จะให้แพทย์ให้ยาเพื่อช่วยให้ "ไป" เร็วขึ้น
เรียน คุณหมอสันต์
ที่เคารพ
ดิฉันบังเอิญโชคดีที่searchเจอBlogบทความดีๆที่คุณหมอสันต์ได้กรุณาสละเวลาตอบให้ความรู้กับสังคม
ขอขอบพระคุณอย่างสูงค่ะ ดิฉันได้อ่านเจอที่คุณหมอแนะนำว่า
ควรใช้ชีวิตที่ตัวเองมีความสุข และสร้างประโยชน์ให้กับผู้อื่นด้วย
เห็นด้วยและชอบมากค่ะ ดิฉันขอเรียนถามขอคำแนะนำดังนี้ค่ะ
หากคนคนหนึ่งป่วยเป็นโรคร้าย ที่หมดทางรักษา หรือผู้ป่วยไม่อยากรักษาเพราะไม่อยากได้รับความทรมานจากการรักษา (สิทธิในการปฏิเสธการรักษา) และไม่อยากได้รับความทรมานจากการไม่รักษาคือไม่อยากป่วยจนตาย
จึงขอให้คุณหมอทำให้ตายด้วยวิธีทางการแพทย์ได้หรือไม่ค่ะ ขอรบกวนแนะนำด้วยค่ะ
.....................................
ตอบครับ
1. การที่คนไข้จะบอกหมอว่าไม่ต้องการรับการรักษาแล้ว
ไม่ต้องการให้ทำโน่นทำนี่ เช่นไม่ต้องการให้ปั๊มหัวใจ ไม่ให้ใส่ท่อช่วยหายใจ
ไม่ให้ติดเครื่องช่วยหายใจ สามารถทำได้อยู่แล้วครับ
เพราะคนไข้มีสิทธิ์ที่จะแสดงเจตนารมณ์ล่วงหน้าก่อนตายตามกฎหมาย พรบ.สุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2550
ซึ่งกำหนดว่า
“..มาตรา
12. บุคคลมีสิทธิทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตน
หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยได้
เมื่อผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขได้ปฏิบัติตามเจตนาของบุคคลตามวรรคหนึ่งแล้ว มิให้ถือว่าการกระทำนั้นเป็นความผิดและให้พ้นจากความรับผิดชอบทั้งปวง..”
แม้ว่ากระทรวงสาธารณสุขจะยังไม่ได้ออกกฎกระทรวงมารองรับในเชิงเทคนิคของการทำตามพรบ.ฉบับนี้ แต่สิทธิของผู้ป่วยได้เกิดขึ้นแล้วตามพรบ.นี้ ไม่ต้องรอกฎกระทรวงก็สามารถใช้สิทธิได้เลย ระหว่างที่ไม่มีกฎกระทรวงก็สามารถแสดงเจตนาตามวิธีที่นิยมกันทั่วไปก่อนก็ได้ คือเขียนเป็นตัวหนังสือเหมือนเขียนพินัยกรรม มีพยายานร่วมลงนามรับรู้ แล้วเอาให้หมอดู เป็นอันเสร็จพิธี หมอเขาก็ชอบนะครับ คือมันชัดดี จะเอาไงก็เอากันไม่ต้องอ้อมค้อมเดาใจกันให้ยุ่งยาก ทั้งนี้เป็นคนละประเด็นกับที่คนต่อต้านการออกกฎหมายลูกของพรบ.นี้ที่อ้างว่าจะทำให้หมอจะไม่ดูไม่แล พูดแบบนั้นมันเป็นการมั่วนิ่มแล้ว เพราะเรื่องการใส่ท่อใส่เครื่องหรือการใช้เทคโนโลยีต่างๆ เป็นคนละประเด็นกับการดูแลผู้ป่วยไม่ให้เจ็บปวดทรมาน อย่างหลังนี้เป็นสิ่งที่หมอต้องดูแลอยู่แล้วตลอดเวลาโดยจริยธรรมวิชาชีพ ไม่ว่าผู้ป่วยจะบอกหรือไม่บอกก็ตาม
เมื่อผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขได้ปฏิบัติตามเจตนาของบุคคลตามวรรคหนึ่งแล้ว มิให้ถือว่าการกระทำนั้นเป็นความผิดและให้พ้นจากความรับผิดชอบทั้งปวง..”
