โยคะสูตร ของปตัญชลี ฉบับวิเวกานันทะ ภาค 2
ตอนแรกผมคิดว่าลงโยคะสูตรของปตัญชลีบทที่ 1 ไปแล้วจะไม่มีคนสนใจมาก และบทต่อๆไปอาจจะไม่ต้องลง แต่กลับพบว่ามีคนสนใจเขียนมาทวงหลายท่าน ผมจึงคิดว่ารีบเอาลงต่อกันไปน่าจะดีกว่าทิ้งช่วงไปนาน โดยรอบนี้จะเป็นสุดท้ายแล้วนะ เพราะส่วนต่อจากนี้ผมคิดว่าอาจจะมีประโยชน์น้อย เพราะเป็นเรื่องของสิทธิ หมายถึงการเกิดความสามารถพิเศษต่างๆซึ่งไม่ใช่วิถีสู่ความหลุดพ้น อนึ่ง ในการแปลภาค 2 นี้เนื่องจากบางบทสั้นมากจนอ่านแล้วยากที่่จะเข้าใจ ผมจึงขออนุญาตวงเล็บตัวเอียงขยายความไว้ จึงโปรดเข้าใจด้วยว่าส่วนนี้ไม่ใช่ของปตัญชลี
บทที่ II การปฏิบัติเพื่อเข้าถึงสมาธิ
II.1 กรียาโยคะ (Kriya Yoga) เป็นคำเรียกขั้นตอนปฏิบัติเพื่อเข้าถึงสมาธิ ซึ่งมีทั้งการศึกษาจากผู้อื่น การฝึกบังคับกดข่ม และการมอบผลที่ได้ทั้งหลายแก่ความรู้ตัวบริสุทธิ์โดยไม่เกี่ยวข้องกับสำนึกว่าเป็นบุคคล
II.2 การปฏิบัติสู่สมาธิทั้งหมดนี้ก็เพื่อลดความทุกข์จากความพ่ายแพ้ต่ออุปสรรคขัดขวาง
II.3 อุปสรรคขัดขวางอันนำมาซึ่งความทุกข์มีห้าอย่างคือ (1) การไม่รู้ความจริง (2) การสำคัญมั่นหมายในสำนึกว่าเป็นบุคคล (อีโก้) (3) ความยึดมั่นถือมั่น (4) ความโกรธเกลียดอยากหลีกหนี (5) ความอาลัยในชีวิต
II.4 การไม่รู้ความจริงเป็นแม่ของปัจจัยแห่งทุกข์ทั้งมวล ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบที่ซุ่มเงียบอยู่ หรือถูกโหมกระพือขึ้น
II.5 การไม่รู้ความจริง คือการไปสำคัญผิดเอาสิ่งที่ไม่เที่ยงแท้ถาวร เกี่ยวข้องพัวพันกับสำนึกว่าเป็นบุคคลและทำให้เป็นทุกข์ ว่าเป็นสิ่งที่เที่ยงแท้ถาวรไม่เกี่ยวข้องกับสำนึกว่าเป็นบุคคลและทำให้เป็นสุข
II.6 อีโก้ก็คือการที่ผู้สังเกตไปสำคัญผิดว่าเครื่องมือที่ใช้สังเกตเป็นตัวเอง
(ผู้สังเกต ก็คือความสนใจ (attention หรือ สติ) อันเป็นเสมือนแขนของความรู้ตัว
ความรู้ตัวหรือหรือธาตุรู้นี้เป็นสิ่งที่ดำรงอยู่อย่างถาวรและไม่เกิดไม่ตาย
เครื่องมือที่ใช้สังเกต ก็คือ (1) ความคิด (เชาวน์ปัญญา) (2)ความจำ และ (3) อวัยวะรับรู้ทั้งห้า)
II.7 ความยึดมั่นถือมั่น คือการที่ความสนใจหมกมุ่นอยู่กับสิ่งที่ชอบ
II.8 ความโกรธเกลียดอยากหนี คือการที่ความสนใจหมกมุ่นอยู่กับสิ่งที่ไม่ชอบ
II.9 ความอาลัยในชีวิต คือการเพลิดเพลินไปกับการไหลของชีวิต แม้ผู้เรียนรู้มามากแล้วก็ยังไม่วายอาลัยในชีวิต
(ความอาลัยในชีวิตก็คือความกลัวตาย
การเพลิดเพลินไปกับการไหลของชีวิตก็คือการปล่อยชีวิตไปตามกลไกการสนองตอบแบบอัตโนมัติ (conditioned reflex) ซึ่งบงการโดยความจำจากอดีต
ความจำจากอดีตนั้นไม่จำกัดเพียงแค่สิ่งที่พบเห็นในชีวิตนี้ แต่รวมไปถึงสิ่งซึ่งฝังแฝงผ่านมาทางยีน เช่นลูกเป็ดที่ฟักโดยแม่ไก่พอเห็นน้ำก็กระโจนลงน้ำได้ทันทีโดยไม่กลัว
