วันสงกรานต์..ตรงไหนนะที่เป็นจุดเปลี่ยนระหว่างสองโลก
วันนี้วันสงกรานต์ งดตอบจะหมายนะครับ แต่จะลงเรื่องที่หมอสันต์พูดกับสมาชิกแค้มป์ Spiritual Retreat แทน เผื่อท่านผู้อ่านจะเอาไปประยุกต์ใช้กับชีวิตในปีใหม่ได้
"..นั่งตามสบายนะ ไม่ต้องสำรวม ที่นี่ไม่ใช่วัด และผมก็ไม่ใช่สมภาร ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้หญิงหรือผู้ชายคุณเหยียดเท้าตรงมาหาผมได้ เพราะถ้าเหยียดเท้าไปทางอื่นคอของคุณก็จะบิดและเมื่อย ผมไม่ mind เรื่องการแต่งกายว่าจะเรียบร้อยไม่เรียบร้อย ไม่ต้องกลัวผมตื่นเต้น เพราะผมคุ้นกับฝรั่งมังค่าที่ยอดจะไม่เรียบร้อยมาแยะพอควร ที่นี่ไม่มี dress code ให้ทำตัวตามสบาย ตัวผมเองไม่ได้มีฐานะเป็นครูหรือเป็นอาจารย์ ผมเป็นแค่เพื่อนของทุกๆคนเท่านั้น การคุยกันในแค้มป์นี้จะเป็นการคุยกันอย่างเพื่อน คุยกันอย่างคนคุยกับคน
คุณอาจต้องทนรำคาญผมหน่อยนะ ที่ระยะหลังมานี้ผมเนิบนาบเชื่องช้าลง ไม่ใช่เป็นเพราะว่าผมแก่แล้ววางฟอร์ม เปล่าเลย ผมเจตนาคุยกับคุณแบบเพื่อนคุยกับเพื่อน ไม่มีฟอร์ม แต่เป็นเพราะว่าการคุยกันในแค้มป์นี้หากเป็นเรื่องทางจิตวิญญาณผมไม่ได้คุยจากโผที่เตรียมไว้ เพราะนี่มันไม่ใช่เล็คเชอร์หรือการปราศัยหาเสียงหรือการปลุกระดมมวลชน มันเป็นการแลกเปลี่ยนกันของสมาชิกสมาคมผู้เสาะหาความหลุดพ้น
ทุกคนคือคนที่มีศักยภาพที่จะหลุดพ้นจากกรงความคิดของตัวเองไปสู่ศักยภาพไร้ขอบเขตที่มนุษย์คนหนึ่งจะพึงมี ดังนั้นเมื่อผมพูดกับคุณผมพูดด้วยความเคารพนับถืออย่างยิ่งในความเป็นคนผู้มีศักยภาพที่จะหลุดพ้น ด้วยความรักเมตตาอย่างยิ่ง ว่าทำอย่างไรผมกับคุณจึงจะเกี่ยวก้อยกันไปสู่ความหลุดพ้นได้ ดังนั้นเวลาผมพูด ผมตัังใจมองดูหน้าคุณ ตั้งใจฟังคำถามของคุณ แล้วก็ค่อยๆพูดไปตามสิ่งที่โผล่ขึ้นมาในหัวใจของผม ณ ขณะนั้น บางจังหวะไม่มีอะไรโผล่ขึ้นมาในใจเลย ผมก็ไม่มีอะไรจะพูด มันก็เลยดูเหมือนผมอ้ำๆอึ้งๆติดๆขัดๆ แต่ผมก็อยากจะรักษาวิธีพูดไปตามสิ่งที่เกิดขึ้นเองสดๆจากหัวใจนี้เอาไว้ คือมันกลายเป็นสไตล์ของผมไปเสียแล้ว
เพราะสิ่งที่ผมอยากจะสื่อจากใจผมไปถึงใจคุณนั้นส่วนใหญ่มันสื่อเป็นคำพูดไม่ได้ บางครั้งผมพูดสื่อเนื้อเรื่องได้ครึ่งเดียว เมื่อผมชงักนิ่งสนิทอยู่กลางความเงียบไม่รู้จะพูดคำไหนต่อดี คุณก็ต้องมาอยู่ในความเงียบเดียวกับผม อยู่นิ่งๆ เงียบๆ โดยไม่ต้องคิดคาดเดาว่าคำต่อไปคุณจะได้ยินคำว่าอะไรบ้าง แค่อยู่นิ่งๆเงียบๆ เมื่อเราต่างนิ่งๆเงียบๆอยู่ในความว่างเดียวกัน มันมีโอกาสที่สิ่งที่สื่อเป็นคำพูดไม่ได้แต่มันมากับคำพูดเสมือนเงาหรือกลิ่นอโรมาที่ตามคำพูดมานั้น มันจะลอยอ้อยอิ่งอยู่ในความว่างนั้นแล้วอีกฝ่ายหนึ่งก็รับเอาไปได้
