หนูอกหัก และคอนเซ็พท์ของมาสโลว์ (Maslow)
หนูชื่อ... คุณหมออย่าลงชื่อจริงนะคะ หนูทำงานเป็นนักสังคมสงเคราะห์ อยู่ที่รพ. .... หนูกลัวคุณหมอจะไม่ตอบปัญหาของหนูเพราะคุณหมออาจเห็นว่าปัญหาของหนูเป็นปัญหาเล็ก คือหนูอกหัก หนูมั่นใจในความรักที่มีให้เขา เราอยู่ด้วยกันมาห้าปี แม้ถึงวันนี้ก็ยังมั่นใจ และเคยมั่นใจในความรักที่เขามีให้หนู แต่เมื่อเขาอยู่ๆก็ทิ้งหนูไปได้ง่ายๆอย่างนี้ ความรู้สึกที่เหลืออยู่มันคือความโดดเดี่ยวเดียวดาย ว่าหนูไม่มีใครอีกแล้ว หนูไม่มีค่าพอที่ใครจะมารักหนูจริงจังเลยหรือ หนูร้องไห้อยู่คนเดียวมานานสามเดือนแล้วโดยมองไม่เห็นว่าชีวิตที่ไม่เป็นที่ต้องการของใครอย่างนี้มันจะเป็นชีวิตดีมีค่าและเต็มอิ่มไปได้อย่างไร
…………………………..
ตอบครับ
อ่านจดหมายของเด็กน้อยท่านนี้แล้วทำให้คิดถึงเพลงในหนังเรื่องหนึ่งของเปี๊ยก โปสเตอร์ ขึ้นมา ชื่อหนังและชื่อเพลงจำไม่ได้เสียแล้ว จำได้แต่ว่าในหนังคนร้องนั่งดีดกีต้าร์ เอาแต่เนื้อเพลงที่จำได้ละกันนะ
"....สูญสิ้นคนรักแล้ว สิหนอเรา
ดู ๆ แล้วเศร้า ช้ำใจกับตัวเอง
เมื่อนึกถึงเขา ปวดร้าวและเหงาวังเวง
มีแต่บทเพลง เป็นเพื่อนเกลื่อนความระทม
มันช่างขื่นขม ตรอมตรมเปล่าเปลี่ยววังเวง.."
ฮู้ย..ย ดีใจ วันนี้ได้อินกับความรัก หิ หิ พูดเล่น มาตอบจดหมายซึ่งดูจริงจังมากฉบับนี้ดีกว่า
คุณเป็นนักสังคม แสดงว่าเคยเรียนทฤษฎีของมาสโลว์ (Maslow) มาแล้วใช่ไหม ที่ว่าคนเรามีสะเต็พของความต้องการในชีวิตเป็นขั้นๆจากต่ำไปสูงเป็นปิรามิดนะ ผมจะลองฉายให้ดูใหม่เท่าที่ผมพอจำได้นะ
ขั้นที่ 1. Physical need ความต้องการทางร่างกาย เช่นหิวก็อยากกินอาหาร
ขั้นที่ 2. Safety need ความต้องการความปลอดภัย เช่นมีบ้านที่มิดชิดให้นอนหลับโดยไม่มีตัวอะไรมากัดขณะหลับ
ขั้นที่ 3. Belonging need ความต้องการการยอมรับว่าตัวเองเป็นใครสักคน เป็นสมาชิกของกลุ่ม เป็นที่รักที่มีค่าและมีความหมายของใครบางคน
ขั้นที่ 4. Self esteem ความต้องการความนับถือตัวเอง อยากได้ภาคภูมิใจกับตัวเองว่าตัวเองทำอะไรก็สำเร็จ มองตัวเองในกระจกแล้วยกนิ้วให้ได้
