สิบห้าโรคที่มากับน้ำท่วม
ผมไปออกหน่วยแพทย์ช่วยน้ำท่วมระยะหลังๆนี้เจอนักข่าวทีไรมีแต่คำถามเรื่องโรคหลังน้ำท่วม ไหนๆก็ต้องตอบนักข่าวบ่อยๆ ขอเอามาเขียนไว้ให้ท่านผู้อ่านได้อ่านด้วยนะครับ
โรคที่มากับน้ำท่วมแบ่งใหญ่ๆก็มีอยู่ 5 กลุ่ม
กลุ่มที่ 1. คือโรคที่มากับน้ำจริงๆ (water borne) ที่สำคัญมีอยู่ห้าโรค ได้แก่โรคฉี่หนู ไทฟอยด์ ตับอักเสบจากไวรัสเอ. บิดไม่มีตัว และอหิวาต์ ประเด็นสำคัญคือโรคที่มากับน้ำทั้งหมดนี้มีวิธีป้องกันเหมือนกันหมด ซึ่งมีหลักสำคัญ 5 ข้อ คือ
(1) การสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมของชุมชน เช่นการบำบัดน้ำเสีย การระบายน้ำขัง การกำจัดขยะ เป็นต้น
(2) การจัดหาน้ำสะอาดไว้ดื่ม ดีที่สุดคือการนำน้ำดื่มบรรจุขวดจากนอกแหล่งน้ำท่วมเข้ามาดื่ม ดีรองลงมาคือการต้มน้ำก่อนดื่ม ดีรองลงมาคือการใส่คลอรีนในน้ำที่ทำให้ใสแล้ว
(3) การรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขยันล้างมือ การทานอาหารที่สุกแล้ว เป็นต้น
(4) การกำจัดสัตว์และแมลงพาหะโรค เช่นแมลงวัน แมลงสาบ เพื่อไม่ให้นำสิ่งปนเปื้อนสกปรกมาสู่อาหารหรือน้ำดื่มน้ำใช้
(5) การไม่สัมผัสกับน้ำหรือดินสกปรก ถ้าจำเป็นก็ใช้อุปกรณ์ป้องกัน เช่นถุงมือยาง รองเท้าบู้ท กางเกงพลาสติกกันน้ำก็เข้าท่าดีนะครับ แต่ผมเจอคนที่ใส่บอกว่าใส่แล้วต้องระวังนั่งไม่ได้ ไม่งั้นมันฉีกแคว่ก
กลุ่มที่ 2. คือโรคที่มากับพาหะ (vector borne) ซึ่งพาหะเหล่านี้เพิ่มจำนวนขึ้นเพราะมีน้ำ เช่น ยุง และโรคเจ้าประจำที่ยุงนำมาที่เป็นโรคเอ้ก็มีอยู่สองโรคคือไข้เลือดออก และมาเลเรีย
กลุ่มที่ 3. คือพวกที่เป็นโรคจากการสัมผัสแตะต้อง ซึ่งบางครั้งเป็นกันมากทั้งบ้านทั้งเมืองแต่ไม่ใช่โรคร้ายแรง ที่เด่นๆก็มีอยู่สี่โรค คือ ราน้ำกัดเท้า ผิวหนังอักเสบ ตาแดง และโรคมือเท้าปาก (hand foot mouth)
กลุ่มที่ 4. โรคจากการบาดเจ็บ ที่โดดเด่นมากที่สุดก็คือโรคแผลติดเชื้อแบบไฟลามทุ่ง และโรคร้ายที่ซุ่มเงียบพร้อมจะเกิดขึ้นตลอดเวลาคือโรคบาดทะยัก
กลุ่มที่ 5. เป็นโรคทางใจ ซึ่งมีพบบ่อยที่สุดสองโรคคือโรคเครียด กับโรคซึมเศร้า
เบ็ดเสร็จโหลงโจ้งรวมแล้วก็มีด้วยกัน 15 โรค ซึ่งผมขอจาระไนเฉพาะประเด็นสำคัญของแต่ละโรคดังนี้
1. โรคฉี่หนู (Leptospirosis)
สาเหตุ โรคนี้เกิดบักเตรีชื่อเล็พโตสไปรา มีรูปร่างขดเป็นเกลียว มาจากสัตว์เช่นหนู หรือวัวควาย หรือสุนัข หรือสุกร เป็นเชื้อโรคระดับหัวแข็งทนอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นาน
การติดต่อ โรคนี้ออกจากตัวสัตว์โดยมากับมูลหรือปัสสาวะของสัตว์ ปนเปื้อนบนพื้นดินและในน้ำ แล้วเข้ามาสู่คนทางผิวหนังที่ถลอกหรือเป็นแผลบ้าง บางทีผิวหนังไม่มีแผลอะไรแต่ผิวหนังเปื่อยเพราะแช่น้ำนานๆ เชื้อโรคก็ผ่านเข้ามาได้ บางครั้งก็เข้ามาทางเยื่อเมือกเช่นเยื่อตา ปาก (น้ำและอาหาร) จมูก อวัยวะเพศ หรือบางครั้งไม่ได้ไปลุยน้ำเน่าน้ำครำที่ไหนกับเขาเลย บังเอิญเจอฝอยละอองของน้ำเข้าจังๆเช่นน้ำกระเด็นเป็นฟองใส่ ก็ติดโรคนี้ได้เหมือนกัน บางรายเป็นทารกยังไม่ทันคลอดออกมาเลยก็ติดโรคแล้วจากคุณแม่ที่เป็นโรคนี้อยู่
การดำเนินของโรคและอาการ เมื่อเข้ามาอยู่ในร่างกายคนแล้วเชื้อจะฟักตัวนาน 2-30 วัน ซึ่งเป็นระยะที่เชื้อเข้าไปในกระแสเลือด ไปซุ่มแบ่งตัวที่เซลตับ เมื่อสะสมกำลังพลได้ที่แล้วก็เฮโลกระจายไปในกระแสเลือด ทำให้เกิดอาการไข้สูง ไม่สบาย เรียกว่าเป็นโรคระยะเฉียบพลัน ซึ่งจะเป็นอยู่นาน 1-7 วัน แล้วก็จะเข้าระยะสงบ 1-3 วัน ซึ่งเป็นระยะที่ฝ่ายร่างกายสะสมกำลังรบตั้งหน้าผลิตภูมิคุ้มกันอยู่ จากนั้นก็จะเข้าระยะที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายทำสงครามสู้กับเชื้อโรค ซึ่ง 90% ของผู้ป่วยจะเป็นแบบเบาๆเรียกว่าแบบ “ไม่เหลือง (anicteric)” มีอาการแบบไข้หวัดใหญ่เป็นไข้ปวดเมื่อยตามตัวแล้วก็ค่อยๆซาไป ที่เหลืออีก 10% จะเป็นแบบหนัก เรียกว่าแบบ “เหลือง (icteric)” แบบนี้บางทีเรียกว่าโรคไวล์ตามชื่อคุณหมอไวล์ผู้ค้นพบ จะมีอาการตัวเหลืองตาเหลืองจากตับอักเสบ อาจมีเลือดออกมาทางปัสสาวะจากไตอักเสบ หรืออาจมีผื่นแบบจุดเลือดออกตามผิวหนังและเพดานปากเนื่องจากหลอดเลือดที่ผิวหนังอักเสบ อาจมีตาแดง อาจปวดกล้ามเนื้อโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่น่องจากการอักเสบที่กล้ามเนื้อ อาจมีอาการไอเป็นเลือดและหอบเหนื่อยจากปอดอักเสบ ตัวหลอดเลือดเองอาจรั่วทำให้สูญเสียของเหลวจากระบบไหลเวียนร่วมกับเกล็ดเลือดต่ำ ทำให้เลือดออก และเลือดไหลไม่หยุดจากมีสารช่วยการแข็งตัวของเลือดถูกใช้ไปมาก (DIC) อาจถึงช็อกและเสียชีวิตได้
การวินิจฉัย เจาะเลือดไปตรวจหาภูมิคุ้มกันของโรคฉี่หนู
การรักษา รีบให้ทานยาฆ่าเชื้อภายในไม่เกินวันที่ 5 นับจากเริ่มมีอาการ ยาที่ให้ก็เช่น doxycyclin 100 มก.วันละสองครั้งนาน 7-10 วัน หรือ azithromycin 1 กรัมวันละครั้งนาน 3 วัน เป็นต้น ถ้าเป็นแบบหนักก็ต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาล โรคนี้จัดว่าเป็นโรคร้ายแรงโรคหนึ่ง คือมีอัตราตายได้ตั้งแต่ 5-40%
การป้องกัน ใช้หลักป้องกันโรคที่มากับน้ำ 5 ข้อ ที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น
2. โรคไทฟอยด์ (ไข้รากสาดน้อย)
สาเหตุ เกิดจากเชื้อบักเตรีชื่อซาลโมเนลลา ไทฟี ซึ่งเป็นเชื้อที่มาจากคนเท่านั้น ไม่มีในสัตว์อื่นๆ
การติดต่อ เชื้อมาจากคนที่เป็นพาหะ โดยออกมาทางทางอุจจาระและปัสสาวะ แล้วปนเปื้อนในอาหารหรือน้ำดื่มที่สกปรก หรือติดไปกับมือแล้วเข้าสู่ปากของผู้รับเชื้อ เรียกว่าเป็นเส้นทางจากอุจจาระสู่ปาก (feco–oral route)
การดำเนินของโรคและอาการ เมื่อเชื้อเข้ามาในตัวแล้วจะมีระยะฟักตัว 7-14 วัน แล้วจะเริ่มมีไข้แบบสูงขึ้นๆ หนาวสั่น ไม่สบาย ปวดท้อง กดท้องแล้วเจ็บ ท้องผูก ปวดหัว มึนงงสับสน บางครั้งบักเตรีไปตามกระแสเลือดไปเกิดเป็นกลุ่มของจุดสีแดงรูปกลีบกุหลาบเล็กๆอยู่ตามผิวหนัง ยิ่งป่วยนานไปหลายสัปดาห์อาการยิ่งทรุด มีอาการหลายระบบ ทั้ง ท้องเสีย ปอดบวม มีอาการได้ทั้งทางหัวใจ กล้ามเนื้อ ข้อ สมองและประสาท เป็นต้น หรือบางทีก็มีอาการแปลกๆอื่นๆที่คาดไม่ถึง
การวินิจฉัย เจาะเลือดไปตรวจหาภูมิคุ้มกันของโรค (Widal test) หรือนำเลือดไปเพาะหาเชื้อไทฟอยด์
การรักษา ให้ยาฆ่าเชื้อตามผลการตรวจความไวของเชื้อ กรณีที่ยังไม่ทราบผลการตรวจความไวของเชื้ออาจให้ยาฆ่าเชื้อแบบเหวี่ยงแหคลุมไปก่อน เช่นยากิน azithromycin หรือ cefixime หรือยาฉีด ceftriaxone เป็นต้น โรคไทฟอยด์ ถ้าได้รับการรักษาจะมีมีอัตราตายเพียง 0.2% แต่ถ้าไม่ได้รับการรักษาจะมีอัตราตายได้ถึง 9-13%
การป้องกัน ใช้หลักป้องกันโรคที่มากับน้ำ 5 ข้อ ที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น
3. โรคตับอักเสบไวรัสเอ.
