ขาดวินัยในการป้องกันโรคเอดส์ ถ้าคุณจะตายก็ด้วยเหตุนี้
รบกวนสอบถามครับหมอสันต์
คือวันที่ 3 ส.ค 54 มี sex ประมาณ 8 โมงเช้า หลังจากนั้น 1 วันมีอาการปวดต้นคอและปวดเมื่อย ต่อมา 3-4 วันเป็นหวัด จึงไปตรวจ NAT ที่คลีนิคนิรนามในวันที่ 8 ส.ค.( 5 วันหลังเสี่ยง ) ผลผ่าน จนถึงวันที่ 20 ก.ย.ได้ไปตรวจอีก ผล anti HIV และ NAT ผ่าน(47 วันหลังเสี่ยง) แต่อาการหวัดและปวดเมื่อยยังอยู่เป็นๆหายๆ ประมาณอาทิตย์สุดท้ายของเดือน ก.ย.เกิดมีตุ่มแพ้น้ำลายยุงขึ้นที่หน้าอกตอนบน2 ตุ่ม ทายาหม่องก็ยุบไป อีกประมาณ5-6 วันมีแผลร้อนในที่เหงือก 1 แห่ง ประมาณวันที่9 ต.ค.มีตุ่มน้ำลายยุงขึ้นที่ก้น 2 ตุ่ม ทายาหม่องก็ยุบไป ผมกังวลใจครับว่าปลอดภัยจาก hiv หรือยัง เจ้าหน้าที่ที่คลีนิคบอกปิดเคสได้แล้ว
................
ตอบครับ
1. ตรวจ NAT เมื่อ 5 วันและ 47 วันหลังเสี่ยงได้ผลลบ และตรวจ anti HIV เมื่อ 47 วันหลังเสี่ยง ได้ผลลบอีก ถามว่าปลอดภัยจากเอดส์หรือยัง ตอบว่าตามเหตุตามผลก็ปลอดภัยแล้วครับ
2. เพื่อให้คุณเข้าใจเรื่องดีขึ้น ผมอธิบายประเด็นการดำเนินของโรคเอดส์ ดังนี้ คือหลังจากได้รับเชื้อนับตั้งแต่ไม่กี่ชั่วโมงถึงเจ็ดวัน สารพันธุกรรมของไวรัส (RNA และ DNA) ก็แบ่งตัวจะขยายจำนวนเพิ่มขึ้นจนมากพอที่เราสามารถใช้เทคนิคที่เรียกว่า NAT (nucleic acid amplification testing) ซึ่งอาศัยการทำงานของเอ็นไซม์ที่เรียกว่า PCR (polymerase chain reaction) เข้าไปตรวจพบตัวไวรัสเอดส์ได้ ซึ่งในกรณีของคุณตรวจแล้วได้ผลลบก็บ่งบอกว่าไม่น่าจะได้รับเชื้อมา
พอผ่านไปได้ประมาณ 10 วันนับจากวันรับเชื้อ ไวรัสจะเพิ่มจำนวนมากขึ้น จนโปรตีนปลอกหุ้มตัวไวรัสที่เป็นตัวล่อเป้า (antigen ซึ่งท้าทายให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมาทำลาย) ชื่อ p24 ก็มีจำนวนในเลือดมากขึ้นจนสามารถตรวจพบได้ โปรตีน p24 นี้จะมีระดับสูงสุดในวันที่ 16 แล้วจะค่อยๆลดจำนวนลงเมื่อร่างกายสร้างภูมิต้านทานออกมาทำลายตัวไวรัสให้ร่อยหรอลงไปบางส่วน จนถึงสัปดาห์ที่ 10 หลังวันรับเชื้อ โปรตีน p24 อาจจะลดจำนวนลงจนตรวจไม่พบหรือตรวจพบบ้างไม่พบบ้าง จนล่วงไปประมาณ 1 เดือนนับจากวันรับเชื้อ ร่างกายจึงจะสร้างภูมิต้านทานโปรตีนต่างๆของไวรัสขึ้นมามากพอจนเราสามารถตรวจพบภูมิต้านทานในเลือดด้วยวิธี EIA (enzyme immune