ความกลัวตายเป็นความจำระดับละเอียดอ่อนที่ฝังแฝงมาผ่านมาทางยีนของทุกชีวิตไม่ว่าคนหรือสัตว์ การศึกษาเรียนรู้ด้วยเชาว์ปัญญาไม่อาจลบความกลัวตายนี้ได้)
II.10 ความกระเพื่อมในใจที่ละเอียดอ่อน ต้องหักล้างด้วยความกระเพื่อมแบบตรงกันข้าม
(ตัวอย่างเช่นภรรยากำลังทะเลาะกับสามีและโกรธสามีเลือดขึ้นหน้าอยู่ แต่พอลูกน้อยร้องขึ้นภรรยาก็หันไปอุ้มลูกและจูบปลอบลูกด้วยความรัก ความโกรธ(สามี)เดิมก็ถูกหักล้างไปด้วยความรัก(ลูก) ความรักเป็นความกระเพื่อมของใจในลักษณะตรงข้ามกับความโกรธเกลียด จึงหักล้างกันได้)
II.11 การปฏิบัติภาวนา (meditation) เป็นวิธีหักล้างความกระเพื่อมหรือกิเลสในใจเสียตั้งแต่มันยังอยู่ในระยะละเอียดอ่อน
II.12 อดีตเก่าๆที่เก็บไว้ล้วนนำไปสู่ทุกข์ อดีตเหล่านี้เป็นความจำที่ได้มาทั้งจากประสบการณ์ที่รู้เห็นได้จริงในชีวิตนี้และที่เก็บไว้โดยไม่ได้ทันรู้เห็น
II.13 อดีตเก่าๆที่เก็บไว้ทำตัวเป็นราก นำไปสู่ผลคือการเกิดเป็นชีวิตในรูปแบบต่างๆ และมีประสบการณ์กับชีวิตครั้งใหม่ๆทั้งทุกข์และสุข
II.14 คนรับผลไม่ว่าจะเป็นสุขทุกข์ จากอดีตดีหรือไม่ดีที่ตัวเองทำไว้
II.15 เมื่อแยกแยะได้ก็จะเห็นว่าทั้งหมดนี้ไม่ว่าสุขหรือทุกข์ล้วนผลัดกันและประกอบซึ่งกันและกัน อย่างหนึ่งหลอมละลายไปเป็นอีกอย่างหนึ่ง แม้สุขท้ายที่สุดก็นำมาซึ่งทุกข์
(ต้องวางทั้งหมดนี้ไปเสียจึงจะเห็นทางออก)
II.16 ทุกข์ที่ยังมาไม่ถึง พึงหลีกเลี่ยงเสีย
(ด้วยการสร้างการกระเพื่อมในลักษณะตรงกันข้ามเข้าใส่การกระเพื่อมที่จะเกิดจากความจำจากอดีตมาชักนำให้เกิดทุกข์)
II.17 เหตุที่ทำให้หลีกเลี่ยงทุกข์ได้ อยู่ที่จุดเชื่อมต่อระหว่างผู้สังเกตุกับสิ่งที่ถูกสังเกต
(ผู้สังเกตคือความสนใจซึ่งเป็นแขนของความรู้ตัวอันบริสุทธิ์และไม่เกี่ยวข้องกับความเป็นบุคคล
สิ่งที่ถูกสังเกตคือความคิดซึ่งรวมโลกภายนอกทั้งหมดด้วย
ความรู้ตัวเป็นสิ่งสถาพรที่ไม่แปดเปื้อนอะไรหรือมีผลประโยชน์เกี่ยวดองกับความเป็นบุคคลใดๆ
แต่หากความสนใจอันเป็นแขนของมันเข้าไปเกี่ยวกระหวัดกับสิ่งที่ถูกสังเกตจนคิดว่าตัวเองเป็นสิ่งนั้น ความทุกข์ก็เกิดขึ้น)
II.18 ประสบการณ์ประกอบด้วยธาตุทั้งหลายข้างนอกและอวัยวะ (อายตนะ) มีธรรมชาติสร้างสรรค์ เมตตาและทำลายล้างอยู่ในตัวเดียวกัน ทั้งหมดนี้เป็นกลไกเพื่อเปิดให้ผู้สังเกตเลือกได้สองทาง คือจะเข้าไปเกี่ยวพันคลุกเคล้าเป็นส่วนหนึ่งของประสบการณ์นั้นซ้ำซาก หรือจะปลีกตัวเป็นอิสระจากประสบการณ์เหล่านั้น ก็เลือกได้
II. 19 เส้นใยที่ถักทอเป็นพื้นฐานของสรรพสิ่ง ดำรงอยู่ในสี่สถานะ คือ (1) ขั้นวัตถุดิบ (เช่น ดิน น้ำ ลม ไฟ) (2) ขั้นปรุงละเอียด (เช่นภาพ เสียง กลิ่น รส) (3) ขั้นแสดงให้เห็น (หมายถึงความคิดอ่านเชาว์ปัญญา) (4) ขั้นไม่แสดงให้เห็น (หมายถึงความรู้ตัวหรือธาตุรู้)
II.20 ผู้สังเกตแม้จะเป็นธาตุรู้ที่บริสุทธิ์ แต่ก็รับรู้ผ่านแว่นของความคิด
II.21 ประสบการณ์ทั้งนั้นมีไว้เพื่อประโยชน์แก่ผู้สังเกต