สาเหตุ เชื้อไวรัสตับอักเสบเอ. ซึ่งเป็นกลุ่มเอ็นเตอโรไวรัส
การติดต่อ เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์เชื้อโรคนี้มากับอุจจาระของคนด้วยกัน แล้วอุจจาระนั้นปนเปื้อนมากับอาหารหรือน้ำดื่มหรือมือที่จับสิ่งสกปรกแล้วไม่ได้ล้าง เช่นเปลี่ยนผ้าอ้อม หรือทำกิจกรรมทางเพศ (ใช้มือสัมผัสอุจจาระ) แล้วมาเข้าปาก เชื้อนี้มีชีวิตอยู่ในดิน หรือในน้ำได้นานหลายเดือน เป็นเชื้อหัวแข็ง ทนแห้ง อยู่ได้แม้ในอุจจาระแห้งๆ แต่ไม่ทนความร้อน คือทนได้เพียง 56 องศาเซลเซียส ขณะที่ทนความเย็นได้ถึง -20 องศา
การดำเนินของโรคและอาการ เมื่อเข้ามาสู่ร่างกายแล้ว มีระยะฟักตัว 2-6 สัปดาห์ โดยเชื้อจะเข้าไปในเซลตับแล้วก็จะอาศัยเซลตับปั๊มลูกหลานตัวเองออกมาขยายจำนวนไปโจมตีเซลตับอื่นๆอีกจนตับเสียหาย และเริ่มมีอาการนำให้เห็น คือมีอาการแบบไข้หวัดใหญ่คือไข้ๆต่ำๆ ไม่สบาย ปวดหัว ปวดเมื่อยตามตัว คลื่นไส้ อาเจียน บางรายก็ปวดท้องเหมือนไส้ติ่ง จากนั้นก็เข้าระยะคัน (icteric phase) อันสืบเนื่องจากตับอักเสบ คือมีตัวเหลือง ตาเหลือง ปัสสาวะเหลือง คันตามผิวหนัง ท้องเสีย น้ำหนักลด อาจมีปวดข้อ และมีผื่นแบบหลอดเลือดฝอยอักเสบขึ้นตามผิวหนัง จากนั้นอาการจะค่อยๆดีขึ้นจนหาย แต่มีคนไข้ส่วนหนึ่งจำนวนไม่มากนักที่อาจมีภาวะแทรกซ้อนเช่นไตวาย ลำไส้อักเสบ ตับอ่อนอักเสบ ไขกระดูกไม่ทำงาน หัวใจเต้นผิดจังหวะ เส้นประสาทอักเสบ เป็นต้น ถ้าเป็นคนสูงอายุ ส่วนหนึ่ง (ประมาณ 3-20%) จะกลับวนมาเข้าระยะเป็นซ้ำ (relapse phase) คือกลับมามีอาการแบบเดิมได้อีกรอบหนึ่งหรือหลายๆรอบกลายเป็นโรคแบบเรื้อรังไป
การวินิจฉัย เจาะเลือดตรวจดูภูมิคุ้มกันไวรัสตับอักเสบเอ. (anti HAV)
การรักษา โรคนี้ไม่มีวิธีรักษาด้วยการทำลายเชื้อโดยตรง ได้แต่ช่วยประคับประคองร่างกายให้อยู่ได้ เช่น ถ้าอาเจียนหรือท้องเสียจนสูญเสียน้ำมากก็อาจจะต้องนอนโรงพยาบาลให้น้ำเกลือ เป็นต้น แต่การให้นอนพักให้มากยังไม่มีหลักฐานว่าจะช่วยให้หายจากโรคนี้เร็วขึ้นจริงหรือไม่ โรคนี้จัดเป็นโรคที่ไม่รุนแรง มีอัตราตายในระดับต่ำกว่า 1-2% กล่าวคือถ้าเป็นในคนทั่วไปจะมีอัตราตายต่ำเพียง 4 ใน 1000 แต่ถ้าเป็นในผู้สูงอายุเกิน 50 ปีขึ้นไปจะมีอัตราตายสูงขึ้นได้ถึง 17.5 ใน 1,000
การปัองกัน นอกจากใช้หลักป้องกันโรคที่มากับน้ำ 5 ข้อ ที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้นแล้ว โรคนี้ยังมีประเด็นสำคัญในแง่ของการป้องกันอยู่สามประเด็น คือ
(1) ถ้ามีความเสี่ยงว่าจะเป็นโรคนี้ เช่นมีคนใกล้ชิดเป็น หรือต้องไปอยู่ในที่แออัดยัดเยียดเช่นศูนย์พักพิง ควรรีบฉีดวัคซีนป้องกัน เพราะวัคซีนช่วยป้องกันโรคนี้ได้ค่อนข้างดีถึง 80-100%
(2) หากเป็นโรคนี้ในระยะสองสามสัปดาห์แรกจะแพร่โรคได้ง่ายมาก ควรหยุดงานหรือกักตัวเองสักพัก
(3) เมื่อสงสัยว่าจะเป็นโรคนี้ ควรงดยาแก้ปวดลดไข้พาราเซ็ตตามอลทันที เพราะยานี้มีพิษต่อเซลตับ ถ้าตับอักเสบด้วย กินยานี้เข้าไปด้วย โอกาสที่ตับจะมีปัญหาแบบถาวรจะมากเป็นทวีคูณ นอกจากยาพาราเซ็ตตามอลแล้วแอลกอฮอล์และยาหรือสารพิษต่อตับอื่นๆเช่นยาลดไขมันก็ต้องหลีกเลี่ยงด้วย
4. โรคอหิวาต์
สาเหตุ เชื้อบักเตรีชื่อวิบริโอ โคเลร่า มีอยู่สองสายพันธ์คือพวก O1 หรือ O139 ซึ่งระบาดรวดเร็วและรุนแรง กับพวกที่ไม่ใช่ O1 หรือ O139 ซึ่งมีอาการน้อยและไม่ถึงกับเป็นโรคระบาดรุนแรง เชื่อนี้ชอบอาศัยอยู่ในตัวคนที่เป็นพาหะ และอยู่ในน้ำเน่าเสีย
การติดต่อ โดยการกินเชื้อที่มักมากับน้ำหรืออาหารที่สกปรกเข้าไป มักเกิดในกรณีวิบัติภัยต่างๆที่น้ำดื่มสะอาดหายาก
การดำเนินของโรคและอาการ เชื้อนี้เมื่อกินเชื้อเข้าไปแล้ว มีระยะฟักตัวสั้นมาก ตั้งแต่ 2 ชั่วโมงถึงห้าวัน แต่คนที่ได้รับเชื้อแล้ว 75% จะไม่ป่วย มีเพียง 25% ที่ป่วย คือเชื้อโรคจะไปแบ่งตัวในสำไส้จนเกิดอาการท้องร่วงถ่ายเหลวเป็นน้ำโกร๊กอย่างเฉียบพลัน ถ้ารักษาด้วยการให้น้ำทดแทนไม่ทันก็อาจถึงตายได้ ทั่วโลกมีคนตายเพราะโรคนี้เป็นแสนทุกปี ยิ่งสกปรก ยากจน ขาดอาหาร ร่างกายทรุดโทรม และลงมือรักษาช้า ยิ่งมีอัตราตายมาก กรณีที่ได้รับการรักษารวดเร็ว โรคนี้มีอัตราตายต่ำมากจนเกือบเป็นศูนย์ แต่ในอดีตซึ่งผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษา โรคนี้เป็นโรคที่มีอัตราตายได้สูงถึง 50-60%
การวินิจฉัย นำอุจจาระไปเพาะหาเชื้ออหิวาต์
การรักษา โรคนี้รักษาง่ายด้วยการดื่มน้ำเกลือโออาร์เอส.อย่างเดียวก็หายได้ 80% เฉพาะรายที่สูญเสียน้ำระดับรุนแรงเท่านั้นที่ต้องให้น้ำเกลือทางหลอดเลือดดำร่วมกับการให้ยาฆ่าเชื้อเช่น azithromycin หรือ ciprofloxacin
การป้องกัน ใช้หลักป้องกันโรคที่มากับน้ำ 5 ข้อ ที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น การให้วัคซีนชนิดกินป้องกันอหิวาต์มักสงวนไว้ใช้เฉพาะเมื่อมีการระบาดแล้วเพราะภูมิคุ้มกันที่ได้จากวัคซีนจะคงอยู่ไม่นาน คือคงอยู่ประมาณ 4-6 เดือนเท่านั้น
5. โรคบิดชนิดไม่มีตัว (shigellosis)
สาเหตุ เชื้อบักเตรีชิเกลลา
การติดต่อ เชื้อโรคนี้มาสู่ตัวเราโดยการกินสิ่งปนเปื้อนอุจจาระของผู้ป่วยหรือผู้เป็นพาหะ การติดเชื้อสามารถเกิดขึ้นได้เพียงแต่กินเชื้อเข้าไปจำนวนไม่กี่ตัว การติดเชื้ออาจเกิดจากการไม่ได้ล้างมือ หรือเกิดจากสัตว์เช่น แมลงสาบ และแมลงวันเป็นตัวนำเชื้อมาสู่อาหารและน้ำดื่ม
การดำเนินของโรคและอาการ เชื้อนี้มีระยะฟักตัว 1-7 วัน โดยมันจะไปขยายจำนวนที่ลำไส้ใหญ่ และลำไส้เล็ก แล้วทำให้มีอาการท้องเสียร่วมกับอาการไข้สูง คลื่นไส้ อาเจียน ตะคริว และปวดเบ่งเวลาถ่ายอุจจาระ ในเด็กอาจพบอาการชัก อาจถ่ายอุจจาระเป็นเลือด มูก หรือหนอง ซึ่งเป็นผลมาจากการแตกของฝีเล็ก ๆ ที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้มุดผ่านเยื่อบุลำไส้ เข้าไปก่อฝีในชั้น lamina propria ของลำไส้ใหญ่ นอกจากนั้นเชื้อนี้ยังปล่อยสารพิษ enterotoxin ทำให้อุจจาระเหลวเป็นน้ำ ร่วมกับอาเจียน ส่วนใหญ่เป็นอยู่ 4-7 วันก็หาย แต่ถ้าเจอเชื้อสายพันธุ์ที่สร้างพิษมากเช่น Shigella dysenteriae ก็อาจมีอาการรุนแรงและมีอัตราตายได้ถึง 20% ยิ่งผู้ป่วยอายุน้อยเช่นเด็กเล็กก็ยิ่งเสียชีวิตง่าย
การวินิจฉัย ใช้วิธีนำอุจจาระหรือเอาสำลีพันปลายไม้ป้ายอุจจาระที่ทวารหนัก (rectal swab) ไปเพาะหาเชื้อ
การรักษา ส่วนสำคัญที่สุดของการรักษาคือการให้น้ำเกลือโออาร์เอส.ดื่มทดแทนการสูญเสียน้ำและสารเกลือแร่ การให้ยาปฏิชีวนะที่จำเพาะกับเชื้อที่เพาะได้ (เช่น Norfloxacin) ก็ช่วยลดเวลาการป่วยได้
การป้องกัน ใช้หลักป้องกันโรคที่มากับน้ำ 5 ข้อ ที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น
6. โรคไข้เลือดออก
สาเหตุ เชื้อไวรัสเดงกี ซึ่งมีสี่สายพันธ์
การติดต่อ เป็นโรคที่ติดต่อจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่งโดยมีพาหะคือยุงลายซึ่งเกิดจากลูกน้ำในน้ำใสที่ขังตามภาชนะรอบบ้าน เมื่อโตเป็นตัวยุงแล้วก็ชอบมาอาศัยอยู่ในบ้านคน
