สูงวัยอย่างแอคทีฟ (Active Aging)
หมอสันต์ให้สัมภาษณ์นักศึกษาทำวิทยานิพนธ์เรื่องการการสร้างชุมชนผู้สูงวัย บทสัมภาษณ์นี้สืบเนื่องมาจากการไปร่วมประชุมแลกเปลี่ยนความรู้เรื่องการดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งจัดโดยมูลนิธิบ้านสุธาวาสร่วมกับ Resthaven Inc. เมื่อ 19 กย. 60 หมอสันต์ได้รับเอาแนวคิด Active aging ที่เรียนรู้จากการประชุมนั้นมาเป็นส่วนหนึ่งของการตอบคำถามในบทสัมภาษณ์นี้
อะไรนำพาให้อาจารย์คิดทำชุมชนผู้สูงวัยคะ
คอนเซ็พท์หลักในใจผมก็คือ "สูงวัยอย่างแอคทีฟ (Active Aging)" หมายถึงว่าจะทำอย่างไรให้ผู้สูงวัยมีชีวิตที่มีคุณภาพใน 3 ประเด็น คือ (1) มีสุขภาพดี (2) มีส่วนร่วม และ (3) มีความมั่นคง
หมายความว่าด้านหนึ่งก็มุ่งช่วยให้ผู้สูงวัยตระหนักว่าตนเองมีศักยภาพที่จะทำให้ร่างกายตัวเองแข็งแรง ทำให้จิตใจตัวเองแจ่มใสร่าเริง และทำตัวเองให้มีค่าต่อสังคมเท่าที่ตัวเองอยากทำหรือสามารถทำได้ อีกด้านหนึ่งก็สร้างระบบที่ให้ความคุ้มครองป้องกัน ให้ความมั่นคง และให้การเอาใจใส่ดูแลตามสมควร
คำว่าแอคทีฟนี้ อาจารย์ขยายความอีกสักหน่อยได้ไหมคะ
คำว่าแอคทีฟไม่ใช่หมายความแค่ว่ามีร่างกายแข็งแรงหรือยังทำงานได้อยู่เท่านั้น แต่หมายความรวมไปถึงการมีส่วนร่วมในกิจกรรมด้านสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม จิตวิญญาณ และกิจกรรมชุมชนต่างๆ
หมายความว่าแม้จะเกษียณแล้ว หรือป่วยแล้ว หรือทุพลภาพแล้ว ทุกคนก็ยังสามารถทำอะไรให้แก่ครอบครัว เพื่อน ชุมชน และประเทศของตนเองได้ ไม่ใช่ว่าป่วยนิดเดียวก็นอนรอเป็นปุ๋ยเสียแล้ว
แอคทีฟหมายถึงความมุ่งหวังที่จะให้คนเข้าสู่วัยสูงอายุทุกคน รวมทั้งคนที่อ่อนแอหรือทุพลภาพแล้ว มีสุขภาพดี มีอายุยืน และมีชีวิตที่มีคุณภาพด้วย
คำว่าสุขภาพนี้หมายความรวมถึงกาย จิต และสังคม ดังนั้นโปรแกรมที่ส่งเสริมสุขภาพจิตและการเชื่อมโยงกันทางสังคมจึงมีความสำคัญไม่แพ้การส่งเสริมสุขภาพกาย
แล้วอาจารย์นำคอนเซ็พท์ Active Aging มาสร้างชุมชนอย่างไร
คือการเข้าสู่และอยู่ในวัยสูงอายุนี้ มันเกิดขึ้นต่อเนื่องทุกวัน มันเกิดขึ้นในขณะที่กำลังมีชีวิตอยู่ร่วมกับคนอื่น ได้แก่ครอบครัว ญาติ มิตร เพื่อนร่วมงาน เพื่อนบ้าน ดังนั้นการถ้อยทีถ้อยช่วยเหลือกันและกันหรือความเป็นพี่น้องกันแบบที่เรียกว่าภราดรภาพระหว่างผู้สูงวัยกับคนอื่นรอบตัวไม่ว่าจะเป็นคนรุ่นเดียวกันหรือคนต่างวัยจึงสำคัญ ชุมชนที่ผมสร้างขึ้นจึงต้องออกแบบให้เป็นสังคมที่ดูแลกันและกัน (co-care) หรือชุมชนเพื่อนบ้านเกื้อกูล ( neighborhood support) ทุกคนรู้จักกัน ช่วยเหลือกันไปช่วยเหลือกันมา
