สัดส่วนระหว่างไขมันเลวและดี (LDL/HDL ratio) ยังใช้ได้อยู่หรือเปล่า
อาจารย์คะ แพทย์บางท่าน บอกว่า เรื่องไขมันในเลือดนี้ให้ดูที่ค่า HDL ด้วย ถ้า LDL/HDL = มากกว่า 3.5 ก็อยู่ในเกณฑ์ที่ไม่ต้องกังวล จึงควรเพิ่ม HDL และ HDL จะไปจับ LDL ไปทำลายที่ตับ
เป็นอย่างนี้ใช่มั้ยคะ
.....................................................
ตอบครับ
ผมจะตอบคุณเป็นประเด็นไปนะ เพื่อให้ท่านผู้อ่านท่านอื่นเอาไปใช้ประโยชน์ได้
1. เป็นความจริงที่พิสูจน์ได้จากงานวิจัยติดตามกลุ่มคนในชุมชนฟรามิงแฮมว่าไขมันดี (HDL) หากใครมีมากก็มีความสัมพันธ์กับการเป็นโรคน้อยลง พูดง่ายๆว่า HDL ใครมีมากก็ถือว่าดวงดีจะเป็นโรคนี้น้อย [1]
2. แล้วก็มีหมอจำนวนหนึ่งที่ชอบวิชาคณิตศาสตร์ลองเอาค่าสองค่านี้ (HDL กับ LDL) มาบวกลบคูณหารกันแล้วเอาสูตรที่คิดขึ้นได้นี้ไปเทียบกับความเสี่ยงของการเป็นโรคดู แล้วก็รายงานออกมาว่า [2-5] เฮ้ย..ย ถ้าเอา LDL ตั้งเอา HDL หาร หากได้คำตอบมากกว่า 3.5 จะสัมพันธ์กับการเป็นโรคหัวใจหลอดเลือดมากขึ้นนะ จึงได้เกิดการใช้ผลหารนี้ (LDL/HDL ratio) เป็นตัวบ่งชี้ความเสี่ยง แล้วเมื่อไม่นานมานี้ก็มีงานวิจัยหนึ่งทำที่ฟินแลนด์ชื่อ KIHD Study [6] ซึ่งติดตามดูผลหารนี้ในคน 2,616 คนเป็นเวลานาน 23 ปีแล้วรายงานว่า ฮ้า จริงนะ หากผลหารนี้ได้ค่ามากกว่า 3.5 จะสัมพันธ์กับการตายกะทันหันจากโรคหัวใจ (SCD) มากขึ้น ขณะที่หากไปดูที่ระดับไขมัน HDL หรือ LDL ทีละตัวจะไม่มีความสัมพันธ์กับการตายกะทันหันเลย จึงสรุปผลวิจัยว่าอย่ากระนั้นเลย เราเลิกใช้ค่าอื่นๆเสียเถอะ หันมาใช้ค่า LDL/HDL ratio แทนกันดีกว่า ซึ่งหมอรักษาโรคหัวใจจำนวนหนึ่งก็ศรัทธาและใช้วิธีนี้กับคนไข้ของตัวเองมาจนทุกวันนี้
3. แล้วก็ยังมีหมอที่ชอบคณิตศาสตร์อีกจำนวนหนึ่ง [7] มีความเห็นว่าหารกันไม่ดีหรอก รบกันดีกว่า เอ๊ย.. ขอโทษ พูดผิด ลบกันดีกว่า ก็จึงเอาค่าโคเลสเตอรอลรวมในเลือดตั้งแล้วเอาค่า HDL ไปลบ ได้ผลออกมาเรียกว่า non HDL cholesterol แล้วไปเทียบกับข้อมูลไขมันของผู้ป่วยในหลายๆงานวิจัยดูก็พบว่าค่านี้สัมพันธ์กับจุดจบที่เลวร้ายของโรคหัวใจมากกว่าค่าอื่นใดทั้งสิ้น ดังนั้นจึงสรุปงานวิจัยว่าควรหันมาใช้ค่าผลลบนี้แทนค่าอื่นๆดีกว่า