แม้ว่ากระทรวงสาธารณสุขจะยังไม่ได้ออกกฎกระทรวงมารองรับในเชิงเทคนิคของการทำตามพรบ.ฉบับนี้ แต่สิทธิของผู้ป่วยได้เกิดขึ้นแล้วตามพรบ.นี้ ไม่ต้องรอกฎกระทรวงก็สามารถใช้สิทธิได้เลย ระหว่างที่ไม่มีกฎกระทรวงก็สามารถแสดงเจตนาตามวิธีที่นิยมกันทั่วไปก่อนก็ได้ คือเขียนเป็นตัวหนังสือเหมือนเขียนพินัยกรรม มีพยายานร่วมลงนามรับรู้ แล้วเอาให้หมอดู เป็นอันเสร็จพิธี หมอเขาก็ชอบนะครับ คือมันชัดดี จะเอาไงก็เอากันไม่ต้องอ้อมค้อมเดาใจกันให้ยุ่งยาก ทั้งนี้เป็นคนละประเด็นกับที่คนต่อต้านการออกกฎหมายลูกของพรบ.นี้ที่อ้างว่าจะทำให้หมอจะไม่ดูไม่แล พูดแบบนั้นมันเป็นการมั่วนิ่มแล้ว เพราะเรื่องการใส่ท่อใส่เครื่องหรือการใช้เทคโนโลยีต่างๆ เป็นคนละประเด็นกับการดูแลผู้ป่วยไม่ให้เจ็บปวดทรมาน อย่างหลังนี้เป็นสิ่งที่หมอต้องดูแลอยู่แล้วตลอดเวลาโดยจริยธรรมวิชาชีพ ไม่ว่าผู้ป่วยจะบอกหรือไม่บอกก็ตาม
2. เรื่องที่จะขอให้หมอฉีดยาให้ตายไวๆ แบบที่ฝรั่งเรียกง่ายว่าๆ mercy killing หรือ euthanasia นั้นแม้ว่าจะมีทำกันในบางประเทศเช่นเนเธอแลนด์ แต่เมืองไทยยังไม่มีกฎหมายให้ท้ายให้หมอทำเช่นนั้นได้ครับ
ความจริงก็คือเมืองไทยไม่มีกฎหมายพูดถึงประเด็นนี้เลยไม่ว่าจะสนับสนุนหรือห้ามก็ไม่มี
หมอไทยจึงต้องว่ากันไปตามหลักจริยธรรมวิชาชีพ (Declaration of Geneva) ซึ่งหากไปทำให้เขาเสียชีวิตก็จะไปผิดหลักข้อแรกของจริยธรรมวิชาชีพแพทย์
คือหลักไม่ทำร้ายคนไข้ ( Non maleficence) ดังนั้นหมอไทยช่วยให้คนไข้ตายไม่ได้ครับ
ใครขืนทะลึ่งไปทำเข้ามีหวังถูกแพทยสภาเหยียบแบนแต๊ดแต๋
3. ตรงนี้มันมีช่องอยู่นิดหนึ่ง ในกรณีป่วยทรมานในระยะสุดท้ายด้วยโรคซึ่งการรักษากลายเป็นสิ่งไร้ประโยชน์ (futile treatment) แพทย์จะยึดหลักมุ่งลดความทรมานอย่างเดียว ซึ่งตามหลักการอันนี้ หากได้รับความยินยอมจากผู้ป่วยหรือผู้แทนโดยชอบของผู้ป่วยก่อน
แพทย์ก็อาจจะให้ยาเพื่อบรรเทาความทรมานให้มากจนหายทรมาน
แม้ว่าการทำอย่างนั้นจะทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตเร็วขึ้นก็ตาม ดังนั้นถ้าผู้ป่วยหรือผู้แทนโดยชอบของผู้ป่วยบอกกับแพทย์ให้หนักแน่นว่าขอให้แพทย์มุ่งลดความทรมานให้ถึงที่สุด
โดยหากแพทย์ทำเช่นนั้นแล้วจะเป็นเหตุให้ผู้ป่วยเสียชีวิตเร็วขึ้นก็ยอมรับ หากได้พูดกันก่อนเช่นนี้แพทย์ก็จะได้ให้ยาจนบรรเทาความทรมานจนได้ผล
ซึ่งผลพวงจากการทำดังกล่าวอาจทำให้ผู้ป่วย “ไป” เร็วขึ้น เป็นการไปเร็วขึ้นเพราะผลข้างเคียงของเจตนามุ่งลดความทรมาน
แบบนี้แพทย์ทำได้ แต่ถ้าจะให้ยาด้วยเจตนาที่จะให้ผู้ป่วย “ไป” เร็วขึ้น อย่างนั้นแพทย์ไม่ได้ครับ
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์