เวลาผมคุยกับคุณผมไม่ได้พยายามคลี่ตรรกะหรือคอนเซ็พท์ของเนื้อหาภาษาให้เชาว์ปัญญาของคุณเห็นคล้อยตามนะ ไม่เลย สิ่งที่ผมอยากจะสื่อให้คุณไม่ใช่สิ่งที่ภาษาจะสื่อได้ สิ่งที่ผมพยายามจะทำเป็นเสมือนเราโอบกอดกันด้วยเมตตาธรรมในใจทั้งของทั้งสองฝ่ายมากกว่า
แล้วก็มันจะมีอยู่เสมอที่อยู่ๆในใจผมก็มีอะไรสาระพัดพร่างพรูออกมา หมายความว่าบ่อยครั้งที่ผมพูดไถลออกไปนอกประเด็นที่เราคุยกันแบบเบ๊อะบ๊ะเฟอะฟะ ให้คุณทักท้วงหรือ remind ผมได้ มิฉะนั้นเราอาจไม่สามารถจบประเด็นที่เราคุยกันได้ในเวลาอันควร
เรื่องที่จะพูดกันมันมีมากมายเหลือเกิน แต่กลับไม่รู้จะพูดอะไร ผมเองรู้สึกว่าตัวเองมีชีวิตอยู่ในสองโลก คือโลกของภาษา กับโลกที่ไม่มีภาษา ผมกำลังเรียนรู้ที่จะหาวิธีกลางๆที่เราจะสื่อสารกันและพากันไปให้ได้
โลกที่มีภาษาก็คือความคิด โลกที่ไม่มีภาษาก็คือโลกของคลื่นความสั่นสะเทือนหรือพลังงานซึ่งก็คือความรู้ตัวขณะไม่มีความคิด แล้วตรงไหนของชีวิตละที่เราจะเดินข้ามไปมาระหว่างโลกทั้งสองได้
ผมพูดบ่อยๆว่าชีวิตแบ่งเป็นสามส่วน คือร่างกาย (body) ความคิด (thought) และความรู้ตัว (consciousness) โดยที่มีความสนใจหรือสติ (attention) เป็นแขนของความรู้ตัวคอยวิ่งรอกไปมาในระหว่างทั้งสามส่วนนี้ เมื่อพยายามมองทั้งสามส่วนนี้ มันแทบมองไม่เห็นเลยว่าจะมุดเข้าตรงไหนจึงจะไปยืนอยู่จุดเปลี่ยนระหว่างโลกของภาษากับโลกของคลื่นความสั่นสะเทือนได้
ผู้รู้แต่โบราณแบ่งชีวิตออกยิบย่อยกว่าที่ผมแบ่งนี้ ยกตัวอย่างเช่นเฉพาะส่วนของร่างกาย ปราชญ์ก็ยังแบ่งย่อยออกเป็นอีกสองระดับความละเอียด คือ
(1) ร่างกายตันๆนี้ (form หรือ รูป) กับ
(2) พลังงานที่เป็นพื้นฐานคอยขับเคลื่อนร่างกายนี้อยู่ (ปราณ หรือ ชี่) แต่ว่าความสนใจหรือสติของเราไม่สามารถรับรู้พลังงานนี้ตรงๆได้ ได้แต่รับรู้ความรู้สึกบนร่างกาย ที่ภาษาบาลีเรียกว่า "เวทนา" (feeling) ซึ่งเกิดจากการมีอยู่หรือการเคลื่อนไหวของพลังงานนี้เช่นความรู้สึกวูบๆวาบๆจี๊ดๆจ๊าดๆเหน็บๆชาๆบนผิวหนัง
นั่นก็คือในทางปฏิบัติเฉพาะร่างกายถูกแบ่งย่อยลงไปอีกเป็นเป็นสองชั้นแล้ว คือ รูป (form) และเวทนา (feeling)
ส่วนของความคิดนั้น หากวิเคราะห์ด้วยเหตุผลแห่งตรรกะ ความคิดมีองค์ประกอบพื้นฐานหลักๆสามอย่างเท่านั้น คือ
(1) ความจำ (memory)
(2) ความเชื่อเรื่องเวลาในใจ (psychological time)
