บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก เมษายน, 2019

ให้คุณสนใจแต่ "กาย" นี้ และ "ใจ" นี้เท่านั้น

     วันหนึ่งมีคนมาเยี่ยมที่บ้านบนเขาตอนมืดแล้ว ได้คุยกันสั้นๆ เนื้อหาน่าจะพอมีประโยชน์บ้าง จึงขอนำมาเล่าทิ้งไว้ในบล็อกนี้      "คุณเห็นต้นไม้นั่นไหม"      "เห็นค่ะ"      "ทำไมคุณถึงเห็นมันได้ละ"      "เพราะมีแสงสว่าง"      "แล้วคุณเห็นอากาศตรงหน้าคุณนี่ไหม"      "ไม่เห็นค่ะ"      "ทำไมไม่เห็นละ ทั้งๆที่ตรงหน้าคุณก็มีแสงสว่าง"      "เพราะอากาศไม่สะท้อนแสง"      "แล้วคุณมองท้องฟ้าที่มืดสนิทโน่นซิ คุณว่ามันมีแสงวิ่งผ่านมันไหม"      "อาจจะมี แต่ไม่มีอะไรสะท้อนแสง เราจึงมองเห็นเป็นแค่ความมืด"      "ใช่..ไม่ใช่แสงนะที่ทำให้คุณเห็น แต่เป็นเพราะมีวัตถุที่ไม่ยอมให้แสงผ่าน ทำให้แสงสะท้อนจากวัตถุนั้นมาเข้าตาคุณทำให้คุณเห็นวัตถุได้      สมมุติว่าความรู้ตัวของคุณซึ่งเป็นคุณที่แท้จริงนั้นเป็นความมืดอันไร้ขอบเขตเหมือนท้องฟ้านี้ ความสนใจของคุณเป็นแสง ตลอดชีวิตที่ผ่านมาคุณไม่มีโอกาสได้รู้จักความมืดอันกว้างใหญ่ซึ่งเป็นคุณที่แท้จริงเลย เพราะ มีอะไรสาระพัดหยุดแสงของความสนใจไม่ใ

มีด้วยหรือเอ็นไซม์หัวใจ trop-T/CKMB สูงแต่ไม่ได้เป็นกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน

คุณหมอคะ หนูขอถามเรื่องคนไข้ อายุ 45 ปี เป็นโรคหัวใจขาดเลือด ตรวจสวนหัวใจไปแล้วก่อนหน้านี้ 4 ครั้ง บางครั้งก็ใส่สะเต้นท์ บางครั้งก็ไม่ใส่ ครั้งที่ 5 เมื่อ ... เข้ารพ.สวนหัวใจใส่สะเต้นท์อีก หลังจากนั้นหนึ่งเดือนก็แน่นหน้าอกหายใจไม่อิ่มจึงรีบไปโรงพยาบาลทำ ekg ได้ผลปกติ แต่เจาะเลือดดู Troponin T และ CKMB ได้ผลสูงผิดปกติทั้งคู่ จึงได้รับการตรวจสวนหัวใจอีกเป็นครั้งที่ 6 แต่คราวนี้ไม่พบความผิดปกติที่หลอดเลือด แพทย์จึงสรุปว่าผลตรวจเอ็นไซม์เป็นผลบวกปลอม หนูสงสัยว่า Troponin T นี้เป็นมาตรฐานในการวินิจฉัยโรค acute MI ไม่ใช่หรือ มีด้วยหรือที่ Troponin T สูงแต่ไม่ได้เป็น acute MI ถ้ามี มีกรณีไหนบ้าง แล้วการตรวจควบสองอย่าง Troponin T กับ CKMB นี้เป็นการยืนยันแน่ชัดว่าเกิด acute MI แน่ไม่ใช่หรือ ทำไมเอ็นไซม์ทั้งสองตัวสูงแล้วสวนหัวใจกลับได้ผลปกติ ................................................ ตอบครับ      คุณถามให้คนไข้ ผมตอบแบบพูดกับคนไข้โดยตรงเลยนะ      1. ถามว่าโทรโปนิน (เอ็นไซม์ที่อยู่ในเซลกล้ามเนื้อหัวใจ) เป็นเครื่องมือมาตรฐานในการวินิจฉัยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันไม่ใช่หรือ ตอบว่

ไวรัสตับอักเสบอี. (Hepatitis E)

