หมอสันต์คุยกับทีวี. ไทย พีบีเอส. เรื่องวัยสูงอายุ
สองวันก่อนผมไปอัดรายการให้ไทยพีบีเอสกับพิธีกรชื่อคุณปาล์ม และผู้ร่วมรายการอีกท่านหนึ่งเป็นผู้จัดการที่พักผู้สูงอายุสวางคนิวาส ของสภากาชาดไทย ชื่อคุณอุษา เนื้อหาเป็นเรื่องเกี่ยวกับการใช้ชีวิตในวัยสูงอายุ ผมเห็นว่าน่าจะมีประโยชน์กับท่านผู้อ่านทุกวัย จึงตัดส่วนหนึ่งเท่าที่จำได้มาให้อ่าน
คุณปาล์ม:
ในฐานะที่เป็นผู้สูงอายุเอง คุณหมอมีหลักในการใช้ชีวิตในวัยนี้อย่างไรคะ จึงจะทำให้ชีวิตในวัยนี้มีคุณภาพ
หมอสันต์:
ตอบในฐานะคนแก่คนหนึ่งนะ
คุณปาล์ม:
เรียกว่าผู้สูงอายุดีกว่ามังคะ
หมอสันต์:
ความจริงผมมีสิทธิ์ใช้คำว่าคนแก่นะ เพราะตัวผมเองก็แก่จึงน่าจะใช้เรียกตัวเองได้ หลักคิดของผมมาจากประสบการณ์ชีวิตตัวเอง บวกการได้เห็นคนไข้ของผมซึ่งที่เป็นคนสูงอายุก็มีจำนวนไม่น้อย บวกกับการได้เห็นคนป่วยระยะสุดท้ายของชีวิตจำนวนมาก ดังนั้นหลักคิดของผมอาจจะไม่เหมือนหลักทั่วๆไปที่เขาพูดกันเสมอว่าต้องเตรียมเงิน ต้องดูแลสุขภาพ ต้องมีแผนกิจกรรม สิ่งเหล่านั้นผมไม่ได้สนใจ แต่ผมเจาะลึกให้ความสนใจอยู่แปดเรื่องต่อไปนี้ คือ
เรื่องที่หนึ่ง คือการต้องรู้วิธีเรียกความสุขมาหา คือทุกคนต่างก็ต้องการความสุข แต่แก่แล้วการจะไปวิ่งตามหาความสุขมันไม่ทันแล้ว จริงๆแล้วความสุขมันก็ไม่ใช่อะไรที่เราจะไปตามหาเจอ แต่มันเป็นอะไรที่เราเรียกมันมาหาได้ วิธีเรียกความสุขมาหาของผมก็มีขั้นตอนง่ายๆสองขั้นตอนเท่านั้นเอง คือขั้นที่หนึ่ง ต้องเอาตัวเรามาอยู่ที่นี่เดี๋ยวนี้ให้ได้ก่อน เราจะรู้ว่าเราอยู่ที่นี่เดี๋ยวนี้ก็จากการรับรู้สิ่งกระตุ้นรอบตัวที่เรารับเข้ามา ณ ขณะนี้ เช่นภาพ เสียง สัมผัสต่างๆ ถ้าไม่รู้วิธีตรวจเช็คว่าเราอยู่ที่นี่เดี๋ยวนี้จริงๆก็ตรวจเช็คดูลมหายใจของเราก็ได้ ดูซิว่าตอนนี้เรากำลังหายใจเข้า หรือกำลังหายใจออก ถ้าเราตอบได้ก็แสดงว่าเรากำลังอยู่กับปัจจุบัน เพราะลมหายใจเป็นเรื่องที่เกิดเดี๋ยวนี้ ขั้นที่สอง คือทำการผ่อนคลายกล้ามเนื้อทั่วตัวเรา ซึ่งก็ทำได้ไม่ยาก วิธีการง่ายๆที่ผมใช้ก็คือหายใจเข้าลึกๆ กลั้นไว้ ยิ้มที่มุมปากนิดหนึ่ง แล้วค่อยๆผ่อนลมหายใจออกพร้อมกันบอกให้กล้ามเนื้อทั่วตัวกายผ่อนคลายพร้อมๆกับที่ขณะผ่อนลมหายใจออก
ผมทำสองขั้นตอนนี้เพื่ออะไรหรือ คืออย่างที่หนึ่ง เมื่อเรากลับมาอยู่ที่นี่ เดี๋ยวนี้ เราก็ไม่กังวลถึงอดีต ไม่กังวลถึงอนาคต เราก็สบายใจใช่ไหมครับ อย่างที่สอง เมื่อเราผ่อนคลายกล้ามเนื้อทั่วตัว เราก็สบายกาย ใช่ไหมครับ สบายกาย-สบายใจ ก็คือความสุขใช่ไหมละ ความสุขเราเรียกมาได้ง่ายๆอย่างนี้เอง และเมื่อเป็นคนสูงอายุ ต้องทำเรื่องนี้ให้เป็น
เรื่องที่สอง คือการซ้อมตาย
คุณปาล์ม:
อะไรนะคะ ซ้อมตาย
นพ.สันต์:
ครับ ซ้อมตาย
คุณปาล์ม:
ปกติเรื่องความตายนี้เราจะไม่ค่อยพูดถึงกันนะคะ คือจะพยายามเก็บซ่อนไว้
นพ.สันต์
คือการเป็นคนสูงอายุกับความตายนี้เป็นของคู่กัน สองวันมานี้ผมก็เพิ่งไปงานศพของเพื่อนมา การที่เราจงใจกวาดเรื่องความตายไปซุกไว้ใต้พรม เป็นวิธีใช้ชีวิตวัยเกษียณที่ไม่ถูกต้อง เพราะเมื่อเรากลัวตาย มันจะเป็นพื้นฐานให้เกิดความกลัวในชีวิตอีกหลายๆอย่างซึ่งนำไปสู่การเจ็บป่วยของผู้สูงวัย เราต้องทำตัวให้คุ้นเคยกับความตาย ด้วยวิธีที่ผมเรียกว่าซ้อมตายเนี่ยแหละ การซ้อมตายนี่ก็ไม่ใช่ของยาก เพราะสิ่งที่เหมือนการตายมากก็คือการที่เราหลับไปนี่ไง พอเราหลับจิตสำนึกหรือ consciousness ของเราจะดับวูบลงทันทีทันใด การตายก็เป็นแบบนั้น วิธีซ้อมตายของผมก็คือตอนเข้านอนทุกคืนผมก็บอกตัวเองว่าเราจะตายละนะ อีกไม่กี่นาทีเราก็จะตายแล้ว พรุ่งนี้ไม่มีแล้ว แล้วผมก็นอนเฝ้าดูเหตุการณ์ ณ ขณะนั้นไปอย่างจดจ่อเพื่อเป็นสักขีพยานต่อความตายของเราเอง ถ้าความคิดแล่นไปไหนก็ลากมันกลับมาเฝ้าดูเหตุการณ์ ณ ขณะนั้น ถ้าไม่มีอะไรจะให้ดูก็ดูลมหายใจของตัวเองไปพลางๆก่อนก็ได้ ดูไปเพื่อให้เห็นว่าโมเมนต์ที่เราหลับไปนั้นมันจะเป็นอย่างไร ตอนทำแบบนี้ใหม่ๆตื่นขึ้นมาผมนึกย้อนดูจะนึกไม่ออกเลยว่าตัวเองเผลอหลับไปตอนไหน แต่ทำไปนานๆเข้าจะนึกย้อนออกว่าหลับไปตอนไหน คือมันทำให้คุ้นเคยกับการที่จิตสำนึกของเราต้องดับวูบไป มันจะทำให้ไม่กลัวตาย เมื่อไม่กลัวตายเสียอย่าง ความกลัวอย่างอื่นก็จิ๊บจิ๊บแล้ว สุขภาพจิตในวัยสูงอายุก็จะดีขึ้น มีชีวิตที่มีคุณภาพมากขึ้น
คุณปาล์ม
แล้วเรื่องที่สามละคะ
นพ.สันต์
เรื่องที่สาม ก็คือ การเตรียมรับมือกับความเจ็บ
คุณปาล์ม
ความเจ็บ?
