นพ.สันต์ให้สัมภาษณ์ช่อง 9 เรื่องปัญหาสุขภาพในศูนย์พักผู้ประสบภัยน้ำท่วม
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์ ได้ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวทีวี.ช่อง 9 อสมท. เมื่อวันที่ 26 ตค. 54 ในโอกาสยกทีมแพทย์ พยาบาล และอาสาสมัคร “รวมไทยอาสา” นั่งรถยีเอ็มซีของทหารบุกน้ำไปตรวจรักษาและให้คำแนะนำผู้ประสบภัยน้ำท่วมที่ศูนย์พักพิงที่โรงเรียนบางคูลัด อำเภอบางใหญ่ จ.นนทบุรี
ผู้สื่อข่าวช่อง 9
ผู้อพยพในศูนย์นี้ส่วนใหญ่เป็นคนกลุ่มอายุไหน โรคที่พบบ่อยในศูนย์พักพิงแห่งนี้มีอะไรบ้างคะ
นพ.สันต์
ก็มีทุกกลุ่มอายุแหละครับ แต่ที่มากหน่อยก็คือกลุ่มผู้สูงอายุ เนื่องจากนี่เป็นสัปดาห์แรกหลังน้ำท่วม ถ้าไม่นับโรคน้ำกัดเท้าแล้ว โรคที่เป็นกันส่วนมากก็ยังเป็นโรคเก่าที่เป็นอยู่ก่อนน้ำท่วม ซึ่งในคนไทยสูงอายุก็หนีไม่พ้นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอันได้แก่เบาหวาน ความดัน ไขมันในเลือดสูง หัวใจขาดเลือด เป็นต้น ส่วนโรคเจ้าประจำที่มากับน้ำท่วมนั้น ระยะนี้ยังไม่มา
ผู้สื่อข่าวช่อง 9
เป็นโรคเรื้อรังก็หมายความว่าต้องมีปัญหาขาดยาหรือขาดการรักษาต่อเนื่องสิคะ
นพ.สันต์
มองเผินๆผมก็นึกว่าจะเป็นเช่นนั้น แต่ไม่เป็นแฮะ ผู้สูงอายุที่นี่ทุกท่านเอายาของตัวเองมาครบ บางคนเอายามาเป็นปี๊บ และส่วนใหญ่จำยาของตัวเองได้แม่น ทานยาได้ถูกต้อง และหมอที่โรงพยาบาลบางใหญ่ซึ่งเป็นผู้ดูแลรักษาชาวบ้านที่นี่ก็จ่ายยามาล่วงหน้ากันคนละเดือนสองเดือน ปัญหากลับเป็นเรื่องแนวทางการใช้ชีวิตประจำวันในศูนย์พักพิง
ผู้สื่อข่าวช่อง 9
หมายความว่าอย่างไรคะ แนวทางการใช้ชีวิตในศูนย์พักพิง
นพ.สันต์
คือผู้ประสบภัยน้ำท่วมจะต้องอยู่ในศูนย์พักพิงนี้ไปอีกนาน อาจนานเป็นเดือนสองเดือน แต่ว่าชีวิตประจำวันที่นี่มีปัญหาสามอย่างคือ
(1) การไม่ได้ออกกำลังกายเลย ได้แต่นั่งๆนอนๆบนเสื่อทั้งวัน นี่ผมมาทำสิ่งที่วิชาแพทย์ประจำครอบครัวเรียกว่า “เยี่ยมบ้าน” แต่ผมเรียกว่าเป็นการ “เยี่ยมเสื่อ” ก็แล้วกันนะ หลายคนโดยเฉพาะคนที่อายุมากแปดสิบกว่าเก้าสิบเริ่มจะเดินไม่ได้เพราะไม่ได้เดินมาหลายวัน ผมต้องจับลุกขึ้นมาหัดเดินใหม่ เรียกว่าทำฟื้นฟูร่างกายกันใหม่ การฟื้นฟูร่างกายนั่นแหละเป็นสิ่งที่ขาดไป