ฟังดูยังนึกภาพไม่ออก ลองช่วยบอกวิธีทำในระดับปฏิบัติ
ขอโทษ ผมอาจจะตอบรวบรัดไปหน่อย ความจริงแล้วมันเป็นการสร้างดุลยภาพระหว่างสามอย่างคือ
(1) ความสามารถที่จะดูแลตัวเอง หรือ self care
(2) ความเป็นปึกแผ่นระหว่างคนหลายวัยในชุมชน (social solidarity)
(3) สิ่งแวดล้อมที่เป็นมิตรกับผู้สูงวัย (age friendly environment)
ในข้อที่ 1 คือ self care นั้น มันเป็นการสร้างทักษะซึ่งต้องใช้เวลายาวนาน วิธีการก็คือผมกระตุ้นชักจูงให้สมาชิกใส่ใจดูแลตัวเอง จัด health camp ให้มาเข้าเรียนท้ักษะเรื่องอาหาร การออกกำลังกาย การจัดความเครียด ชักชวนให้เข้าร่วมกิจกรรมที่จะทำให้มีการเคลื่อนไหวและมีปฏิสัมพันธ์บ่อยๆเช่น เต้นรำ ร้องเพลง เดินไพร มวยจีน โยคะ เป็นต้น โดยอาศัยเวลเนสวีแคร์เซ็นเตอร์ที่มีอยู่แล้วในหมู่บ้านนี้เป็นศูนย์กลาง
ในข้อที่ 2 คือการสร้างความเป็นปึกแผ่นระหว่างคนในชุมชนนั้น นอกจากสมาชิกซึ่งเป็นคนวัยเดียวกันเป็นส่วนใหญ่ที่จะต้องรู้จักกันและช่วยเหลือกันและกันได้แล้ว คนที่เราจ้างมาให้ดูแลชุมชนเช่น คนสวนคน ตัดหญ้า แม่บ้าน หรือแม้กระทั่งเด็กๆลูกของแม่บ้าน และหมาแมวที่เลี้ยงไว้ก็จัดเป็นพี่น้องกันในชุมชนหมด ซึ่งต้องค่อยๆเกลาให้เกิดความเป็นปึกแผ่นและเผื่อแผ่ความรักเมตตาต่อกันอันจะนำไปสู่การให้และรับ give and take ระหว่างกันและกัน สมาชิกต้องรวมกลุ่มกันบริหารกิจการของชุมชนเอง เพราะเงินตั้งต้นก็มีอยู่แล้วจากการที่เก็บเอามาจากสมาชิกทุกคน
ในข้อที่ 3. คือการสร้างสิ่งแวดล้อมที่เป็นมิตรกับผู้สูงวัยนั้น หลักการก็คือทำอย่างไรจึงจะให้ healthy choices เป็น easy choices สำหรับผู้อยู่อาศัยในชุมชนนี้ หมายความว่าอะไรที่ดีๆต่อสุขภาพผู้สูงวัยสามารถหาได้ง่ายๆในชุมชนนี้ เช่น
3.1 จะต้องมีทางให้เดินหรือให้ขี่จักรยานมากๆ เดินทั้งวันก็ยังแทบไม่ซ้ำที่เดิม
3.2 จะต้องมีปารค์ที่ทุกคนมาพักผ่อนหย่อนใจได้ฟรี
3.3 อาหารสุขภาพจะต้องหาง่าย ตอนนี้มีครัวปราณาซึ่งอยู่ในชุมชนเปิดบริการทุกวันแล้ว ครัวนี้ทำแต่อาหารสุขภาพ ผักหญ้าสดๆแบบออร์กานิกก็ปลูกที่ฟาร์มของครัวเองไม่ไกลออกไป สมาชิกซื้อหาไปทำอาหารเองได้ สมาชิกที่ชอบปลูกผักจะเอาผักมาขายให้ก็รับซื้อ สมาชิกที่อยากจะให้ส่งอาหารถึงบ้านก็ส่งให้ได้
3.4 บริการสุขภาพแบบทางเลือกเช่นนวดบำบัด กายภาพบำบัด ควรหาได้ง่ายๆ ตอนนี้ก็มีคลินิกแพทย์แผนไทยและอายุรเวชชื่อเมก้าเวดะอยู่ในนี้แล้ว จะเปิดบริการเดือนหน้า ผู้สูงอายุก็ใช้บริการได้ง่ายๆเพราะอยู่ใกล้บ้าน
3.5 กิจกรรมร่วมกลุ่มเชิงสุขภาพจะต้องมีให้ไปร่วมได้ง่ายๆและใกล้ๆ เช่นจะเต้นรำ ร้องเพลง เล่นโยคะ รำมวยจีน เรียนทำกับข้าว ก็ไม่้ต้องไปไกล มีที่ให้เข้าร่วมได้ใกล้ๆง่ายๆ ซึ่งทุกวันนี้กิจกรรมเหล่านี้มีอยู่เป็นประจำที่เวลเนสวีแคร์เซ็นเตอร์ ซึ่งเปิดให้ผู้อาศัยในชุมชนมาร่วมได้โดยสะดวก
