ปัญญาญาณ..การเห็นตามที่มันเป็น
คำถามจากผู้ที่มาเข้า Spiritual Retreat
1. ถามว่า "เมื่อใจจดจ่ออยู่ที่ลมหายใจได้ต่อเนื่อง ไม่มีความคิด แล้วไงต่อ"
ตอบว่าเมื่อจดจ่อความสนใจ (concentrate) อยู่กับอะไรสักอย่างเช่นลมหายใจได้จนการจดจ่อนั้นซ้ำๆซากๆจนไม่มีความคิดอะไรแทรกเข้ามาในระหว่างการจดจ่อได้แล้ว โดยธรรมชาติไม่ว่าเราจะใช้อะไรเป็นเป้าในการจดจ่อก็ตาม เมื่อจดจ่อละเอียดลงไปแล้วสิ่งที่จดจ่อนั้นมันจะกลายเป็นเนื้อละเอียดของความว่างทั้งสิ้น ซึ่งเป็นเนื้อเดียวกันกับความว่างที่เป็นความรู้ตัวนั่นแหละ ยกตัวอย่างเช่นลมหายใจ เมื่อจดจ่อจนเนื้อของลมหายใจปรากฎชัดขึ้นนิ่งขึ้นในใจ รูปแบบภายนอกของลมหายใจเช่นการวิ่งเข้าวิ่งออกก็จะค่อยๆหายไปหมด คือลมหายใจในรูปแบบที่เราคุ้นเคยจะหายไป เหลือแต่เนื้อของมันที่ว่างๆนิ่งๆยังอยู่ หรือพูดอีกอย่างหนึ่งก็คือถึงจุดหนึ่งเมื่อลมหายใจหายไป เราก็ต้องปล่อยลมหายใจไป ไม่ไปจดจ่อควบคุมที่ลมหายใจ ปล่อยให้ความสนใจ (attention) อ้อยอิ่ง หรือแช่อิ่ม หรือจม อยู่ในเนื้อละเอียดที่เป็นความว่างๆนิ่งๆนั้น ซึ่งก็คือการแช่อยู่ในความรู้ตัวนั่นเอง ตรงนี้แหละที่เรียกกันว่าฌาน ตรงนี้เป็นฐานรากที่จะเข้าไปสู่การรู้เห็นตามที่มันเป็น
2. ถามว่า "ที่เรียกว่าเห็นตามที่มันเป็นนั้นคืออย่างไร หมายความว่ารู้ว่าทุกอย่างล้วนเป็นอนิจจังใช่ไหม "
ตอบว่าไม่ใช่ครับ สิ่งที่เราท่องจำได้ขึ้นใจว่า "อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา" นั้นเป็นความเข้าใจที่เกิดจากการคิดเอาตามเหตุและผล เป็นปรีชาญาณ (intellect) ซึ่งทุกคนรู้และเข้าใจอยู่แล้ว เด็กชั้นป.6 ที่เรียนวิชาพุทธศาสนาก็รู้จักอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาแล้ว ทั้งท่องจำได้ ทั้งเข้าใจความหมายมันอย่างดีด้วย แต่การรู้และเข้าใจอย่างนี้ไม่เกี่ยวอะไรกับความสามารถที่จะปล่อยวางความคิด และไม่ใช่กลไกการ "เห็นตามที่มันเป็น" ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการปล่อยวางความคิด