นพ.สันต์
ใช่ เกิด แก่ เจ็บ ตาย เกิด..เราก็เกิดมาแล้ว แก่..เราก็แก่แล้ว ทีนี้ก็คือเจ็บ
คุณปาลม์
แหม คุยกับคุณหมอนี่ออกธรรมะมากเลยนะคะ
นพ.สันต์
ไม่หรอกครับ อันนี้เป็นงานวิจัยทางการแพทย์ ทำกันที่มหาวิทยาล้ยแมสซาจูเสท เขาเรียกว่างานวิจัยฝึกสติลดความเจ็บปวด คือความเจ็บปวดนี้เป็นเรื่องใหญ่ในวิชาแพทย์ เป็นสาขาวิชาหนึ่งทีเดียว เรียกว่าสาขาการจัดการความเจ็บปวด หรือ pain management สำหรับคนทั่วไปเมื่อเจ็บปวดก็ไปหาหมอเอายา แต่นั่นเป็นการแก้ปัญหาได้เพียงยี่สิบเปอร์เซ็นต์ คือความเจ็บปวดนี่เป็นการตีความของสมอง หากเราจะแก้ปัญหาที่ต้นตอเราต้องแก้ที่การตีความของสมองหรือที่การเกิดความคิดของเรา วิธีฝึกก็ไม่ยาก มันต้องเริ่มด้วยการฝึกจิตให้มีสมาธิก่อน การจะมีสมาธิได้นี้ใจมันต้องเป็นสุขก่อน ดังนั้นมันก็ต้องเรียกความสุขมาหาให้เป็นก่อน แบบที่ผมพูดไปแล้ว พอใจเป็นสุข ก็ฝึกสมาธิ โดยนิยามของสมาธิก็คือการที่เราเอาจิตของเราจดจ่ออยู่กับอะไรสักอย่างเพียงอย่างเดียว อาจจะเป็นลมหายใจของเราก็ได้ พอฝึกจิตจนเป็นสมาธิได้ที่แล้วก็เอาจิตที่เป็นสมาธินั้นไปจดจ่อตามดูอาการปวด แบบดูเฉยๆ
คุณปาล์ม
ดูเฉยๆ ไม่เข้าไปตีความ
นพ.สันต์
ใช่ครับ ดูด้วยความเข้าใจว่าความเจ็บปวดนี้มันเป็นอะไรที่ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป เราดูมันเฉยๆไม่ต้องไปลุ้นให้มันไป ในการฝึกนี่มันต้องมีความเจ็บปวดที่เป็นของจริงมาเป็นตัวอย่างให้ฝึกนะ ถ้าไม่มีก็สร้างมันขึ้นมาก็ได้ เช่นนั่งขัดสมาธิตัวตรงอยู่หลายๆนาที เดี๋ยวมันก็จะปวดขาปวดเข่าปวดหลังเอง เราก็เข้าไปฝึกดูความเจ็บปวดนั้น ฝึกไปๆในที่สุดเราก็จะอยู่กับมันได้โดยไม่ทุกข์ร้อน
เมื่อกี้ผมเล่าว่าเพิ่งไปงานศพของเพื่อนมา เพื่อนคนนี้เป็นหมอนะ เขาเป็นมะเร็งกระจายมาที่ตับ ป่วยระยะสุดท้ายอยู่เป็นปี แต่ยาแก้ปวดเม็ดเดียวก็ไม่เคยทาน อย่าว่าแต่ยาฉีดเลย เป็นมะเร็งตับมันปวดแค่ไหนก็รู้กันอยู่แล้ว แต่เขายังยิ้มได้จนวาระสุดท้าย คือการฝึกใจของเราให้อยู่กับความเจ็บปวดได้นี้มันเป็นอะไรที่เวอร์คดีมาก
คุณปาล์ม
แล้วเรื่องที่สี่ละคะ
นพ.สันต์
เรื่องที่สี่ ก็คือการต้องเริ่มขยับเขยื้อน คือสมัยที่เราทำงาน ส่วนใหญ่ก็จะเป็นงานแบบนั่งจุมปุ๊กอยู่กับที่ นั่งอยู่กับที่แบบนี้มายี่สิบปีก็ไม่มีปัญหาอะไร ร่างกายเรายังเป็นหนุ่มเป็นสาว ธรรมชาติเขามีวิธีทดแทนกล้ามเนื้อของคนที่เป็นหนุ่มเป็นสาวให้มีปริมาณคงที่อยู่เสมอ แต่พอเราอายุมากแล้วไม่ใช่ กล้ามเนื้อที่ไม่ได้ใช้งานจะเหี่ยวลีบลงอย่างรวดเร็ว และเราจะกลายเป็นคนพิการไปในเวลาไม่กี่ปี เอาง่ายๆ เวลาคุณไปเยี่ยมคนสูงอายุที่ป่วยเข้านอนโรงพยาบาล เพียงแค่เจ็ดวันแค่นั้นแหละ ก็จะเห็นเขาหรือเธอผอมลงจนจำไม่ได้ แค่ไม่ได้ใช้กล้ามเนื้อเจ็ดวันกล้ามเนื้อลีบหายหมด เพราะธรรมชาติของร่างกายผู้สูงอายุเป็นแบบนั้น ดังนั้นผู้สูงอายุจึงต้องขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวออกกำลังกายให้มากกว่าตอนเป็นหนุ่มเป็นสาวหรือตอนทำงานอยู่ ซึ่งเรื่องนี้ผมมีประเด็นย่อยอยู่สี่ประเด็นนะ
ประเด็นที่หนึ่ง คือการออกกำลังกายแบบที่เรียกว่าแอโรบิกนั้น หากจะให้ได้ประโยชน์อย่างที่งานวิจัยทางการแพทย์บอกไว้นั้น มันจะต้องมีคุณลักษณะสามอย่าง คือมันต้องหนักพอควร นิยามว่าต้องถึงหอบแฮ่กๆ ร้องเพลงไม่ได้ มันต้องต่อเนื่องไป 30 นาที และมันต้องสม่ำเสมอระดับสัปดาห์ละ 5 ครั้งเป็นอย่างน้อย
ประเด็นที่สอง คือคนสูงอายุต้องฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อด้วย พูดง่ายๆว่าต้องเล่นกล้ามด้วย
คุณปาล์ม
ทั้งๆที่อายุมากแล้วนี่นะ
นพ.สันต์
ครับ ยิ่งสูงอายุยิ่งต้องเล่นกล้าม เพราะหากไม่ทำ กล้ามเนื้อจะลีบและเกิดปัญหาอื่นตามมา
ประเด็นที่สาม คนสูงอายุต้องออกกำลังกายแบบเสริมการทรงตัว หรือ balance exercise เช่นการเต้นรำ รำมวยจีน หรือโยคะ คนหนุ่มคนสาวไม่จำเป็นต้องทำ แต่คนสูงอายุจำเป็นต้องทำ เพราะปัญหาของผู้สูงอายุก็คือการลื่นตกหกล้มกระดูกหัก เพราะสาเหตุพื้นฐานเกิดจากผู้สูงอายุเสียทักษะการทรงตัวไปเสียแล้วโดยธรรมชาติ ไม่ได้ทรงตัวได้เก่งเหมือนตอนเป็นหนุ่มเป็นสาว
ประเด็นที่สี่ ซึ่งสำคัญที่สุด คือผู้สูงอายุจะต้องวางแผนกิจกรรมในชีวิตตัวเองเสียใหม่ทั้งหมด ให้มีการขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวทั้งวัน ห้ามนั่งเกินครั้งละหนึ่งชั่วโมง อันนี้มันมาจากงานวิจัยนะ มันมีความสัมพันธ์ชัดเจนระหว่างการนั่งมากกับการมีอายุสั้น คือยิ่งนั่งมากยิ่งอายุสั้น
