ปรึกษาเรื่องปรับยาลดความดัน
เรียนคุณหมอสันต์ค่ะ
ขอปรึกษาคุณหมอเกี่ยวกับเรื่องยาความดัน เนื่องจากคุณแม่เป็นความดันสูงและคุณหมอเดิมให้ยา Prenolol 50 mg ต่อมาคุณหมอท่านเดิมย้ายไป พบคุณหมอท่านใหม่ ก็ได้เรียนคุณหมอไปว่า มีอาการโคลงเคลงแต่ไม่ใช่บ้านหมุน เหมือนเดินแล้วพื้นยุบๆ คุณหมอบอกว่ายาความดันตัวเดิมน่าจะต้องเปลี่ยนเพราะทำให้เลือดไปเลี้ยงอย่างช้าๆ โดยเปลี่ยนเป็นยาเป็น
1. Exforge (Amlodipine/Valsartan 10/160 mg) วันละครึ่งเม็ดหลังอาหารเช้าค่ะ
2. มียาเกี่ยวกับเรื่องโคลงเคลงที่ให้เพิ่ม Sibelium 5 mg 1 เม็ดก่อนนอน
3. Serc วันละ 3 เม็ด 3 เวลา หลังอาหาร
หลังรับประทานยาแล้วในวันแรก คุณแม่บอกว่า มีอาการเหมือนเดิม แต่เพิ่มความมึนงง ตึบๆ ตรงหน้าผากเพิ่มขึ้น และยังรู้สึกโคลงเคลง พื้นยุบๆ เหมือนเดิมค่ะ ขอเรียนปรึกษาคุณหมอว่า น่าจะมาจากการปรับยาหรือไม่คะ และถ้าหากเราจะหยุดยาเองก่อนได้หรือไม่คะ เพราะว่าจะไปเจอคุณหมอตามเวลาที่นัดอีก 2 สัปดาห์ค่ะ เกรงว่าคุณแม่จะอาการไม่ดี ดังนั้นถ้าจะหยุดก็ไม่แน่ใจว่าจะหยุดตัวไหนค่ะ จะหยุดตัวความดัน Exforge หรือหยุดตัว Sibelium หรือ Serc
รบกวนคุณหมอด้วยนะคะ
ปล. คุณหมอมีออกตรวจคนไข้ทั่วไปหรือเปล่าคะ จะพาคุณแม่ไปพบคุณหมอค่ะ อยากได้คุณหมอประจำสำหรับดูแลคุณแม่ค่ะ
ขอบคุณค่ะ
………………………………..
ตอบครับ
1. ก่อนอื่นขอให้เข้าใจสัจจธรรม 2 ข้อคือ
1.1 ยาลดความดันทุกชนิดที่มีใช้ในปัจจุบัน อาจทำให้เกิดอาหารเวียนหัวมึนงงก่งก๊งได้หมดทุกตัว ไม่มีข้อยกเว้นแม้แต่ตัวเดียว ไม่ว่าจะเป็นยากั้นเบต้าเช่น Prenolol ยาต้านแคลเซี่ยมเช่น Amlodipine หรือยาบล็อกแองจิโอเทนซิน (ARB) เช่น Valsartan กลไกที่ยาลดความดันไปทำให้เกิดก่งก๊งอาจเป็นแบบใดแบบหนึ่งในสามแบบคือ (1) ลดความดันมากเกินไปจนเลือดไปเลี้ยงสมองไม่ทัน (2) กดระบบปรับตัวของประสาทอัตโนมัติทำให้ความดันตกขณะเปลี่ยนท่าร่าง (3) ตัวยาเองไปทำให้เกิดอาการเมาเองโดยไม่เกี่ยวกับความดัน
1.2 ยาแก้เวียนหัวบ้านหมุนทุกกลุ่มยกเว้นกลุ่มสะเตียรอยด์ ก็อาจทำให้เกิดอาการง่วงๆมึนๆงงๆเสียเองได้หมดทุกตัวเช่นกัน รวมทั้งยาในกลุ่มแอนตี้ฮีสตามีน (เช่น Dramamine) กลุ่มฮีสตามีน (เช่น Serc) และกลุ่มยาต้านแคลเซียม (เช่น Sibelium) ด้วย
2. ถามว่าเมื่อหมอเปลี่ยนยาแล้ว มีอาการมึนงง ตึบๆ ตรงหน้าผากเพิ่มขึ้นมา เป็นจากยาได้ไหม ตอบว่าเป็นจากยาได้ครับ โดยเฉพาะถ้าการให้ยาใหม่นั้นตีกับยาเก่าหรือเสริมฤทธิ์ยาเก่า ยกตัวอย่างเช่นยา Exforge ที่คุณได้มา มีส่วนผสมของยา Amlodipine ซึ่งเป็นยาในกลุ่มยาต้านแคลเซี่ยม (calcium channel blocker) เมื่อมาจ๊ะกับยา Sibelium (Flunarizine) ซึ่งเป็นยาในกลุ่มเดียวกันก็อาจจะเสริมฤทธิ์ขยายหลอดเลือดของกันและกันได้
