การลดความอ้วน (ตอนที่ 4. องค์ประกอบด้านจิตใจของการลดน้ำหนัก)
ตอนที่ 4. องค์ประกอบด้านจิตใจของการลดน้ำหนัก
องค์ประกอบด้านจิตใจของการลดน้ำหนักมีสองอย่างคือ (1) ความอยากทำอย่างแน่วแน่ หรือ motivation และ (2) วินัยต่อตนเอง หรือ self discipline
ความอยากทำอย่างแน่วแน่ (motivation) เกิดสองอย่างคือ
(1) มีความเชื่อ กล่าวคือเชื่อว่าความอ้วนมีผลเสียต่อสุขภาพ เชื่อว่าการลดน้ำหนักทำให้มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น มีอายุยืนยาวขึ้น ทั้งนี้ผู้ลดน้ำหนักต้องถามตนเองว่ามีความเชื่อในประเด็นทั้งสองนี้เพียงใด หากยังไม่มีความเชื่อ ต้องศึกษาหลักฐานเชิงประจักษ์และข้อมูลความจริงต่างๆให้ตัวเองเกิดความเชื่อในประเด็นทั้งสองอย่างแท้จริงก่อน
(2) มีความอยากได้ผลลัพธ์บั้นปลายของการลดน้ำหนัก นอกเหนือจากความอยากมีคุณภาพชีวิตที่ดี อยากมีอายุยืนแล้ว อาจะเป็นความอยากได้เฉพาะบุคคล เช่นอยากไปเล่นกีฬาปีนเขา อยากเดินทางท่องเที่ยวรอบโลกด้วยจักรยาน อยากเป็นนักร้องนักแสดง อยากเป็นคนที่ทำอะไรสำเร็จด้วยตนเอง เป็นต้น
วินัยต่อตนเอง หรือ self discipline มักเป็นผลจากการเลี้ยงดูหรือฝึกอบรมมาในอดีตอันยาวนาน ผู้ได้รับการเลี้ยงดูมาภายใต้กรอบของระเบียบวินัยของครอบครัวหรือของสังคมที่เคร่งครัด มีแนวโน้มจะสร้างวินัยต่อตนเองได้ง่ายกว่าผู้ที่ถูกตามใจหมดทุกเรื่องโดยไม่เคยถูกบังคับอะไรเลย อย่างไรก็ตาม การสร้างวินัยต่อตนเองเป็นสิ่งที่เริ่มต้นสร้างขึ้นได้ใหม่สำหรับคนทุกวัย โดยมีประเด็นสำคัญสองประเด็นดังนี้
(1) ความสามารถระลึกได้ (recall) ว่าเมื่อตะกี้นี้ใจเราคิดอะไรอยู่ คนที่ไม่มีวินัยต่อตนเอง ร้อยทั้งร้อยเป็นคนที่มีชีวิตอยู่โดยไม่ทราบพฤติกรรมทางจิตใจของตนเอง ณ ขณะนั้น ไม่รู้ตัวว่าตัวเองกำลังคิดอะไรอยู่ กำลังรู้สึกอะไรในใจอยู่ พฤติกรรมที่เกิดขึ้น ณ ขณะนั้นจึงถูกกำหนดโดยสิ่งกระตุ้นจากภายนอก ซึ่งเข้าไปผนวกกับความจำจากการเรียนรู้มาในอดีตโดยอัตโนมัติ แล้วสนองตอบออกไปในรูปของการคิดหรือทำโดยที่เจ้าตัว “เผลอ” คิดหรือเผลอทำไปโดยไม่มีความตั้งใจกำกับอย่างหนักแน่น หรือไม่มีความรู้ตัวอย่างหนักแน่นขณะทำ การฝึกระลึกขึ้นมาให้ได้ว่า เอ๊ะ เมื่อตะกี้ตัวเองคิดอะไรอยู่ เป็นจุดตั้งต้นให้เกิดความรู้ตัวขณะได้รับสิ่งกระตุ้นจากภายนอก และขณะสิ่งกระตุ้นนั้นเข้าไปคลุกกับการเรียนรู้ในอดีตจนกลายเป็นการสนองตอบออกไป ทำให้พฤติกรรมทางใจของตนเองมาอยู่ภายใต้การรู้เห็นของตนเองได้มากขึ้น