assay) ที่ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาจนตรวจพบได้นี้เรียกว่าจุดเกิดภูมิคุ้มกันหรือ seroconversion การตรวจ anti HIV แบบใหม่ใช้เทคนิคที่เรียกว่า 4th generation ECILA (เทคนิคนี้ใช้ในคลินิกนิรนามทุกแห่งด้วย) จะตรวจสองขา คือขาหนึ่งตรวจหาโปรตีน p24 อีกขาหนึ่งตรวจหาภูมิคุ้มกันที่ร่างกายสร้างขึ้น คือถ้าตรวจเร็วก่อนที่จะเกิด seroconversion ก็จะพบโปรตีน p24 ถ้าตรวจช้าก็จะพบภูมิคุ้มกันที่ร่างกายสร้างขึ้น ดังนั้นการที่คุณตรวจได้ anti HIV เมื่อวันที่ 47 ได้ผลลบ ก็ยิ่งเป็นข้อมูลยืนยันผล NAT ว่าคุณไม่ได้รับเชื้อมาค่อนข้างแน่นอน ดังนั้นควรจบความกังวลได้แล้ว
3. ประเด็น window period คำนี้ความหมายคือระยะที่ติดเชื้อแล้วแต่ตรวจไม่พบ เป็นค่าที่ถือเอาระยะเวลาตั้งแต่รับเชื้อจนถึงจุดเกิดภูมิคุ้มกัน (seroconversion) เพราะสมัยก่อนไม่มีการตรวจ NAT ค่า window period ที่อ้างอิงในตำราหรือเอกสารเผยแพร่ส่วนใหญ่จึงเป็นค่าที่วิจัยจากวิธีตรวจแบบสมัยเก่า ซึ่งเอามาใช้กับสมัยนี้ไม่ได้ สมัยนี้ต้องถามก่อนว่าตรวจอะไร ด้วยวิธีไหนมาบ้าง จึงจะอนุมาณได้ใกล้เคียงว่าพ้น window period แล้วหรือยัง กล่าวคือถ้าเป็นการตรวจแบบดั้งเดิม (ELIZA) ก็มี window period นาน 3-6 เดือน ถ้าตรวจแบบ 4th generation ECILA ก็ประมาณ 1 เดือน ถ้าตรวจแบบ NAT ก็ประมาณ 5-7 วัน
4. ประเด็นอาการวิทยาของการติดเชื้อเอดส์ระยะเฉียบพลัน (acute HIV infection) หมายถึงอาการที่เกิดระหว่างเริ่มรับเชื้อไปจนถึงจุดเกิดภูมิคุ้มกัน (seroconversion) แม้จะมีอาการแบบคลาสสิกอย่างไรก็ตาม มันก็ยังเป็นอาการแบบสะเปะสะปะเป็นโรคอะไรก็ได้อยู่ดี เช่น ไข้ ไม่สบาย ปวดกล้ามเนื้อ ผื่นตามตัว ปวดหัว เหงื่อออกกลางคืน เจ็บคอ ต่อมน้ำเหลืองโต ปวดข้อ คัดจมูก ฯลฯ ดังนั้นการวินิจฉัยการติดเชื้อเอดส์ระยะเฉียบพลันจะอาศัยอาการไม่ได้ ต้องตรวจเลือดลูกเดียว
5. ผมดูสำบัดสำนวนคุณเป็นคนมีความรู้เรื่องโรคเอดส์ค่อนข้างดี แต่คุณยังมีจุดอ่อนอีกสองอย่าง คือ (1) คุณยังขาดวินัยต่อตนเองในการป้องกันโรค ซึ่งสำคัญมาก ในอนาคต ถ้าคุณจะตายก็คงด้วยเหตุนี้ (2) คุณเป็นคนที่จิตประสาทยังไม่แข็งแรงพอจะรับมือกับเรื่องร้าย พูดง่ายๆว่าเป็นคนขาดสติ หรือสติแตก ว่างๆให้เข้าวัดเข้าวาหัดสติสมาธิเสียบ้าง
