวลามันทำงานหรือไม่ทำงานแล้วมันจะทำให้เกิดโรคอะไรอย่างไร ไม่รู้แม้แต่เซลเดียว การตรวจการทำงานของเนื้อสมองจึงไม่มีประโยชน์ในการช่วยรักษาโรคซึมเศร้าเลย
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
บรรณานุกรม
1. Kirsch I, Deacon BJ, Huedo-Medina TB, et al. Initial severity and antidepressant benefits: a meta-analysis of data submitted to the Food and Drug Administration. PLoS Med. 2008;5(2):e45.