อีกอย่างหนึ่งคือไม่ควรดูทีวีเกินวันละหนึ่งชั่วโมง อันนี้ก็เป็นอีกงานวิจัยหนึ่งที่เพิ่งตีพิมพ์ออกมาใหม่ๆเมื่อเดือนที่แล้วนี่เอง เรียกว่างานวิจัยสุขภาพหญิง คือตามดูคนถึงเจ็ดหมื่นกว่าคนนานถึงยี่สิบปี มหาวิทยาลัยอินเดียนาเป็นผู้ตีพิมพ์ ในวารสารวิทยาลัยแพทย์โรคหัวใจอเมริกัน หรือ JACC คือตามดูยี่สิบปีก็จะมีคนอายุสั้นคนอายุยืน แล้วเขาก็ไปดูว่าอะไรทำให้คนอายุสั้น ก็พบว่ามีอยู่หกอย่าง หนึ่งในหกอย่างนั้นก็คือการนั่งดูทีวีเกินวันละ 1 ชั่วโมง จะทำให้อายุสั้น
คุณปาล์ม
แล้วเรื่องที่ห้าละคะ
นพ.สันต์
เรื่องที่ห้า คือการเตรียมสมองเสื่อม
คุณปาล์ม
หมายความว่าไงคะ เตรียมสมองเสื่อม ดิฉันรู้แต่ว่าทุกคนกลัวสมองเสื่อม
นพ.สันต์
ใช่ครับ ทุกคนกลัว แต่ว่าเราทุกคน ถ้าอายุยืนยาวพอ ก็จะต้องไปถึงจุดนั้นกันทุกคน คือจุดที่เกิดสมองเสื่อม จะเป็นแบบอัลไซเมอร์หรือแบบเสื่อมตามอายุก็แล้วแต่ การเตรียมตัวเมื่อสมองเสื่อมมันมีสาระหลักอยู่สี่อย่าง
อย่างแรก คือการฝึกใช้มือ หมายความว่าหางานอดิเรกที่มีการใช้กล้ามเนื้อมือที่ตัวเองทำเป็นจนทำได้คล่อง จะเป็นวาดรูป ทาสี จักสาน ตัดเย็บ แกะสลัก ใช้อุปกรณ์ไขควงสิ่วค้อนอะไรก็ได้
คุณปาล์ม
ทำไมละคะ
นพ.สันต์
คือชีวิตบั้นปลายที่มีคุณภาพมันต้องมีอะไรทำ แต่เมื่อสมองเสื่อมถึงจุดหนึ่ง ส่วนที่เป็นความคิดวินิจฉัยและความจำจะหายไปหมด ก็จะไม่เหลืองานอดิเรกอะไรให้ทำ จะไปนั่งคุยเล่นกับเพื่อนๆก็ไม่ได้แล้วเพราะเราจำไม่ได้ว่าเขาคนนี้คือใครแล้วจะคุยอะไรกับเขาละ จะดูทีวีก็ไม่ได้เพราะเรายังจำไม่ได้เลยว่าเจ้าจอสี่เหลี่ยมแบบนี้เขาเรียกว่าทีวี. แต่ส่วนที่บังคับการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อโดยเฉพาะมือจะยังพอใช้ได้อยู่ เพราะกล้ามเนื้อที่ใช้งานจนคล่องแล้วมันคล้ายจะมีความจำของมันเอง วงการกีฬาเขาเรียกว่า muscle memory คนที่มีงานอดิเรกด้วยการใช้มือที่ทำจนคล่องก็จะยังสามารถทำอะไรที่ตัวเองชอบได้อยู่แม้สมองจะเสื่อมไปมากแล้ว
อย่างที่สอง เป็นสิ่งที่คนเขารู้กันทั่วแล้ว นั่นก็คือการต้องคอยใช้สมอง ฝึกสมอง เน้นที่การทำอะไรที่เป็นพื้นฐานชีวิตประจำวันให้คล่องและจำได้แม่นยำ โดยต้องทำบันทึกขึ้นมาช่วย เช่นการทำรายชื่อแปะรูปคนที่ใกล้ชิดสักสิบคนร้อยคนแล้วคอยท่องจำไว้ การขับรถ การโทรศัพท์ หรือการทำอะไรก็ได้ที่ต้องมีขั้นมีตอนต้องขยันคอยทำ คอยจำ ค่อยท่อง ทุกวัน
อย่างที่สาม คือการออกกำลังกาย อย่างที่ผมพูดไปแล้ว เพราะเมื่อสมองเสื่อม ร่างกายก็จะเสื่อมตามไปอย่างรวดเร็ว ในสมองเสื่อมบางแบบเช่นพาร์คินสัน ร่างกายไปก่อนสมองด้วยซ้ำ ในอีกมุมหนึ่ง งานวิจัยจำนวนมากยืนยันว่าการออกกำลังกายจะทำให้สมองเสื่อมช้าลง
อย่างที่สี สำคัญที่สุด คือการทำตัวให้เป็นคนน่ารักโดยเนื้อใน
คุณปาลม์
ฮู..ทำไมละคะ
นพ.สันต์
ตรงนี้ไม่เคยมีงานวิจัยอะไรรองรับในทางวิทยาศาสตร์หรอกนะ แต่ผมสรุปเอาจากประสบการณ์ที่เห็นคนไข้ เพราะเมื่อเราสมองเสื่อม ส่วนที่รู้จักคิดผิดชอบชั่วดีจะหายไป มันจะเหลือแต่นิสัยที่เป็นความเคยชินเดิมๆแท้ๆของเรา ที่ขอโทษ ที่ภาษาบ้านๆเรียกว่าสันดาน นั่นแหละ ภาษาแพทย์เรียกว่า conditioned reflex ถ้าเราฝึกรู้จักรักคนอื่นจนเป็นนิสัยเนื้อในของเรา แม้สมองส่วนนอกจะเสียไป แต่ความน่ารักที่เป็นของแท้จะยังอยู่ เราจะเป็นคนสมองเสื่อมที่น่ารัก ใครๆก็อยากเข้าใกล้และอยากมาช่วยเหลือ แต่ถ้าเราไม่ได้ฝึกไว้ ถึงเวลาที่เราเหลือแต่ความน่าชัง จะไม่มีใครเอาเราเลย ลูกๆจะเป็นคณะแรกที่พากันบอกศาลาไปก่อน ทิ้งแต่เงินค่าจ้างไว้ให้ จ้างพยาบาลมาดูแลได้สองสามวันพยาบาลก็บอกศาลาว่าอาจารย์หนูไม่ดูแล้วคนไข้คนนี้ จ้างผู้ดูแลชาวเขมรพม่าลาวมาเฝ้าก็อยู่ได้คนละเดือนสองเดือนเพราะทนคนป่วยไม่ไหว สรุปว่าเหตุที่ผู้สูงอายุต้องเป็นคนน่ารักก็เพราะจะทำให้คนอื่นเขาเมตตาดูแลเราเมื่อถึงคราวที่เราดูแลตัวเองไม่ได้แล้ว
คุณปาล์ม
แล้วเรื่องที่หก
นพ.สันต์
เรื่องที่หก ก็คือการที่อะไรในชีวิตของผู้สูงวัยนี้มัน "เยอะ" เกินไป เยอะจนเกิดปัญหาต่อคุณภาพชีวิต ไม่ต้องดูไกล ตื่นเช้าขึ้นมา มองเข้าไปในตู้เสื้อผ้ามีเสื้อผ้ายัดเรียงกันเต็มไปหมด จะเลือกตัวไหนใส่ก็เป็นปัญหาแล้ว ทุกอย่างมันเยอะไปหมด บ้านก็มีหลายหลัง รถยนต์ก็มีหลายคัน เรื่องที่จะต้องทำในหนึ่งวันก็มีมากเกินไป การจะลดปัญหาก็คือทำให้อะไรที่ “เยอะ” นี้ให้มันเหลือน้อยๆ ญี่ปุ่นเขาเรียกว่า minimalism ผมเคยเห็นเขาเอากล่องกระดาษมาสิบสองกล่องตั้งไว้ที่มุมในบ้าน แล้วก็เอาอะไรก็ตามที่ไม่ได้ใช้ใส่ไว้แล้วทิ้งไว้สามเดือน ถ้าสามเดือนไม่ได้ใช้เลยก็เอาไปแจกหรือขายทิ้งได้ นั่นเป็นวิธีที่ผู้สูงวัยควรทำ คือลดความเยอะในชีวิตลงให้เหลือน้อยที่สุดเท่าที่ได้ใช้จริง และจำได้ ตอนนี้ตัวผมเองก็กำลังลดความเยอะของตัวเองอยู่เหมือนกัน