(2) เรื่องโภชนาการ คือทุกคนทานอาหารที่โรงเลี้ยงทำให้ เช้าเข้าต้ม กลางวันข้าวราด เย็บข้าวไก่ทอด อาหารเป็นคาร์โบไฮเดรตเป็นอาหารหลัก แต่มีสัดส่วนของผักและผลไม้น้อยมาก ผลไม้ก็พอมีนะครับที่มีผู้บริจาคมา อย่างกล้วยนี่มีเหลือเฟือ แต่ไม่ค่อยมีคนทาน การที่ร่างกายขาดผักและผลไม้นานๆจะทำให้ขาดวิตามินและเกลือแร่ซึ่งนำไปสู่การเจ็บป่วย และจะทำให้ขาดโปตัสเซียมซึ่งทำให้ความดันเลือดสูงควบคุมยาก นี่เป็นปัญหาที่สองของที่นี่
(3) ผู้พักพิงส่วนใหญ่มีปัญหานอนไม่หลับ ส่วนหนึ่งก็เพราะความเครียดจากการสูญเสียทำให้ฟุ้งสร้านกังวลและจิตตก แต่อีกส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะมีอาการปวดเมื่อยจากการอยู่ในท่าเดิมๆนั่งๆนอนๆซ้ำโดยไม่ได้ออกกำลังกาย ดังนั้นปัญหาสุขภาพจิตเป็นปัญหาอย่างที่สามของที่นี่
ผู้สื่อข่าวช่อง 9
แล้วคุณหมอคิดว่าผู้ประสบภัยควรทำอย่างไรคะ
นพ.สันต์
ผมคุยกับผู้ป่วยสูงอายุไปหลายคนแล้ว เรื่องการออกกำลังกายนั้น ส่วนตัว ตัวใครตัวมันก็ให้ลุกขึ้นเดิน เดินไปเดินมาทั้งวันแหละ อย่าเอาแต่นั่งๆนอนๆ จะให้ดียิ่งไปกว่านั้นก็คือรวมกันออกกำลังกายเป็นกลุ่มทุกเช้าและเย็น ม้วนเสื่อเข้าฝาก็จะได้ลานออกกำลังกายแล้ว ส่วนเรื่องโภชนาการนั้นไม่ต้องไปเริ่มที่ไหนไกล ทานกล้วยที่มีอยู่เหลือเฟือให้หมดก่อน พอมันหมดแล้วก็ค่อยคิดอ่านหาผักผลไม้มาเป็นส่วนหนึ่งของอาหารให้มากขึ้น ส่วนเรื่องสุขภาพจิตนั้นผมคิดว่าหากมีโปรแกรมการออกกำลังกายแล้ว เมื่อร่างกายหลั่งเอ็นดอร์ฟิน สุขภาพจิตทุกคนจะดีขึ้นเอง
ผู้สื่อข่าวช่อง 9
คุณหมอมีอะไรจะพูดเกี่ยวกับปัญหาของผู้ประสบภัยน้ำท่วมอีกไหมคะ
นพ.สันต์
สิ่งที่ผมจะพูด วันนี้ยังไม่เป็นปัญหา แต่คงจะเป็นปัญหาในอีกไม่กี่วันข้างหน้า คือผมสังเกตว่าการปนเปื้อนในน้ำหรือพูดง่ายๆว่าน้ำเน่าเริ่มมีให้เห็นแล้ว เมื่อเกิดน้ำเน่า ก็จะมีปัญหาโรคที่มากับน้ำเช่นโรคฉี่หนู บิด ไทฟอยด์ ตับอักเสบไวรัสเอ. อหิวาต์ ตามมา ดังนั้นโจทย์สำหรับพวกเราที่เกี่ยวข้องทุกคนก็คือทำอย่างไรจึงจะมีวิธีง่ายผลิตน้ำสะอาดให้ใช้ให้ดื่มเมื่อน้ำบรรจุขวดที่มาจากข้างนอกหมดลง เพราะว่าอีกไม่กี่วันน้ำก็จะท่วมทั้งกรุงเทพ ก็จะไม่มีใครเอาน้ำดื่มใส่ขวดเข้ามาให้ได้แล้ว มันจะต้องมีระบบเล็กที่ทำได้ที่นี่ ระบบนั้นต้องหาทางใช้ประโยชน์จากคลอรีน เพราะคลอรีนนี้เป็นอะไรที่ดีมาก เหมาะกับน้ำท่วมมาก แม้ใช้ในสัดส่วนที่ต่ำมากก็ช่วยกำจัดเชื้อโรคติดต่อทางเดินอาหารที่มากับน้ำท่วมได้เกือบหมดทุกโรค ดังนั้นนอกจากการหาทางกรองน้ำให้ใสพอที่จะนำมาใช้ได้แล้ว ยังต้องใส่คลอรีนเพื่อให้น้ำนั้นสะอาดพอที่จะดื่มได้ด้วย ผมคิดว่าหน่วยงานของรัฐน่าจะเป็นผู้จัดหาคลอรีนฟรีให้ผู้พักพิงได้มีใช้โดยสะดวก ซึ่งเป็นยุทธวิธีที่องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ใช้ และใช้ได้ผลดีแน่นอนมาแล้วในประเทศอื่นๆที่เคยมีปัญหาน้ำท่วมขนาดใหญ่ทั้งหลาย