การ "เห็นตามที่มันเป็น" เป็นกลไกที่เกิดจากปัญญาญาณ (intuition) ไม่ใช่ความเข้าใจจากการคิดเอาจากเหตุและผล กลไกการเกิดปัญญาญาณจะต้องเริ่มต้นด้วยการที่จิตมีสมาธิจนปลอดความคิด หรือเกิดฌานก่อน ณ จุดนี้ความสนใจจะอ้อยอิ่ง หรือแช่ หรือจมดิ่ง อยู่ในความรู้ตัวซึ่งเป็นเนื้อของความว่างหรือของสนามโล่งๆในใจเรา ความรู้ตัวนี้มีเอกลักษณ์ประจำตัวอยู่สามสี่อย่าง คือ
หนึ่ง มันเป็นความตื่น (awake) หมายความว่าไม่หลับ ไม่ตาย
สอง มันเป็นความสามารถรับรู้ (aware)
สาม เมื่อจมดิ่งลึกลงไป มันจะมีความเบิกบาน หรือสงบเย็น ซึ่งเป็นคลื่นพลังงานหรือความสั่นสะเทือนระดับละเอียดยิ่งขึ้นแผ่สร้านเข้ามา
สี่ เมื่อจมดิ่งลึกลงไปอีก มันจะมีปัญญาญาณ ซึ่งเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของคลื่นความสั่นสะเทือนระดับละเอียดยิ่งขึ้นไปอีกแทรกเข้ามา ดังนั้นปัญญาญาณนี้มันจะเกิดตามหลังเมื่อมีสมาธิปลอดจากความคิดแล้ว
การเห็นตามที่มันเป็นนี้เป็นการเห็นจากปัญญาญาณ ไม่ต้องคิดต้องอ่านอะไร มันเห็นตามที่มันเป็นอยู่ขณะนั้น มันจะเกิดขึ้นหลังจากที่จิตเป็นสมาธิวางความคิดได้หมดแล้ว ยกตัวอย่างเช่นเมื่อมีสมาธิจมดิ่งลงไปในความรู้ตัวลึกระดับหนึ่ง ความสนใจจะหันเหทิ้งอายตนะไปอยู่กับความรู้ตัว จนภาพเสียงกลิ่นรสสัมผัสและความคิดหายไปหมด พูดง่ายๆว่าร่างกายทั้งร่างกายหายไป ถึงจุดหนึ่งใจจะสั่งการอะไรกับร่างกายให้ขยับแขนขาก็สั่งไม่ได้เพราะมันมีอยู่แต่ความรู้ตัวไม่ม่ีร่างกายอยู่เสียแล้ว ณ จุดนั้นก็จะเห็นจะๆตรงหน้าเดี๋ยวนั้นเองว่าอ้อ.. ความรู้ตัวกับร่างกายนี้เป็นคนละอันกัน มีความรู้ตัวยังอยู่โดยไม่มีร่างกายก็ได้ ต่อหน้าความรู้ตัวซึ่งเป็นผู้สังเกตนี้ ร่างกายซึ่งเป็นของที่เคยมีอยู่ อยู่ๆก็หายแว้บไปไหนไม่รู้ จึงเห็นว่า อ้อ..ร่างกายนี้ไม่ใช่ของที่จะอยู่สถิตย์สถาพรตลอดไปนะ บัดเดี๋ยวมันมีอยู่ได้ บัดเดี๋ยวมันก็หายไปได้ การเห็นแบบนี้แหละที่เรียกว่าเห็นตามที่มันเป็น คือเห็นว่ามันเป็นอย่างนั้นจริงๆ ไม่ต้องคิดไม่ต้องตีความใดๆทั้งสิ้น อนึ่ง การมองเห็นว่าสิ่งที่เคยมีอยู่หายไปได้นี้แหละ ที่ทำให้ความยึดถือในสิ่งที่เคยมีอยู่จางคลายลง ซึ่งเป็นความก้าวหน้าที่สำคัญบนเส้นทางสู่ความหลุดพ้น
3. ถามว่า "ที่บอกว่าให้สนองตอบต่อสิ่งเร้าในเชิงบวกเสมอนั้นจะทำได้อย่างไร เพราะการสนองตอบต่อสิ่งเร้ามันเกิดแบบอัตโนมัติไม่ใช่หรือ"