(3) ความเชื่อว่าความเป็นบุคคล (identity) ของเรานี้เป็นของจริงที่คงอยู่อย่างถาวร
ถ้าดูให้ดีอย่างที่สองและสามล้วนเป็นความเชื่อซึ่งก็คือความคิดนั่นเอง แต่ "ความจำ" เป็นสิ่งที่แปลกแยกออกไปเล็กน้อย ปราชญ์โบราณบางท่านจึงจัดให้ความจำเป็นอีกชั้นหนึ่งของชีวิต แยกออกมาจากความคิด
ก็เท่ากับว่าไล่มาถึงตอนนี้ชีวิตมีห้าส่วนแล้วนะ คือ ร่างกาย (body), ความรู้สึกบนร่างกาย (feeling), ความจำ (memory), ความคิด (thought) และความรู้ตัว (consciousness)
ยังมีอีกนะ ปราชญ์บางศาสนายังเพิ่มส่วนที่หกเข้ามาด้วยการแยกชั้นของความคิดให้ยิบย่อยลงไปอีก คือนอกจากจะประกอบด้วย "ความจำ" และตัว "ความคิด" ที่ปรุงแต่งขึ้นมาจากสำนึกว่าเป็นบุคคลและความเชื่อว่าเวลามีจริงแล้ว ยังมีความคิดอีกแบบหนึ่งที่จะโผล่ขึ้นมาเมื่อความคิดปรุงแต่งดับหมดเกลี้ยงลงไปแล้ว เรียกว่า "ปัญญาญาณ (intuition)" จะว่าเป็นความคิดก็ไม่ใช่เพราะไม่ได้คิดขึ้นมา มันมาเอง จะว่าเป็นความรู้ตัวก็ไม่ใช่ เพราะมันถูกสังเกตได้โดยความรู้ตัว ปราชญ์บางท่านจึงจัดให้ปัญญาญาณนี้เป็นอีกชั้นหนึ่งของชีวิตแทรกอยู่ระหว่างความคิดกับความรู้ตัว อ้าว นับไปนับมาชีวิตมีหกส่วนแล้วนะ
ยังมีอีกนะ ในส่วนของความรู้ตัว ปราชญ์บางศาสนาบางนิกายก็เอามาแยกย่อยเป็นความรู้ตัวที่รับรู้ผ่านอายตนะอันจำกัดของร่างกาย (individual consciousness) กับความรู้ตัวที่ลึกละเอียดและเป็นหนึ่งเดียวกับพลังงานพื้นฐานของจักรวาลนี้ (cosmic consciousness) ที่รับรู้ทุกอย่างได้ไม่มีขอบเขตสิ้นสุด เท่ากับว่าคราวนี้ชีวิตมีเจ็ดส่วนเข้าไปแล้ว ซึ่งบางส่วนเราก็ได้แต่ฟังหูไว้หู อย่าเพิ่ง "เชื่อ" หรืออย่าเพิ่ง "ไม่เชื่อ" เพราะเรายังไม่รู้ว่ามีอยู่จริงหรือไม่ ต้องรอไปประสบเอาเอง
ผมคุยพล่ามเรื่อยเจื้อย ไม่เห็นมีใครทักท้วงผมเลยว่าเมื่อไหร่จะเข้าประเด็นสักที ประเด็นก็คือทั้งๆที่เรามีเครื่องมือสำคัญคือความสนใจหรือสติที่สามารถโลดแล่นไปสนใจได้ทุกที่อยู่แล้วนี้ แต่ที่ตรงไหนของชีวิตนะ ที่เป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างโลกของภาษากับโลกไร้ภาษาที่มีแต่คลื่นความสั่นสะเทือน
การจะออกจากโลกของภาษาได้จะต้องถอยความสนใจออกมาจากความคิด ต้องวางความคิดลงไปให้หมดก่อน การจะเข้าไปอยู่ในคลื่นความสั่นสะเทือนได้นอกจากจะออกมาจากความคิดได้แล้วยังต้องถอยความสนใจออกจากร่างกายนี้ด้วย แล้วจะเอาความสนใจไปจ่อไว้ตรงไหนละ ส่วนไหนของชีวิตทั้งเจ็ดส่วนที่ไม่ใช่ความคิด และไม่ใช่ร่างกาย ที่ให้ความสนใจไปจดจ่อได้โดยไม่ยุ่งกับภาษา คำตอบก็คือที่เวทนา (feeling) นั่นไง ตรงนั้นเป็นเพียงคลื่นความสั่นสะเทือนที่ไม่มีความคิด ถ้าจ่ออยู่ตรงนั้นได้จนความคิดหมดเกลี้ยง อย่างน้อยคุณก็จะสงบเย็น ปัญญาญาณก็จะเกิดขึ้นโดยง่าย การจะเห็นสิ่งต่างๆตามที่มันเป็นโดยไม่มีภาษาเกี่ยวข้องก็เป็นไปได้ และโอกาสหลุดพ้นจากอิทธิพลของความคิดอย่างถาวรก็จะตามมา