3. ถามว่าระหว่างรอไปหาหมอจะหยุดยาเองก่อนได้ไหม ตอบว่าได้ครับ ความจริงให้ถือเป็นกฎเลยว่าถ้าได้ยาใหม่มา ไม่ว่ายาอะไร หากกินแล้วเกิดอาการไม่ชอบมาพากล ให้หยุดยาทันที ไม่ต้องรอทำเรื่องยื่นเสนอขออนุมัติแพทย์ก่อน
4. ถามว่าถ้าจะหยุด จะหยุดตัวไหนดี จะหยุดยาความดัน Exforge หรือหยุดตัว Sibelium หรือ Serc ตรงนี้ผมแยกตอบเป็นสองส่วน
4.1 ในแง่ของการปรับยาเพื่อลดหรือเพิ่มความดัน เช่นยา Exforge ควรมีหลักฐานจากการวัดความดันว่ากินยาใหม่แล้วความดันเลือดตกลงไปจากเดิมมากจริงก่อน นั่นหมายความว่าคนเป็นความดันเลือดสูงทุกคนควรซื้อเครื่องวัดความดันอัตโนมัติไว้ที่บ้านตัวเอง เมื่อวัดแล้วพบว่ายาใหม่ทำให้ความดันต่ำมากเกินไปก็ปรับยาได้
4.2 ในแง่ของการปรับยาเพื่อลดฤทธิ์ข้างเคียงของยา ซึ่งในที่นี้ก็คืออาการมึนงงตึบๆ หลักง่ายๆก็คือหยุดยาทุกตัวไปจนหมดเกลี้ยงก่อนแล้วรอจนอาการหายไป แล้วหากยาที่กินอยู่เหล่านั้นจำเป็น ก็ค่อยใส่กลับเข้ามาทีละตัว ถ้ายาที่กินอยู่ไม่ใช่ยาจำเป็น (เช่นยา Serc และ Sibelium ถือว่าไม่ใช่ยาจำเป็น) หากหยุดยาแล้วอาการหายก็เลิกกินมันไปซะเลย
การสนองตอบของร่างกายผู้ป่วยต่อยาบรรเทาอาการทุกตัวรวมทั้ง Serc และ Sibelium นี้ด้วย จะขึ้นกับผู้ป่วยแต่ละคน แบบที่แพทย์แผนโบราณเรียกว่า “ลางเนื้อชอบลางยา” นั่นแหละครับ แพทย์แต่ละคนจึงมักจะมีวิธีบริหารยาบรรเทาอาการที่เป็นแบบฉบับของตัวเอง ซึ่งเป็นเรื่องอัตวิสัย ไม่ใช่วิทยาศาสตร์ อย่างของผมนี้จะใช้หลัก “เช้าสามเย็นสี่” เรื่องนี้มีอยู่ในนิทานของเต๋าซึ่งเล่าว่าคนเลี้ยงลิงประชุมฝูงลิงในสังกัดแล้วแจ้งกฎเกณฑ์แจกลูกเกาลัดว่าการแจกลูกเกาลัดจะใช้กฎเช้าสามเย็นสี่ คือเช้าให้ตัวละ 3 ลูก เย็นให้ตัวละ 4 ลูก พวกลิงได้ฟังต่างก็ไม่พอใจพากันประท้วง คนเลี้ยงลิงจึงเปลี่ยนใหม่ว่าโอเค้..โอเค. ขอตกลงกันใหม่นะว่าการแจกลูกเกาลัดจะใช้วิธีเช้าสี่เย็นสาม คือเช้าแจกตัวละ 4 ลูก เย็นแจกตัวละ 3 ลูก พวกลิงได้ฟังก็พอใจเลิกประท้วง (แหะ..แหะ.. ขอโทษ ผมนอกเรื่องไร้สาระแก้เบื่อไปงั้นแหละครับ)
5. ถามว่าผมออกตรวจคนไข้ทั่วไปหรือเปล่า จะพาคุณแม่มาหา คำถามนี้ขอไม่ตอบครับ มันผิดกฎ เพราะแพทยสภาเขามีกฎห้ามแพทย์ไม่ให้เที่ยวป่าวประกาศหาลูกค้ากลางตลาดเยี่ยงแม่ค้าขายผักขายปลา เดี๋ยวแพทยสภาจะว่าผมอ้างเอาการให้ความรู้ประชาชนบังหน้าหาลูกค้าเข้ากระเป๋าตัวเอง
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