ทั้งหมดนี้คืือสามประสานซึ่งจะขาดขาใดขาหนี่งไม่ได้ คือ (1) self care, (2) social solidarity และ (3) friendly environment
อาจารย์ให้ความสำคัญกับสถานที่และการดูแลมากใช่ไหม
ไม่ใช่ครับ ตรงนี้คนทั่วไปอาจจะไม่เข้าใจ นึกว่าการจัดระบบดูแลผู้สูงวัยซึ่งนับรวมถึงการทำเนอร์สซิ่งโฮมด้วยนะ ทุกคนคิดว่าคุณภาพการดูแลคือทุกสิ่งทุกอย่าง แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่ใช่ คุณภาพการดูแล เป็นคนละประเด็นกับคุณภาพชีวิต สถาบันที่ออกแบบอย่างดี มีสตาฟที่ดี มีระเบียบปฏิบัติที่ดี อาจจะให้คุณภาพการดูแลที่ดี แต่ไม่ได้ทำให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตเสมอไป
การสร้างคุณภาพการดูแลที่ดี โฟกัสที่การสร้างระบบดูแลที่เอางานเป็นที่ตั้ง มุ่งทำกิจประจำวันที่เป็นรูทีนให้เสร็จ ซึ่งหากไม่ระวัง จะเป็นการทำให้ผู้สูงวัยเสียความสามารถในการดูแลตนเองและกลายเป็นต้องพึ่งพาผู้ดูแลพึ่งพาสถาบัน โดยที่ทั้งหมดนี้ไม่เกี่ยวอะไรกับคุณภาพชีวิต
คุณภาพชีวิตของผู้สูงวัยต้องใช้ระบบหรือการดูแลที่เอาผู้สูงวัยเป็นศูนย์กลาง หมายความว่า ผู้สูงวัยแต่ละคนย่อมมีอัตลักษณ์ของตัวเอง มีประวัติศาสตร์ ค่านิยม ความรู้ ประสบการณ์ เจตคติ และสายสัมพัันธ์ ของตัวเอง เขาหรือเธอจึงต้องมีอิสระ มีโอกาสเลือก มีโอกาสที่จะได้ตัดสินใจเอง ในภาพใหญ่คุณภาพชีวิตขึ้นกับสองปัจจัยหลัก คืือ
(1) การมีอิสระ (autonomy) หมายถึงการสามารถตัดสินใจเองว่าวันหนึ่งๆจะใช้ชีวิตอย่างไร จะทำอะไรก็สามารถทำได้อย่างที่ใจตัวเองปรารถนา ชุมชนที่ดีจึงต้องเอื้อให้ผู้สูงวัยสามารถใช้ชีวิตอยู่กับจุดแข็งของเขาเองได้
(2) การพึ่งตัวเอง (independence) หมายถึงความสามารถทำกิจกรรมจำเป็นในชีวิตประจำวันขณะอยู่ในบ้านเช่นอาบน้ำ กินข้าวหรือขณะอยู่ในชุมชนเช่นเดินตามทางเท้าได้เองโดยไม่ต้องพึ่งพาคนช่วยหรือพึ่งน้อยที่สุด
แล้วปัจจัยทางสุขภาพอะไรบ้างละคะที่จะจำกัดอิสระภาพและการพึ่งตนเองของผู้สูงวัย
ในทางการแพทย์เรียกรวมๆว่า กลุ่มอาการผู้สูงวัย (geratic syndrome) ซึ่งมีเอกลักษณ์อยู่เก้าอย่าง คือ
(1) ลื่นตกหกล้ม
(2) กระดูกหัก
(3) อ่อนแอสะง็อกสะแง็ก (frail)
(4) ความจำเสื่อม
(5) ซึมเศร้า
(6) ขาดอาหาร
(7) กินยาเยอะเกิน
(8) อั้นปัสสาวะไม่อยู่ และ
(9) ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้
อาจารย์ไม่เห็นกังวลเรืื่องที่ผู้สูงวัยจะเจ็บป่วยต้องใช้เงินทองรักษาตัวเองเลย