การดำเนินของโรคและอาการ เมื่อเชื้อเข้ามาสู่ตัวคนแล้วจะมีระยะฟักตัว 3-14 วัน จากนั้นจึงเข้าระยะเป็นไข้สูงอยู่นาน 2-7 วันจากปฏิกริยาที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายพยายามกำจัดเชื้อ อาจชักเพราะไข้สูง อาจมีจุดเลือดออกตามตัว มีตับโตเนื่องจากเกิดการอักเสบที่ตับ แล้วเมื่อไข้เริ่มจะลงก็เข้าสู่ระยะช็อก จากการที่ผนังหลอดเลือดที่เกิดการอักเสบจนปล่อยให้สารน้ำในหลอดเลือดรั่วออกไปนอกหลอดเลือด ทำให้เลือดข้นขึ้นแต่ปริมาตรเลือดลดลงจนไม่พอไหลเวียน ผู้ป่วยจะมีอาการซึม เหงื่อออก มือเท้าเย็น ไม่ถ่ายปัสสาวะ ชีพจรเบาและเร็ว อาจมีเลือดออกง่าย ถ้าเป็นมากก็ช็อกจนเสียชีวิตได้ ระยะนี้จะนาน 1-2 วัน เมื่อผ่านไปได้ก็จะเข้าระยะพักฟื้น คือค่อยๆดีขึ้นจนหายเป็นปกติ โรคนี้มีอัตราตายต่ำกว่า 1% แต่ถ้ามีอาการช็อกจะมีอัตราตายสูงถึง 12-44%
การวินิจฉัย เจาะเลือดตรวจหาภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไข้เลือดออก หรือตรวจหาตัว (antigen) เชื้อไข้เลือดออก
การรักษา ไม่มีวิธีฆ่าเชื้อไวรัสเดงกีโดยตรง การรักษาจึงมุ่งไปที่การลดไข้ด้วยยาพาราเซตตามอล (ไม่ใช้แอสไพรินเพราะจะทำให้เลือดออกมากขึ้น) การให้ดื่มน้ำเกลือโออาร์เอส.หรือน้ำผลไม้เพื่อเพิ่มปริมาณของเหลวที่ไหลเวียนในหลอดเลือด ถ้ามีอาการช็อก (ซึม ปัสสาวะน้อย กระสับกระส่าย มือเท้าเย็น) ต้องรีบให้สารน้ำและเกลือแร่ทดแทนทางหลอดเลือด
การป้องกัน ป้องกันไม่ให้ยุงกัดโดยการกางมุ้งนอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากนอนหลับตอนกลางวัน เปลี่ยนหรือทำลายแหล่งน้ำทีเพาะพันธ์ยุงรอบๆบ้านเช่นน้ำท่วมขังตามเศษภาชนะ และในบ้านเช่นแจกัน จานรองขาตู้กับข้าว โดยทำลายทุก 7วัน (เพราะวงจรชีวิตของลูกน้ำยุงลายต้องอาศัยน้ำมากกว่า 7 วัน) หรือไม่ก็ใส่เกลือหรือน้ำส้มสายชูลงในจานรองขาตู้กับข้าว
7. โรคมาลาเรีย
สาเหตุ เชื้อปาราสิตชนิดหนึ่งชื่อพลาสโมเดียม ซึ่งมีอยู่สี่ชนิด
การติดต่อ เชื้ออยู่ในยุงก้นปล่อง (เพราะเวลากัดคนมันจะกระดกก้นชี้ขึ้นเหมือนปล่องไฟ) ซึ่งเป็นยุงที่อยู่ตามป่า ชอบออกหากินพลบค่ำ กลางคืนไปจนถึงเช้ามืด เมื่อถูกยุงนี้กัด เชื้อมาลาเรียก็จะเข้ามาสู่กระแสเลือด
การดำเนินของโรคและอาการ เมื่อได้รับเชื้อจากยุงแล้ว มีระยะฟักตัว 7-14 วัน โดยเชื้อจะมุดเข้าไปเติบโตในเซลเม็ดเลือดหรือเซลตับ ถึงจุดหนึ่งก็ทำให้เซลเม็ดเลือดและเซลตับแตกเป็นจำนวนมากจนมีอาการหนาวสั่นแล้วเป็นไข้แล้วเหงื่อแตก โดยเป็นในช่วงเวลาแน่นอน เช่น วันละครั้งบ้าง วันเว้นวันบ้าง วันเว้นสองวันบ้าง ในรายที่รุนแรงอาจมีภาวะแทรกซ้อนเช่นโลหิตจาง ไตวาย มีอาการทางสมอง เป็นต้น
การวินิจฉัย เจาะเลือดไปส่องกล้องจุลทรรศน์ดูตัวเชื้อมาลาเรียในเม็ดเลือด
การรักษา ใช้ยาฆ่าเชื้อมาลาเรีย ซึ่งต้องเลือดชนิดยาให้จำเพาะกับชนิดของเชื้อ เช่นยา คลอโรควิน (ถ้าเชื้อยังไม่ดื้อ) ด๊อกซี่ไซคลิน อารติมิสินิน เป็นต้น มาลาเรียจัดเป็นโรคร้าย ในรายรุนแรงมีอัตราตายได้ถึง 20%
การป้องกัน หลีกเลี่ยงการเข้าไปในถิ่นที่มีโรคมาลาเรียอยู่ ซึ่งยังมีอยู่ทั่วไปในประเทศไทย รวมทั้งที่ไม่ไกลจากกรุงเทพ เช่นบางตำบลของอำเภอแก่งคอย จ.สระบุรี เป็นต้น ในกรณีที่อยู่อาศัยหรือจำเป็นต้องเข้าไปในถิ่นที่มีโรคมาลาเรีย ควรป้องกันไม่ให้ยุงกัด โดย
(1) ใช้ยาทาผิวหนังกันยุง ยาที่งานวิจัยพบว่าทากันยุงได้จริงนั้นคือยาที่มีส่วนผสมของสาร DEET (N, N dimethyl-m-toluamide) โดยเลือกยี่ห้อที่มีความเข้มข้นของ DEET สูง คือถ้าสูงถึง 35% จะกันยุงได้นาน 4-6 ชม. ถ้าเข้มข้นถึง 100% จะกันยุงได้นาน 10 ชม.
(2) สวมเสื้อผ้าให้มิดชิด
(3) นอนกางมุ้ง หรือในบ้านที่มีมุ้งลวด
(4) หลีกเลี่ยงการเดินทางช่วงที่ยุงก้นปล่องออกหากิน คือพลบค่ำ กลางคืน ไปจนถึงเช้ามืด
8. โรคราน้ำกัดเท้า
สาเหตุ เชื้อราในกลุ่ม Dermatophytes
การติดต่อ เชื้อราซึ่งมีอยู่ทั่วไปมาเกาะบริเวณผิวหนังของเท้าที่ชื้นแฉะและเปื่อยยุ่ย
การดำเนินของโรคและอาการ เมื่อเท้าแช่น้ำหรือย่ำน้ำบ่อยๆนานๆ หนังกำพร้าของเท้าจะหยุดลอก เปื่อยยุ่ย กลายเป็นอาหารสำหรับเชื้อรา ทำให้เชื่อราที่มีอยู่ทั่วไปทั้งในน้ำ ในดิน ในอากาศ มาเจริญเติบโตที่ผิวหนังของเท้า โดยเฉพาะที่ง่ามนิ้ว หลังเท้า และฝ่าเท้า ทำให้ผิวหนังกลายเป็นขุยขาวๆ ต่อมาก็เป็นร่องแตกเป็นแผล เจ็บ และมีกลิ่นเหม็น
การวินิจฉัย ขูดเอาผิวหนังที่เป็นขุยไปตรวจด้วยกล้องจะพบเชื้อรา
การรักษา ทายาฆ่าเชื้อรา เช่น miconazole ร่วมกับรักษาเท้าให้แห้งอยู่เสมอ
การป้องกัน หลีกเลี่ยงการย่ำหรือแช่เท้าอยู่ในน้ำนานๆ ถ้าจำเป็นต้องย่ำน้ำให้ใช้อุปกรณ์ป้องกันเช่นรองเท้าบู้ท และเมื่อขึ้นจากน้ำแล้วต้องรีบล้างเท้าและเช็ดให้แห้ง
9. โรคผิวหนังอักเสบ
สาเหตุ สิ่งระคายเคือง เช่นสารเคมีในน้ำ
การดำเนินของโรคและอาการ เมื่อผิวหนังของเท้า หรือของมือ ต้องสัมผัสกับสารระคายเคือง เช่นสารเคมีที่อยู่ในน้ำเน่าเสีย จะเกิดการอักเสบของผิวหนัง มีตุ่มน้ำผสมกับปื้นแดงบนผิวหนัง มีอาการคัน เมื่อเกา ก็จะเกิดผิวหนังหนาตัวขึ้นจากการเกา
การรักษา ทาด้วยสะเตียรอยด์ครีม เช่นเบตาเมตาโซนครีม เป็นต้น
การป้องกัน หลีกเลี่ยงการสัมผัสถูกต้องน้ำเน่าหรือสารเคมี ถ้าจำเป็นต้องสัมผัส ให้ใช้อุปกรณ์ป้องกันเช่นถุงมือยาง รองเท้าบูท กางเกงพลาสติก เป็นต้น
10. โรคตาแดง (Conjunctivitis)
สาเหตุ เชื้อไวรัสชนิดอะดีโนไวรัส
การติดต่อ เชื้อจากผู้ป่วย จะผ่านมาทางการคลุกคลีใกล้ชิด ใช้ของร่วมกันเช่นเสื้อผ้า หรือมีสิ่งสกปรกเช่นฝุ่นละอองหรือน้ำสกปรกกระเด็นเข้าตา หรือแมงหวี่ตอมตา หรือไม่ได้รักษาความสะอาดของมือทำให้มือนำเชื้อจากสิ่งสกปรกมาเข้าตา
การดำเนินของโรคและอาการ เมื่อรับเชื้อมาแล้วจะมีระยะฟักตัว 12 ชม.ถึง 3 วัน หลังจากนั้นจึงจะเริ่มมีอาการตาแดง เคืองตา น้ำตาไหล เจ็บตา มีขี้ตามาก มักเป็นนาน 5-14 วัน
การรักษา ไม่มียาที่จะฆ่าเชื้อไวรัสตาแดงได้โดยตรง การรักษาเป็นการบรรเทาอาการ เช่นลดการใช้สายตา หรือแม้กระทั่งปิดตาหากแสบตาหรือแพ้แสงมาก ถ้ามีขี้ตามากซึ่งบ่งบอกว่าอาจมีการติดเชื้อบักเตรีก็อาจใช้ยาหยอดหรือยาป้ายตาที่มีส่วนผสมของยาฆ่าเชื้อบักเตรี
การป้องกัน
1. ล้างมือบ่อยๆ โดยเฉพาะหลังจากจับหยิบหรือแตะต้องสิ่งสกปรก
2. เข้มงวดเรื่องสุขศาสตร์ส่วนบุคคล ดูแลรักษาเสื้อผ้าและของใช้ให้สะอาด และแห้งอยู่เสมอ
3. หากมีฝุ่น หรือน้ำกระเด็นเข้าตา ควรล้างตาด้วยน้ำก๊อกที่สะอาดมากๆทันที
4. เมื่อเป็นตาแดง ควรหยุดงานและหลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้อื่นเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อให้ผู้อื่น
11. โรคมือเท้าปาก
สาเหตุ เชื้อไวรัสในกลุ่มคอกแซกกี้ และเอ็นเตอโรไวรัส
การติดต่อ โรคนี้เป็นกับเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ เชื้อเข้าสู่ร่างกายโดยการกินเข้าปาก ซึ่งเชื้ออาจจะมากับมือที่เปื้อนน้ำมูก น้ำลาย อุจจาระ ของคนเป็นโรค หรือมากับสิ่งสกปรกเช่นน้ำเน่า หรืออาจจะมากับฝอยละอองของการไอจามผ่านมาทางอากาศ
การดำเนินของโรคและอาการ เชื้อจะเข้าสู่ร่างกายทางเยื่อบุของคอหอยและลำไส้ มีระยะฟักตัว 3-5 วัน แล้วจะไปแบ่งตัวเพิ่มจำนวนที่ต่อมทอนซิลและต่อมน้ำเหลืองที่ลำไส้ จนก่อให้เกิดอาการมีไข้ มีผื่น หรือตุ่มน้ำพอง รวมทั้งที่มือ เท้า และปาก แล้วเชื้อส่วนหนึ่งจะออกไปกับอุจจาระ ส่วนใหญ่โรคนี้จะหายเองภายใน 3-6 วัน แต่มีส่วนน้อย ไม่ถึง 1% ที่มีโรคแทรกซ้อนรุนแรงเช่นปอดอักเสบ สมองอักเสบ เยื่อหัวใจอักเสบ และเสียชีวิต