เรียนคุณหมอสันต์ ดิฉันอายุ 49 เข้าใจว่าเพราะอากาศร้อนมากเกินไป ดื่มน้ำน้อยด้วย สังเกตว่าฉี่เข้มมาก คลื่นไส้ อยากอาเจียน คันตามตัว ปวดตามข้อ หวิวๆจะเป็นลมหน้ามืดหลายครั้ง และรู้สึกตัวเองเบลอๆ ไปหาคลินิกที่ ... หมอวัดไข้ได้ 39 จึงรีบขอตัวเข้ากทม.มาโรงพยาบาล ... หมอให้นอนรพ.ทันที ผลตรวจ FBS 91 BUN 18 Cr 1.1 SGOT 1526 SGPT 1840 Total bil. 2.7 Indirect bil 1.8 Direct bil 0.9 Alk Phos 156 Na, 133 K, 4.1 anti HEV IgM positive หมอบอกว่าเป็นตับอักเสบไวรัสอี. หมอให้นอนโรงพยาบาลหนึ่งสัปดาห์ ดิฉันขอกลับไปนอนคอนโดตัวเองในกทม.โดยตกลงจะกลับไปหาหมอตามนัดในอีกเจ็ดวัน แต่ยังมีอาการเพลียมาก อยากถามคุณหมอว่า ไวรัสตับอักเสบอี.นี้เป็นแล้วจะมีอะไรติดตามมาในระยะยาวไหม มันติดต่อคนใกล้ชิดได้หรือเปล่า ติดต่อกันได้ทางไหน เมื่อหนึ่งเดือนก่อนดิฉันได้ไปเที่ยวประเทศ ... จะเป็นเพราะไปเอาเชื้อมาจากที่นั่นได้หรือไม่ จะป้องกันไม่ให้คนใกล้ชิดเป็นโรคนี้ได้อย่างไร มีวัคซีนไหม ตัวดิฉันเองต้องดูแลตัวเองอย่างไร ขอบพระคุณคุณหมอค่ะ .................................................................... ตอบครับ

ชั้นเรียนทำอาหารหลักสูตรที่ 2 (PBWF Cooking Class-2

   วันนี้ของดตอบคำถามเพื่อแจ้งข่าวการเปิดสอนทำอาหารพืชเป็นหลักแบบไม่ใช้น้ำมัน ชั้นเรียนที่ 2 (PBWF cooking class-2) จำนวน 5 เมนู ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 12 พค. 62 เพื่อต่อยอดชั้นเรียน cooking class-1 ซึ่งเรียนไปแล้ว 9 เมนู โดยมีรายละเอียดดังนี้ หลักสูตรเรียนทำอาหารพืชเป็นหลักแบบไม่ใช้น้ำมัน ชั้นเรียนที่ 2 (Course Syllabus for Plant Based Whole Food Cooking Class-2) สถานที่:  ครัวปราณา (Pranaa Kitchen) ในเวลเนสวีแคร์เซ็นเตอร์ (WellnessWeCare Center) มวกเหล็ก วัตถุประสงค์  (Objective) วัตถุประสงค์ด้านความรู้ (knowledge) 1. รู้ผลวิจัยการใช้อาหารพืชเป็นหลักในรูปแบบไม่สกัดและไม่ขัดสี (plant-based, whole food) ต่อการป้องกันและพลิกผันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 2. รู้แหล่งและรู้วิธีคัดเลือกวัตถุดิบทำอาหารพืชเป็นหลัก 3. รู้หลักและวิธีและมาตรฐานการชั่งตวงวัดในการทำอาหาร 4. รู้หลักและวิธีใช้อุปกรณ์ทำอาหารพืชเป็นหลักที่สำคัญ รวมทั้งเครื่องปั่นความเร็วสูงไม่ทิ้งกาก เตาอบไฟฟ้า เตาแก้ส เครื่องไมโครเวฟ เครื่องทำไอซ์ฟรุต ตู้แช่เย็น และภาชนะผิวไม่ติดมัน 5. รู้เมนูอาหารพืชเป็นหลักที่จำเป็น ว

ปรับปรุงแค้มป์พลิกผันโรคด้วยตนเอง (RDBY-13)