แล้วทำอย่างไรจะจ่อความสนใจอยู่ที่เวทนา (feeling) ได้ละ อย่างน้อยคุณต้องทำสองอย่าง คือ
(1) คุณต้องลาดตระเวณความสนใจไปตามร่างกาย (body scan) ให้เป็น เรียกว่าบ่มเลี้ยงความรู้ตัวทั่วพร้อมไว้ตลอดเวลา
(2) คุณต้องผ่อนคลายร่างกาย (relaxation) ให้เป็น เพราะการจะรับรู้ความรู้สึกบนร่างกายซึ่งเกิดจากคลื่นความสั่นสะเทือนของ "ปราณา" หรือ "ชี่" ซึ่งเป็นของแผ่วเบาละเอียดอ่อนได้นั้น คุณจะต้องปิดสวิสต์คลื่นไฟฟ้าหรือกระแสประสาททั่วร่างกายซึ่งเป็นคลื่นที่โดดเด่นและชัดแรงกว่าเสียก่อน ด้วยการผ่อนคลายร่างกายลงให้สุดๆ
พอคุณจ่ออยู่ที่เวทนา (feeling) ได้สำเร็จ ความคิดทั้งหลายที่ต่อคิวเกิดจะถูกบล็อกโดยอัตโนมัติ เพราะกลไกการเกิดความคิดนี้ ถ้าคุณตามให้ทันก็จะเห็นว่าทุกความคิดล้วนเกิดขึ้นต่อยอดความรู้สึกบนร่างกายหรือเวทนานี้ทั้งสิ้น ตราบใดที่คุณจ่ออยู่กับเวทนาไม่ว่อกแว่กไปไหน ตราบนั้นความคิดจะเกิดไม่ได้
สี่วันที่อยู่ด้วยกันนี้ คุณเอาแค่นี้พอ ถอยความสนใจออกมาจากความคิด มาจ่ออยู่ที่เวทนา (feeling) ด้วยเทคนิค body scan และ relaxation เมื่อหมดความคิดจนจิตเป็นสมาธิดีแล้ว ปัญญาญาณจะชี้นำคุณไปต่อเอง โดยที่คุณไม่ต้องไปรู้ล่วงหน้าว่ามันจะเกิดอะไรบ้าง เพราะรู้ไปมันก็ไม่เหมือนหรือไม่ใช่ของที่คุณจะประสบจริง เพราะของที่คุณจะประสบจริงเป็นคลื่นความสั่นสะเทือน แต่สิ่งที่คุณขอรู้ล่วงหน้านั้นเป็นภาษา มันจะไปเหมือนกันได้อย่างไร
ทั้งนี้ทั้งนั้นสี่วันนี้ผมเน้นประเด็นหนึ่งนะ ว่าอย่าไปฝันหาความต่อเนื่อง เพราะนั่นเป็นภาพหลอนของคอนเซ็พท์เรื่องเวลา ให้คุณเอาแค่เดี๋ยวนี้ ทีละเดี๋ยวนี้ ผมให้หนึ่งเดี๋ยวนี้อย่างยาวที่สุดก็แค่หนึ่งลมหายใจเข้าออก อย่าให้แต่ละเดี๋ยวนี้ของคุณนานกว่านั้น อย่าพูดถึงอีกหนึ่งนาทีข้างหน้าหรืออีกหนึ่งชั่วโมงข้างหน้า ยิ่งชาติหน้ายิ่งไม่ต้องไปพูดถึงเลย เพราะคุณจะไม่หลุดพ้นไปไหนหากคุณเผลอหลุดจากเดี๋ยวนี้ เอาแค่เดี๋ยวนี้พอ ทีละเดี๋ยวนี้ ทีละช็อต ทีละช็อต อดีตอนาคตไม่มี เมื่อใดที่คุณประสบความสำเร็จที่เดี๋ยวนี้ คุณก็จะประสบความสำเร็จในการใช้ชีวิต เพราะชีวิตทั้งชีวิตก็มีแต่เดี๋ยวนี้แค่นั้น เดี๋ยวอื่นไม่มี.."