II.22 ให้ผู้สังเกตรู้ว่าตัวผู้สังเกตเองแยกต่างหากออกมาจากประสบการณ์โดยไม่เกี่ยวข้องกัน เมื่อรู้อย่างนี้แล้วประสบการณ์ก็ไม่มีเสน่ห์ดึงดูดแก่ผู้สังเกตอีกต่อไปยังผลให้ผู้สังเกตเป็นอิสระ แต่ประสบการณ์ในธรรมชาติเหล่านั้นจะยังคงอยู่เพื่อประโยชน์แก่ผู้สังเกตอื่นๆต่อไป
II.23 จุดพบกันระหว่างผู้สังเกตกับสิ่งที่ใช้สังเกตเป็นเหตุให้ผู้สังเกตตระหนักรู้และหลุดพ้น
(จุดพบกันคือ contact หรือการที่สิ่งเร้าจากภายนอกที่ผ่านเข้ามาทางอายตนะ ถูกอายตนะแปลงเป็นสัญญาณให้ความสนใจไปรับรู้ โมเมนต์ที่ความสนใจไปรับรู้สัญญาณนี้แล้วแปลงเป็นภาษานั่นแหละ คือจุดพบกัน เช่นเมื่อเห็นภาพ โมเมนต์ใจตีความสัญญาณจากตาว่าเป็นภาพอะไรนั่นแหละคือจุดพบกัน)
II.24 ความไม่รู้ความจริง เป็นสาเหตุของการหมดโอกาสหลุดพ้น
II.25 เมื่อความไม่รู้ความจริงหมดไป การมีอยู่ของจุดพบกันระหว่างผู้สังเกตและสิ่งที่ใช้สังเกตก็หมดไป ซึ่งมีผลให้ผู้สังเกตเป็นอิสระ
(การมีอยู่ของจุดพบกันหมดไป หมายความว่าเมื่ออายตนะรายงานสัญญาณภาพเสียงหรือสัมผัสเข้ามาแล้ว ความสนใจรับรู้แล้วไม่ตีความเป็นภาษา นั่นแหละคือจุดพบกันหมดไป)
II.26 เป้าหมายการฝึกปฏิบัติคือการแยกอะไรไม่ใช่ของจริง (ความคิด) ออกจากอะไรที่จริง (ความรู้ตัว) อย่างต่อเนื่องซ้ำซาก
II.27 เมื่อความรู้ตัวหลุดพ้นจากความคิด มันจะเกิดขึ้นเป็นขั้นเป็นตอนเจ็ดขั้นตอน
II.28 โดยการปฏิบัติขั้นตอนของโยคะต่อไปนี้ อุปสรรคก็จะถูกทลายและแยกแยะความรู้ตัวออกจากความคิดได้สำเร็จ
II.29 ขั้นตอนปฏิบัติโยคะคือ (1) วินัยสังคม (Yama), (2) วินัยตนเอง (Niyama), (3) การฝึกท่าร่าง (Asana), (4) การควบคุมพลังชีวิต (Pranayama), (5) การหันความสนใจจากนอกเข้าใน (Pratyahara), (6) การจดจ่อ (Dharana), (7) การอยู่ในฌานได้ต่อเนื่อง (Dhyana), (8) การบรรลุความหลุดพ้น (Samadhi)
II.30 การไม่ทำร้าย (Ahimsa), ไม่โกหก (Satya), ไม่ลักขโมย (Asteya), ควบคุมความอยากมีเซ็กซ์ (Brahmacharya), ไม่งกอยากได้ (Aparigraha) (คือไม่ครอบครองอะไรทั้งนั้นนอกจากสิ่งจำเป็นพื้นฐานในการมีชีวิต) ทั้งหมดนี้เรียกว่าวินัยสังคม (Yama)
II.31 วินัยสังคมทั้งห้าอย่างพึงปฏิบัติโดยทุกคน ทุกที่ ทุกชนชั้น ทุกชาติภาษา
II.32 การทำความสะอาด (Shaucha), ทั้งภายใน (ร่างกาย จิตใจ) ภายนอก (อาหาร บ้าน สิ่งแวดล้อม), การมีความพอเพียง (Samtosha), การมีความอดทนพากเพียรเผากิเลส (Tapas), การหันกลับเข้าไปเรียนรู้ภายในตัว (Svadhyaya), การทำทุกอย่างไม่ใช่เพื่ออัตตาของตัวเอง (Ishvara Pranidhana) ทั้งหมดนี้คือวินัยตนเอง (Niyamas)
II.33 ให้เอาความคิดตรงกันข้ามมายับยั้งความคิดที่จะนำให้ไถลออกไปนอกวิถีโยคะ