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
คือวันที่ 3 ส.ค 54 มี sex ประมาณ 8 โมงเช้า หลังจากนั้น 1 วันมีอาการปวดต้นคอและปวดเมื่อย ต่อมา 3-4 วันเป็นหวัด จึงไปตรวจ NAT ที่คลีนิคนิรนามในวันที่ 8 ส.ค.( 5 วันหลังเสี่ยง ) ผลผ่าน จนถึงวันที่ 20 ก.ย.ได้ไปตรวจอีก ผล anti HIV และ NAT ผ่าน(47 วันหลังเสี่ยง) แต่อาการหวัดและปวดเมื่อยยังอยู่เป็นๆหายๆ ประมาณอาทิตย์สุดท้ายของเดือน ก.ย.เกิดมีตุ่มแพ้น้ำลายยุงขึ้นที่หน้าอกตอนบน2 ตุ่ม ทายาหม่องก็ยุบไป อีกประมาณ5-6 วันมีแผลร้อนในที่เหงือก 1 แห่ง ประมาณวันที่9 ต.ค.มีตุ่มน้ำลายยุงขึ้นที่ก้น 2 ตุ่ม ทายาหม่องก็ยุบไป ผมกังวลใจครับว่าปลอดภัยจาก hiv หรือยัง เจ้าหน้าที่ที่คลีนิคบอกปิดเคสได้แล้ว
................
ตอบครับ
1. ตรวจ NAT เมื่อ 5 วันและ 47 วันหลังเสี่ยงได้ผลลบ และตรวจ anti HIV เมื่อ 47 วันหลังเสี่ยง ได้ผลลบอีก ถามว่าปลอดภัยจากเอดส์หรือยัง ตอบว่าตามเหตุตามผลก็ปลอดภัยแล้วครับ
2. เพื่อให้คุณเข้าใจเรื่องดีขึ้น ผมอธิบายประเด็นการดำเนินของโรคเอดส์ ดังนี้ คือหลังจากได้รับเชื้อนับตั้งแต่ไม่กี่ชั่วโมงถึงเจ็ดวัน สารพันธุกรรมของไวรัส (RNA และ DNA) ก็แบ่งตัวจะขยายจำนวนเพิ่มขึ้นจนมากพอที่เราสามารถใช้เทคนิคที่เรียกว่า NAT (nucleic acid amplification testing) ซึ่งอาศัยการทำงานของเอ็นไซม์ที่เรียกว่า PCR (polymerase chain reaction) เข้าไปตรวจพบตัวไวรัสเอดส์ได้ ซึ่งในกรณีของคุณตรวจแล้วได้ผลลบก็บ่งบอกว่าไม่น่าจะได้รับเชื้อมา
พอผ่านไปได้ประมาณ 10 วันนับจากวันรับเชื้อ ไวรัสจะเพิ่มจำนวนมากขึ้น จนโปรตีนปลอกหุ้มตัวไวรัสที่เป็นตัวล่อเป้า (antigen ซึ่งท้าทายให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมาทำลาย) ชื่อ p24 ก็มีจำนวนในเลือดมากขึ้นจนสามารถตรวจพบได้ โปรตีน p24 นี้จะมีระดับสูงสุดในวันที่ 16 แล้วจะค่อยๆลดจำนวนลงเมื่อร่างกายสร้างภูมิต้านทานออกมาทำลายตัวไวรัสให้ร่อยหรอลงไปบางส่วน จนถึงสัปดาห์ที่ 10 หลังวันรับเชื้อ โปรตีน p24 อาจจะลดจำนวนลงจนตรวจไม่พบหรือตรวจพบบ้างไม่พบบ้าง จนล่วงไปประมาณ 1 เดือนนับจากวันรับเชื้อ ร่างกายจึงจะสร้างภูมิต้านทานโปรตีนต่างๆของไวรัสขึ้นมามากพอจนเราสามารถตรวจพบภูมิต้านทานในเลือดด้วยวิธี EIA (enzyme immune