การวินิจฉัย นำอุจจาระ หรือน้ำจากตุ่มพุพอง หรือเมือกในคอ ไปเพาะดูเชื้อไวรัส
การรักษา ไม่มียารักษาโดยตรง รักษาแบบประคับประคองตามอาการที่มี
การป้องกัน
1. ดูแลเรื่องสุขศาสตร์ส่วนบุคคล เช่นการล้างมือบ่อยๆ การไม่ใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกัน รวมทั้งช้อนและซ่อมด้วย
2. หลีกเลี่ยงสิ่งสกปรกเช่นขยะ น้ำเน่า
3. ไม่คลุกคลีกับผู้ป่วย ไม่นำเด็กไปในที่ที่มีคนอยู่เป็นจำนวนมาก
4. กรณีเด็กป่วยเป็นโรคนี้ ควรหยุดเรียนอยู่กับบ้านจนหาย
12. โรคแผลติดเชื้อแบบไฟลามทุ่ง
สาเหตุ เชื้อบักเตรี โดยเฉพาะอย่างยิ่งบักเตรีในกลุ่มสะเตร็พโตคอคคัส
การดำเนินของโรคและอาการ มักจะเริ่มจากการมีแผลก่อน บางครั้งเป็นแผลเล็กๆเช่นแผลแมลงกัด บางครั้งแผลต้นกำเนิดเล็กหรือปิดไปแล้วจึงมองหาไม่เห็น บางครั้งเป็นแผลที่เกิดจากการเหยียบเศษแก้วหรือของมีคมโดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาเดินลุยน้ำเน่า เชื้อโรคจะเข้าสู่ร่างกายที่แผล แล้วลุกลามไปยังเซลรอบๆแผล ทำให้เห็นเป็นพื้นที่สีแดง บวม ร้อน รอบๆแผล พื้นที่นี้จะค่อยๆขยายวงกว้างออกไปแบบไฟลามทุ่ง อาจลุกลามไปติดเชื้อในกระแสเลือด ซึ่งอาจจบลงด้วยการเสียชีวิตได้
การวินิจฉัย ใช้วิธีตรวจ (มอง) ดูลักษณะของการเกิดบริเวณปวดบวมแดงที่ขยายตัวออกไปจากแผล
การรักษา ให้ยาฆ่าเชื้อบักเตรีเช่นเพนนิซิลลิน หรือ roxithromycin หรือ pristinamycin
การป้องกัน
1. เมื่อมีบาดแผล ต้องล้างแผลด้วยน้ำก๊อกอย่างทั่วถึงและเขี่ยเอาสิ่งสกปรกออกจากแผลจนแผลสะอาดก่อนที่จะปิดแผล
2. ไม่เกาหรือแกะตุ่ม สิว หรือรอยแมลงกัด เพื่อป้องกันการเกิดแผล
3. เมื่อต้องเดินลุยในน้ำเน่าหรือน้ำครำ ควรใช้อุปกรณ์ป้องกันเช่นรองเท้าบู้ท การเกงพลาสติก เป็นต้น
13. โรคบาดทะยัก
สาเหตุ บักเตรีชื่อ โคลสติเดียม เตตานี ซึ่งมีอยู่ในดิน หรือในมูลสัตว์
การติดต่อ เมื่อเกิดบาดแผลสกปรก เช่นแผลของมีคมบาดขณะลุยน้ำท่วม ตะปูตำ แผลสัตว์กัด งูกัด แมลงกัด เชื้อบาดทะยักจะเข้าสู่ร่างกายทางแผล
การดำเนินของโรคและอาการ เมื่อเชื้อเข้าไปในร่างกายแล้ว จะมีระยะฟักตัว 2 วันถึง 2 เดือน ในระหว่างนี้มันจะแบ่งตัวเพิ่มจำนวนและในที่สุดมันจะผลิตพิษชื่อเตตาโนสปาสมิน ทำให้เกิดอาการเกิดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อทั่วร่างกายจนหายใจไม่ได้และเสียชีวิต โรคนี้จัดเป็นโรคร้ายแรง มีอัตราตาย 48-73%
การวินิจฉัย ตรวจหาพิษ (toxin) ของเชื้อบาดทะยักในกระแสเลือด หรือเพาะเชื้อบาดทะยักจากแผล
การรักษา ล้างและตัดแต่งทำความสะอาดแผลให้พอเพียง ให้ยาฆ่าเชื้อบาดทะยักเช่นยา metronidazole ฉีดเข้าเส้น ร่วมกับให้ซีรั่มแก้พิษบาดทะยัก ให้ยาลดการชักเกร็งกล้ามเนื้อ และช่วยการหายใจให้ร่างกายได้ออกซิเจนพอเพียง
การป้องกัน ฉีดวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยัก ซึ่งคนไทยส่วนใหญ่จะได้วัคซีนครบอย่างน้อยสามเข็มมาแล้วตั้งแต่เป็นเด็กนักเรียน แต่มักขาดการฉีดวัคซีนกระตุ้น ซึ่งปกติต้องฉีดกระตุ้นอีกหนึ่งเข็มทุกๆสิบปี ดังนั้น กรณีที่มีบาดแผล และในสิบปีที่ผ่านมายังไม่เคยฉีดวัคซีนกระตุ้น ควรฉีดวัคซีนกระตุ้นหนึ่งเข็มทันที
14. โรคเครียด
สาเหตุ มีสิ่งเร้าภายนอกเกิดขึ้น แล้วบุคคลสนองตอบต่อสิ่งเร้านั้นในลักษณะที่เกิดความเครียดต่อร่างกายและจิตใจตนเอง
การดำเนินของโรคและอาการ เมื่อเกิดความเครียด จะมีผลกระทบสี่ด้านคือ
(1) ด้านร่างกาย จะมีอาการของความเครียดเช่น ปวดศีรษะ ปวดท้อง เป็นโรคกระเพาะอาหาร หรือท้องเดิน หรือท้องผูก ใจสั่น นอนไม่หลับ อ่อนเปลี้ย
(2) ด้านจิตใจ จะเกิดความวิตกกังวล รู้สึกไม่มั่นคง ขาดความมั่นใจ ซึมเศร้า หงุดหงิด ขี้รำคาญ โกรธง่าย ขาดสมาธิที่จะจดจ่อทำอะไร ให้เป็นชิ้นเป็นอัน หมดพลัง อยากอยู่คนเดียว ไม่อยากยุ่งกับใคร
(3) ด้านพฤติกรรม กินมาก หรือกินไม่ได้ หรือระเบิดอารมณ์ง่ายๆ ติดบุหรี่ ติดแอลกอฮอล์ ติดยากล่อมประสาท ยานอนหลับ หรือชอบร้องไห้บ่อยๆ หรือเข้ากับคนอื่นยาก
(4) ด้านทัศนคติ มีความรู้สึกว่ากุมสภาพหรือควบคุมเรื่องสำคัญไม่ได้ มีความรู้สึกว่ามีเรื่องยากๆกองรออยู่ท่วมไปหมดจนยากที่จะทำได้หมด รู้สึกเศร้าใจที่จัดการเรื่องงานและเรื่องส่วนตัวไม่ได้อย่างใจต้องการ
การวินิจฉัย ใช้แบบประเมินความเครียด ซึ่งเป็นการให้คะแนนใน 20 ประเด็น คือการนอนไม่หลับ ความรู้สึกหงุดหงิดรำคาญ การทำอะไรไม่ได้ ความรู้สึกวุ่นวายใจ การไม่อยากพบปะผู้คน อาการปวดหัวข้างเดียว ความรู้สึกเศร้า ความรู้สึกหมดหวัง ความรู้สึกไร้ค่า ความกระวนกระวาย การไม่มีสมาธิ อาการเพลีย ความเบื่อหน่าย อาการใจสั่น เสียงสั่น ปากสั่น ความกลัวผิดพลาด อาการปวดเกร็งกล้ามเนื้อ อาการตื่นเต้นง่าย อาการมึนงง และการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
การรักษา เริ่มต้นด้วยการจัดการความเครียดด้วยตนเอง ด้วยการ
(1) ค้นหาว่าต้นเหตุของความเครียดคืออะไร แล้วหลีกเลี่ยงได้ถ้าหลีกเลี่ยง ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็ปรับเปลี่ยนต้นเหตุ ถ้าปรับเปลี่ยนไม่ได้ (เช่นน้ำท่วมเกิดขึ้นแล้ว) ก็ปรับใจยอมรับมัน
(2) เพิ่มศักยภาพของตนเองในการเผชิญความเครียด โดยการ
(2.1) ฝึกให้ร่างกายตอบสนองแบบผ่อนคลาย (relaxation response) อย่างสม่ำเสมอทุกวัน จะด้วยวิธีใดก็ได้ เช่น นั่งสมาธิ ฝึกหายใจลึก รำมวยจีน ฝึกโยคะ ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ เป็นต้น
(2.2) ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตไปสู่แนวส่งเสริมสุขภาพ ได้แก่ ข้อหนึ่ง ออกกำลังกายทุกวัน อย่างน้อยวันละ 30 นาที การออกกำลังกายทำให้มีการหลั่งสารเอ็นดอร์ฟินซึ่งเป็นสารต่อต้านความเครียดโดยตรงเข้าสู่กระแสเลือด ข้อสอง รับประทานอาหารให้ถูกต้อง ข้อสาม นอนหลับและพักผ่อนให้เพียงพอ ในการทำงานก็เบรกสั้นๆเพื่อผ่อนคลาย ข้อสี่ ลด ละ เลิกสารกระตุ้นต่างๆ เช่น บุหรี่ แอลกอฮอล์ ยา กาแฟ หรือแม้กระทั่งน้ำตาล
(2.3) การหัวเราะ และการทำตัวเป็นคนมีอารมณ์ขันอยู่เสมอ ทำให้สุขภาพดี และต้านความเครียดได้ชะงัด ถ้าตัวเองไม่มีศักยภาพที่จะหัวเราะเองได้ ก็ควรพยายามใกล้ชิดกับคนที่หัวเราะเก่ง
(2.4) เปลี่ยนกรอบความคิดไปสู่การคิดบวก สื่อสัมพันธ์คบหากับคนที่คิดบวก ถอนตัวเองออกจากปลักของการชิงดีชิงเด่นเอาชนะคะคานหรือเสริมอัตตาของตัวเอง หันมาสนใจการทำอะไรเพื่อคนอื่นให้มากขึ้น
(2.5) หันไปทำเรื่องที่ทำให้เกิดความรื่นเริงบันเทิงใจบ้าง เช่น หาเวลาไปเดินเล่น ไปอยู่กับธรรมชาติ จุดเทียนหอม เขียนบันทึก นอนแช่น้ำนานๆ เล่นกับสัตว์เลี้ยง ทำสวน ดมดอกไม้ อ่านหนังสือดีๆ ไปใช้บริการนวดคลายเครียด ฟังดนตรี ดูหนังตลก เล่นเปียโน เขียนภาพ ถีบจักรยาน ดูดาว เป็นต้น
หากการจัดการความเครียดด้วยตนเองไม่สำเร็จ ควรปรึกษาจิตแพทย์เพื่อรับการรักษา
15. โรคซึมเศร้า
สาเหตุ เกิดขึ้นจากสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้หรือหลายอย่างพร้อมกัน เช่น เหตุการณ์เครียดครั้งใหญ่ในชีวิต ปัญหาชีวิตสมรส ปัญหาการเงิน ปัญหาสุขภาพ ความเหงา และพันธุกรรม
