งอก่อ งอขิง กายภาพบำบัด จัดกระดูก และ โยคะ
วันก่อนผมไปส่งคนใกล้ชิดไปทำกายภาพบำบัดเพื่อป้องกันหลังโกงในคลินิกที่ใช้วิธีกึ่งกายภาพบำบัดกึ่งจัดกระดูก (physical therapy + chiropractic) ได้พบเห็นว่าผู้สูงอายุจำนวนมาก ปล่อยให้ร่างกายตนเองอยู่ในสภาพงอก่อ งอขิง มาเป็นเวลานาน พอถึงจุดที่ใกล้จะทุพลภาพก็เสาะหาการรักษาในแนวทางกายภาพบำบัดบวกจัดกระดูกนี้ ซึ่งสาระหลักของวิธีการที่คลินิกแห่งนั้นใช้ช่วยผู้ป่วยก็คือ
1 กด ขย่ม ดึง ดัน ให้กระดูกสันหลังเคลื่อนจากแนวงอก่องอขิงเข้าไปอยู่ในแนวกายวิภาคปกติให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
2 นวด บี้ ไถ ให้เอ็นและพังผืดที่ยึดเงิ่ยงหรือหางกระดูกสันหลังให้ยืดออก เพื่อปลดปล่อยให้ปล้องกระดูกสันหลังแต่ละปล้องเคลื่อนไหวเป็นอิสระต่อกันได้มากขึ้น
3 บีบ นวด กล้ามเนื้อ ที่เกร็งตึงให้คลายตัว
4 ดึง ดัน บิด เพื่อเพิ่มพิสัยการเคลื่อนไหวของข้อต่างๆ
5 โยก ดัน กระชาก เขย่า เอาฆ้อนตอก (ฆ้อนยางตอกลงไปบนหมุดยางที่วางบนผิวหนัง) ให้ข้อสำคัญเช่นข้อไหล่ ข้อตะโพก ข้อเข่า ข้อเท้า ถูกเขย่าเพื่อเพิ่มพิสัยการเคลื่อนไหวให้ได้มากขึ้น
ผมสังเกตว่าผู้ป่วยแต่ละรายต้องใช้เวลาคนละไม่ต่ำกว่า 2 ชั่วโมงเพื่อผ่านกระบวนการเหล่านี้ ทุกขั้นตอนทำด้วยมือของพนักงานบำบัดโดยไม่มีการทิ้งคนไข้ให้อยู่กับเครื่องมือใดๆเลย พนักงานบำบัดแต่ละคนล้วนเป็นผู้ชายรูปร่างสูงใหญ่หรือสันทัดและมีกล้ามแข็งแรง นี่นับเป็นคลินิกกายภาพบำบัดในบ้านเราที่ผมเห็นว่ามีวิธีการบำบัดที่เจ๋งและถึงลูกถึงคนทีี่สุดเท่าที่เคยเห็นมา แต่ผมสังเกตเห็นว่าผู้ป่วยที่มารับการบำบัดส่วนใหญ่เป็นขาประจำ คืองอก่องอขิงมา พอนักบำบัดจับง้างจับเขย่าทีหนึ่งก็เกิดความยืดหยุ่นดีขึ้นมาทีหนึ่ง อีกเดือนสองเดือนหรือหลายๆเดือนก็งอก่อ งอขิง กลับมาอีกแล้ว วนเวียนอยู่เช่นนี้ ผมเดาเอาว่าที่เป็นเช่นนี้เพราะการจับง้างจับเขย่าของนักบำบัดแม้จะสร้างความยืดหยุ่นและเพิ่มพิสัยการเคลื่อนไหวได้ทันทีทันใดแต่ก็เป็นเพียงการอุ่นเครื่องเพื่อให้ผู้ป่วยไปทำการฝึกขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวยืดเหยียดต่อด้วยตัวเองในกิจวัตรประจำวัน หากผู้ป่วยไม่ได้ไปต่อยอดด้วยการขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวด้วยตัวเองที่บ้านก็..จบข่าว