ตอบว่า ที่คุณว่าการสนองตอบต่อสิ่งเร้ามีธรรมชาติเป็นอัตโนมัตินั้นเป็นจริงเฉพาะเมื่อขณะนั้นคุณทิ้งความสนใจให้จมอยู่ในความคิด (thinking a thought) เท่านั้น แต่ไม่เป็นจริงถ้าขณะนั้นความสนใจถอยออกมาเป็นผู้สังเกต (aware of a thought) อยู่ที่ความรู้ตัว
เรื่องนี้มันเป็นขั้นตอนการปฏิบัติ เราพูดถึงมันสักหน่อยก็ดีเพราะไม่ค่อยมีใครพูดถึงตรงนี้ คือเมื่อสิ่งเร้าจากภายนอกเข้ามา ก่อนที่จิตสำนึกรับรู้จะเอาประสบการณ์ในอดีตมาแปลความหมายสิ่งเร้านั้นได้ สิ่งเร้านั้นซึ่งมาถึงในรูปของพลังงาน (energy) จะต้องถูกแปลงเป็นชื่อหรือภาพ (names and forms) ที่ความจำรู้จักและตีค่าให้ได้ก่อน แล้วจึงจะตกกระทบหรือกระแทกลงไปบนร่างกาย ทั้งหมดนี้มันเป็นปรากฎการณ์ที่รวดเร็วรุนแรงแบบสายฟ้าแลบ เปรี้ยง..ง คือเร็วมาก จุดกระแทกก็คือตรงกลางหน้าอกนั่นแหละ ที่ว่ากระแทกตรงหน้าอกนี่ผมเดาเอาเองคิดเองพูดเองนะ เพราะอย่าลืมว่ามันมาในรูปของพลังงานที่ผ่านเข้ามาทางตาหูจมูกลิ้นผิวหนังและใจนะ และพอเฝ้ามองให้ละเอียดลงไปก็จะเห็นว่ากลไกการเกิดมันเหมือนกันหมดไม่ว่าจะเป็นสิ่งเร้าแบบแรงหรือค่อย ผมรู้ว่ามันกระแทกที่หน้าอกเพราะเวลารับรู้เรื่องแรงๆจะรู้สึกแว้บ..บ ที่หน้าอก จากนั้นจึงจะแผ่ขยายไปเป็นอาการทั่วร่างกาย โดยหากเป็นเรื่องร้อนที่ทำให้โกรธ มันก็จะ "ขึ้น" คือใจเต้นตัก ตัก ตัก หายใจหอบฟืดฟาด ฟืดฟาด ร้อนผ่าวๆ เกร็ง ขึ้นคอ ขึ้นหน้า แต่ถ้าเป็นเรื่องเย็นหรือเรื่อง "เยิ้ม" มันจะอุ่นวาบลงไปทางท้อง ถ้าเป็นสิ่งเร้าที่เซ็กซี่มันจะไป น็อค น็อค น็อค ที่จุดยุทธศาสตร์คืออวัยวะเพศของเรา ทั้งหมดนี้เป็นเหตุการณ์บนร่างกายทั้งสิ้นนะ เป็นอาการของร่างกายทั้งสิ้น ยังไม่ทันมีความคิดอะไรเกิดต่อยอดเลย
ู การจะสนองตอบต่อสิ่งเร้าเชิงบวก คุณจะต้องให้ความสนใจ (attention) มีความพร้อมอยู่ ณ ที่ตั้ง คืออยู่ที่ความรู้ตัวอยู่ตลอดเวลา ให้ความสนใจวิ่งไปทันรับรู้ตอนที่สิ่งเร้าลงกระแทกหน้าอก แล้วเฝ้าดูอาการทางร่างกาย ขณะที่มันกำลัง "ขี้น" หรือ "ลง" ในร่างกาย หากทำได้อย่างนี้แล้วเมื่อมันถูกเฝ้าดู มันตกกระทบแล้ว มันก็จะฝ่อหายไปเอง จะไม่เกิดความคิดต่อยอด เพราะความคิดใดๆจะเกิดขึ้นได้ต้องมีความสนใจเป็นผู้ให้ท้าย หรือเป็นผู้อนุมัติ แต่นี่ความสนใจแยกออกมาเป็นผู้สังเกตอยู่ข้างนอกเสียก่อนอย่างนี้แล้วความคิดต่อยอดก็เกิดไม่ได้เพราะไม่มีใครอนุมัติให้เกิด เมื่อไม่มีความคิดเกิดต่อยอด ก็จะไม่มีอะไรลบๆใหม่ๆที่จะต้องถูกบันทึกเพิ่มเติมไว้ในความจำ การสนองตอบต่อสิ่งเร้าในครั้งนั้นก็จะไม่มีผลอะไรสืบเนื่องไปถึงวันข้างหน้า นอกจากนั้นความจำเรื่องลบๆจากอดีตก็จะค่อยๆลดลงๆในแต่ละครั้งที่มีการรับรู้สิ่งเร้าใหม่ๆ เพราะแต่ละครั้งที่ความจำเก่าๆถูกดึงขึ้นมาแปลความหมายสิ่งเร้าไปทางลบ ความสนใจของเราก็เฝ้าดูสิ่งเร้านั้นตกกระทบร่างกายแล้วฝ่อหายไปโดยไม่ยอมใส่ไฟให้มันก่อความคิดใหม่ได้อีก เป็นการรู้แล้วปล่อยให้ผ่านไป ไม่ใช่รู้แบบรู้แล้วเก็บไว้ การสนองตอบต่อสิ่งเร้าในแบบนี้จะเป็นการสนองตอบแบบตั้งสติทัน เพราะต้องรอสังเกตเฝ้าดูจนการตกกระทบจบกระบวนความจนพลังงานที่ตกกระทบนั้นฝ่อหายไปไม่เหลือซากแล้ว จึงค่อยตั้งสติสนองตอบ มันจึงเป็นการสนองตอบแบบสโลวโมชั่น สโลว์จนเลือกสนองตอบแต่เชิงบวกได้
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
............................
จดหมายจากท่านผู้อ่าน
"การมองเห็นว่าสิ่งที่เคยมีอยู่หายไปได้นี้แหละ ที่ทำให้ความยึดถือในสิ่งที่เคยมีอยู่จางคลายลง" การเห็นว่าสิ่งที่เคยมีอยู่หายไปได้ ต้องเห็นบ่อยๆถึงจะทำให้ความยึดถือจางคลาย หรือเห็นแค่ครั้งเดียวก็สามารถคลายไปได้ในพริบตาเหมือนดีดนิ้วคะ"
ตอบครับ
ผมไม่มีความรอบรู้ถึงขั้นจะตอบคำถามนี้ี้็ให้เป็นภาพใหญ่ที่ใช้ได้กับคนส่วนใหญ่ได้ คงได้แค่ตอบจากประสบการณ์ของตัวเองคนเดียว บังเอิญผมมีปูมหลังเป็นคนที่ไม่ค่อยมีปัญหายึดติดในสิ่งที่คนอื่นๆเขามีปัญหากันเช่นเงินทองเกียรติยศชื่อเสียง สิ่งเหล่านั้นไม่ได้เป็นปัญหาให้ผมต้องปล่อยหรือต้องแกะ แต่ว่าสิ่งเดียวที่ผมยากที่จะปล่อยวางได้คือความยึดติดในร่างกายนี้ว่ามันเป็นของเรา ได้พยายามหลายวิธีที่จะแกะตรงนี้แต่ไม่เคยได้ผล แต่เมื่อได้เห็นด้วยตนเองว่าความรู้ตัวกับร่างกายนี้เป็นคนละอันกัน มีแต่ความรู้ตัวโดยไม่มีร่างกายก็ได้ และร่างกายนี้เคยมีอยู่แต่หายไปก็ได้ เห็นอย่างนี้ี้เพียงครั้งเดียว ก็มีผลเปลี่ยนความเชื่อเดิมชนิดที่จะไม่หันหลังกลับไปอีกเลย
...............................................
