หมอสันต์ให้สัมภาษณ์ทีวี.เรื่องการดูแลแผลที่เกิดช่วงน้ำท่วม
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์ ให้สัมภาษณ์ Spring News TV ขณะนำเรือกู้ภัยออกไปตรวจรักษาแผลและฉีดยาป้องกันบาดทะยักให้กับกลุ่มควาญช้างที่ดูแลช้างจำนวนกว่า 90 เชือกที่มาพักพิงที่เกาะกลางน้ำท่วมเมืองอยุธยา เมื่อ 18 ตค. 54
Spring News TV
ยาที่คุณหมอกำลังฉีดนั่นคือยาอะไรครับ
หมอสันต์
ที่พวกควาญช้างเขาเข้าแถวฉีดกันอยู่นี่ไม่ใช่ยาครับ มันเป็นวัคซีนฉีดกระตุ้นภูมิคุ้มกันโรคบาดทะยัก เพราะได้ทราบข่าวจากทีมแพทย์ศิริราชที่มาดูแลประชาชนที่ศูนย์พักพิงว่ามีคนมีอาการคล้ายบาดทะยักแล้ว 3 คน ผมกับคุณบิณฑ์ (บันลือฤทธิ์) จึงรีบเอาเรือมาที่นี่เพื่อมาป้องกันบาดทะยักให้กับกลุ่มควาญช้างและครอบครัว เพราะพวกนี้ส่วนใหญ่เขามีบาดแผลจากการย่ำเศษแล้วหรือเศษของมีคมในน้ำกันเกือบทุกคน จัดว่าเป็นกลุ่มเสี่ยง แล้วพวกเขาก็ติดเกาะอยู่ที่นี่ ไปไหนไม่ได้ การเข้ามาหาก็ลำบากอย่างที่คุณได้เห็นแล้วตอนนั่งเรือมาด้วยกันนั่นแหละ
Spring News TV
ทำไมจึงเรียกว่าวัคซีนกระตุ้นละครับ มันป้องกันบาดทะยักได้แน่นอนหรือเปล่า
หมอสันต์
คือการสร้างภูมิคุ้มกันด้วยวัคซีนเนี่ยจะต้องเริ่มด้วยการตั้งต้นฉีดวัคซีนเข็มแรกหรือชุดแรก แล้วก็ฉีดเข็มต่อไปกระตุ้น โดยแผนการฉีดวัคซีนแต่ละตัวก็ไม่เท่ากัน อย่างวัคซีนบาดทะยักเนี่ยชุดแรกของเขาจะมีอย่างน้อยสามเข็มห่างกันเข็มละหกเดือน หลังจากนั้นก็ต้องฉีดกระตุ้นทุกสิบปีเพื่อให้ภูมิคุ้มกันมันสูงอยู่เสมอ ในคนไทยที่อายุหกสิบลงมานี้ ตอนเด็กๆเข้าโรงเรียนภาคบังคับจะถูกจับฉีดวัคซีนตั้งต้นครบชุดแล้วทุกคน แต่สิ่งที่ขาดไปคือการฉีดกระตุ้นทุกสิบปี ถ้าเป็นผู้หญิงที่คลอดบุตรก็จะได้รับการฉีดกระตุ้นตอนไปคลอดบุตรที่โรงพยาบาลหรือที่อนามัย แต่ผู้ชายหากไม่เคยเกิดอุบัติเหตุหรือไม่เคยมีบาดแผลก็จะไม่ได้รับการฉีดกระตุ้นเลย ทำให้มีความเสี่ยงที่จะเป็นบาดทะยักได้ การฉีดวัคซีนกระตุ้นนี้หากทำทุกสิบปีไม่ให้ขาด ก็จะป้องกันบาดทะยักได้แน่นอนครับ
Spring News TV
แล้วเวลาที่คุณหมอทำแผล เห็นเอาปากกาขีดเป็นวงไปบนผิวหนังนั้นเพื่ออะไรครับ
หมอสันต์