เรื่องที่เจ็ด ก็คือการทำอะไรทีละอย่าง คือเมื่อเราเกษียณเราอาจจะวางแผนทำอะไรร้อยแปดอย่าง โอเค. วางแผนแล้วเขียนแปะฝาบ้านไว้ แต่เวลาทำจริง เราต้องทำทีละอย่าง ง่วนทำเฉพาะงานที่อยู่ตรงหน้า งานวิจัยบอกว่าความสุขของวัยสูงอายุอยู่ที่การได้ "ง่วน" ทำอะไรสักอย่าง ไม่ต้องห่วงว่ามันจะเสร็จเมื่อไหร่ เสร็จแล้วค่อยไปจับงานที่สอง สำหรับผู้สูงอายุการทำอะไรหลายอย่างพร้อมกันจะก่อความเครียด เพราะมันไม่ใช่การได้ง่วนทำเสียแล้ว มันเป็นการตาลีตาเหลือกทำ การทำงานแบบทีละหลายอย่างหรือ multitasking นี้อาจจะเหมาะกับคนในวัยหนุ่มสาวที่ปฏิกริยาสนองตอบหรือรีเฟล็กซ์ของร่างกายและสมองมีความคล่องแคล่วรวดเร็ว แต่ไม่เหมาะสำหรับคนสูงอายุ
เรื่องที่แปด ก็คือการสร้างเพื่อนใหม่ เพราะงานวิจัยทางการแพทย์สรุปผลไปทางเดียวกันหมดว่าคนมีเพื่อนอายุยืนกว่าคนที่ไม่มี คนแต่งงานอายุยืนกว่าคนโสด การได้ปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนสัปดาห์ละอย่างน้อย 1 ชั่วโมงมีผลดีต่อสุขภาพมากกว่าการไม่ได้ปฏิสัมพันธ์อย่างลึกซึ้งกับใครเลย แต่ว่าเมื่อเราสูงวัย เพื่อนเขาจะค่อยๆล้มหายไปเมื่อเวลาผ่านไป หากเราไม่มีการสร้างเพื่อนใหม่ ถึงจุดหนึ่งก็จะเหลือแต่เราคนเดียวที่ยังจำเราได้อยู่ แล้วเราจะไปปฏิสัมพันธ์กับใคร
คุณปาล์ม
คราวนี้มาคุยกับคุณอุษาบ้าง อยากคุยถึงการจัดการสังคมสำหรับผู้สูงอายุบ้างนะคะ คุณอุษาคะ การจัดการสังคมผู้สูงอายุที่สวางคนิวาส มีปัญหาอะไรโดยเฉพาะที่เป็นเรื่องของผู้สูงอายุบ้างไหมคะ
คุณอุษา
ก็มีปัญหาเหมือนกันค่ะ คือแต่ละแห่งก็คงจะมีปัญหาไปตามแบบของตัวเอง คือที่สวางคนิวาสเป็นที่สำหรับคนชั้น middle class หมายความว่าคนมีเงินพอสมควร ผู้สูงอายุในระดับนี้มีความรู้สูง เคยมีตำแหน่งหน้าที่ใหญ่โตและหลายท่านก็ยังวางไม่ลง พูดง่ายๆว่ามียังอัตตาอยู่บ้าง มีความคาดหวังสูงเพราะถือว่าตัวเองจ่ายเงินไปมากแล้ว และไม่ค่อยยอมอะไรง่ายๆหากตัวเองไม่เห็นด้วย หรือเห็นว่ามันไม่ถูกต้อง หรือมันไม่ยุติธรรม
ยกตัวอย่างเช่นปกติสวางคนิวาสจะเป็นผู้จัดบริการกิจกรรมเชิงสังคมให้ผู้พักอาศัย จัดงานพบปะกันให้ พาไปทัวร์เป็นต้น แต่ขณะเดียวกันก็เป็นนโยบายของเราว่าเราจะ empower ผู้พักอาศัย ให้เขาได้มีบทบาทตัดสินใจทำอะไรด้วยตัวเองด้วย ตัวอย่างของปัญหาก็ เช่น ผู้พักอาศัยกลุ่มหนึ่งทำเรื่องมา (หัวเราะ) คือทำเรื่องมาแบบราชการ ทำเรื่องขออนุมัติทำกิจกรรมปลูกผักสวนครัวไว้ทานเอง ทางผู้อำนวยการเห็นว่าเป็นเรื่องดีมีประโยชน์ก็อนุมัติให้ใช้ที่ที่ยังรกร้างอยู่ทำสวนครัวได้ แต่ผู้พักอาศัยอื่นที่ไม่ชอบปลูกผักก็คัดค้าน ว่า ได้ไง ปลูกผักก็ต้องใช้น้ำประปาของส่วนกลางไปรดผัก ฉันก็ต้องมาออกค่าใช้จ่ายส่วนกลางให้ มันไม่ยุติธรรม บ้างก็ว่าทำสวนครัวทำให้เสียทัศนียภาพส่วนรวม บ้างก็ว่ายอมไม่ได้ เพราะรดน้ำเฉอะเฉะดินจะกระเด็นมาสกปรกรถของฉัน อย่างนี้เป็นต้น เราก็ต้องแก้ปัญหาประนีประนอมกันไป อันไหนที่ล้ำเส้นมากๆจนเราเห็นว่ายอมไม่ได้เราก็ต้องแข็งขันว่าตรงนี้ไม่ได้
คุณปาล์ม
ดิฉันทราบว่าคุณหมอก็ทำที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุเหมือนกัน มีปัญหาอะไรบ้างไหมคะ
นพ.สันต์
รูปแบบที่ผมทำเรียกว่า Senior co-housing คอนเซ็พท์ก็คือให้คนสูงอายุที่อยู่ด้วยกันนี่แหละมาดูแลเกื้อกูลกันไป เพราะในอนาคตมองไปทางไหนก็จะเห็นแต่คนสูงอายุหมด จะไปหวังให้มีผู้ดูแลซึ่งเป็นคนอายุน้อยมาประคบประหงมก็คงได้อย่างมากก็เป็นครั้งเป็นคราว ซึ่งอันนี้เป็นคอนเซ็พท์ที่แตกต่างจากสวางคนิวาส เพราะของพี่อุษาเป็นคอนเซ็พท์ดูแลโดยสถาบัน มีหมอมีพยาบาลมีผู้ดูแลประจำ แต่ senior co-housing เป็นคอนเซ็พท์คนสูงอายุดูแลกันเอง วิธีทำก็คือคนสูงอายุสิบคนยี่สิบคนมาซื้อที่ดินอยู่ใกล้ๆกันแล้วตั้งเป็นชุมชนล้อมรั้วเป็นรั้วเดียว แชร์ของที่แชร์กันได้ เช่นรั้ว ระบบเรียกฉุกเฉิน คนสวนและยามเฝ้า ซึ่งเป็นคนเดียวกัน มีพื้นที่ส่วนกลางเรียกว่า common house มีพื้นที่ส่วนตัวซึ่งก็คือบ้านใครบ้านมัน มีอะไรก็ตัดสินใจร่วมกันโดยไม่มีหัวหน้าไม่มีลูกน้อง
ปัญหาในลักษณะที่พี่อุษาว่าก็มีบ้างเป็นธรรมดา ก็ต้องช่วยกันแก้ปัญหาไป แนวทางแก้ไขก็คือเรื่องใหญ่ๆที่เป็นคอนเซ็พท์หลักก็ยืนหยัดกันไว้เพื่อให้ความเป็นชุมชนที่ดีคงอยู่ เรื่องเล็กๆหรืออะไรที่มันเกิดขึ้นแล้วกู่ไม่กลับแล้วก็กล้อมแกล้มอะลุ่มอล่วยกันไปแบบไทยๆ
คือปัญหาแต่ละคนก็จะเอาแต่แบบที่ตัวเองอยากได้นี้ ประเด็นมันอยู่ที่ว่าตราบใดที่ผู้เกษียณที่อยู่ในชุมชนของผู้เกษียณไปมุ่งที่เจตนาปกป้องสิทธิของตนและเรียกร้องเอาส่วนแบ่งที่ตนพึงมีพึงได้เป็นสำคัญ ตราบนั้นปัญหาก็จะยังมี ต่อเมื่อผู้เกษียณได้ค่อยๆปรับเจตนาของการเข้ามาอยู่เป็นมุ่งจะให้สิ่งดีๆในตัวเองออกไปให้แก่ชุมชนบ้าง คือเป็นเจตนาจะ contribution แทนที่เจตนาจะมาปกป้องส่วนแบ่งที่เป็นธรรมของตัวเอง เมื่อนั้นทุกคนจะต่างก็มีความสุขกับการได้ contribute สิ่งดีๆในตัวของตัวเองออกมาให้ชุมชนโดยจะไม่ไปพะวงส่วนแบ่งที่ตัวเองพึงจะได้มากนักโดยอัตโนมัติ ถึงจุดนั้นชุมชุมผู้เกษียณอายุแบบเพื่อนบ้านเกื้อกูลกันและกันก็จะเป็นจริงได้ และจะเป็นรูปแบบการอยู่อาศัยร่วมกันที่ดีรูปแบบหนึ่ง เพราะในอเมริกาก็มีชุมชนแบบนี้ราวสองร้อยกว่าแห่ง ในยุโรปก็มีร้อยกว่าแห่ง