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
"..นั่งตามสบายนะ ไม่ต้องสำรวม ที่นี่ไม่ใช่วัด และผมก็ไม่ใช่สมภาร ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้หญิงหรือผู้ชายคุณเหยียดเท้าตรงมาหาผมได้ เพราะถ้าเหยียดเท้าไปทางอื่นคอของคุณก็จะบิดและเมื่อย ผมไม่ mind เรื่องการแต่งกายว่าจะเรียบร้อยไม่เรียบร้อย ไม่ต้องกลัวผมตื่นเต้น เพราะผมคุ้นกับฝรั่งมังค่าที่ยอดจะไม่เรียบร้อยมาแยะพอควร ที่นี่ไม่มี dress code ให้ทำตัวตามสบาย ตัวผมเองไม่ได้มีฐานะเป็นครูหรือเป็นอาจารย์ ผมเป็นแค่เพื่อนของทุกๆคนเท่านั้น การคุยกันในแค้มป์นี้จะเป็นการคุยกันอย่างเพื่อน คุยกันอย่างคนคุยกับคน
คุณอาจต้องทนรำคาญผมหน่อยนะ ที่ระยะหลังมานี้ผมเนิบนาบเชื่องช้าลง ไม่ใช่เป็นเพราะว่าผมแก่แล้ววางฟอร์ม เปล่าเลย ผมเจตนาคุยกับคุณแบบเพื่อนคุยกับเพื่อน ไม่มีฟอร์ม แต่เป็นเพราะว่าการคุยกันในแค้มป์นี้หากเป็นเรื่องทางจิตวิญญาณผมไม่ได้คุยจากโผที่เตรียมไว้ เพราะนี่มันไม่ใช่เล็คเชอร์หรือการปราศัยหาเสียงหรือการปลุกระดมมวลชน มันเป็นการแลกเปลี่ยนกันของสมาชิกสมาคมผู้เสาะหาความหลุดพ้น
ทุกคนคือคนที่มีศักยภาพที่จะหลุดพ้นจากกรงความคิดของตัวเองไปสู่ศักยภาพไร้ขอบเขตที่มนุษย์คนหนึ่งจะพึงมี ดังนั้นเมื่อผมพูดกับคุณผมพูดด้วยความเคารพนับถืออย่างยิ่งในความเป็นคนผู้มีศักยภาพที่จะหลุดพ้น ด้วยความรักเมตตาอย่างยิ่ง ว่าทำอย่างไรผมกับคุณจึงจะเกี่ยวก้อยกันไปสู่ความหลุดพ้นได้ ดังนั้นเวลาผมพูด ผมตัังใจมองดูหน้าคุณ ตั้งใจฟังคำถามของคุณ แล้วก็ค่อยๆพูดไปตามสิ่งที่โผล่ขึ้นมาในหัวใจของผม ณ ขณะนั้น บางจังหวะไม่มีอะไรโผล่ขึ้นมาในใจเลย ผมก็ไม่มีอะไรจะพูด มันก็เลยดูเหมือนผมอ้ำๆอึ้งๆติดๆขัดๆ แต่ผมก็อยากจะรักษาวิธีพูดไปตามสิ่งที่เกิดขึ้นเองสดๆจากหัวใจนี้เอาไว้ คือมันกลายเป็นสไตล์ของผมไปเสียแล้ว
เพราะสิ่งที่ผมอยากจะสื่อจากใจผมไปถึงใจคุณนั้นส่วนใหญ่มันสื่อเป็นคำพูดไม่ได้ บางครั้งผมพูดสื่อเนื้อเรื่องได้ครึ่งเดียว เมื่อผมชงักนิ่งสนิทอยู่กลางความเงียบไม่รู้จะพูดคำไหนต่อดี คุณก็ต้องมาอยู่ในความเงียบเดียวกับผม อยู่นิ่งๆ เงียบๆ โดยไม่ต้องคิดคาดเดาว่าคำต่อไปคุณจะได้ยินคำว่าอะไรบ้าง แค่อยู่นิ่งๆเงียบๆ เมื่อเราต่างนิ่งๆเงียบๆอยู่ในความว่างเดียวกัน มันมีโอกาสที่สิ่งที่สื่อเป็นคำพูดไม่ได้แต่มันมากับคำพูดเสมือนเงาหรือกลิ่นอโรมาที่ตามคำพูดมานั้น มันจะลอยอ้อยอิ่งอยู่ในความว่างนั้นแล้วอีกฝ่ายหนึ่งก็รับเอาไปได้