assay) ที่ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาจนตรวจพบได้นี้เรียกว่าจุดเกิดภูมิคุ้มกันหรือ seroconversion การตรวจ anti HIV แบบใหม่ใช้เทคนิคที่เรียกว่า 4th generation ECILA (เทคนิคนี้ใช้ในคลินิกนิรนามทุกแห่งด้วย) จะตรวจสองขา คือขาหนึ่งตรวจหาโปรตีน p24 อีกขาหนึ่งตรวจหาภูมิคุ้มกันที่ร่างกายสร้างขึ้น คือถ้าตรวจเร็วก่อนที่จะเกิด seroconversion ก็จะพบโปรตีน p24 ถ้าตรวจช้าก็จะพบภูมิคุ้มกันที่ร่างกายสร้างขึ้น ดังนั้นการที่คุณตรวจได้ anti HIV เมื่อวันที่ 47 ได้ผลลบ ก็ยิ่งเป็นข้อมูลยืนยันผล NAT ว่าคุณไม่ได้รับเชื้อมาค่อนข้างแน่นอน ดังนั้นควรจบความกังวลได้แล้ว
3. ประเด็น window period คำนี้ความหมายคือระยะที่ติดเชื้อแล้วแต่ตรวจไม่พบ เป็นค่าที่ถือเอาระยะเวลาตั้งแต่รับเชื้อจนถึงจุดเกิดภูมิคุ้มกัน (seroconversion) เพราะสมัยก่อนไม่มีการตรวจ NAT ค่า window period ที่อ้างอิงในตำราหรือเอกสารเผยแพร่ส่วนใหญ่จึงเป็นค่าที่วิจัยจากวิธีตรวจแบบสมัยเก่า ซึ่งเอามาใช้กับสมัยนี้ไม่ได้ สมัยนี้ต้องถามก่อนว่าตรวจอะไร ด้วยวิธีไหนมาบ้าง จึงจะอนุมาณได้ใกล้เคียงว่าพ้น window period แล้วหรือยัง กล่าวคือถ้าเป็นการตรวจแบบดั้งเดิม (ELIZA) ก็มี window period นาน 3-6 เดือน ถ้าตรวจแบบ 4th generation ECILA ก็ประมาณ 1 เดือน ถ้าตรวจแบบ NAT ก็ประมาณ 5-7 วัน
4. ประเด็นอาการวิทยาของการติดเชื้อเอดส์ระยะเฉียบพลัน (acute HIV infection) หมายถึงอาการที่เกิดระหว่างเริ่มรับเชื้อไปจนถึงจุดเกิดภูมิคุ้มกัน (seroconversion) แม้จะมีอาการแบบคลาสสิกอย่างไรก็ตาม มันก็ยังเป็นอาการแบบสะเปะสะปะเป็นโรคอะไรก็ได้อยู่ดี เช่น ไข้ ไม่สบาย ปวดกล้ามเนื้อ ผื่นตามตัว ปวดหัว เหงื่อออกกลางคืน เจ็บคอ ต่อมน้ำเหลืองโต ปวดข้อ คัดจมูก ฯลฯ ดังนั้นการวินิจฉัยการติดเชื้อเอดส์ระยะเฉียบพลันจะอาศัยอาการไม่ได้ ต้องตรวจเลือดลูกเดียว
5. ผมดูสำบัดสำนวนคุณเป็นคนมีความรู้เรื่องโรคเอดส์ค่อนข้างดี แต่คุณยังมีจุดอ่อนอีกสองอย่าง คือ (1) คุณยังขาดวินัยต่อตนเองในการป้องกันโรค ซึ่งสำคัญมาก ในอนาคต ถ้าคุณจะตายก็คงด้วยเหตุนี้ (2) คุณเป็นคนที่จิตประสาทยังไม่แข็งแรงพอจะรับมือกับเรื่องร้าย พูดง่ายๆว่าเป็นคนขาดสติ หรือสติแตก ว่างๆให้เข้าวัดเข้าวาหัดสติสมาธิเสียบ้าง
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์