หลุดพ้นผ่านทางสมาธิ
จากห้องเรียนรีทรีตทางจิตวิญญาณ (Spiritual Retreat)
คุยกันไปพลางๆขณะรอเพื่อนนะครับ พูดถึงหนทางหลุดพ้นไปจากความคิดที่ถักทอขึ้นมาจากความเป็นบุคคลของเราเอง มันไม่ได้มีเส้นทางเดียวนะ ผมว่าอย่างต่ำมันก็มีสามเส้นทางใหญ่ละ คือ
1. หลุดพ้นผ่านการทำสมาธิ (เจโตวิมุติ) หมายความว่าสมาธิระดับฌาน ทำให้เกิดปัญญาญาณ ซึ่งจะทำให้เห็นสิ่งต่างๆตามที่มันเป็น แล้วก็ปล่อยวางได้
2. หลุดพ้นผ่านวิธีพิจารณาไตร่ตรอง (ปัญญาวิมุตติ) ตัวอย่างเช่นวิธีตั้งคำถามเพื่อวางความคิด (Self Inquiry) ของรามานา มหารชี ที่เราทดลองทำไปเมื่อวานนี้ก็ใช้เส้นทางนี้ คือไม่ต้องนั่งหลับตาฝึกสมาธิอะไรทั้งสิ้น ไตร่ตรองใคร่ครวญแล้วทิ้งลูกเดียว
3. หลุดพ้นผ่านการยอมรับปัจจุบัน (สัทธาวิมุตติ) คือยอมรับยอมแพ้ทุกสิ่งที่มีอยู่เป็นอยู่ในปัจจุบันอย่างไม่มีเงื่อนไข ตัวอย่างเช่นวันก่อนเราทดลองปฏิบัติการอยู่กับปัจจุบันทีละแว้บ ทีละแว้บ โดยวิธีเลือกเหตุการณ์มาเป็นปัจจุบันของเรา (Reality Shifting) ก็เป็นเส้นทางนี้
เช้านี้เราจะฝึกปฏิบัติเพิ่มขึ้นในเส้นทางหลุดพ้นผ่านสมาธิ เมื่อวันก่อนเราได้คุยกันถึงกลไกที่ความคิดเกิดขึ้นในใจโดยการทำความเข้าใจและฝึกปฏิบัติกับวงจรที่เรียกว่าปฏิจจสมุปบาท และเมื่อวานนี้เราได้คุยกันถึงเครืี่องมือจำเป็นเจ็ดอย่างที่พระพุทธเจ้าเรียกว่าเป็นองค์คุณของการตรัสรู้ (โภชฌงค์7) วันนี้เราจะเอาทั้งสองเรื่องนี้มาขมวดใช้งานจริงผ่านการทำสมาธิตามดูลมหายใจ หรือ อานาปานสติ
ทุกคนมาพร้อมกันแล้วนะครับ
เช้านี้เราจะเริ่มต้นด้วยการฝึกนั่งสมาธิแบบตามดูลมหายใจกันอีกครั้งหนึ่ง คราวนี้เราจะทำในแบบที่ผมให้เสียงนำไปด้วยในครึ่งแรก
อานาปานสติเป็นการนั่งสมาธิที่เรื่องมากนิดหน่อยนะ คือต้องหาที่เงียบ ต้องตั้งกายตรง จะนั่งอย่างไรก็ได้ นั่งห้อยขาบนเก้าอี้ก็ได้ แต่ขอให้ตั้งกายตรง ถ้าจะนั่งแบบคลาสสิกเลยก็คือนั่งคู้บัลลังก์หรือขัดสมาธิ จะหลับตาหรือลืมตาก็ได้
ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่น มีสติ รู้ตัวว่าเรากำลังนั่งอยู่ตรงนี้ กำลังหายใจเข้า กำลังหายใจออก
รอบแรกเราจะไปกันทีละขั้น เมื่อครบทุกขั้นแล้วผมจะปล่อยให้คุณฝึกเองต่อ ซึ่งไม่จำเป็นว่าต้องทำไปทีละสะเต็พเสมอไป ให้เลือกหยิบแต่ละสะเต็พขึ้นมาใช้ตามความจำเป็น ณ ขณะนั้น
ขั้นที่ 1. เมื่อหายใจเข้ายาว (long breath) ก็รู้ว่าลมหายใจกำลังวิ่งเข้า ยาว..ว เมื่อเราหายใจออกยาว เราก็รู้ว่าลมหายใจกำลังวิ่งออก ยาว..ว
ขั้นที่ 2. คือเมื่อหายใจเข้าสั้น (short breath) เราก็รู้ ว่าลมหายใจกำลังวิ่งเข้า..สั้น เมื่อเราหายใจออกสั้น เราก็รู้ว่าลมหายใจกำลังวิ่งออก..สั้น
ในความเป็นจริงแล้ว การที่ลมหายใจมันจะสั้นหรือยาว จะหยาบหรือละเอียด เราปล่อยให้มันเป็นของมันไปตามธรรมชาติ อย่าไปตั้งใจหายใจให้สั้นหรือยาวนะ เอาแค่ตามรู้ลมหายใจที่มันเข้าออกของมันตามธรรมชาติ ว่าเรามีสติอยู่ว่าเรากำลังนั่งอยู่ในห้องประชุมนี้ กำลังหายใจเข้า..ออก..เข้า..ออก
ขั้นที่ 3. ลาดตระเวณร่างกาย (body scan) โดยจะเน้นที่การลาดตระเวณดูความรู้สึกบนผิวหนังทั่วร่างกาย ผิวหนังของเรามีพื้นที่กว้างใหญ่ มามาทดลองกับผิวหนังใต้รูจมูกเหนือริมฝีปากบนนี้ก่อนก็ได้ เรากำหนดพื้นที่รับรู้ไว้สักเท่ากับเหรียญสิบบาทก็พอ เอาสติไปจดจ่ออยู่ที่นั่น คอยเงี่ยหรือคอยรับสัมผัสว่ามีเซ้นส์หรือความรู้สึกอะไรเกิดขึ้นตรงนั้นรายงานเข้ามาให้สมองทราบบ้าง อย่างน้อยเราก็รู้สึกว่ามีลมหายใจวิ่งผ่านไปหละ กำลังวิ่งผ่านเข้า กำลังวิ่งผ่านออก ถ้ามีความรู้สึกอื่นใดเกิดขึ้นเช่น คัน เย็น ร้อน เจ็บ เราก็รับรู้มันด้วย รับรู้เฉยๆ ไม่คิดต่อยอด ถ้าเราปรับสติของเราให้แหลมคม เราจะรับรู้ด้วยว่าลมหายใจออกมันอุ่น ขณะที่ลมหายใจเข้ามันเย็น บางครั้งเรารู้สึกคัน บางครั้งเหมือนมีปลายเข็มแหลมมาจิ้ม เราก็รับรู้ไว้ รับรู้เฉยๆ ไม่ตีความหรือพิพากษา ไม่เกาหรือลงมือแก้ไขอะไร คือรับรู้แบบรู้แล้วเฉย