ขอปรึกษาคุณหมอเกี่ยวกับเรื่องยาความดัน เนื่องจากคุณแม่เป็นความดันสูงและคุณหมอเดิมให้ยา Prenolol 50 mg ต่อมาคุณหมอท่านเดิมย้ายไป พบคุณหมอท่านใหม่ ก็ได้เรียนคุณหมอไปว่า มีอาการโคลงเคลงแต่ไม่ใช่บ้านหมุน เหมือนเดินแล้วพื้นยุบๆ คุณหมอบอกว่ายาความดันตัวเดิมน่าจะต้องเปลี่ยนเพราะทำให้เลือดไปเลี้ยงอย่างช้าๆ โดยเปลี่ยนเป็นยาเป็น
1. Exforge (Amlodipine/Valsartan 10/160 mg) วันละครึ่งเม็ดหลังอาหารเช้าค่ะ
2. มียาเกี่ยวกับเรื่องโคลงเคลงที่ให้เพิ่ม Sibelium 5 mg 1 เม็ดก่อนนอน
3. Serc วันละ 3 เม็ด 3 เวลา หลังอาหาร
หลังรับประทานยาแล้วในวันแรก คุณแม่บอกว่า มีอาการเหมือนเดิม แต่เพิ่มความมึนงง ตึบๆ ตรงหน้าผากเพิ่มขึ้น และยังรู้สึกโคลงเคลง พื้นยุบๆ เหมือนเดิมค่ะ ขอเรียนปรึกษาคุณหมอว่า น่าจะมาจากการปรับยาหรือไม่คะ และถ้าหากเราจะหยุดยาเองก่อนได้หรือไม่คะ เพราะว่าจะไปเจอคุณหมอตามเวลาที่นัดอีก 2 สัปดาห์ค่ะ เกรงว่าคุณแม่จะอาการไม่ดี ดังนั้นถ้าจะหยุดก็ไม่แน่ใจว่าจะหยุดตัวไหนค่ะ จะหยุดตัวความดัน Exforge หรือหยุดตัว Sibelium หรือ Serc
รบกวนคุณหมอด้วยนะคะ
ปล. คุณหมอมีออกตรวจคนไข้ทั่วไปหรือเปล่าคะ จะพาคุณแม่ไปพบคุณหมอค่ะ อยากได้คุณหมอประจำสำหรับดูแลคุณแม่ค่ะ
ขอบคุณค่ะ
………………………………..
ตอบครับ
1. ก่อนอื่นขอให้เข้าใจสัจจธรรม 2 ข้อคือ
1.1 ยาลดความดันทุกชนิดที่มีใช้ในปัจจุบัน อาจทำให้เกิดอาหารเวียนหัวมึนงงก่งก๊งได้หมดทุกตัว ไม่มีข้อยกเว้นแม้แต่ตัวเดียว ไม่ว่าจะเป็นยากั้นเบต้าเช่น Prenolol ยาต้านแคลเซี่ยมเช่น Amlodipine หรือยาบล็อกแองจิโอเทนซิน (ARB) เช่น Valsartan กลไกที่ยาลดความดันไปทำให้เกิดก่งก๊งอาจเป็นแบบใดแบบหนึ่งในสามแบบคือ (1) ลดความดันมากเกินไปจนเลือดไปเลี้ยงสมองไม่ทัน (2) กดระบบปรับตัวของประสาทอัตโนมัติทำให้ความดันตกขณะเปลี่ยนท่าร่าง (3) ตัวยาเองไปทำให้เกิดอาการเมาเองโดยไม่เกี่ยวกับความดัน
1.2 ยาแก้เวียนหัวบ้านหมุนทุกกลุ่มยกเว้นกลุ่มสะเตียรอยด์ ก็อาจทำให้เกิดอาการง่วงๆมึนๆงงๆเสียเองได้หมดทุกตัวเช่นกัน รวมทั้งยาในกลุ่มแอนตี้ฮีสตามีน (เช่น Dramamine) กลุ่มฮีสตามีน (เช่น Serc) และกลุ่มยาต้านแคลเซียม (เช่น Sibelium) ด้วย
2. ถามว่าเมื่อหมอเปลี่ยนยาแล้ว มีอาการมึนงง ตึบๆ ตรงหน้าผากเพิ่มขึ้นมา เป็นจากยาได้ไหม ตอบว่าเป็นจากยาได้ครับ โดยเฉพาะถ้าการให้ยาใหม่นั้นตีกับยาเก่าหรือเสริมฤทธิ์ยาเก่า ยกตัวอย่างเช่นยา Exforge ที่คุณได้มา มีส่วนผสมของยา Amlodipine ซึ่งเป็นยาในกลุ่มยาต้านแคลเซี่ยม (calcium channel blocker) เมื่อมาจ๊ะกับยา Sibelium (Flunarizine) ซึ่งเป็นยาในกลุ่มเดียวกันก็อาจจะเสริมฤทธิ์ขยายหลอดเลือดของกันและกันได้