น่าเสียดายที่กิจกรรมในชีวิตประจำวันของผู้สูงวัยไม่ได้เอื้อให้ร่างกายมีการขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวในลักษณะที่จะธำรงรักษาความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อและเอ็นและธำรงพิสัยการเคลื่อนไหวของข้อเลย เว้นเสียแต่ผู้สูงวัยจงใจจะเลิือกกิจกรรมจำเพาะบางอย่างเป็นพิเศษ เช่นผู้ป่วยของผมรายหนึ่งเลือกไปเรียนเป็นครูสอนเต้นรำหลังเกษียณ บุคลิกและการเคลื่อนไหวของเธอเปลี่ยนเป็นคนละคน เธอบอกว่าความสูงของเธอเพิ่มขึ้นมาอีก 5 ซม. ซึ่งผมเดาว่ามันก็คือความสูงเดิมของเธอก่อนที่จะงองุ้มลงไปนั่นแหละ พอไปเรียนเต้นรำถูกจับยืดขึ้นมาใหม่ก็จึงได้ความสูงเดิมกลับมา
กิจกรรมอีกอย่างหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้สูงวัยง้างและยืดตัวเองได้โดยไม่ต้องอาศัยนักกายภาพบำบัดก็คือโยคะ แต่น่าเสียดายว่าในเมืองไทยนี้โยคะเป็นของต้องห้ามสำหรัับผู้สูงวัยไปเสียแล้ว หมอส่วนใหญ่ไม่ว่าจะเป็นหมอกระดูก หมอประสาทวิทยา หรือแม้กระทั่งหมอกายภาพบำบัดเองก็ชอบขู่ผู้สูงวัยว่าแก่แล้วอย่าไปโยคะนะ เดี๋ยวจะเป็นนั่นเป็นนี่ ทั้งๆที่ในความเป็นจริงแล้วงานวิจัยผลดีของโยคะต่อสุขภาพผู้สูงวัยนั้นได้ผลดีไม่แตกต่างจากคนในวัยอื่น และความกลัวที่ว่าผู้สูงวัยไปทำโยคะแล้วจะเป็นนั่นเป็นนี่นั้นก็เป็นเพียงการคาดเดา ผมไม่เห็นมีงานวิจัยใดๆที่พิสูจน์ให้เห็นว่าโยคะจะมีอันตรายต่อผู้สูงอายุมากไปกว่าคนวัยอื่นเลย ยิ่งไปกว่านั้นภาคที่สำคัญที่สุดของโยคะคือภาคจิตใจหรือจิตวิญญาณนั้น เป็นของแถมที่เหมาะกับผู้สูงวัยอย่างยิ่ง
งานวิจัยทางการแพทย์ที่แสดงให้เป็นประโยชน์ของโยคะต่อสุขภาพนั้นมีทำไว้เยอะแยะแป๊ะตราไก่ ผลดีที่สรุปได้ก็มีตั้งแต่ทำให้ร่างกายมีความยืดหยุ่นมากขึ้น ท่าร่างดีขึ้น ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมากขึ้น การทรงตัวดีขึ้น ทำให้ข้อได้ใช้งานและเสื่อมช้า ทำให้กระดูกสันหลังและหมอนรองกระดูกมั่นคง ตัวกระดูกเองก็แข็งแรงขึ้นเป็นกระดูกบางกระดูกพรุนช้าลง ระบบไหลเวียนทำงานดีขึ้น ลดความดันเลือดที่สูงลงได้ ลดน้ำตาลในเลือดได้ ระบบประสาทอัตโนมัติทำงานดีขึ้น ร่างกายจิตใจผ่อนคลาย นอนหลับง่าย เป็นต้น
ดังนั้นตั้งแต่ผมมาทำเวลเนสวีแคร์เซ็นเตอร์เมื่อปีกลายผมก็มองหาโอกาสที่จะใช้เวลเนสวีแคร์เป็นที่เริ่มสอนโยคะให้กับผู้สูงอายุในเมืองไทยด้วย แต่ก็ไม่มีโอกาสเหมาะๆที่จะเริ่มต้นสักที เพราะตัวผมเองนั้นไม่มีความถนัดเลยในเรื่องนี้
