โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer Disease)
คุณยายอายุ 70 ปีแล้ว มีอาการเลอะเลือน สิ่งที่เคยทำ แกจำไม่ได้ เช่น เคยจำได้ว่าหุงข้าวต้องกดปุ่ม แกก็บอกว่าไม่รู้ว่าทำยังไง และสมองช้าลง ถามอะไรง่ายๆ แกก็ตอบดีเลย์ เหมือนแกไม่เข้าใจ หรือไม่ได้ยินก็ไม่ทราบ ปรกติแกหูไม่ค่อยดี แต่เท่าที่ดูแกน่าจะได้ยิน แต่สมองช้า และแกก็นอนทั้งวัน ไม่ค่อยร่าเริง ก่อนหน้านี้แกจะชอบคุย ชอบเล่า รึเป็นไปได้ว่าแกไม่ค่อยได้คุยกับใคร แกอยู่บ้านคนเดียว เพราะตอนกลางวันคนอื่นไปทำงาน หมอที่คลินิกบอกว่าคุณยายเป็นโรคอัลไซเมอร์ อยากถามคุณหมอสันต์ว่าโรคอัลไซเมอร์นี้มันเป็นอย่างไร พิสูจน์กันอย่างไรว่าใครเป็นอัลไซเมอร์ ถ้าจะให้ยามียาอะไรพอให้ได้บ้าง
คุณหมอคิดว่ายังไงคะ ควรจะช่วยคุณยายอย่างไรดี ดิฉันเป็นกังวลมากค่ะ
……………………………………….
ตอบครับ
1. โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer disease) คือภาวะที่ไม่รู้มีสาเหตุอะไรมาทำให้สมองเกิดมีสารอะไมลอยด์มาพอกตามเนื้อสมอง เรียกว่า senile plaques หรือ SPs ร่วมกับการที่กิ่งก้านสาขาของเซลสมองที่ปกติจะเรียงกันเป็นระบบระเบียบอย่างดีเรียกว่า microtubule นั้น กลายสภาพเป็นเหี่ยวย่นแตกกระเจิดกระเจิงและพันกันยุ่งขิง เรียกว่า neurofibrillary tangles หรือ NFTs ทำให้เซลสมองเสียหายล้มตายและหดเหี่ยวลง ตามมาด้วยอาการสมองเสื่อมก่อนวัยอันควร คือใหม่ๆก็ลืมง่าย เพิ่งพูดไปเพิ่งทำไปแป๊บเดียวก็ลืมเสียแล้ว จากนั้นก็เริ่มสูญเสียความสามารถในการเรียนรู้สิ่งใหม่ ความสามารถในการใช้ดุลพินิจขบคิดแก้ไขปัญหา และความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันง่ายๆที่ทำอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน (activities of daily living หรือ ADL) เช่นโทรศัพท์ไม่เป็น ไขกุญแจไม่ได้ เป็นต้น อาการมีแต่แย่ลงไม่มีดีขึ้น
2. การจะพิสูจน์ว่าใครเป็นสมองเสื่อมเพราะโรคอัลไซเมอร์ชัวร์หรือไม่มีวิธีเดียว คือรอให้เขาตายก่อนแล้วค่อยผ่าพิสูจน์เนื้อสมองดูว่ามี SPs และ NTFs หรือไม่ ส่วนวิธีพิสูจน์อย่างอื่นยังไม่มี วิธีที่หมอใช้กันอยู่ในชีวิตจริงจะทำเป็นสามก๊อก คือก๊อกที่หนึ่งตรวจว่ามีภาวะสมองเสื่อมหรือไม่ก่อนด้วยวิธีทดสอบที่เรียกว่า