เวลาผมคุยกับคุณผมไม่ได้พยายามคลี่ตรรกะหรือคอนเซ็พท์ของเนื้อหาภาษาให้เชาว์ปัญญาของคุณเห็นคล้อยตามนะ ไม่เลย สิ่งที่ผมอยากจะสื่อให้คุณไม่ใช่สิ่งที่ภาษาจะสื่อได้ สิ่งที่ผมพยายามจะทำเป็นเสมือนเราโอบกอดกันด้วยเมตตาธรรมในใจทั้งของทั้งสองฝ่ายมากกว่า
แล้วก็มันจะมีอยู่เสมอที่อยู่ๆในใจผมก็มีอะไรสาระพัดพร่างพรูออกมา หมายความว่าบ่อยครั้งที่ผมพูดไถลออกไปนอกประเด็นที่เราคุยกันแบบเบ๊อะบ๊ะเฟอะฟะ ให้คุณทักท้วงหรือ remind ผมได้ มิฉะนั้นเราอาจไม่สามารถจบประเด็นที่เราคุยกันได้ในเวลาอันควร
เรื่องที่จะพูดกันมันมีมากมายเหลือเกิน แต่กลับไม่รู้จะพูดอะไร ผมเองรู้สึกว่าตัวเองมีชีวิตอยู่ในสองโลก คือโลกของภาษา กับโลกที่ไม่มีภาษา ผมกำลังเรียนรู้ที่จะหาวิธีกลางๆที่เราจะสื่อสารกันและพากันไปให้ได้
โลกที่มีภาษาก็คือความคิด โลกที่ไม่มีภาษาก็คือโลกของคลื่นความสั่นสะเทือนหรือพลังงานซึ่งก็คือความรู้ตัวขณะไม่มีความคิด แล้วตรงไหนของชีวิตละที่เราจะเดินข้ามไปมาระหว่างโลกทั้งสองได้
ผมพูดบ่อยๆว่าชีวิตแบ่งเป็นสามส่วน คือร่างกาย (body) ความคิด (thought) และความรู้ตัว (consciousness) โดยที่มีความสนใจหรือสติ (attention) เป็นแขนของความรู้ตัวคอยวิ่งรอกไปมาในระหว่างทั้งสามส่วนนี้ เมื่อพยายามมองทั้งสามส่วนนี้ มันแทบมองไม่เห็นเลยว่าจะมุดเข้าตรงไหนจึงจะไปยืนอยู่จุดเปลี่ยนระหว่างโลกของภาษากับโลกของคลื่นความสั่นสะเทือนได้
ผู้รู้แต่โบราณแบ่งชีวิตออกยิบย่อยกว่าที่ผมแบ่งนี้ ยกตัวอย่างเช่นเฉพาะส่วนของร่างกาย ปราชญ์ก็ยังแบ่งย่อยออกเป็นอีกสองระดับความละเอียด คือ
(1) ร่างกายตันๆนี้ (form หรือ รูป) กับ
(2) พลังงานที่เป็นพื้นฐานคอยขับเคลื่อนร่างกายนี้อยู่ (ปราณ หรือ ชี่) แต่ว่าความสนใจหรือสติของเราไม่สามารถรับรู้พลังงานนี้ตรงๆได้ ได้แต่รับรู้ความรู้สึกบนร่างกาย ที่ภาษาบาลีเรียกว่า "เวทนา" (feeling) ซึ่งเกิดจากการมีอยู่หรือการเคลื่อนไหวของพลังงานนี้เช่นความรู้สึกวูบๆวาบๆจี๊ดๆจ๊าดๆเหน็บๆชาๆบนผิวหนัง
นั่นก็คือในทางปฏิบัติเฉพาะร่างกายถูกแบ่งย่อยลงไปอีกเป็นเป็นสองชั้นแล้ว คือ รูป (form) และเวทนา (feeling)
ส่วนของความคิดนั้น หากวิเคราะห์ด้วยเหตุผลแห่งตรรกะ ความคิดมีองค์ประกอบพื้นฐานหลักๆสามอย่างเท่านั้น คือ
(1) ความจำ (memory)
(2) ความเชื่อเรื่องเวลาในใจ (psychological time)
(3) ความเชื่อว่าความเป็นบุคคล (identity) ของเรานี้เป็นของจริงที่คงอยู่อย่างถาวร