คราวนี้ เราจะค่อยๆย้ายพื้นที่รับรู้เซ้นส์ไปบนผิวหนังทั่วร่างกายนะ จะเป็นการทำ body scan จริงๆแล้ว คือสำรวจความรู้สึกของร่างกายไปทั่ว เอ็กซเรย์ร่างกายไปทุกตารางนิ้ว หรือเสมือนเราฉายไฟฉายไปตามผิวหนังทีละส่วน โดยที่แสงไฟนั้นก็คือ "ความสนใจ (attention)" ของจิตเรานั่นเอง
ในชีวิตจริงผมใช้เทคนิคย่นย่อให้จบในหนึ่งรอบของการหายใจ คุณลองทำตามดูนะ เอานะ เริ่ม หายใจเข้าลึกๆ กลั้นไว้นิดหนึ่ง แล้วค่อยๆผ่อนลมหายใจออกพร้อมกับการไล่การรับความรู้สึกตัวจากศีรษะลงไปจนถึงปลายเท้า เหมือนเอากระแป๋งใส่น้ำอุ่นรดราดโครมลงมาเหนือศีรษะ แล้วเราก็ตามรับรู้ความรู้สึกอุ่นวาบของน้ำนั้นลงไปจากศีรษะถึงปลายเท้า หมายความว่าลาดตระเวณความรู้สึกไปถึงไหน ก็จะรู้สึกถึงความอุ่นวูบวาบขนลุกที่นั่น
ขั้นที่ 4. ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ (muscle relaxation) ในเทคนิคนี้ เป็นการผ่อนคลายกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย ซึ่งอาจจะค่อยๆทำไปทีละส่วน ไล่ความรู้สึกไปถึงร่างกายส่วนไหนก็บอกให้กล้ามเนื้อในส่วนนั้นผ่อนคลาย สบายๆ ไม่เกร็ง ไล่ตั้งแต่หน้า ศีรษะ แขน มือ หน้าอก หลัง หน้าท้อง บั้นเอง ท้องน้อย ขา เข่า และเท้า แต่ผมชอบผ่อนคลายกล้ามเนื้อทีเดียวทั่วตัวดูบ้าง ลองดูนะ เริ่มต้น หายใจเข้าช้าๆลึกๆเต็มๆ เสมือนหนึ่งว่าเรารับเอาความสดชื่นจากภายนอกร่างกายเข้ามาสู่ตัวเราพร้อมกับลมหายใจ เมื่อลมเต็มปอดแล้วกลั้นไว้นิดหนึ่ง แล้วค่อยๆผ่อนลมหายใจออกช้าๆ พร้อมกับบอกให้กล้ามเนื้อทั่วร่างกายคลายตัวไปพร้อมกับการหายใจออกจากศีรษะถึงปลายเท้า
สี่ขั้นแรกนี้เป็นการดึงความสนใจจากความคิดมาอยู่กับร่างกาย (กายานุสติปัฏฐาน)
ขั้นที่ 5. รับรู้ความรู้สึกบนร่างกาย (ปิติ) คือหลังจากเราลาดตระเวณร่างกายหรือ body scan ในขั้นที่ 3 แล้ว เราจะรับรู้ความรู้สึกขั้นละเอียดอ่อนบนผิวหนัง เช่นความรู้สึกอุ่นวาบที่แผ่สร้านไปตามการกวาดความสนใจ ความสนใจกวาดไปถึงไหน รับรู้ความอุ่นวาบถึงนั่น รับรู้ความรู้สึกใดๆก็ตามไม่ว่าจะเป็นเจ็บๆคันๆชาๆจิ๊ดๆ ขนลุกขนชัน เช่นเวลาเรานั่งตากลมอยู่ใต้ร่มไม้ เมื่อลมพัดมา เรารู้สึกสบาย เรารับรู้ความรู้สึกสบายนั้นจากการที่รู้สึกว่ามีความเย็นของลมมาปะทะผิวหนัง หรือรู้สึกว่าขนลุก หรือรู้สึกว่าวูบวาบที่ผิวหนัง คือเรารับรู้ความสบายผ่าน sensation ของผิวหนัง
ขั้นที่ 6. รับรู้การผ่อนคลาย (สุข) ในขั้นที่ 4 เราผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ในขั้นนี้เรารับรู้ความผ่อนคลายหรือความสบายกาย ใจอยู่กับความสบายกาย ก็มีความสุข เราฝึกเทคนิคที่จะรับรู้ความสุข
จะเห็นว่าเราทำขั้นที่ 3-4-5-6 นี้ สามารถทำไปด้วยกันได้ในหนึ่งรอบการหายใจเท่านั้น โดยหายใจเข้าลึกๆ ผ่อนลมหายใจออกช้าๆ ขณะผ่อนลมหายใจออกก็ลาดตระเวณร่างกายจากห้วจรดเท้า สั่งให้กล้ามเนื้อผ่อนคลายจากหัวจรดเท้า พร้อมกับรับรู้ความรู้สึกบนผิวกาย และรับรู้ความผ่อนคลายร่างกายไปด้วย เรียกว่าหายใจทีเดียวได้หมด
จะเห็นว่าความสุขนี้จริงๆแล้วเราเหมือนกันเรียกมันมา ไม่ใช่ว่าอยู่ดีๆมันจะมาของมันเอง แต่เราเรียกมันมาด้วยวิธีทิ้งความคิดมาตามดูลมหายใจจนความคิดหมด แล้วก็ลาดตระเวณร่างกายให้รู้ตัวทั่วพร้อมบวกกับบอกให้กล้ามเนื้อทั่วตัวผ่อนคลาย พอได้อย่างนี้ความผ่อนคลายหรือ "สุข" มันก็มา เป็นสุขที่เรียกมาหาได้ทุกเมื่อ เรียกว่า synthetic happiness เรียนวันนี้ท่านจำอะไรไม่ได้ จำวิธีเรียกความสุขมาหาได้ในทุกโมเมนต์ของชีวิตประจำวันก็ถือว่าโอแล้ว
อีกประการหนึ่ง ขั้นที่ 5 และ 6 นี้ เป็นการรับรู้ความรู้สึกหรือเวทนา (feeling) บนร่างกาย จึงเรียกว่าเป็นเวทนานุสติปัฏฐาน ในส่วนที่เกี่ยวกับกาย
ขั้นที่ 7. ย้อนดูความรู้สึก (recall) เรากำลังนั่งอยู่ตรงนี้ ณ เวลานี้ ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่น กำลังหายใจออก กำลังหายใจเข้า เมื่อใจเราเผลอรู้สึกอะไรขึ้นมา ให้ย้อนตามไปดูว่าเมื่อตะกี้นี้ หนึ่งวินาทีที่ผ่านไปเนี้ยะ ใจเรามีความรู้สึกอะไร ย้อนไปดูเฉยๆ เฝ้าดูความรู้สึกนั้นอยู่ตรงนั้น ความรู้สึกที่ใจมักจะเกิดพร้อมกับความรู้สึกที่ร่างกาย เช่นเมื่อใจโกรธ หัวใจก็เต้นเร็ว เราเฝ้าดูมันเฉยๆทั้งที่กายและที่ใจ ไม่วินิจฉัย ไม่ไปคิดต่อยอด หายใจเข้า เฝ้าดูความรู้สึก เฝ้าดูความรู้สึก