ตรงนี้ก็เป็นอีกอันหนึ่งที่คนส่วนใหญ่เข้าใจผิด บางคนถึงกับไปตั้งชุมชนผู้สูงวัยให้อยู่ใกล้ๆโรงพยาบาล ความเป็นจริงคือการมีอายุมากมันไม่ได้เป็นต้นทุนอะไรมากไปกว่าคนวัยอื่นนะ แต่การมีสุขภาพไม่ดีนั่นแหละที่เป็นต้นทุนที่สูงมาก ถ้าเราไปโฟกัสที่การรักษาโรค เงินเท่าไหร่ก็ไม่พอและชีวิตท้งชีวิตจะหมดไปกับการเข้าๆออกๆโรงพยาบาล ผมโฟกัสที่การส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และฟื้นฟูสมรรถนะ ผมจึงสร้างระบบอยู่อาศัยของผู้สูงอายุที่จะไม่ต้องใช้เงินในการดูแลด้านสุขภาพมาก อีกอย่างหนึ่งผมสร้างชุมชนผู้สูงอายุที่เน้นความเป็นอยู่ในระยะ independent living หมายถึงอยู่ได้เองอิสระ และระยะ assisted living หมายถึงอยู่ได้ในบ้านของตัวเองโดยมีผู้ดูแลมาเยี่ยม visit วันละครั้งสองครั้ง โดยที่ในอนาคตเมื่อมีความต้องการ คลินิกเมก้าเวดะจะเปิดบริการส่งผู้ดูแล (caregiver) ไปเยี่ยมช่วยเหลือผู้สูงอายุตามบ้านด้วย
อย่างไรก็ตาม ชุมชนที่ผมสร้างขึ้นนี้มีคอนเซ็พท์หลักอีกอันหนึ่งคือ Age in place หมายความว่าแก่ที่นี่ ตายที่นี่ ดังนั้นเมื่อถึงวาระสุดท้ายจะต้องนอนหยอดข้าวหยอดน้ำก็ต้องนอนอยู่ในบ้านของตัวเองนี่แหละ โดยจ้างให้ผู้ดูแลเข้ามาดูแลเป็นบางเวลา ผู้ดูแลก็จ้างจากคลินิกเมก้าเวดะซึ่งอยู่ในนี้และมีบริการนี้อยู่
ในกรณีฉุกเฉินทางการแพทย์ นั่นอยู่พ้นพันธกิจของการสร้างชุมชนผู้สูงอายุไปแล้ว กรณีอย่างนั้นก็ต้องใช้ระบบรถฉุกเฉินของรพ.มวกเหล็ก ซึ่งทุกวันนี้เรามี connection ที่ดีอยู่แล้ว เวลาคนมาแค้มป์มีเรื่องฉุกเฉินทางการแพทย์เราก็เรียกเขามารับไปรพ.เป็นประจำ
อาจารย์ไม่มีแผนที่จะทำเนอร์สซิ่งโฮมในหมู่บ้านนี้หรือคะ
ตอนนี้ยังไม่มี เพราะผมโฟกัสที่ home-based care ไม่ใช่ institutional care อันนี้มันเป็นแนวโน้มที่เกิดขึ้นในประเทศตะวันตกในยี่สิบปีให้หลังมานี้นะ และเป็นแนวโน้มที่แรงขึ้นๆ คนสูงอายุเข้าเนอร์สซิ่งโฮมน้อยลง แต่ขอแก่และขอตายที่บ้านของตัวเองมากขึ้น แม้จะอยู่คนเดียวก็ขอแก่และตายที่บ้าน โดยเขามีระบบที่เอื้อให้ทำได้ ซึ่งผมก็สร้างซีเนียร์โคโฮนี้โดยมุ่งไปในแนวนั้น คือให้ผู้สูงอายุมาปลูกบ้านของตัวเองอยู่ในชุมชนที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดี ส่วนในอนาคตระยะยาวนั้นก็คงต้องดูกันไปก่อน หากมีความจำเป็นต้องทำเนอร์สซิ่งโฮมจริงๆก็จะทำ แต่ตอนนี้ผมยังมองไม่เห็นความจำเป็น อีกอย่างหนึ่งหากจะทำจริงผมต้องไปชวนคนอื่นมาทำ เพราะตัวผมเองไม่ได้มีเงินมากขนาดจะทำเองได้ ทุกวันนี้ที่ทำอยู่นี้ทำแบบตะก๊อกตะแก๊ก ทีละนิด ทีละหน่อย ทำเพราะใจรัก ทำเท่าที่เงินในกระเป๋าจะเอื้อให้ทำได้ ทำเพราะมีความสุขที่ได้ทำอะไรให้คนอื่นบ้าง แต่ว่าทำเล็กๆแค่นี้ก็ไม่ใช่ว่าไม่ดีนะ เล็กหรือใหญ่ถ้ามันจะดีมันก็ดีได้ และวันข้างหน้าถ้ามันดี คนอื่นมาเห็นเข้า ก็จะมีคนเอาไปทำแบบใหญ่ๆต่อไปเอง ประโยชน์ก็จะได้แก่ผู้สูงอายุจำนวนมากในอนาคต