1. ถามว่า "เมื่อใจจดจ่ออยู่ที่ลมหายใจได้ต่อเนื่อง ไม่มีความคิด แล้วไงต่อ"
ตอบว่าเมื่อจดจ่อความสนใจ (concentrate) อยู่กับอะไรสักอย่างเช่นลมหายใจได้จนการจดจ่อนั้นซ้ำๆซากๆจนไม่มีความคิดอะไรแทรกเข้ามาในระหว่างการจดจ่อได้แล้ว โดยธรรมชาติไม่ว่าเราจะใช้อะไรเป็นเป้าในการจดจ่อก็ตาม เมื่อจดจ่อละเอียดลงไปแล้วสิ่งที่จดจ่อนั้นมันจะกลายเป็นเนื้อละเอียดของความว่างทั้งสิ้น ซึ่งเป็นเนื้อเดียวกันกับความว่างที่เป็นความรู้ตัวนั่นแหละ ยกตัวอย่างเช่นลมหายใจ เมื่อจดจ่อจนเนื้อของลมหายใจปรากฎชัดขึ้นนิ่งขึ้นในใจ รูปแบบภายนอกของลมหายใจเช่นการวิ่งเข้าวิ่งออกก็จะค่อยๆหายไปหมด คือลมหายใจในรูปแบบที่เราคุ้นเคยจะหายไป เหลือแต่เนื้อของมันที่ว่างๆนิ่งๆยังอยู่ หรือพูดอีกอย่างหนึ่งก็คือถึงจุดหนึ่งเมื่อลมหายใจหายไป เราก็ต้องปล่อยลมหายใจไป ไม่ไปจดจ่อควบคุมที่ลมหายใจ ปล่อยให้ความสนใจ (attention) อ้อยอิ่ง หรือแช่อิ่ม หรือจม อยู่ในเนื้อละเอียดที่เป็นความว่างๆนิ่งๆนั้น ซึ่งก็คือการแช่อยู่ในความรู้ตัวนั่นเอง ตรงนี้แหละที่เรียกกันว่าฌาน ตรงนี้เป็นฐานรากที่จะเข้าไปสู่การรู้เห็นตามที่มันเป็น
2. ถามว่า "ที่เรียกว่าเห็นตามที่มันเป็นนั้นคืออย่างไร หมายความว่ารู้ว่าทุกอย่างล้วนเป็นอนิจจังใช่ไหม "
ตอบว่าไม่ใช่ครับ สิ่งที่เราท่องจำได้ขึ้นใจว่า "อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา" นั้นเป็นความเข้าใจที่เกิดจากการคิดเอาตามเหตุและผล เป็นปรีชาญาณ (intellect) ซึ่งทุกคนรู้และเข้าใจอยู่แล้ว เด็กชั้นป.6 ที่เรียนวิชาพุทธศาสนาก็รู้จักอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาแล้ว ทั้งท่องจำได้ ทั้งเข้าใจความหมายมันอย่างดีด้วย แต่การรู้และเข้าใจอย่างนี้ไม่เกี่ยวอะไรกับความสามารถที่จะปล่อยวางความคิด และไม่ใช่กลไกการ "เห็นตามที่มันเป็น" ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการปล่อยวางความคิด
การ "เห็นตามที่มันเป็น" เป็นกลไกที่เกิดจากปัญญาญาณ (intuition) ไม่ใช่ความเข้าใจจากการคิดเอาจากเหตุและผล กลไกการเกิดปัญญาญาณจะต้องเริ่มต้นด้วยการที่จิตมีสมาธิจนปลอดความคิด หรือเกิดฌานก่อน ณ จุดนี้ความสนใจจะอ้อยอิ่ง หรือแช่ หรือจมดิ่ง อยู่ในความรู้ตัวซึ่งเป็นเนื้อของความว่างหรือของสนามโล่งๆในใจเรา ความรู้ตัวนี้มีเอกลักษณ์ประจำตัวอยู่สามสี่อย่าง คือ
