ย่ำต๊อกฝั่งธนฯ
เพื่อนโทรศัพท์มาชวนว่าตรุษจีนรถในกรุงเทพน่าจะว่าง ไปย่ำต๊อกฝั่งธนฯกันไหม ผมตอบว่าดีเหมือนกันเพราะสำหรับคนแก่อะไรก็ตามที่ทำให้ได้ขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวล้วนดีทั้งนั้น
เราขับรถตู้ขนาดเล็กไปกันหกคน แม้จะเป็นเช้าวันตรุษจีนแต่รถก็ไม่ใช่ไม่ติดนะ เพียงแต่เราไม่บ่น เพราะ "ที่นี่..กรุงเทพฯ" เราขับเข้าไปทางฝั่งธนฯ เข้าถนนเจริญนคร แล้วเข้าไปในตรอกแคบแบบรถเข้าได้ทีละคันโดยห้ามสวนกันเด็ดขาด แต่ก็กว้างพอไม่ถึงกับต้องหุบหูรถ ผ่านชุมชนห้องแถวเล็กๆชิดสองข้างถนนซอย ผ่านซุ้มประตูคอนกรีตแบบสมัยเก่่าแต่ซ่อมแซมใหม่ แล้วเข้าไปจอดในที่จอดรถซึ่งเหลือที่จอดอยู่หนึ่งที่พอดี
ยังไม่ทันจอดรถก็รู้สึกแล้วว่าที่นี่มีความพิเศษ เป็นซอกมุมหนึ่งของเมืองกรุงเทพฯที่มีความโรแมนติกแนวตะวันตก ที่ตรงนี้เรียกกันว่า "สวนสมเด็จย่า" มองผ่านประตูทรงโคโลเนียลเข้าไปเห็นทางเดินผ่านต้นไม้ใหญ่สีเขียวครื้มตัดกับบรรยากาศจ๊อกแจ๊กจอแจที่ถนนเจริญนครยามเช้าและตรอกซอกซอยแน่นขนัดด้วยห้องแถวที่เราเพิ่งขับผ่านมาหมาดๆ ผมรู้สึกสดชื่นสบายใจตั้งแต่นาทีแรกที่เดินเข้าสวนนี้ ต้องขอขอบคุณ คุณเล็ก นานา ที่ได้บริจาคที่ดินสี่ไร่ทำสวนนี้ ความสำคัญอยู่ที่สถานที่นี้เป็นสถานที่ที่ตรงตามบันทึกของสมเด็จย่าว่าเป็นบ้านที่ท่านเคยอยู่ตอนเด็ก อันที่จริงในบันทึกนั้นซึ่งคัดลอกมาไว้ที่สวนนี้ด้วยเล่าว่าที่ทรงเรียกว่าบ้านนั้นความจริงมันเป็นการเช่ากำแพงเขาอยู่แบบเรือนแถวชั้นเดียว หมายความว่าครอบครัวของคนจนสมัยนั้นจะไปเช่าอยู่นอกกำแพงรั้วของคนมีเงิน ที่เก็บค่าเช่านั้นมีแต่มีแต่กำแพงกับเพิงหลังคาจากที่อยู่ด้านนอกกำแพงให้นิดหน่อยเท่านั้นนะ ส่วนไม้พื้น และไม้
ฝาผู้เช่าต้องหามาเอง บ้านที่ว่านี้กทม.ได้จำลองบ้านที่เคยประทับเท่าของจริงขึ้นมาใหม่ไว้ในสวนนี้ด้วย ทรงเล่าว่าห้องครัวก็คือฝากำแพงนั่นแหละ อาบน้ำก็ตุ่มที่หน้าบ้าน แต่เวลาจะสุขาต้องไปสุขากลางหมู่บ้านที่สร้างเป็นห้องปิดเหนือคลอง ซึ่งเป็นสุขาที่ "สะอาดและไม่มีกลิ่น"
อ่านถึงตรงนี้แล้วก่อนที่ท่านผู้อ่านจะจินตนาการว่าเจ้าของบันทึกนี้จะมีแคแรคเตอร์เป็นอย่างไร ขอให้ดูพระฉายาลักษณ์สมัยที่ทรงเป็นนักเรียนพยาบาลศิริราชอายุ 16 ปีที่ผมเอาลงให้ดูนี้ก่อน ย้ำ..นี่เป็นพระรูปที่ฉายตอนทรงเป็นนักเรียนพยาบาลแบบสามัญชนคนธรรมดาๆนะ ก่อนหน้าที่จะได้เป็นนักเรียนทุนไปเรียนที่บอสตันตั้งหลายปี
นอกจากสวนแห่งนี้จะมีอะไรให้ดู ให้ความรู้ และทำให้ได้หวนระลึกถึงพระราชกิจของสมเด็จย่าแล้ว ยังเป็นสวนที่มีบรรยากาศร่มรื่นในแนวคลาสสิกอีกด้วย
เพราะสวนล้อมรอบด้วยกำแพงอาคารเก่าที่ได้รับการสงวนไว้อย่างน่าชม มีเก้าอี้ขาวชุดหนึ่งตั้งไว้ให้นั่งริมกำแพงเก่าที่ปูนลอกเห็นอิฐเป็นบางส่วน ขณะเดียวกันก็มีต้นเฟิร์นและตะไคร่ขึ้นจับเขียวครื้มให้บรรยากาศขณะนั่งเล่นดีมาก
เดินไปตามทางเดินในสวนจะผ่านประตูซึ่งตอนแรกนึกว่าเป็นซุ้มกำแพงธรรมดา แต่ที่ไหนได้ ทับหลังซุ้มกำแพงนี้ไม่ธรรมดา เพราะเป็นรากต้นไทรขนาดเท่าเสาไฟฟ้าตีคู่กันมาสองอันทำหน้าที่ยันกำแพงสองข้างทางเดินไว้แทนทับหลังประตู
