เส้นรอบพุง
ผมไปตรวจสุขภาพประจำปีมา ปีนี้มีการตรวจวัดเส้นรอบพุงด้วย ปีที่แล้วไม่มี ผมอยากถามว่าการวัดเส้นรอบพุงมีความสำคัญหรือมีความเชื่อถือได้ในแง่สุขภาพมากเพียงใด ผมสูง 165 ซม. น้ำหนัก 80 กก. เส้นรอบพุง 103 ซม
......................................
ตอบครับ
1. เส้นรอบพุงมีความสำคัญและมีความเชื่อถือได้สิครับ งานวิจัยพบว่าเส้นรอบพุงเป็นตัวบอกความเสี่ยงสุขภาพที่เป็นอิสระกับดัชนีมวลกาย หมายความว่าคนบางที่ไม่อ้วน (ดัชนีมวลกายปกติ) แต่พุงโร (เส้นรอบพุงผิดปกติ) ก็มีความเสี่ยงเป็นโรคสูงด้วย งานวิจัยในคนญี่ปุ่นที่อยู่ในอเมริกาพบว่าเส้นรอบพุงจะบอกความเสี่ยงโรคได้ดีกว่าดัชนีมวลกาย อีกงานวิจัยหนึ่งทำกับคนเอเซียที่อยู่ในอังกฤษก็ได้ผลคล้ายกันคือพบว่าคนเอเชียที่อยู่ในอังกฤษเส้นรอบพุงจะบอกความเสี่ยงสุขภาพได้ดีกว่าดัชนีมวลกาย ดังนั้นในการติดตามตัวชี้วัดสุขภาพของตัวเอง การติดตามทั้งเส้นรอบพุงและดัชนีมวลกายเป็นวิธีที่ดีกว่าการตามดูตัวใดตัวหนึ่งเพียงตัวเดียวครับ
2. ค่าปกติของเส้นรอบพุง คือชายไม่เกิน 40 นิ้ว (102 ซม.) หญิงไม่เกิน 35 นิ้ว (88 ซม.) หรือหากจะจำให้ง่ายกว่านั้น อาจจะจำว่าเส้นรอบพุงปกติไม่ควรเกินครึ่งหนึ่งของส่วนสูง เช่นของคุณสูง 165 ซม. เส้นรอบพุงก็ไม่ควรเกิน 84.5 ซม. เพราะงานวิจัยพบว่าความเสี่ยงสุขภาพเริ่มสูงขึ้นเมื่อสัดส่วนระหว่างเส้นรอบพุงและส่วนสูงเกิน 50%
3. การวัดเส้นรอบพุงให้ถูกต้องก็สำคัญ ต้องวัดระดับสะดือ ให้สายวัดขนานพื้น รัดพุงพอให้สายตึงแต่ไม่ใช่รัดติ๊ว วัดในขณะหายใจเข้าออกธรรมดา จึงจะได้ค่าที่ถูกต้อง
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
บรรณานุกรม
1. Cornier MA, Deprés JP, Davis N, et al. Assessing adiposity: a scientific statement from the American Heart Association. Circulation 2011; DOI: 10.1161/CIR0b013e318233bc6a. Available at: http://circ.ahajournals.org.
2. Fujimoto WY, Newell-Morris LL, Grote M, Bergstrom RW, Shuman WP. Visceral fat obesity and morbidity: NIDDM and atherogenic risk in Japanese-American men and women. Int J Obes. 1991;15 (Suppl2):41-44.
3. Potts J, Simmons D. Sex and ethnic group differences in fat distribution in young United Kingdom South Asians and Europids. J Clin Epidemiol. 1994;47:837-841.
......................................
ตอบครับ
1. เส้นรอบพุงมีความสำคัญและมีความเชื่อถือได้สิครับ งานวิจัยพบว่าเส้นรอบพุงเป็นตัวบอกความเสี่ยงสุขภาพที่เป็นอิสระกับดัชนีมวลกาย หมายความว่าคนบางที่ไม่อ้วน (ดัชนีมวลกายปกติ) แต่พุงโร (เส้นรอบพุงผิดปกติ) ก็มีความเสี่ยงเป็นโรคสูงด้วย งานวิจัยในคนญี่ปุ่นที่อยู่ในอเมริกาพบว่าเส้นรอบพุงจะบอกความเสี่ยงโรคได้ดีกว่าดัชนีมวลกาย อีกงานวิจัยหนึ่งทำกับคนเอเซียที่อยู่ในอังกฤษก็ได้ผลคล้ายกันคือพบว่าคนเอเชียที่อยู่ในอังกฤษเส้นรอบพุงจะบอกความเสี่ยงสุขภาพได้ดีกว่าดัชนีมวลกาย ดังนั้นในการติดตามตัวชี้วัดสุขภาพของตัวเอง การติดตามทั้งเส้นรอบพุงและดัชนีมวลกายเป็นวิธีที่ดีกว่าการตามดูตัวใดตัวหนึ่งเพียงตัวเดียวครับ
2. ค่าปกติของเส้นรอบพุง คือชายไม่เกิน 40 นิ้ว (102 ซม.) หญิงไม่เกิน 35 นิ้ว (88 ซม.) หรือหากจะจำให้ง่ายกว่านั้น อาจจะจำว่าเส้นรอบพุงปกติไม่ควรเกินครึ่งหนึ่งของส่วนสูง เช่นของคุณสูง 165 ซม. เส้นรอบพุงก็ไม่ควรเกิน 84.5 ซม. เพราะงานวิจัยพบว่าความเสี่ยงสุขภาพเริ่มสูงขึ้นเมื่อสัดส่วนระหว่างเส้นรอบพุงและส่วนสูงเกิน 50%
3. การวัดเส้นรอบพุงให้ถูกต้องก็สำคัญ ต้องวัดระดับสะดือ ให้สายวัดขนานพื้น รัดพุงพอให้สายตึงแต่ไม่ใช่รัดติ๊ว วัดในขณะหายใจเข้าออกธรรมดา จึงจะได้ค่าที่ถูกต้อง
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
บรรณานุกรม
1. Cornier MA, Deprés JP, Davis N, et al. Assessing adiposity: a scientific statement from the American Heart Association. Circulation 2011; DOI: 10.1161/CIR0b013e318233bc6a. Available at: http://circ.ahajournals.org.
2. Fujimoto WY, Newell-Morris LL, Grote M, Bergstrom RW, Shuman WP. Visceral fat obesity and morbidity: NIDDM and atherogenic risk in Japanese-American men and women. Int J Obes. 1991;15 (Suppl2):41-44.
3. Potts J, Simmons D. Sex and ethnic group differences in fat distribution in young United Kingdom South Asians and Europids. J Clin Epidemiol. 1994;47:837-841.