ลมรั่วเข้าช่องอก spontaneous pneumothorax
เรียนคุณหมอสันต์ที่เคารพ
สืบเนื่องมาจากผมเมื่อประมาณปีที่แล้วขณะที่ทำกิจวัตรประจำวันต่างๆเป็นปกติวันนึงจู่ๆผมได้รู้สึกเจ็บแปลบๆที่หน้าอกเหมือนมีอะไรแหลมๆมาแทงข้างในอกขณะนั่งดูทีวีอยู่ตอนแรกก็ไม่ได้เอะใจอะไรแต่ปรากฏว่าความรู้สึกเจ็บก็เพิ่มขึ้นทีละเล็กน้อยประกอบกับทั้งๆที่ไม่ได้ทำอะไรเพียงแค่เดินไปมาเฉยๆเริ่มรุสึกหอบเหนื่อยและรุสึกปวดแปลบไปที่สะบักหัวใหล่และด้านหลังผมจึงตัดสินใจไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งที่ใกล้ที่สุดเพราะเริ่มรุสึกว่ามันไม่ใช่อาการปกติแล้วหลังจากเกิดอาการประมาณ 1 ชม. ขั้นแรกแพทย์ก็ทำการฟังเสียงหายใจแล้วบอกผมว่าเสียงลมหายใจของผมมันแปลกๆไม่เป็นปกติจึงทำการส่งไปเอกซเรย์ปอดเมื่อคุณหมอได้ดูฟิล์มแล้วก็บอกผมว่าในภาพเอกซเรย์ได้แสดงให้เห็นว่ามีลมรั่วในช่องปอดจากวงกลมขาวๆในภาพเอกซเรย์ปอดของผมซึ่งคาดว่ารั่วมากกว่า 20% จึงตัดสินใจให้ผมใส่ท่อ ICD ทันที เพื่อระบายลมที่รั่วภายในปอดของผมเพราะหมอบอกว่าถ้ามีลมรั่วมากกว่า 20% จะเป็นอันตรายได้ถ้าปล่อยเอาไว้เพราะลมอาจรั่วเพิ่มขึ้นจนไปกดการทำงานของหัวใจทำให้หัวใจหยุดเต้นได้ผมจึงตัดสินใจทำการใส่ท่อทันที
ระหว่างใส่ก็คุณหมอก็มาถึงก็ฉีดยาชาก่อนใส่ ICD บอกว่าอาจจะเจ็บนิดนึงนะคับแต่แปปเดียวก็เสดละ (เหอๆเข้าข่ายโกหกคนไข้ไหมคับเนี่ย นิดนึงของคุณหมอนี่วัดกันยังไงก็ไม่รุนะคับ T T ) เพราะว่ามันเจ็บมาก ขนาดฉีดยาชาแล้วนะเนี่ยมาถึงคุณหมอก็เอามีดมาเจาะรูที่หน้าอกด้านซ้าย (ปอดผมรั่วด้านซ้าย) แล้วก็สอดสายยางต่อเข้าไปในขวดที่ใส่น้ำเอาไว้ซักพักก็มีลมระบายออกจากท่อที่คุณหมอใส่เข้าไปแต่ก็ไม่ได้มีเลือดปนออกมาด้วย (ทราบมาว่าคนไข้บางรายอาจมีเลือดปนออกมาด้วย) เสร็จแล้วคุณหมอให้แอดมิดนอนรอในโรงพยาบาลประมานเจ็ดวันคุณหมอก็เอกซเรย์ดูผลทุกวันจนวันที่หกคุณหมอก็ให้เอาสายออกแล้วกลับบ้านได้ในวันที่เจ็ด จากการวินิจฉัยของหมอก็บอกว่าผมเป็นโรค primary spontaneous pneumothorax ซึ่งคุณหมอก็บอกว่าหาสาเหตุไม่ได้ส่วนใหญ่พบในคนที่ผอมสูง แต่ผมก็ไม่ได้ผอมสูงแต่อย่างไร และคุณหมอก็บอกอีกว่าโรคนี้มีโอกาสเป็นซ้ำสูงมากคือมีประมาน 20-50%