การดำเนินของโรคและอาการ ผู้ป่วยโรคนี้จะอาการต่อไปนี้อย่างน้อยห้าอย่าง คือ (1) มีอารมณ์ซึมเศร้า (2) ไม่สนใจเรื่องใดๆ หรือสิ่งบันเทิงใดๆ (3) น้ำหนักลด หรือน้ำหนักเพิ่มผิดตา (4) นอนไม่หลับ หรือเอาแต่นอนหลับทั้งวัน (5) การเคลื่อนไหวลนลาน หรือเชื่องช้าผิดจากเดิม (6) เปลี้ยล้าหรือหมดพลัง (7) รู้สึกตัวเองไร้ค่า (8) ตั้งสติไม่ได้ คิดอะไรไม่ตก ตัดสินใจอะไรไม่ได้ (9) คิดวนเวียนเรื่องความตาย อยากตาย การฆ่าตัวตาย
การรักษา ควรเริ่มรักษาตัวเองด้วยวิธีเดียวกับการรักษาโรคเครียด ถ้าไม่สำเร็จ ควรปรึกษาจิตแพทย์เพื่อรับการรักษา ซึ่งมักจะมีการใช้ยาต้านซึมเศร้าด้วย ยาในกลุ่มนี้ต้องใช้นาน 3 สัปดาห์ขึ้นไปจึงจะเริ่มเห็นผล
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
โรคที่มากับน้ำท่วมแบ่งใหญ่ๆก็มีอยู่ 5 กลุ่ม
กลุ่มที่ 1. คือโรคที่มากับน้ำจริงๆ (water borne) ที่สำคัญมีอยู่ห้าโรค ได้แก่โรคฉี่หนู ไทฟอยด์ ตับอักเสบจากไวรัสเอ. บิดไม่มีตัว และอหิวาต์ ประเด็นสำคัญคือโรคที่มากับน้ำทั้งหมดนี้มีวิธีป้องกันเหมือนกันหมด ซึ่งมีหลักสำคัญ 5 ข้อ คือ
(1) การสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมของชุมชน เช่นการบำบัดน้ำเสีย การระบายน้ำขัง การกำจัดขยะ เป็นต้น
(2) การจัดหาน้ำสะอาดไว้ดื่ม ดีที่สุดคือการนำน้ำดื่มบรรจุขวดจากนอกแหล่งน้ำท่วมเข้ามาดื่ม ดีรองลงมาคือการต้มน้ำก่อนดื่ม ดีรองลงมาคือการใส่คลอรีนในน้ำที่ทำให้ใสแล้ว
(3) การรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขยันล้างมือ การทานอาหารที่สุกแล้ว เป็นต้น
(4) การกำจัดสัตว์และแมลงพาหะโรค เช่นแมลงวัน แมลงสาบ เพื่อไม่ให้นำสิ่งปนเปื้อนสกปรกมาสู่อาหารหรือน้ำดื่มน้ำใช้
(5) การไม่สัมผัสกับน้ำหรือดินสกปรก ถ้าจำเป็นก็ใช้อุปกรณ์ป้องกัน เช่นถุงมือยาง รองเท้าบู้ท กางเกงพลาสติกกันน้ำก็เข้าท่าดีนะครับ แต่ผมเจอคนที่ใส่บอกว่าใส่แล้วต้องระวังนั่งไม่ได้ ไม่งั้นมันฉีกแคว่ก
กลุ่มที่ 2. คือโรคที่มากับพาหะ (vector borne) ซึ่งพาหะเหล่านี้เพิ่มจำนวนขึ้นเพราะมีน้ำ เช่น ยุง และโรคเจ้าประจำที่ยุงนำมาที่เป็นโรคเอ้ก็มีอยู่สองโรคคือไข้เลือดออก และมาเลเรีย
กลุ่มที่ 3. คือพวกที่เป็นโรคจากการสัมผัสแตะต้อง ซึ่งบางครั้งเป็นกันมากทั้งบ้านทั้งเมืองแต่ไม่ใช่โรคร้ายแรง ที่เด่นๆก็มีอยู่สี่โรค คือ ราน้ำกัดเท้า ผิวหนังอักเสบ ตาแดง และโรคมือเท้าปาก (hand foot mouth)
กลุ่มที่ 4. โรคจากการบาดเจ็บ ที่โดดเด่นมากที่สุดก็คือโรคแผลติดเชื้อแบบไฟลามทุ่ง และโรคร้ายที่ซุ่มเงียบพร้อมจะเกิดขึ้นตลอดเวลาคือโรคบาดทะยัก
กลุ่มที่ 5. เป็นโรคทางใจ ซึ่งมีพบบ่อยที่สุดสองโรคคือโรคเครียด กับโรคซึมเศร้า
เบ็ดเสร็จโหลงโจ้งรวมแล้วก็มีด้วยกัน 15 โรค ซึ่งผมขอจาระไนเฉพาะประเด็นสำคัญของแต่ละโรคดังนี้
1. โรคฉี่หนู (Leptospirosis)
สาเหตุ โรคนี้เกิดบักเตรีชื่อเล็พโตสไปรา มีรูปร่างขดเป็นเกลียว มาจากสัตว์เช่นหนู หรือวัวควาย หรือสุนัข หรือสุกร เป็นเชื้อโรคระดับหัวแข็งทนอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นาน
การติดต่อ โรคนี้ออกจากตัวสัตว์โดยมากับมูลหรือปัสสาวะของสัตว์ ปนเปื้อนบนพื้นดินและในน้ำ แล้วเข้ามาสู่คนทางผิวหนังที่ถลอกหรือเป็นแผลบ้าง บางทีผิวหนังไม่มีแผลอะไรแต่ผิวหนังเปื่อยเพราะแช่น้ำนานๆ เชื้อโรคก็ผ่านเข้ามาได้ บางครั้งก็เข้ามาทางเยื่อเมือกเช่นเยื่อตา ปาก (น้ำและอาหาร) จมูก อวัยวะเพศ หรือบางครั้งไม่ได้ไปลุยน้ำเน่าน้ำครำที่ไหนกับเขาเลย บังเอิญเจอฝอยละอองของน้ำเข้าจังๆเช่นน้ำกระเด็นเป็นฟองใส่ ก็ติดโรคนี้ได้เหมือนกัน บางรายเป็นทารกยังไม่ทันคลอดออกมาเลยก็ติดโรคแล้วจากคุณแม่ที่เป็นโรคนี้อยู่
การดำเนินของโรคและอาการ เมื่อเข้ามาอยู่ในร่างกายคนแล้วเชื้อจะฟักตัวนาน 2-30 วัน ซึ่งเป็นระยะที่เชื้อเข้าไปในกระแสเลือด ไปซุ่มแบ่งตัวที่เซลตับ เมื่อสะสมกำลังพลได้ที่แล้วก็เฮโลกระจายไปในกระแสเลือด ทำให้เกิดอาการไข้สูง ไม่สบาย เรียกว่าเป็นโรคระยะเฉียบพลัน ซึ่งจะเป็นอยู่นาน 1-7 วัน แล้วก็จะเข้าระยะสงบ 1-3 วัน ซึ่งเป็นระยะที่ฝ่ายร่างกายสะสมกำลังรบตั้งหน้าผลิตภูมิคุ้มกันอยู่ จากนั้นก็จะเข้าระยะที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายทำสงครามสู้กับเชื้อโรค ซึ่ง 90% ของผู้ป่วยจะเป็นแบบเบาๆเรียกว่าแบบ “ไม่เหลือง (anicteric)” มีอาการแบบไข้หวัดใหญ่เป็นไข้ปวดเมื่อยตามตัวแล้วก็ค่อยๆซาไป ที่เหลืออีก 10% จะเป็นแบบหนัก เรียกว่าแบบ “เหลือง (icteric)” แบบนี้บางทีเรียกว่าโรคไวล์ตามชื่อคุณหมอไวล์ผู้ค้นพบ จะมีอาการตัวเหลืองตาเหลืองจากตับอักเสบ อาจมีเลือดออกมาทางปัสสาวะจากไตอักเสบ หรืออาจมีผื่นแบบจุดเลือดออกตามผิวหนังและเพดานปากเนื่องจากหลอดเลือดที่ผิวหนังอักเสบ อาจมีตาแดง อาจปวดกล้ามเนื้อโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่น่องจากการอักเสบที่กล้ามเนื้อ อาจมีอาการไอเป็นเลือดและหอบเหนื่อยจากปอดอักเสบ ตัวหลอดเลือดเองอาจรั่วทำให้สูญเสียของเหลวจากระบบไหลเวียนร่วมกับเกล็ดเลือดต่ำ ทำให้เลือดออก และเลือดไหลไม่หยุดจากมีสารช่วยการแข็งตัวของเลือดถูกใช้ไปมาก (DIC) อาจถึงช็อกและเสียชีวิตได้
การวินิจฉัย เจาะเลือดไปตรวจหาภูมิคุ้มกันของโรคฉี่หนู
การรักษา รีบให้ทานยาฆ่าเชื้อภายในไม่เกินวันที่ 5 นับจากเริ่มมีอาการ ยาที่ให้ก็เช่น doxycyclin 100 มก.วันละสองครั้งนาน 7-10 วัน หรือ azithromycin 1 กรัมวันละครั้งนาน 3 วัน เป็นต้น ถ้าเป็นแบบหนักก็ต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาล โรคนี้จัดว่าเป็นโรคร้ายแรงโรคหนึ่ง คือมีอัตราตายได้ตั้งแต่ 5-40%
การป้องกัน ใช้หลักป้องกันโรคที่มากับน้ำ 5 ข้อ ที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น
2. โรคไทฟอยด์ (ไข้รากสาดน้อย)
สาเหตุ เกิดจากเชื้อบักเตรีชื่อซาลโมเนลลา ไทฟี ซึ่งเป็นเชื้อที่มาจากคนเท่านั้น ไม่มีในสัตว์อื่นๆ
การติดต่อ เชื้อมาจากคนที่เป็นพาหะ โดยออกมาทางทางอุจจาระและปัสสาวะ แล้วปนเปื้อนในอาหารหรือน้ำดื่มที่สกปรก หรือติดไปกับมือแล้วเข้าสู่ปากของผู้รับเชื้อ เรียกว่าเป็นเส้นทางจากอุจจาระสู่ปาก (feco–oral route)
การดำเนินของโรคและอาการ เมื่อเชื้อเข้ามาในตัวแล้วจะมีระยะฟักตัว 7-14 วัน แล้วจะเริ่มมีไข้แบบสูงขึ้นๆ หนาวสั่น ไม่สบาย ปวดท้อง กดท้องแล้วเจ็บ ท้องผูก ปวดหัว มึนงงสับสน บางครั้งบักเตรีไปตามกระแสเลือดไปเกิดเป็นกลุ่มของจุดสีแดงรูปกลีบกุหลาบเล็กๆอยู่ตามผิวหนัง ยิ่งป่วยนานไปหลายสัปดาห์อาการยิ่งทรุด มีอาการหลายระบบ ทั้ง ท้องเสีย ปอดบวม มีอาการได้ทั้งทางหัวใจ กล้ามเนื้อ ข้อ สมองและประสาท เป็นต้น หรือบางทีก็มีอาการแปลกๆอื่นๆที่คาดไม่ถึง
การวินิจฉัย เจาะเลือดไปตรวจหาภูมิคุ้มกันของโรค (Widal test) หรือนำเลือดไปเพาะหาเชื้อไทฟอยด์
การรักษา ให้ยาฆ่าเชื้อตามผลการตรวจความไวของเชื้อ กรณีที่ยังไม่ทราบผลการตรวจความไวของเชื้ออาจให้ยาฆ่าเชื้อแบบเหวี่ยงแหคลุมไปก่อน เช่นยากิน azithromycin หรือ cefixime หรือยาฉีด ceftriaxone เป็นต้น โรคไทฟอยด์ ถ้าได้รับการรักษาจะมีมีอัตราตายเพียง 0.2% แต่ถ้าไม่ได้รับการรักษาจะมีอัตราตายได้ถึง 9-13%
การป้องกัน ใช้หลักป้องกันโรคที่มากับน้ำ 5 ข้อ ที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น
3. โรคตับอักเสบไวรัสเอ.