เราเดินออกจากสวนสมเด็จย่าทางประตูหลัง ไปเยี่ยมชมศาลกวนอูซึ่งอยู่ติดกับสวน ศาลแห่งนี้ฟังว่าเป็นศาลกวนอูที่เก่าที่สุดในกรุงเทพฯ คือมีอายุกว่า 277 ปีเลยทีเดียว แต่สิ่งที่เรียกร้องความสนใจผมไม่ใช่เทพกวนอู หากเป็นภาพปูนปั้นเล่าเรื่องไว้เหนือทับหลังประตูข้างศาล สอบถามหาคนที่รู้เรื่องไปสองสามคนจึงพบตัวจริง ซึ่งเป็นอาคันตุกะชาวจีนผู้มาเยี่ยมศาลในวันตรุษจีนท่านหนึ่งนั่นเอง ท่านเล่าว่านี่เป็นเรื่องราวของทีกงป่า เรื่องมีอยู่ว่าทีกงป่าเป็นคนเก่ง ไปเรียนกับครูเสื้อเขียวก็เรียนเจนจบวิชาของครูในเวลารวดเร็ว ไปเรียนกับครู
เสื้อแดงก็เจนจบวิชาของครูในเวลาอันรวดเร็ว จนสำคัญตนว่า "กูแน่" ตบตีครูจนครูสู้ไม่ได้ ในที่สุดฟ้าดินทนดูไม่ได้ก็จึงลงโทษให้หัวหลุดจากบ่า เดือดร้อนถึงครูต้องปลอมเป็นนกอะไรสักอย่างมาหิ้วเอาหัวไปเพราะหัวคนที่ซ่าขนาดนี้หากตกถึงพื้นดินจะทำให้แผ่นดินแยกทีเดียว นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่าอย่าสำคัญตนเองว่าเก่งเกินคนอื่นเขาหมด มิฉะนั้นฟ้าดินจะลงโทษเอา (ผมเปล่าว่าใครนะ เล่าตามที่ได้ยินมาเฉยๆ) ผมเห็นสัตว์ตัวหนึ่งอยู่ด้านขวาของฉากจึงถามว่ามันคืออะไร ท่านอาวุโสผู้ทรงภูมิเล่าว่านั่นคือกิเลน ซึ่งเป็นสัตว์ประเภทเกิดมาพร้อมกับความหลงตัวเองว่า "กูแน่" เหมือนกัน คือหลงตัวเองว่ามีอะไรไม่เหมือนสัตว์อื่นอยู่ห้าอย่าง ได้แก่เขา เล็บ เกล็ด หาง และอะไรอีกอย่างจำไม่ได้แล้ว สรุปว่ากิเลนเนี่ยก็ไม่ใช่ตัวดี ผมก็เพิ่งรู้เนี่ยแหละ
ที่ข้างศาลกวนอูนี้มีบ้านส่วนตัวของเศรษฐีจีนในอดีตอยู่หลังหนึ่งซึ่งเก๋ายิ่งกว่าบ้านเศรษฐีที่ผมเคยเห็นที่ตลาดน้อยเสียอีก น่าจะเก๋าที่่สุดในกรุงเทพแล้ว ทราบว่าเป็นของเศรษฐีโรงน้ำปลาทั่งง่วนฮะ ซึ่งสร้างในสมัย ร. 3 ปกติเขาไม่เปิดให้คนเข้าชม แต่เพื่อนของผมเธอไปขอเข้าชมกับสาวทายาทเจ้าของบ้าน เธอมาชะโงกดูเห็นเป็นตาแก่ที่ไม่น่าจะมีปัญญาขโมยของเก่าเธอไปขายได้จึงยอมให้เข้าชม เราต้องต่อคิวกันเดินขึ้นชมบ้านทีละคนเพราะความเก๋าของบ้านหากขึ้นไปหลายคนอาจจะพังลงมา
ความคลาสสิกของบ้านหลังนี้ปรากฏอยู่ทุกซอกทุกหลืบของบ้าน แม้กระทั่งลายพื้นกระดานไม้สักก็ถูกกาลเวลากัดลึกจนเสี้ยนไม้โผล่เป็นเส้นสวยงามนัก พวกเราชมบ้านหลังนี้เสร็จและกลับออกมาได้โดยสวัสดิภาพโดยไม่มีใครต้องซ่อมข้อตะโพก
เจ้าของบ้านเห็นเราเป็นผู้ชมที่เจี๋ยมเจี้ยมเรียบร้อย จึงชวนเราไปชมบ้านหลังหน้าที่อยู่ริมแม่น้ำซึ่งสร้างตอนต้นสมัยร.6 เรารับคำชวนด้วยความยินดี บ้านหลังหน้านี้เป็นบ้านไม้สักทั้งหลังสองชั้นทาสีเขียวไข่กา ชั้นล่างของบ้าน เป็นสำนักงานของกิจการน้ำปลาซึ่งนำน้ำปลาที่บรรจุขวดมาขึ้นเรือที่นี่แล้วกระจายออกไปให้ลูกค้า มีเคาน์เตอร์ทำธุรกิจที่อุปกรณ์ทำธุรกิจสาระพัดเช่นลูกคิด โทรศัพท์โบราณ วิทยุแปดหลอด ทายาทของบ้านยังเก็บรักษาไว้อย่างดี ที่ริมผนังมีหิ้งวางโชว์น้ำปลารุ่นต่างๆที่ผลิตขึ้น ตรงใต้บันไดไม้ขึ้นชั้นสองมีนาฬิกาเก่าสูงเท่าตัวคนตั้งอยู่หนึ่งเรือน เข้าใจว่าใช้การไม่ได้แล้ว