แล้วโชคก็ช่วยเมื่อหมอที่เพื่อนเขาไปเชิญมาจากอินเดียเพื่อมาอยู่เป็นที่ปรึกษาประจำทำงานที่คลินิกอายุรเวทที่อยู่ในบริเวณเดียวกับเวลเนสวีแคร์นี้บังเอิญเป็นทั้งหมอแผนปัจจุบัน หมออายุรเวท และครูสอนโยคะ ในคนคนเดียวกันแบบทรีอินวัน นั่นเป็นโชคที่มาทางหนึ่ง
โชคที่มาอีกทางหนึ่งก็คือวันหนึ่งมีครูคนไทยสอนโยคะเป็นอาชีพท่านหนึ่งชื่อ "ครูโบว์" ดูหน้าตายังเป็นเด็กสาวอยู่เลย เธอบังเอิญมาเห็นเวลเนสวีแคร์เซนเตอร์แล้วชอบอกชอบใจจะขอจัดคอร์สโยคะของเธอขึ้นที่นี่สักครั้งแบบว่ากินอาหารธรรมชาติ อยู่กับธรรมชาติ เรียนโยคะไปด้วย ผมจึงบอกเธอว่ามาเลย ปูพรมแดงต้อนรับเลย จะให้ผมช่วยสอนความรู้การดูแลสุขภาพอะไรด้วยก็ได้โดยผมจะสอนให้ฟรี คิดในใจว่าเริ่มต้นกับคนวัยทั่วๆไปก่อนก็ได้ แล้วค่อยๆปรับไปหาทางจัดคอร์สโยคะให้ผู้สูงอายุทีหลัง ซึ่งครูโบว์ก็ตัดสินใจมาจริงๆแบบรวดเร็วพรวดพราด โดยจะมาทำแค้มป์โยคะของเธอแบบสามวันสองคืน 11-13 พย. 60 ดังรายละเอียดที่เธอส่งมาให้ข้างล่างนี้ ในอัตราค่าเข้าแค้มป์ 8,500 บาท สำหรับ 1 ท่านแถมฟรีอีก 1 ท่าน (3 วัน 2 คืน) แฟนๆบล้อกหมอสันต์ท่านใดสนใจที่จะเรียนคอร์สของเธอก็คุยกับเธอได้ ที่เบอร์โทรศัพท์ (ครูโบว์) 096-247-9651
....................................................
ค่ายโยคะครูโบว์ Yoga Retreat
วันที่ 11-13 พฤศจิกายน 2560
วันเสาร์ที่ 11 พฤศจิกายน 2560
08.00 น. – 11.00 น. ออกเดินทางไปค่าย
-ท่านที่ต้องการเดินทางไปกับทีมครูให้มารอขึ้นรถที่ BTS พระโขนง
-ท่านที่ต้องการเดินทางโดยรถส่วนตัวพบกันที่ Wellness We care
มวกเหล็กสระบุรี
11.00 น.-12.00 น. เข้าฮอล์กิจกรรมเปิดค่ายโยคะ และรับทราบรายละเอียด
พร้อมรับเอกสารคู่มือการเรียน
12.00 น.-13.15 น. พักรับประทานอาหารเข้าห้องพัก พักผ่อนตามอัธยาศัย
13.15 น.-15.15 น. Yoga Therapy โดยครูหมวย
15.30 น.-17.00 น. กิจกรรม Cooking Class เตรียมอาหารสำหรับมื้อเย็น
(เป็นอาหารเพื่อสุขภาพเรียนรู้กับครูผู้เชี่ยวชาญด้านอาหาร)
17.00 น.-18.00 น. พักรับประทานเบรก และพักผ่อนตามอัธยาศัย
18.00 น.-19.30 น. Let’s move คลาสเรียนเต้น
และดนตรีบำบัดร่างกายและจิตใจ โดย ครูนิว
19.30 น. รวมรับประทานอาหารเย็น และเข้าที่พัก พักผ่อนตามอัธยาศัย
วันอาทิตย์ที่ 12 พฤศจิกายน 2560
05.30 น.-07.30 น. ไหว้พระอาททิตย์ Sun A 108 รอบ