(2) ความรู้จักใจตัวเอง (self awareness) ณ ขณะนั้น คือการที่บุคคลรู้ถึงสภาวะจิตใจของตนเอง ณ ขณะนั้นว่าใจของตนเองกำลังเครียด หรือกำลังปลอดโปร่งโล่งสบาย หรือกำลังโกรธ หรือกำลังเผลอใจลอย ความรู้จักใจตัวเอง เมื่อประกอบเข้ากับความสามารถระลึกขึ้นได้ทันทีว่าเมื่อตะกี้นี้คิดอะไรอยู่ จะทำให้บุคคลนั้นรับรู้สิ่งเร้าที่เข้ามาทางใจได้ทันเวลา และเปลี่ยนการสนองตอบของตนเองจากที่เคยสนองตอบแบบกึ่งอัตโนมัติไปตามการเรียนรู้ในอดีต ไปเป็นการสนองตอบที่มีความรู้ตัวและความตั้งใจอย่างหนักแน่นกำกับอยู่ด้วย ทำให้บุคคลนั้นเลือกที่จะสนองตอบต่อสิ่งเร้าได้ด้วยตนเองอย่างอิสระโดยไม่ตกอยู่ใต้อิทธิพลของการเรียนรู้ในอดีต ทำให้บุคคลนั้น “ลงมือ” ทำในสิ่งที่ควรทำได้สำเร็จ แทนที่จะ “เผลอ” ทำในสิ่งที่ไม่ควรทำแล้วมาเสียใจภายหลังอยู่ร่ำไป
ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่างานวิจัยพบว่าสิ่งที่ทำให้การลดน้ำหนักได้ผลไม่ใช่ยา แต่เป็นองค์ประกอบสามส่วนคือ (1) การปรับโภชนาการ (2) การออกกำลังกาย (3) จิตใจที่อยากทำอย่างต่อเนื่อง ในบรรดาองค์ประกอบทั้งสามส่วนนี้ องค์ประกอบด้านจิตใจเป็นส่วนที่ยากที่สุดที่ผู้ประสงค์ลดน้ำหนักต้องลงทุนลงแรงฝึกฝนตนเอง จึงจะทำได้สำเร็จ
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
องค์ประกอบด้านจิตใจของการลดน้ำหนักมีสองอย่างคือ (1) ความอยากทำอย่างแน่วแน่ หรือ motivation และ (2) วินัยต่อตนเอง หรือ self discipline
ความอยากทำอย่างแน่วแน่ (motivation) เกิดสองอย่างคือ
(1) มีความเชื่อ กล่าวคือเชื่อว่าความอ้วนมีผลเสียต่อสุขภาพ เชื่อว่าการลดน้ำหนักทำให้มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น มีอายุยืนยาวขึ้น ทั้งนี้ผู้ลดน้ำหนักต้องถามตนเองว่ามีความเชื่อในประเด็นทั้งสองนี้เพียงใด หากยังไม่มีความเชื่อ ต้องศึกษาหลักฐานเชิงประจักษ์และข้อมูลความจริงต่างๆให้ตัวเองเกิดความเชื่อในประเด็นทั้งสองอย่างแท้จริงก่อน
(2) มีความอยากได้ผลลัพธ์บั้นปลายของการลดน้ำหนัก นอกเหนือจากความอยากมีคุณภาพชีวิตที่ดี อยากมีอายุยืนแล้ว อาจะเป็นความอยากได้เฉพาะบุคคล เช่นอยากไปเล่นกีฬาปีนเขา อยากเดินทางท่องเที่ยวรอบโลกด้วยจักรยาน อยากเป็นนักร้องนักแสดง อยากเป็นคนที่ทำอะไรสำเร็จด้วยตนเอง เป็นต้น