ขั้นที่ 5. Self actualization ตรงนี้คนทั่วไปมักไม่เข้าใจว่ามันคืออะไร ความหมายที่แท้จริงของมาสโลว์ก็คือ “การตรัสรู้” หรือ enlightenment หรือการหลุดพ้นจากความคิดไปสู่ความเสรี (transcendental) ซึ่งเป็นการข้ามพ้นข้อจำกัดใดๆของศักยภาพตัวเองที่เกิดจากการถูกจองจำอยู่ในความต้องการขั้นต่ำกว่าคือ 1, 2, 3, 4 ข้างต้น จนสามารถใช้ชีวิตอย่างมีค่าเต็มศักยภาพสูงสุดที่ตัวเองมี
ทั้งหมดนี้เป็นแค่คอนเซ็พท์นะ ของจริงมันย่อมจะมีสับสนปนเปพัลวัลพัลเกขั้นนั้นผสมขั้นนี้ แต่คอนเซ็พท์ของมาสโลว์ก็มีประโยชน์ตรงที่ทำให้เราจัดการความต้องการของเราได้ง่ายขึ้น
ในการตอบคำถามของผม คุณอย่าคาดหมายว่าผมจะสอนให้คุณรื้อฟื้นการสนองตอบต่อ belonging need หรือความต้องการเป็นที่รักของใครให้กลับมามีชีวิตชีวาในตัวคุณได้ใหม่อย่างไรนะ แต่ผมจะสอนให้คุณเพิกเฉยต่อความต้องการขั้น 1, 2, 3, 4 ไปให้หมด เพื่อก้าวไปสู่ขั้นที่ห้า คือการค้นพบศักยภาพที่แท้จริงของตัวเองและนำมันออกมาใช้อย่างมีคุณค่า ส่วนคุณจะหัวถึงหรือไม่ถึง เก็ทหรือไม่เก็ทนั้นก็สุดแล้วแต่บุญกรรม ตัวผมเองเชื่อว่าการมีอายุน้อยไม่่ใช่อุปสรรคของการบรรลุความหลุดพ้น และยิ่งกำลังมีความทุกข์อยู่อย่างนี้ ก็ยิ่งเป็นปัจจัยเสริมให้หลุดพ้นจากความคิดลบได้ดีนัก
ผมเข้าใจความรู้สึกของคุณที่ว่า "..ทั้งเจ็บ ทั้งช้ำ ปวดร้าวระบม มันช่างขื่นขม ตรอมตรม เปล่าเปลี่ยว วังเวง.."
แต่่มันน่าฉงนไหมว่าเจ้าความรู้สึกเหงาวังเวงซึ่งดูจริงจังเหลือเกินนี้มันเกิดขึ้นในใจคุณได้อย่างไร มันไม่ได้เกิดขึ้นง่ายๆเมื่อแฟนบ๊ายบายคุณไปดอก ความเป็นมามันมีมากกว่านั้น ลองมาดูกันนะ
คุณดุต้นมะม่วงแก้วต้นใหญ่นั่นสิ ตอนที่มันแรกเกิดมา มันเป็นแค่เมล็ดมะม่วงโกโรโกโสเม็ดเดียวนะ จุดตั้งต้นมันมีแค่นั้น แล้วมันก็งอกและเติบใหญ่ขึ้นมาได้ถึงเพียงนี้
คุณก็เหมือนกัน จุดตั้งต้นของคุณเป็นแค่เซลๆเดียว ขยายตัวออกมาเป็นทารก คลอดออกมา อุแว้ อุแว้ ณ จุดนั้น ความเป็น "ฉัน" ของคุณเริ่มขึ้นแล้วนะ
คุณพ่อคุณแม่มาจ๊ะเอ๋กับคุณ คุณมองดู รับรู้ แล้วคุณพ่อคุณแม่ก็ตั้งชื่อให้คุณว่า "กิ่งกาญจน์" (หิ หิ ผมสมมุติเอาตามชื่อของนางเอกหนังเรื่องหนึ่ง) คุณไม่รู้หรอกว่าคุณชื่อนี้จนผ่านไปได้ปีกว่าถึงได้เริ่มเก็ทว่าเมื่อคุณพ่อคุณแม่ส่งเสียงเรียกว่า กิ่ง กิ่ง แล้วอีกประเดี๋ยวเขาก็จะมาจ๊ะจ๋ากับคุณ แล้วพอจะไปโรงเรียนคุณก็หัดเขียนชื่อตัวเองว่า กิ่งกาญจน์ นั่นคือคุณค่อยๆก่อความคิดแบบคอนเซ็พท์ขึ้นในใจว่าคุณเป็นบุคคลที่ชื่อกิ่งกาญจน์ ความเป็นบุคคลที่ชื่อกิ่งกาญจน์นี่เป็นความคิดที่ถักทอขึ้นมาเป็นคอนเซ็พท์นะ ไม่ใช่ความรู้ตัวดั้งเดิมของคุณหรือ "ฉัน" ซึ่งมีอยู่ตั้งแต่แรกอุแว้ออกมาแล้ว