คุณปาล์ม
แล้วในเมืองไทยมีที่ไหนบ้างคะ
นพ.สันต์
ไม่มีครับ Senior co-housing มีแต่อันที่ผมเริ่มทำที่มวกเหล็กนี่แหละ ที่เดียว จะออกหัวหรือออกก้อยก็คงต้องรอดูกันไป
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
คุณปาล์ม:
ในฐานะที่เป็นผู้สูงอายุเอง คุณหมอมีหลักในการใช้ชีวิตในวัยนี้อย่างไรคะ จึงจะทำให้ชีวิตในวัยนี้มีคุณภาพ
หมอสันต์:
ตอบในฐานะคนแก่คนหนึ่งนะ
คุณปาล์ม:
เรียกว่าผู้สูงอายุดีกว่ามังคะ
หมอสันต์:
ความจริงผมมีสิทธิ์ใช้คำว่าคนแก่นะ เพราะตัวผมเองก็แก่จึงน่าจะใช้เรียกตัวเองได้ หลักคิดของผมมาจากประสบการณ์ชีวิตตัวเอง บวกการได้เห็นคนไข้ของผมซึ่งที่เป็นคนสูงอายุก็มีจำนวนไม่น้อย บวกกับการได้เห็นคนป่วยระยะสุดท้ายของชีวิตจำนวนมาก ดังนั้นหลักคิดของผมอาจจะไม่เหมือนหลักทั่วๆไปที่เขาพูดกันเสมอว่าต้องเตรียมเงิน ต้องดูแลสุขภาพ ต้องมีแผนกิจกรรม สิ่งเหล่านั้นผมไม่ได้สนใจ แต่ผมเจาะลึกให้ความสนใจอยู่แปดเรื่องต่อไปนี้ คือ
เรื่องที่หนึ่ง คือการต้องรู้วิธีเรียกความสุขมาหา คือทุกคนต่างก็ต้องการความสุข แต่แก่แล้วการจะไปวิ่งตามหาความสุขมันไม่ทันแล้ว จริงๆแล้วความสุขมันก็ไม่ใช่อะไรที่เราจะไปตามหาเจอ แต่มันเป็นอะไรที่เราเรียกมันมาหาได้ วิธีเรียกความสุขมาหาของผมก็มีขั้นตอนง่ายๆสองขั้นตอนเท่านั้นเอง คือขั้นที่หนึ่ง ต้องเอาตัวเรามาอยู่ที่นี่เดี๋ยวนี้ให้ได้ก่อน เราจะรู้ว่าเราอยู่ที่นี่เดี๋ยวนี้ก็จากการรับรู้สิ่งกระตุ้นรอบตัวที่เรารับเข้ามา ณ ขณะนี้ เช่นภาพ เสียง สัมผัสต่างๆ ถ้าไม่รู้วิธีตรวจเช็คว่าเราอยู่ที่นี่เดี๋ยวนี้จริงๆก็ตรวจเช็คดูลมหายใจของเราก็ได้ ดูซิว่าตอนนี้เรากำลังหายใจเข้า หรือกำลังหายใจออก ถ้าเราตอบได้ก็แสดงว่าเรากำลังอยู่กับปัจจุบัน เพราะลมหายใจเป็นเรื่องที่เกิดเดี๋ยวนี้ ขั้นที่สอง คือทำการผ่อนคลายกล้ามเนื้อทั่วตัวเรา ซึ่งก็ทำได้ไม่ยาก วิธีการง่ายๆที่ผมใช้ก็คือหายใจเข้าลึกๆ กลั้นไว้ ยิ้มที่มุมปากนิดหนึ่ง แล้วค่อยๆผ่อนลมหายใจออกพร้อมกันบอกให้กล้ามเนื้อทั่วตัวกายผ่อนคลายพร้อมๆกับที่ขณะผ่อนลมหายใจออก
ผมทำสองขั้นตอนนี้เพื่ออะไรหรือ คืออย่างที่หนึ่ง เมื่อเรากลับมาอยู่ที่นี่ เดี๋ยวนี้ เราก็ไม่กังวลถึงอดีต ไม่กังวลถึงอนาคต เราก็สบายใจใช่ไหมครับ อย่างที่สอง เมื่อเราผ่อนคลายกล้ามเนื้อทั่วตัว เราก็สบายกาย ใช่ไหมครับ สบายกาย-สบายใจ ก็คือความสุขใช่ไหมละ ความสุขเราเรียกมาได้ง่ายๆอย่างนี้เอง และเมื่อเป็นคนสูงอายุ ต้องทำเรื่องนี้ให้เป็น
เรื่องที่สอง คือการซ้อมตาย
คุณปาล์ม:
อะไรนะคะ ซ้อมตาย
นพ.สันต์:
ครับ ซ้อมตาย
คุณปาล์ม:
ปกติเรื่องความตายนี้เราจะไม่ค่อยพูดถึงกันนะคะ คือจะพยายามเก็บซ่อนไว้
นพ.สันต์
คือการเป็นคนสูงอายุกับความตายนี้เป็นของคู่กัน สองวันมานี้ผมก็เพิ่งไปงานศพของเพื่อนมา การที่เราจงใจกวาดเรื่องความตายไปซุกไว้ใต้พรม เป็นวิธีใช้ชีวิตวัยเกษียณที่ไม่ถูกต้อง เพราะเมื่อเรากลัวตาย มันจะเป็นพื้นฐานให้เกิดความกลัวในชีวิตอีกหลายๆอย่างซึ่งนำไปสู่การเจ็บป่วยของผู้สูงวัย เราต้องทำตัวให้คุ้นเคยกับความตาย ด้วยวิธีที่ผมเรียกว่าซ้อมตายเนี่ยแหละ การซ้อมตายนี่ก็ไม่ใช่ของยาก เพราะสิ่งที่เหมือนการตายมากก็คือการที่เราหลับไปนี่ไง พอเราหลับจิตสำนึกหรือ consciousness ของเราจะดับวูบลงทันทีทันใด การตายก็เป็นแบบนั้น วิธีซ้อมตายของผมก็คือตอนเข้านอนทุกคืนผมก็บอกตัวเองว่าเราจะตายละนะ อีกไม่กี่นาทีเราก็จะตายแล้ว พรุ่งนี้ไม่มีแล้ว แล้วผมก็นอนเฝ้าดูเหตุการณ์ ณ ขณะนั้นไปอย่างจดจ่อเพื่อเป็นสักขีพยานต่อความตายของเราเอง ถ้าความคิดแล่นไปไหนก็ลากมันกลับมาเฝ้าดูเหตุการณ์ ณ ขณะนั้น ถ้าไม่มีอะไรจะให้ดูก็ดูลมหายใจของตัวเองไปพลางๆก่อนก็ได้ ดูไปเพื่อให้เห็นว่าโมเมนต์ที่เราหลับไปนั้นมันจะเป็นอย่างไร ตอนทำแบบนี้ใหม่ๆตื่นขึ้นมาผมนึกย้อนดูจะนึกไม่ออกเลยว่าตัวเองเผลอหลับไปตอนไหน แต่ทำไปนานๆเข้าจะนึกย้อนออกว่าหลับไปตอนไหน คือมันทำให้คุ้นเคยกับการที่จิตสำนึกของเราต้องดับวูบไป มันจะทำให้ไม่กลัวตาย เมื่อไม่กลัวตายเสียอย่าง ความกลัวอย่างอื่นก็จิ๊บจิ๊บแล้ว สุขภาพจิตในวัยสูงอายุก็จะดีขึ้น มีชีวิตที่มีคุณภาพมากขึ้น
คุณปาล์ม
แล้วเรื่องที่สามละคะ
นพ.สันต์
เรื่องที่สาม ก็คือ การเตรียมรับมือกับความเจ็บ
คุณปาล์ม
ความเจ็บ?