ขั้นที่ 8. เฝ้าดูการสลายตัวของความรู้สึก (observe feeling) เมื่อมีความรู้สึกอะไร เรามีสติ ย้อนไปดูว่าเมื่อตะกี้นี้ หนึ่งวินาทีที่ผ่านไปนี้ ใจเรารู้สึกอะไร ย้อนไปดูแล้ว คราวนี้เราเฝ้าดูอยู่อย่างนั้น เช่นเฝ้าดูความโกรธ ก็เฝ้าดูเฉยๆ ดูทั้งใจที่โกรธ ดูทั้งกายที่หัวใจเต้นเร็วหายใจเร็ว เป็นธรรมชาติของความรู้สึก เมื่อถูกเฝ้าดู มันจะค่อยๆสงบลง
ในขั้นที่ 7 และ 8 นี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับความรู้สึก (เวทนา) จึงเป็นส่วนของเวทนานุสติปัฏฐานด้วยเช่นเดียวกับขั้นที่ 5 และ 6 โดยที่ขั้นที่ 5-6 เป็นเวทนาทางกายอย่างเดียว ส่วนขั้นที่ 7-8 เป็นเวทนาทั้งทางกายและทางใจด้วย
ขั้นที่ 9. เฝ้าดูสถานะของจิต (state of awareness) ตอนนี้เราไม่มีความคิดแล้ว กายสงบแล้ว ความรู้สึกสงบแล้ว เราจะไปดูสิ่งที่ละเอียดขึ้นคือจิตหรือความรู้ตัว จิตหรือความรู้ตัวมันเป็นความว่างเราดูไม่เห็น แต่เราจะดูสภาพแวดล้อมของมัน หรือดูสถานะความเป็นอยู่ของมันได้ เรียกว่าดูสถานะของจิต คำว่าสถานะของจิตนี้ไม่ใช่ความคิดนะ ความคิดนั้นเป็นสิ่งที่ใจปรุงแต่งขึ้นมา (mental formation) ไม่ใช่อันนั้น แต่สถานะของจิตมันคือสภาพที่จิตเราเป็นอยู่ ณ ขณะหนึ่ง ซึ่งมันเป็นได้สองแบบ คือเป็นจิตที่ดี กับเป็นจิตที่ไม่ดี
ผมยกตัวอย่างง่ายๆว่าเราตื่นเช้าขึ้นมาจะไปสอบ ถ้าเรารู้สึกว่าเช้านี้ปลอดโปร่งแจ่มใสดีวันนี้น่าจะสอบได้คะแนนดี นั่นคือสถานะของจิตตอนนั้นเป็นจิตที่ดี แต่ถ้าเราตื่นขึ้นมารู้สึกว่าสมองหนักตึ๊บทึบตื้อคิดอะไรไม่ออกและบอกล่วงหน้าได้ว่าการสอบวันนี้คงจะสอบตกแต่ๆ นั่นคือจิตตอนเช้าวันนั้นเป็นจิตที่ไม่ดี
เอ้า เรามาลองฝึกเทคนิคดูสถานะของจิตนะ ตอนนี้ความคิดไม่มีแล้ว เหลือแต่จิตเดิมแท้ที่ไม่มีสิ่งกระตุ้นใดมาให้รับรู้ ณ ตรงนี้ให้เราจงใจจ้องมองเข้าไปดูสถานะของจิต ว่าจิต ณ ขณะนี้ เป็นจิตที่มีสถานะอย่างไร กำลังแหลม คม บาง เบา นุ่ม สบาย พร้อมใช้งาน หรือกำลังทื่อ หนักอึ้ง อุ้ยอ้าย เพราะถูกครอบด้วยสิ่่งห่อหุ้มที่บดบังจิตเดิมแท้นั้นให้หมองไป ตัวอย่างสิ่งห่อหุ้มเหล่านั้นก็เช่น ความอยาก ความหงุดหงิด ความง่วง ความใจลอย ความลังเลสงสัยในใจ เป็นต้น ถ้าเราเห็นว่าจิตมีสิ่งห่อหุ้มอยู่ เราก็เฝ้าดู ดูเฉยๆ ดูแล้วก็ดูอีก ในที่สุดสิ่งที่ห่อหุ้มนั้นจะค่อยๆจางหายไป เหลือแต่จิตเดิมๆแท้ๆซึ่งเป็นจิตที่ดี แหลม คม บาง เบา นุ่ม สบาย
ขั้นที่ 10. รับรู้จิตที่ดี (ปราโมทย์) ในขั้นตอนนี้เราแค่รับรู้จิตที่ดีที่เป็นผลจากการเฝ้าดูจนสิ่งหุ้มห่อจางไปหมด เหลือแต่จิตที่แหลม คม บาง เบา นุ่ม สบาย คล่องแคล่ว พร้อมใช้งาน
ขั้นที่ 11. ทำจิตให้ตั้งมั่น (concentration) คราวนี้เป็นการทำสมาธิจริงๆละนะ นิยามของสมาธิก็คือจดจ่อความสนใจอยู่กับอะไรสักอย่างเพียงอย่างเดียว อย่างไม่ว่อกแว่ก สิ่งที่เป็นเป้าของการจดจ่อก็คือลมหายใจ หายใจเข้า เรากำลังทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่กับลมหายใจ หายใจออก การจดจ่อนี้เป็นการจดจ่อแบบ selective attention คือตัดสิ่งกระตุ้นอย่างอื่นไม่ว่าจะเป็นภาพเสียงกลิ่นรสสัมผัสและความรู้สึกใดๆทิ้งไปหมด เมื่อจดจ่อกับลมหายใจ ลมหายใจก็จะละเอียดลงๆ จากเดิมที่วิ่งเข้าวิ่งออกก็จะวิ่งช้าลงๆจนกลายเป็นไม่วิ่ง กลายเป็นน่ิ่ง จากนิ่งกลายเป็นละเอียด จนดูไม่รู้ว่าเป็นอะไร เป็นแค่ความละเอียดว่างๆอยู่ ไม่เหลืออะไรอย่างอื่นให้เห็น อย่างมากก็อาจจะเห็นแสงสว่างอยู่เรื่อๆ มีสิ่งที่เหลือโดดเด่นอยู่อย่างเดียวคือตัวความสนใจหรือตัวจิตเอง อย่างอื่นไม่เหลืออะไรเลย ตรงนี้คือจิตที่เป็นสมาธิ หรืออยู่ในฌาน ยิ่งจดจ่อได้มาก ก็ยิ่งจะมีพลังงานจากภายนอกหลั่งไหลเข้ามาสู่ศูนย์กลางของการจดจ่อนั้นมาก พลังงานนั้นจะนำมาซึ่งความสงบเย็นและเบิกบาน และซึ่งปัญญาญาณที่จะช่วยให้เรารู้เห็นสิ่งต่างๆตามที่มันเป็น ตรงนี้หากเราอยากจะพักผ่อนเราอาจจะแช่ความสนใจอยู่ในความว่างหรือความเงียบตรงนี้ได้นานเท่าใดก็ได้ตามต้องการ เป็นชั่วโมงก็ได้ เป็นวันก็ได้ แต่วันนี้เราจะไม่พักอยู่ตรงนี้ เราจะเดินหน้าไปฝึกขั้นต่อไป