ประตูด้านหน้าบ้านเป็นบานไม้สักแบบบานเฟี้ยมพับไปพับมา พอเจ้าของบ้านเปิดบานเฟี้ยมได้แค่บานเดียว แสงสว่างจ้าจากข้างนอกก็สาดเข้ามาจนต้องหยีตาและลมเย็นจากแม่น้ำเจ้าพระยาก็พรูเข้ามา ตามมาด้วยเสียงเรือหางและเรือกลไฟในแม่น้ำเจ้าพระยาดังขรม เราตามเจ้าของขึ้นไปชมชั้นสอง เธอเปิดให้ดูช่องที่เจาะบนพื้นซึ่งเมื่อเปิดออกแล้วจะเป็นช่องสี่เหลี่ยมมองเห็นข้างล่าง เธอเล่าว่าในวัยเด็กเธออาศัยช่องนี้คอยตรวจเช็คว่าแขกที่มาทำธุรกิจข้างล่างกลับไปกันหรือยัง เธอและพี่ๆจะได้ลงมาวิ่งเล่นข้างล่างได้
เราลาทายาททั่งง่วนฮะย่ำต๊อกต่อไปเพื่อไปชมมัสยิดกูวติล หรือสุเหร่าตึกแดง อาคารของสุเหร่าหลังหนึ่งซึ่งคลาสสิกมากกำลังได้รับการซ่อมแซมอยู่อย่างขมักเขม้น ผู้ช่วยอิหม่ามใจดีช่วยเล่าประวัติศาสตร์ความเป็นมาของมัสยิด ดูท่านจะจดจำตอนเอาสุดยอดโคมระย้ามาจากยุโรปได้ดีเป็นพิเศษและเล่าได้อย่างละเอียด ท่านเล่าว่าโคมระย้านี้เป็นของสูงค่าที่ส่องแสงเรืองรองระยิบระยับดีมาก
มัสยิดได้มาสองอัน อันหนึ่งเอาไปติดตั้งที่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท อีกอันเอาติดตั้งที่มัสยิดนี้
ออกจากมัสยิดเราไปอาศัยจอดรถที่ลานนอกโกดังขนาดใหญ่ข้างบ้านของตระกูลหวั่งหลี ที่หน้าบ้านของต้นตระกูลหวั่งหลีนี้เป็นสนามหญ้าสีเขียวริมแม่น้ำแห่งเดียวที่โล่งตาไม่มีการปลูกสร้างคอนโด ข้างบ้านเป็นโกดังริมน้ำขนาดใหญ่มาก มีกว้านสำหรับจอดเรือขนสินค้าขนาดใหญ่ หลังโกดังเป็นห้องแถวที่พักอาศัยของกรรมกรโกดังในอดีต มองเผินๆดูเหมือนจะรกรุงรัง แต่ถ้ามองให้ดีก็จะเห็นความคลาสสิกของสิ่งปลูกสร้างแห่งนี้ ผมมั่นใจว่าอีกไม่นานสถานที่แห่งนี้จะต้องถูกปรับปรุงไปเป็นอะไรสักอย่างที่จ๊าบและน่าชมอย่างแน่นอน
ห้องแถวเรือนพักอดีตกรรมกรโกดังนี้เป็นรูปตัวยูรอบลานริมแม่น้ำขนาดใหญ่ โดยที่ชั้นบนของห้องแถวช่วงหนึ่งถูกดัดแปลงให้เป็นศาลเจ้าแม่ทับทิม ฟังว่าเพื่อให้กุลีจีนที่เดินทางมากับเรือค้าขายได้แวะสักการะเมื่อเรือเทียบท่า ศาลเจ้าแม่ทับทิมแห่งนี้มีความพิเศษตรงที่เป็นห้องแถวธรรมดาที่ระเบียงทาสีเหลืองแปร๊ด เมื่อห้อยโคมแดงเป็นทิวแถวแล้วดูเด่นสะดุดตา
เราจอดรถทิ้งไว้ที่ลานกุดังเพื่อไปเดินค้นหาต้นกร่างขนาดใหญ่ เพราะได้ยินมาว่าที่ต้นกร่างนี้มีค้างคาวแม่ไก่อาศัยอยู่ ผ่านต้นไม้ใหญ่ไปสองสามต้น ถามคนงานในละแวกนั้นคนหนึ่งก็ได้ความว่าต้นนี้แหละ แต่ว่าค้างคาวไม่มีแล้ว ไม่รู้มันไปไหนหมด แถมอีกคนหนึ่งเล่าเสริมว่าเพื่อนของผมชอบเอามากิน พวกเรายังไม่ละความพยายาม จึงเดินไปเสาะหาอีก ผ่านบ้านโบราณหลังหนึ่งเขียนประตูเข้าว่าเลขที่ 18 แต่เข้าไปไม่ได้เพราะปิดไว้ แล้วเราก็ไปพบต้นกร่างใหญ่อีกต้นหนึ่ง ถามเด็กชายอายุราวสิบสองขวบที่นั่นว่าค้างคาวอยู่ที่นี่หรือเปล่า เขาตอบว่า
"..อยู่ที่นี่แหละครับ แต่ว่ามันจะมากันตอนค่ำ" เพื่อนของผมถามว่า
"แล้วตอนนี้มันไปไหนละ" เขาตอบว่า
"ไม่รู้ครับ คงเข้าถ้ำหมดมั้ง" เพื่อนของผมถามว่า
"หนูเอามันมากินหรือเปล่า" เขาตอบว่า
"ผมปล๊าว"