Yoga Therapy โดย ครูหมวย
07.45 น.-09.00 น. รับประทานอาหารเช้า และพักผ่อนตามอัธยาศัย
09.00 น.-10.30 น. ฟังบรรยายโดย นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
ในหัวข้อ PBWF (Plant based whole food) โภชนาการแบบกินพืชเป็นหลักในรูปแบบ ไม่สกัด ไม่ขัดสี และมีไขมันต่ำ
10.45 น.-12.00 น. Spiritual part of Yoga กัับ Doctor Love
12.00 น.-13.30 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.30 น.-15.00 น. ชั้นเรียนสุขภาพดีด้วยตัวเอง (Good Health By Yourself) โดย คุณหมอสันต์ ใจยอดศิลป์
15.00 น.-15.20 น. พักเบรก
15.20 น.-17.20 น. โยคะบำบัดแก้อาการปวดเมื่อย โดย ครูเชอร์รี่
17.20 น.-19.20 น. Let’s move คลาสเรียนเต้นและดนตรีบำบัดร่างกายและจิตใจ โดย ครูนิว
19.30 น. รวมรับประทานอาหารเย็น และเข้าที่พัก พักผ่อนตามอัธยาศัย
วันจันทร์ที่ 13 พฤศจิกายน 2560
06.00 น.-07.30 น. Morning Walk เดินเที่ยวชมธรรมชาติ กับบรรยากาศไร่หม่อน
07.30 น.-09.00 น. Singing bowl โดย หมอดิน
09.00 น.-11.30 น. Cooking class เมนูอาหารเช้า และรับประทานอาหารเช้า
และพักผ่อนตามอัธยาศัย
11.30 น.-12.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน เตรียมตัวเข้าคลาส Shock cell
12.00 น.-13.30 น. คลาส Shock cell โดย หมอดิน
13.-30 น.-14.30 น. เข้าที่พักเปลี่ยนเสื้อผ้า เตรียมตัวเข้าฮอล์ รวมกิจกรรมปิดค่ายโยคะ
15.00 น. เดินทางกลับ กทม.
.............................................................
1 กด ขย่ม ดึง ดัน ให้กระดูกสันหลังเคลื่อนจากแนวงอก่องอขิงเข้าไปอยู่ในแนวกายวิภาคปกติให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
2 นวด บี้ ไถ ให้เอ็นและพังผืดที่ยึดเงิ่ยงหรือหางกระดูกสันหลังให้ยืดออก เพื่อปลดปล่อยให้ปล้องกระดูกสันหลังแต่ละปล้องเคลื่อนไหวเป็นอิสระต่อกันได้มากขึ้น
3 บีบ นวด กล้ามเนื้อ ที่เกร็งตึงให้คลายตัว
4 ดึง ดัน บิด เพื่อเพิ่มพิสัยการเคลื่อนไหวของข้อต่างๆ
5 โยก ดัน กระชาก เขย่า เอาฆ้อนตอก (ฆ้อนยางตอกลงไปบนหมุดยางที่วางบนผิวหนัง) ให้ข้อสำคัญเช่นข้อไหล่ ข้อตะโพก ข้อเข่า ข้อเท้า ถูกเขย่าเพื่อเพิ่มพิสัยการเคลื่อนไหวให้ได้มากขึ้น