อ๋อ. คืออันนี้ไม่ใช่แผลธรรมดา แต่มีการอักเสบติดเชื้อที่เห็นเป็นพื้นที่สีแดงนี่เห็นไหมครับ ผมขีดรอบพื้นที่สีแดงนี่ไว้ ก็เพื่อจะบอกคนไข้ว่าหลังจากทำแผล ฉีดยา กินยาฆ่าเชื้อที่ผมให้ไว้นี้แล้ว พื้นที่สีแดงนี้มันต้องหดเล็กลงหรือหายไป แต่ถ้าในสามวันนี้มันไม่หดลง หรือมันขยายตัวกว้างใหญ่ออกไปอีก นั่นหมายความว่าการติดเชื้อลุกลามแล้ว บางทีมันลุกลามเร็วมากจนชาวบ้านเรียกว่าเป็นโรคไฟลามทุ่ง พอมันลามก็แสดงว่ายาที่ให้เอาไม่อยู่ ปลายทางก็คือจะเกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด ซึ่งเป็นเรื่องรุนแรงถึงตายได้ ดังนั้นถ้าเขาเห็นว่าสามวันแล้วมันก็ยังลามออกนอกวงนี้อยู่ เขาต้องรีบหาเรือไปยังศูนย์พักพิงเพื่อให้เขาส่งต่อไปรักษาในโรงพยาบาล
Spring News TV
คุณหมอมีอะไรจะพูดไปถึงผู้ชมที่อยู่ในสภาพน้ำท่วมบ้างไหมครับ
หมอสันต์
ท่านผู้ชมที่กำลังผจญน้ำท่วมทุกท่านครับ ในสภาพน้ำท่าม มีความเสี่ยงที่จะเหยียบถูกเศษแก้วเศษหินหรือเศษโลหะเกิดแผลเล็กบ้างใหญ่บ้างได้ตลอดเวลา บางทีก็เกิดขึ้นโดยเราไม่รู้ตัว ผมขอแนะนำท่านผู้ชมเฉพาะประเด็นที่สำคัญสามประเด็นคือ
ประเด็นที่ 1. การป้องกันโรคบาดทะยัก คือโรคบาดทะยักนี้เป็นง่ายในสภาพที่เท้าเราจมน้ำสกปรกอยู่อย่างนี้ โรคนี้เป็นแล้วมักจะตาย แต่มันป้องกันได้ด้วยวัคซีน ตอนที่เราเด็กๆเราได้วัคซีนป้องกันบาดทะยักมาจากโรงเรียนแล้วทุกคน ธรรมชาติของภูมิคุ้มกันมันจะหดหายไปหากไม่ได้รับการฉีดวัคซีนกระตุ้นทุกสิบปี ดังนั้นให้ท่านนึกย้อนหลังไปสักสิบปี หากสิบปีที่ผ่านมานี้ไม่ได้ฉีดวัคซีนบาดทะยักกระตุ้นเลย ขอให้ท่านขวนขวายไปรับการฉีดวัคซีนกระตุ้นที่หน่วยแพทย์หรือที่สถานีอนามัยเมื่อใดก็ตามที่ท่านมีโอกาสไปได้ ไม่ต้องรอให้มีแผลก่อน ถือโอกาสตอนน้ำท่วมนี้แหละ ไปฉีดวัคซีนบาดทะยักกระตุ้นเลย
ประเด็นที่ 2. การป้องกันไม่ให้แผลติดเชื้อ เมื่อมีแผลเกิดขึ้น สิ่งสำคัญที่สุดคือการล้างเอาเศษดินออกจากแผล ล้างด้วยน้ำสะอาดที่หาได้ หากหาไม่ได้ก็ต้องสละน้ำดื่มมาล้างแผล กัดฟันทนเจ็บเอาแปรงสีฟันขูดเศษดินออกจากแผลให้หมด ไม่ต้องใส่ยา ไม่ต้องกินยาใดๆ ล้างให้สะอาดลูกเดียว ไม่มียาใส่หรือยากินใดๆจะมาป้องกันการติดเชื้อได้เท่าการล้างแผลให้สะอาดได้
ประเด็นที่ 3. การเฝ้าระวังการติดเชื้อลุกลาม สิ่งบอกเหตุว่าการติดเชื้อนั้นลุกลามมีสามอย่างคือ
อย่างที่หนึ่ง คือ ถ้าท่านมีแผลแล้วมีไข้ด้วย นั่นแสดงว่าเชื้ออาจลุกลามเข้าไปในกระแสแล้ว ไม่ต้องรอกินยาลดไข้แล้วดูเชิง ท่านต้องขวานขวายไปหาหมอเลย
อย่างที่สองคือ ถ้ามีรอยบวมๆแดงๆหรือม่วงคล้ำๆรอบแผล แสดงว่ามีการติดเชื้อของแซลรอบแผล ให้ท่านเอาถ่านหรือปากกาขีดรอบรอยนั้นไว้ หากหลายวันผ่านไปรอยนี้มีขยายกว้างขึ้น ท่านก็ต้องรีบไปหาหมอเช่นกัน
อย่างที่สาม คือถ้าแผลที่ช้ำๆดำๆ เวลาบีบแล้วมันมีเสียงครอกแครกเหมือนมีฟองลมอยู่ข้างใน อันนั้นแสดงว่ามันอาจติดเชื้อชนิดไม่ใช้ออกซิเจน ซึ่งอันตรายและลุกลามเร็ว ท่านอย่ารอดูเชิง ให้รีบหาทางออกไปหาหมอเลยนะครับ