เราเดินทางกันต่อไปยังโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา เพื่อไปชมบ้านหมอคาทิวส์ อดีตผู้อำนวยการโรงพยาบาล ซึ่งปัจจุบันนี้เป็นพิพิธภัณฑ์โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา หรือโรงพยาบาลหลังคาแดงนั่นเอง ต้องขออนุญาตเข้าชมล่วงหน้าจึงจะเข้าชมพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ได้ เราได้คิวเข้าชมบ่ายโมงครึ่ง ขณะที่รอคิว ผมเดินไปถ่ายรูปรอบๆบ้าน ทั่วบริเวณร่มครื้มด้วยต้นไม้ใหญ่ขนาดสองคนโอบซึ่งได้รับการรักษาไว้อย่างดี มีรูปปั้นอาจารย์ นพ.ฝน แสงสิงแก้ว ปูชนียบุคคลของวงการจิตเวชไทย ที่เท้าของรูปปั้นมีคนเอาชมพู่ลูกสวยๆวางบรรณาการท่านไว้หนึ่งลูก อาจจะเป็นของฝากจากคนไข้ก็ได้ ข้างหลังรูปปั้นมองเห็นหน้าต่างทรงโกธิกของบ้านหลังนี้ซึ่งเคยเป็นบ้านของเจ้าคุณทหาร
พนักงานที่พาเราเข้าชมชื่อ "คุณนุ่น" เธอน่ารักและทำหน้าที่ได้ดีมาก เธอเล่าว่าที่เขาเรียกโรงพยาบาลหลังนี้ว่าหลังคาแดงก็เพราะตอนทาสีหลังคาที่ร้านขายสีมีแต่สีแดง ก็เลยได้ทาแต่สีแดง ก็เลยกลายเป็นโรงพยาบาลหลังคาแดงตั้งแต่นั้น เขียนมาถึงตอนนี้นึกถึงสมัยผมเด็กๆมีเพลงอย่างเพลงหนึ่งซึ่งร้องว่า
"... โอ้ กานดากลับมาหาพี่เถิด
อย่าเตลิดหลีกลี้หนีไกล
โอ้ พี่รักเจ้ามากแค่ไหน
พี่ยังยกให้ไร่ตั้งสองตารางวา
บ้านของเรามันก็ไม่ใหญ่ไม่โต
เป็นตึกบังกาโลแต่ยังไม่มุงหลังคา
เจ้าอยู่ไม่ได้ใช่ไหมแก้วตา
จึงจากพี่ยาไปอยู่หลังคาสีแดง
พี่เที่ยวตามหาไม่เจอขวัญตาซักที
กรุงเทพเดี๋ยวนี้มันมีแต่สีแหละแสง
พี่เดินรันทดหมดเรี่ยวหมดแรง
ตามหาแม่ไอ้แดงซิยังไม่เห็นจะเจอ.."
คุณนุ่นพาเราเข้าชมในบ้านของหมอคาร์ทิวส์ซึ่งตอนนี้เป็นพิพิธภัณฑ์ไปแล้ว เป็นบ้านที่โอ่อ่าอัครถานสมกับเป็นบ้านของเจ้าคุณทหาร ห้องที่ผมสนใจมากที่สุดก็คือห้องประวัติศาสตร์ของการรักษาคนบ้าในอดีต ซึ่งแสดงวิธีรักษาคนมีจิตหลอนด้วยวิธีแปลกๆ เช่น มัดลงแช่น้ำร้อนสลับกับน้ำเย็น เรียกว่าเหมือนพาสเจอไรส์นมสดเลยเชียว อีกวิธีหนึ่งคือมัดกับเตียงสานแล้วเอาน้ำราด เตียงสานเมื่อโดนน้ำก็จะหดตัวทำให้คนไข้ถูกรัดแน่นขึ้นๆๆ ไม่หายบ้าก็ให้มันรู้ไป อีกวิธีหนึ่งคือจับใส่เสื้อ เสื้อในที่นี้ก็คือคุกเคลื่อนที่นั่นเอง เพราะเอามือสองข้างใส่ไว้ในเสื้อแล้วมัดข้างนอกเสื้อไม่ให้กระดิกกระเดี้ย อีกวิธีหนึ่งซึ่งเป็นวิธีมาตรฐานสากลทั่วโลกคือจับขังดื้อๆ
คุณนุ่นเล่าว่าการรักษาคนจิตหลอนทั้งหมดนั้นต่อมาถูกแทนที่ด้วยวิธีจับช็อกไฟฟ้าหมด คือเอาขั้วไฟฟ้าติดไว้ที่ขมับคนไข้ แล้วปล่อยไฟฟ้าช็อกให้คนไข้ชักแด๊กๆๆๆ เพื่อให้หายอาละวาดหรือให้ลืมอดีตอันขมขื่นซะ ที่พิพิธภัณฑ์นี้มีห้องห้องหนึ่งตั้งแสดงเครื่องช็อกสมองด้วยไฟฟ้ารุ่นต่างๆโดยเฉพาะด้วย
ที่ชั้นสองเราเดินชมมาถึงห้องหนึ่งซึ่งมีช่องเจาะเพดานขึ้นไปที่ชั้นสาม พวกเราถามว่ามีบันไดขึ้นไปดูไหม คุณนุ่นตอบว่าพูดแล้วหนูขนลุก ข้างบนเป็นที่เก็บกระดูกของคนสกุลบุนนาคซึ่งเป็นเจ้าของตึกนี้ เธอกระซิบเบาๆแบบกลัวใครจะได้ยินด้วยว่าเคยมีคนเห็นท่านเจ้าคุณที่บนระเบียงบ้านนี้ด้วย..ย