ต่อมาคุณก็ค่อยๆถักทอความคิดที่เรียนรู้เพิ่มเติมขึ้นมาเป็นคอนเซ็พท์ใหม่ๆว่า นี่ร่างกายของฉัน นี่เสื้อผ้าของฉัน นี่ตุ๊กตาของฉัน คุณเริ่มเรียนรู้คอนเซ็พท์การเป็นเจ้าของ เมื่อเราเป็นเจ้าของอะไรเราก็ต้องรักและหวงแหนของๆเรา นี่เป็นการเกี่ยวโยงถักทอความคิดหลายๆความคิดเข้าด้วยกันให้คอนเซ็พท์มันซับซ้อนยิ่งขึ้น
เมื่อคอนเซ็พท์เรื่องสาวมั่นชื่อ "นส.กิ่งกาญจน์" มาถักทอเข้ากับคอนเซ็พท์เรื่องความเป็นเจ้าของ ทฤษฏีความต้องการของมาสโลว์ก็เข้ามา นี่ก็เป็นอีกคอนเซ็พท์หนึ่งที่มาถักทอเข้ากับคอนเซ็พท์เดิมๆที่คุณมีมาแล้ว แล้ว belonging need ความเหงา อยากมีใครสักคนที่รักและเห็นคุณค่าของเราก็เข้ามา แล้วเราก็สอดสายสายตามองหาเทพบุตรคนนั้น แล้วก็เจอ แล้วก็เกิดคอนเซ็พท์ใหม่ว่าคู่ของฉัน แล้วคอนเซ็พท์เรื่องการเติมเต็มของชีวิตก็เพิ่มเข้ามา และครองคู่อยู่กินด้วยกันมาถึงห้าปี
ทั้งหมดนี้ดูช่างจริงจังและสอดคล้องกันดีเหลือเกินแม้ว่ามันจะเป็นเพียงการเล่นละครชีวิต จนวันหนึ่งเทพบุตรของคุณเบื่อการเล่นละครฉากนี้แล้วบอกคุณมาดื้อๆว่าเลิกเล่นกันเถอะ ผมจะกลับบ้านไปหาแม่ละ
เขาไปแล้ว ไปพร้อมกับสายลม แต่คอนเซ็พท์ belonging need ยังอยู่ แถมยังถักทอให้เกิดคอนเซ็พท์ใหม่ขึ้นมาอีก มันเป็นคอนเซ็พท์ ทั้งเจ็บ ทั้งช้ำ ปวดร้าวระบม มันช่างขื่นขม ตรอมตรม เปล่าเปลี่ยว วังเวง ซึ่งคุณเชื่อว่าหากสนอง belonging need ได้ความทุกข์ทั้งหลายทั้งปวงก็จะหายไป
แต่ว่าเด็กน้อยเอ๋ย อย่าลืมว่ารากของคอนเซ็พท์ทั้งหลายมันเป็นเพียง "ความคิด" หลายๆอันมาถักทอกันนะ เมื่อคิดซ้ำๆซากๆ มันจึงดูจริงจังขึ้นมา แต่ความคิดก็คือความคิด มันแว้บขึ้นมาแล้วก็แว้บหายไป นี่ลุงจะสอนธรรมะให้สักหน่อยนะ คำว่าความคิดนี้ภาษาบาลีเขาใช้คำว่า "สังขาร" เวลาหนูไปงานศพครั้งหน้าให้ตั้งใจฟังพระสวดให้ดีนะ หนูอาจไม่เข้าใจว่าพระสวดอะไร แต่ลุงสันต์จะแปลให้ฟังดังนี้