หนึ่ง มันเป็นความตื่น (awake) หมายความว่าไม่หลับ ไม่ตาย
สอง มันเป็นความสามารถรับรู้ (aware)
สาม เมื่อจมดิ่งลึกลงไป มันจะมีความเบิกบาน หรือสงบเย็น ซึ่งเป็นคลื่นพลังงานหรือความสั่นสะเทือนระดับละเอียดยิ่งขึ้นแผ่สร้านเข้ามา
สี่ เมื่อจมดิ่งลึกลงไปอีก มันจะมีปัญญาญาณ ซึ่งเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของคลื่นความสั่นสะเทือนระดับละเอียดยิ่งขึ้นไปอีกแทรกเข้ามา ดังนั้นปัญญาญาณนี้มันจะเกิดตามหลังเมื่อมีสมาธิปลอดจากความคิดแล้ว
การเห็นตามที่มันเป็นนี้เป็นการเห็นจากปัญญาญาณ ไม่ต้องคิดต้องอ่านอะไร มันเห็นตามที่มันเป็นอยู่ขณะนั้น มันจะเกิดขึ้นหลังจากที่จิตเป็นสมาธิวางความคิดได้หมดแล้ว ยกตัวอย่างเช่นเมื่อมีสมาธิจมดิ่งลงไปในความรู้ตัวลึกระดับหนึ่ง ความสนใจจะหันเหทิ้งอายตนะไปอยู่กับความรู้ตัว จนภาพเสียงกลิ่นรสสัมผัสและความคิดหายไปหมด พูดง่ายๆว่าร่างกายทั้งร่างกายหายไป ถึงจุดหนึ่งใจจะสั่งการอะไรกับร่างกายให้ขยับแขนขาก็สั่งไม่ได้เพราะมันมีอยู่แต่ความรู้ตัวไม่ม่ีร่างกายอยู่เสียแล้ว ณ จุดนั้นก็จะเห็นจะๆตรงหน้าเดี๋ยวนั้นเองว่าอ้อ.. ความรู้ตัวกับร่างกายนี้เป็นคนละอันกัน มีความรู้ตัวยังอยู่โดยไม่มีร่างกายก็ได้ ต่อหน้าความรู้ตัวซึ่งเป็นผู้สังเกตนี้ ร่างกายซึ่งเป็นของที่เคยมีอยู่ อยู่ๆก็หายแว้บไปไหนไม่รู้ จึงเห็นว่า อ้อ..ร่างกายนี้ไม่ใช่ของที่จะอยู่สถิตย์สถาพรตลอดไปนะ บัดเดี๋ยวมันมีอยู่ได้ บัดเดี๋ยวมันก็หายไปได้ การเห็นแบบนี้แหละที่เรียกว่าเห็นตามที่มันเป็น คือเห็นว่ามันเป็นอย่างนั้นจริงๆ ไม่ต้องคิดไม่ต้องตีความใดๆทั้งสิ้น อนึ่ง การมองเห็นว่าสิ่งที่เคยมีอยู่หายไปได้นี้แหละ ที่ทำให้ความยึดถือในสิ่งที่เคยมีอยู่จางคลายลง ซึ่งเป็นความก้าวหน้าที่สำคัญบนเส้นทางสู่ความหลุดพ้น
3. ถามว่า "ที่บอกว่าให้สนองตอบต่อสิ่งเร้าในเชิงบวกเสมอนั้นจะทำได้อย่างไร เพราะการสนองตอบต่อสิ่งเร้ามันเกิดแบบอัตโนมัติไม่ใช่หรือ"