นพ.สันต์
ใช่ เกิด แก่ เจ็บ ตาย เกิด..เราก็เกิดมาแล้ว แก่..เราก็แก่แล้ว ทีนี้ก็คือเจ็บ
คุณปาลม์
แหม คุยกับคุณหมอนี่ออกธรรมะมากเลยนะคะ
นพ.สันต์
ไม่หรอกครับ อันนี้เป็นงานวิจัยทางการแพทย์ ทำกันที่มหาวิทยาล้ยแมสซาจูเสท เขาเรียกว่างานวิจัยฝึกสติลดความเจ็บปวด คือความเจ็บปวดนี้เป็นเรื่องใหญ่ในวิชาแพทย์ เป็นสาขาวิชาหนึ่งทีเดียว เรียกว่าสาขาการจัดการความเจ็บปวด หรือ pain management สำหรับคนทั่วไปเมื่อเจ็บปวดก็ไปหาหมอเอายา แต่นั่นเป็นการแก้ปัญหาได้เพียงยี่สิบเปอร์เซ็นต์ คือความเจ็บปวดนี่เป็นการตีความของสมอง หากเราจะแก้ปัญหาที่ต้นตอเราต้องแก้ที่การตีความของสมองหรือที่การเกิดความคิดของเรา วิธีฝึกก็ไม่ยาก มันต้องเริ่มด้วยการฝึกจิตให้มีสมาธิก่อน การจะมีสมาธิได้นี้ใจมันต้องเป็นสุขก่อน ดังนั้นมันก็ต้องเรียกความสุขมาหาให้เป็นก่อน แบบที่ผมพูดไปแล้ว พอใจเป็นสุข ก็ฝึกสมาธิ โดยนิยามของสมาธิก็คือการที่เราเอาจิตของเราจดจ่ออยู่กับอะไรสักอย่างเพียงอย่างเดียว อาจจะเป็นลมหายใจของเราก็ได้ พอฝึกจิตจนเป็นสมาธิได้ที่แล้วก็เอาจิตที่เป็นสมาธินั้นไปจดจ่อตามดูอาการปวด แบบดูเฉยๆ
คุณปาล์ม
ดูเฉยๆ ไม่เข้าไปตีความ
นพ.สันต์
ใช่ครับ ดูด้วยความเข้าใจว่าความเจ็บปวดนี้มันเป็นอะไรที่ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป เราดูมันเฉยๆไม่ต้องไปลุ้นให้มันไป ในการฝึกนี่มันต้องมีความเจ็บปวดที่เป็นของจริงมาเป็นตัวอย่างให้ฝึกนะ ถ้าไม่มีก็สร้างมันขึ้นมาก็ได้ เช่นนั่งขัดสมาธิตัวตรงอยู่หลายๆนาที เดี๋ยวมันก็จะปวดขาปวดเข่าปวดหลังเอง เราก็เข้าไปฝึกดูความเจ็บปวดนั้น ฝึกไปๆในที่สุดเราก็จะอยู่กับมันได้โดยไม่ทุกข์ร้อน
เมื่อกี้ผมเล่าว่าเพิ่งไปงานศพของเพื่อนมา เพื่อนคนนี้เป็นหมอนะ เขาเป็นมะเร็งกระจายมาที่ตับ ป่วยระยะสุดท้ายอยู่เป็นปี แต่ยาแก้ปวดเม็ดเดียวก็ไม่เคยทาน อย่าว่าแต่ยาฉีดเลย เป็นมะเร็งตับมันปวดแค่ไหนก็รู้กันอยู่แล้ว แต่เขายังยิ้มได้จนวาระสุดท้าย คือการฝึกใจของเราให้อยู่กับความเจ็บปวดได้นี้มันเป็นอะไรที่เวอร์คดีมาก
คุณปาล์ม
แล้วเรื่องที่สี่ละคะ
นพ.สันต์
เรื่องที่สี่ ก็คือการต้องเริ่มขยับเขยื้อน คือสมัยที่เราทำงาน ส่วนใหญ่ก็จะเป็นงานแบบนั่งจุมปุ๊กอยู่กับที่ นั่งอยู่กับที่แบบนี้มายี่สิบปีก็ไม่มีปัญหาอะไร ร่างกายเรายังเป็นหนุ่มเป็นสาว ธรรมชาติเขามีวิธีทดแทนกล้ามเนื้อของคนที่เป็นหนุ่มเป็นสาวให้มีปริมาณคงที่อยู่เสมอ แต่พอเราอายุมากแล้วไม่ใช่ กล้ามเนื้อที่ไม่ได้ใช้งานจะเหี่ยวลีบลงอย่างรวดเร็ว และเราจะกลายเป็นคนพิการไปในเวลาไม่กี่ปี เอาง่ายๆ เวลาคุณไปเยี่ยมคนสูงอายุที่ป่วยเข้านอนโรงพยาบาล เพียงแค่เจ็ดวันแค่นั้นแหละ ก็จะเห็นเขาหรือเธอผอมลงจนจำไม่ได้ แค่ไม่ได้ใช้กล้ามเนื้อเจ็ดวันกล้ามเนื้อลีบหายหมด เพราะธรรมชาติของร่างกายผู้สูงอายุเป็นแบบนั้น ดังนั้นผู้สูงอายุจึงต้องขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวออกกำลังกายให้มากกว่าตอนเป็นหนุ่มเป็นสาวหรือตอนทำงานอยู่ ซึ่งเรื่องนี้ผมมีประเด็นย่อยอยู่สี่ประเด็นนะ
ประเด็นที่หนึ่ง คือการออกกำลังกายแบบที่เรียกว่าแอโรบิกนั้น หากจะให้ได้ประโยชน์อย่างที่งานวิจัยทางการแพทย์บอกไว้นั้น มันจะต้องมีคุณลักษณะสามอย่าง คือมันต้องหนักพอควร นิยามว่าต้องถึงหอบแฮ่กๆ ร้องเพลงไม่ได้ มันต้องต่อเนื่องไป 30 นาที และมันต้องสม่ำเสมอระดับสัปดาห์ละ 5 ครั้งเป็นอย่างน้อย
ประเด็นที่สอง คือคนสูงอายุต้องฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อด้วย พูดง่ายๆว่าต้องเล่นกล้ามด้วย
คุณปาล์ม
ทั้งๆที่อายุมากแล้วนี่นะ
นพ.สันต์
ครับ ยิ่งสูงอายุยิ่งต้องเล่นกล้าม เพราะหากไม่ทำ กล้ามเนื้อจะลีบและเกิดปัญหาอื่นตามมา
ประเด็นที่สาม คนสูงอายุต้องออกกำลังกายแบบเสริมการทรงตัว หรือ balance exercise เช่นการเต้นรำ รำมวยจีน หรือโยคะ คนหนุ่มคนสาวไม่จำเป็นต้องทำ แต่คนสูงอายุจำเป็นต้องทำ เพราะปัญหาของผู้สูงอายุก็คือการลื่นตกหกล้มกระดูกหัก เพราะสาเหตุพื้นฐานเกิดจากผู้สูงอายุเสียทักษะการทรงตัวไปเสียแล้วโดยธรรมชาติ ไม่ได้ทรงตัวได้เก่งเหมือนตอนเป็นหนุ่มเป็นสาว
ประเด็นที่สี่ ซึ่งสำคัญที่สุด คือผู้สูงอายุจะต้องวางแผนกิจกรรมในชีวิตตัวเองเสียใหม่ทั้งหมด ให้มีการขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวทั้งวัน ห้ามนั่งเกินครั้งละหนึ่งชั่วโมง อันนี้มันมาจากงานวิจัยนะ มันมีความสัมพันธ์ชัดเจนระหว่างการนั่งมากกับการมีอายุสั้น คือยิ่งนั่งมากยิ่งอายุสั้น
อีกอย่างหนึ่งคือไม่ควรดูทีวีเกินวันละหนึ่งชั่วโมง อันนี้ก็เป็นอีกงานวิจัยหนึ่งที่เพิ่งตีพิมพ์ออกมาใหม่ๆเมื่อเดือนที่แล้วนี่เอง เรียกว่างานวิจัยสุขภาพหญิง คือตามดูคนถึงเจ็ดหมื่นกว่าคนนานถึงยี่สิบปี มหาวิทยาลัยอินเดียนาเป็นผู้ตีพิมพ์ ในวารสารวิทยาลัยแพทย์โรคหัวใจอเมริกัน หรือ JACC คือตามดูยี่สิบปีก็จะมีคนอายุสั้นคนอายุยืน แล้วเขาก็ไปดูว่าอะไรทำให้คนอายุสั้น ก็พบว่ามีอยู่หกอย่าง หนึ่งในหกอย่างนั้นก็คือการนั่งดูทีวีเกินวันละ 1 ชั่วโมง จะทำให้อายุสั้น