อนิจจา วต สังขารา
ความคิดทั้งหลายเป็นของไม่เที่ยงหนอ
อุปปา ทวยะ ธรรมมิโน
เกิดขึ้นแล้วเปลี่ยนไปเป็นธรรมดา
อุปชิตวา นิรุธชันติ
เกิดขึ้น แล้วก็ดับไป
เต สังโว ปสโม สุขโข
ถ้าหมดความคิด ความสุขก็เกิดขึ้น
เอาแค่บทสวดงานศพนี้บทเดียวคุณก็รู้แล้วว่าชีวิตควรจะเดินหน้าไปทางไหน ระหว่างทางเลือก 2 ทาง คือ
ทางที่ 1. พยายามสนองตอบ belonging need นั้นให้ได้อีกครั้ง จะด้วยการตามไปง้อแฟน หรือไปหาแฟนใหม่เอาตามศูนย์การค้าก็ตาม ซึ่งผลที่จะตามมาคุณก็เดาได้ตั้งแต่อยู่ในมุ้งแล้วว่ามันไม่เที่ยง มันจะต้องเปลี่ยนไป แล้วคุณก็จะต้องทั้งเจ็บ ทั้งช้ำ ปวดร้าวระบม อีกๆๆๆ เป็นอย่างนี้ตลอดไปข้ามภพข้ามชาติไม่ว่าจะนานกี่อสงไขยเวลา ตราบใดที่คุณยังไม่เก็ทว่าความคิดมันเป็นของไม่เที่ยง
ทางที่ 2. หัดเรียนรู้ที่จะฝ่าข้ามความคิดไปสู่ความเสรี เรียนรู้ศักยภาพที่แท้จริงของตนเองที่เกิดมาเป็นคนแล้วชาติหนึ่ง คุณรู้ไหมว่ากายและใจนี้มีศักยภาพที่จะค้นพบและทำอะไรที่สร้างสรรค์ได้บ้าง คุณไม่รู้หรอก เพราะหากเปรียบกายและใจนี้เป็นคอมพิวเตอร์ราคาแพงตัวหนึ่ง คุณได้มันมาแล้วคุณไม่เคยอ่านคู่มือการใช้งานหรือ instruction manual เลยแล้วคุณจะรู้ได้อย่างไร เส้นทางนี้คุณต้องหันความสนใจจากการมุ่งไปนอกตัว กลับมามุ่งเข้าสู่ภายใน ค้นหาวิธีวางความคิดเพื่อไปสู่ความรู้ตัว อันจะเปิดคุณสู่ศักยภาพเต็มๆที่คุณมี คำว่า self actualization ของมาสโลว์คืออย่างนี้ รายละเอียดของเส้นทางนี้คุณหาอ่านเอาจากในบล็อกผมนี้ก็ได้ ผมเขียนไปแล้วบ่อยมาก จะไม่พูดซ้ำวันนี้ เพราะนี่ได้เวลาจะต้องพา ม. ไปช็อปปิ้งแล้ว หิ หิ
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
…………………………..
ตอบครับ
อ่านจดหมายของเด็กน้อยท่านนี้แล้วทำให้คิดถึงเพลงในหนังเรื่องหนึ่งของเปี๊ยก โปสเตอร์ ขึ้นมา ชื่อหนังและชื่อเพลงจำไม่ได้เสียแล้ว จำได้แต่ว่าในหนังคนร้องนั่งดีดกีต้าร์ เอาแต่เนื้อเพลงที่จำได้ละกันนะ
"....สูญสิ้นคนรักแล้ว สิหนอเรา
ดู ๆ แล้วเศร้า ช้ำใจกับตัวเอง
เมื่อนึกถึงเขา ปวดร้าวและเหงาวังเวง
มีแต่บทเพลง เป็นเพื่อนเกลื่อนความระทม
โอ้ความรักเอย สุดเฉลยใจเอยเหลือจะข่ม
ทั้งเจ็บทั้งช้ำปวดร้าวระบมมันช่างขื่นขม ตรอมตรมเปล่าเปลี่ยววังเวง.."