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
Spring News TV
ยาที่คุณหมอกำลังฉีดนั่นคือยาอะไรครับ
หมอสันต์
ที่พวกควาญช้างเขาเข้าแถวฉีดกันอยู่นี่ไม่ใช่ยาครับ มันเป็นวัคซีนฉีดกระตุ้นภูมิคุ้มกันโรคบาดทะยัก เพราะได้ทราบข่าวจากทีมแพทย์ศิริราชที่มาดูแลประชาชนที่ศูนย์พักพิงว่ามีคนมีอาการคล้ายบาดทะยักแล้ว 3 คน ผมกับคุณบิณฑ์ (บันลือฤทธิ์) จึงรีบเอาเรือมาที่นี่เพื่อมาป้องกันบาดทะยักให้กับกลุ่มควาญช้างและครอบครัว เพราะพวกนี้ส่วนใหญ่เขามีบาดแผลจากการย่ำเศษแล้วหรือเศษของมีคมในน้ำกันเกือบทุกคน จัดว่าเป็นกลุ่มเสี่ยง แล้วพวกเขาก็ติดเกาะอยู่ที่นี่ ไปไหนไม่ได้ การเข้ามาหาก็ลำบากอย่างที่คุณได้เห็นแล้วตอนนั่งเรือมาด้วยกันนั่นแหละ
Spring News TV
ทำไมจึงเรียกว่าวัคซีนกระตุ้นละครับ มันป้องกันบาดทะยักได้แน่นอนหรือเปล่า
หมอสันต์
คือการสร้างภูมิคุ้มกันด้วยวัคซีนเนี่ยจะต้องเริ่มด้วยการตั้งต้นฉีดวัคซีนเข็มแรกหรือชุดแรก แล้วก็ฉีดเข็มต่อไปกระตุ้น โดยแผนการฉีดวัคซีนแต่ละตัวก็ไม่เท่ากัน อย่างวัคซีนบาดทะยักเนี่ยชุดแรกของเขาจะมีอย่างน้อยสามเข็มห่างกันเข็มละหกเดือน หลังจากนั้นก็ต้องฉีดกระตุ้นทุกสิบปีเพื่อให้ภูมิคุ้มกันมันสูงอยู่เสมอ ในคนไทยที่อายุหกสิบลงมานี้ ตอนเด็กๆเข้าโรงเรียนภาคบังคับจะถูกจับฉีดวัคซีนตั้งต้นครบชุดแล้วทุกคน แต่สิ่งที่ขาดไปคือการฉีดกระตุ้นทุกสิบปี ถ้าเป็นผู้หญิงที่คลอดบุตรก็จะได้รับการฉีดกระตุ้นตอนไปคลอดบุตรที่โรงพยาบาลหรือที่อนามัย แต่ผู้ชายหากไม่เคยเกิดอุบัติเหตุหรือไม่เคยมีบาดแผลก็จะไม่ได้รับการฉีดกระตุ้นเลย ทำให้มีความเสี่ยงที่จะเป็นบาดทะยักได้ การฉีดวัคซีนกระตุ้นนี้หากทำทุกสิบปีไม่ให้ขาด ก็จะป้องกันบาดทะยักได้แน่นอนครับ
Spring News TV
แล้วเวลาที่คุณหมอทำแผล เห็นเอาปากกาขีดเป็นวงไปบนผิวหนังนั้นเพื่ออะไรครับ
หมอสันต์
อ๋อ. คืออันนี้ไม่ใช่แผลธรรมดา แต่มีการอักเสบติดเชื้อที่เห็นเป็นพื้นที่สีแดงนี่เห็นไหมครับ ผมขีดรอบพื้นที่สีแดงนี่ไว้ ก็เพื่อจะบอกคนไข้ว่าหลังจากทำแผล ฉีดยา กินยาฆ่าเชื้อที่ผมให้ไว้นี้แล้ว พื้นที่สีแดงนี้มันต้องหดเล็กลงหรือหายไป แต่ถ้าในสามวันนี้มันไม่หดลง หรือมันขยายตัวกว้างใหญ่ออกไปอีก นั่นหมายความว่าการติดเชื้อลุกลามแล้ว บางทีมันลุกลามเร็วมากจนชาวบ้านเรียกว่าเป็นโรคไฟลามทุ่ง พอมันลามก็แสดงว่ายาที่ให้เอาไม่อยู่ ปลายทางก็คือจะเกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด ซึ่งเป็นเรื่องรุนแรงถึงตายได้ ดังนั้นถ้าเขาเห็นว่าสามวันแล้วมันก็ยังลามออกนอกวงนี้อยู่ เขาต้องรีบหาเรือไปยังศูนย์พักพิงเพื่อให้เขาส่งต่อไปรักษาในโรงพยาบาล