     ผมขอแจ้งการปรับปรุงแค้มป์พลิกผันโรคด้วยตนเอง (Reverse Disease By Yourself - RDBY) ครั้งใหม่ ซึ่งจะมีผลใช้ตั้งแต่กับ RDBY-13 (วันที่ 1-5 สค. 62) ดังนี้      1. ประเด็นสำคัญของการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงครั้งนี้      1.1 ขยายเวลาเป็น 5 วัน 4 คืน จากเดิมที่มาครั้งแรก 3 วัน 2 คืน ทั้งนี้ตามคำแนะนำของสมาชิกเก่าที่บอกว่าเวลาสั้นกว่านี้รีบร้อนเกินไป เหนื่อยเกินไป เรื่องที่ต้องรู้ต้องฝึกมีมากเกินไป จำไม่ได้ เก็บเอาไปใช้ได้ไม่หมด      1.2 ลดจำนวนครั้งการมาเข้าแค้มป์จาก 2 รอบเหลือ 1 รอบ เนื่องจากมีกลไกการติดตามอย่างต่อเนื่องผ่าน Dashboard บนอินเตอร์เน็ทอยู่แล้ว และเป็นไปตามคำแนะนำของสมาชิกที่ว่าการนัดหมายมาครั้งที่สองซึ่งอีกนานหลายเดือนข้างหน้าพอถึงเวลาจริงแล้วมักมาไม่ได้เนื่องจากมักมีเหตุการณ์ในชีวิตใหม่ๆที่คาดไม่ถึงเกิดขึ้นตอนนั้น      1.3 ปรับเนื้อหาสาระเฉพาะส่วนของการจัดการความเครียดและการสร้างความบันดาลใจอย่างต่อเนื่องโดย      - ในส่วนการจัดการความเครียดนั้นเปลี่ยนจากการฝึกทำหลายๆแบบมาโฟกัสที่การวางความคิดผ่านการรับรู้ความรู้สึกบนร่างกายซึ่งสื่อถึงพลังงานภายในของร่างกาย (internal

ติดเชื้อ, อักเสบ, บาดเจ็บ, เนื้องอก, เป็นแต่กำเนิด, เกิดจากการเผาผลาญ

อาจารย์คะ หนูเป็นนศพ.5 ต้องเวียนไปที่รพ. .... และพี่เขาให้ผลัดกันอยู่เวรโดยไม่มีแพทย์รุ่นพี่ back up เลย หนูเครียดมาก เวลานอนก็ผวา เวลาเจอคนไข้ก็มือไม้สั่นเพราะต้องคอยเปิด DDx หรือค้นอากู๋หาข้อมูลเพราะไม่ชัวร์เลยว่าคนไข้จะเป็นอะไรได้บ้าง คนไข้เห็นเข้าก็ทำท่าดูแคลนหนู เวลาราวด์กับรุ่นพี่ก็ถูกพี่เขาตำหนิอย่างแรงว่าวินิจฉัยแยกโรคแค่นี้ก็ทำได้ไม่ครอบคลุม เครียดจนอยากจะร้องกรี๊ดหรือทิ้งทุกอย่างหนีไปซะตอนนี้เลย ก็ตอนเรียนหนูต้องอยู่กับอินเตอร์เน็ทแทบจะตลอดเวลา แต่พอมาอยู่อย่างนี้หนูแทบไม่มีเวลาเปิดเน็ทเลยจึงเหมือนคนหมดท่า อาจารย์ช่วยแนะนำหนูด้วย ........................................... ตอบครับ      ผมตอบคุณหมอประเด็นเดียวนะ เฉพาะประเด็นที่เมื่อไม่มีอินเตอร์เน็ท จะเป็นหมอได้อย่างไร      ก่อนอื่นคุณหมอต้องไม่ปฏิเสธการจดจำข้อมูล คุณหมอต้องเข้าใจว่าพื้นฐานของเชาว์ปัญญาคือความจำ อย่างน้อยคุณหมอต้องจำข้อมูลพื้นฐานอะไรได้ระดับหนึ่งจึงจะคิดวิเคราะห์ได้รวดเร็ว ข้อมูลละเอียดปลีกย่อยค่อยไปค้นหาเอาจากอินเตอร์เน็ท อย่าเอะอะอะไรก็เปิดอากู๋โดยถือว่าชีวิตนี้ไม่ต้องจำอะไรทั้งสิ้น นั่นเป็นวิธีเรี