เอาเป็นว่าตอนนี้โดยสรุปการใช้คณิตศาสตร์รักษาไขมันสูงมีสองวิธีแล้วนะ วิธีที่หนึ่งคือใช้ผลหาร วิธีที่สองคือใช้ผลลบ หมอคนไหนชอบแบบไหนก็พากันใช้แบบนั้นกันคนไข้ของเขา เพราะนี่เป็นโลกเสรี ใครจะห้ามใครได้ละครับ
4. คำถามของคุณที่ว่าผลหาร LDL/HDL ratio นี้ใช้บอกความเสี่ยงของโรคได้ดีกว่าค่าไขมัน LDL จริงหรือไม่ ผมตอบว่าคุณอย่าไปสนใจวิธีบวกลบคูณหารของแพทย์นักคณิตศาสตร์เลยครับ สิ่งที่คุณควรสนใจคือคุณควรจะกินอย่างไรจะใช้ชีวิตอย่างไรให้ไขมันในเลือดของคุณต่ำลงมาเป็นปกติ ส่วนจะเอาค่าไขมันตัวไหนเป็นเกณฑ์นั้นผมแนะนำให้ใช้ LDL เป็นตัวชี้วัดตัวเดียวก็พอแล้ว ทั้งนี้ผมแนะนำตามคำแนะนำเวชปฏิบัติล่าสุดของสมาคมหัวใจอเมริกันและวิทยาลัยแพทย์โรคหัวใจอเมริกัน (AHA/ACC 2018 Guidelines)[8] ซึ่งได้ประมวลหลักฐานบรรดามีทั้งหลายในโลกนี้แล้วออกคำแนะนำแบบง่ายๆลุ่นๆปฏิบัติได้ทันทีว่าให้มุ่งลดไขมันเลว (LDL) ในผู้ที่ป่วยเป็นโรคหัวใจแล้วลงให้ต่ำกว่า 70 มก./ดล. โดยการปฏิบัติตัวเรื่องการกินการอยู่และการใช้ยาลดไขมัน ทั้งนี้ไม่ต้องไปเสียเวลากับการบวกลบคูณหารใดๆทั้งสิ้น
อนึ่งเพื่อเป็นการทบทวนความจำคนขี้ลืม ในแง่ของการกินอย่างไรเพื่อให้ไขมันในเลือดต่ำลง เมื่อไม่กี่วันก่อนหน้านี้ผมได้เล่าถึงงานวิจัยหนึ่ง [9] ซึ่งศึกษาไขมันในเลือดของคนกินอาหารแบบต่างๆแล้วพบว่า
- พวกกินเนื้อสัตว์ มีไขมัน LDL ในเลือดเฉลี่ย 123.43 มก./ดล.
- พวกมังสะวิรัติแบบกินนมกินไข่ (lacto-ovo) มีไขมัน LDL ในเลือดเฉลี่ย 101.47 มก./ดล.
- พวกมังสะวิรัติแบบกินนม (lacto vegetarian) มีไขมัน LDL ในเลือดเฉลี่ย 87.71 มก./ดล.
- พวกมังสะวิรัติแบบเข้มงวดไม่กินนมไม่กินไข่ (vegan) มีไขมัน LDL ในเลือดเฉลี่ย 69.28 มก./ดล.
ดังนั้นหากคุณไขมันในเลือดสูงอย่าไปทำตัวให้ยุ่งอยู่กับคณิตศาสตร์เพื่อจะได้ไม่ต้องแก้ไขนิสัยการกินของตัวเองเลย ถ้าเป็นแฟนบล็อกหมอสันต์จริงให้ทิ้งคณิตศาสตร์ไปเสีย แล้วมุ่งหน้าไปทางมังสะวิรัติลูกเดียว จะมังมากมังน้อยแต่ขอให้ไปทางมังทิศเดียว
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
บรรณานุกรม
1. Gordon T, Castelli WP, Hjortland MC, Kannel WB, Dawber TR. High density lipoprotein as a protective factor against coronary heart disease. The Framingham Study. Am J Med. 1977 May; 62(5):707-14.