II.34 การไถลออกไปนอกวิถีโยคะก็เช่นการทำร้าย การโกรธเกลียดอิจฉา ซึ่งแม้เพียงแค่คิดอยู่คนเดียวก็จะมีพลังสะสมและวันหนึ่งจะย้อนมาบงการตัวเองด้วยพลังที่รุนแรงยิ่งขึ้นอันนำไปสู่ความทุกข์ การตระหนักอย่างนี้จะช่วยป้องกันไม่ให้ไถลออกไปนอกวิถีโยคะ
II.35 เมื่อการไม่ทำร้ายเข่นฆ่าตั้งมั่นได้ในใจแล้ว ความเป็นปรปักษ์ในใจผู้อื่นก็จะลดลง (เช่น แม้สัตว์ที่ดุร้ายก็กลายเป็นสงบต่อหน้าโยคี)
II.36 เมื่อวาจาสัตย์ตั้งมั่นแล้ว พูดอะไรก็จะเป็นตามนั้น (เช่น พูดให้คนป่วยหายก็หาย)
II.37 เมื่อการไม่ขโมยตั้งมั่น ทรัพย์ทั้งหลายก็จะประดังเข้ามาหาโยคี
II.38 เมื่อไม่มีเซ็กซ์ พลังงานอำนาจที่เป็นผลจากการสะกดกลั้นนั้นก็จะเกิดขึ้น
II.39 เมื่อไม่รับของขวัญจากคนอื่น ใจก็จะบริสุทธิ์ไม่ผูกพันเป็นหนี้ใคร จะเอื้อให้ระลึกอดีตได้ง่าย
II.40 เมื่อทำความสะอาดทั้งภายในภายนอก ความยึดติดในร่างกายนี้ก็หายไป
II.41 เมื่อบ่มเพาะการสร้างสรรค์ ใจก็จะเบิกบาน จดจ่อ มีพลัง ควบคุมอวัยวะได้ และมีความกำลัง พร้อมจะไปสู่การตื่นรู้
II.42 เมื่อสันโดษได้ก็เกิดความสุขอย่างยิ่ง
II.43 เมื่อบำเพ็ญตะบะเผากิเลสได้ก็จะนำมาซึ่งอำนาจเหนืออวัยวะและร่างกาย
II.44 เมื่อศึกษาปฏิบัติก็กลายเป็นหนึ่งเดียวกับความรู้ตัวอันเป็นจิตสำนึกรับรู้บริสุทธิ์ได้
II.45 เมื่อทำทุกอย่างไม่ใช่เพื่อความเป็นบุคคลของตน ก็จะเข้าถึงความหลุดพ้น
II.46 อาสนะ (asana) คือการสามารถอยู่ในท่าหนึ่งได้นิ่ง ซึ่งจะนิ่งได้ก็ต่อเมื่อไม่รู้สึกถึงร่างกายนี้อีกต่อไป
II.47 เมื่อท่าร่างนิ่งและมั่นคง ก็สามารปฏิบัติภาวนาได้ง่าย
II.48 เมื่อนั่งได้นิ่งแล้ว ความเป็นคู่ของสิ่งต่างๆ (เช่นร้อนคู่เย็น ปวดคู่ไม่ปวด) ก็ไม่เป็นปัญหาอีกต่อไป
II.49 จากนั้นจึงควบคุมพลังชีวิต (pranayama) ด้วยการควบคุมการหายใจเข้าออก โดยเฉพาะช่วงกลั้นหายใจและช่วงหายใจออก
II.50 การควบคุมพลังชีวิต (โดยควบคุมลมหายใจสามจังหวะ คือหายใจเข้า หายใจออก และกลั้นหายใจ) สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามสถานที่ (อวัยวะ) และเวลา (คุมหรือกลั้นไว้สั้นหรือนาน)
II.51 การควบคุมพลังชีวิตขั้นที่สี่คือการกลั้นหายใจแล้วนำพาพลังชีวิตให้ไหลไปภายในบ้าง ภายนอกบ้าง ตามต้องการ
II.52 หลังจากนั้นความคิดที่ห่อหุ้มความรู้ตัวก็จะเบาบางลง
II.53 ใจก็พร้อมจะเข้าสู่การจดจ่อเป็นสมาธิ
II.54 จากนั้นจึงจำกัดให้ใจไม่รับเอาสิ่งที่อวัยวะ (อายตนะ) รับมาส่งให้เพื่อเปลี่ยนเป็นความปรุงแต่งในใจ การจำกัดนี้เรียกว่าการหันความสนใจจากนอกเข้าใน (pratyahara)
บทที่ III พลังปัญญาที่เกิดขึ้น
III.1 การจดจ่อ (Dharana) คือการที่ผู้สังเกตจำกัดความสนใจให้อยู่แต่ในสิ่งที่เป็นเป้าความสนใจ
III.2 การจมดิ่งในฌาน (Dhyana) คือการที่ผู้สังเกตจดจ่อความสนใจให้อยู่กับสิ่งเป็นเป้าอย่างต่อเนื่อง
III.3 การจดจ่อเป้านั้นให้ลึกละเอียดลงไปจนกระทั่งเหลืออยู่แต่เป้าที่จดจ่อ ส่วนผู้สังเกตนั้นหายไป นั่นคือสมาธิ (samadi)