ผมสังเกตว่าผู้ป่วยแต่ละรายต้องใช้เวลาคนละไม่ต่ำกว่า 2 ชั่วโมงเพื่อผ่านกระบวนการเหล่านี้ ทุกขั้นตอนทำด้วยมือของพนักงานบำบัดโดยไม่มีการทิ้งคนไข้ให้อยู่กับเครื่องมือใดๆเลย พนักงานบำบัดแต่ละคนล้วนเป็นผู้ชายรูปร่างสูงใหญ่หรือสันทัดและมีกล้ามแข็งแรง นี่นับเป็นคลินิกกายภาพบำบัดในบ้านเราที่ผมเห็นว่ามีวิธีการบำบัดที่เจ๋งและถึงลูกถึงคนทีี่สุดเท่าที่เคยเห็นมา แต่ผมสังเกตเห็นว่าผู้ป่วยที่มารับการบำบัดส่วนใหญ่เป็นขาประจำ คืองอก่องอขิงมา พอนักบำบัดจับง้างจับเขย่าทีหนึ่งก็เกิดความยืดหยุ่นดีขึ้นมาทีหนึ่ง อีกเดือนสองเดือนหรือหลายๆเดือนก็งอก่อ งอขิง กลับมาอีกแล้ว วนเวียนอยู่เช่นนี้ ผมเดาเอาว่าที่เป็นเช่นนี้เพราะการจับง้างจับเขย่าของนักบำบัดแม้จะสร้างความยืดหยุ่นและเพิ่มพิสัยการเคลื่อนไหวได้ทันทีทันใดแต่ก็เป็นเพียงการอุ่นเครื่องเพื่อให้ผู้ป่วยไปทำการฝึกขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวยืดเหยียดต่อด้วยตัวเองในกิจวัตรประจำวัน หากผู้ป่วยไม่ได้ไปต่อยอดด้วยการขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวด้วยตัวเองที่บ้านก็..จบข่าว
น่าเสียดายที่กิจกรรมในชีวิตประจำวันของผู้สูงวัยไม่ได้เอื้อให้ร่างกายมีการขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวในลักษณะที่จะธำรงรักษาความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อและเอ็นและธำรงพิสัยการเคลื่อนไหวของข้อเลย เว้นเสียแต่ผู้สูงวัยจงใจจะเลิือกกิจกรรมจำเพาะบางอย่างเป็นพิเศษ เช่นผู้ป่วยของผมรายหนึ่งเลือกไปเรียนเป็นครูสอนเต้นรำหลังเกษียณ บุคลิกและการเคลื่อนไหวของเธอเปลี่ยนเป็นคนละคน เธอบอกว่าความสูงของเธอเพิ่มขึ้นมาอีก 5 ซม. ซึ่งผมเดาว่ามันก็คือความสูงเดิมของเธอก่อนที่จะงองุ้มลงไปนั่นแหละ พอไปเรียนเต้นรำถูกจับยืดขึ้นมาใหม่ก็จึงได้ความสูงเดิมกลับมา
กิจกรรมอีกอย่างหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้สูงวัยง้างและยืดตัวเองได้โดยไม่ต้องอาศัยนักกายภาพบำบัดก็คือโยคะ แต่น่าเสียดายว่าในเมืองไทยนี้โยคะเป็นของต้องห้ามสำหรัับผู้สูงวัยไปเสียแล้ว หมอส่วนใหญ่ไม่ว่าจะเป็นหมอกระดูก หมอประสาทวิทยา หรือแม้กระทั่งหมอกายภาพบำบัดเองก็ชอบขู่ผู้สูงวัยว่าแก่แล้วอย่าไปโยคะนะ เดี๋ยวจะเป็นนั่นเป็นนี่ ทั้งๆที่ในความเป็นจริงแล้วงานวิจัยผลดีของโยคะต่อสุขภาพผู้สูงวัยนั้นได้ผลดีไม่แตกต่างจากคนในวัยอื่น และความกลัวที่ว่าผู้สูงวัยไปทำโยคะแล้วจะเป็นนั่นเป็นนี่นั้นก็เป็นเพียงการคาดเดา ผมไม่เห็นมีงานวิจัยใดๆที่พิสูจน์ให้เห็นว่าโยคะจะมีอันตรายต่อผู้สูงอายุมากไปกว่าคนวัยอื่นเลย ยิ่งไปกว่านั้นภาคที่สำคัญที่สุดของโยคะคือภาคจิตใจหรือจิตวิญญาณนั้น เป็นของแถมที่เหมาะกับผู้สูงวัยอย่างยิ่ง