สัดส่วนระหว่างไขมันเลวและดี (LDL/HDL ratio) ยังใช้ได้อยู่หรือเปล่า

อาจารย์คะ แพทย์บางท่าน บอกว่า เรื่องไขมันในเลือดนี้ให้ดูที่ค่า HDL ด้วย ถ้า LDL/HDL = มากกว่า 3.5 ก็อยู่ในเกณฑ์ที่ไม่ต้องกังวล จึงควรเพิ่ม HDL และ HDL จะไปจับ LDL ไปทำลายที่ตับ เป็นอย่างนี้ใช่มั้ยคะ ..................................................... ตอบครับ      ผมจะตอบคุณเป็นประเด็นไปนะ เพื่อให้ท่านผู้อ่านท่านอื่นเอาไปใช้ประโยชน์ได้      1. เป็นความจริงที่พิสูจน์ได้จากงานวิจัยติดตามกลุ่มคนในชุมชนฟรามิงแฮมว่าไขมันดี (HDL) หากใครมีมากก็มีความสัมพันธ์กับการเป็นโรคน้อยลง พูดง่ายๆว่า HDL ใครมีมากก็ถือว่าดวงดีจะเป็นโรคนี้น้อย [1]          2. แล้วก็มีหมอจำนวนหนึ่งที่ชอบวิชาคณิตศาสตร์ลองเอาค่าสองค่านี้ (HDL กับ LDL) มาบวกลบคูณหารกันแล้วเอาสูตรที่คิดขึ้นได้นี้ไปเทียบกับความเสี่ยงของการเป็นโรคดู แล้วก็รายงานออกมาว่า [2-5] เฮ้ย..ย ถ้าเอา LDL ตั้งเอา HDL หาร หากได้คำตอบมากกว่า 3.5 จะสัมพันธ์กับการเป็นโรคหัวใจหลอดเลือดมากขึ้นนะ จึงได้เกิดการใช้ผลหารนี้ (LDL/HDL ratio) เป็นตัวบ่งชี้ความเสี่ยง แล้วเมื่อไม่นานมานี้ก็มีงานวิจัยหนึ่งทำที่ฟินแลนด์ชื่อ KIHD Study [6] ซึ่งติดตามดูผลหารนี้ในค

วันสงกรานต์..ตรงไหนนะที่เป็นจุดเปลี่ยนระหว่างสองโลก

     วันนี้วันสงกรานต์ งดตอบจะหมายนะครับ แต่จะลงเรื่องที่หมอสันต์พูดกับสมาชิกแค้มป์ Spiritual Retreat  แทน เผื่อท่านผู้อ่านจะเอาไปประยุกต์ใช้กับชีวิตในปีใหม่ได้      "..นั่งตามสบายนะ ไม่ต้องสำรวม ที่นี่ไม่ใช่วัด และผมก็ไม่ใช่สมภาร ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้หญิงหรือผู้ชายคุณเหยียดเท้าตรงมาหาผมได้ เพราะถ้าเหยียดเท้าไปทางอื่นคอของคุณก็จะบิดและเมื่อย ผมไม่ mind เรื่องการแต่งกายว่าจะเรียบร้อยไม่เรียบร้อย ไม่ต้องกลัวผมตื่นเต้น เพราะผมคุ้นกับฝรั่งมังค่าที่ยอดจะไม่เรียบร้อยมาแยะพอควร ที่นี่ไม่มี dress code ให้ทำตัวตามสบาย ตัวผมเองไม่ได้มีฐานะเป็นครูหรือเป็นอาจารย์ ผมเป็นแค่เพื่อนของทุกๆคนเท่านั้น การคุยกันในแค้มป์นี้จะเป็นการคุยกันอย่างเพื่อน คุยกันอย่างคนคุยกับคน      คุณอาจต้องทนรำคาญผมหน่อยนะ ที่ระยะหลังมานี้ผมเนิบนาบเชื่องช้าลง ไม่ใช่เป็นเพราะว่าผมแก่แล้ววางฟอร์ม เปล่าเลย ผมเจตนาคุยกับคุณแบบเพื่อนคุยกับเพื่อน ไม่มีฟอร์ม แต่เป็นเพราะว่าการคุยกันในแค้มป์นี้หากเป็นเรื่องทางจิตวิญญาณผมไม่ได้คุยจากโผที่เตรียมไว้ เพราะนี่มันไม่ใช่เล็คเชอร์หรือการปราศัยหาเสียงหรือการปลุกระดมมวลชน มันเป็นการแลกเป