III.4 การปฏิบัติทั้งสามขั้นตอน (การจดจ่อ การจมดิ่งในฌาณ การเข้าถึงสมาธิ) รวมเรียกว่าการภาวนาสู่ความหลุดพ้น (samyama)
III.5 บนเส้นทางนี้ ปัญญาญาณ (ในลักษณะความรู้ความสามารถพิเศษที่อยู่ภายใต้การควบคุมได้) จะเกิดขึ้น
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
บทที่ II การปฏิบัติเพื่อเข้าถึงสมาธิ
II.1 กรียาโยคะ (Kriya Yoga) เป็นคำเรียกขั้นตอนปฏิบัติเพื่อเข้าถึงสมาธิ ซึ่งมีทั้งการศึกษาจากผู้อื่น การฝึกบังคับกดข่ม และการมอบผลที่ได้ทั้งหลายแก่ความรู้ตัวบริสุทธิ์โดยไม่เกี่ยวข้องกับสำนึกว่าเป็นบุคคล
II.2 การปฏิบัติสู่สมาธิทั้งหมดนี้ก็เพื่อลดความทุกข์จากความพ่ายแพ้ต่ออุปสรรคขัดขวาง
II.3 อุปสรรคขัดขวางอันนำมาซึ่งความทุกข์มีห้าอย่างคือ (1) การไม่รู้ความจริง (2) การสำคัญมั่นหมายในสำนึกว่าเป็นบุคคล (อีโก้) (3) ความยึดมั่นถือมั่น (4) ความโกรธเกลียดอยากหลีกหนี (5) ความอาลัยในชีวิต
II.4 การไม่รู้ความจริงเป็นแม่ของปัจจัยแห่งทุกข์ทั้งมวล ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบที่ซุ่มเงียบอยู่ หรือถูกโหมกระพือขึ้น
II.5 การไม่รู้ความจริง คือการไปสำคัญผิดเอาสิ่งที่ไม่เที่ยงแท้ถาวร เกี่ยวข้องพัวพันกับสำนึกว่าเป็นบุคคลและทำให้เป็นทุกข์ ว่าเป็นสิ่งที่เที่ยงแท้ถาวรไม่เกี่ยวข้องกับสำนึกว่าเป็นบุคคลและทำให้เป็นสุข
II.6 อีโก้ก็คือการที่ผู้สังเกตไปสำคัญผิดว่าเครื่องมือที่ใช้สังเกตเป็นตัวเอง
(ผู้สังเกต ก็คือความสนใจ (attention หรือ สติ) อันเป็นเสมือนแขนของความรู้ตัว
ความรู้ตัวหรือหรือธาตุรู้นี้เป็นสิ่งที่ดำรงอยู่อย่างถาวรและไม่เกิดไม่ตาย
เครื่องมือที่ใช้สังเกต ก็คือ (1) ความคิด (เชาวน์ปัญญา) (2)ความจำ และ (3) อวัยวะรับรู้ทั้งห้า)
II.7 ความยึดมั่นถือมั่น คือการที่ความสนใจหมกมุ่นอยู่กับสิ่งที่ชอบ
II.8 ความโกรธเกลียดอยากหนี คือการที่ความสนใจหมกมุ่นอยู่กับสิ่งที่ไม่ชอบ
II.9 ความอาลัยในชีวิต คือการเพลิดเพลินไปกับการไหลของชีวิต แม้ผู้เรียนรู้มามากแล้วก็ยังไม่วายอาลัยในชีวิต
(ความอาลัยในชีวิตก็คือความกลัวตาย
การเพลิดเพลินไปกับการไหลของชีวิตก็คือการปล่อยชีวิตไปตามกลไกการสนองตอบแบบอัตโนมัติ (conditioned reflex) ซึ่งบงการโดยความจำจากอดีต
ความจำจากอดีตนั้นไม่จำกัดเพียงแค่สิ่งที่พบเห็นในชีวิตนี้ แต่รวมไปถึงสิ่งซึ่งฝังแฝงผ่านมาทางยีน เช่นลูกเป็ดที่ฟักโดยแม่ไก่พอเห็นน้ำก็กระโจนลงน้ำได้ทันทีโดยไม่กลัว
ความกลัวตายเป็นความจำระดับละเอียดอ่อนที่ฝังแฝงมาผ่านมาทางยีนของทุกชีวิตไม่ว่าคนหรือสัตว์ การศึกษาเรียนรู้ด้วยเชาว์ปัญญาไม่อาจลบความกลัวตายนี้ได้)
II.10 ความกระเพื่อมในใจที่ละเอียดอ่อน ต้องหักล้างด้วยความกระเพื่อมแบบตรงกันข้าม