คุณปาล์ม
แล้วเรื่องที่ห้าละคะ
นพ.สันต์
เรื่องที่ห้า คือการเตรียมสมองเสื่อม
คุณปาล์ม
หมายความว่าไงคะ เตรียมสมองเสื่อม ดิฉันรู้แต่ว่าทุกคนกลัวสมองเสื่อม
นพ.สันต์
ใช่ครับ ทุกคนกลัว แต่ว่าเราทุกคน ถ้าอายุยืนยาวพอ ก็จะต้องไปถึงจุดนั้นกันทุกคน คือจุดที่เกิดสมองเสื่อม จะเป็นแบบอัลไซเมอร์หรือแบบเสื่อมตามอายุก็แล้วแต่ การเตรียมตัวเมื่อสมองเสื่อมมันมีสาระหลักอยู่สี่อย่าง
อย่างแรก คือการฝึกใช้มือ หมายความว่าหางานอดิเรกที่มีการใช้กล้ามเนื้อมือที่ตัวเองทำเป็นจนทำได้คล่อง จะเป็นวาดรูป ทาสี จักสาน ตัดเย็บ แกะสลัก ใช้อุปกรณ์ไขควงสิ่วค้อนอะไรก็ได้
คุณปาล์ม
ทำไมละคะ
นพ.สันต์
คือชีวิตบั้นปลายที่มีคุณภาพมันต้องมีอะไรทำ แต่เมื่อสมองเสื่อมถึงจุดหนึ่ง ส่วนที่เป็นความคิดวินิจฉัยและความจำจะหายไปหมด ก็จะไม่เหลืองานอดิเรกอะไรให้ทำ จะไปนั่งคุยเล่นกับเพื่อนๆก็ไม่ได้แล้วเพราะเราจำไม่ได้ว่าเขาคนนี้คือใครแล้วจะคุยอะไรกับเขาละ จะดูทีวีก็ไม่ได้เพราะเรายังจำไม่ได้เลยว่าเจ้าจอสี่เหลี่ยมแบบนี้เขาเรียกว่าทีวี. แต่ส่วนที่บังคับการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อโดยเฉพาะมือจะยังพอใช้ได้อยู่ เพราะกล้ามเนื้อที่ใช้งานจนคล่องแล้วมันคล้ายจะมีความจำของมันเอง วงการกีฬาเขาเรียกว่า muscle memory คนที่มีงานอดิเรกด้วยการใช้มือที่ทำจนคล่องก็จะยังสามารถทำอะไรที่ตัวเองชอบได้อยู่แม้สมองจะเสื่อมไปมากแล้ว
อย่างที่สอง เป็นสิ่งที่คนเขารู้กันทั่วแล้ว นั่นก็คือการต้องคอยใช้สมอง ฝึกสมอง เน้นที่การทำอะไรที่เป็นพื้นฐานชีวิตประจำวันให้คล่องและจำได้แม่นยำ โดยต้องทำบันทึกขึ้นมาช่วย เช่นการทำรายชื่อแปะรูปคนที่ใกล้ชิดสักสิบคนร้อยคนแล้วคอยท่องจำไว้ การขับรถ การโทรศัพท์ หรือการทำอะไรก็ได้ที่ต้องมีขั้นมีตอนต้องขยันคอยทำ คอยจำ ค่อยท่อง ทุกวัน
อย่างที่สาม คือการออกกำลังกาย อย่างที่ผมพูดไปแล้ว เพราะเมื่อสมองเสื่อม ร่างกายก็จะเสื่อมตามไปอย่างรวดเร็ว ในสมองเสื่อมบางแบบเช่นพาร์คินสัน ร่างกายไปก่อนสมองด้วยซ้ำ ในอีกมุมหนึ่ง งานวิจัยจำนวนมากยืนยันว่าการออกกำลังกายจะทำให้สมองเสื่อมช้าลง
อย่างที่สี สำคัญที่สุด คือการทำตัวให้เป็นคนน่ารักโดยเนื้อใน
คุณปาลม์
ฮู..ทำไมละคะ
นพ.สันต์
ตรงนี้ไม่เคยมีงานวิจัยอะไรรองรับในทางวิทยาศาสตร์หรอกนะ แต่ผมสรุปเอาจากประสบการณ์ที่เห็นคนไข้ เพราะเมื่อเราสมองเสื่อม ส่วนที่รู้จักคิดผิดชอบชั่วดีจะหายไป มันจะเหลือแต่นิสัยที่เป็นความเคยชินเดิมๆแท้ๆของเรา ที่ขอโทษ ที่ภาษาบ้านๆเรียกว่าสันดาน นั่นแหละ ภาษาแพทย์เรียกว่า conditioned reflex ถ้าเราฝึกรู้จักรักคนอื่นจนเป็นนิสัยเนื้อในของเรา แม้สมองส่วนนอกจะเสียไป แต่ความน่ารักที่เป็นของแท้จะยังอยู่ เราจะเป็นคนสมองเสื่อมที่น่ารัก ใครๆก็อยากเข้าใกล้และอยากมาช่วยเหลือ แต่ถ้าเราไม่ได้ฝึกไว้ ถึงเวลาที่เราเหลือแต่ความน่าชัง จะไม่มีใครเอาเราเลย ลูกๆจะเป็นคณะแรกที่พากันบอกศาลาไปก่อน ทิ้งแต่เงินค่าจ้างไว้ให้ จ้างพยาบาลมาดูแลได้สองสามวันพยาบาลก็บอกศาลาว่าอาจารย์หนูไม่ดูแล้วคนไข้คนนี้ จ้างผู้ดูแลชาวเขมรพม่าลาวมาเฝ้าก็อยู่ได้คนละเดือนสองเดือนเพราะทนคนป่วยไม่ไหว สรุปว่าเหตุที่ผู้สูงอายุต้องเป็นคนน่ารักก็เพราะจะทำให้คนอื่นเขาเมตตาดูแลเราเมื่อถึงคราวที่เราดูแลตัวเองไม่ได้แล้ว
คุณปาล์ม
แล้วเรื่องที่หก
นพ.สันต์
เรื่องที่หก ก็คือการที่อะไรในชีวิตของผู้สูงวัยนี้มัน "เยอะ" เกินไป เยอะจนเกิดปัญหาต่อคุณภาพชีวิต ไม่ต้องดูไกล ตื่นเช้าขึ้นมา มองเข้าไปในตู้เสื้อผ้ามีเสื้อผ้ายัดเรียงกันเต็มไปหมด จะเลือกตัวไหนใส่ก็เป็นปัญหาแล้ว ทุกอย่างมันเยอะไปหมด บ้านก็มีหลายหลัง รถยนต์ก็มีหลายคัน เรื่องที่จะต้องทำในหนึ่งวันก็มีมากเกินไป การจะลดปัญหาก็คือทำให้อะไรที่ “เยอะ” นี้ให้มันเหลือน้อยๆ ญี่ปุ่นเขาเรียกว่า minimalism ผมเคยเห็นเขาเอากล่องกระดาษมาสิบสองกล่องตั้งไว้ที่มุมในบ้าน แล้วก็เอาอะไรก็ตามที่ไม่ได้ใช้ใส่ไว้แล้วทิ้งไว้สามเดือน ถ้าสามเดือนไม่ได้ใช้เลยก็เอาไปแจกหรือขายทิ้งได้ นั่นเป็นวิธีที่ผู้สูงวัยควรทำ คือลดความเยอะในชีวิตลงให้เหลือน้อยที่สุดเท่าที่ได้ใช้จริง และจำได้ ตอนนี้ตัวผมเองก็กำลังลดความเยอะของตัวเองอยู่เหมือนกัน
เรื่องที่เจ็ด ก็คือการทำอะไรทีละอย่าง คือเมื่อเราเกษียณเราอาจจะวางแผนทำอะไรร้อยแปดอย่าง โอเค. วางแผนแล้วเขียนแปะฝาบ้านไว้ แต่เวลาทำจริง เราต้องทำทีละอย่าง ง่วนทำเฉพาะงานที่อยู่ตรงหน้า งานวิจัยบอกว่าความสุขของวัยสูงอายุอยู่ที่การได้ "ง่วน" ทำอะไรสักอย่าง ไม่ต้องห่วงว่ามันจะเสร็จเมื่อไหร่ เสร็จแล้วค่อยไปจับงานที่สอง สำหรับผู้สูงอายุการทำอะไรหลายอย่างพร้อมกันจะก่อความเครียด เพราะมันไม่ใช่การได้ง่วนทำเสียแล้ว มันเป็นการตาลีตาเหลือกทำ การทำงานแบบทีละหลายอย่างหรือ multitasking นี้อาจจะเหมาะกับคนในวัยหนุ่มสาวที่ปฏิกริยาสนองตอบหรือรีเฟล็กซ์ของร่างกายและสมองมีความคล่องแคล่วรวดเร็ว แต่ไม่เหมาะสำหรับคนสูงอายุ