สาเหตุ เชื้อไวรัสตับอักเสบเอ. ซึ่งเป็นกลุ่มเอ็นเตอโรไวรัส
การติดต่อ เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์เชื้อโรคนี้มากับอุจจาระของคนด้วยกัน แล้วอุจจาระนั้นปนเปื้อนมากับอาหารหรือน้ำดื่มหรือมือที่จับสิ่งสกปรกแล้วไม่ได้ล้าง เช่นเปลี่ยนผ้าอ้อม หรือทำกิจกรรมทางเพศ (ใช้มือสัมผัสอุจจาระ) แล้วมาเข้าปาก เชื้อนี้มีชีวิตอยู่ในดิน หรือในน้ำได้นานหลายเดือน เป็นเชื้อหัวแข็ง ทนแห้ง อยู่ได้แม้ในอุจจาระแห้งๆ แต่ไม่ทนความร้อน คือทนได้เพียง 56 องศาเซลเซียส ขณะที่ทนความเย็นได้ถึง -20 องศา
การดำเนินของโรคและอาการ เมื่อเข้ามาสู่ร่างกายแล้ว มีระยะฟักตัว 2-6 สัปดาห์ โดยเชื้อจะเข้าไปในเซลตับแล้วก็จะอาศัยเซลตับปั๊มลูกหลานตัวเองออกมาขยายจำนวนไปโจมตีเซลตับอื่นๆอีกจนตับเสียหาย และเริ่มมีอาการนำให้เห็น คือมีอาการแบบไข้หวัดใหญ่คือไข้ๆต่ำๆ ไม่สบาย ปวดหัว ปวดเมื่อยตามตัว คลื่นไส้ อาเจียน บางรายก็ปวดท้องเหมือนไส้ติ่ง จากนั้นก็เข้าระยะคัน (icteric phase) อันสืบเนื่องจากตับอักเสบ คือมีตัวเหลือง ตาเหลือง ปัสสาวะเหลือง คันตามผิวหนัง ท้องเสีย น้ำหนักลด อาจมีปวดข้อ และมีผื่นแบบหลอดเลือดฝอยอักเสบขึ้นตามผิวหนัง จากนั้นอาการจะค่อยๆดีขึ้นจนหาย แต่มีคนไข้ส่วนหนึ่งจำนวนไม่มากนักที่อาจมีภาวะแทรกซ้อนเช่นไตวาย ลำไส้อักเสบ ตับอ่อนอักเสบ ไขกระดูกไม่ทำงาน หัวใจเต้นผิดจังหวะ เส้นประสาทอักเสบ เป็นต้น ถ้าเป็นคนสูงอายุ ส่วนหนึ่ง (ประมาณ 3-20%) จะกลับวนมาเข้าระยะเป็นซ้ำ (relapse phase) คือกลับมามีอาการแบบเดิมได้อีกรอบหนึ่งหรือหลายๆรอบกลายเป็นโรคแบบเรื้อรังไป
การวินิจฉัย เจาะเลือดตรวจดูภูมิคุ้มกันไวรัสตับอักเสบเอ. (anti HAV)
การรักษา โรคนี้ไม่มีวิธีรักษาด้วยการทำลายเชื้อโดยตรง ได้แต่ช่วยประคับประคองร่างกายให้อยู่ได้ เช่น ถ้าอาเจียนหรือท้องเสียจนสูญเสียน้ำมากก็อาจจะต้องนอนโรงพยาบาลให้น้ำเกลือ เป็นต้น แต่การให้นอนพักให้มากยังไม่มีหลักฐานว่าจะช่วยให้หายจากโรคนี้เร็วขึ้นจริงหรือไม่ โรคนี้จัดเป็นโรคที่ไม่รุนแรง มีอัตราตายในระดับต่ำกว่า 1-2% กล่าวคือถ้าเป็นในคนทั่วไปจะมีอัตราตายต่ำเพียง 4 ใน 1000 แต่ถ้าเป็นในผู้สูงอายุเกิน 50 ปีขึ้นไปจะมีอัตราตายสูงขึ้นได้ถึง 17.5 ใน 1,000
การปัองกัน นอกจากใช้หลักป้องกันโรคที่มากับน้ำ 5 ข้อ ที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้นแล้ว โรคนี้ยังมีประเด็นสำคัญในแง่ของการป้องกันอยู่สามประเด็น คือ
(1) ถ้ามีความเสี่ยงว่าจะเป็นโรคนี้ เช่นมีคนใกล้ชิดเป็น หรือต้องไปอยู่ในที่แออัดยัดเยียดเช่นศูนย์พักพิง ควรรีบฉีดวัคซีนป้องกัน เพราะวัคซีนช่วยป้องกันโรคนี้ได้ค่อนข้างดีถึง 80-100%
(2) หากเป็นโรคนี้ในระยะสองสามสัปดาห์แรกจะแพร่โรคได้ง่ายมาก ควรหยุดงานหรือกักตัวเองสักพัก
(3) เมื่อสงสัยว่าจะเป็นโรคนี้ ควรงดยาแก้ปวดลดไข้พาราเซ็ตตามอลทันที เพราะยานี้มีพิษต่อเซลตับ ถ้าตับอักเสบด้วย กินยานี้เข้าไปด้วย โอกาสที่ตับจะมีปัญหาแบบถาวรจะมากเป็นทวีคูณ นอกจากยาพาราเซ็ตตามอลแล้วแอลกอฮอล์และยาหรือสารพิษต่อตับอื่นๆเช่นยาลดไขมันก็ต้องหลีกเลี่ยงด้วย
4. โรคอหิวาต์
สาเหตุ เชื้อบักเตรีชื่อวิบริโอ โคเลร่า มีอยู่สองสายพันธ์คือพวก O1 หรือ O139 ซึ่งระบาดรวดเร็วและรุนแรง กับพวกที่ไม่ใช่ O1 หรือ O139 ซึ่งมีอาการน้อยและไม่ถึงกับเป็นโรคระบาดรุนแรง เชื่อนี้ชอบอาศัยอยู่ในตัวคนที่เป็นพาหะ และอยู่ในน้ำเน่าเสีย
การติดต่อ โดยการกินเชื้อที่มักมากับน้ำหรืออาหารที่สกปรกเข้าไป มักเกิดในกรณีวิบัติภัยต่างๆที่น้ำดื่มสะอาดหายาก
การดำเนินของโรคและอาการ เชื้อนี้เมื่อกินเชื้อเข้าไปแล้ว มีระยะฟักตัวสั้นมาก ตั้งแต่ 2 ชั่วโมงถึงห้าวัน แต่คนที่ได้รับเชื้อแล้ว 75% จะไม่ป่วย มีเพียง 25% ที่ป่วย คือเชื้อโรคจะไปแบ่งตัวในสำไส้จนเกิดอาการท้องร่วงถ่ายเหลวเป็นน้ำโกร๊กอย่างเฉียบพลัน ถ้ารักษาด้วยการให้น้ำทดแทนไม่ทันก็อาจถึงตายได้ ทั่วโลกมีคนตายเพราะโรคนี้เป็นแสนทุกปี ยิ่งสกปรก ยากจน ขาดอาหาร ร่างกายทรุดโทรม และลงมือรักษาช้า ยิ่งมีอัตราตายมาก กรณีที่ได้รับการรักษารวดเร็ว โรคนี้มีอัตราตายต่ำมากจนเกือบเป็นศูนย์ แต่ในอดีตซึ่งผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษา โรคนี้เป็นโรคที่มีอัตราตายได้สูงถึง 50-60%
การวินิจฉัย นำอุจจาระไปเพาะหาเชื้ออหิวาต์
การรักษา โรคนี้รักษาง่ายด้วยการดื่มน้ำเกลือโออาร์เอส.อย่างเดียวก็หายได้ 80% เฉพาะรายที่สูญเสียน้ำระดับรุนแรงเท่านั้นที่ต้องให้น้ำเกลือทางหลอดเลือดดำร่วมกับการให้ยาฆ่าเชื้อเช่น azithromycin หรือ ciprofloxacin
การป้องกัน ใช้หลักป้องกันโรคที่มากับน้ำ 5 ข้อ ที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น การให้วัคซีนชนิดกินป้องกันอหิวาต์มักสงวนไว้ใช้เฉพาะเมื่อมีการระบาดแล้วเพราะภูมิคุ้มกันที่ได้จากวัคซีนจะคงอยู่ไม่นาน คือคงอยู่ประมาณ 4-6 เดือนเท่านั้น
5. โรคบิดชนิดไม่มีตัว (shigellosis)
สาเหตุ เชื้อบักเตรีชิเกลลา
การติดต่อ เชื้อโรคนี้มาสู่ตัวเราโดยการกินสิ่งปนเปื้อนอุจจาระของผู้ป่วยหรือผู้เป็นพาหะ การติดเชื้อสามารถเกิดขึ้นได้เพียงแต่กินเชื้อเข้าไปจำนวนไม่กี่ตัว การติดเชื้ออาจเกิดจากการไม่ได้ล้างมือ หรือเกิดจากสัตว์เช่น แมลงสาบ และแมลงวันเป็นตัวนำเชื้อมาสู่อาหารและน้ำดื่ม
การดำเนินของโรคและอาการ เชื้อนี้มีระยะฟักตัว 1-7 วัน โดยมันจะไปขยายจำนวนที่ลำไส้ใหญ่ และลำไส้เล็ก แล้วทำให้มีอาการท้องเสียร่วมกับอาการไข้สูง คลื่นไส้ อาเจียน ตะคริว และปวดเบ่งเวลาถ่ายอุจจาระ ในเด็กอาจพบอาการชัก อาจถ่ายอุจจาระเป็นเลือด มูก หรือหนอง ซึ่งเป็นผลมาจากการแตกของฝีเล็ก ๆ ที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้มุดผ่านเยื่อบุลำไส้ เข้าไปก่อฝีในชั้น lamina propria ของลำไส้ใหญ่ นอกจากนั้นเชื้อนี้ยังปล่อยสารพิษ enterotoxin ทำให้อุจจาระเหลวเป็นน้ำ ร่วมกับอาเจียน ส่วนใหญ่เป็นอยู่ 4-7 วันก็หาย แต่ถ้าเจอเชื้อสายพันธุ์ที่สร้างพิษมากเช่น Shigella dysenteriae ก็อาจมีอาการรุนแรงและมีอัตราตายได้ถึง 20% ยิ่งผู้ป่วยอายุน้อยเช่นเด็กเล็กก็ยิ่งเสียชีวิตง่าย
การวินิจฉัย ใช้วิธีนำอุจจาระหรือเอาสำลีพันปลายไม้ป้ายอุจจาระที่ทวารหนัก (rectal swab) ไปเพาะหาเชื้อ
การรักษา ส่วนสำคัญที่สุดของการรักษาคือการให้น้ำเกลือโออาร์เอส.ดื่มทดแทนการสูญเสียน้ำและสารเกลือแร่ การให้ยาปฏิชีวนะที่จำเพาะกับเชื้อที่เพาะได้ (เช่น Norfloxacin) ก็ช่วยลดเวลาการป่วยได้
การป้องกัน ใช้หลักป้องกันโรคที่มากับน้ำ 5 ข้อ ที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น
6. โรคไข้เลือดออก
สาเหตุ เชื้อไวรัสเดงกี ซึ่งมีสี่สายพันธ์
การติดต่อ เป็นโรคที่ติดต่อจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่งโดยมีพาหะคือยุงลายซึ่งเกิดจากลูกน้ำในน้ำใสที่ขังตามภาชนะรอบบ้าน เมื่อโตเป็นตัวยุงแล้วก็ชอบมาอาศัยอยู่ในบ้านคน
การดำเนินของโรคและอาการ เมื่อเชื้อเข้ามาสู่ตัวคนแล้วจะมีระยะฟักตัว 3-14 วัน จากนั้นจึงเข้าระยะเป็นไข้สูงอยู่นาน 2-7 วันจากปฏิกริยาที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายพยายามกำจัดเชื้อ อาจชักเพราะไข้สูง อาจมีจุดเลือดออกตามตัว มีตับโตเนื่องจากเกิดการอักเสบที่ตับ แล้วเมื่อไข้เริ่มจะลงก็เข้าสู่ระยะช็อก จากการที่ผนังหลอดเลือดที่เกิดการอักเสบจนปล่อยให้สารน้ำในหลอดเลือดรั่วออกไปนอกหลอดเลือด ทำให้เลือดข้นขึ้นแต่ปริมาตรเลือดลดลงจนไม่พอไหลเวียน ผู้ป่วยจะมีอาการซึม เหงื่อออก มือเท้าเย็น ไม่ถ่ายปัสสาวะ ชีพจรเบาและเร็ว อาจมีเลือดออกง่าย ถ้าเป็นมากก็ช็อกจนเสียชีวิตได้ ระยะนี้จะนาน 1-2 วัน เมื่อผ่านไปได้ก็จะเข้าระยะพักฟื้น คือค่อยๆดีขึ้นจนหายเป็นปกติ โรคนี้มีอัตราตายต่ำกว่า 1% แต่ถ้ามีอาการช็อกจะมีอัตราตายสูงถึง 12-44%