ฮู้ย..ย ดีใจ วันนี้ได้อินกับความรัก หิ หิ พูดเล่น มาตอบจดหมายซึ่งดูจริงจังมากฉบับนี้ดีกว่า
คุณเป็นนักสังคม แสดงว่าเคยเรียนทฤษฎีของมาสโลว์ (Maslow) มาแล้วใช่ไหม ที่ว่าคนเรามีสะเต็พของความต้องการในชีวิตเป็นขั้นๆจากต่ำไปสูงเป็นปิรามิดนะ ผมจะลองฉายให้ดูใหม่เท่าที่ผมพอจำได้นะ
ขั้นที่ 1. Physical need ความต้องการทางร่างกาย เช่นหิวก็อยากกินอาหาร
ขั้นที่ 2. Safety need ความต้องการความปลอดภัย เช่นมีบ้านที่มิดชิดให้นอนหลับโดยไม่มีตัวอะไรมากัดขณะหลับ
ขั้นที่ 3. Belonging need ความต้องการการยอมรับว่าตัวเองเป็นใครสักคน เป็นสมาชิกของกลุ่ม เป็นที่รักที่มีค่าและมีความหมายของใครบางคน
ขั้นที่ 4. Self esteem ความต้องการความนับถือตัวเอง อยากได้ภาคภูมิใจกับตัวเองว่าตัวเองทำอะไรก็สำเร็จ มองตัวเองในกระจกแล้วยกนิ้วให้ได้
ขั้นที่ 5. Self actualization ตรงนี้คนทั่วไปมักไม่เข้าใจว่ามันคืออะไร ความหมายที่แท้จริงของมาสโลว์ก็คือ “การตรัสรู้” หรือ enlightenment หรือการหลุดพ้นจากความคิดไปสู่ความเสรี (transcendental) ซึ่งเป็นการข้ามพ้นข้อจำกัดใดๆของศักยภาพตัวเองที่เกิดจากการถูกจองจำอยู่ในความต้องการขั้นต่ำกว่าคือ 1, 2, 3, 4 ข้างต้น จนสามารถใช้ชีวิตอย่างมีค่าเต็มศักยภาพสูงสุดที่ตัวเองมี
ทั้งหมดนี้เป็นแค่คอนเซ็พท์นะ ของจริงมันย่อมจะมีสับสนปนเปพัลวัลพัลเกขั้นนั้นผสมขั้นนี้ แต่คอนเซ็พท์ของมาสโลว์ก็มีประโยชน์ตรงที่ทำให้เราจัดการความต้องการของเราได้ง่ายขึ้น
ในการตอบคำถามของผม คุณอย่าคาดหมายว่าผมจะสอนให้คุณรื้อฟื้นการสนองตอบต่อ belonging need หรือความต้องการเป็นที่รักของใครให้กลับมามีชีวิตชีวาในตัวคุณได้ใหม่อย่างไรนะ แต่ผมจะสอนให้คุณเพิกเฉยต่อความต้องการขั้น 1, 2, 3, 4 ไปให้หมด เพื่อก้าวไปสู่ขั้นที่ห้า คือการค้นพบศักยภาพที่แท้จริงของตัวเองและนำมันออกมาใช้อย่างมีคุณค่า ส่วนคุณจะหัวถึงหรือไม่ถึง เก็ทหรือไม่เก็ทนั้นก็สุดแล้วแต่บุญกรรม ตัวผมเองเชื่อว่าการมีอายุน้อยไม่่ใช่อุปสรรคของการบรรลุความหลุดพ้น และยิ่งกำลังมีความทุกข์อยู่อย่างนี้ ก็ยิ่งเป็นปัจจัยเสริมให้หลุดพ้นจากความคิดลบได้ดีนัก
ผมเข้าใจความรู้สึกของคุณที่ว่า "..ทั้งเจ็บ ทั้งช้ำ ปวดร้าวระบม มันช่างขื่นขม ตรอมตรม เปล่าเปลี่ยว วังเวง.."