ผ่านไปประมาณสามเดือนแต่แล้วเคราะห์ซ้ำกรรมซัด - -" และแล้วก็ต้องมีภาคสองอีกครั้ง คราวนี้ผมได้ไปโรงพยาบาลเร็วขึ้นเนื่องจากมีประสบการณ์มาแล้วเริ่มช่ำชอง คราวนี้คุณหมอก็บอกว่ารั่วอีกแล้วประมาณ 30% ก็โดนเจ็บนิดเดียวไปอีกรอบ โดย ใส่ ICD the return แต่คราวนี้คุณหมอบอกว่าผมสมควรผ่าตัดได้แล้วนั่นเจ็บนิดเดียวไม่พอคราวนี้จะผงจะผ่ากันเลยทีเดียวเพราะคุณหมอบอกว่าถ้ามันเป็นงี้โอกาสเป็นครั้งต่อไปจะสูงปรี้ดประมาน 70-90% เลยทีเดียวโดยคุณหมอก็อธิบายว่าจะผ่าเพื่อเข้าไปตัด bleb ที่ผิดปกติออกให้หมดก่อนที่มันจะแตกแล้วทำให้เป็นซ้ำแล้วทำการขูดผนังปอดเพื่อทำให้เกิดการอักเสบแล้วเยื่อหุ้มปอดกับปอดจะได้ติดกันเพื่อที่กันการปอดจะยุบตัวจนหายใจไม่ออก ผมก็ได้ตัดสินใจผ่าตัดไป การผ่าตัดก็ประสบความสำเร็จไปเรียบร้อย
ประเด็นคำถามที่ผมอยากจะถามคุณหมอคือ
1.หลังจากการผ่าตัดแล้วผ่านมาประมาน 3 เดือนจนถึงตอนนี้บางครั้งผมรุสึกเจ็บหน้าอกเลกน้อยและตึงๆบริเวณปอดด้านซ้าย เป็นเรื่องปกติใช่ไหมคับเนื่องจากตอนนี้ปอดของผมได้ติดกับผนังปอดไปเป็นที่เรียบร้อยใช่รึป่าวคับหรือเป็นเพราะสาเหตุอื่น
2.เนื่องจากคุณหมอวินิจฉัยว่าไม่ทราบสาเหตุแต่อาจเกิดจากพันธุกรรมของผมที่ทำให้สร้างเนื้อเยื่อผิดปกติจนเกิดโรคนี้ขึ้นมา เมื่อผมโตขึ้นมันมีโอกาสเป็นซ้ำมากน้อยแค่ไหนเพราะเคยมีคนรุ้จักของแม่ผมเค้าเคยเป็นตอนอายุประมาณ 40 แต่ตอนอายุประมาณ 50 กว่าขณะร้องเพลงก็เกิด pneumothorax จนเกิดภาวะช็อคและเสียชีวิตอย่างรวดเร็ว
3.ผมสงสัยว่าถ้า pneumothorax ของผมเกิดจากพันธุกรรมที่สร้างเนื้อเยื่อผิดพลาด อาจทำให้ผมเป็นโรค Marfan syndrome หรือ beals syndrome ด้วยหรือไหมคับ เพราะมันเป็นการสร้างเนื้อเยื่อผิดปกติจากพันธุกรรมเหมือนกัน หรือโรคอื่นๆ
ประวัติของผมก็ เพศ ชาย อายุ 21 ปี ส่วนสูง 174 ซม. น้ำหนัก 62 กก. ไม่มีโรคประจำตัวอะไรคับ
สุดท้ายก็ขอขอบคุณ คุณหมอมากนะครับขอให้คุณหมอพบแต่ความสุข ความเจริญยิ่งๆขึ้นไปนะคับ
.............................................