2. Kannel WB: Risk stratification of dyslipidemia: insights from the Framingham Study. Curr Med Chem Cardiovasc Hematol Agents, 2005; 3: 187-193
3. Ingelsson E, Schaefer EJ, Contois JH, McNamara JR, Sullivan L, Keyes MJ, Pencina MJ, Schoonmaker C, Wilson PW, D'Agostino RB, Vasan RS: Clinical utility of different lipid measures for prediction of coronary heart disease in men and women. JAMA, 2007; 298: 776-785
4. Hsia SH, Pan D, Berookim P, Lee ML: A population-based, cross-sectional comparison of lipid-related indexes for symptoms of atherosclerotic disease. Am J Cardiol, 2006; 98: 1047-1052
5. Kastelein JJ, van der Steeg WA, Holme I, Gaffney M, Cater NB, Barter P, Deedwania P, Olsson AG, Boekholdt SM, Demicco DA, Szarek M, LaRosa JC, Pedersen TR, Grundy SM, Group TNTS, Group IS : Lipids, apolipoproteins, and their ratios in relation to cardiovascular events with statin treatment. Circulation, 2008; 117: 3002-3009
6. Kunutsor SK, Zaccardi F, Karppi J, Kurl S, Laukkanen JA. Is High Serum LDL/HDL Cholesterol Ratio an Emerging Risk Factor for Sudden Cardiac Death? Findings from the KIHD Study. J Atheroscler Thromb. 2017 Jun 1;24(6):600-608. doi: 10.5551/jat.37184. Epub 2016 Oct 26.
เป็นอย่างนี้ใช่มั้ยคะ
.....................................................
ตอบครับ
ผมจะตอบคุณเป็นประเด็นไปนะ เพื่อให้ท่านผู้อ่านท่านอื่นเอาไปใช้ประโยชน์ได้
1. เป็นความจริงที่พิสูจน์ได้จากงานวิจัยติดตามกลุ่มคนในชุมชนฟรามิงแฮมว่าไขมันดี (HDL) หากใครมีมากก็มีความสัมพันธ์กับการเป็นโรคน้อยลง พูดง่ายๆว่า HDL ใครมีมากก็ถือว่าดวงดีจะเป็นโรคนี้น้อย [1]
2. แล้วก็มีหมอจำนวนหนึ่งที่ชอบวิชาคณิตศาสตร์ลองเอาค่าสองค่านี้ (HDL กับ LDL) มาบวกลบคูณหารกันแล้วเอาสูตรที่คิดขึ้นได้นี้ไปเทียบกับความเสี่ยงของการเป็นโรคดู แล้วก็รายงานออกมาว่า [2-5] เฮ้ย..