(ตัวอย่างเช่นภรรยากำลังทะเลาะกับสามีและโกรธสามีเลือดขึ้นหน้าอยู่ แต่พอลูกน้อยร้องขึ้นภรรยาก็หันไปอุ้มลูกและจูบปลอบลูกด้วยความรัก ความโกรธ(สามี)เดิมก็ถูกหักล้างไปด้วยความรัก(ลูก) ความรักเป็นความกระเพื่อมของใจในลักษณะตรงข้ามกับความโกรธเกลียด จึงหักล้างกันได้)
II.11 การปฏิบัติภาวนา (meditation) เป็นวิธีหักล้างความกระเพื่อมหรือกิเลสในใจเสียตั้งแต่มันยังอยู่ในระยะละเอียดอ่อน
II.12 อดีตเก่าๆที่เก็บไว้ล้วนนำไปสู่ทุกข์ อดีตเหล่านี้เป็นความจำที่ได้มาทั้งจากประสบการณ์ที่รู้เห็นได้จริงในชีวิตนี้และที่เก็บไว้โดยไม่ได้ทันรู้เห็น
II.13 อดีตเก่าๆที่เก็บไว้ทำตัวเป็นราก นำไปสู่ผลคือการเกิดเป็นชีวิตในรูปแบบต่างๆ และมีประสบการณ์กับชีวิตครั้งใหม่ๆทั้งทุกข์และสุข
II.14 คนรับผลไม่ว่าจะเป็นสุขทุกข์ จากอดีตดีหรือไม่ดีที่ตัวเองทำไว้
II.15 เมื่อแยกแยะได้ก็จะเห็นว่าทั้งหมดนี้ไม่ว่าสุขหรือทุกข์ล้วนผลัดกันและประกอบซึ่งกันและกัน อย่างหนึ่งหลอมละลายไปเป็นอีกอย่างหนึ่ง แม้สุขท้ายที่สุดก็นำมาซึ่งทุกข์
(ต้องวางทั้งหมดนี้ไปเสียจึงจะเห็นทางออก)
II.16 ทุกข์ที่ยังมาไม่ถึง พึงหลีกเลี่ยงเสีย
(ด้วยการสร้างการกระเพื่อมในลักษณะตรงกันข้ามเข้าใส่การกระเพื่อมที่จะเกิดจากความจำจากอดีตมาชักนำให้เกิดทุกข์)
II.17 เหตุที่ทำให้หลีกเลี่ยงทุกข์ได้ อยู่ที่จุดเชื่อมต่อระหว่างผู้สังเกตุกับสิ่งที่ถูกสังเกต
(ผู้สังเกตคือความสนใจซึ่งเป็นแขนของความรู้ตัวอันบริสุทธิ์และไม่เกี่ยวข้องกับความเป็นบุคคล
สิ่งที่ถูกสังเกตคือความคิดซึ่งรวมโลกภายนอกทั้งหมดด้วย
ความรู้ตัวเป็นสิ่งสถาพรที่ไม่แปดเปื้อนอะไรหรือมีผลประโยชน์เกี่ยวดองกับความเป็นบุคคลใดๆ
แต่หากความสนใจอันเป็นแขนของมันเข้าไปเกี่ยวกระหวัดกับสิ่งที่ถูกสังเกตจนคิดว่าตัวเองเป็นสิ่งนั้น ความทุกข์ก็เกิดขึ้น)
II.18 ประสบการณ์ประกอบด้วยธาตุทั้งหลายข้างนอกและอวัยวะ (อายตนะ) มีธรรมชาติสร้างสรรค์ เมตตาและทำลายล้างอยู่ในตัวเดียวกัน ทั้งหมดนี้เป็นกลไกเพื่อเปิดให้ผู้สังเกตเลือกได้สองทาง คือจะเข้าไปเกี่ยวพันคลุกเคล้าเป็นส่วนหนึ่งของประสบการณ์นั้นซ้ำซาก หรือจะปลีกตัวเป็นอิสระจากประสบการณ์เหล่านั้น ก็เลือกได้
II. 19 เส้นใยที่ถักทอเป็นพื้นฐานของสรรพสิ่ง ดำรงอยู่ในสี่สถานะ คือ (1) ขั้นวัตถุดิบ (เช่น ดิน น้ำ ลม ไฟ) (2) ขั้นปรุงละเอียด (เช่นภาพ เสียง กลิ่น รส) (3) ขั้นแสดงให้เห็น (หมายถึงความคิดอ่านเชาว์ปัญญา) (4) ขั้นไม่แสดงให้เห็น (หมายถึงความรู้ตัวหรือธาตุรู้)
II.20 ผู้สังเกตแม้จะเป็นธาตุรู้ที่บริสุทธิ์ แต่ก็รับรู้ผ่านแว่นของความคิด
II.21 ประสบการณ์ทั้งนั้นมีไว้เพื่อประโยชน์แก่ผู้สังเกต
II.22 ให้ผู้สังเกตรู้ว่าตัวผู้สังเกตเองแยกต่างหากออกมาจากประสบการณ์โดยไม่เกี่ยวข้องกัน เมื่อรู้อย่างนี้แล้วประสบการณ์ก็ไม่มีเสน่ห์ดึงดูดแก่ผู้สังเกตอีกต่อไปยังผลให้ผู้สังเกตเป็นอิสระ แต่ประสบการณ์ในธรรมชาติเหล่านั้นจะยังคงอยู่เพื่อประโยชน์แก่ผู้สังเกตอื่นๆต่อไป