ตอบครับ
ก่อนอื่นขอชมว่าคุณเป็นคนที่เล่าเรื่องเก่ง เก็บสาระสำคัญของ “โรคลมรั่วเข้าช่องอกชนิดเกิดขึ้นเอง” (spontaneous pneumothorax) มาได้ครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นอาการ ข้อบ่งชี้ที่หมอใช้ใส่ท่อระบายลม (intercostals chest drain - ICD) อุบัติการณ์เกิดซ้ำ และข้อบ่งชี้ที่หมอใช้ผ่าตัด เหตุผลที่หมอใช้ตัดสินใจผ่าตัด วิธีการผ่าตัด โดยที่สามารถจำตัวเลขต่างๆที่หมอบอกมาได้ถูกต้องแม่นยำ คนอื่นอ่านแล้วนำไปใจประโยชน์ได้เลย ยังขาดอยู่อย่างเดียวที่คุณควรเล่าแต่ไม่ได้เล่า คือคุณไม่ได้บอกว่าคุณสูบบุหรี่หรือเปล่า เพราะโรคลมรั่วเข้าช่องอกชนิดเกิดขึ้นเองนี้ นอกจากจะพบมากเป็นพิเศษในชายหนุ่มรูปร่างผอมสูง หรือคนตั้งครรภ์ หรือคนมีพันธุกรรมแล้ว ยังพบว่า 80-90% ของคนเป็นโรคนี้สูบบุหรี่ด้วย
ท่านผู้อ่านทั่วไปอาจจะข้องใจว่าเอ๊ะ ก็เวลาเราหายใจเข้าออกลมมันก็เข้าๆออกๆช่องอกอยู่แล้ว แล้วลมรั่วเข้าช่องอกเนี่ยมันหมายความว่ายังไง มันหมายความว่ายังงี้ครับ คือเวลาเราหายใจเข้าออก ลมมันเข้าไปอยู่ในปอด แล้วก็ออกมาจากปอด แล้วปอดเนี่ยมันอยู่ในช่องอกอีกทีหนึ่ง เปรียบเหมือนเวลาเราสูบลมยางรถจักรยาน ลมมันเข้าไปอยู่ใน “ยางใน” แล้วเจ้ายางในนี้ก็ยัดอยู่ใน “ยางนอก” อีกชั้นหนึ่ง ยางนอกก็หมายถึงที่เราเห็นเป็นสีดำๆแข็งๆมีดอกยางนั่นแหละ คนเป็นโรคลมรั่วเข้าช่องอกก็เหมือนกับล้อจักรยานที่ยางในรั่วแต่ยางนอกไม่รั่ว ลมเลยออกมาคั่งอยู่ภายในของยางนอก มองข้างนอกก็ยังไม่เห็นว่าล้อรถแบน แต่ความจริงยางในแบนแต๊ดแต๋ไปแล้ว ต่างกันเพียงแต่ว่าปอดของคนเนี่ยไม่ได้มีกันกระแทกแต่มีไว้แลกเปลี่ยนออกซิเจน ถ้ามันแบบแต๊ดแต๋เราก็ขาดออกซิเจน ก็จะอยู่ไม่ได้ ถ้าไม่รีบแก้ไขภาวะปอดแบบก็ถึงตายเอา พอเข้าใจกลไกการเกิดโรคนะ เอาละครับ คราวนี้มาตอบคำถามของคุณ