เรื่องที่แปด ก็คือการสร้างเพื่อนใหม่ เพราะงานวิจัยทางการแพทย์สรุปผลไปทางเดียวกันหมดว่าคนมีเพื่อนอายุยืนกว่าคนที่ไม่มี คนแต่งงานอายุยืนกว่าคนโสด การได้ปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนสัปดาห์ละอย่างน้อย 1 ชั่วโมงมีผลดีต่อสุขภาพมากกว่าการไม่ได้ปฏิสัมพันธ์อย่างลึกซึ้งกับใครเลย แต่ว่าเมื่อเราสูงวัย เพื่อนเขาจะค่อยๆล้มหายไปเมื่อเวลาผ่านไป หากเราไม่มีการสร้างเพื่อนใหม่ ถึงจุดหนึ่งก็จะเหลือแต่เราคนเดียวที่ยังจำเราได้อยู่ แล้วเราจะไปปฏิสัมพันธ์กับใคร
คุณปาล์ม
คราวนี้มาคุยกับคุณอุษาบ้าง อยากคุยถึงการจัดการสังคมสำหรับผู้สูงอายุบ้างนะคะ คุณอุษาคะ การจัดการสังคมผู้สูงอายุที่สวางคนิวาส มีปัญหาอะไรโดยเฉพาะที่เป็นเรื่องของผู้สูงอายุบ้างไหมคะ
คุณอุษา
ก็มีปัญหาเหมือนกันค่ะ คือแต่ละแห่งก็คงจะมีปัญหาไปตามแบบของตัวเอง คือที่สวางคนิวาสเป็นที่สำหรับคนชั้น middle class หมายความว่าคนมีเงินพอสมควร ผู้สูงอายุในระดับนี้มีความรู้สูง เคยมีตำแหน่งหน้าที่ใหญ่โตและหลายท่านก็ยังวางไม่ลง พูดง่ายๆว่ามียังอัตตาอยู่บ้าง มีความคาดหวังสูงเพราะถือว่าตัวเองจ่ายเงินไปมากแล้ว และไม่ค่อยยอมอะไรง่ายๆหากตัวเองไม่เห็นด้วย หรือเห็นว่ามันไม่ถูกต้อง หรือมันไม่ยุติธรรม
ยกตัวอย่างเช่นปกติสวางคนิวาสจะเป็นผู้จัดบริการกิจกรรมเชิงสังคมให้ผู้พักอาศัย จัดงานพบปะกันให้ พาไปทัวร์เป็นต้น แต่ขณะเดียวกันก็เป็นนโยบายของเราว่าเราจะ empower ผู้พักอาศัย ให้เขาได้มีบทบาทตัดสินใจทำอะไรด้วยตัวเองด้วย ตัวอย่างของปัญหาก็ เช่น ผู้พักอาศัยกลุ่มหนึ่งทำเรื่องมา (หัวเราะ) คือทำเรื่องมาแบบราชการ ทำเรื่องขออนุมัติทำกิจกรรมปลูกผักสวนครัวไว้ทานเอง ทางผู้อำนวยการเห็นว่าเป็นเรื่องดีมีประโยชน์ก็อนุมัติให้ใช้ที่ที่ยังรกร้างอยู่ทำสวนครัวได้ แต่ผู้พักอาศัยอื่นที่ไม่ชอบปลูกผักก็คัดค้าน ว่า ได้ไง ปลูกผักก็ต้องใช้น้ำประปาของส่วนกลางไปรดผัก ฉันก็ต้องมาออกค่าใช้จ่ายส่วนกลางให้ มันไม่ยุติธรรม บ้างก็ว่าทำสวนครัวทำให้เสียทัศนียภาพส่วนรวม บ้างก็ว่ายอมไม่ได้ เพราะรดน้ำเฉอะเฉะดินจะกระเด็นมาสกปรกรถของฉัน อย่างนี้เป็นต้น เราก็ต้องแก้ปัญหาประนีประนอมกันไป อันไหนที่ล้ำเส้นมากๆจนเราเห็นว่ายอมไม่ได้เราก็ต้องแข็งขันว่าตรงนี้ไม่ได้
คุณปาล์ม
ดิฉันทราบว่าคุณหมอก็ทำที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุเหมือนกัน มีปัญหาอะไรบ้างไหมคะ
นพ.สันต์
รูปแบบที่ผมทำเรียกว่า Senior co-housing คอนเซ็พท์ก็คือให้คนสูงอายุที่อยู่ด้วยกันนี่แหละมาดูแลเกื้อกูลกันไป เพราะในอนาคตมองไปทางไหนก็จะเห็นแต่คนสูงอายุหมด จะไปหวังให้มีผู้ดูแลซึ่งเป็นคนอายุน้อยมาประคบประหงมก็คงได้อย่างมากก็เป็นครั้งเป็นคราว ซึ่งอันนี้เป็นคอนเซ็พท์ที่แตกต่างจากสวางคนิวาส เพราะของพี่อุษาเป็นคอนเซ็พท์ดูแลโดยสถาบัน มีหมอมีพยาบาลมีผู้ดูแลประจำ แต่ senior co-housing เป็นคอนเซ็พท์คนสูงอายุดูแลกันเอง วิธีทำก็คือคนสูงอายุสิบคนยี่สิบคนมาซื้อที่ดินอยู่ใกล้ๆกันแล้วตั้งเป็นชุมชนล้อมรั้วเป็นรั้วเดียว แชร์ของที่แชร์กันได้ เช่นรั้ว ระบบเรียกฉุกเฉิน คนสวนและยามเฝ้า ซึ่งเป็นคนเดียวกัน มีพื้นที่ส่วนกลางเรียกว่า common house มีพื้นที่ส่วนตัวซึ่งก็คือบ้านใครบ้านมัน มีอะไรก็ตัดสินใจร่วมกันโดยไม่มีหัวหน้าไม่มีลูกน้อง
ปัญหาในลักษณะที่พี่อุษาว่าก็มีบ้างเป็นธรรมดา ก็ต้องช่วยกันแก้ปัญหาไป แนวทางแก้ไขก็คือเรื่องใหญ่ๆที่เป็นคอนเซ็พท์หลักก็ยืนหยัดกันไว้เพื่อให้ความเป็นชุมชนที่ดีคงอยู่ เรื่องเล็กๆหรืออะไรที่มันเกิดขึ้นแล้วกู่ไม่กลับแล้วก็กล้อมแกล้มอะลุ่มอล่วยกันไปแบบไทยๆ
คือปัญหาแต่ละคนก็จะเอาแต่แบบที่ตัวเองอยากได้นี้ ประเด็นมันอยู่ที่ว่าตราบใดที่ผู้เกษียณที่อยู่ในชุมชนของผู้เกษียณไปมุ่งที่เจตนาปกป้องสิทธิของตนและเรียกร้องเอาส่วนแบ่งที่ตนพึงมีพึงได้เป็นสำคัญ ตราบนั้นปัญหาก็จะยังมี ต่อเมื่อผู้เกษียณได้ค่อยๆปรับเจตนาของการเข้ามาอยู่เป็นมุ่งจะให้สิ่งดีๆในตัวเองออกไปให้แก่ชุมชนบ้าง คือเป็นเจตนาจะ contribution แทนที่เจตนาจะมาปกป้องส่วนแบ่งที่เป็นธรรมของตัวเอง เมื่อนั้นทุกคนจะต่างก็มีความสุขกับการได้ contribute สิ่งดีๆในตัวของตัวเองออกมาให้ชุมชนโดยจะไม่ไปพะวงส่วนแบ่งที่ตัวเองพึงจะได้มากนักโดยอัตโนมัติ ถึงจุดนั้นชุมชุมผู้เกษียณอายุแบบเพื่อนบ้านเกื้อกูลกันและกันก็จะเป็นจริงได้ และจะเป็นรูปแบบการอยู่อาศัยร่วมกันที่ดีรูปแบบหนึ่ง เพราะในอเมริกาก็มีชุมชนแบบนี้ราวสองร้อยกว่าแห่ง ในยุโรปก็มีร้อยกว่าแห่ง
คุณปาล์ม
แล้วในเมืองไทยมีที่ไหนบ้างคะ
นพ.สันต์
ไม่มีครับ Senior co-housing มีแต่อันที่ผมเริ่มทำที่มวกเหล็กนี่แหละ ที่เดียว จะออกหัวหรือออกก้อยก็คงต้องรอดูกันไป
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์