การวินิจฉัย เจาะเลือดตรวจหาภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไข้เลือดออก หรือตรวจหาตัว (antigen) เชื้อไข้เลือดออก
การรักษา ไม่มีวิธีฆ่าเชื้อไวรัสเดงกีโดยตรง การรักษาจึงมุ่งไปที่การลดไข้ด้วยยาพาราเซตตามอล (ไม่ใช้แอสไพรินเพราะจะทำให้เลือดออกมากขึ้น) การให้ดื่มน้ำเกลือโออาร์เอส.หรือน้ำผลไม้เพื่อเพิ่มปริมาณของเหลวที่ไหลเวียนในหลอดเลือด ถ้ามีอาการช็อก (ซึม ปัสสาวะน้อย กระสับกระส่าย มือเท้าเย็น) ต้องรีบให้สารน้ำและเกลือแร่ทดแทนทางหลอดเลือด
การป้องกัน ป้องกันไม่ให้ยุงกัดโดยการกางมุ้งนอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากนอนหลับตอนกลางวัน เปลี่ยนหรือทำลายแหล่งน้ำทีเพาะพันธ์ยุงรอบๆบ้านเช่นน้ำท่วมขังตามเศษภาชนะ และในบ้านเช่นแจกัน จานรองขาตู้กับข้าว โดยทำลายทุก 7วัน (เพราะวงจรชีวิตของลูกน้ำยุงลายต้องอาศัยน้ำมากกว่า 7 วัน) หรือไม่ก็ใส่เกลือหรือน้ำส้มสายชูลงในจานรองขาตู้กับข้าว
7. โรคมาลาเรีย
สาเหตุ เชื้อปาราสิตชนิดหนึ่งชื่อพลาสโมเดียม ซึ่งมีอยู่สี่ชนิด
การติดต่อ เชื้ออยู่ในยุงก้นปล่อง (เพราะเวลากัดคนมันจะกระดกก้นชี้ขึ้นเหมือนปล่องไฟ) ซึ่งเป็นยุงที่อยู่ตามป่า ชอบออกหากินพลบค่ำ กลางคืนไปจนถึงเช้ามืด เมื่อถูกยุงนี้กัด เชื้อมาลาเรียก็จะเข้ามาสู่กระแสเลือด
การดำเนินของโรคและอาการ เมื่อได้รับเชื้อจากยุงแล้ว มีระยะฟักตัว 7-14 วัน โดยเชื้อจะมุดเข้าไปเติบโตในเซลเม็ดเลือดหรือเซลตับ ถึงจุดหนึ่งก็ทำให้เซลเม็ดเลือดและเซลตับแตกเป็นจำนวนมากจนมีอาการหนาวสั่นแล้วเป็นไข้แล้วเหงื่อแตก โดยเป็นในช่วงเวลาแน่นอน เช่น วันละครั้งบ้าง วันเว้นวันบ้าง วันเว้นสองวันบ้าง ในรายที่รุนแรงอาจมีภาวะแทรกซ้อนเช่นโลหิตจาง ไตวาย มีอาการทางสมอง เป็นต้น
การวินิจฉัย เจาะเลือดไปส่องกล้องจุลทรรศน์ดูตัวเชื้อมาลาเรียในเม็ดเลือด
การรักษา ใช้ยาฆ่าเชื้อมาลาเรีย ซึ่งต้องเลือดชนิดยาให้จำเพาะกับชนิดของเชื้อ เช่นยา คลอโรควิน (ถ้าเชื้อยังไม่ดื้อ) ด๊อกซี่ไซคลิน อารติมิสินิน เป็นต้น มาลาเรียจัดเป็นโรคร้าย ในรายรุนแรงมีอัตราตายได้ถึง 20%
การป้องกัน หลีกเลี่ยงการเข้าไปในถิ่นที่มีโรคมาลาเรียอยู่ ซึ่งยังมีอยู่ทั่วไปในประเทศไทย รวมทั้งที่ไม่ไกลจากกรุงเทพ เช่นบางตำบลของอำเภอแก่งคอย จ.สระบุรี เป็นต้น ในกรณีที่อยู่อาศัยหรือจำเป็นต้องเข้าไปในถิ่นที่มีโรคมาลาเรีย ควรป้องกันไม่ให้ยุงกัด โดย
(1) ใช้ยาทาผิวหนังกันยุง ยาที่งานวิจัยพบว่าทากันยุงได้จริงนั้นคือยาที่มีส่วนผสมของสาร DEET (N, N dimethyl-m-toluamide) โดยเลือกยี่ห้อที่มีความเข้มข้นของ DEET สูง คือถ้าสูงถึง 35% จะกันยุงได้นาน 4-6 ชม. ถ้าเข้มข้นถึง 100% จะกันยุงได้นาน 10 ชม.
(2) สวมเสื้อผ้าให้มิดชิด
(3) นอนกางมุ้ง หรือในบ้านที่มีมุ้งลวด
(4) หลีกเลี่ยงการเดินทางช่วงที่ยุงก้นปล่องออกหากิน คือพลบค่ำ กลางคืน ไปจนถึงเช้ามืด
8. โรคราน้ำกัดเท้า
สาเหตุ เชื้อราในกลุ่ม Dermatophytes
การติดต่อ เชื้อราซึ่งมีอยู่ทั่วไปมาเกาะบริเวณผิวหนังของเท้าที่ชื้นแฉะและเปื่อยยุ่ย
การดำเนินของโรคและอาการ เมื่อเท้าแช่น้ำหรือย่ำน้ำบ่อยๆนานๆ หนังกำพร้าของเท้าจะหยุดลอก เปื่อยยุ่ย กลายเป็นอาหารสำหรับเชื้อรา ทำให้เชื่อราที่มีอยู่ทั่วไปทั้งในน้ำ ในดิน ในอากาศ มาเจริญเติบโตที่ผิวหนังของเท้า โดยเฉพาะที่ง่ามนิ้ว หลังเท้า และฝ่าเท้า ทำให้ผิวหนังกลายเป็นขุยขาวๆ ต่อมาก็เป็นร่องแตกเป็นแผล เจ็บ และมีกลิ่นเหม็น
การวินิจฉัย ขูดเอาผิวหนังที่เป็นขุยไปตรวจด้วยกล้องจะพบเชื้อรา
การรักษา ทายาฆ่าเชื้อรา เช่น miconazole ร่วมกับรักษาเท้าให้แห้งอยู่เสมอ
การป้องกัน หลีกเลี่ยงการย่ำหรือแช่เท้าอยู่ในน้ำนานๆ ถ้าจำเป็นต้องย่ำน้ำให้ใช้อุปกรณ์ป้องกันเช่นรองเท้าบู้ท และเมื่อขึ้นจากน้ำแล้วต้องรีบล้างเท้าและเช็ดให้แห้ง
9. โรคผิวหนังอักเสบ
สาเหตุ สิ่งระคายเคือง เช่นสารเคมีในน้ำ
การดำเนินของโรคและอาการ เมื่อผิวหนังของเท้า หรือของมือ ต้องสัมผัสกับสารระคายเคือง เช่นสารเคมีที่อยู่ในน้ำเน่าเสีย จะเกิดการอักเสบของผิวหนัง มีตุ่มน้ำผสมกับปื้นแดงบนผิวหนัง มีอาการคัน เมื่อเกา ก็จะเกิดผิวหนังหนาตัวขึ้นจากการเกา
การรักษา ทาด้วยสะเตียรอยด์ครีม เช่นเบตาเมตาโซนครีม เป็นต้น
การป้องกัน หลีกเลี่ยงการสัมผัสถูกต้องน้ำเน่าหรือสารเคมี ถ้าจำเป็นต้องสัมผัส ให้ใช้อุปกรณ์ป้องกันเช่นถุงมือยาง รองเท้าบูท กางเกงพลาสติก เป็นต้น
10. โรคตาแดง (Conjunctivitis)
สาเหตุ เชื้อไวรัสชนิดอะดีโนไวรัส
การติดต่อ เชื้อจากผู้ป่วย จะผ่านมาทางการคลุกคลีใกล้ชิด ใช้ของร่วมกันเช่นเสื้อผ้า หรือมีสิ่งสกปรกเช่นฝุ่นละอองหรือน้ำสกปรกกระเด็นเข้าตา หรือแมงหวี่ตอมตา หรือไม่ได้รักษาความสะอาดของมือทำให้มือนำเชื้อจากสิ่งสกปรกมาเข้าตา
การดำเนินของโรคและอาการ เมื่อรับเชื้อมาแล้วจะมีระยะฟักตัว 12 ชม.ถึง 3 วัน หลังจากนั้นจึงจะเริ่มมีอาการตาแดง เคืองตา น้ำตาไหล เจ็บตา มีขี้ตามาก มักเป็นนาน 5-14 วัน
การรักษา ไม่มียาที่จะฆ่าเชื้อไวรัสตาแดงได้โดยตรง การรักษาเป็นการบรรเทาอาการ เช่นลดการใช้สายตา หรือแม้กระทั่งปิดตาหากแสบตาหรือแพ้แสงมาก ถ้ามีขี้ตามากซึ่งบ่งบอกว่าอาจมีการติดเชื้อบักเตรีก็อาจใช้ยาหยอดหรือยาป้ายตาที่มีส่วนผสมของยาฆ่าเชื้อบักเตรี
การป้องกัน
1. ล้างมือบ่อยๆ โดยเฉพาะหลังจากจับหยิบหรือแตะต้องสิ่งสกปรก
2. เข้มงวดเรื่องสุขศาสตร์ส่วนบุคคล ดูแลรักษาเสื้อผ้าและของใช้ให้สะอาด และแห้งอยู่เสมอ
3. หากมีฝุ่น หรือน้ำกระเด็นเข้าตา ควรล้างตาด้วยน้ำก๊อกที่สะอาดมากๆทันที
4. เมื่อเป็นตาแดง ควรหยุดงานและหลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้อื่นเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อให้ผู้อื่น
11. โรคมือเท้าปาก
สาเหตุ เชื้อไวรัสในกลุ่มคอกแซกกี้ และเอ็นเตอโรไวรัส
การติดต่อ โรคนี้เป็นกับเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ เชื้อเข้าสู่ร่างกายโดยการกินเข้าปาก ซึ่งเชื้ออาจจะมากับมือที่เปื้อนน้ำมูก น้ำลาย อุจจาระ ของคนเป็นโรค หรือมากับสิ่งสกปรกเช่นน้ำเน่า หรืออาจจะมากับฝอยละอองของการไอจามผ่านมาทางอากาศ
การดำเนินของโรคและอาการ เชื้อจะเข้าสู่ร่างกายทางเยื่อบุของคอหอยและลำไส้ มีระยะฟักตัว 3-5 วัน แล้วจะไปแบ่งตัวเพิ่มจำนวนที่ต่อมทอนซิลและต่อมน้ำเหลืองที่ลำไส้ จนก่อให้เกิดอาการมีไข้ มีผื่น หรือตุ่มน้ำพอง รวมทั้งที่มือ เท้า และปาก แล้วเชื้อส่วนหนึ่งจะออกไปกับอุจจาระ ส่วนใหญ่โรคนี้จะหายเองภายใน 3-6 วัน แต่มีส่วนน้อย ไม่ถึง 1% ที่มีโรคแทรกซ้อนรุนแรงเช่นปอดอักเสบ สมองอักเสบ เยื่อหัวใจอักเสบ และเสียชีวิต
การวินิจฉัย นำอุจจาระ หรือน้ำจากตุ่มพุพอง หรือเมือกในคอ ไปเพาะดูเชื้อไวรัส
การรักษา ไม่มียารักษาโดยตรง รักษาแบบประคับประคองตามอาการที่มี
การป้องกัน
1. ดูแลเรื่องสุขศาสตร์ส่วนบุคคล เช่นการล้างมือบ่อยๆ การไม่ใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกัน รวมทั้งช้อนและซ่อมด้วย
2. หลีกเลี่ยงสิ่งสกปรกเช่นขยะ น้ำเน่า