ขั้นที่ 12. ปล่อยจิตไป ไม่ควบคุม (Let go) พูดง่ายๆว่าเราจะถอยออกจากสมาธิแล้ว แต่เป็นการถอยแบบมีชั้นเชิง เปรียบเสมือนแม่ลูกอ่อนที่เฝ้าดูลูกเล่นของเล่นอยู่กลางโถงของบ้าน แล้วตัดสินใจจะปล่อยทิ้งลูกน้อยไว้สักครู่เพื่อลุกไปชงกาแฟหรือทำกิจอื่น แต่ก็คอยชำเลืองมองมาเป็นครั้งคราว เป้าหมายของการถอยนี้ก็เพื่อให้มีความคิดเกิดขึ้นมา แต่ว่าเป้าหมายไม่ได้จะให้เกิดความคิดหน้าเดิมที่เป็นความคิดยึดมั่นถือมั่นที่ปรุงแต่งขึ้นมาจากความเป็นบุคคลของเราดอกนะ แต่เป้าหมายจะให้เกิดความคิดอีกแบบหนึ่งที่เรียกว่า "ปัญญาญาณ (intuition)" หรือความคิดแบบปิ๊ง..ง ไอเดียขึ้นมาจากความว่างเปล่า
แต่อะไรจะเป็นหลักประกันละว่าความคิดที่เกิดขึ้นจะไม่เป็นความคิดยึดมั่นถือมั่นหน้าเดิมที่ปรุงแต่งขึ้นมาจากความเป็นบุคคลของเรา หลักประกันก็คือความรู้ตัวทั่วพร้อม (ปิติ) และความผ่อนคลาย (สุข) คือตราบใดที่มีความรู้ตัวทั่วพร้อมและมีความผ่อนคลายอยู่ขณะปล่อยสมาธิไปไม่ควบคุม เมื่อนั้นแนวโน้มที่ความคิดที่เกิดขึ้นในสภาวะนี้จะเป็นปัญญาญาณก็มีมาก แต่หากไม่มีความรู้ตัวทั่วพร้อม หรือไม่ผ่อนคลาย ก็มีแนวโน้มว่าความคิดที่เกิดขึ้นจะเป็นความคิดยึดมั่นถือมันที่ปรุงขึ้นมาจากความเป็นบุคคลของเรา ดังนั้นเมื่อยังไม่รู้ตัวทั่วพร้อมหรือยังไม่ผ่อนคลาย อย่าเพิ่งปล่อยสมาธิไป ให้กลับไปทำความรู้ตัวทั่วพร้อมและผ่อนคลายร่างกายลงก่อน ให้ลองยิ้มนิดๆที่มุมปากดู ถ้ายิ้มไม่ออกก็แสดงว่ายังไม่ผ่อนคลาย อย่าเพิ่งปล่อยสมาธิไป ต้องผ่อนคลายจริงๆก่อน จึงจะปล่อยสมาธิไปไม่ควบคุม
ขั้นที่ 13. เห็นอนิจจัง (see impermanence) ปัญญาญาณที่เกิดขึ้นขณะค่อยๆถอยออกจากจิตที่เป็นสมาธิ จะชี้นำให้เราเห็นความเป็นอนิจจังของสรรพสิ่ง เช่น เมื่ออยู่ในสมาธิแน่วแน่ระดับฌานจนอายตนะอื่นๆหายไปหมด ร่างกายก็จะหายไป เราก็จะเห็นตามที่มันเป็นว่าร่างกายนี้มีอยู่ได้ แต่ก็หายไปได้ การเห็นว่าอะไรที่บัดเดี๋ยวมีอยู่ บัดเดี๋ยวหายไป นั่นคือการเห็นอนิจจังตามที่มันเป็น
ขั้นที่ 14 เห็นความจางคลาย (Fading away) เมื่อเห็นความเป็นอนิจจังของสิ่งใด ก็จะเห็นความจางคลายของความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งนั้นตามมาเอง
ขั้นที่ 15. เห็นความดับ (cessation) เมื่อความจางคลายของความยึดมั่นถือมั่นในเรื่องใดจางคลายลงๆจนถึงระดับหนึ่ง ก็จะเห็นความยึดมั่นถือมันนั้นดับมอดไปเอง
ขั้นที่ 16. ปล่อยวาง (relinquish) เมื่อความคิดยึดมั่นถือมั่นในเรื่องใดดับลง ก็จะเห็นอาการปล่อยวางความยึดถือนั้นเปลี่ยนไปเป็นการเห็นตามที่มันเป็น (อุเบกขา)
ดังนั้น จิตที่เป็นอุเบกขา ที่รับรู้ทุกอย่างตามที่ม้ันเป็น จึงเป็นปลายทางที่แท้จริงของอานาปานสติ
อนึ่ง ขั้นที่ 13-16 นี้เป็นการเล่นกับการ "เห็น" สิ่งที่ไม่อาจอธิบายด้วยชื่อหรือรูปร่างได้ สี่ขั้นตอนนี้รวมเรียกว่า "ธรรมานุสติปัฏฐาน" ซึ่งเป็นการเห็นตามที่มันเป็น เป็นการเห็นด้วยปัญญาญาณ (intuition) ที่เกิดขึ้นจากการมีสมาธิระดับนิ่งเป็นฌานเสียก่อน ไม่ใช่เป็นการคิดเอาจากความฉลาดเชิงตรรกะ (wisdom หรือ intellect)
ผมไม่ได้หมายความว่าการคิดเอาในเชิงตรรกะจะพาหลุดพ้นไม่ได้นะ ได้นะมันได้ มันก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่เรียกว่าปัญญาวิมุตติ แบบวิธีตั้งคำถามตามแนว self inquiry อย่างที่เราเรียนกันไปเมื่อวาน แต่ว่าอย่างไรก็ตามนั่นมันเป็นแค่ต้นทางเหมือนกับการกวาดบ้านถูบ้านเพื่อรับแขกสำคัญ ไม่ใช่การมาหรือไม่มาของแขกสำคัญนะ คือปลายทางสุดท้ายของทุกวิธีก็คือการจอดหรือแช่ความสนใจอยู่ในความว่างเพื่อการรู้เห็นตามที่มันเป็นจริงแล้วปล่อยวาง นั่นแหละปลายทาง
ปล. เพื่อให้ผู้ที่ล้นจากแค้มป์รีทรีตทางจิตวิญญาณรุ่นที่ 4 ได้มีโอกาสเข้ารีทรีตก่อนที่อากาศจะร้อนขึ้น ผมได้เปิด แค้มป์รีทรีตทางจิตวิญญาณรุ่นที่ 5 (Spiritual Retreat 5) ขึ้นในวันที่ 26-29 มีค. 61 รับไม่เกิน 15 คน เหลือเวลาอีกไม่กี่วัน ยังมีที่เหลืออยู่ ท่านที่สนใจและจัดเวลาทันก็เชิญได้นะครับ