ย ถ้าเอา LDL ตั้งเอา HDL หาร หากได้คำตอบมากกว่า 3.5 จะสัมพันธ์กับการเป็นโรคหัวใจหลอดเลือดมากขึ้นนะ จึงได้เกิดการใช้ผลหารนี้ (LDL/HDL ratio) เป็นตัวบ่งชี้ความเสี่ยง แล้วเมื่อไม่นานมานี้ก็มีงานวิจัยหนึ่งทำที่ฟินแลนด์ชื่อ KIHD Study [6] ซึ่งติดตามดูผลหารนี้ในคน 2,616 คนเป็นเวลานาน 23 ปีแล้วรายงานว่า ฮ้า จริงนะ หากผลหารนี้ได้ค่ามากกว่า 3.5 จะสัมพันธ์กับการตายกะทันหันจากโรคหัวใจ (SCD) มากขึ้น ขณะที่หากไปดูที่ระดับไขมัน HDL หรือ LDL ทีละตัวจะไม่มีความสัมพันธ์กับการตายกะทันหันเลย จึงสรุปผลวิจัยว่าอย่ากระนั้นเลย เราเลิกใช้ค่าอื่นๆเสียเถอะ หันมาใช้ค่า LDL/HDL ratio แทนกันดีกว่า ซึ่งหมอรักษาโรคหัวใจจำนวนหนึ่งก็ศรัทธาและใช้วิธีนี้กับคนไข้ของตัวเองมาจนทุกวันนี้
3. แล้วก็ยังมีหมอที่ชอบคณิตศาสตร์อีกจำนวนหนึ่ง [7] มีความเห็นว่าหารกันไม่ดีหรอก รบกันดีกว่า เอ๊ย.. ขอโทษ พูดผิด ลบกันดีกว่า ก็จึงเอาค่าโคเลสเตอรอลรวมในเลือดตั้งแล้วเอาค่า HDL ไปลบ ได้ผลออกมาเรียกว่า non HDL cholesterol แล้วไปเทียบกับข้อมูลไขมันของผู้ป่วยในหลายๆงานวิจัยดูก็พบว่าค่านี้สัมพันธ์กับจุดจบที่เลวร้ายของโรคหัวใจมากกว่าค่าอื่นใดทั้งสิ้น ดังนั้นจึงสรุปงานวิจัยว่าควรหันมาใช้ค่าผลลบนี้แทนค่าอื่นๆดีกว่า
เอาเป็นว่าตอนนี้โดยสรุปการใช้คณิตศาสตร์รักษาไขมันสูงมีสองวิธีแล้วนะ วิธีที่หนึ่งคือใช้ผลหาร วิธีที่สองคือใช้ผลลบ หมอคนไหนชอบแบบไหนก็พากันใช้แบบนั้นกันคนไข้ของเขา เพราะนี่เป็นโลกเสรี ใครจะห้ามใครได้ละครับ
4. คำถามของคุณที่ว่าผลหาร LDL/HDL ratio นี้ใช้บอกความเสี่ยงของโรคได้ดีกว่าค่าไขมัน LDL จริงหรือไม่ ผมตอบว่าคุณอย่าไปสนใจวิธีบวกลบคูณหารของแพทย์นักคณิตศาสตร์เลยครับ สิ่งที่คุณควรสนใจคือคุณควรจะกินอย่างไรจะใช้ชีวิตอย่างไรให้ไขมันในเลือดของคุณต่ำลงมาเป็นปกติ ส่วนจะเอาค่าไขมันตัวไหนเป็นเกณฑ์นั้นผมแนะนำให้ใช้ LDL เป็นตัวชี้วัดตัวเดียวก็พอแล้ว ทั้งนี้ผมแนะนำตามคำแนะนำเวชปฏิบัติล่าสุดของสมาคมหัวใจอเมริกันและวิทยาลัยแพทย์โรคหัวใจอเมริกัน (AHA/ACC 2018 Guidelines)[8] ซึ่งได้ประมวลหลักฐานบรรดามีทั้งหลายในโลกนี้แล้วออกคำแนะนำแบบง่ายๆลุ่นๆปฏิบัติได้ทันทีว่าให้มุ่งลดไขมันเลว (LDL) ในผู้ที่ป่วยเป็นโรคหัวใจแล้วลงให้ต่ำกว่า 70 มก./ดล. โดยการปฏิบัติตัวเรื่องการกินการอยู่และการใช้ยาลดไขมัน ทั้งนี้ไม่ต้องไปเสียเวลากับการบวกลบคูณหารใดๆทั้งสิ้น
อนึ่งเพื่อเป็นการทบทวนความจำคนขี้ลืม ในแง่ของการกินอย่างไรเพื่อให้ไขมันในเลือดต่ำลง เมื่อไม่กี่วันก่อนหน้านี้ผมได้เล่าถึงงานวิจัยหนึ่ง [9] ซึ่งศึกษาไขมันในเลือดของคนกินอาหารแบบต่างๆแล้วพบว่า
- พวกกินเนื้อสัตว์ มีไขมัน LDL ในเลือดเฉลี่ย 123.43 มก./ดล.