1. ถามว่าผ่าตัดแล้วเจ็บๆตึงๆที่หน้าอก เป็นเรื่องปกติไหม ตอบว่าเป็นเรื่องปกติครับ หลักอันนี้ใช้กับการผ่าตัดทุกที่ไม่เฉพาะที่ทรวงอกเท่านั้น เพราะเนื้อเยื่อของคนเราเมื่อบาดเจ็บ หมายถึงโดนมีดผ่าตัด ร่างกายก็จะสมานให้กลับเข้าที่โดยวิธีสร้างเนื้อเยื่อเกี่ยวพันเข้ามาดึงปากแผลเข้าหากัน ที่นี้กลไกการสมานของร่างกายนี้มักจะออกแบบไว้เวอร์ไปเสมอ คือดึงมากไป ทำให้เกิดอาการเจ็บ หรือเสียว หรือตึง ทั้งเวลาที่เราเคลื่อนไหวและเวลาอยู่นิ่งๆ ทำให้บางคนหลังผ่าตัดแล้วไม่กล้าเคลื่อนไหว พอมันตึงก็งอตาม หลังผ่าตัดจึงกลายเป็นคนเดี้ยงหรือค่อมไปเลย วิธีดูแลตัวเองที่ถูกต้องหลังผ่าตัดคือต้องออกกำลังกายในลักษณะฝืนความรู้สึกตึงรั้งหรือเจ็บเสียวนั้นไว้ ให้ร่างกายสามารถทำอริยาบทปกติได้ทุกวันๆนับตั้งแต่วันแรกหลังผ่าตัด นี่เป็นหลักกายภาพบำบัดหลังการผ่าตัดใหญ่ทุกชนิด ซึ่งคนที่จะทำกายภาพบำบัดนี้ได้ดีที่สุดก็คือตัวคนป่วยเองนั่นแหละ
2. หลังผ่าตัดแล้วโอกาสเป็นซ้ำมีมากน้อยแค่ไหน ตอบว่ามีน้อยมาก คือประมาณ 2-3% และเมื่อเป็นซ้ำความรุนแรงก็จะต่ำ เนื่องจากมีพังผืดที่เกิดจากการผ่าตัดยึดปอดให้แนบไว้กับผนังช่องอกตลอดเวลาทำให้ช่องอกมีพื้นที่รับลมได้น้อยหรือแทบไม่มีเลย เปรียบเหมือนกับยางรถยนต์สมัยใหม่เอายางในกับยางนอกมาหลอมรวมเป็นยางนอกอย่างเดียว ไม่มียางในชั้นหนึ่งยางนอกชั้นหนึ่งแบบยางรถจักรยานแล้ว โอกาสแบบรั่วแต่ยางในยางนอกไม่รั่วจึงไม่มี
3. ถามว่าคุณจะเป็นโรคพันธุกรรมได้ไหม ประเมินตามข้อมูลสั้นๆที่บอกว่าคุณไม่ได้ผอมๆสูงๆแต่อย่างใด ตอบว่าคุณไม่ได้เป็นโรคทางพันธุกรรมที่ทำให้เกิดลมรั่วเข้าช่องอกหรอกครับ อย่างไรก็ตาม การจะวินิจฉัยโรคทางพันธุกรรมก็ต้องให้หมอที่รักษาคุณตรวจร่างกายแล้วเทียบเคียงกับลักษณะจำเพาะของโรคทางพันธุกรรมแต่ละโรค เช่น
3.1 มาร์ฟานซินโดรม (Marfan syndrome) คือพันธุกรรมที่มีความผิดปกติของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน มีเอกลักษณ์คือแขนขายาวกว่าปกติ นิ้วมือนิ้วเท้ายาว หลังคด หน้าอกเป็นร่อง ลำตัวแบนๆ มักร่วมกับความผิดปกติของระบบอื่นๆเช่นของเลนส์ตา และระบบหัวใจหลอดเลือดด้วย
3.2 บีลส์ซินโดรม (Beals syndrome) มีความผิดปกติสไตล์ยาวยืดคล้ายกับมาร์ฟานเหมือนกัน แต่มีลักษณะเด่นที่ข้อต่างๆของร่างกายจะอ้าได้ไม่เต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นข้อนิ้วมือ ข้อศอก ข้อเข่า ข้อตะโพก เป็นต้น ทำให้มีท่าทางเหมือนคิงคองโย่งๆผอมๆแบบออกงานวัดได้ คุณทำท่าแบบนั้นได้หรือเปล่าละ หึ..หึ