ไขมัน LDL ต้องต่ำแค่ไหนจึงจะถูกใจแพทย์ผู้รักษา

เรียนคุณหมอสันต์      ผมชื่อนพ. ... เป็นหมอที่แก่แล้ว อายุ ... ปี หยุดรักษาคนไข้มาได้ยี่สิบกว่าปีตั้งแต่เกษียณ ไม่ค่อยได้ติดตามเรื่องราววิชาการแล้วเพราะตาไม่ค่อยดี ตัวเองก็เป็นคนไข้ให้หมอรุ่นลูกรุ่นหลานดูแล พยายามทำตัวเป็นคนไข้ที่ดีแต่ก็อดตั้งข้อสงสัยในใจไม่ได้ เพราะหมอเอาแต่จะเพิ่มยาลดไขมันเพื่อให้ LDL ลงต่ำอย่างใจเขา แล้วก็มีเพื่อนหมอรุ่นเดียวกันที่เหลืออยู่บางคนส่ง article มาให้อ่านซึ่งสรุปได้ว่า cholesterol ไม่ใช่ปัจจัยเสี่ยงของโรค atherosclerosis อีกต่อไปแล้ว ผมอยากถามหมอสันต์ว่า LDL นี้จริงๆแล้วยังเป็นปัจจัยเสี่ยงอยู่หรือเปล่า และค่า LDL ปกติควรเป็นเท่าไรจึงจะปลอดภัย ถ้าจะเอาระดับที่หมอผู้ดูแลผมเขาต้องการผมก็ต้องกินยา statin ไปตลอดชีวิตใช่ไหม ขอบคุณหมอสันต์นะครับ .................................................. ตอบครับ      นานๆจะมีจดหมายจากแพทย์รุ่นอาจารย์เขียนมาหา ผมจึงรีบตอบให้เลย ผมถือว่ามันเป็นธรรมดาที่เมื่ออายุมากขึ้นก็ย่อมจะต้องทิ้งการติดตามข่าวคราวแวดวงวิชาชีพไปสนใจเรื่องอื่นๆตามวัยแทน จดหมายของอาจารย์ทำให้ผมนึกย้อนไปถึงสมัยประมาณปีพ.ศ. 2523 ผมจบแพทย์ใหม่ๆออกไปใ

ไตวายจากโรคเอสแอลอี.จะกินอาหารอย่างไรดี

เรียนคุณหมอสันต์ที่เคารพ หนูอายุ 20 ปี เป็นโรคเอสแอลอี.แล้วมีไตพิการ lupus nephritis class V โดยการตัดชิ้นเนื้อมาตรวจ ตอนนี้ได้ยาสะเตียรอยด์และยา Plaquenil ยังปวดข้อหมดแรง ค่าไตลดลงมาจาก 102 ตอนนี้เหลือ 16 หมอบอกว่าไม่มีทางจะเบรกมันได้นอกจากต้องรอเปลี่ยนไต และให้หาญาติที่จะบริจาคไตไว้ได้เลย หนูฟังแล้วหดหู่เลย นอกจากยาของหมอไตแล้วหนูอยากปรึกษาคุณหมอว่าหากหนูจะรักษาด้วยอาหารควบคู่ไปด้วยมันจะมีวิธีใดบ้างไหมคะ ............................................. ตอบครับ       นับถึงวันนี้ วงการแพทย์ยังไม่มีหลักฐานระดับสูงมายืนยันว่าอาหารแบบไหนจะช่วยรักษาไตพิการจากเอสแอลอี. (lupus nephritis) ได้ มีแต่หลักฐานระดับรายงานผลการรักษา (case series) ซึ่งถึงแม้จะเป็นหลักฐานในคนแต่ก็เป็นหลักฐานที่ได้จากคนจำนวนน้อยและไม่ได้เปรียบเทียบกับคนอื่นที่กินอาหารอย่างอื่น แต่เนื่องจากคุณป่วยเรียบร้อยแล้วและกำลังดิ้นรนหาวิธีรักษาด้วยอาหารอยู่ที่นี่เดี๋ยวนี้แล้ว หากจะรอหลักฐานวิจัยระดับสูงกว่านี้ก็คงไม่ทันการ จะลองทำตามหลักฐานระดับรายงานผู้ป่วยนี้ก่อนก็ได้ ผมจะเล่ารายงานผู้ป่วยชุดนี้ให้ฟังนะ เขาตีพิมพ์ไว้ในวารส

การสังเกตความคิด เป็นคนละเรื่องกับโรคจิตสองขั้ว (bipolar disorder)