- พวกมังสะวิรัติแบบกินนมกินไข่ (lacto-ovo) มีไขมัน LDL ในเลือดเฉลี่ย 101.47 มก./ดล.
- พวกมังสะวิรัติแบบกินนม (lacto vegetarian) มีไขมัน LDL ในเลือดเฉลี่ย 87.71 มก./ดล.
- พวกมังสะวิรัติแบบเข้มงวดไม่กินนมไม่กินไข่ (vegan) มีไขมัน LDL ในเลือดเฉลี่ย 69.28 มก./ดล.
ดังนั้นหากคุณไขมันในเลือดสูงอย่าไปทำตัวให้ยุ่งอยู่กับคณิตศาสตร์เพื่อจะได้ไม่ต้องแก้ไขนิสัยการกินของตัวเองเลย ถ้าเป็นแฟนบล็อกหมอสันต์จริงให้ทิ้งคณิตศาสตร์ไปเสีย แล้วมุ่งหน้าไปทางมังสะวิรัติลูกเดียว จะมังมากมังน้อยแต่ขอให้ไปทางมังทิศเดียว
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
บรรณานุกรม
1. Gordon T, Castelli WP, Hjortland MC, Kannel WB, Dawber TR. High density lipoprotein as a protective factor against coronary heart disease. The Framingham Study. Am J Med. 1977 May; 62(5):707-14.
2. Kannel WB: Risk stratification of dyslipidemia: insights from the Framingham Study. Curr Med Chem Cardiovasc Hematol Agents, 2005; 3: 187-193
3. Ingelsson E, Schaefer EJ, Contois JH, McNamara JR, Sullivan L, Keyes MJ, Pencina MJ, Schoonmaker C, Wilson PW, D'Agostino RB, Vasan RS: Clinical utility of different lipid measures for prediction of coronary heart disease in men and women. JAMA, 2007; 298: 776-785
4. Hsia SH, Pan D, Berookim P, Lee ML: A population-based, cross-sectional comparison of lipid-related indexes for symptoms of atherosclerotic disease. Am J Cardiol, 2006; 98: 1047-1052
5. Kastelein JJ, van der Steeg WA, Holme I, Gaffney M, Cater NB, Barter P, Deedwania P, Olsson AG, Boekholdt SM, Demicco DA, Szarek M, LaRosa JC, Pedersen TR, Grundy SM, Group TNTS, Group IS : Lipids, apolipoproteins, and their ratios in relation to cardiovascular events with statin treatment. Circulation, 2008; 117: 3002-3009
6. Kunutsor SK, Zaccardi F, Karppi J, Kurl S, Laukkanen JA. Is High Serum LDL/HDL Cholesterol Ratio an Emerging Risk Factor for Sudden Cardiac Death? Findings from the KIHD Study. J Atheroscler Thromb. 2017 Jun 1;24(6):600-608. doi: 10.5551/jat.37184. Epub 2016 Oct 26.
7. Salim S. Virani. Non-HDL Cholesterol as a Metric of Good Quality of Care
Opportunities and Challenges. Texus Heart Inst J. 2011; 38(2): 160–162. PMCID: PMC3066801
PMID: 21494527
8. 2018 ACC/AHA/AACVPR/AAPA/ABC/ACPM/ADA/AGS/ APhA/ASPC/NLA/PCNA Guideline on the Management of Blood Cholesterol: A Report of the American College of Cardiology Foundation/American Heart Association Task Force on Clinical Practice Guidelines. J Am Coll Cardiol 2018;Nov 10:[Epub ahead of print].
9. De Biase SG1, Fernandes SF, Gianini RJ, Duarte JL. Vegetarian diet and cholesterol and triglycerides levels. Arq Bras Cardiol. 2007 Jan;88(1):35-9.
9. De Biase SG1, Fernandes SF, Gianini RJ, Duarte JL. Vegetarian diet and cholesterol and triglycerides levels. Arq Bras Cardiol. 2007 Jan;88(1):35-9.