วินัยต่อตนเอง หรือ self discipline มักเป็นผลจากการเลี้ยงดูหรือฝึกอบรมมาในอดีตอันยาวนาน ผู้ได้รับการเลี้ยงดูมาภายใต้กรอบของระเบียบวินัยของครอบครัวหรือของสังคมที่เคร่งครัด มีแนวโน้มจะสร้างวินัยต่อตนเองได้ง่ายกว่าผู้ที่ถูกตามใจหมดทุกเรื่องโดยไม่เคยถูกบังคับอะไรเลย อย่างไรก็ตาม การสร้างวินัยต่อตนเองเป็นสิ่งที่เริ่มต้นสร้างขึ้นได้ใหม่สำหรับคนทุกวัย โดยมีประเด็นสำคัญสองประเด็นดังนี้
(1) ความสามารถระลึกได้ (recall) ว่าเมื่อตะกี้นี้ใจเราคิดอะไรอยู่ คนที่ไม่มีวินัยต่อตนเอง ร้อยทั้งร้อยเป็นคนที่มีชีวิตอยู่โดยไม่ทราบพฤติกรรมทางจิตใจของตนเอง ณ ขณะนั้น ไม่รู้ตัวว่าตัวเองกำลังคิดอะไรอยู่ กำลังรู้สึกอะไรในใจอยู่ พฤติกรรมที่เกิดขึ้น ณ ขณะนั้นจึงถูกกำหนดโดยสิ่งกระตุ้นจากภายนอก ซึ่งเข้าไปผนวกกับความจำจากการเรียนรู้มาในอดีตโดยอัตโนมัติ แล้วสนองตอบออกไปในรูปของการคิดหรือทำโดยที่เจ้าตัว “เผลอ” คิดหรือเผลอทำไปโดยไม่มีความตั้งใจกำกับอย่างหนักแน่น หรือไม่มีความรู้ตัวอย่างหนักแน่นขณะทำ การฝึกระลึกขึ้นมาให้ได้ว่า เอ๊ะ เมื่อตะกี้ตัวเองคิดอะไรอยู่ เป็นจุดตั้งต้นให้เกิดความรู้ตัวขณะได้รับสิ่งกระตุ้นจากภายนอก และขณะสิ่งกระตุ้นนั้นเข้าไปคลุกกับการเรียนรู้ในอดีตจนกลายเป็นการสนองตอบออกไป ทำให้พฤติกรรมทางใจของตนเองมาอยู่ภายใต้การรู้เห็นของตนเองได้มากขึ้น
(2) ความรู้จักใจตัวเอง (self awareness) ณ ขณะนั้น คือการที่บุคคลรู้ถึงสภาวะจิตใจของตนเอง ณ ขณะนั้นว่าใจของตนเองกำลังเครียด หรือกำลังปลอดโปร่งโล่งสบาย หรือกำลังโกรธ หรือกำลังเผลอใจลอย ความรู้จักใจตัวเอง เมื่อประกอบเข้ากับความสามารถระลึกขึ้นได้ทันทีว่าเมื่อตะกี้นี้คิดอะไรอยู่ จะทำให้บุคคลนั้นรับรู้สิ่งเร้าที่เข้ามาทางใจได้ทันเวลา และเปลี่ยนการสนองตอบของตนเองจากที่เคยสนองตอบแบบกึ่งอัตโนมัติไปตามการเรียนรู้ในอดีต ไปเป็นการสนองตอบที่มีความรู้ตัวและความตั้งใจอย่างหนักแน่นกำกับอยู่ด้วย ทำให้บุคคลนั้นเลือกที่จะสนองตอบต่อสิ่งเร้าได้ด้วยตนเองอย่างอิสระโดยไม่ตกอยู่ใต้อิทธิพลของการเรียนรู้ในอดีต ทำให้บุคคลนั้น “ลงมือ” ทำในสิ่งที่ควรทำได้สำเร็จ แทนที่จะ “เผลอ” ทำในสิ่งที่ไม่ควรทำแล้วมาเสียใจภายหลังอยู่ร่ำไป
ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่างานวิจัยพบว่าสิ่งที่ทำให้การลดน้ำหนักได้ผลไม่ใช่ยา แต่เป็นองค์ประกอบสามส่วนคือ (1) การปรับโภชนาการ (2) การออกกำลังกาย (3) จิตใจที่อยากทำอย่างต่อเนื่อง ในบรรดาองค์ประกอบทั้งสามส่วนนี้ องค์ประกอบด้านจิตใจเป็นส่วนที่ยากที่สุดที่ผู้ประสงค์ลดน้ำหนักต้องลงทุนลงแรงฝึกฝนตนเอง จึงจะทำได้สำเร็จ
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์