MMSE ซึ่งที่ห้องตรวจนั่นแหละ ถ้าเห็นว่าสมองเสื่อมแน่ก็ไปทำก๊อกที่สอง คือวินิจฉัยแยกโรคอื่นๆที่เป็นสาเหตุของสมองเสื่อม อันได้แก่ซักประวัติเพิ่มเติมว่าได้ยาหรือสารพิษอะไรที่ทำให้มีอาการแบบสมองเสื่อมหรือเปล่า ขาดวิตามินไหม โดยเฉพาะวิตามินบี 12 และกรดโฟลิก แล้วเจาะเลือดดูฮอร์โมนต่างๆเช่นไทรอยด์ซึ่งหากต่ำก็ทำให้มีอาการสมองเสื่อมได้ แล้วทำเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) หรือตรวจคลื่นแม่เหล็ก (MRI) เพื่อดูภาพสมองว่ามีเนื้องอก หรือน้ำไขสันหลังคั่ง (hydrocephalous) หรือหลอดเลือดในสมองตีบไหม ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนทำให้สมองเสื่อมได้ แต่ถ้าไม่พบโรคอื่นใดเลย ก็ไปถึงก๊อกที่สาม คือสรุปด้วยวิธีเดาเอาว่าเป็นโรคอัลไซเมอร์
3. โรคนี้ไม่มีวิธีรักษาให้หาย หมอทำได้แค่ให้ยาบรรเทาอาการซึ่งเป็นปลายเหตุ ยาที่ใช้บรรเทาอาการอัลไซเมอร์โดยตรงมีสองตัว คือ (1) ยาระงับการทำลายสารเคมีที่ปลายประสาท (cholinesterase inhibitors) เช่นยา donepezil (Aricept) (2) ยาต้านสาร NMDA ซึ่งพบว่าสารนี้มีมากขึ้นในสมองของคนเป็นโรคนี้ เช่นยา menamantin (Axura) กรณีมีอาการอะไรอื่นร่วมหมอก็ให้ยาบรรเทาอาการนั้น เช่น ซึมเศร้าด้วยก็ให้ยาต้านซึมเศร้า นอนไม่หลับก็ให้ยานอนหลับ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการรักษาแบบกึ่งทดลองที่ยังทำกันอยู่ทั่วไปเช่น ให้ฝึกสมองประลองเชาว์ ให้กินสารต้านอนุมูลอิสระเช่นวิตามินอี. ให้ยาแก้อักเสบ (NSAID) ให้ฮอร์โมนเอสโตรเจน เอาใบแป๊ะก๊วยอัดเม็ด (Gingo) ให้กิน เป็นต้น ทั้งหมดนี้ก็ทำกันไปยังงั้นแหละ ยังไม่มีวิธีไหนที่รักษาโรคนี้ได้จริงจัง
4. ถามความคิดของผมหรือครับ ถ้าผมเป็นคุณ ผมจะทำดังนี้
4.1 เนื่องจากคุณยายอายุยังไม่มาก ผมจะพาคุณยายไปพบกับแพทย์ทางด้านประสาทวิทยา (neurologist) เพื่อตรวจแยกโรคต่างๆที่เป็นเหตุให้สมองเสื่อมแต่รักษาได้ให้แน่ชัดก่อน ซึ่งแน่นอนว่าต้องมีการเจาะเลือดดูฮอร์โมน และเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์เพื่อดูเหตุอื่นๆในสมองด้วย ถ้าไม่พบเหตุอื่นเลย จึงค่อยเดินหน้าไปกับแผนรักษาอัลไซเมอร์
4.2 ผมจะเรียกญาติคุย ตกลงกันในหมู่ญาติก่อนว่าใครจะเป็นคนตัดสินใจแทนคุณยายเมื่อคุณยายตัดสินใจอะไรเองไม่ได้แล้ว ฝรั่งเรียกว่าเป็นการเตรียมคนที่มี power of attorney นอกจากนี้จะได้ตกลงกันก่อนว่าใครจะดูแลคุณยาย คุณยายจะอยู่ที่ไหน เพราะท้ายที่สุดต้องดูแลกันทั้งกลางวันกลางคืน ญาติๆต้องตกลงกันว่าจะเอายังไง ใครต้องลงขันออกเงินช่วยบ้าง ต้องจ้างคนมาช่วยดูหรือเปล่า เป็นต้น
4.3 ผมจะจัดรูทีนการดูแลประจำวัน ต้องให้ตื่นตอนกี่โมง กินตอนกี่โมง อาบน้ำอย่างไร แต่งตัวอย่างไร แขกเยี่ยมได้เมื่อไร เข้านอนกี่โมง
4.4 ผมจะหาทางให้คุณยายรู้ว่าเวลาไหนต้องทำอะไร เช่นเปิดม่านให้แดดเข้าเพื่อให้คุณยายรู้ว่านี่เช้าแล้วนะ เปิดดนตรีเย็นๆให้ฟังให้รู้ว่านี่ได้เวลานอนแล้วนะ เป็นต้น
4.5 ผมจะให้คุณยายมีกิจกรรมด้วยตัวเองให้มากที่สุดที่จะมากได้ เช่น กลัดกระดุมไม่ได้ก็ให้ใส่เสื้อเอง ใช้กรรไกรตัดหญ้าไม่ได้ก็ให้ถอนหญ้าและรดน้ำต้นไม้ เป็นต้น โดยกิจกรรมที่ให้ทำต้องปรับเปลี่ยนไปตามขีดความสามารถของคุณยายที่จะลดลงไปเรื่อยๆ
4.6 ผมจะวางแผนกิจกรรมเพื่อให้กระตุ้นสมองหลายทาง ทั้งการมองเห็น (เช่นดูทีวี) กลิ่น (เช่นทำอาหาร) เสียง (เช่นร้องเพลง ฟังเพลง) สัมผัส (เช่นปั้นดินเหนียว)
4.7 ผมจะวางแผนกิจกรรมออกข้างนอก (out door) บ้าง เช่นพาไปเดิน ไปนั่งสนามหลังบ้าน
4.8 ถ้าเป็นไปได้ ผมจะพาไปเข้ากลุ่มผู้สูงอายุหรือกลุ่มผู้ป่วยคล้ายกันที่องค์กรท้องถิ่นจัดขึ้น
4.9 ผมจะทำใจกับความเปลี่ยนแปลงแบบมีแต่แย่กับแย่ รวมทั้งพฤติกรรมที่คาดไม่ถึงว่าคุณยายจำทำหรือพูดออกมาได้ด้วย ขณะเดียวกันผมก็จะหาความสนุกและท้าทายจากการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและอารมณ์ของคุณยายอย่างสร้างสรรค์
การดูแลผู้สูงอายุ เป็นภารกิจอันหนักหน่วงที่สุดของลูกหลานไทย เพราะสังคมไทยเราเมื่อแก่ตัวแล้วผู้สูงอายุไม่มีทางเลือกต้องพึ่งลูกหลานอย่างเดียว สถานเลี้ยงดูคนสูงอายุที่ช่วยตัวเองไม่ได้ (nursing home care) ในเมืองไทยแบบไม่ต้องเสียเงินไม่มี เพราะรัฐมีให้แต่สถานเลี้ยงดูคนชราที่ช่วยเหลือตัวเองได้ (independent care)
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
คุณหมอคิดว่ายังไงคะ ควรจะช่วยคุณยายอย่างไรดี ดิฉันเป็นกังวลมากค่ะ
……………………………………….