งานวิจัยทางการแพทย์ที่แสดงให้เป็นประโยชน์ของโยคะต่อสุขภาพนั้นมีทำไว้เยอะแยะแป๊ะตราไก่ ผลดีที่สรุปได้ก็มีตั้งแต่ทำให้ร่างกายมีความยืดหยุ่นมากขึ้น ท่าร่างดีขึ้น ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมากขึ้น การทรงตัวดีขึ้น ทำให้ข้อได้ใช้งานและเสื่อมช้า ทำให้กระดูกสันหลังและหมอนรองกระดูกมั่นคง ตัวกระดูกเองก็แข็งแรงขึ้นเป็นกระดูกบางกระดูกพรุนช้าลง ระบบไหลเวียนทำงานดีขึ้น ลดความดันเลือดที่สูงลงได้ ลดน้ำตาลในเลือดได้ ระบบประสาทอัตโนมัติทำงานดีขึ้น ร่างกายจิตใจผ่อนคลาย นอนหลับง่าย เป็นต้น
ดังนั้นตั้งแต่ผมมาทำเวลเนสวีแคร์เซ็นเตอร์เมื่อปีกลายผมก็มองหาโอกาสที่จะใช้เวลเนสวีแคร์เป็นที่เริ่มสอนโยคะให้กับผู้สูงอายุในเมืองไทยด้วย แต่ก็ไม่มีโอกาสเหมาะๆที่จะเริ่มต้นสักที เพราะตัวผมเองนั้นไม่มีความถนัดเลยในเรื่องนี้
แล้วโชคก็ช่วยเมื่อหมอที่เพื่อนเขาไปเชิญมาจากอินเดียเพื่อมาอยู่เป็นที่ปรึกษาประจำทำงานที่คลินิกอายุรเวทที่อยู่ในบริเวณเดียวกับเวลเนสวีแคร์นี้บังเอิญเป็นทั้งหมอแผนปัจจุบัน หมออายุรเวท และครูสอนโยคะ ในคนคนเดียวกันแบบทรีอินวัน นั่นเป็นโชคที่มาทางหนึ่ง
โชคที่มาอีกทางหนึ่งก็คือวันหนึ่งมีครูคนไทยสอนโยคะเป็นอาชีพท่านหนึ่งชื่อ "ครูโบว์" ดูหน้าตายังเป็นเด็กสาวอยู่เลย เธอบังเอิญมาเห็นเวลเนสวีแคร์เซนเตอร์แล้วชอบอกชอบใจจะขอจัดคอร์สโยคะของเธอขึ้นที่นี่สักครั้งแบบว่ากินอาหารธรรมชาติ อยู่กับธรรมชาติ เรียนโยคะไปด้วย ผมจึงบอกเธอว่ามาเลย ปูพรมแดงต้อนรับเลย จะให้ผมช่วยสอนความรู้การดูแลสุขภาพอะไรด้วยก็ได้โดยผมจะสอนให้ฟรี คิดในใจว่าเริ่มต้นกับคนวัยทั่วๆไปก่อนก็ได้ แล้วค่อยๆปรับไปหาทางจัดคอร์สโยคะให้ผู้สูงอายุทีหลัง ซึ่งครูโบว์ก็ตัดสินใจมาจริงๆแบบรวดเร็วพรวดพราด โดยจะมาทำแค้มป์โยคะของเธอแบบสามวันสองคืน 11-13 พย. 60 ดังรายละเอียดที่เธอส่งมาให้ข้างล่างนี้ ในอัตราค่าเข้าแค้มป์ 8,500 บาท สำหรับ 1 ท่านแถมฟรีอีก 1 ท่าน (3 วัน 2 คืน) แฟนๆบล้อกหมอสันต์ท่านใดสนใจที่จะเรียนคอร์สของเธอก็คุยกับเธอได้ ที่เบอร์โทรศัพท์ (ครูโบว์) 096-247-9651
....................................................