3. ถามว่าระหว่างรอไปหาหมอจะหยุดยาเองก่อนได้ไหม ตอบว่าได้ครับ ความจริงให้ถือเป็นกฎเลยว่าถ้าได้ยาใหม่มา ไม่ว่ายาอะไร หากกินแล้วเกิดอาการไม่ชอบมาพากล ให้หยุดยาทันที ไม่ต้องรอทำเรื่องยื่นเสนอขออนุมัติแพทย์ก่อน
4. ถามว่าถ้าจะหยุด จะหยุดตัวไหนดี จะหยุดยาความดัน Exforge หรือหยุดตัว Sibelium หรือ Serc ตรงนี้ผมแยกตอบเป็นสองส่วน
4.1 ในแง่ของการปรับยาเพื่อลดหรือเพิ่มความดัน เช่นยา Exforge ควรมีหลักฐานจากการวัดความดันว่ากินยาใหม่แล้วความดันเลือดตกลงไปจากเดิมมากจริงก่อน นั่นหมายความว่าคนเป็นความดันเลือดสูงทุกคนควรซื้อเครื่องวัดความดันอัตโนมัติไว้ที่บ้านตัวเอง เมื่อวัดแล้วพบว่ายาใหม่ทำให้ความดันต่ำมากเกินไปก็ปรับยาได้
4.2 ในแง่ของการปรับยาเพื่อลดฤทธิ์ข้างเคียงของยา ซึ่งในที่นี้ก็คืออาการมึนงงตึบๆ หลักง่ายๆก็คือหยุดยาทุกตัวไปจนหมดเกลี้ยงก่อนแล้วรอจนอาการหายไป แล้วหากยาที่กินอยู่เหล่านั้นจำเป็น ก็ค่อยใส่กลับเข้ามาทีละตัว ถ้ายาที่กินอยู่ไม่ใช่ยาจำเป็น (เช่นยา Serc และ Sibelium ถือว่าไม่ใช่ยาจำเป็น) หากหยุดยาแล้วอาการหายก็เลิกกินมันไปซะเลย
การสนองตอบของร่างกายผู้ป่วยต่อยาบรรเทาอาการทุกตัวรวมทั้ง Serc และ Sibelium นี้ด้วย จะขึ้นกับผู้ป่วยแต่ละคน แบบที่แพทย์แผนโบราณเรียกว่า “ลางเนื้อชอบลางยา” นั่นแหละครับ แพทย์แต่ละคนจึงมักจะมีวิธีบริหารยาบรรเทาอาการที่เป็นแบบฉบับของตัวเอง ซึ่งเป็นเรื่องอัตวิสัย ไม่ใช่วิทยาศาสตร์ อย่างของผมนี้จะใช้หลัก “เช้าสามเย็นสี่” เรื่องนี้มีอยู่ในนิทานของเต๋าซึ่งเล่าว่าคนเลี้ยงลิงประชุมฝูงลิงในสังกัดแล้วแจ้งกฎเกณฑ์แจกลูกเกาลัดว่าการแจกลูกเกาลัดจะใช้กฎเช้าสามเย็นสี่ คือเช้าให้ตัวละ 3 ลูก เย็นให้ตัวละ 4 ลูก พวกลิงได้ฟังต่างก็ไม่พอใจพากันประท้วง คนเลี้ยงลิงจึงเปลี่ยนใหม่ว่าโอเค้..โอเค. ขอตกลงกันใหม่นะว่าการแจกลูกเกาลัดจะใช้วิธีเช้าสี่เย็นสาม คือเช้าแจกตัวละ 4 ลูก เย็นแจกตัวละ 3 ลูก พวกลิงได้ฟังก็พอใจเลิกประท้วง (แหะ..แหะ.. ขอโทษ ผมนอกเรื่องไร้สาระแก้เบื่อไปงั้นแหละครับ)
5. ถามว่าผมออกตรวจคนไข้ทั่วไปหรือเปล่า จะพาคุณแม่มาหา คำถามนี้ขอไม่ตอบครับ มันผิดกฎ เพราะแพทยสภาเขามีกฎห้ามแพทย์ไม่ให้เที่ยวป่าวประกาศหาลูกค้ากลางตลาดเยี่ยงแม่ค้าขายผักขายปลา เดี๋ยวแพทยสภาจะว่าผมอ้างเอาการให้ความรู้ประชาชนบังหน้าหาลูกค้าเข้ากระเป๋าตัวเอง
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์