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
อะไรนำพาให้อาจารย์คิดทำชุมชนผู้สูงวัยคะ
คอนเซ็พท์หลักในใจผมก็คือ "สูงวัยอย่างแอคทีฟ (Active Aging)" หมายถึงว่าจะทำอย่างไรให้ผู้สูงวัยมีชีวิตที่มีคุณภาพใน 3 ประเด็น คือ (1) มีสุขภาพดี (2) มีส่วนร่วม และ (3) มีความมั่นคง
หมายความว่าด้านหนึ่งก็มุ่งช่วยให้ผู้สูงวัยตระหนักว่าตนเองมีศักยภาพที่จะทำให้ร่างกายตัวเองแข็งแรง ทำให้จิตใจตัวเองแจ่มใสร่าเริง และทำตัวเองให้มีค่าต่อสังคมเท่าที่ตัวเองอยากทำหรือสามารถทำได้ อีกด้านหนึ่งก็สร้างระบบที่ให้ความคุ้มครองป้องกัน ให้ความมั่นคง และให้การเอาใจใส่ดูแลตามสมควร
คำว่าแอคทีฟนี้ อาจารย์ขยายความอีกสักหน่อยได้ไหมคะ
คำว่าแอคทีฟไม่ใช่หมายความแค่ว่ามีร่างกายแข็งแรงหรือยังทำงานได้อยู่เท่านั้น แต่หมายความรวมไปถึงการมีส่วนร่วมในกิจกรรมด้านสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม จิตวิญญาณ และกิจกรรมชุมชนต่างๆ
หมายความว่าแม้จะเกษียณแล้ว หรือป่วยแล้ว หรือทุพลภาพแล้ว ทุกคนก็ยังสามารถทำอะไรให้แก่ครอบครัว เพื่อน ชุมชน และประเทศของตนเองได้ ไม่ใช่ว่าป่วยนิดเดียวก็นอนรอเป็นปุ๋ยเสียแล้ว
แอคทีฟหมายถึงความมุ่งหวังที่จะให้คนเข้าสู่วัยสูงอายุทุกคน รวมทั้งคนที่อ่อนแอหรือทุพลภาพแล้ว มีสุขภาพดี มีอายุยืน และมีชีวิตที่มีคุณภาพด้วย
คำว่าสุขภาพนี้หมายความรวมถึงกาย จิต และสังคม ดังนั้นโปรแกรมที่ส่งเสริมสุขภาพจิตและการเชื่อมโยงกันทางสังคมจึงมีความสำคัญไม่แพ้การส่งเสริมสุขภาพกาย
แล้วอาจารย์นำคอนเซ็พท์ Active Aging มาสร้างชุมชนอย่างไร
คือการเข้าสู่และอยู่ในวัยสูงอายุนี้ มันเกิดขึ้นต่อเนื่องทุกวัน มันเกิดขึ้นในขณะที่กำลังมีชีวิตอยู่ร่วมกับคนอื่น ได้แก่ครอบครัว ญาติ มิตร เพื่อนร่วมงาน เพื่อนบ้าน ดังนั้นการถ้อยทีถ้อยช่วยเหลือกันและกันหรือความเป็นพี่น้องกันแบบที่เรียกว่าภราดรภาพระหว่างผู้สูงวัยกับคนอื่นรอบตัวไม่ว่าจะเป็นคนรุ่นเดียวกันหรือคนต่างวัยจึงสำคัญ ชุมชนที่ผมสร้างขึ้นจึงต้องออกแบบให้เป็นสังคมที่ดูแลกันและกัน (co-care) หรือชุมชนเพื่อนบ้านเกื้อกูล ( neighborhood support) ทุกคนรู้จักกัน ช่วยเหลือกันไปช่วยเหลือกันมา
ฟังดูยังนึกภาพไม่ออก ลองช่วยบอกวิธีทำในระดับปฏิบัติ
ขอโทษ ผมอาจจะตอบรวบรัดไปหน่อย ความจริงแล้วมันเป็นการสร้างดุลยภาพระหว่างสามอย่างคือ
(1) ความสามารถที่จะดูแลตัวเอง หรือ self care