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
คุยกันไปพลางๆขณะรอเพื่อนนะครับ พูดถึงหนทางหลุดพ้นไปจากความคิดที่ถักทอขึ้นมาจากความเป็นบุคคลของเราเอง มันไม่ได้มีเส้นทางเดียวนะ ผมว่าอย่างต่ำมันก็มีสามเส้นทางใหญ่ละ คือ
1. หลุดพ้นผ่านการทำสมาธิ (เจโตวิมุติ) หมายความว่าสมาธิระดับฌาน ทำให้เกิดปัญญาญาณ ซึ่งจะทำให้เห็นสิ่งต่างๆตามที่มันเป็น แล้วก็ปล่อยวางได้
2. หลุดพ้นผ่านวิธีพิจารณาไตร่ตรอง (ปัญญาวิมุตติ) ตัวอย่างเช่นวิธีตั้งคำถามเพื่อวางความคิด (Self Inquiry) ของรามานา มหารชี ที่เราทดลองทำไปเมื่อวานนี้ก็ใช้เส้นทางนี้ คือไม่ต้องนั่งหลับตาฝึกสมาธิอะไรทั้งสิ้น ไตร่ตรองใคร่ครวญแล้วทิ้งลูกเดียว
3. หลุดพ้นผ่านการยอมรับปัจจุบัน (สัทธาวิมุตติ) คือยอมรับยอมแพ้ทุกสิ่งที่มีอยู่เป็นอยู่ในปัจจุบันอย่างไม่มีเงื่อนไข ตัวอย่างเช่นวันก่อนเราทดลองปฏิบัติการอยู่กับปัจจุบันทีละแว้บ ทีละแว้บ โดยวิธีเลือกเหตุการณ์มาเป็นปัจจุบันของเรา (Reality Shifting) ก็เป็นเส้นทางนี้
เช้านี้เราจะฝึกปฏิบัติเพิ่มขึ้นในเส้นทางหลุดพ้นผ่านสมาธิ เมื่อวันก่อนเราได้คุยกันถึงกลไกที่ความคิดเกิดขึ้นในใจโดยการทำความเข้าใจและฝึกปฏิบัติกับวงจรที่เรียกว่าปฏิจจสมุปบาท และเมื่อวานนี้เราได้คุยกันถึงเครืี่องมือจำเป็นเจ็ดอย่างที่พระพุทธเจ้าเรียกว่าเป็นองค์คุณของการตรัสรู้ (โภชฌงค์7) วันนี้เราจะเอาทั้งสองเรื่องนี้มาขมวดใช้งานจริงผ่านการทำสมาธิตามดูลมหายใจ หรือ อานาปานสติ
ทุกคนมาพร้อมกันแล้วนะครับ
เช้านี้เราจะเริ่มต้นด้วยการฝึกนั่งสมาธิแบบตามดูลมหายใจกันอีกครั้งหนึ่ง คราวนี้เราจะทำในแบบที่ผมให้เสียงนำไปด้วยในครึ่งแรก
อานาปานสติเป็นการนั่งสมาธิที่เรื่องมากนิดหน่อยนะ คือต้องหาที่เงียบ ต้องตั้งกายตรง จะนั่งอย่างไรก็ได้ นั่งห้อยขาบนเก้าอี้ก็ได้ แต่ขอให้ตั้งกายตรง ถ้าจะนั่งแบบคลาสสิกเลยก็คือนั่งคู้บัลลังก์หรือขัดสมาธิ จะหลับตาหรือลืมตาก็ได้
ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่น มีสติ รู้ตัวว่าเรากำลังนั่งอยู่ตรงนี้ กำลังหายใจเข้า กำลังหายใจออก
รอบแรกเราจะไปกันทีละขั้น เมื่อครบทุกขั้นแล้วผมจะปล่อยให้คุณฝึกเองต่อ ซึ่งไม่จำเป็นว่าต้องทำไปทีละสะเต็พเสมอไป ให้เลือกหยิบแต่ละสะเต็พขึ้นมาใช้ตามความจำเป็น ณ ขณะนั้น
ขั้นที่ 1. เมื่อหายใจเข้ายาว (long breath) ก็รู้ว่าลมหายใจกำลังวิ่งเข้า ยาว..ว เมื่อเราหายใจออกยาว เราก็รู้ว่าลมหายใจกำลังวิ่งออก ยาว..ว
ขั้นที่ 2. คือเมื่อหายใจเข้าสั้น (short breath) เราก็รู้ ว่าลมหายใจกำลังวิ่งเข้า..สั้น เมื่อเราหายใจออกสั้น เราก็รู้ว่าลมหายใจกำลังวิ่งออก..สั้น
ในความเป็นจริงแล้ว การที่ลมหายใจมันจะสั้นหรือยาว จะหยาบหรือละเอียด เราปล่อยให้มันเป็นของมันไปตามธรรมชาติ อย่าไปตั้งใจหายใจให้สั้นหรือยาวนะ เอาแค่ตามรู้ลมหายใจที่มันเข้าออกของมันตามธรรมชาติ ว่าเรามีสติอยู่ว่าเรากำลังนั่งอยู่ในห้องประชุมนี้ กำลังหายใจเข้า..ออก..เข้า..ออก
ขั้นที่ 3. ลาดตระเวณร่างกาย (body scan) โดยจะเน้นที่การลาดตระเวณดูความรู้สึกบนผิวหนังทั่วร่างกาย ผิวหนังของเรามีพื้นที่กว้างใหญ่ มามาทดลองกับผิวหนังใต้รูจมูกเหนือริมฝีปากบนนี้ก่อนก็ได้ เรากำหนดพื้นที่รับรู้ไว้สักเท่ากับเหรียญสิบบาทก็พอ เอาสติไปจดจ่ออยู่ที่นั่น คอยเงี่ยหรือคอยรับสัมผัสว่ามีเซ้นส์หรือความรู้สึกอะไรเกิดขึ้นตรงนั้นรายงานเข้ามาให้สมองทราบบ้าง อย่างน้อยเราก็รู้สึกว่ามีลมหายใจวิ่งผ่านไปหละ กำลังวิ่งผ่านเข้า กำลังวิ่งผ่านออก ถ้ามีความรู้สึกอื่นใดเกิดขึ้นเช่น คัน เย็น ร้อน เจ็บ เราก็รับรู้มันด้วย รับรู้เฉยๆ ไม่คิดต่อยอด ถ้าเราปรับสติของเราให้แหลมคม เราจะรับรู้ด้วยว่าลมหายใจออกมันอุ่น ขณะที่ลมหายใจเข้ามันเย็น บางครั้งเรารู้สึกคัน บางครั้งเหมือนมีปลายเข็มแหลมมาจิ้ม เราก็รับรู้ไว้ รับรู้เฉยๆ ไม่ตีความหรือพิพากษา ไม่เกาหรือลงมือแก้ไขอะไร คือรับรู้แบบรู้แล้วเฉย
คราวนี้ เราจะค่อยๆย้ายพื้นที่รับรู้เซ้นส์ไปบนผิวหนังทั่วร่างกายนะ จะเป็นการทำ body scan จริงๆแล้ว คือสำรวจความรู้สึกของร่างกายไปทั่ว เอ็กซเรย์ร่างกายไปทุกตารางนิ้ว หรือเสมือนเราฉายไฟฉายไปตามผิวหนังทีละส่วน โดยที่แสงไฟนั้นก็คือ "ความสนใจ (attention)" ของจิตเรานั่นเอง