แต่่มันน่าฉงนไหมว่าเจ้าความรู้สึกเหงาวังเวงซึ่งดูจริงจังเหลือเกินนี้มันเกิดขึ้นในใจคุณได้อย่างไร มันไม่ได้เกิดขึ้นง่ายๆเมื่อแฟนบ๊ายบายคุณไปดอก ความเป็นมามันมีมากกว่านั้น ลองมาดูกันนะ
คุณดุต้นมะม่วงแก้วต้นใหญ่นั่นสิ ตอนที่มันแรกเกิดมา มันเป็นแค่เมล็ดมะม่วงโกโรโกโสเม็ดเดียวนะ จุดตั้งต้นมันมีแค่นั้น แล้วมันก็งอกและเติบใหญ่ขึ้นมาได้ถึงเพียงนี้
คุณก็เหมือนกัน จุดตั้งต้นของคุณเป็นแค่เซลๆเดียว ขยายตัวออกมาเป็นทารก คลอดออกมา อุแว้ อุแว้ ณ จุดนั้น ความเป็น "ฉัน" ของคุณเริ่มขึ้นแล้วนะ
คุณพ่อคุณแม่มาจ๊ะเอ๋กับคุณ คุณมองดู รับรู้ แล้วคุณพ่อคุณแม่ก็ตั้งชื่อให้คุณว่า "กิ่งกาญจน์" (หิ หิ ผมสมมุติเอาตามชื่อของนางเอกหนังเรื่องหนึ่ง) คุณไม่รู้หรอกว่าคุณชื่อนี้จนผ่านไปได้ปีกว่าถึงได้เริ่มเก็ทว่าเมื่อคุณพ่อคุณแม่ส่งเสียงเรียกว่า กิ่ง กิ่ง แล้วอีกประเดี๋ยวเขาก็จะมาจ๊ะจ๋ากับคุณ แล้วพอจะไปโรงเรียนคุณก็หัดเขียนชื่อตัวเองว่า กิ่งกาญจน์ นั่นคือคุณค่อยๆก่อความคิดแบบคอนเซ็พท์ขึ้นในใจว่าคุณเป็นบุคคลที่ชื่อกิ่งกาญจน์ ความเป็นบุคคลที่ชื่อกิ่งกาญจน์นี่เป็นความคิดที่ถักทอขึ้นมาเป็นคอนเซ็พท์นะ ไม่ใช่ความรู้ตัวดั้งเดิมของคุณหรือ "ฉัน" ซึ่งมีอยู่ตั้งแต่แรกอุแว้ออกมาแล้ว
ต่อมาคุณก็ค่อยๆถักทอความคิดที่เรียนรู้เพิ่มเติมขึ้นมาเป็นคอนเซ็พท์ใหม่ๆว่า นี่ร่างกายของฉัน นี่เสื้อผ้าของฉัน นี่ตุ๊กตาของฉัน คุณเริ่มเรียนรู้คอนเซ็พท์การเป็นเจ้าของ เมื่อเราเป็นเจ้าของอะไรเราก็ต้องรักและหวงแหนของๆเรา นี่เป็นการเกี่ยวโยงถักทอความคิดหลายๆความคิดเข้าด้วยกันให้คอนเซ็พท์มันซับซ้อนยิ่งขึ้น
เมื่อคอนเซ็พท์เรื่องสาวมั่นชื่อ "นส.กิ่งกาญจน์" มาถักทอเข้ากับคอนเซ็พท์เรื่องความเป็นเจ้าของ ทฤษฏีความต้องการของมาสโลว์ก็เข้ามา นี่ก็เป็นอีกคอนเซ็พท์หนึ่งที่มาถักทอเข้ากับคอนเซ็พท์เดิมๆที่คุณมีมาแล้ว แล้ว belonging need ความเหงา อยากมีใครสักคนที่รักและเห็นคุณค่าของเราก็เข้ามา แล้วเราก็สอดสายสายตามองหาเทพบุตรคนนั้น แล้วก็เจอ แล้วก็เกิดคอนเซ็พท์ใหม่ว่าคู่ของฉัน แล้วคอนเซ็พท์เรื่องการเติมเต็มของชีวิตก็เพิ่มเข้ามา และครองคู่อยู่กินด้วยกันมาถึงห้าปี
ทั้งหมดนี้ดูช่างจริงจังและสอดคล้องกันดีเหลือเกินแม้ว่ามันจะเป็นเพียงการเล่นละครชีวิต จนวันหนึ่งเทพบุตรของคุณเบื่อการเล่นละครฉากนี้แล้วบอกคุณมาดื้อๆว่าเลิกเล่นกันเถอะ ผมจะกลับบ้านไปหาแม่ละ