เราย่ำต๊อกไปเยี่ยมวัด "จีจีนเกาะ" ซึ่งเป็นวัดจีนมีเจดีย์จีนแปดเหลี่ยมแปดชั้นสีแดงฉานสูงเสียดทะลุยอดไม้ ที่ชั้นสองของตัววัดสร้างเป็นถ้ำและมีเซียนตั้งอยู่หลายองค์ ผมนับได้หกองค์ จากถ้ำเซียนนี้เราสามารถเดินอ้อมไปข้างหลังเพื่อปีนขึ้นไปยังชั้นสาม ซึ่งจะทำให้เรามองเห็นทัศนียภาพรอบๆได้ชัดขึ้น รวมทั้งมองเห็นบ้านต้นตระกูลหวั่งหลีซึ่งได้รับการดูแลบริเวณอย่างสวยงาม
จากนั้นเราเดินทางต่อไปยังปากคลองสาน ตรงนี้เป็นที่ตั้งของป้อมปัจจามิตร ซึ่งเป็นที่วางทหารไว้ป้องกันศัตรูที่จะมาทางน้ำ ตัวป้อมเป็นเชิงเทินกำแพงหนามาก หนาประมาณหนึ่งเมตร
ส่วนที่ใกล้ๆกับป้อมนี้เป็นที่ตั้งของเสาธงซึ่งสูงมาก สูงที่สุดในประเทศไทยก็คงจะว่าได้ เสาธงนี้ฟังว่าใช้เป็นที่ให้สัญญาณสำหรับเรือที่จะเข้าออกแม่น้ำเจ้าพระยา
ตรงปากคลองสานนี้ มองไปทางไหนก็มีแต่คอนโดสูงเสียดฟ้า ไม่ว่าฝั่งโน้นหรือฝั่งนี้ของแม่น้ำเจ้าพระยา แต่ว่าตรงริมฝั่งซ้ายมือของปากคลองสานเอง มีบ้านหลังหนึ่งที่ยังคงเอกลักษณ์ของตัวเองไว้อย่างเหนียวแน่น ผมแอบดูที่ใต้ถุนบ้านมีชุดน้ำเกลือสำหรับทำดีท๊อกซ์ห้อยอยู่ด้วย เข้าใจว่าเจ้าของคงจะเป็นฮาร์ดคอร์เรื่องสุขภาพคนหนึ่ง อย่างไรก็ตามผมแอบถ่ายรูปบ้านมา ด้วยความชื่นชมที่ไม่ยอมแพ้แก่พวกคอนโดมิเนียม
เรายังย่ำกันไม่จบเลย แต่ผมหมดแรงเขียนเสียแล้ว วันนี้ขอจบแค่นี้นะครับ
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
เราขับรถตู้ขนาดเล็กไปกันหกคน แม้จะเป็นเช้าวันตรุษจีนแต่รถก็ไม่ใช่ไม่ติดนะ เพียงแต่เราไม่บ่น เพราะ "ที่นี่..กรุงเทพฯ" เราขับเข้าไปทางฝั่งธนฯ เข้าถนนเจริญนคร แล้วเข้าไปในตรอกแคบแบบรถเข้าได้ทีละคันโดยห้ามสวนกันเด็ดขาด แต่ก็กว้างพอไม่ถึงกับต้องหุบหูรถ ผ่านชุมชนห้องแถวเล็กๆชิดสองข้างถนนซอย ผ่านซุ้มประตูคอนกรีตแบบสมัยเก่่าแต่ซ่อมแซมใหม่ แล้วเข้าไปจอดในที่จอดรถซึ่งเหลือที่จอดอยู่หนึ่งที่พอดี
ยังไม่ทันจอดรถก็รู้สึกแล้วว่าที่นี่มีความพิเศษ เป็นซอกมุมหนึ่งของเมืองกรุงเทพฯที่มีความโรแมนติกแนวตะวันตก ที่ตรงนี้เรียกกันว่า "สวนสมเด็จย่า" มองผ่านประตูทรงโคโลเนียลเข้าไปเห็นทางเดินผ่านต้นไม้ใหญ่สีเขียวครื้มตัดกับบรรยากาศจ๊อกแจ๊กจอแจที่ถนนเจริญนครยามเช้าและตรอกซอกซอยแน่นขนัดด้วยห้องแถวที่เราเพิ่งขับผ่านมาหมาดๆ ผมรู้สึกสดชื่นสบายใจตั้งแต่นาทีแรกที่เดินเข้าสวนนี้ ต้องขอขอบคุณ คุณเล็ก นานา ที่ได้บริจาคที่ดินสี่ไร่ทำสวนนี้ ความสำคัญอยู่ที่สถานที่นี้เป็นสถานที่ที่ตรงตามบันทึกของสมเด็จย่าว่าเป็นบ้านที่ท่านเคยอยู่ตอนเด็ก อันที่จริงในบันทึกนั้นซึ่งคัดลอกมาไว้ที่สวนนี้ด้วยเล่าว่าที่ทรงเรียกว่าบ้านนั้นความจริงมันเป็นการเช่ากำแพงเขาอยู่แบบเรือนแถวชั้นเดียว หมายความว่าครอบครัวของคนจนสมัยนั้นจะไปเช่าอยู่นอกกำแพงรั้วของคนมีเงิน ที่เก็บค่าเช่านั้นมีแต่มีแต่กำแพงกับเพิงหลังคาจากที่อยู่ด้านนอกกำแพงให้นิดหน่อยเท่านั้นนะ ส่วนไม้พื้น และไม้
ห้องครัวก็คือฝากำแพง |
อาบน้ำก็ตุ่มน้ำหน้าบ้านนั่นแหละ |