ถ้าดูให้ดีอย่างที่สองและสามล้วนเป็นความเชื่อซึ่งก็คือความคิดนั่นเอง แต่ "ความจำ" เป็นสิ่งที่แปลกแยกออกไปเล็กน้อย ปราชญ์โบราณบางท่านจึงจัดให้ความจำเป็นอีกชั้นหนึ่งของชีวิต แยกออกมาจากความคิด
ก็เท่ากับว่าไล่มาถึงตอนนี้ชีวิตมีห้าส่วนแล้วนะ คือ ร่างกาย (body), ความรู้สึกบนร่างกาย (feeling), ความจำ (memory), ความคิด (thought) และความรู้ตัว (consciousness)
ยังมีอีกนะ ปราชญ์บางศาสนายังเพิ่มส่วนที่หกเข้ามาด้วยการแยกชั้นของความคิดให้ยิบย่อยลงไปอีก คือนอกจากจะประกอบด้วย "ความจำ" และตัว "ความคิด" ที่ปรุงแต่งขึ้นมาจากสำนึกว่าเป็นบุคคลและความเชื่อว่าเวลามีจริงแล้ว ยังมีความคิดอีกแบบหนึ่งที่จะโผล่ขึ้นมาเมื่อความคิดปรุงแต่งดับหมดเกลี้ยงลงไปแล้ว เรียกว่า "ปัญญาญาณ (intuition)" จะว่าเป็นความคิดก็ไม่ใช่เพราะไม่ได้คิดขึ้นมา มันมาเอง จะว่าเป็นความรู้ตัวก็ไม่ใช่ เพราะมันถูกสังเกตได้โดยความรู้ตัว ปราชญ์บางท่านจึงจัดให้ปัญญาญาณนี้เป็นอีกชั้นหนึ่งของชีวิตแทรกอยู่ระหว่างความคิดกับความรู้ตัว อ้าว นับไปนับมาชีวิตมีหกส่วนแล้วนะ
ยังมีอีกนะ ในส่วนของความรู้ตัว ปราชญ์บางศาสนาบางนิกายก็เอามาแยกย่อยเป็นความรู้ตัวที่รับรู้ผ่านอายตนะอันจำกัดของร่างกาย (individual consciousness) กับความรู้ตัวที่ลึกละเอียดและเป็นหนึ่งเดียวกับพลังงานพื้นฐานของจักรวาลนี้ (cosmic consciousness) ที่รับรู้ทุกอย่างได้ไม่มีขอบเขตสิ้นสุด เท่ากับว่าคราวนี้ชีวิตมีเจ็ดส่วนเข้าไปแล้ว ซึ่งบางส่วนเราก็ได้แต่ฟังหูไว้หู อย่าเพิ่ง "เชื่อ" หรืออย่าเพิ่ง "ไม่เชื่อ" เพราะเรายังไม่รู้ว่ามีอยู่จริงหรือไม่ ต้องรอไปประสบเอาเอง
ผมคุยพล่ามเรื่อยเจื้อย ไม่เห็นมีใครทักท้วงผมเลยว่าเมื่อไหร่จะเข้าประเด็นสักที ประเด็นก็คือทั้งๆที่เรามีเครื่องมือสำคัญคือความสนใจหรือสติที่สามารถโลดแล่นไปสนใจได้ทุกที่อยู่แล้วนี้ แต่ที่ตรงไหนของชีวิตนะ ที่เป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างโลกของภาษากับโลกไร้ภาษาที่มีแต่คลื่นความสั่นสะเทือน
การจะออกจากโลกของภาษาได้จะต้องถอยความสนใจออกมาจากความคิด ต้องวางความคิดลงไปให้หมดก่อน การจะเข้าไปอยู่ในคลื่นความสั่นสะเทือนได้นอกจากจะออกมาจากความคิดได้แล้วยังต้องถอยความสนใจออกจากร่างกายนี้ด้วย แล้วจะเอาความสนใจไปจ่อไว้ตรงไหนละ ส่วนไหนของชีวิตทั้งเจ็ดส่วนที่ไม่ใช่ความคิด และไม่ใช่ร่างกาย ที่ให้ความสนใจไปจดจ่อได้โดยไม่ยุ่งกับภาษา คำตอบก็คือที่เวทนา (feeling) นั่นไง ตรงนั้นเป็นเพียงคลื่นความสั่นสะเทือนที่ไม่มีความคิด ถ้าจ่ออยู่ตรงนั้นได้จนความคิดหมดเกลี้ยง อย่างน้อยคุณก็จะสงบเย็น ปัญญาญาณก็จะเกิดขึ้นโดยง่าย การจะเห็นสิ่งต่างๆตามที่มันเป็นโดยไม่มีภาษาเกี่ยวข้องก็เป็นไปได้ และโอกาสหลุดพ้นจากอิทธิพลของความคิดอย่างถาวรก็จะตามมา