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
สืบเนื่องมาจากผมเมื่อประมาณปีที่แล้วขณะที่ทำกิจวัตรประจำวันต่างๆเป็นปกติวันนึงจู่ๆผมได้รู้สึกเจ็บแปลบๆที่หน้าอกเหมือนมีอะไรแหลมๆมาแทงข้างในอกขณะนั่งดูทีวีอยู่ตอนแรกก็ไม่ได้เอะใจอะไรแต่ปรากฏว่าความรู้สึกเจ็บก็เพิ่มขึ้นทีละเล็กน้อยประกอบกับทั้งๆที่ไม่ได้ทำอะไรเพียงแค่เดินไปมาเฉยๆเริ่มรุสึกหอบเหนื่อยและรุสึกปวดแปลบไปที่สะบักหัวใหล่และด้านหลังผมจึงตัดสินใจไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งที่ใกล้ที่สุดเพราะเริ่มรุสึกว่ามันไม่ใช่อาการปกติแล้วหลังจากเกิดอาการประมาณ 1 ชม. ขั้นแรกแพทย์ก็ทำการฟังเสียงหายใจแล้วบอกผมว่าเสียงลมหายใจของผมมันแปลกๆไม่เป็นปกติจึงทำการส่งไปเอกซเรย์ปอดเมื่อคุณหมอได้ดูฟิล์มแล้วก็บอกผมว่าในภาพเอกซเรย์ได้แสดงให้เห็นว่ามีลมรั่วในช่องปอดจากวงกลมขาวๆในภาพเอกซเรย์ปอดของผมซึ่งคาดว่ารั่วมากกว่า 20% จึงตัดสินใจให้ผมใส่ท่อ ICD ทันที เพื่อระบายลมที่รั่วภายในปอดของผมเพราะหมอบอกว่าถ้ามีลมรั่วมากกว่า 20% จะเป็นอันตรายได้ถ้าปล่อยเอาไว้เพราะลมอาจรั่วเพิ่มขึ้นจนไปกดการทำงานของหัวใจทำให้หัวใจหยุดเต้นได้ผมจึงตัดสินใจทำการใส่ท่อทันที
ระหว่างใส่ก็คุณหมอก็มาถึงก็ฉีดยาชาก่อนใส่ ICD บอกว่าอาจจะเจ็บนิดนึงนะคับแต่แปปเดียวก็เสดละ (เหอๆเข้าข่ายโกหกคนไข้ไหมคับเนี่ย นิดนึงของคุณหมอนี่วัดกันยังไงก็ไม่รุนะคับ T T ) เพราะว่ามันเจ็บมาก ขนาดฉีดยาชาแล้วนะเนี่ยมาถึงคุณหมอก็เอามีดมาเจาะรูที่หน้าอกด้านซ้าย (ปอดผมรั่วด้านซ้าย) แล้วก็สอดสายยางต่อเข้าไปในขวดที่ใส่น้ำเอาไว้ซักพักก็มีลมระบายออกจากท่อที่คุณหมอใส่เข้าไปแต่ก็ไม่ได้มีเลือดปนออกมาด้วย (ทราบมาว่าคนไข้บางรายอาจมีเลือดปนออกมาด้วย) เสร็จแล้วคุณหมอให้แอดมิดนอนรอในโรงพยาบาลประมานเจ็ดวันคุณหมอก็เอกซเรย์ดูผลทุกวันจนวันที่หกคุณหมอก็ให้เอาสายออกแล้วกลับบ้านได้ในวันที่เจ็ด จากการวินิจฉัยของหมอก็บอกว่าผมเป็นโรค primary spontaneous pneumothorax ซึ่งคุณหมอก็บอกว่าหาสาเหตุไม่ได้ส่วนใหญ่พบในคนที่ผอมสูง แต่ผมก็ไม่ได้ผอมสูงแต่อย่างไร และคุณหมอก็บอกอีกว่าโรคนี้มีโอกาสเป็นซ้ำสูงมากคือมีประมาน 20-50%