อ่านถึงตรงนี้แล้วก่อนที่ท่านผู้อ่านจะจินตนาการว่าเจ้าของบันทึกนี้จะมีแคแรคเตอร์เป็นอย่างไร ขอให้ดูพระฉายาลักษณ์สมัยที่ทรงเป็นนักเรียนพยาบาลศิริราชอายุ 16 ปีที่ผมเอาลงให้ดูนี้ก่อน ย้ำ..นี่เป็นพระรูปที่ฉายตอนทรงเป็นนักเรียนพยาบาลแบบสามัญชนคนธรรมดาๆนะ ก่อนหน้าที่จะได้เป็นนักเรียนทุนไปเรียนที่บอสตันตั้งหลายปี
สมเด็จย่าตอนเป็น นักเรียนพยาบาลศิริราช |
นอกจากสวนแห่งนี้จะมีอะไรให้ดู ให้ความรู้ และทำให้ได้หวนระลึกถึงพระราชกิจของสมเด็จย่าแล้ว ยังเป็นสวนที่มีบรรยากาศร่มรื่นในแนวคลาสสิกอีกด้วย
เพราะสวนล้อมรอบด้วยกำแพงอาคารเก่าที่ได้รับการสงวนไว้อย่างน่าชม มีเก้าอี้ขาวชุดหนึ่งตั้งไว้ให้นั่งริมกำแพงเก่าที่ปูนลอกเห็นอิฐเป็นบางส่วน ขณะเดียวกันก็มีต้นเฟิร์นและตะไคร่ขึ้นจับเขียวครื้มให้บรรยากาศขณะนั่งเล่นดีมาก
เดินไปตามทางเดินในสวนจะผ่านประตูซึ่งตอนแรกนึกว่าเป็นซุ้มกำแพงธรรมดา แต่ที่ไหนได้ ทับหลังซุ้มกำแพงนี้ไม่ธรรมดา เพราะเป็นรากต้นไทรขนาดเท่าเสาไฟฟ้าตีคู่กันมาสองอันทำหน้าที่ยันกำแพงสองข้างทางเดินไว้แทนทับหลังประตู
เราเดินออกจากสวนสมเด็จย่าทางประตูหลัง ไปเยี่ยมชมศาลกวนอูซึ่งอยู่ติดกับสวน ศาลแห่งนี้ฟังว่าเป็นศาลกวนอูที่เก่าที่สุดในกรุงเทพฯ คือมีอายุกว่า 277 ปีเลยทีเดียว แต่สิ่งที่เรียกร้องความสนใจผมไม่ใช่เทพกวนอู หากเป็นภาพปูนปั้นเล่าเรื่องไว้เหนือทับหลังประตูข้างศาล สอบถามหาคนที่รู้เรื่องไปสองสามคนจึงพบตัวจริง ซึ่งเป็นอาคันตุกะชาวจีนผู้มาเยี่ยมศาลในวันตรุษจีนท่านหนึ่งนั่นเอง ท่านเล่าว่านี่เป็นเรื่องราวของทีกงป่า เรื่องมีอยู่ว่าทีกงป่าเป็นคนเก่ง ไปเรียนกับครูเสื้อเขียวก็เรียนเจนจบวิชาของครูในเวลารวดเร็ว ไปเรียนกับครู
บ้านเศรษฐีราชาน้ำปลา ทั่งง่วนฮะ |
ที่ข้างศาลกวนอูนี้มีบ้านส่วนตัวของเศรษฐีจีนในอดีตอยู่หลังหนึ่งซึ่งเก๋ายิ่งกว่าบ้านเศรษฐีที่ผมเคยเห็นที่ตลาดน้อยเสียอีก น่าจะเก๋าที่่สุดในกรุงเทพแล้ว ทราบว่าเป็นของเศรษฐีโรงน้ำปลาทั่งง่วนฮะ ซึ่งสร้างในสมัย ร. 3 ปกติเขาไม่เปิดให้คนเข้าชม แต่เพื่อนของผมเธอไปขอเข้าชมกับสาวทายาทเจ้าของบ้าน เธอมาชะโงกดูเห็นเป็นตาแก่ที่ไม่น่าจะมีปัญญาขโมยของเก่าเธอไปขายได้จึงยอมให้เข้าชม เราต้องต่อคิวกันเดินขึ้นชมบ้านทีละคนเพราะความเก๋าของบ้านหากขึ้นไปหลายคนอาจจะพังลงมา
ความคลาสสิกมีอยู่แม้ในพื้นไม้ |
ความคลาสสิกของบ้านหลังนี้ปรากฏอยู่ทุกซอกทุกหลืบของบ้าน แม้กระทั่งลายพื้นกระดานไม้สักก็ถูกกาลเวลากัดลึกจนเสี้ยนไม้โผล่เป็นเส้นสวยงามนัก พวกเราชมบ้านหลังนี้เสร็จและกลับออกมาได้โดยสวัสดิภาพโดยไม่มีใครต้องซ่อมข้อตะโพก
พอเปิดประตู ลมเย็นของ เจ้าพระยาก็พรูเข้ามา |
อาคารหลังที่กำลังซ่อม |
ผู้ช่วยอิหม่ามใจดี |
โคมระย้าเรืองรอง ความภูมิใจของผู้เล่า |
ออกจากมัสยิดเราไปอาศัยจอดรถที่ลานนอกโกดังขนาดใหญ่ข้างบ้านของตระกูลหวั่งหลี ที่หน้าบ้านของต้นตระกูลหวั่งหลีนี้เป็นสนามหญ้าสีเขียวริมแม่น้ำแห่งเดียวที่โล่งตาไม่มีการปลูกสร้างคอนโด ข้างบ้านเป็นโกดังริมน้ำขนาดใหญ่มาก มีกว้านสำหรับจอดเรือขนสินค้าขนาดใหญ่ หลังโกดังเป็นห้องแถวที่พักอาศัยของกรรมกรโกดังในอดีต มองเผินๆดูเหมือนจะรกรุงรัง แต่ถ้ามองให้ดีก็จะเห็นความคลาสสิกของสิ่งปลูกสร้างแห่งนี้ ผมมั่นใจว่าอีกไม่นานสถานที่แห่งนี้จะต้องถูกปรับปรุงไปเป็นอะไรสักอย่างที่จ๊าบและน่าชมอย่างแน่นอน