(2) ความเป็นปึกแผ่นระหว่างคนหลายวัยในชุมชน (social solidarity)
(3) สิ่งแวดล้อมที่เป็นมิตรกับผู้สูงวัย (age friendly environment)
ในข้อที่ 1 คือ self care นั้น มันเป็นการสร้างทักษะซึ่งต้องใช้เวลายาวนาน วิธีการก็คือผมกระตุ้นชักจูงให้สมาชิกใส่ใจดูแลตัวเอง จัด health camp ให้มาเข้าเรียนท้ักษะเรื่องอาหาร การออกกำลังกาย การจัดความเครียด ชักชวนให้เข้าร่วมกิจกรรมที่จะทำให้มีการเคลื่อนไหวและมีปฏิสัมพันธ์บ่อยๆเช่น เต้นรำ ร้องเพลง เดินไพร มวยจีน โยคะ เป็นต้น โดยอาศัยเวลเนสวีแคร์เซ็นเตอร์ที่มีอยู่แล้วในหมู่บ้านนี้เป็นศูนย์กลาง
ในข้อที่ 2 คือการสร้างความเป็นปึกแผ่นระหว่างคนในชุมชนนั้น นอกจากสมาชิกซึ่งเป็นคนวัยเดียวกันเป็นส่วนใหญ่ที่จะต้องรู้จักกันและช่วยเหลือกันและกันได้แล้ว คนที่เราจ้างมาให้ดูแลชุมชนเช่น คนสวนคน ตัดหญ้า แม่บ้าน หรือแม้กระทั่งเด็กๆลูกของแม่บ้าน และหมาแมวที่เลี้ยงไว้ก็จัดเป็นพี่น้องกันในชุมชนหมด ซึ่งต้องค่อยๆเกลาให้เกิดความเป็นปึกแผ่นและเผื่อแผ่ความรักเมตตาต่อกันอันจะนำไปสู่การให้และรับ give and take ระหว่างกันและกัน สมาชิกต้องรวมกลุ่มกันบริหารกิจการของชุมชนเอง เพราะเงินตั้งต้นก็มีอยู่แล้วจากการที่เก็บเอามาจากสมาชิกทุกคน
ในข้อที่ 3. คือการสร้างสิ่งแวดล้อมที่เป็นมิตรกับผู้สูงวัยนั้น หลักการก็คือทำอย่างไรจึงจะให้ healthy choices เป็น easy choices สำหรับผู้อยู่อาศัยในชุมชนนี้ หมายความว่าอะไรที่ดีๆต่อสุขภาพผู้สูงวัยสามารถหาได้ง่ายๆในชุมชนนี้ เช่น
3.1 จะต้องมีทางให้เดินหรือให้ขี่จักรยานมากๆ เดินทั้งวันก็ยังแทบไม่ซ้ำที่เดิม
3.2 จะต้องมีปารค์ที่ทุกคนมาพักผ่อนหย่อนใจได้ฟรี
3.3 อาหารสุขภาพจะต้องหาง่าย ตอนนี้มีครัวปราณาซึ่งอยู่ในชุมชนเปิดบริการทุกวันแล้ว ครัวนี้ทำแต่อาหารสุขภาพ ผักหญ้าสดๆแบบออร์กานิกก็ปลูกที่ฟาร์มของครัวเองไม่ไกลออกไป สมาชิกซื้อหาไปทำอาหารเองได้ สมาชิกที่ชอบปลูกผักจะเอาผักมาขายให้ก็รับซื้อ สมาชิกที่อยากจะให้ส่งอาหารถึงบ้านก็ส่งให้ได้
3.4 บริการสุขภาพแบบทางเลือกเช่นนวดบำบัด กายภาพบำบัด ควรหาได้ง่ายๆ ตอนนี้ก็มีคลินิกแพทย์แผนไทยและอายุรเวชชื่อเมก้าเวดะอยู่ในนี้แล้ว จะเปิดบริการเดือนหน้า ผู้สูงอายุก็ใช้บริการได้ง่ายๆเพราะอยู่ใกล้บ้าน
3.5 กิจกรรมร่วมกลุ่มเชิงสุขภาพจะต้องมีให้ไปร่วมได้ง่ายๆและใกล้ๆ เช่นจะเต้นรำ ร้องเพลง เล่นโยคะ รำมวยจีน เรียนทำกับข้าว ก็ไม่้ต้องไปไกล มีที่ให้เข้าร่วมได้ใกล้ๆง่ายๆ ซึ่งทุกวันนี้กิจกรรมเหล่านี้มีอยู่เป็นประจำที่เวลเนสวีแคร์เซ็นเตอร์ ซึ่งเปิดให้ผู้อาศัยในชุมชนมาร่วมได้โดยสะดวก