เขาไปแล้ว ไปพร้อมกับสายลม แต่คอนเซ็พท์ belonging need ยังอยู่ แถมยังถักทอให้เกิดคอนเซ็พท์ใหม่ขึ้นมาอีก มันเป็นคอนเซ็พท์ ทั้งเจ็บ ทั้งช้ำ ปวดร้าวระบม มันช่างขื่นขม ตรอมตรม เปล่าเปลี่ยว วังเวง ซึ่งคุณเชื่อว่าหากสนอง belonging need ได้ความทุกข์ทั้งหลายทั้งปวงก็จะหายไป
แต่ว่าเด็กน้อยเอ๋ย อย่าลืมว่ารากของคอนเซ็พท์ทั้งหลายมันเป็นเพียง "ความคิด" หลายๆอันมาถักทอกันนะ เมื่อคิดซ้ำๆซากๆ มันจึงดูจริงจังขึ้นมา แต่ความคิดก็คือความคิด มันแว้บขึ้นมาแล้วก็แว้บหายไป นี่ลุงจะสอนธรรมะให้สักหน่อยนะ คำว่าความคิดนี้ภาษาบาลีเขาใช้คำว่า "สังขาร" เวลาหนูไปงานศพครั้งหน้าให้ตั้งใจฟังพระสวดให้ดีนะ หนูอาจไม่เข้าใจว่าพระสวดอะไร แต่ลุงสันต์จะแปลให้ฟังดังนี้
อนิจจา วต สังขารา
ความคิดทั้งหลายเป็นของไม่เที่ยงหนอ
อุปปา ทวยะ ธรรมมิโน
เกิดขึ้นแล้วเปลี่ยนไปเป็นธรรมดา
อุปชิตวา นิรุธชันติ
เกิดขึ้น แล้วก็ดับไป
เต สังโว ปสโม สุขโข
ถ้าหมดความคิด ความสุขก็เกิดขึ้น
เอาแค่บทสวดงานศพนี้บทเดียวคุณก็รู้แล้วว่าชีวิตควรจะเดินหน้าไปทางไหน ระหว่างทางเลือก 2 ทาง คือ
ทางที่ 1. พยายามสนองตอบ belonging need นั้นให้ได้อีกครั้ง จะด้วยการตามไปง้อแฟน หรือไปหาแฟนใหม่เอาตามศูนย์การค้าก็ตาม ซึ่งผลที่จะตามมาคุณก็เดาได้ตั้งแต่อยู่ในมุ้งแล้วว่ามันไม่เที่ยง มันจะต้องเปลี่ยนไป แล้วคุณก็จะต้องทั้งเจ็บ ทั้งช้ำ ปวดร้าวระบม อีกๆๆๆ เป็นอย่างนี้ตลอดไปข้ามภพข้ามชาติไม่ว่าจะนานกี่อสงไขยเวลา ตราบใดที่คุณยังไม่เก็ทว่าความคิดมันเป็นของไม่เที่ยง
ทางที่ 2. หัดเรียนรู้ที่จะฝ่าข้ามความคิดไปสู่ความเสรี เรียนรู้ศักยภาพที่แท้จริงของตนเองที่เกิดมาเป็นคนแล้วชาติหนึ่ง คุณรู้ไหมว่ากายและใจนี้มีศักยภาพที่จะค้นพบและทำอะไรที่สร้างสรรค์ได้บ้าง คุณไม่รู้หรอก เพราะหากเปรียบกายและใจนี้เป็นคอมพิวเตอร์ราคาแพงตัวหนึ่ง คุณได้มันมาแล้วคุณไม่เคยอ่านคู่มือการใช้งานหรือ instruction manual เลยแล้วคุณจะรู้ได้อย่างไร เส้นทางนี้คุณต้องหันความสนใจจากการมุ่งไปนอกตัว กลับมามุ่งเข้าสู่ภายใน ค้นหาวิธีวางความคิดเพื่อไปสู่ความรู้ตัว อันจะเปิดคุณสู่ศักยภาพเต็มๆที่คุณมี คำว่า self actualization ของมาสโลว์คืออย่างนี้ รายละเอียดของเส้นทางนี้คุณหาอ่านเอาจากในบล็อกผมนี้ก็ได้ ผมเขียนไปแล้วบ่อยมาก จะไม่พูดซ้ำวันนี้ เพราะนี่ได้เวลาจะต้องพา ม. ไปช็อปปิ้งแล้ว หิ หิ
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์