3. ไม่คลุกคลีกับผู้ป่วย ไม่นำเด็กไปในที่ที่มีคนอยู่เป็นจำนวนมาก
4. กรณีเด็กป่วยเป็นโรคนี้ ควรหยุดเรียนอยู่กับบ้านจนหาย
12. โรคแผลติดเชื้อแบบไฟลามทุ่ง
สาเหตุ เชื้อบักเตรี โดยเฉพาะอย่างยิ่งบักเตรีในกลุ่มสะเตร็พโตคอคคัส
การดำเนินของโรคและอาการ มักจะเริ่มจากการมีแผลก่อน บางครั้งเป็นแผลเล็กๆเช่นแผลแมลงกัด บางครั้งแผลต้นกำเนิดเล็กหรือปิดไปแล้วจึงมองหาไม่เห็น บางครั้งเป็นแผลที่เกิดจากการเหยียบเศษแก้วหรือของมีคมโดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาเดินลุยน้ำเน่า เชื้อโรคจะเข้าสู่ร่างกายที่แผล แล้วลุกลามไปยังเซลรอบๆแผล ทำให้เห็นเป็นพื้นที่สีแดง บวม ร้อน รอบๆแผล พื้นที่นี้จะค่อยๆขยายวงกว้างออกไปแบบไฟลามทุ่ง อาจลุกลามไปติดเชื้อในกระแสเลือด ซึ่งอาจจบลงด้วยการเสียชีวิตได้
การวินิจฉัย ใช้วิธีตรวจ (มอง) ดูลักษณะของการเกิดบริเวณปวดบวมแดงที่ขยายตัวออกไปจากแผล
การรักษา ให้ยาฆ่าเชื้อบักเตรีเช่นเพนนิซิลลิน หรือ roxithromycin หรือ pristinamycin
การป้องกัน
1. เมื่อมีบาดแผล ต้องล้างแผลด้วยน้ำก๊อกอย่างทั่วถึงและเขี่ยเอาสิ่งสกปรกออกจากแผลจนแผลสะอาดก่อนที่จะปิดแผล
2. ไม่เกาหรือแกะตุ่ม สิว หรือรอยแมลงกัด เพื่อป้องกันการเกิดแผล
3. เมื่อต้องเดินลุยในน้ำเน่าหรือน้ำครำ ควรใช้อุปกรณ์ป้องกันเช่นรองเท้าบู้ท การเกงพลาสติก เป็นต้น
13. โรคบาดทะยัก
สาเหตุ บักเตรีชื่อ โคลสติเดียม เตตานี ซึ่งมีอยู่ในดิน หรือในมูลสัตว์
การติดต่อ เมื่อเกิดบาดแผลสกปรก เช่นแผลของมีคมบาดขณะลุยน้ำท่วม ตะปูตำ แผลสัตว์กัด งูกัด แมลงกัด เชื้อบาดทะยักจะเข้าสู่ร่างกายทางแผล
การดำเนินของโรคและอาการ เมื่อเชื้อเข้าไปในร่างกายแล้ว จะมีระยะฟักตัว 2 วันถึง 2 เดือน ในระหว่างนี้มันจะแบ่งตัวเพิ่มจำนวนและในที่สุดมันจะผลิตพิษชื่อเตตาโนสปาสมิน ทำให้เกิดอาการเกิดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อทั่วร่างกายจนหายใจไม่ได้และเสียชีวิต โรคนี้จัดเป็นโรคร้ายแรง มีอัตราตาย 48-73%
การวินิจฉัย ตรวจหาพิษ (toxin) ของเชื้อบาดทะยักในกระแสเลือด หรือเพาะเชื้อบาดทะยักจากแผล
การรักษา ล้างและตัดแต่งทำความสะอาดแผลให้พอเพียง ให้ยาฆ่าเชื้อบาดทะยักเช่นยา metronidazole ฉีดเข้าเส้น ร่วมกับให้ซีรั่มแก้พิษบาดทะยัก ให้ยาลดการชักเกร็งกล้ามเนื้อ และช่วยการหายใจให้ร่างกายได้ออกซิเจนพอเพียง
การป้องกัน ฉีดวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยัก ซึ่งคนไทยส่วนใหญ่จะได้วัคซีนครบอย่างน้อยสามเข็มมาแล้วตั้งแต่เป็นเด็กนักเรียน แต่มักขาดการฉีดวัคซีนกระตุ้น ซึ่งปกติต้องฉีดกระตุ้นอีกหนึ่งเข็มทุกๆสิบปี ดังนั้น กรณีที่มีบาดแผล และในสิบปีที่ผ่านมายังไม่เคยฉีดวัคซีนกระตุ้น ควรฉีดวัคซีนกระตุ้นหนึ่งเข็มทันที
14. โรคเครียด
สาเหตุ มีสิ่งเร้าภายนอกเกิดขึ้น แล้วบุคคลสนองตอบต่อสิ่งเร้านั้นในลักษณะที่เกิดความเครียดต่อร่างกายและจิตใจตนเอง
การดำเนินของโรคและอาการ เมื่อเกิดความเครียด จะมีผลกระทบสี่ด้านคือ
(1) ด้านร่างกาย จะมีอาการของความเครียดเช่น ปวดศีรษะ ปวดท้อง เป็นโรคกระเพาะอาหาร หรือท้องเดิน หรือท้องผูก ใจสั่น นอนไม่หลับ อ่อนเปลี้ย
(2) ด้านจิตใจ จะเกิดความวิตกกังวล รู้สึกไม่มั่นคง ขาดความมั่นใจ ซึมเศร้า หงุดหงิด ขี้รำคาญ โกรธง่าย ขาดสมาธิที่จะจดจ่อทำอะไร ให้เป็นชิ้นเป็นอัน หมดพลัง อยากอยู่คนเดียว ไม่อยากยุ่งกับใคร
(3) ด้านพฤติกรรม กินมาก หรือกินไม่ได้ หรือระเบิดอารมณ์ง่ายๆ ติดบุหรี่ ติดแอลกอฮอล์ ติดยากล่อมประสาท ยานอนหลับ หรือชอบร้องไห้บ่อยๆ หรือเข้ากับคนอื่นยาก
(4) ด้านทัศนคติ มีความรู้สึกว่ากุมสภาพหรือควบคุมเรื่องสำคัญไม่ได้ มีความรู้สึกว่ามีเรื่องยากๆกองรออยู่ท่วมไปหมดจนยากที่จะทำได้หมด รู้สึกเศร้าใจที่จัดการเรื่องงานและเรื่องส่วนตัวไม่ได้อย่างใจต้องการ
การวินิจฉัย ใช้แบบประเมินความเครียด ซึ่งเป็นการให้คะแนนใน 20 ประเด็น คือการนอนไม่หลับ ความรู้สึกหงุดหงิดรำคาญ การทำอะไรไม่ได้ ความรู้สึกวุ่นวายใจ การไม่อยากพบปะผู้คน อาการปวดหัวข้างเดียว ความรู้สึกเศร้า ความรู้สึกหมดหวัง ความรู้สึกไร้ค่า ความกระวนกระวาย การไม่มีสมาธิ อาการเพลีย ความเบื่อหน่าย อาการใจสั่น เสียงสั่น ปากสั่น ความกลัวผิดพลาด อาการปวดเกร็งกล้ามเนื้อ อาการตื่นเต้นง่าย อาการมึนงง และการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
การรักษา เริ่มต้นด้วยการจัดการความเครียดด้วยตนเอง ด้วยการ
(1) ค้นหาว่าต้นเหตุของความเครียดคืออะไร แล้วหลีกเลี่ยงได้ถ้าหลีกเลี่ยง ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็ปรับเปลี่ยนต้นเหตุ ถ้าปรับเปลี่ยนไม่ได้ (เช่นน้ำท่วมเกิดขึ้นแล้ว) ก็ปรับใจยอมรับมัน
(2) เพิ่มศักยภาพของตนเองในการเผชิญความเครียด โดยการ
(2.1) ฝึกให้ร่างกายตอบสนองแบบผ่อนคลาย (relaxation response) อย่างสม่ำเสมอทุกวัน จะด้วยวิธีใดก็ได้ เช่น นั่งสมาธิ ฝึกหายใจลึก รำมวยจีน ฝึกโยคะ ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ เป็นต้น
(2.2) ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตไปสู่แนวส่งเสริมสุขภาพ ได้แก่ ข้อหนึ่ง ออกกำลังกายทุกวัน อย่างน้อยวันละ 30 นาที การออกกำลังกายทำให้มีการหลั่งสารเอ็นดอร์ฟินซึ่งเป็นสารต่อต้านความเครียดโดยตรงเข้าสู่กระแสเลือด ข้อสอง รับประทานอาหารให้ถูกต้อง ข้อสาม นอนหลับและพักผ่อนให้เพียงพอ ในการทำงานก็เบรกสั้นๆเพื่อผ่อนคลาย ข้อสี่ ลด ละ เลิกสารกระตุ้นต่างๆ เช่น บุหรี่ แอลกอฮอล์ ยา กาแฟ หรือแม้กระทั่งน้ำตาล
(2.3) การหัวเราะ และการทำตัวเป็นคนมีอารมณ์ขันอยู่เสมอ ทำให้สุขภาพดี และต้านความเครียดได้ชะงัด ถ้าตัวเองไม่มีศักยภาพที่จะหัวเราะเองได้ ก็ควรพยายามใกล้ชิดกับคนที่หัวเราะเก่ง
(2.4) เปลี่ยนกรอบความคิดไปสู่การคิดบวก สื่อสัมพันธ์คบหากับคนที่คิดบวก ถอนตัวเองออกจากปลักของการชิงดีชิงเด่นเอาชนะคะคานหรือเสริมอัตตาของตัวเอง หันมาสนใจการทำอะไรเพื่อคนอื่นให้มากขึ้น
(2.5) หันไปทำเรื่องที่ทำให้เกิดความรื่นเริงบันเทิงใจบ้าง เช่น หาเวลาไปเดินเล่น ไปอยู่กับธรรมชาติ จุดเทียนหอม เขียนบันทึก นอนแช่น้ำนานๆ เล่นกับสัตว์เลี้ยง ทำสวน ดมดอกไม้ อ่านหนังสือดีๆ ไปใช้บริการนวดคลายเครียด ฟังดนตรี ดูหนังตลก เล่นเปียโน เขียนภาพ ถีบจักรยาน ดูดาว เป็นต้น
หากการจัดการความเครียดด้วยตนเองไม่สำเร็จ ควรปรึกษาจิตแพทย์เพื่อรับการรักษา
15. โรคซึมเศร้า
สาเหตุ เกิดขึ้นจากสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้หรือหลายอย่างพร้อมกัน เช่น เหตุการณ์เครียดครั้งใหญ่ในชีวิต ปัญหาชีวิตสมรส ปัญหาการเงิน ปัญหาสุขภาพ ความเหงา และพันธุกรรม
การดำเนินของโรคและอาการ ผู้ป่วยโรคนี้จะอาการต่อไปนี้อย่างน้อยห้าอย่าง คือ (1) มีอารมณ์ซึมเศร้า (2) ไม่สนใจเรื่องใดๆ หรือสิ่งบันเทิงใดๆ (3) น้ำหนักลด หรือน้ำหนักเพิ่มผิดตา (4) นอนไม่หลับ หรือเอาแต่นอนหลับทั้งวัน (5) การเคลื่อนไหวลนลาน หรือเชื่องช้าผิดจากเดิม (6) เปลี้ยล้าหรือหมดพลัง (7) รู้สึกตัวเองไร้ค่า (8) ตั้งสติไม่ได้ คิดอะไรไม่ตก ตัดสินใจอะไรไม่ได้ (9) คิดวนเวียนเรื่องความตาย อยากตาย การฆ่าตัวตาย
การรักษา ควรเริ่มรักษาตัวเองด้วยวิธีเดียวกับการรักษาโรคเครียด ถ้าไม่สำเร็จ ควรปรึกษาจิตแพทย์เพื่อรับการรักษา ซึ่งมักจะมีการใช้ยาต้านซึมเศร้าด้วย ยาในกลุ่มนี้ต้องใช้นาน 3 สัปดาห์ขึ้นไปจึงจะเริ่มเห็นผล
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์