ทั้งหมดนี้คืือสามประสานซึ่งจะขาดขาใดขาหนี่งไม่ได้ คือ (1) self care, (2) social solidarity และ (3) friendly environment
ไม่ใช่ครับ ตรงนี้คนทั่วไปอาจจะไม่เข้าใจ นึกว่าการจัดระบบดูแลผู้สูงวัยซึ่งนับรวมถึงการทำเนอร์สซิ่งโฮมด้วยนะ ทุกคนคิดว่าคุณภาพการดูแลคือทุกสิ่งทุกอย่าง แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่ใช่ คุณภาพการดูแล เป็นคนละประเด็นกับคุณภาพชีวิต สถาบันที่ออกแบบอย่างดี มีสตาฟที่ดี มีระเบียบปฏิบัติที่ดี อาจจะให้คุณภาพการดูแลที่ดี แต่ไม่ได้ทำให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตเสมอไป
การสร้างคุณภาพการดูแลที่ดี โฟกัสที่การสร้างระบบดูแลที่เอางานเป็นที่ตั้ง มุ่งทำกิจประจำวันที่เป็นรูทีนให้เสร็จ ซึ่งหากไม่ระวัง จะเป็นการทำให้ผู้สูงวัยเสียความสามารถในการดูแลตนเองและกลายเป็นต้องพึ่งพาผู้ดูแลพึ่งพาสถาบัน โดยที่ทั้งหมดนี้ไม่เกี่ยวอะไรกับคุณภาพชีวิต
คุณภาพชีวิตของผู้สูงวัยต้องใช้ระบบหรือการดูแลที่เอาผู้สูงวัยเป็นศูนย์กลาง หมายความว่า ผู้สูงวัยแต่ละคนย่อมมีอัตลักษณ์ของตัวเอง มีประวัติศาสตร์ ค่านิยม ความรู้ ประสบการณ์ เจตคติ และสายสัมพัันธ์ ของตัวเอง เขาหรือเธอจึงต้องมีอิสระ มีโอกาสเลือก มีโอกาสที่จะได้ตัดสินใจเอง ในภาพใหญ่คุณภาพชีวิตขึ้นกับสองปัจจัยหลัก คืือ
(1) การมีอิสระ (autonomy) หมายถึงการสามารถตัดสินใจเองว่าวันหนึ่งๆจะใช้ชีวิตอย่างไร จะทำอะไรก็สามารถทำได้อย่างที่ใจตัวเองปรารถนา ชุมชนที่ดีจึงต้องเอื้อให้ผู้สูงวัยสามารถใช้ชีวิตอยู่กับจุดแข็งของเขาเองได้
(2) การพึ่งตัวเอง (independence) หมายถึงความสามารถทำกิจกรรมจำเป็นในชีวิตประจำวันขณะอยู่ในบ้านเช่นอาบน้ำ กินข้าวหรือขณะอยู่ในชุมชนเช่นเดินตามทางเท้าได้เองโดยไม่ต้องพึ่งพาคนช่วยหรือพึ่งน้อยที่สุด
แล้วปัจจัยทางสุขภาพอะไรบ้างละคะที่จะจำกัดอิสระภาพและการพึ่งตนเองของผู้สูงวัย
ในทางการแพทย์เรียกรวมๆว่า กลุ่มอาการผู้สูงวัย (geratic syndrome) ซึ่งมีเอกลักษณ์อยู่เก้าอย่าง คือ
(1) ลื่นตกหกล้ม
(2) กระดูกหัก
(3) อ่อนแอสะง็อกสะแง็ก (frail)
(4) ความจำเสื่อม
(5) ซึมเศร้า
(6) ขาดอาหาร
(7) กินยาเยอะเกิน
(8) อั้นปัสสาวะไม่อยู่ และ
(9) ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้
อาจารย์ไม่เห็นกังวลเรืื่องที่ผู้สูงวัยจะเจ็บป่วยต้องใช้เงินทองรักษาตัวเองเลย