ตอบครับ
1. โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer disease) คือภาวะที่ไม่รู้มีสาเหตุอะไรมาทำให้สมองเกิดมีสารอะไมลอยด์มาพอกตามเนื้อสมอง เรียกว่า senile plaques หรือ SPs ร่วมกับการที่กิ่งก้านสาขาของเซลสมองที่ปกติจะเรียงกันเป็นระบบระเบียบอย่างดีเรียกว่า microtubule นั้น กลายสภาพเป็นเหี่ยวย่นแตกกระเจิดกระเจิงและพันกันยุ่งขิง เรียกว่า neurofibrillary tangles หรือ NFTs ทำให้เซลสมองเสียหายล้มตายและหดเหี่ยวลง ตามมาด้วยอาการสมองเสื่อมก่อนวัยอันควร คือใหม่ๆก็ลืมง่าย เพิ่งพูดไปเพิ่งทำไปแป๊บเดียวก็ลืมเสียแล้ว จากนั้นก็เริ่มสูญเสียความสามารถในการเรียนรู้สิ่งใหม่ ความสามารถในการใช้ดุลพินิจขบคิดแก้ไขปัญหา และความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันง่ายๆที่ทำอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน (activities of daily living หรือ ADL) เช่นโทรศัพท์ไม่เป็น ไขกุญแจไม่ได้ เป็นต้น อาการมีแต่แย่ลงไม่มีดีขึ้น
2. การจะพิสูจน์ว่าใครเป็นสมองเสื่อมเพราะโรคอัลไซเมอร์ชัวร์หรือไม่มีวิธีเดียว คือรอให้เขาตายก่อนแล้วค่อยผ่าพิสูจน์เนื้อสมองดูว่ามี SPs และ NTFs หรือไม่ ส่วนวิธีพิสูจน์อย่างอื่นยังไม่มี วิธีที่หมอใช้กันอยู่ในชีวิตจริงจะทำเป็นสามก๊อก คือก๊อกที่หนึ่งตรวจว่ามีภาวะสมองเสื่อมหรือไม่ก่อนด้วยวิธีทดสอบที่เรียกว่า MMSE ซึ่งที่ห้องตรวจนั่นแหละ ถ้าเห็นว่าสมองเสื่อมแน่ก็ไปทำก๊อกที่สอง คือวินิจฉัยแยกโรคอื่นๆที่เป็นสาเหตุของสมองเสื่อม อันได้แก่ซักประวัติเพิ่มเติมว่าได้ยาหรือสารพิษอะไรที่ทำให้มีอาการแบบสมองเสื่อมหรือเปล่า ขาดวิตามินไหม โดยเฉพาะวิตามินบี 12 และกรดโฟลิก แล้วเจาะเลือดดูฮอร์โมนต่างๆเช่นไทรอยด์ซึ่งหากต่ำก็ทำให้มีอาการสมองเสื่อมได้ แล้วทำเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) หรือตรวจคลื่นแม่เหล็ก (MRI) เพื่อดูภาพสมองว่ามีเนื้องอก หรือน้ำไขสันหลังคั่ง (hydrocephalous) หรือหลอดเลือดในสมองตีบไหม ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนทำให้สมองเสื่อมได้ แต่ถ้าไม่พบโรคอื่นใดเลย ก็ไปถึงก๊อกที่สาม คือสรุปด้วยวิธีเดาเอาว่าเป็นโรคอัลไซเมอร์
3. โรคนี้ไม่มีวิธีรักษาให้หาย หมอทำได้แค่ให้ยาบรรเทาอาการซึ่งเป็นปลายเหตุ ยาที่ใช้บรรเทาอาการอัลไซเมอร์โดยตรงมีสองตัว คือ (1) ยาระงับการทำลายสารเคมีที่ปลายประสาท (cholinesterase inhibitors) เช่นยา donepezil (Aricept) (2) ยาต้านสาร NMDA ซึ่งพบว่าสารนี้มีมากขึ้นในสมองของคนเป็นโรคนี้ เช่นยา menamantin (Axura) กรณีมีอาการอะไรอื่นร่วมหมอก็ให้ยาบรรเทาอาการนั้น เช่น ซึมเศร้าด้วยก็ให้ยาต้านซึมเศร้า นอนไม่หลับก็ให้ยานอนหลับ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการรักษาแบบกึ่งทดลองที่ยังทำกันอยู่ทั่วไปเช่น ให้ฝึกสมองประลองเชาว์ ให้กินสารต้านอนุมูลอิสระเช่นวิตามินอี. ให้ยาแก้อักเสบ (NSAID) ให้ฮอร์โมนเอสโตรเจน เอาใบแป๊ะก๊วยอัดเม็ด (Gingo) ให้กิน เป็นต้น ทั้งหมดนี้ก็ทำกันไปยังงั้นแหละ ยังไม่มีวิธีไหนที่รักษาโรคนี้ได้จริงจัง
4. ถามความคิดของผมหรือครับ ถ้าผมเป็นคุณ ผมจะทำดังนี้
4.1 เนื่องจากคุณยายอายุยังไม่มาก ผมจะพาคุณยายไปพบกับแพทย์ทางด้านประสาทวิทยา (neurologist) เพื่อตรวจแยกโรคต่างๆที่เป็นเหตุให้สมองเสื่อมแต่รักษาได้ให้แน่ชัดก่อน ซึ่งแน่นอนว่าต้องมีการเจาะเลือดดูฮอร์โมน และเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์เพื่อดูเหตุอื่นๆในสมองด้วย ถ้าไม่พบเหตุอื่นเลย จึงค่อยเดินหน้าไปกับแผนรักษาอัลไซเมอร์
4.2 ผมจะเรียกญาติคุย ตกลงกันในหมู่ญาติก่อนว่าใครจะเป็นคนตัดสินใจแทนคุณยายเมื่อคุณยายตัดสินใจอะไรเองไม่ได้แล้ว ฝรั่งเรียกว่าเป็นการเตรียมคนที่มี power of attorney นอกจากนี้จะได้ตกลงกันก่อนว่าใครจะดูแลคุณยาย คุณยายจะอยู่ที่ไหน เพราะท้ายที่สุดต้องดูแลกันทั้งกลางวันกลางคืน ญาติๆต้องตกลงกันว่าจะเอายังไง ใครต้องลงขันออกเงินช่วยบ้าง ต้องจ้างคนมาช่วยดูหรือเปล่า เป็นต้น
4.3 ผมจะจัดรูทีนการดูแลประจำวัน ต้องให้ตื่นตอนกี่โมง กินตอนกี่โมง อาบน้ำอย่างไร แต่งตัวอย่างไร แขกเยี่ยมได้เมื่อไร เข้านอนกี่โมง
4.4 ผมจะหาทางให้คุณยายรู้ว่าเวลาไหนต้องทำอะไร เช่นเปิดม่านให้แดดเข้าเพื่อให้คุณยายรู้ว่านี่เช้าแล้วนะ เปิดดนตรีเย็นๆให้ฟังให้รู้ว่านี่ได้เวลานอนแล้วนะ เป็นต้น
4.5 ผมจะให้คุณยายมีกิจกรรมด้วยตัวเองให้มากที่สุดที่จะมากได้ เช่น กลัดกระดุมไม่ได้ก็ให้ใส่เสื้อเอง ใช้กรรไกรตัดหญ้าไม่ได้ก็ให้ถอนหญ้าและรดน้ำต้นไม้ เป็นต้น โดยกิจกรรมที่ให้ทำต้องปรับเปลี่ยนไปตามขีดความสามารถของคุณยายที่จะลดลงไปเรื่อยๆ
4.6 ผมจะวางแผนกิจกรรมเพื่อให้กระตุ้นสมองหลายทาง ทั้งการมองเห็น (เช่นดูทีวี) กลิ่น (เช่นทำอาหาร) เสียง (เช่นร้องเพลง ฟังเพลง) สัมผัส (เช่นปั้นดินเหนียว)
4.7 ผมจะวางแผนกิจกรรมออกข้างนอก (out door) บ้าง เช่นพาไปเดิน ไปนั่งสนามหลังบ้าน
4.8 ถ้าเป็นไปได้ ผมจะพาไปเข้ากลุ่มผู้สูงอายุหรือกลุ่มผู้ป่วยคล้ายกันที่องค์กรท้องถิ่นจัดขึ้น
4.9 ผมจะทำใจกับความเปลี่ยนแปลงแบบมีแต่แย่กับแย่ รวมทั้งพฤติกรรมที่คาดไม่ถึงว่าคุณยายจำทำหรือพูดออกมาได้ด้วย ขณะเดียวกันผมก็จะหาความสนุกและท้าทายจากการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและอารมณ์ของคุณยายอย่างสร้างสรรค์
การดูแลผู้สูงอายุ เป็นภารกิจอันหนักหน่วงที่สุดของลูกหลานไทย เพราะสังคมไทยเราเมื่อแก่ตัวแล้วผู้สูงอายุไม่มีทางเลือกต้องพึ่งลูกหลานอย่างเดียว สถานเลี้ยงดูคนสูงอายุที่ช่วยตัวเองไม่ได้ (nursing home care) ในเมืองไทยแบบไม่ต้องเสียเงินไม่มี เพราะรัฐมีให้แต่สถานเลี้ยงดูคนชราที่ช่วยเหลือตัวเองได้ (independent care)
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์