ตอบว่า ที่คุณว่าการสนองตอบต่อสิ่งเร้ามีธรรมชาติเป็นอัตโนมัตินั้นเป็นจริงเฉพาะเมื่อขณะนั้นคุณทิ้งความสนใจให้จมอยู่ในความคิด (thinking a thought) เท่านั้น แต่ไม่เป็นจริงถ้าขณะนั้นความสนใจถอยออกมาเป็นผู้สังเกต (aware of a thought) อยู่ที่ความรู้ตัว
เรื่องนี้มันเป็นขั้นตอนการปฏิบัติ เราพูดถึงมันสักหน่อยก็ดีเพราะไม่ค่อยมีใครพูดถึงตรงนี้ คือเมื่อสิ่งเร้าจากภายนอกเข้ามา ก่อนที่จิตสำนึกรับรู้จะเอาประสบการณ์ในอดีตมาแปลความหมายสิ่งเร้านั้นได้ สิ่งเร้านั้นซึ่งมาถึงในรูปของพลังงาน (energy) จะต้องถูกแปลงเป็นชื่อหรือภาพ (names and forms) ที่ความจำรู้จักและตีค่าให้ได้ก่อน แล้วจึงจะตกกระทบหรือกระแทกลงไปบนร่างกาย ทั้งหมดนี้มันเป็นปรากฎการณ์ที่รวดเร็วรุนแรงแบบสายฟ้าแลบ เปรี้ยง..ง คือเร็วมาก จุดกระแทกก็คือตรงกลางหน้าอกนั่นแหละ ที่ว่ากระแทกตรงหน้าอกนี่ผมเดาเอาเองคิดเองพูดเองนะ เพราะอย่าลืมว่ามันมาในรูปของพลังงานที่ผ่านเข้ามาทางตาหูจมูกลิ้นผิวหนังและใจนะ และพอเฝ้ามองให้ละเอียดลงไปก็จะเห็นว่ากลไกการเกิดมันเหมือนกันหมดไม่ว่าจะเป็นสิ่งเร้าแบบแรงหรือค่อย ผมรู้ว่ามันกระแทกที่หน้าอกเพราะเวลารับรู้เรื่องแรงๆจะรู้สึกแว้บ..บ ที่หน้าอก จากนั้นจึงจะแผ่ขยายไปเป็นอาการทั่วร่างกาย โดยหากเป็นเรื่องร้อนที่ทำให้โกรธ มันก็จะ "ขึ้น" คือใจเต้นตัก ตัก ตัก หายใจหอบฟืดฟาด ฟืดฟาด ร้อนผ่าวๆ เกร็ง ขึ้นคอ ขึ้นหน้า แต่ถ้าเป็นเรื่องเย็นหรือเรื่อง "เยิ้ม" มันจะอุ่นวาบลงไปทางท้อง ถ้าเป็นสิ่งเร้าที่เซ็กซี่มันจะไป น็อค น็อค น็อค ที่จุดยุทธศาสตร์คืออวัยวะเพศของเรา ทั้งหมดนี้เป็นเหตุการณ์บนร่างกายทั้งสิ้นนะ เป็นอาการของร่างกายทั้งสิ้น ยังไม่ทันมีความคิดอะไรเกิดต่อยอดเลย
ู การจะสนองตอบต่อสิ่งเร้าเชิงบวก คุณจะต้องให้ความสนใจ (attention) มีความพร้อมอยู่ ณ ที่ตั้ง คืออยู่ที่ความรู้ตัวอยู่ตลอดเวลา ให้ความสนใจวิ่งไปทันรับรู้ตอนที่สิ่งเร้าลงกระแทกหน้าอก แล้วเฝ้าดูอาการทางร่างกาย ขณะที่มันกำลัง "ขี้น" หรือ "ลง" ในร่างกาย หากทำได้อย่างนี้แล้วเมื่อมันถูกเฝ้าดู มันตกกระทบแล้ว มันก็จะฝ่อหายไปเอง จะไม่เกิดความคิดต่อยอด เพราะความคิดใดๆจะเกิดขึ้นได้ต้องมีความสนใจเป็นผู้ให้ท้าย หรือเป็นผู้อนุมัติ แต่นี่ความสนใจแยกออกมาเป็นผู้สังเกตอยู่ข้างนอกเสียก่อนอย่างนี้แล้วความคิดต่อยอดก็เกิดไม่ได้เพราะไม่มีใครอนุมัติให้เกิด เมื่อไม่มีความคิดเกิดต่อยอด ก็จะไม่มีอะไรลบๆใหม่ๆที่จะต้องถูกบันทึกเพิ่มเติมไว้ในความจำ การสนองตอบต่อสิ่งเร้าในครั้งนั้นก็จะไม่มีผลอะไรสืบเนื่องไปถึงวันข้างหน้า นอกจากนั้นความจำเรื่องลบๆจากอดีตก็จะค่อยๆลดลงๆในแต่ละครั้งที่มีการรับรู้สิ่งเร้าใหม่ๆ เพราะแต่ละครั้งที่ความจำเก่าๆถูกดึงขึ้นมาแปลความหมายสิ่งเร้าไปทางลบ ความสนใจของเราก็เฝ้าดูสิ่งเร้านั้นตกกระทบร่างกายแล้วฝ่อหายไปโดยไม่ยอมใส่ไฟให้มันก่อความคิดใหม่ได้อีก เป็นการรู้แล้วปล่อยให้ผ่านไป ไม่ใช่รู้แบบรู้แล้วเก็บไว้ การสนองตอบต่อสิ่งเร้าในแบบนี้จะเป็นการสนองตอบแบบตั้งสติทัน เพราะต้องรอสังเกตเฝ้าดูจนการตกกระทบจบกระบวนความจนพลังงานที่ตกกระทบนั้นฝ่อหายไปไม่เหลือซากแล้ว จึงค่อยตั้งสติสนองตอบ มันจึงเป็นการสนองตอบแบบสโลวโมชั่น สโลว์จนเลือกสนองตอบแต่เชิงบวกได้
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
............................
จดหมายจากท่านผู้อ่าน
"การมองเห็นว่าสิ่งที่เคยมีอยู่หายไปได้นี้แหละ ที่ทำให้ความยึดถือในสิ่งที่เคยมีอยู่จางคลายลง" การเห็นว่าสิ่งที่เคยมีอยู่หายไปได้ ต้องเห็นบ่อยๆถึงจะทำให้ความยึดถือจางคลาย หรือเห็นแค่ครั้งเดียวก็สามารถคลายไปได้ในพริบตาเหมือนดีดนิ้วคะ"
ตอบครับ
ผมไม่มีความรอบรู้ถึงขั้นจะตอบคำถามนี้ี้็ให้เป็นภาพใหญ่ที่ใช้ได้กับคนส่วนใหญ่ได้ คงได้แค่ตอบจากประสบการณ์ของตัวเองคนเดียว บังเอิญผมมีปูมหลังเป็นคนที่ไม่ค่อยมีปัญหายึดติดในสิ่งที่คนอื่นๆเขามีปัญหากันเช่นเงินทองเกียรติยศชื่อเสียง สิ่งเหล่านั้นไม่ได้เป็นปัญหาให้ผมต้องปล่อยหรือต้องแกะ แต่ว่าสิ่งเดียวที่ผมยากที่จะปล่อยวางได้คือความยึดติดในร่างกายนี้ว่ามันเป็นของเรา ได้พยายามหลายวิธีที่จะแกะตรงนี้แต่ไม่เคยได้ผล แต่เมื่อได้เห็นด้วยตนเองว่าความรู้ตัวกับร่างกายนี้เป็นคนละอันกัน มีแต่ความรู้ตัวโดยไม่มีร่างกายก็ได้ และร่างกายนี้เคยมีอยู่แต่หายไปก็ได้ เห็นอย่างนี้ี้เพียงครั้งเดียว ก็มีผลเปลี่ยนความเชื่อเดิมชนิดที่จะไม่หันหลังกลับไปอีกเลย
...............................................