ตรงนี้ก็เป็นอีกอันหนึ่งที่คนส่วนใหญ่เข้าใจผิด บางคนถึงกับไปตั้งชุมชนผู้สูงวัยให้อยู่ใกล้ๆโรงพยาบาล ความเป็นจริงคือการมีอายุมากมันไม่ได้เป็นต้นทุนอะไรมากไปกว่าคนวัยอื่นนะ แต่การมีสุขภาพไม่ดีนั่นแหละที่เป็นต้นทุนที่สูงมาก ถ้าเราไปโฟกัสที่การรักษาโรค เงินเท่าไหร่ก็ไม่พอและชีวิตท้งชีวิตจะหมดไปกับการเข้าๆออกๆโรงพยาบาล ผมโฟกัสที่การส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และฟื้นฟูสมรรถนะ ผมจึงสร้างระบบอยู่อาศัยของผู้สูงอายุที่จะไม่ต้องใช้เงินในการดูแลด้านสุขภาพมาก อีกอย่างหนึ่งผมสร้างชุมชนผู้สูงอายุที่เน้นความเป็นอยู่ในระยะ independent living หมายถึงอยู่ได้เองอิสระ และระยะ assisted living หมายถึงอยู่ได้ในบ้านของตัวเองโดยมีผู้ดูแลมาเยี่ยม visit วันละครั้งสองครั้ง โดยที่ในอนาคตเมื่อมีความต้องการ คลินิกเมก้าเวดะจะเปิดบริการส่งผู้ดูแล (caregiver) ไปเยี่ยมช่วยเหลือผู้สูงอายุตามบ้านด้วย
อย่างไรก็ตาม ชุมชนที่ผมสร้างขึ้นนี้มีคอนเซ็พท์หลักอีกอันหนึ่งคือ Age in place หมายความว่าแก่ที่นี่ ตายที่นี่ ดังนั้นเมื่อถึงวาระสุดท้ายจะต้องนอนหยอดข้าวหยอดน้ำก็ต้องนอนอยู่ในบ้านของตัวเองนี่แหละ โดยจ้างให้ผู้ดูแลเข้ามาดูแลเป็นบางเวลา ผู้ดูแลก็จ้างจากคลินิกเมก้าเวดะซึ่งอยู่ในนี้และมีบริการนี้อยู่
ในกรณีฉุกเฉินทางการแพทย์ นั่นอยู่พ้นพันธกิจของการสร้างชุมชนผู้สูงอายุไปแล้ว กรณีอย่างนั้นก็ต้องใช้ระบบรถฉุกเฉินของรพ.มวกเหล็ก ซึ่งทุกวันนี้เรามี connection ที่ดีอยู่แล้ว เวลาคนมาแค้มป์มีเรื่องฉุกเฉินทางการแพทย์เราก็เรียกเขามารับไปรพ.เป็นประจำ
อาจารย์ไม่มีแผนที่จะทำเนอร์สซิ่งโฮมในหมู่บ้านนี้หรือคะ
ตอนนี้ยังไม่มี เพราะผมโฟกัสที่ home-based care ไม่ใช่ institutional care อันนี้มันเป็นแนวโน้มที่เกิดขึ้นในประเทศตะวันตกในยี่สิบปีให้หลังมานี้นะ และเป็นแนวโน้มที่แรงขึ้นๆ คนสูงอายุเข้าเนอร์สซิ่งโฮมน้อยลง แต่ขอแก่และขอตายที่บ้านของตัวเองมากขึ้น แม้จะอยู่คนเดียวก็ขอแก่และตายที่บ้าน โดยเขามีระบบที่เอื้อให้ทำได้ ซึ่งผมก็สร้างซีเนียร์โคโฮนี้โดยมุ่งไปในแนวนั้น คือให้ผู้สูงอายุมาปลูกบ้านของตัวเองอยู่ในชุมชนที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดี ส่วนในอนาคตระยะยาวนั้นก็คงต้องดูกันไปก่อน หากมีความจำเป็นต้องทำเนอร์สซิ่งโฮมจริงๆก็จะทำ แต่ตอนนี้ผมยังมองไม่เห็นความจำเป็น อีกอย่างหนึ่งหากจะทำจริงผมต้องไปชวนคนอื่นมาทำ เพราะตัวผมเองไม่ได้มีเงินมากขนาดจะทำเองได้ ทุกวันนี้ที่ทำอยู่นี้ทำแบบตะก๊อกตะแก๊ก ทีละนิด ทีละหน่อย ทำเพราะใจรัก ทำเท่าที่เงินในกระเป๋าจะเอื้อให้ทำได้ ทำเพราะมีความสุขที่ได้ทำอะไรให้คนอื่นบ้าง แต่ว่าทำเล็กๆแค่นี้ก็ไม่ใช่ว่าไม่ดีนะ เล็กหรือใหญ่ถ้ามันจะดีมันก็ดีได้ และวันข้างหน้าถ้ามันดี คนอื่นมาเห็นเข้า ก็จะมีคนเอาไปทำแบบใหญ่ๆต่อไปเอง ประโยชน์ก็จะได้แก่ผู้สูงอายุจำนวนมากในอนาคต
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์