แล้วทำอย่างไรจะจ่อความสนใจอยู่ที่เวทนา (feeling) ได้ละ อย่างน้อยคุณต้องทำสองอย่าง คือ
(1) คุณต้องลาดตระเวณความสนใจไปตามร่างกาย (body scan) ให้เป็น เรียกว่าบ่มเลี้ยงความรู้ตัวทั่วพร้อมไว้ตลอดเวลา
(2) คุณต้องผ่อนคลายร่างกาย (relaxation) ให้เป็น เพราะการจะรับรู้ความรู้สึกบนร่างกายซึ่งเกิดจากคลื่นความสั่นสะเทือนของ "ปราณา" หรือ "ชี่" ซึ่งเป็นของแผ่วเบาละเอียดอ่อนได้นั้น คุณจะต้องปิดสวิสต์คลื่นไฟฟ้าหรือกระแสประสาททั่วร่างกายซึ่งเป็นคลื่นที่โดดเด่นและชัดแรงกว่าเสียก่อน ด้วยการผ่อนคลายร่างกายลงให้สุดๆ
พอคุณจ่ออยู่ที่เวทนา (feeling) ได้สำเร็จ ความคิดทั้งหลายที่ต่อคิวเกิดจะถูกบล็อกโดยอัตโนมัติ เพราะกลไกการเกิดความคิดนี้ ถ้าคุณตามให้ทันก็จะเห็นว่าทุกความคิดล้วนเกิดขึ้นต่อยอดความรู้สึกบนร่างกายหรือเวทนานี้ทั้งสิ้น ตราบใดที่คุณจ่ออยู่กับเวทนาไม่ว่อกแว่กไปไหน ตราบนั้นความคิดจะเกิดไม่ได้
สี่วันที่อยู่ด้วยกันนี้ คุณเอาแค่นี้พอ ถอยความสนใจออกมาจากความคิด มาจ่ออยู่ที่เวทนา (feeling) ด้วยเทคนิค body scan และ relaxation เมื่อหมดความคิดจนจิตเป็นสมาธิดีแล้ว ปัญญาญาณจะชี้นำคุณไปต่อเอง โดยที่คุณไม่ต้องไปรู้ล่วงหน้าว่ามันจะเกิดอะไรบ้าง เพราะรู้ไปมันก็ไม่เหมือนหรือไม่ใช่ของที่คุณจะประสบจริง เพราะของที่คุณจะประสบจริงเป็นคลื่นความสั่นสะเทือน แต่สิ่งที่คุณขอรู้ล่วงหน้านั้นเป็นภาษา มันจะไปเหมือนกันได้อย่างไร
ทั้งนี้ทั้งนั้นสี่วันนี้ผมเน้นประเด็นหนึ่งนะ ว่าอย่าไปฝันหาความต่อเนื่อง เพราะนั่นเป็นภาพหลอนของคอนเซ็พท์เรื่องเวลา ให้คุณเอาแค่เดี๋ยวนี้ ทีละเดี๋ยวนี้ ผมให้หนึ่งเดี๋ยวนี้อย่างยาวที่สุดก็แค่หนึ่งลมหายใจเข้าออก อย่าให้แต่ละเดี๋ยวนี้ของคุณนานกว่านั้น อย่าพูดถึงอีกหนึ่งนาทีข้างหน้าหรืออีกหนึ่งชั่วโมงข้างหน้า ยิ่งชาติหน้ายิ่งไม่ต้องไปพูดถึงเลย เพราะคุณจะไม่หลุดพ้นไปไหนหากคุณเผลอหลุดจากเดี๋ยวนี้ เอาแค่เดี๋ยวนี้พอ ทีละเดี๋ยวนี้ ทีละช็อต ทีละช็อต อดีตอนาคตไม่มี เมื่อใดที่คุณประสบความสำเร็จที่เดี๋ยวนี้ คุณก็จะประสบความสำเร็จในการใช้ชีวิต เพราะชีวิตทั้งชีวิตก็มีแต่เดี๋ยวนี้แค่นั้น เดี๋ยวอื่นไม่มี.."
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์