ห้องแถวเรือนพักอดีตกรรมกรโกดังนี้เป็นรูปตัวยูรอบลานริมแม่น้ำขนาดใหญ่ โดยที่ชั้นบนของห้องแถวช่วงหนึ่งถูกดัดแปลงให้เป็นศาลเจ้าแม่ทับทิม ฟังว่าเพื่อให้กุลีจีนที่เดินทางมากับเรือค้าขายได้แวะสักการะเมื่อเรือเทียบท่า ศาลเจ้าแม่ทับทิมแห่งนี้มีความพิเศษตรงที่เป็นห้องแถวธรรมดาที่ระเบียงทาสีเหลืองแปร๊ด เมื่อห้อยโคมแดงเป็นทิวแถวแล้วดูเด่นสะดุดตา
เราจอดรถทิ้งไว้ที่ลานกุดังเพื่อไปเดินค้นหาต้นกร่างขนาดใหญ่ เพราะได้ยินมาว่าที่ต้นกร่างนี้มีค้างคาวแม่ไก่อาศัยอยู่ ผ่านต้นไม้ใหญ่ไปสองสามต้น ถามคนงานในละแวกนั้นคนหนึ่งก็ได้ความว่าต้นนี้แหละ แต่ว่าค้างคาวไม่มีแล้ว ไม่รู้มันไปไหนหมด แถมอีกคนหนึ่งเล่าเสริมว่าเพื่อนของผมชอบเอามากิน พวกเรายังไม่ละความพยายาม จึงเดินไปเสาะหาอีก ผ่านบ้านโบราณหลังหนึ่งเขียนประตูเข้าว่าเลขที่ 18 แต่เข้าไปไม่ได้เพราะปิดไว้ แล้วเราก็ไปพบต้นกร่างใหญ่อีกต้นหนึ่ง ถามเด็กชายอายุราวสิบสองขวบที่นั่นว่าค้างคาวอยู่ที่นี่หรือเปล่า เขาตอบว่า
"..อยู่ที่นี่แหละครับ แต่ว่ามันจะมากันตอนค่ำ" เพื่อนของผมถามว่า
"แล้วตอนนี้มันไปไหนละ" เขาตอบว่า
"ไม่รู้ครับ คงเข้าถ้ำหมดมั้ง" เพื่อนของผมถามว่า
ชมพู่หนึ่งลูก ที่เท้าของรูปปั้นอาจารย์ หมอฝน (แสงสิงแก้ว) |
"หนูเอามันมากินหรือเปล่า" เขาตอบว่า
"ผมปล๊าว"
เราเดินทางกันต่อไปยังโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา เพื่อไปชมบ้านหมอคาทิวส์ อดีตผู้อำนวยการโรงพยาบาล ซึ่งปัจจุบันนี้เป็นพิพิธภัณฑ์โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา หรือโรงพยาบาลหลังคาแดงนั่นเอง ต้องขออนุญาตเข้าชมล่วงหน้าจึงจะเข้าชมพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ได้ เราได้คิวเข้าชมบ่ายโมงครึ่ง ขณะที่รอคิว ผมเดินไปถ่ายรูปรอบๆบ้าน ทั่วบริเวณร่มครื้มด้วยต้นไม้ใหญ่ขนาดสองคนโอบซึ่งได้รับการรักษาไว้อย่างดี มีรูปปั้นอาจารย์ นพ.ฝน แสงสิงแก้ว ปูชนียบุคคลของวงการจิตเวชไทย ที่เท้าของรูปปั้นมีคนเอาชมพู่ลูกสวยๆวางบรรณาการท่านไว้หนึ่งลูก อาจจะเป็นของฝากจากคนไข้ก็ได้ ข้างหลังรูปปั้นมองเห็นหน้าต่างทรงโกธิกของบ้านหลังนี้ซึ่งเคยเป็นบ้านของเจ้าคุณทหาร
พนักงานที่พาเราเข้าชมชื่อ "คุณนุ่น" เธอน่ารักและทำหน้าที่ได้ดีมาก เธอเล่าว่าที่เขาเรียกโรงพยาบาลหลังนี้ว่าหลังคาแดงก็เพราะตอนทาสีหลังคาที่ร้านขายสีมีแต่สีแดง ก็เลยได้ทาแต่สีแดง ก็เลยกลายเป็นโรงพยาบาลหลังคาแดงตั้งแต่นั้น เขียนมาถึงตอนนี้นึกถึงสมัยผมเด็กๆมีเพลงอย่างเพลงหนึ่งซึ่งร้องว่า
"... โอ้ กานดากลับมาหาพี่เถิด
อย่าเตลิดหลีกลี้หนีไกล
โอ้ พี่รักเจ้ามากแค่ไหน
พี่ยังยกให้ไร่ตั้งสองตารางวา
บ้านของเรามันก็ไม่ใหญ่ไม่โต
เป็นตึกบังกาโลแต่ยังไม่มุงหลังคา
เจ้าอยู่ไม่ได้ใช่ไหมแก้วตา
จึงจากพี่ยาไปอยู่หลังคาสีแดง
พี่เที่ยวตามหาไม่เจอขวัญตาซักที
กรุงเทพเดี๋ยวนี้มันมีแต่สีแหละแสง
พี่เดินรันทดหมดเรี่ยวหมดแรง
ตามหาแม่ไอ้แดงซิยังไม่เห็นจะเจอ.."