Spring News TV
คุณหมอมีอะไรจะพูดไปถึงผู้ชมที่อยู่ในสภาพน้ำท่วมบ้างไหมครับ
หมอสันต์
ท่านผู้ชมที่กำลังผจญน้ำท่วมทุกท่านครับ ในสภาพน้ำท่าม มีความเสี่ยงที่จะเหยียบถูกเศษแก้วเศษหินหรือเศษโลหะเกิดแผลเล็กบ้างใหญ่บ้างได้ตลอดเวลา บางทีก็เกิดขึ้นโดยเราไม่รู้ตัว ผมขอแนะนำท่านผู้ชมเฉพาะประเด็นที่สำคัญสามประเด็นคือ
ประเด็นที่ 1. การป้องกันโรคบาดทะยัก คือโรคบาดทะยักนี้เป็นง่ายในสภาพที่เท้าเราจมน้ำสกปรกอยู่อย่างนี้ โรคนี้เป็นแล้วมักจะตาย แต่มันป้องกันได้ด้วยวัคซีน ตอนที่เราเด็กๆเราได้วัคซีนป้องกันบาดทะยักมาจากโรงเรียนแล้วทุกคน ธรรมชาติของภูมิคุ้มกันมันจะหดหายไปหากไม่ได้รับการฉีดวัคซีนกระตุ้นทุกสิบปี ดังนั้นให้ท่านนึกย้อนหลังไปสักสิบปี หากสิบปีที่ผ่านมานี้ไม่ได้ฉีดวัคซีนบาดทะยักกระตุ้นเลย ขอให้ท่านขวนขวายไปรับการฉีดวัคซีนกระตุ้นที่หน่วยแพทย์หรือที่สถานีอนามัยเมื่อใดก็ตามที่ท่านมีโอกาสไปได้ ไม่ต้องรอให้มีแผลก่อน ถือโอกาสตอนน้ำท่วมนี้แหละ ไปฉีดวัคซีนบาดทะยักกระตุ้นเลย
ประเด็นที่ 2. การป้องกันไม่ให้แผลติดเชื้อ เมื่อมีแผลเกิดขึ้น สิ่งสำคัญที่สุดคือการล้างเอาเศษดินออกจากแผล ล้างด้วยน้ำสะอาดที่หาได้ หากหาไม่ได้ก็ต้องสละน้ำดื่มมาล้างแผล กัดฟันทนเจ็บเอาแปรงสีฟันขูดเศษดินออกจากแผลให้หมด ไม่ต้องใส่ยา ไม่ต้องกินยาใดๆ ล้างให้สะอาดลูกเดียว ไม่มียาใส่หรือยากินใดๆจะมาป้องกันการติดเชื้อได้เท่าการล้างแผลให้สะอาดได้
ประเด็นที่ 3. การเฝ้าระวังการติดเชื้อลุกลาม สิ่งบอกเหตุว่าการติดเชื้อนั้นลุกลามมีสามอย่างคือ
อย่างที่หนึ่ง คือ ถ้าท่านมีแผลแล้วมีไข้ด้วย นั่นแสดงว่าเชื้ออาจลุกลามเข้าไปในกระแสแล้ว ไม่ต้องรอกินยาลดไข้แล้วดูเชิง ท่านต้องขวานขวายไปหาหมอเลย
อย่างที่สองคือ ถ้ามีรอยบวมๆแดงๆหรือม่วงคล้ำๆรอบแผล แสดงว่ามีการติดเชื้อของแซลรอบแผล ให้ท่านเอาถ่านหรือปากกาขีดรอบรอยนั้นไว้ หากหลายวันผ่านไปรอยนี้มีขยายกว้างขึ้น ท่านก็ต้องรีบไปหาหมอเช่นกัน
อย่างที่สาม คือถ้าแผลที่ช้ำๆดำๆ เวลาบีบแล้วมันมีเสียงครอกแครกเหมือนมีฟองลมอยู่ข้างใน อันนั้นแสดงว่ามันอาจติดเชื้อชนิดไม่ใช้ออกซิเจน ซึ่งอันตรายและลุกลามเร็ว ท่านอย่ารอดูเชิง ให้รีบหาทางออกไปหาหมอเลยนะครับ
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์