ผ่านไปประมาณสามเดือนแต่แล้วเคราะห์ซ้ำกรรมซัด - -" และแล้วก็ต้องมีภาคสองอีกครั้ง คราวนี้ผมได้ไปโรงพยาบาลเร็วขึ้นเนื่องจากมีประสบการณ์มาแล้วเริ่มช่ำชอง คราวนี้คุณหมอก็บอกว่ารั่วอีกแล้วประมาณ 30% ก็โดนเจ็บนิดเดียวไปอีกรอบ โดย ใส่ ICD the return แต่คราวนี้คุณหมอบอกว่าผมสมควรผ่าตัดได้แล้วนั่นเจ็บนิดเดียวไม่พอคราวนี้จะผงจะผ่ากันเลยทีเดียวเพราะคุณหมอบอกว่าถ้ามันเป็นงี้โอกาสเป็นครั้งต่อไปจะสูงปรี้ดประมาน 70-90% เลยทีเดียวโดยคุณหมอก็อธิบายว่าจะผ่าเพื่อเข้าไปตัด bleb ที่ผิดปกติออกให้หมดก่อนที่มันจะแตกแล้วทำให้เป็นซ้ำแล้วทำการขูดผนังปอดเพื่อทำให้เกิดการอักเสบแล้วเยื่อหุ้มปอดกับปอดจะได้ติดกันเพื่อที่กันการปอดจะยุบตัวจนหายใจไม่ออก ผมก็ได้ตัดสินใจผ่าตัดไป การผ่าตัดก็ประสบความสำเร็จไปเรียบร้อย
ประเด็นคำถามที่ผมอยากจะถามคุณหมอคือ
1.หลังจากการผ่าตัดแล้วผ่านมาประมาน 3 เดือนจนถึงตอนนี้บางครั้งผมรุสึกเจ็บหน้าอกเลกน้อยและตึงๆบริเวณปอดด้านซ้าย เป็นเรื่องปกติใช่ไหมคับเนื่องจากตอนนี้ปอดของผมได้ติดกับผนังปอดไปเป็นที่เรียบร้อยใช่รึป่าวคับหรือเป็นเพราะสาเหตุอื่น
2.เนื่องจากคุณหมอวินิจฉัยว่าไม่ทราบสาเหตุแต่อาจเกิดจากพันธุกรรมของผมที่ทำให้สร้างเนื้อเยื่อผิดปกติจนเกิดโรคนี้ขึ้นมา เมื่อผมโตขึ้นมันมีโอกาสเป็นซ้ำมากน้อยแค่ไหนเพราะเคยมีคนรุ้จักของแม่ผมเค้าเคยเป็นตอนอายุประมาณ 40 แต่ตอนอายุประมาณ 50 กว่าขณะร้องเพลงก็เกิด pneumothorax จนเกิดภาวะช็อคและเสียชีวิตอย่างรวดเร็ว
3.ผมสงสัยว่าถ้า pneumothorax ของผมเกิดจากพันธุกรรมที่สร้างเนื้อเยื่อผิดพลาด อาจทำให้ผมเป็นโรค Marfan syndrome หรือ beals syndrome ด้วยหรือไหมคับ เพราะมันเป็นการสร้างเนื้อเยื่อผิดปกติจากพันธุกรรมเหมือนกัน หรือโรคอื่นๆ
ประวัติของผมก็ เพศ ชาย อายุ 21 ปี ส่วนสูง 174 ซม. น้ำหนัก 62 กก. ไม่มีโรคประจำตัวอะไรคับ
สุดท้ายก็ขอขอบคุณ คุณหมอมากนะครับขอให้คุณหมอพบแต่ความสุข ความเจริญยิ่งๆขึ้นไปนะคับ
.............................................