ในชีวิตจริงผมใช้เทคนิคย่นย่อให้จบในหนึ่งรอบของการหายใจ คุณลองทำตามดูนะ เอานะ เริ่ม หายใจเข้าลึกๆ กลั้นไว้นิดหนึ่ง แล้วค่อยๆผ่อนลมหายใจออกพร้อมกับการไล่การรับความรู้สึกตัวจากศีรษะลงไปจนถึงปลายเท้า เหมือนเอากระแป๋งใส่น้ำอุ่นรดราดโครมลงมาเหนือศีรษะ แล้วเราก็ตามรับรู้ความรู้สึกอุ่นวาบของน้ำนั้นลงไปจากศีรษะถึงปลายเท้า หมายความว่าลาดตระเวณความรู้สึกไปถึงไหน ก็จะรู้สึกถึงความอุ่นวูบวาบขนลุกที่นั่น
ขั้นที่ 4. ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ (muscle relaxation) ในเทคนิคนี้ เป็นการผ่อนคลายกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย ซึ่งอาจจะค่อยๆทำไปทีละส่วน ไล่ความรู้สึกไปถึงร่างกายส่วนไหนก็บอกให้กล้ามเนื้อในส่วนนั้นผ่อนคลาย สบายๆ ไม่เกร็ง ไล่ตั้งแต่หน้า ศีรษะ แขน มือ หน้าอก หลัง หน้าท้อง บั้นเอง ท้องน้อย ขา เข่า และเท้า แต่ผมชอบผ่อนคลายกล้ามเนื้อทีเดียวทั่วตัวดูบ้าง ลองดูนะ เริ่มต้น หายใจเข้าช้าๆลึกๆเต็มๆ เสมือนหนึ่งว่าเรารับเอาความสดชื่นจากภายนอกร่างกายเข้ามาสู่ตัวเราพร้อมกับลมหายใจ เมื่อลมเต็มปอดแล้วกลั้นไว้นิดหนึ่ง แล้วค่อยๆผ่อนลมหายใจออกช้าๆ พร้อมกับบอกให้กล้ามเนื้อทั่วร่างกายคลายตัวไปพร้อมกับการหายใจออกจากศีรษะถึงปลายเท้า
สี่ขั้นแรกนี้เป็นการดึงความสนใจจากความคิดมาอยู่กับร่างกาย (กายานุสติปัฏฐาน)
ขั้นที่ 5. รับรู้ความรู้สึกบนร่างกาย (ปิติ) คือหลังจากเราลาดตระเวณร่างกายหรือ body scan ในขั้นที่ 3 แล้ว เราจะรับรู้ความรู้สึกขั้นละเอียดอ่อนบนผิวหนัง เช่นความรู้สึกอุ่นวาบที่แผ่สร้านไปตามการกวาดความสนใจ ความสนใจกวาดไปถึงไหน รับรู้ความอุ่นวาบถึงนั่น รับรู้ความรู้สึกใดๆก็ตามไม่ว่าจะเป็นเจ็บๆคันๆชาๆจิ๊ดๆ ขนลุกขนชัน เช่นเวลาเรานั่งตากลมอยู่ใต้ร่มไม้ เมื่อลมพัดมา เรารู้สึกสบาย เรารับรู้ความรู้สึกสบายนั้นจากการที่รู้สึกว่ามีความเย็นของลมมาปะทะผิวหนัง หรือรู้สึกว่าขนลุก หรือรู้สึกว่าวูบวาบที่ผิวหนัง คือเรารับรู้ความสบายผ่าน sensation ของผิวหนัง
ขั้นที่ 6. รับรู้การผ่อนคลาย (สุข) ในขั้นที่ 4 เราผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ในขั้นนี้เรารับรู้ความผ่อนคลายหรือความสบายกาย ใจอยู่กับความสบายกาย ก็มีความสุข เราฝึกเทคนิคที่จะรับรู้ความสุข
จะเห็นว่าเราทำขั้นที่ 3-4-5-6 นี้ สามารถทำไปด้วยกันได้ในหนึ่งรอบการหายใจเท่านั้น โดยหายใจเข้าลึกๆ ผ่อนลมหายใจออกช้าๆ ขณะผ่อนลมหายใจออกก็ลาดตระเวณร่างกายจากห้วจรดเท้า สั่งให้กล้ามเนื้อผ่อนคลายจากหัวจรดเท้า พร้อมกับรับรู้ความรู้สึกบนผิวกาย และรับรู้ความผ่อนคลายร่างกายไปด้วย เรียกว่าหายใจทีเดียวได้หมด
จะเห็นว่าความสุขนี้จริงๆแล้วเราเหมือนกันเรียกมันมา ไม่ใช่ว่าอยู่ดีๆมันจะมาของมันเอง แต่เราเรียกมันมาด้วยวิธีทิ้งความคิดมาตามดูลมหายใจจนความคิดหมด แล้วก็ลาดตระเวณร่างกายให้รู้ตัวทั่วพร้อมบวกกับบอกให้กล้ามเนื้อทั่วตัวผ่อนคลาย พอได้อย่างนี้ความผ่อนคลายหรือ "สุข" มันก็มา เป็นสุขที่เรียกมาหาได้ทุกเมื่อ เรียกว่า synthetic happiness เรียนวันนี้ท่านจำอะไรไม่ได้ จำวิธีเรียกความสุขมาหาได้ในทุกโมเมนต์ของชีวิตประจำวันก็ถือว่าโอแล้ว
อีกประการหนึ่ง ขั้นที่ 5 และ 6 นี้ เป็นการรับรู้ความรู้สึกหรือเวทนา (feeling) บนร่างกาย จึงเรียกว่าเป็นเวทนานุสติปัฏฐาน ในส่วนที่เกี่ยวกับกาย
ขั้นที่ 7. ย้อนดูความรู้สึก (recall) เรากำลังนั่งอยู่ตรงนี้ ณ เวลานี้ ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่น กำลังหายใจออก กำลังหายใจเข้า เมื่อใจเราเผลอรู้สึกอะไรขึ้นมา ให้ย้อนตามไปดูว่าเมื่อตะกี้นี้ หนึ่งวินาทีที่ผ่านไปเนี้ยะ ใจเรามีความรู้สึกอะไร ย้อนไปดูเฉยๆ เฝ้าดูความรู้สึกนั้นอยู่ตรงนั้น ความรู้สึกที่ใจมักจะเกิดพร้อมกับความรู้สึกที่ร่างกาย เช่นเมื่อใจโกรธ หัวใจก็เต้นเร็ว เราเฝ้าดูมันเฉยๆทั้งที่กายและที่ใจ ไม่วินิจฉัย ไม่ไปคิดต่อยอด หายใจเข้า เฝ้าดูความรู้สึก เฝ้าดูความรู้สึก