อ่างรักษาจิตหลอนด้วยการมัด แช่น้ำร้อน สลับกับแช่น้ำเย็น |
คุณนุ่นพาเราเข้าชมในบ้านของหมอคาร์ทิวส์ซึ่งตอนนี้เป็นพิพิธภัณฑ์ไปแล้ว เป็นบ้านที่โอ่อ่าอัครถานสมกับเป็นบ้านของเจ้าคุณทหาร ห้องที่ผมสนใจมากที่สุดก็คือห้องประวัติศาสตร์ของการรักษาคนบ้าในอดีต ซึ่งแสดงวิธีรักษาคนมีจิตหลอนด้วยวิธีแปลกๆ เช่น มัดลงแช่น้ำร้อนสลับกับน้ำเย็น เรียกว่าเหมือนพาสเจอไรส์นมสดเลยเชียว อีกวิธีหนึ่งคือมัดกับเตียงสานแล้วเอาน้ำราด เตียงสานเมื่อโดนน้ำก็จะหดตัวทำให้คนไข้ถูกรัดแน่นขึ้นๆๆ ไม่หายบ้าก็ให้มันรู้ไป อีกวิธีหนึ่งคือจับใส่เสื้อ เสื้อในที่นี้ก็คือคุกเคลื่อนที่นั่นเอง เพราะเอามือสองข้างใส่ไว้ในเสื้อแล้วมัดข้างนอกเสื้อไม่ให้กระดิกกระเดี้ย อีกวิธีหนึ่งซึ่งเป็นวิธีมาตรฐานสากลทั่วโลกคือจับขังดื้อๆ
วิธีมาตรฐาน..จับขัง |
คุณนุ่นเล่าว่าการรักษาคนจิตหลอนทั้งหมดนั้นต่อมาถูกแทนที่ด้วยวิธีจับช็อกไฟฟ้าหมด คือเอาขั้วไฟฟ้าติดไว้ที่ขมับคนไข้ แล้วปล่อยไฟฟ้าช็อกให้คนไข้ชักแด๊กๆๆๆ เพื่อให้หายอาละวาดหรือให้ลืมอดีตอันขมขื่นซะ ที่พิพิธภัณฑ์นี้มีห้องห้องหนึ่งตั้งแสดงเครื่องช็อกสมองด้วยไฟฟ้ารุ่นต่างๆโดยเฉพาะด้วย
ไม่ใช่เครื่องเสียงนะ แต่เป็น เครื่องช็อกสมองด้วยไฟฟ้า |
ที่ชั้นสองเราเดินชมมาถึงห้องหนึ่งซึ่งมีช่องเจาะเพดานขึ้นไปที่ชั้นสาม พวกเราถามว่ามีบันไดขึ้นไปดูไหม คุณนุ่นตอบว่าพูดแล้วหนูขนลุก ข้างบนเป็นที่เก็บกระดูกของคนสกุลบุนนาคซึ่งเป็นเจ้าของตึกนี้ เธอกระซิบเบาๆแบบกลัวใครจะได้ยินด้วยว่าเคยมีคนเห็นท่านเจ้าคุณที่บนระเบียงบ้านนี้ด้วย..ย
เซียนที่วัดจีจีนเกาะ |
ป้อมปัจจามิตร |
จากนั้นเราเดินทางต่อไปยังปากคลองสาน ตรงนี้เป็นที่ตั้งของป้อมปัจจามิตร ซึ่งเป็นที่วางทหารไว้ป้องกันศัตรูที่จะมาทางน้ำ ตัวป้อมเป็นเชิงเทินกำแพงหนามาก หนาประมาณหนึ่งเมตร
เสาสัญญาณปากแม่น้ำ |
บ้านที่ปากคลองสาน |
ตรงปากคลองสานนี้ มองไปทางไหนก็มีแต่คอนโดสูงเสียดฟ้า ไม่ว่าฝั่งโน้นหรือฝั่งนี้ของแม่น้ำเจ้าพระยา แต่ว่าตรงริมฝั่งซ้ายมือของปากคลองสานเอง มีบ้านหลังหนึ่งที่ยังคงเอกลักษณ์ของตัวเองไว้อย่างเหนียวแน่น ผมแอบดูที่ใต้ถุนบ้านมีชุดน้ำเกลือสำหรับทำดีท๊อกซ์ห้อยอยู่ด้วย เข้าใจว่าเจ้าของคงจะเป็นฮาร์ดคอร์เรื่องสุขภาพคนหนึ่ง อย่างไรก็ตามผมแอบถ่ายรูปบ้านมา ด้วยความชื่นชมที่ไม่ยอมแพ้แก่พวกคอนโดมิเนียม
เรายังย่ำกันไม่จบเลย แต่ผมหมดแรงเขียนเสียแล้ว วันนี้ขอจบแค่นี้นะครับ
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์