ผู้สื่อข่าวช่อง 9
ผู้อพยพในศูนย์นี้ส่วนใหญ่เป็นคนกลุ่มอายุไหน โรคที่พบบ่อยในศูนย์พักพิงแห่งนี้มีอะไรบ้างคะ
นพ.สันต์
ก็มีทุกกลุ่มอายุแหละครับ แต่ที่มากหน่อยก็คือกลุ่มผู้สูงอายุ เนื่องจากนี่เป็นสัปดาห์แรกหลังน้ำท่วม ถ้าไม่นับโรคน้ำกัดเท้าแล้ว โรคที่เป็นกันส่วนมากก็ยังเป็นโรคเก่าที่เป็นอยู่ก่อนน้ำท่วม ซึ่งในคนไทยสูงอายุก็หนีไม่พ้นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอันได้แก่เบาหวาน ความดัน ไขมันในเลือดสูง หัวใจขาดเลือด เป็นต้น ส่วนโรคเจ้าประจำที่มากับน้ำท่วมนั้น ระยะนี้ยังไม่มา
ผู้สื่อข่าวช่อง 9
เป็นโรคเรื้อรังก็หมายความว่าต้องมีปัญหาขาดยาหรือขาดการรักษาต่อเนื่องสิคะ
นพ.สันต์
มองเผินๆผมก็นึกว่าจะเป็นเช่นนั้น แต่ไม่เป็นแฮะ ผู้สูงอายุที่นี่ทุกท่านเอายาของตัวเองมาครบ บางคนเอายามาเป็นปี๊บ และส่วนใหญ่จำยาของตัวเองได้แม่น ทานยาได้ถูกต้อง และหมอที่โรงพยาบาลบางใหญ่ซึ่งเป็นผู้ดูแลรักษาชาวบ้านที่นี่ก็จ่ายยามาล่วงหน้ากันคนละเดือนสองเดือน ปัญหากลับเป็นเรื่องแนวทางการใช้ชีวิตประจำวันในศูนย์พักพิง
ผู้สื่อข่าวช่อง 9
หมายความว่าอย่างไรคะ แนวทางการใช้ชีวิตในศูนย์พักพิง
นพ.สันต์
คือผู้ประสบภัยน้ำท่วมจะต้องอยู่ในศูนย์พักพิงนี้ไปอีกนาน อาจนานเป็นเดือนสองเดือน แต่ว่าชีวิตประจำวันที่นี่มีปัญหาสามอย่างคือ
(1) การไม่ได้ออกกำลังกายเลย ได้แต่นั่งๆนอนๆบนเสื่อทั้งวัน นี่ผมมาทำสิ่งที่วิชาแพทย์ประจำครอบครัวเรียกว่า “เยี่ยมบ้าน” แต่ผมเรียกว่าเป็นการ “เยี่ยมเสื่อ” ก็แล้วกันนะ หลายคนโดยเฉพาะคนที่อายุมากแปดสิบกว่าเก้าสิบเริ่มจะเดินไม่ได้เพราะไม่ได้เดินมาหลายวัน ผมต้องจับลุกขึ้นมาหัดเดินใหม่ เรียกว่าทำฟื้นฟูร่างกายกันใหม่ การฟื้นฟูร่างกายนั่นแหละเป็นสิ่งที่ขาดไป
(2) เรื่องโภชนาการ คือทุกคนทานอาหารที่โรงเลี้ยงทำให้ เช้าเข้าต้ม กลางวันข้าวราด เย็บข้าวไก่ทอด อาหารเป็นคาร์โบไฮเดรตเป็นอาหารหลัก แต่มีสัดส่วนของผักและผลไม้น้อยมาก ผลไม้ก็พอมีนะครับที่มีผู้บริจาคมา อย่างกล้วยนี่มีเหลือเฟือ แต่ไม่ค่อยมีคนทาน การที่ร่างกายขาดผักและผลไม้นานๆจะทำให้ขาดวิตามินและเกลือแร่ซึ่งนำไปสู่การเจ็บป่วย และจะทำให้ขาดโปตัสเซียมซึ่งทำให้ความดันเลือดสูงควบคุมยาก นี่เป็นปัญหาที่สองของที่นี่