ตอบครับ
ก่อนอื่นขอชมว่าคุณเป็นคนที่เล่าเรื่องเก่ง เก็บสาระสำคัญของ “โรคลมรั่วเข้าช่องอกชนิดเกิดขึ้นเอง” (spontaneous pneumothorax) มาได้ครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นอาการ ข้อบ่งชี้ที่หมอใช้ใส่ท่อระบายลม (intercostals chest drain - ICD) อุบัติการณ์เกิดซ้ำ และข้อบ่งชี้ที่หมอใช้ผ่าตัด เหตุผลที่หมอใช้ตัดสินใจผ่าตัด วิธีการผ่าตัด โดยที่สามารถจำตัวเลขต่างๆที่หมอบอกมาได้ถูกต้องแม่นยำ คนอื่นอ่านแล้วนำไปใจประโยชน์ได้เลย ยังขาดอยู่อย่างเดียวที่คุณควรเล่าแต่ไม่ได้เล่า คือคุณไม่ได้บอกว่าคุณสูบบุหรี่หรือเปล่า เพราะโรคลมรั่วเข้าช่องอกชนิดเกิดขึ้นเองนี้ นอกจากจะพบมากเป็นพิเศษในชายหนุ่มรูปร่างผอมสูง หรือคนตั้งครรภ์ หรือคนมีพันธุกรรมแล้ว ยังพบว่า 80-90% ของคนเป็นโรคนี้สูบบุหรี่ด้วย
ท่านผู้อ่านทั่วไปอาจจะข้องใจว่าเอ๊ะ ก็เวลาเราหายใจเข้าออกลมมันก็เข้าๆออกๆช่องอกอยู่แล้ว แล้วลมรั่วเข้าช่องอกเนี่ยมันหมายความว่ายังไง มันหมายความว่ายังงี้ครับ คือเวลาเราหายใจเข้าออก ลมมันเข้าไปอยู่ในปอด แล้วก็ออกมาจากปอด แล้วปอดเนี่ยมันอยู่ในช่องอกอีกทีหนึ่ง เปรียบเหมือนเวลาเราสูบลมยางรถจักรยาน ลมมันเข้าไปอยู่ใน “ยางใน” แล้วเจ้ายางในนี้ก็ยัดอยู่ใน “ยางนอก” อีกชั้นหนึ่ง ยางนอกก็หมายถึงที่เราเห็นเป็นสีดำๆแข็งๆมีดอกยางนั่นแหละ คนเป็นโรคลมรั่วเข้าช่องอกก็เหมือนกับล้อจักรยานที่ยางในรั่วแต่ยางนอกไม่รั่ว ลมเลยออกมาคั่งอยู่ภายในของยางนอก มองข้างนอกก็ยังไม่เห็นว่าล้อรถแบน แต่ความจริงยางในแบนแต๊ดแต๋ไปแล้ว ต่างกันเพียงแต่ว่าปอดของคนเนี่ยไม่ได้มีกันกระแทกแต่มีไว้แลกเปลี่ยนออกซิเจน ถ้ามันแบบแต๊ดแต๋เราก็ขาดออกซิเจน ก็จะอยู่ไม่ได้ ถ้าไม่รีบแก้ไขภาวะปอดแบบก็ถึงตายเอา พอเข้าใจกลไกการเกิดโรคนะ เอาละครับ คราวนี้มาตอบคำถามของคุณ
1. ถามว่าผ่าตัดแล้วเจ็บๆตึงๆที่หน้าอก เป็นเรื่องปกติไหม ตอบว่าเป็นเรื่องปกติครับ หลักอันนี้ใช้กับการผ่าตัดทุกที่ไม่เฉพาะที่ทรวงอกเท่านั้น เพราะเนื้อเยื่อของคนเราเมื่อบาดเจ็บ หมายถึงโดนมีดผ่าตัด ร่างกายก็จะสมานให้กลับเข้าที่โดยวิธีสร้างเนื้อเยื่อเกี่ยวพันเข้ามาดึงปากแผลเข้าหากัน ที่นี้กลไกการสมานของร่างกายนี้มักจะออกแบบไว้เวอร์ไปเสมอ คือดึงมากไป ทำให้เกิดอาการเจ็บ หรือเสียว หรือตึง ทั้งเวลาที่เราเคลื่อนไหวและเวลาอยู่นิ่งๆ ทำให้บางคนหลังผ่าตัดแล้วไม่กล้าเคลื่อนไหว พอมันตึงก็งอตาม หลังผ่าตัดจึงกลายเป็นคนเดี้ยงหรือค่อมไปเลย วิธีดูแลตัวเองที่ถูกต้องหลังผ่าตัดคือต้องออกกำลังกายในลักษณะฝืนความรู้สึกตึงรั้งหรือเจ็บเสียวนั้นไว้ ให้ร่างกายสามารถทำอริยาบทปกติได้ทุกวันๆนับตั้งแต่วันแรกหลังผ่าตัด นี่เป็นหลักกายภาพบำบัดหลังการผ่าตัดใหญ่ทุกชนิด ซึ่งคนที่จะทำกายภาพบำบัดนี้ได้ดีที่สุดก็คือตัวคนป่วยเองนั่นแหละ
2. หลังผ่าตัดแล้วโอกาสเป็นซ้ำมีมากน้อยแค่ไหน ตอบว่ามีน้อยมาก คือประมาณ 2-3% และเมื่อเป็นซ้ำความรุนแรงก็จะต่ำ เนื่องจากมีพังผืดที่เกิดจากการผ่าตัดยึดปอดให้แนบไว้กับผนังช่องอกตลอดเวลาทำให้ช่องอกมีพื้นที่รับลมได้น้อยหรือแทบไม่มีเลย เปรียบเหมือนกับยางรถยนต์สมัยใหม่เอายางในกับยางนอกมาหลอมรวมเป็นยางนอกอย่างเดียว ไม่มียางในชั้นหนึ่งยางนอกชั้นหนึ่งแบบยางรถจักรยานแล้ว โอกาสแบบรั่วแต่ยางในยางนอกไม่รั่วจึงไม่มี
3. ถามว่าคุณจะเป็นโรคพันธุกรรมได้ไหม ประเมินตามข้อมูลสั้นๆที่บอกว่าคุณไม่ได้ผอมๆสูงๆแต่อย่างใด ตอบว่าคุณไม่ได้เป็นโรคทางพันธุกรรมที่ทำให้เกิดลมรั่วเข้าช่องอกหรอกครับ อย่างไรก็ตาม การจะวินิจฉัยโรคทางพันธุกรรมก็ต้องให้หมอที่รักษาคุณตรวจร่างกายแล้วเทียบเคียงกับลักษณะจำเพาะของโรคทางพันธุกรรมแต่ละโรค เช่น
3.1 มาร์ฟานซินโดรม (Marfan syndrome) คือพันธุกรรมที่มีความผิดปกติของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน มีเอกลักษณ์คือแขนขายาวกว่าปกติ นิ้วมือนิ้วเท้ายาว หลังคด หน้าอกเป็นร่อง ลำตัวแบนๆ มักร่วมกับความผิดปกติของระบบอื่นๆเช่นของเลนส์ตา และระบบหัวใจหลอดเลือดด้วย
3.2 บีลส์ซินโดรม (Beals syndrome) มีความผิดปกติสไตล์ยาวยืดคล้ายกับมาร์ฟานเหมือนกัน แต่มีลักษณะเด่นที่ข้อต่างๆของร่างกายจะอ้าได้ไม่เต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นข้อนิ้วมือ ข้อศอก ข้อเข่า ข้อตะโพก เป็นต้น ทำให้มีท่าทางเหมือนคิงคองโย่งๆผอมๆแบบออกงานวัดได้ คุณทำท่าแบบนั้นได้หรือเปล่าละ หึ..หึ
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์