ขั้นที่ 8. เฝ้าดูการสลายตัวของความรู้สึก (observe feeling) เมื่อมีความรู้สึกอะไร เรามีสติ ย้อนไปดูว่าเมื่อตะกี้นี้ หนึ่งวินาทีที่ผ่านไปนี้ ใจเรารู้สึกอะไร ย้อนไปดูแล้ว คราวนี้เราเฝ้าดูอยู่อย่างนั้น เช่นเฝ้าดูความโกรธ ก็เฝ้าดูเฉยๆ ดูทั้งใจที่โกรธ ดูทั้งกายที่หัวใจเต้นเร็วหายใจเร็ว เป็นธรรมชาติของความรู้สึก เมื่อถูกเฝ้าดู มันจะค่อยๆสงบลง
ในขั้นที่ 7 และ 8 นี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับความรู้สึก (เวทนา) จึงเป็นส่วนของเวทนานุสติปัฏฐานด้วยเช่นเดียวกับขั้นที่ 5 และ 6 โดยที่ขั้นที่ 5-6 เป็นเวทนาทางกายอย่างเดียว ส่วนขั้นที่ 7-8 เป็นเวทนาทั้งทางกายและทางใจด้วย
ขั้นที่ 9. เฝ้าดูสถานะของจิต (state of awareness) ตอนนี้เราไม่มีความคิดแล้ว กายสงบแล้ว ความรู้สึกสงบแล้ว เราจะไปดูสิ่งที่ละเอียดขึ้นคือจิตหรือความรู้ตัว จิตหรือความรู้ตัวมันเป็นความว่างเราดูไม่เห็น แต่เราจะดูสภาพแวดล้อมของมัน หรือดูสถานะความเป็นอยู่ของมันได้ เรียกว่าดูสถานะของจิต คำว่าสถานะของจิตนี้ไม่ใช่ความคิดนะ ความคิดนั้นเป็นสิ่งที่ใจปรุงแต่งขึ้นมา (mental formation) ไม่ใช่อันนั้น แต่สถานะของจิตมันคือสภาพที่จิตเราเป็นอยู่ ณ ขณะหนึ่ง ซึ่งมันเป็นได้สองแบบ คือเป็นจิตที่ดี กับเป็นจิตที่ไม่ดี
ผมยกตัวอย่างง่ายๆว่าเราตื่นเช้าขึ้นมาจะไปสอบ ถ้าเรารู้สึกว่าเช้านี้ปลอดโปร่งแจ่มใสดีวันนี้น่าจะสอบได้คะแนนดี นั่นคือสถานะของจิตตอนนั้นเป็นจิตที่ดี แต่ถ้าเราตื่นขึ้นมารู้สึกว่าสมองหนักตึ๊บทึบตื้อคิดอะไรไม่ออกและบอกล่วงหน้าได้ว่าการสอบวันนี้คงจะสอบตกแต่ๆ นั่นคือจิตตอนเช้าวันนั้นเป็นจิตที่ไม่ดี
เอ้า เรามาลองฝึกเทคนิคดูสถานะของจิตนะ ตอนนี้ความคิดไม่มีแล้ว เหลือแต่จิตเดิมแท้ที่ไม่มีสิ่งกระตุ้นใดมาให้รับรู้ ณ ตรงนี้ให้เราจงใจจ้องมองเข้าไปดูสถานะของจิต ว่าจิต ณ ขณะนี้ เป็นจิตที่มีสถานะอย่างไร กำลังแหลม คม บาง เบา นุ่ม สบาย พร้อมใช้งาน หรือกำลังทื่อ หนักอึ้ง อุ้ยอ้าย เพราะถูกครอบด้วยสิ่่งห่อหุ้มที่บดบังจิตเดิมแท้นั้นให้หมองไป ตัวอย่างสิ่งห่อหุ้มเหล่านั้นก็เช่น ความอยาก ความหงุดหงิด ความง่วง ความใจลอย ความลังเลสงสัยในใจ เป็นต้น ถ้าเราเห็นว่าจิตมีสิ่งห่อหุ้มอยู่ เราก็เฝ้าดู ดูเฉยๆ ดูแล้วก็ดูอีก ในที่สุดสิ่งที่ห่อหุ้มนั้นจะค่อยๆจางหายไป เหลือแต่จิตเดิมๆแท้ๆซึ่งเป็นจิตที่ดี แหลม คม บาง เบา นุ่ม สบาย
ขั้นที่ 10. รับรู้จิตที่ดี (ปราโมทย์) ในขั้นตอนนี้เราแค่รับรู้จิตที่ดีที่เป็นผลจากการเฝ้าดูจนสิ่งหุ้มห่อจางไปหมด เหลือแต่จิตที่แหลม คม บาง เบา นุ่ม สบาย คล่องแคล่ว พร้อมใช้งาน
ขั้นที่ 11. ทำจิตให้ตั้งมั่น (concentration) คราวนี้เป็นการทำสมาธิจริงๆละนะ นิยามของสมาธิก็คือจดจ่อความสนใจอยู่กับอะไรสักอย่างเพียงอย่างเดียว อย่างไม่ว่อกแว่ก สิ่งที่เป็นเป้าของการจดจ่อก็คือลมหายใจ หายใจเข้า เรากำลังทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่กับลมหายใจ หายใจออก การจดจ่อนี้เป็นการจดจ่อแบบ selective attention คือตัดสิ่งกระตุ้นอย่างอื่นไม่ว่าจะเป็นภาพเสียงกลิ่นรสสัมผัสและความรู้สึกใดๆทิ้งไปหมด เมื่อจดจ่อกับลมหายใจ ลมหายใจก็จะละเอียดลงๆ จากเดิมที่วิ่งเข้าวิ่งออกก็จะวิ่งช้าลงๆจนกลายเป็นไม่วิ่ง กลายเป็นน่ิ่ง จากนิ่งกลายเป็นละเอียด จนดูไม่รู้ว่าเป็นอะไร เป็นแค่ความละเอียดว่างๆอยู่ ไม่เหลืออะไรอย่างอื่นให้เห็น อย่างมากก็อาจจะเห็นแสงสว่างอยู่เรื่อๆ มีสิ่งที่เหลือโดดเด่นอยู่อย่างเดียวคือตัวความสนใจหรือตัวจิตเอง อย่างอื่นไม่เหลืออะไรเลย ตรงนี้คือจิตที่เป็นสมาธิ หรืออยู่ในฌาน ยิ่งจดจ่อได้มาก ก็ยิ่งจะมีพลังงานจากภายนอกหลั่งไหลเข้ามาสู่ศูนย์กลางของการจดจ่อนั้นมาก พลังงานนั้นจะนำมาซึ่งความสงบเย็นและเบิกบาน และซึ่งปัญญาญาณที่จะช่วยให้เรารู้เห็นสิ่งต่างๆตามที่มันเป็น ตรงนี้หากเราอยากจะพักผ่อนเราอาจจะแช่ความสนใจอยู่ในความว่างหรือความเงียบตรงนี้ได้นานเท่าใดก็ได้ตามต้องการ เป็นชั่วโมงก็ได้ เป็นวันก็ได้ แต่วันนี้เราจะไม่พักอยู่ตรงนี้ เราจะเดินหน้าไปฝึกขั้นต่อไป