ค่ายโยคะครูโบว์ Yoga Retreat
วันที่ 11-13 พฤศจิกายน 2560
วันเสาร์ที่ 11 พฤศจิกายน 2560
08.00 น. – 11.00 น. ออกเดินทางไปค่าย
-ท่านที่ต้องการเดินทางไปกับทีมครูให้มารอขึ้นรถที่ BTS พระโขนง
-ท่านที่ต้องการเดินทางโดยรถส่วนตัวพบกันที่ Wellness We care
มวกเหล็กสระบุรี
11.00 น.-12.00 น. เข้าฮอล์กิจกรรมเปิดค่ายโยคะ และรับทราบรายละเอียด
พร้อมรับเอกสารคู่มือการเรียน
12.00 น.-13.15 น. พักรับประทานอาหารเข้าห้องพัก พักผ่อนตามอัธยาศัย
13.15 น.-15.15 น. Yoga Therapy โดยครูหมวย
15.30 น.-17.00 น. กิจกรรม Cooking Class เตรียมอาหารสำหรับมื้อเย็น
(เป็นอาหารเพื่อสุขภาพเรียนรู้กับครูผู้เชี่ยวชาญด้านอาหาร)
17.00 น.-18.00 น. พักรับประทานเบรก และพักผ่อนตามอัธยาศัย
18.00 น.-19.30 น. Let’s move คลาสเรียนเต้น
และดนตรีบำบัดร่างกายและจิตใจ โดย ครูนิว
19.30 น. รวมรับประทานอาหารเย็น และเข้าที่พัก พักผ่อนตามอัธยาศัย
วันอาทิตย์ที่ 12 พฤศจิกายน 2560
05.30 น.-07.30 น. ไหว้พระอาททิตย์ Sun A 108 รอบ
Yoga Therapy โดย ครูหมวย
07.45 น.-09.00 น. รับประทานอาหารเช้า และพักผ่อนตามอัธยาศัย
09.00 น.-10.30 น. ฟังบรรยายโดย นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
ในหัวข้อ PBWF (Plant based whole food) โภชนาการแบบกินพืชเป็นหลักในรูปแบบ ไม่สกัด ไม่ขัดสี และมีไขมันต่ำ
10.45 น.-12.00 น. Spiritual part of Yoga กัับ Doctor Love
12.00 น.-13.30 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.30 น.-15.00 น. ชั้นเรียนสุขภาพดีด้วยตัวเอง (Good Health By Yourself) โดย คุณหมอสันต์ ใจยอดศิลป์
15.00 น.-15.20 น. พักเบรก
15.20 น.-17.20 น. โยคะบำบัดแก้อาการปวดเมื่อย โดย ครูเชอร์รี่
17.20 น.-19.20 น. Let’s move คลาสเรียนเต้นและดนตรีบำบัดร่างกายและจิตใจ โดย ครูนิว
19.30 น. รวมรับประทานอาหารเย็น และเข้าที่พัก พักผ่อนตามอัธยาศัย
วันจันทร์ที่ 13 พฤศจิกายน 2560
06.00 น.-07.30 น. Morning Walk เดินเที่ยวชมธรรมชาติ กับบรรยากาศไร่หม่อน
07.30 น.-09.00 น. Singing bowl โดย หมอดิน
09.00 น.-11.30 น. Cooking class เมนูอาหารเช้า และรับประทานอาหารเช้า
และพักผ่อนตามอัธยาศัย
11.30 น.-12.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน เตรียมตัวเข้าคลาส Shock cell
12.00 น.-13.30 น. คลาส Shock cell โดย หมอดิน
13.-30 น.-14.30 น. เข้าที่พักเปลี่ยนเสื้อผ้า เตรียมตัวเข้าฮอล์ รวมกิจกรรมปิดค่ายโยคะ
15.00 น. เดินทางกลับ กทม.
.............................................................