II.23 จุดพบกันระหว่างผู้สังเกตกับสิ่งที่ใช้สังเกตเป็นเหตุให้ผู้สังเกตตระหนักรู้และหลุดพ้น
(จุดพบกันคือ contact หรือการที่สิ่งเร้าจากภายนอกที่ผ่านเข้ามาทางอายตนะ ถูกอายตนะแปลงเป็นสัญญาณให้ความสนใจไปรับรู้ โมเมนต์ที่ความสนใจไปรับรู้สัญญาณนี้แล้วแปลงเป็นภาษานั่นแหละ คือจุดพบกัน เช่นเมื่อเห็นภาพ โมเมนต์ใจตีความสัญญาณจากตาว่าเป็นภาพอะไรนั่นแหละคือจุดพบกัน)
II.24 ความไม่รู้ความจริง เป็นสาเหตุของการหมดโอกาสหลุดพ้น
II.25 เมื่อความไม่รู้ความจริงหมดไป การมีอยู่ของจุดพบกันระหว่างผู้สังเกตและสิ่งที่ใช้สังเกตก็หมดไป ซึ่งมีผลให้ผู้สังเกตเป็นอิสระ
(การมีอยู่ของจุดพบกันหมดไป หมายความว่าเมื่ออายตนะรายงานสัญญาณภาพเสียงหรือสัมผัสเข้ามาแล้ว ความสนใจรับรู้แล้วไม่ตีความเป็นภาษา นั่นแหละคือจุดพบกันหมดไป)
II.26 เป้าหมายการฝึกปฏิบัติคือการแยกอะไรไม่ใช่ของจริง (ความคิด) ออกจากอะไรที่จริง (ความรู้ตัว) อย่างต่อเนื่องซ้ำซาก
II.27 เมื่อความรู้ตัวหลุดพ้นจากความคิด มันจะเกิดขึ้นเป็นขั้นเป็นตอนเจ็ดขั้นตอน
II.28 โดยการปฏิบัติขั้นตอนของโยคะต่อไปนี้ อุปสรรคก็จะถูกทลายและแยกแยะความรู้ตัวออกจากความคิดได้สำเร็จ
II.29 ขั้นตอนปฏิบัติโยคะคือ (1) วินัยสังคม (Yama), (2) วินัยตนเอง (Niyama), (3) การฝึกท่าร่าง (Asana), (4) การควบคุมพลังชีวิต (Pranayama), (5) การหันความสนใจจากนอกเข้าใน (Pratyahara), (6) การจดจ่อ (Dharana), (7) การอยู่ในฌานได้ต่อเนื่อง (Dhyana), (8) การบรรลุความหลุดพ้น (Samadhi)
II.30 การไม่ทำร้าย (Ahimsa), ไม่โกหก (Satya), ไม่ลักขโมย (Asteya), ควบคุมความอยากมีเซ็กซ์ (Brahmacharya), ไม่งกอยากได้ (Aparigraha) (คือไม่ครอบครองอะไรทั้งนั้นนอกจากสิ่งจำเป็นพื้นฐานในการมีชีวิต) ทั้งหมดนี้เรียกว่าวินัยสังคม (Yama)
II.31 วินัยสังคมทั้งห้าอย่างพึงปฏิบัติโดยทุกคน ทุกที่ ทุกชนชั้น ทุกชาติภาษา
II.32 การทำความสะอาด (Shaucha), ทั้งภายใน (ร่างกาย จิตใจ) ภายนอก (อาหาร บ้าน สิ่งแวดล้อม), การมีความพอเพียง (Samtosha), การมีความอดทนพากเพียรเผากิเลส (Tapas), การหันกลับเข้าไปเรียนรู้ภายในตัว (Svadhyaya), การทำทุกอย่างไม่ใช่เพื่ออัตตาของตัวเอง (Ishvara Pranidhana) ทั้งหมดนี้คือวินัยตนเอง (Niyamas)
II.33 ให้เอาความคิดตรงกันข้ามมายับยั้งความคิดที่จะนำให้ไถลออกไปนอกวิถีโยคะ
II.34 การไถลออกไปนอกวิถีโยคะก็เช่นการทำร้าย การโกรธเกลียดอิจฉา ซึ่งแม้เพียงแค่คิดอยู่คนเดียวก็จะมีพลังสะสมและวันหนึ่งจะย้อนมาบงการตัวเองด้วยพลังที่รุนแรงยิ่งขึ้นอันนำไปสู่ความทุกข์ การตระหนักอย่างนี้จะช่วยป้องกันไม่ให้ไถลออกไปนอกวิถีโยคะ
II.35 เมื่อการไม่ทำร้ายเข่นฆ่าตั้งมั่นได้ในใจแล้ว ความเป็นปรปักษ์ในใจผู้อื่นก็จะลดลง (เช่น แม้สัตว์ที่ดุร้ายก็กลายเป็นสงบต่อหน้าโยคี)