ขั้นที่ 12. ปล่อยจิตไป ไม่ควบคุม (Let go) พูดง่ายๆว่าเราจะถอยออกจากสมาธิแล้ว แต่เป็นการถอยแบบมีชั้นเชิง เปรียบเสมือนแม่ลูกอ่อนที่เฝ้าดูลูกเล่นของเล่นอยู่กลางโถงของบ้าน แล้วตัดสินใจจะปล่อยทิ้งลูกน้อยไว้สักครู่เพื่อลุกไปชงกาแฟหรือทำกิจอื่น แต่ก็คอยชำเลืองมองมาเป็นครั้งคราว เป้าหมายของการถอยนี้ก็เพื่อให้มีความคิดเกิดขึ้นมา แต่ว่าเป้าหมายไม่ได้จะให้เกิดความคิดหน้าเดิมที่เป็นความคิดยึดมั่นถือมั่นที่ปรุงแต่งขึ้นมาจากความเป็นบุคคลของเราดอกนะ แต่เป้าหมายจะให้เกิดความคิดอีกแบบหนึ่งที่เรียกว่า "ปัญญาญาณ (intuition)" หรือความคิดแบบปิ๊ง..ง ไอเดียขึ้นมาจากความว่างเปล่า
แต่อะไรจะเป็นหลักประกันละว่าความคิดที่เกิดขึ้นจะไม่เป็นความคิดยึดมั่นถือมั่นหน้าเดิมที่ปรุงแต่งขึ้นมาจากความเป็นบุคคลของเรา หลักประกันก็คือความรู้ตัวทั่วพร้อม (ปิติ) และความผ่อนคลาย (สุข) คือตราบใดที่มีความรู้ตัวทั่วพร้อมและมีความผ่อนคลายอยู่ขณะปล่อยสมาธิไปไม่ควบคุม เมื่อนั้นแนวโน้มที่ความคิดที่เกิดขึ้นในสภาวะนี้จะเป็นปัญญาญาณก็มีมาก แต่หากไม่มีความรู้ตัวทั่วพร้อม หรือไม่ผ่อนคลาย ก็มีแนวโน้มว่าความคิดที่เกิดขึ้นจะเป็นความคิดยึดมั่นถือมันที่ปรุงขึ้นมาจากความเป็นบุคคลของเรา ดังนั้นเมื่อยังไม่รู้ตัวทั่วพร้อมหรือยังไม่ผ่อนคลาย อย่าเพิ่งปล่อยสมาธิไป ให้กลับไปทำความรู้ตัวทั่วพร้อมและผ่อนคลายร่างกายลงก่อน ให้ลองยิ้มนิดๆที่มุมปากดู ถ้ายิ้มไม่ออกก็แสดงว่ายังไม่ผ่อนคลาย อย่าเพิ่งปล่อยสมาธิไป ต้องผ่อนคลายจริงๆก่อน จึงจะปล่อยสมาธิไปไม่ควบคุม
ขั้นที่ 13. เห็นอนิจจัง (see impermanence) ปัญญาญาณที่เกิดขึ้นขณะค่อยๆถอยออกจากจิตที่เป็นสมาธิ จะชี้นำให้เราเห็นความเป็นอนิจจังของสรรพสิ่ง เช่น เมื่ออยู่ในสมาธิแน่วแน่ระดับฌานจนอายตนะอื่นๆหายไปหมด ร่างกายก็จะหายไป เราก็จะเห็นตามที่มันเป็นว่าร่างกายนี้มีอยู่ได้ แต่ก็หายไปได้ การเห็นว่าอะไรที่บัดเดี๋ยวมีอยู่ บัดเดี๋ยวหายไป นั่นคือการเห็นอนิจจังตามที่มันเป็น
ขั้นที่ 14 เห็นความจางคลาย (Fading away) เมื่อเห็นความเป็นอนิจจังของสิ่งใด ก็จะเห็นความจางคลายของความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งนั้นตามมาเอง
ขั้นที่ 15. เห็นความดับ (cessation) เมื่อความจางคลายของความยึดมั่นถือมั่นในเรื่องใดจางคลายลงๆจนถึงระดับหนึ่ง ก็จะเห็นความยึดมั่นถือมันนั้นดับมอดไปเอง
ขั้นที่ 16. ปล่อยวาง (relinquish) เมื่อความคิดยึดมั่นถือมั่นในเรื่องใดดับลง ก็จะเห็นอาการปล่อยวางความยึดถือนั้นเปลี่ยนไปเป็นการเห็นตามที่มันเป็น (อุเบกขา)
ดังนั้น จิตที่เป็นอุเบกขา ที่รับรู้ทุกอย่างตามที่ม้ันเป็น จึงเป็นปลายทางที่แท้จริงของอานาปานสติ
อนึ่ง ขั้นที่ 13-16 นี้เป็นการเล่นกับการ "เห็น" สิ่งที่ไม่อาจอธิบายด้วยชื่อหรือรูปร่างได้ สี่ขั้นตอนนี้รวมเรียกว่า "ธรรมานุสติปัฏฐาน" ซึ่งเป็นการเห็นตามที่มันเป็น เป็นการเห็นด้วยปัญญาญาณ (intuition) ที่เกิดขึ้นจากการมีสมาธิระดับนิ่งเป็นฌานเสียก่อน ไม่ใช่เป็นการคิดเอาจากความฉลาดเชิงตรรกะ (wisdom หรือ intellect)
ผมไม่ได้หมายความว่าการคิดเอาในเชิงตรรกะจะพาหลุดพ้นไม่ได้นะ ได้นะมันได้ มันก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่เรียกว่าปัญญาวิมุตติ แบบวิธีตั้งคำถามตามแนว self inquiry อย่างที่เราเรียนกันไปเมื่อวาน แต่ว่าอย่างไรก็ตามนั่นมันเป็นแค่ต้นทางเหมือนกับการกวาดบ้านถูบ้านเพื่อรับแขกสำคัญ ไม่ใช่การมาหรือไม่มาของแขกสำคัญนะ คือปลายทางสุดท้ายของทุกวิธีก็คือการจอดหรือแช่ความสนใจอยู่ในความว่างเพื่อการรู้เห็นตามที่มันเป็นจริงแล้วปล่อยวาง นั่นแหละปลายทาง
ปล. เพื่อให้ผู้ที่ล้นจากแค้มป์รีทรีตทางจิตวิญญาณรุ่นที่ 4 ได้มีโอกาสเข้ารีทรีตก่อนที่อากาศจะร้อนขึ้น ผมได้เปิด แค้มป์รีทรีตทางจิตวิญญาณรุ่นที่ 5 (Spiritual Retreat 5) ขึ้นในวันที่ 26-29 มีค. 61 รับไม่เกิน 15 คน เหลือเวลาอีกไม่กี่วัน ยังมีที่เหลืออยู่ ท่านที่สนใจและจัดเวลาทันก็เชิญได้นะครับ
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์