สวัสดีค่ะอ.หมอสันต์ มีความสงสัยเกี่ยวกับความเป็นอัจฉริยะของคน เช่นนักดนตรีชื่อก้องโลกอย่างบีโธเฟน โมสาส หรือที่ยังมีชีวิตอยู่ อย่างYann Tiersen ชาวฝรั่งเศสที่มีความสามารถเล่นดนตรีได้หลายอย่าง ร้องเพลงก็ได้ด้วย หรือ พวกนักวิทยาศาสตร์ เช่นไอสไตน์ หลุยปาสเตอร์ กาลิเลโอ ฯลฯ การที่ท่านเหล่านี้คิดค้นนวัตกรรม หรือประดิษฐ์อะไรขึ้นมา หรือมีความสามารถรอบด้านเป็นพิเศษ เกิดจากอะไร อย่างไร หรือเป็นเพราะว่า พวกเขาเหล่านี้ มีปัญญาญาณหรือเข้าถึงได้ จึงมีพรสวรรค์ต่างๆขึ้นมาหรือเปล่า ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง ความรู้ตัวหรือความรู้สึกผิดชอบชั่วดีย่อมเกิดขึ้นตามไปด้วย ใช่หรือไม่ แต่บางท่านยังมีความหลงผิดไปบ้างเช่นเสพสิ่งเสพติด หรือสร้างสิ่งที่มาทำลายโลกได้ ที่ถามเพราะว่าเห็นความขัดแย้งในตัวเองของคนเก่งๆหลายคน ชีวิตหน้าฉากกับหลังฉากแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดตัวอย่างเช่น นักพูดบางคนพูดเก่ง มีสาระและสนุกมาก แต่ในชีวิตจริงเป็นคนเงียบขรึม มีโลกส่วนตัวสูง ตลกบางท่านเวลาอยู่หน้าจอสร้างความสนุกสนานเฮฮา แต่หลังฉากไม่ตลกเลย ชีวิดกลับรันทด หดหู่  จึงสงสัยว่าความเก่งหรือพรสวรรค์เกี่ยวข้องกับปัญญาญาณไหมคะ อีกหัวข้อนึงคือ

ถูกให้กินยาเบาหวานเพียงเพราะ "ใกล้จะเป็นเบาหวาน"

เรียนคุณหมอสันต์% ผมอายุ 27 ปี น้ำหนัก 92 กก. สูง 176 ซม. ไม่ได้ป่วยเป็นโรคอะไร แต่หมอที่ (ที่ทำงาน) ได้จ่ายยา Glucophage 500 มก.ให้กิน เนื่องจากน้ำตาลในเลือด 110 น้ำตาลสะสม 6.0% โดยหมอแนะนำว่าให้รักษาแบบเบาหวานไปเลยเพราะยังไงต่อไปก็จะต้องเป็นเบาหวานอยู่แล้วเริ่มรักษาแต่ต้นมือจะดีกว่า ใจผมไม่อยากอยู่ๆก็ต้องมากินยาตลอดชีพ ผมเป็นแฟนบล็อกหมอสันต์มาปีกว่า และชื่นชอบคุณหมอที่ตอบคำถามโดยมีงานวิจัยมาประกอบคำแนะนำ อยากทราบความเห็นของคุณหมอว่าวงการแพทย์ลดตัวเลขเพื่อให้ยาเบาหวานเร็วขึ้นทำไม อย่างผมนี้ควรจะเริ่มรักษาเบาหวานด้วยยาจริงหรือไม่ ขอบพระคุณครับ ............................................................... ตอบครับ      1. ถามว่าอย่างคุณวินิจฉัยว่าเป็นอะไร ตอบว่าตามผลเลือดที่ส่งมา คุณอยู่ในเกณฑ์ที่วงการแพทย์ปัจจุบันนี้เรียกว่า "ใกล้จะเป็นเบาหวาน" หรือ pre-diabetes ซึ่งนิยามว่ามีน้ำตาลในเลือด 100 - 125 มก./ดล. หรือมีน้ำตาลสะสมในเม็ดเลือด (HbA1c) ตั้งแต่ 5.7-6.4% นี่เป็นมาตรฐานที่กำหนดโดยสมาคมเบาหวานอเมริกัน (ADA) [1]      2. ถามว่าวงการแพทย์ลดสะเป๊คโรคเบาหวานลงมาเพื่