(3) ผู้พักพิงส่วนใหญ่มีปัญหานอนไม่หลับ ส่วนหนึ่งก็เพราะความเครียดจากการสูญเสียทำให้ฟุ้งสร้านกังวลและจิตตก แต่อีกส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะมีอาการปวดเมื่อยจากการอยู่ในท่าเดิมๆนั่งๆนอนๆซ้ำโดยไม่ได้ออกกำลังกาย ดังนั้นปัญหาสุขภาพจิตเป็นปัญหาอย่างที่สามของที่นี่
ผู้สื่อข่าวช่อง 9
แล้วคุณหมอคิดว่าผู้ประสบภัยควรทำอย่างไรคะ
นพ.สันต์
ผมคุยกับผู้ป่วยสูงอายุไปหลายคนแล้ว เรื่องการออกกำลังกายนั้น ส่วนตัว ตัวใครตัวมันก็ให้ลุกขึ้นเดิน เดินไปเดินมาทั้งวันแหละ อย่าเอาแต่นั่งๆนอนๆ จะให้ดียิ่งไปกว่านั้นก็คือรวมกันออกกำลังกายเป็นกลุ่มทุกเช้าและเย็น ม้วนเสื่อเข้าฝาก็จะได้ลานออกกำลังกายแล้ว ส่วนเรื่องโภชนาการนั้นไม่ต้องไปเริ่มที่ไหนไกล ทานกล้วยที่มีอยู่เหลือเฟือให้หมดก่อน พอมันหมดแล้วก็ค่อยคิดอ่านหาผักผลไม้มาเป็นส่วนหนึ่งของอาหารให้มากขึ้น ส่วนเรื่องสุขภาพจิตนั้นผมคิดว่าหากมีโปรแกรมการออกกำลังกายแล้ว เมื่อร่างกายหลั่งเอ็นดอร์ฟิน สุขภาพจิตทุกคนจะดีขึ้นเอง
ผู้สื่อข่าวช่อง 9
คุณหมอมีอะไรจะพูดเกี่ยวกับปัญหาของผู้ประสบภัยน้ำท่วมอีกไหมคะ
นพ.สันต์
สิ่งที่ผมจะพูด วันนี้ยังไม่เป็นปัญหา แต่คงจะเป็นปัญหาในอีกไม่กี่วันข้างหน้า คือผมสังเกตว่าการปนเปื้อนในน้ำหรือพูดง่ายๆว่าน้ำเน่าเริ่มมีให้เห็นแล้ว เมื่อเกิดน้ำเน่า ก็จะมีปัญหาโรคที่มากับน้ำเช่นโรคฉี่หนู บิด ไทฟอยด์ ตับอักเสบไวรัสเอ. อหิวาต์ ตามมา ดังนั้นโจทย์สำหรับพวกเราที่เกี่ยวข้องทุกคนก็คือทำอย่างไรจึงจะมีวิธีง่ายผลิตน้ำสะอาดให้ใช้ให้ดื่มเมื่อน้ำบรรจุขวดที่มาจากข้างนอกหมดลง เพราะว่าอีกไม่กี่วันน้ำก็จะท่วมทั้งกรุงเทพ ก็จะไม่มีใครเอาน้ำดื่มใส่ขวดเข้ามาให้ได้แล้ว มันจะต้องมีระบบเล็กที่ทำได้ที่นี่ ระบบนั้นต้องหาทางใช้ประโยชน์จากคลอรีน เพราะคลอรีนนี้เป็นอะไรที่ดีมาก เหมาะกับน้ำท่วมมาก แม้ใช้ในสัดส่วนที่ต่ำมากก็ช่วยกำจัดเชื้อโรคติดต่อทางเดินอาหารที่มากับน้ำท่วมได้เกือบหมดทุกโรค ดังนั้นนอกจากการหาทางกรองน้ำให้ใสพอที่จะนำมาใช้ได้แล้ว ยังต้องใส่คลอรีนเพื่อให้น้ำนั้นสะอาดพอที่จะดื่มได้ด้วย ผมคิดว่าหน่วยงานของรัฐน่าจะเป็นผู้จัดหาคลอรีนฟรีให้ผู้พักพิงได้มีใช้โดยสะดวก ซึ่งเป็นยุทธวิธีที่องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ใช้ และใช้ได้ผลดีแน่นอนมาแล้วในประเทศอื่นๆที่เคยมีปัญหาน้ำท่วมขนาดใหญ่ทั้งหลาย