II.36 เมื่อวาจาสัตย์ตั้งมั่นแล้ว พูดอะไรก็จะเป็นตามนั้น (เช่น พูดให้คนป่วยหายก็หาย)
II.37 เมื่อการไม่ขโมยตั้งมั่น ทรัพย์ทั้งหลายก็จะประดังเข้ามาหาโยคี
II.38 เมื่อไม่มีเซ็กซ์ พลังงานอำนาจที่เป็นผลจากการสะกดกลั้นนั้นก็จะเกิดขึ้น
II.39 เมื่อไม่รับของขวัญจากคนอื่น ใจก็จะบริสุทธิ์ไม่ผูกพันเป็นหนี้ใคร จะเอื้อให้ระลึกอดีตได้ง่าย
II.40 เมื่อทำความสะอาดทั้งภายในภายนอก ความยึดติดในร่างกายนี้ก็หายไป
II.41 เมื่อบ่มเพาะการสร้างสรรค์ ใจก็จะเบิกบาน จดจ่อ มีพลัง ควบคุมอวัยวะได้ และมีความกำลัง พร้อมจะไปสู่การตื่นรู้
II.42 เมื่อสันโดษได้ก็เกิดความสุขอย่างยิ่ง
II.43 เมื่อบำเพ็ญตะบะเผากิเลสได้ก็จะนำมาซึ่งอำนาจเหนืออวัยวะและร่างกาย
II.44 เมื่อศึกษาปฏิบัติก็กลายเป็นหนึ่งเดียวกับความรู้ตัวอันเป็นจิตสำนึกรับรู้บริสุทธิ์ได้
II.45 เมื่อทำทุกอย่างไม่ใช่เพื่อความเป็นบุคคลของตน ก็จะเข้าถึงความหลุดพ้น
II.46 อาสนะ (asana) คือการสามารถอยู่ในท่าหนึ่งได้นิ่ง ซึ่งจะนิ่งได้ก็ต่อเมื่อไม่รู้สึกถึงร่างกายนี้อีกต่อไป
II.47 เมื่อท่าร่างนิ่งและมั่นคง ก็สามารปฏิบัติภาวนาได้ง่าย
II.48 เมื่อนั่งได้นิ่งแล้ว ความเป็นคู่ของสิ่งต่างๆ (เช่นร้อนคู่เย็น ปวดคู่ไม่ปวด) ก็ไม่เป็นปัญหาอีกต่อไป
II.49 จากนั้นจึงควบคุมพลังชีวิต (pranayama) ด้วยการควบคุมการหายใจเข้าออก โดยเฉพาะช่วงกลั้นหายใจและช่วงหายใจออก
II.50 การควบคุมพลังชีวิต (โดยควบคุมลมหายใจสามจังหวะ คือหายใจเข้า หายใจออก และกลั้นหายใจ) สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามสถานที่ (อวัยวะ) และเวลา (คุมหรือกลั้นไว้สั้นหรือนาน)
II.51 การควบคุมพลังชีวิตขั้นที่สี่คือการกลั้นหายใจแล้วนำพาพลังชีวิตให้ไหลไปภายในบ้าง ภายนอกบ้าง ตามต้องการ
II.52 หลังจากนั้นความคิดที่ห่อหุ้มความรู้ตัวก็จะเบาบางลง
II.53 ใจก็พร้อมจะเข้าสู่การจดจ่อเป็นสมาธิ
II.54 จากนั้นจึงจำกัดให้ใจไม่รับเอาสิ่งที่อวัยวะ (อายตนะ) รับมาส่งให้เพื่อเปลี่ยนเป็นความปรุงแต่งในใจ การจำกัดนี้เรียกว่าการหันความสนใจจากนอกเข้าใน (pratyahara)
บทที่ III พลังปัญญาที่เกิดขึ้น
III.1 การจดจ่อ (Dharana) คือการที่ผู้สังเกตจำกัดความสนใจให้อยู่แต่ในสิ่งที่เป็นเป้าความสนใจ
III.2 การจมดิ่งในฌาน (Dhyana) คือการที่ผู้สังเกตจดจ่อความสนใจให้อยู่กับสิ่งเป็นเป้าอย่างต่อเนื่อง
III.3 การจดจ่อเป้านั้นให้ลึกละเอียดลงไปจนกระทั่งเหลืออยู่แต่เป้าที่จดจ่อ ส่วนผู้สังเกตนั้นหายไป นั่นคือสมาธิ (samadi)
III.4 การปฏิบัติทั้งสามขั้นตอน (การจดจ่อ การจมดิ่งในฌาณ การเข้าถึงสมาธิ) รวมเรียกว่าการภาวนาสู่ความหลุดพ้น (samyama)
III.5 บนเส้นทางนี้ ปัญญาญาณ (ในลักษณะความรู้ความสามารถพิเศษที่อยู่ภายใต้การควบคุมได้) จะเกิดขึ้น
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์